ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
24-04-2024, 15:41
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  รธน.2550 มิได้บัญญัติให้ใครเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งรัฐมนตรี ? 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1] 2 3 4
รธน.2550 มิได้บัญญัติให้ใครเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งรัฐมนตรี ?  (อ่าน 11038 ครั้ง)
concordance democracy
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 313


« เมื่อ: 03-10-2008, 06:39 »

รัฐธรรรมนูญ2550 มิได้บัญญัติให้ใครเป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งรัฐมนตรี

เพราะฉะนั้น ครม.สมัครทุกชุด และ ครม.สมชายเป็นโมฆะทั้งสิ้น

มาตรา 172 ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมตรี

หลังจากนั้น มาตราไหน ? ให้ใคร ? เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งรัฐมนตรี

ดังนั้นการบริหารราชการแผ่นดินของครม.สมัครทุกชุด + ครม.สมชาย น่าจะเป็นโมฆะทั้งหมด

ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างร้ายแรงนี้ ใครเป็นผู้รับผิดชอบ ?

นี่คือการปล้นอำนาจอธิปไตยที่เป็นของปวงชนชาวไทยที่แนบเนียนที่สุด มายาวนานถึง 76 ปี และต่อไปๆ ตลอดชาติ ?
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04-10-2008, 14:09 โดย concordance democracy » บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #1 เมื่อ: 03-10-2008, 06:51 »

ลองเอารัฐธรรมนูญ 2550 มาเปิดดูก็ไม่อยากเชื่อสายตาตัวเอง
ไม่เห็นตรงไหนบัญญัติให้ใครเป็นผู้ลงนามรับสนองฯ จริงๆ 

นอกจากนี้ยังไม่มีตรงไหนบัญญัติที่มาของรัฐมนตรีว่ามาจากไหน
มีแต่บอกว่ารัฐมนตรีจะพ้นตำแหน่งได้อย่างไรเท่านั้น

หนักไปกว่านั้นตามไปค้นรัฐธรรมนูญ 2540 ก็เหมือนกันทุกอย่าง
คือไ่ม่มีบัญญัติว่าให้ใครเป็นผู้ลงนามรับสนองฯ เหมือนกัน

รัฐธรรมนูญ 40 ก็ไม่มีตรงไหนบัญญัติที่มาของรัฐมนตรีเอาไว้เลย
มีแต่บอกว่ารัฐมนตรีจะพ้นตำแหน่งได้อย่างไรบ้าง

ทั้งหมดที่มีบัญญัติจริงๆ ก็คือ "ที่มาของนายกรัฐมนตรี" เท่านั้น
ซึ่งระบุให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองฯ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03-10-2008, 07:29 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #2 เมื่อ: 03-10-2008, 07:25 »

ผมไล่ดูเนื้อหารัฐธรรมนูญ ย้อนหลังไปจนถึง ฉบับ พ.ศ. 2475 ตามรายการนี้
---------------------------------------------------------------------------------------------
1. พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. ๒๔๗๕
2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. ๒๔๗๕
3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๔๘๙
4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) พ.ศ. ๒๔๙๐
5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๔๙๒
6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๔๗๕ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๔๙๕
7. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๐๒
8. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๑๑
9. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๑๕
10. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๑๗
11. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๑๙
12. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๒๐
13. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๒๑
14. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๓๔
15. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๓๔
16. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐
17. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐

---------------------------------------------------------------------------------------------

เนื้อหารัฐธรรมนูญทุกฉบับตรงกันหมดอย่างน้อย 2 เรื่องคือ..

- ไม่เคยมีการระบุกระบวนการได้มาซึ่งรัฐมนตรีว่าต้องทำอย่างไร
- ไม่เคยระบุว่าใครคือผู้ลงนามรับสนองฯ ในการแต่งตั้งรัฐมนตรี


สรุปว่าวิธีที่ใช้สรรหา+แต่งตั้งรัฐมนตรีกันมาจนถึงปัจจุบัน
ไม่เคยมีกฎหมายรับรองเป็นลายลักษณ์อักษร !!!!
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03-10-2008, 07:32 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #3 เมื่อ: 03-10-2008, 07:42 »

นี่คือการปล้นอำนาจอธิปไตยที่เป็นของปวงชนชาวไทยที่แนบเนียนที่สุด มายาวนานถึง 76 ปี และต่อไปๆ ตลอดชาติ ?

จาก พระราชหัตถเลขา ที่ รัชกาลที่ 7 ทรงสละราชสมบัติ..

http://library.stou.ac.th/king7/Map/Sign_Hd.pdf

ผมแน่ใจชัดเจนแล้วว่าพระองค์ทรงหมายถึงเรื่องนี้

-------------------------------------------------------------------
(ถอดความจากลายพระหัตถ์ ตามตัวสะกดและวรรคตอนจริง)

             ข้าพเจ้าเห็นว่าคณะรัฐบาลและพวกพ้อง  ใช้วิธีการ
ปกครองซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักการของเสรีภาพในตัวบุคคล
และหลักความยุตติธรรมตามความเข้าใจและยึดถือของ
ข้าพเจ้า    ข้าพเจ้าไม่สามารถที่จะยินยอมให้ผู้ใดคณะใด
ใช้วิธีการปกครองอย่างนั้น ในนามของข้าพเจ้าต่อไปได้

             ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเปนของ
ข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป      แต่ข้าพเจ้าไม่
ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด
โดยฉะเพาะ  เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟัง
เสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร


          บัดนี้ข้าพเจ้าเห็นว่าความประสงค์ของข้าพเจ้าที่จะให้
ราษฎรมีสิทธิออกเสียงในนโยบายของประเทศโดยแท้จริง
ไม่เปนผลสำเร็จ        และเมื่อข้าพเจ้ารู้สึกว่าบัดนี้เปนอัน
หมดหนทาง ที่ข้าพเจ้าจะช่วยเหลือหรือให้ความคุ้มครอง
แก่ประชาชนได้ต่อไปแล้ว      ข้าพเจ้าจึงขอสละราชสมบัติ
และออกจากตำแหน่งพระมหากษัตริย์ แต่บัดนี้เปนต้นไป
ข้าพเจ้าขอสละสิทธิของข้าพเจ้าทั้งปวง ซึ่งเปนของข้าพเจ้า
อยู่ในฐานะที่เปนพระมหากษัตริ์ย  แต่ข้าพเจ้าสงวนไว้ซึ่ง
สิทธิทั้งปวงอันเปนของข้าพเจ้าแต่เดิมมา ก่อนที่ข้าพเจ้าได้รับ
ราชสมบัติสืบสันตติวงศ์

-------------------------------------------------------------------

          ข้าพเจ้าไม่มีประสงค์ที่จะบ่งนามผู้หนึ่งผู้ใด
ให้เปนผู้รับราชสมบัติสืบสันตติวงศ์ต่อไป  ตามที่
ข้าพเจ้ามีสิทธิจะทำได้ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบ
สันตติวงศ์

          อนึ่งข้าพเจ้าไม่มีความประสงค์ที่จะให้ผู้ใด
ก่อการไม่สงบขึ้นในประเทศ เพื่อประโยชน์ของข้าพเจ้า
ถ้าหากมีใครอ้างใช้นามของข้าพเจ้า  พึงเข้าใจว่ามิได้
เปนไปโดยความยินยอมเห็นชอบหรือความสนับสนุนของข้าพเจ้า.

            ข้าพเจ้ามีความเสียใจเปนอย่างยิ่ง   ที่ไม่สามารถจะยัง
ประโยชน์ให้แก่ประชาชนและประเทศชาติของข้าพเจ้าต่อไปได้
ตามความตั้งใจและความหวัง ซึ่งรับสืบต่อกันมา ตั้งแต่
บรรพบุรุษ     ยังได้แต่ตั้งสัตยอธิษฐาน ขอให้ประเทศ
สยามจงได้ประสบความเจริญ  และขอประชาชนชาวสยาม
จงได้มีความสุขสบาย.

(พระปรมาภิไธย) ประชาธิปก. ปร.

วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗
เวลา ๑๓ นาฬิกา ๔๕ นาที

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03-10-2008, 08:11 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
moon
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 780


« ตอบ #4 เมื่อ: 03-10-2008, 07:50 »

มีมาตราอื่นที่ให้อำนาจนายกมั้ยครับ หรือมาตราอื่นๆที่เกี่ยวข้องกัน แล้วในอดีตที่ผ่านมาแต่งตั้งกันโดยใช้มาตราหรือกฏเกณฑ์ไหนครับ

ถ้าไม่มีทั้งหมด ก็ไม่ต้องไปพูดถึงอดีต ถ้าต้องการให้มีก็กำหนดลงไปในรัฐธรรมนูญซะเลย
บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #5 เมื่อ: 03-10-2008, 08:04 »

มีมาตราอื่นที่ให้อำนาจนายกมั้ยครับ หรือมาตราอื่นๆที่เกี่ยวข้องกัน แล้วในอดีตที่ผ่านมาแต่งตั้งกันโดยใช้มาตราหรือกฏเกณฑ์ไหนครับ

ถ้าไม่มีทั้งหมด ก็ไม่ต้องไปพูดถึงอดีต ถ้าต้องการให้มีก็กำหนดลงไปในรัฐธรรมนูญซะเลย

แต่เดิมมา นายกฯ ไม่เคยมีอำนาจอยู่แล้วนะครับ
มีสถานะเป็นเพียงรัฐมนตรีเหมือนคนอื่นๆ

เพิ่งจะในรัฐธรรมนูญฉบับหลังๆ เช่น พ.ศ.2540
ที่บัญญัติให้ นายกฯ มีอำนาจปลดรัฐมนตรีได้

...

เมื่อรัฐธรรมนูญที่ผ่านมาเป็นแบบนี้ ก็แสดงว่า
ที่ผ่านมาใช้แค่ธรรมเนียมปฏิบัติมาเรื่อยๆ

ซึ่งเรื่องนี้เป็นประเด็นหลัก ที่ผมใช้ในการ
นำเสนอแนวคิดการเมืองใหม่เพื่อแก้ปัญหา
ความแตกแยกทางการเมืองของสังคมไทย


เพียงแต่ผมไม่เคยตรวจสอบโดยละเอียดว่า
แม้แต่การลงนามรับสนองฯ ก็ไม่เคยมีบัญญัติ
ในรัฐธรรมนูญฉบับใดๆ ว่าเป็นอำนาจนายกฯ

สรุปว่า 70 กว่าปีที่ผ่านมาคนไทยถูกหมกเม็ด
โดยนักการเมืองรวบอำนาจตั้งรัฐมนตรีกันเอง
ทั้งที่ไม่มีกฎหมายรองรับเป็นลายลักษณ์อักษร


..ถึงตอนนี้ก็คงอ้างว่าทำตามประเพณีการปกครอง..

แต่ความจริงก็ยังคงมีอยู่ว่า ไม่เคยมีการบัญญัติ
วิธีได้มาซึ่งคณะรัฐมนตรีไว้ในรัฐธรรมนูญ
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
concordance democracy
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 313


« ตอบ #6 เมื่อ: 03-10-2008, 08:29 »


ก็ไม่ต้องไปพูดถึงอดีต


ต้องพูดครับ เพราะอดีตคือบทเรียนของชาวไทย 63 ล้านคน ถ้าไม่ทราบที่มาที่ไปก็จะเป็นเพียงคนตาบอดที่ถูกโจรการเมืองพาเดินหลงทางต่อไป
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03-10-2008, 08:36 โดย concordance democracy » บันทึกการเข้า
moon
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 780


« ตอบ #7 เมื่อ: 03-10-2008, 08:38 »

เห็นด้วยกับลุงครับ แต่ผมหมายถึงรัฐบาลชุดปัจจุบันนี้ ซึ่งมีที่มาไม่ต่างจากรัฐบาลในอดีต

เราต้องเปิดประเด็นนี้ (ถ้าเป็นอย่างที่กระทู้ว่า เพราะผมยังไม่ได้ตรวจสอบเหมือนกับคุณจี)

ให้สังคมรู้ และทำอย่างหนึ่งอย่างใดให้รัฐบาลปัจจุบันยอมรับ เพื่อที่จะนำไปสู่การแก้รัฐธรรมนูญในกรณีนี้


อดีตคือบทเรียนของชาวไทยทุกคน ถูกต้องที่สุดครับ
บันทึกการเข้า
THE THIRD WAY
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,821


Love looks not with eyes, but with the mind.


« ตอบ #8 เมื่อ: 03-10-2008, 08:42 »

น่าจะมีใครคส่งศาลรธน.ตีควาย
บันทึกการเข้า

ความรักนั้นหวาน ไม่ว่าจะรับหรือให้
************************
การขับไล่ทรราช เป็นภารกิจของเจ้าของประเทศ
GODFATHER
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 112


« ตอบ #9 เมื่อ: 03-10-2008, 09:09 »

และคณะรัฐบาล...เงาจะโดนไปด้วยหรือเปล่าเนี๊ยะ...สงสารมาร์คจังเลย


* 0023.gif (15.22 KB, 128x128 - ดู 509 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
concordance democracy
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 313


« ตอบ #10 เมื่อ: 03-10-2008, 09:17 »

น่าจะมีใครคส่งศาลรธน.ตีควาย

น่าจะมีใครส่งศาลรธน.ตีความ

เห็นด้วยครับ เพราะประชาชน 63 ล้านคนได้รับความเสียหาย ขอความกรุณาพี่น้องช่วยร่างคำฟ้องด้วยครับ ผมจะลงชื่อฟ้องด้วยคน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03-10-2008, 09:30 โดย concordance democracy » บันทึกการเข้า
Şiłąncē Mőbiuş
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,215



เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 03-10-2008, 09:37 »

^
^
^
ตั้งแต่อ่านมา เพิ่งรู้สึกเห็นด้วยกับคุณเป็นเรื่องแรก (หากที่ยกมาทั้งหมดเป็นความจริง เพราะผมก็ไม่ได้อ่านตรงนี้)
บันทึกการเข้า



“People should not be afraid of their governments. Governments should be afraid of their people.”

. “ประชาชนไม่ควรกลัวรัฐบาลของตนเอง รัฐบาลต่างหากที่ควรกลัวประชาชน” .

. แวะไปเยี่ยมกันได้ที่ http://silance-mobius.blogspot.com/ นะครับ .
moon
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 780


« ตอบ #12 เมื่อ: 03-10-2008, 09:44 »

หมวด ๙ คณะรัฐมนตรี



* Untitled-1.jpg (122.87 KB, 787x652 - ดู 496 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
concordance democracy
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 313


« ตอบ #13 เมื่อ: 03-10-2008, 09:55 »

[quote
หมวด ๙ คณะรัฐมนตรี
[/quote]

ช่วยโพส กม.ศาลรัฐธรรมนูญด้วยครับว่า ประชาชนมีช่องทางหรือขั้นตอนฟ้องเรื่องนี้ไปที่ศาลรัฐธรรมนูญอย่างไร ผมขอลงชื่อฟ้องด้วยคนครับ
บันทึกการเข้า
ooo
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 670


« ตอบ #14 เมื่อ: 03-10-2008, 09:59 »

ตามตัวบทที่คุณ moon ยกมาก็ชัดเจนแล้วนี่ครับว่าการแต่งตั้งรมต.

เป็นอำนาจของพระมหากษัตริย์ และในรัฐธรรมนูญก็ไม่ได้บอกไว้นี่ครับว่าต้องมีผู้

ลงนามสนองพระบรมราชโองการด้วย จึงจะเป็นการแต่งตั้งที่สมบูรณ์ ก็เหมือนกับ

ที่พระมหากษัตริย์ทรงโปรดเกล้าแต่งตั้งข้าราชการระดับสูงงัยครับ ก็มีผลสมบูรณ์

และรัฐธรรมนูญก็ไม่ได้ระบุให้ใครมาลงนามสนองพระบรมราชโองการในการแต่งตั้ง

ข้าราชการเหล่านั้นเลย...
บันทึกการเข้า
เล่าปี๋
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,417


ทำดีได้ดีมีไฉน ทำชั่วได้ดีมีถมไป


« ตอบ #15 เมื่อ: 03-10-2008, 10:01 »

เป็นแบบนี้ ครม.ทุกๆชุด


ที่ได้รับเลือกตั้งเข้ามา มันก็ต้อง โมฆะ ทั้งหมดสิครับ


ไม่ว่า ครม.เสนีย์ ครม.คึกฤทธิ์ ฯลฯ....
   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03-10-2008, 10:08 โดย เล่าปี๋ » บันทึกการเข้า

ขงเบ้งดูดาว เฮอะเอ่อเอ้ย เมื่อดาวตก เสียวในหัวอกเมือเห็นดาว
ไม่พราวไสว  หรือว่าตัวเราจะหมดบุญ จึงเป็นไป
ดาวที่สดใสเมื่อก่อนนั้น  พลันมืดมัว....
วิหค อัสนี
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 946



« ตอบ #16 เมื่อ: 03-10-2008, 10:04 »

อ้าว 

แบบนี้ดูท่าจะยิ่งยุ่งกันไปใหญ่ 

บันทึกการเข้า

_______ดังนี้แล
__เปลวไฟจักลุกโชน
___หามีวันดับลงได้
_ตราบที่ในมือพวกสูเจ้า
ยังแต่น้ำมันเตาให้ราดรดไป
ooo
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 670


« ตอบ #17 เมื่อ: 03-10-2008, 10:06 »

เมื่อรัฐธรรมนูญไม่ได้บอกว่าจะต้องมีผู้มาลงนามสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งรมต.

ดังนั้นเมื่อไม่มีผู้ใดมาลงนาม จะถือว่าเป็นการแต่งตั้งที่เป็นโมฆะไม่ได้

ในทางกลับกัน หากดันมีใครไปลงนามสนองพระบรมราชโองการ ก็จะมีคำถามอีกว่าใช้อำนาจจากไหน

มาลงนาม
บันทึกการเข้า
ooo
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 670


« ตอบ #18 เมื่อ: 03-10-2008, 10:09 »

[quote
หมวด ๙ คณะรัฐมนตรี


ช่วยโพส กม.ศาลรัฐธรรมนูญด้วยครับว่า ประชาชนมีช่องทางหรือขั้นตอนฟ้องเรื่องนี้ไปที่ศาลรัฐธรรมนูญอย่างไร ผมขอลงชื่อฟ้องด้วยคนครับ

ประชาชนไม่มีสิทธิ์ฟ้องคดีต่อศาลรัฐธรรมนูญเองครับ
บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #19 เมื่อ: 03-10-2008, 10:09 »

ตามตัวบทที่คุณ moon ยกมาก็ชัดเจนแล้วนี่ครับว่าการแต่งตั้งรมต.

เป็นอำนาจของพระมหากษัตริย์ และในรัฐธรรมนูญก็ไม่ได้บอกไว้นี่ครับว่าต้องมีผู้

ลงนามสนองพระบรมราชโองการด้วย จึงจะเป็นการแต่งตั้งที่สมบูรณ์ ก็เหมือนกับ

ที่พระมหากษัตริย์ทรงโปรดเกล้าแต่งตั้งข้าราชการระดับสูงงัยครับ ก็มีผลสมบูรณ์

และรัฐธรรมนูญก็ไม่ได้ระบุให้ใครมาลงนามสนองพระบรมราชโองการในการแต่งตั้ง

ข้าราชการเหล่านั้นเลย...


เรื่องนี้ใหญ่มาก ผมลงทุนสอบถามกับ สสร. โดยตรงแล้วได้ความว่า
ให้ไปดูที่ มาตรา 195 ในหมวดคณะรัฐมนตรี ครับ

สรุปว่าหลังจากประธานสภาฯ ลงนามรับสนองฯ แต่งตั้ง นายกฯ แล้ว
จะมีรัฐมนตรีเพียงคนเดียว คือ นายกฯ

ซึ่งตามมาตรา 195 บังคับว่า พระบรมราชโองการ ต้องมีรัฐมนตรี
ลงนามรับสนองฯ เว้นแต่จะมีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

นายกฯ จึงมีหน้าที่ลงนามรับสนองฯ การแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ครับ  

-----------------------------------------------------------------------------------------------------
มาตรา ๑๙๕
บทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการอันเกี่ยวกับ ราชการแผ่นดิน
ต้องมีรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ เว้นแต่ที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
ในรัฐธรรมนูญนี้

บทกฎหมายที่ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้วหรือถือเสมือนหนึ่งว่าได้ทรงลงพระปรมาภิไธย แล้ว
ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาโดยพลัน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03-10-2008, 10:14 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
paper punch
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 672



« ตอบ #20 เมื่อ: 03-10-2008, 10:10 »

เข้ามาตามอ่านครับ ความรู้ผมหางอึ่ง ขอเก็บข้อมูลครับ
บันทึกการเข้า

LOVE CHANGES EVERYTHING...
ooo
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 670


« ตอบ #21 เมื่อ: 03-10-2008, 10:15 »

เรื่องนี้ใหญ่มาก ผมลงทุนสอบถามกับ สสร. โดยตรงแล้วได้ความว่า
ให้ไปดูที่ มาตรา 195 ในหมวดคณะรัฐมนตรี ครับ

สรุปว่าหลังจากประธานสภาฯ ลงนามรับสนองฯ แต่งตั้ง นายกฯ แล้ว
จะมีรัฐมนตรีเพียงคนเดียว คือ นายกฯ

ซึ่งตามมาตรา 195 บังคับว่า พระบรมราชโองการ ต้องมีรัฐมนตรี
ลงนามรับสนองฯ เว้นแต่จะมีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

นายกฯ จึงมีหน้าที่ลงนามรับสนองฯ การแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ครับ  

-----------------------------------------------------------------------------------------------------
มาตรา ๑๙๕
บทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการอันเกี่ยวกับ ราชการแผ่นดิน
ต้องมีรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ เว้นแต่ที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
ในรัฐธรรมนูญนี้

บทกฎหมายที่ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้วหรือถือเสมือนหนึ่งว่าได้ทรงลงพระปรมาภิไธย แล้ว
ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาโดยพลัน

โอเคพอเข้าใจครับ แล้วตุลาการต่างๆที่ไม่ขึ้นกับรมต.เมื่อมีการโปรดเกล้าแต่งตั้งใครเป็นผุ้ลงนาม

สนองพระบรมราชโองการครับ ? (รบกวนอีกทีครับ อยากรู้)
บันทึกการเข้า
เพื่อนร่วมชาติ
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 777


« ตอบ #22 เมื่อ: 03-10-2008, 10:18 »

ผมว่าไม่น่าจะโมฆะหรอกครับ นอกจากมาตรา 195 แล้ว ถ้าเราคิดว่า ครม. ทุกชุดที่ผ่านมเป็นโมฆะ แล้วเราจะตีความการโปรดเกล้าแต่งตั้ง+การเข้าถวายสัตย์ปฏิญาณอย่างไร
บันทึกการเข้า
BrettAnderson
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 180



« ตอบ #23 เมื่อ: 03-10-2008, 10:19 »

อืมมมม ผมกลับคิดว่า ถ้าเป็นอย่างที่พวกท่านๆว่าไว้ ถ้าหากพระมหากษัตริย์เป็นผู้แต่งตั้งรัฐมนตรี เหมือนแต่งตั้งนายกฯ

ผมเกรงว่าถ้าเป็นแบบนั้น คณะรัฐมนตรีจะทำงานโดยไม่ต้องรับผิดชอบต่อนายกฯน่ะสิครับ

เพราะนายกฯเป็นผู้แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีด้วยตัวเอง (หมายถึงตามกฎหมาย ไม่ใช่สมชายสายลมที่มีคนอื่นมาช่วยตั้ง) ปลดได้ ตั้งได้ ผมว่าตรงนี้ควรจะเป็นอำนาจหน้าที่โดยตรงของนายกฯนะครับ ถ้าหากให้พระมหากษัตริย์แต่งตั้ง การกระทำใดๆของรัฐมนตรี นายกก็ไม่ต้องรับผิดชอบ นายกลาออกรัฐมนตรีก็ไม่ต้องพ้นสภาพทั้งคณะ เพราะรัฐมนตรีไม่ได้มาจากนายกฯ

ถ้าจะเอาแบบนั้นกันก็ได้ แต่จะกลายเป็นว่าคนเป็นนายกฯแทบจะไม่มีบทบาทอะไรเลยน่ะสิ

บันทึกการเข้า

moon
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 780


« ตอบ #24 เมื่อ: 03-10-2008, 10:23 »

มาตรา 195


* Untitled-2.jpg (121.57 KB, 797x625 - ดู 445 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #25 เมื่อ: 03-10-2008, 10:35 »

โอเคพอเข้าใจครับ แล้วตุลาการต่างๆที่ไม่ขึ้นกับรมต.เมื่อมีการโปรดเกล้าแต่งตั้งใครเป็นผุ้ลงนาม

สนองพระบรมราชโองการครับ ? (รบกวนอีกทีครับ อยากรู้)

ศาลมีหลายศาลครับ แต่ละศาลก็มีบัญญัติเรื่องนี้ไว้ต่างๆ กันไปนะครับ

เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองฯ ครับ
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
ooo
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 670


« ตอบ #26 เมื่อ: 03-10-2008, 10:44 »

ศาลมีหลายศาลครับ แต่ละศาลก็มีบัญญัติเรื่องนี้ไว้ต่างๆ กันไปนะครับ

เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองฯ ครับ

ผมพยายามค้นแต่ยังไม่เจอเลย เผื่อคุณจีจะทราบ ก็รบกวนขอความรู้หน่อยครับ...

ใครเป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานศาลฎีกา แล้วใครเป็นผู้ลงนาม

สนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งผู้พิพากษาใช่ประธานศาลฎีกาหรือไม่
บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #27 เมื่อ: 03-10-2008, 11:00 »

อืมมมม ผมกลับคิดว่า ถ้าเป็นอย่างที่พวกท่านๆว่าไว้ ถ้าหากพระมหากษัตริย์เป็นผู้แต่งตั้งรัฐมนตรี เหมือนแต่งตั้งนายกฯ

ผมเกรงว่าถ้าเป็นแบบนั้น คณะรัฐมนตรีจะทำงานโดยไม่ต้องรับผิดชอบต่อนายกฯน่ะสิครับ

เพราะนายกฯเป็นผู้แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีด้วยตัวเอง (หมายถึงตามกฎหมาย ไม่ใช่สมชายสายลมที่มีคนอื่นมาช่วยตั้ง) ปลดได้ ตั้งได้ ผมว่าตรงนี้ควรจะเป็นอำนาจหน้าที่โดยตรงของนายกฯนะครับ ถ้าหากให้พระมหากษัตริย์แต่งตั้ง การกระทำใดๆของรัฐมนตรี นายกก็ไม่ต้องรับผิดชอบ นายกลาออกรัฐมนตรีก็ไม่ต้องพ้นสภาพทั้งคณะ เพราะรัฐมนตรีไม่ได้มาจากนายกฯ

ถ้าจะเอาแบบนั้นกันก็ได้ แต่จะกลายเป็นว่าคนเป็นนายกฯแทบจะไม่มีบทบาทอะไรเลยน่ะสิ

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อครับ.. คุณ BrettAnderson

รัฐธรรมนูญทุกฉบับไม่เคยบัญญัติวิธีได้มาซึ่ง รัฐมนตรี เอาไว้
นอกจาก นายกรัฐมนตรี ที่ในฉบับหลังๆ กำหนดไว้เป็นพิเศษ

รัฐมนตรีอื่นๆ มีเพียงกำหนดคุณสมบัติและข้อห้ามไว้เท่านั้น..

แต่ใครเป็นคนเลือก รัฐมนตรี ไม่เคยระบุเอาไว้ครับ!!!

...

เรื่องนี้ผมนำมาตั้งเป็นประเด็น แนวคิดการเมืองใหม่ ขึ้นมา

เพราะความจริงประชาชนได้ลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส.สัดส่วน
(เลือกพรรค)  ที่เป็นมติมหาชนว่าให้การสนับสนุนนโยบาย
ของพรรคใดในสัดส่วนเท่าใด เรียบร้อยแล้ว

แต่นักการเมืองกลับอาศัยช่องโหว่ดังกล่าวของรัฐธรรมนูญ
ปล้นอำนาจประชาชน โดยจัดตั้งรัฐบาลกันเองตามใจชอบ

การเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาประชาชนลงคะแนน 12 ล้านเสียง
ให้พลังประชาชน และอีก 12 ล้านเสียงให้ประชาธิปัตย์
โดยคะแนนเสียงมีการกระจุกตัวเป็นภูมิภาคชัดเจน

แต่ปัจจุบัน 12 ล้านเสียงกลุ่มหลังกลับ "มีสิทธิเป็นศูนย์"
ถูกกีดกันออกจากอำนาจบริหารโดยสิ้นเชิง!!!

เป็นที่มาของความแตกแยกทางการเมืองของสังคมไทย
กระทั่งนายกฯ และรัฐมนตรี ไปทำงานบางภูมิภาคไม่ได้
เพราะประชาชนมองว่า "ไม่ใช่รัฐบาลของเขา"

...

มาถึงตอนนี้ ผมตั้งใจจะผลักดันเรื่องนี้ัผ่าน สสร.ชุดใหม่
รวมทั้งภาคส่วนต่างๆ ทั้งหมด ที่ผมพอจะติดต่อได้

ให้บัญญัติการจัดตั้งรัฐบาล ตามสัดส่วนการสนับสนุน
ของประชาชนไว้ในรัฐธรรมนูญ  เพื่อไม่ให้ประชาชน
ถูกปล้นอำนาจบริหาร อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันครับ

ระหว่างนี้ผมกำลังตรวจสอบข้อเสนอว่ามีปัญหาบกพร่อง
ในจุดใดบ้างเพื่อทำการปรับปรุง ผ่านกระทู้นี้นะครับ

==แนวคิดการเมืองใหม่ง่ายๆ ที่ทำได้จริง (ปรับปรุงใหม่ให้อ่านง่ายขึ้นแล้วครับ)==
http://forum.serithai.net/index.php?topic=36897.0
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
BrettAnderson
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 180



« ตอบ #28 เมื่อ: 03-10-2008, 11:56 »

ถ้าแบบนั้นเราจะเลือกรัฐมนตรีกันเอง คุณจีเห็นว่าจะดีกว่าใช่มั้ยครับ??

อืมม ปวดหัว เพราะผมเองก็ยังขัดแย้งในตัวเองเหมือนกัน

- ประชาชนเลือกรัฐมนตรีเอง รัฐมนตรีก็ไม่ขึ้นกับนายกฯ มีอิสระเต็มที่ในการทำงาน แต่ข้อเสียคือ ถ้ารัฐมนตรีต่างคนต่างมา แนวความคิดไม่ตรงกัน ก็ทำงานคนละเรื่อง นายกก็สั่งอะไรมากไม่ได้ เพราะรัฐมนตรีเหล่านี้ประชาชนเลือกเข้ามา ตัวเองไม่มีสิทธิปลดออก (ลักษณะนี้นายกจะเหมือน ผบ.สูงสุด รัฐมนตีเหมือน ผบ.เหล่าทัพ ตามกฎหมายอาจอยู่เหนือกว่า แต่อำนาจปฏิบัติ กำลังคน งบประมาณ อยู่ในมือของรัฐมนตรีกระทรวงนั้นๆหมด)

- นายกฯเลือกเองแบบในปัจจุบัน รัฐมนตรีมาจากกลุ่มก๊วน เอาใครมาเป็นรัฐมนตรีก็ได้ ขอให้เลียเก่งก็พอ (แต่ถ้าได้นายกดีๆ ทำงานเพื่อบ้านเมืองจริงๆเราก็จะได้รัฐมนตรีดีๆได้เหมือนกัน ว่าแต่...เคยมีแบบนั้นมั้ย??ข้อดีคือ มีหัวสั่งการคนเดียว ทำให้มีแนวทางการทำงานไปทางเดียวกัน(จริงหรือ??) นโยบายตรงกัน นายกมีอำนาจสั่งการในมือเพราะปลดรัฐมนตรีที่ไม่ต้องการได้

จะเอาไงกันดี มีทางเลือกอื่นไม๊???

เรื่องปฏิรูปการเมือง ฝ่ายบริหารผมไม่สนใจมากเท่าไหร่ ประเด็นของผม สนใจที่การลดอำนาจ สส. และพรรคการเมืองลง แล้วให้อำนาจการตัดสินใจอยู่ที่ประชาชนมากขึ้น

ส่วนฝ่ายบริหารผมว่าโอเคอยู่แล้ว ถ้าเราทำฝ่ายนิติบัญญัติเข้มแข็งดีกว่า
บันทึกการเข้า

RiDKuN
Administrator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,015



เว็บไซต์
« ตอบ #29 เมื่อ: 03-10-2008, 12:04 »

แหม คิดไปได้ 
เรื่องโดยหลักการแบบนี้ เป็นเรื่องที่นักกฎหมายเก่งอยู่แล้ว และเขาคิดตลอดเวลาที่เขียนและอ่านกฎหมาย
ถ้ามีอะไรผิดพลาดร้ายแรงขนาดนั้น ไม่มีทางที่จะรอดหูรอดตานักกฎหมายทั้งประเทศได้หรอก
บันทึกการเข้า

คนไม่มี "อุดมคติ" ไม่ใช่ "นักการเมือง"
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #30 เมื่อ: 03-10-2008, 12:18 »

ผมพยายามค้นแต่ยังไม่เจอเลย เผื่อคุณจีจะทราบ ก็รบกวนขอความรู้หน่อยครับ...

ใครเป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานศาลฎีกา แล้วใครเป็นผู้ลงนาม

สนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งผู้พิพากษาใช่ประธานศาลฎีกาหรือไม่

การแต่งตั้งโยกย้าย ผู้พิพากษา รวมทั้งแต่งตั้งประธานศาลฎีกา ทำโดยมติ คณะกรรมการ-
ตุลาการยุติธรรม (ก.ต.) ครับ

ผมค้นข้อมูลไม่เจอเหมือนกันว่าใครเป็นผู้ลงนามรับสนองฯ แต่ ก.ต. มี ประธานศาลฎีกา
เป็น ประธานคณะกรรมการตุลาการยุติธรรม โดยตำแหน่งนะครับ
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #31 เมื่อ: 03-10-2008, 12:38 »

ถ้าแบบนั้นเราจะเลือกรัฐมนตรีกันเอง คุณจีเห็นว่าจะดีกว่าใช่มั้ยครับ??

อืมม ปวดหัว เพราะผมเองก็ยังขัดแย้งในตัวเองเหมือนกัน

- ประชาชนเลือกรัฐมนตรีเอง รัฐมนตรีก็ไม่ขึ้นกับนายกฯ มีอิสระเต็มที่ในการทำงาน แต่ข้อเสียคือ ถ้ารัฐมนตรีต่างคนต่างมา แนวความคิดไม่ตรงกัน ก็ทำงานคนละเรื่อง นายกก็สั่งอะไรมากไม่ได้ เพราะรัฐมนตรีเหล่านี้ประชาชนเลือกเข้ามา ตัวเองไม่มีสิทธิปลดออก (ลักษณะนี้นายกจะเหมือน ผบ.สูงสุด รัฐมนตีเหมือน ผบ.เหล่าทัพ ตามกฎหมายอาจอยู่เหนือกว่า แต่อำนาจปฏิบัติ กำลังคน งบประมาณ อยู่ในมือของรัฐมนตรีกระทรวงนั้นๆหมด)

- นายกฯเลือกเองแบบในปัจจุบัน รัฐมนตรีมาจากกลุ่มก๊วน เอาใครมาเป็นรัฐมนตรีก็ได้ ขอให้เลียเก่งก็พอ (แต่ถ้าได้นายกดีๆ ทำงานเพื่อบ้านเมืองจริงๆเราก็จะได้รัฐมนตรีดีๆได้เหมือนกัน ว่าแต่...เคยมีแบบนั้นมั้ย??ข้อดีคือ มีหัวสั่งการคนเดียว ทำให้มีแนวทางการทำงานไปทางเดียวกัน(จริงหรือ??) นโยบายตรงกัน นายกมีอำนาจสั่งการในมือเพราะปลดรัฐมนตรีที่ไม่ต้องการได้

จะเอาไงกันดี มีทางเลือกอื่นไม๊???
เรื่องปฏิรูปการเมือง ฝ่ายบริหารผมไม่สนใจมากเท่าไหร่ ประเด็นของผม สนใจที่การลดอำนาจ สส. และพรรคการเมืองลง แล้วให้อำนาจการตัดสินใจอยู่ที่ประชาชนมากขึ้น

ส่วนฝ่ายบริหารผมว่าโอเคอยู่แล้ว ถ้าเราทำฝ่ายนิติบัญญัติเข้มแข็งดีกว่า

ผมไม่ได้เสนอให้เราเลือกรัฐมนตรีกันเองตรงๆ นะครับ มีระบบรองรับมากกว่านั้น
ต้องรบกวน คุณ BrettAnderson ลองเข้าไปอ่านดู

ฝ่ายบริหารนี่แหละครับที่ไม่โอเค คุณ BrettAnderson เห็นสภาพรัฐบาลของเรา
แล้วยังโอเคอีกหรือครับ?


ปัญหาฝ่ายนิติบัญญัติไม่เข้มแข็ง ก็มาจากปัญหาระบบการแต่งตั้งฝ่ายบริหาร
ที่มีการต่อรองผลประโยชน์ ผ่านช่องโหว่ของรัฐธรรมนูญในกระทู้นี้ครับ


...

ประเด็นลดอำนาจ สส. และพรรคการเมือง แล้วให้อำนาจการตัดสินใจอยู่ที่
ประชาชนมากขึ้น คุณ BrettAnderson มีไอเดียรายละเอียดไหมครับ

ส่วนตัวผมมองว่าประชาชนเองก็ไม่ใช้ ส.ส. เป็นเครื่องมือในการบริหารประเทศ
ไม่ดูแลช่วยเหลือ ไม่เสนอความคิดเห็นผ่าน ส.ส.  มีแต่รอกากบาท 4 ปีครั้ง
ส่วนใหญ่แล้วตลอดชีวิตไม่เคยโทรศัพท์หา ส.ส. ของตัวเองแม้แต่ครั้งเดียว
แล้วจะโทษเป็นความผิด ส.ส. ว่า 4 ปีมายกมือไหว้หนเดียวได้ยังไง?


คำถามที่คุณ BrettAnderson สงสัย  ลองเข้าไปดูข้อเสนอของผมหรือยังครับ
ผมว่าในนั้นตอบคำถามคุณได้นะครับ  และผมอยากให้เข้าไปหาจุดโต้แย้งมากๆ
เพื่อให้ระบบสมบูรณ์มากขึ้นครับ..

==แนวคิดการเมืองใหม่ง่ายๆ ที่ทำได้จริง (ปรับปรุงใหม่ให้อ่านง่ายขึ้นแล้วครับ)==
http://forum.serithai.net/index.php?topic=36897.0
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03-10-2008, 12:42 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
moon
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 780


« ตอบ #32 เมื่อ: 03-10-2008, 13:35 »

มาตราไหน? ให้ใคร? เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งรัฐมนตรี  ประธานรัฐสภา + รอง  และบุคคลตามมาตรา ๑๙๓ ข้าราชการฝ่ายทหารฝ่ายพลเรือน ปลัดกระทรวง อธิบดี หรือเทียบเท่า

ถ้าจะดูแค่ที่มารัฐมนตรีอย่างเดียวผมว่าไม่ใช่ เท่าที่ค้นดู ยังมีอีก ถ้าในการเปิดประเด็นในครั้งนี้เป็นข้อคิดเห็นที่ถูกต้องไม่มีอคติ ต้องช่วยกันค้นหามาให้หมด และช่วยกันแก้ไข
บันทึกการเข้า
concordance democracy
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 313


« ตอบ #33 เมื่อ: 03-10-2008, 15:19 »

ตามตัวบทที่คุณ moon ยกมาก็ชัดเจนแล้วนี่ครับว่าการแต่งตั้งรมต.

เป็นอำนาจของพระมหากษัตริย์ และในรัฐธรรมนูญก็ไม่ได้บอกไว้นี่ครับว่าต้องมีผู้

ลงนามสนองพระบรมราชโองการด้วย จึงจะเป็นการแต่งตั้งที่สมบูรณ์ ก็เหมือนกับ

ที่พระมหากษัตริย์ทรงโปรดเกล้าแต่งตั้งข้าราชการระดับสูงงัยครับ ก็มีผลสมบูรณ์

และรัฐธรรมนูญก็ไม่ได้ระบุให้ใครมาลงนามสนองพระบรมราชโองการในการแต่งตั้ง

ข้าราชการเหล่านั้นเลย


(คุณเขียนรัฐธรรมนูญเอง ? รธน.มาตราไหนที่คุณว่า ? เคยอ่าน กม.ข้าราชการพลเรือน ? รู้ไม่จริง อย่าทำยุ่ง)

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๕๗  การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ และการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง.....ให้ผู้มีอำนาจดังต่อไปนี้ เป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้ง
(๑) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้สั่งบรรจุ และให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
(๒) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงตำแหน่งรองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม รองหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรีแล้วแต่กรณี หรือตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ให้ปลัดกระทรวงผู้บังคับบัญชา หรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี เสนอรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้ปลัดกระทรวงผู้บังคับบัญชา หรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมดังกล่าวเป็นผู้สั่งบรรจุ และให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03-10-2008, 15:30 โดย concordance democracy » บันทึกการเข้า
concordance democracy
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 313


« ตอบ #34 เมื่อ: 03-10-2008, 15:32 »

เป็นแบบนี้ ครม.ทุกๆชุดที่ได้รับเลือกตั้งเข้ามา มันก็ต้อง โมฆะ ทั้งหมดสิครับ

ถูกต้องครับ
บันทึกการเข้า
concordance democracy
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 313


« ตอบ #35 เมื่อ: 03-10-2008, 15:34 »

ตั้งแต่อ่านมา เพิ่งรู้สึกเห็นด้วยกับคุณเป็นเรื่องแรก (หากที่ยกมาทั้งหมดเป็นความจริง เพราะผมก็ไม่ได้อ่านตรงนี้)

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
concordance democracy
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 313


« ตอบ #36 เมื่อ: 03-10-2008, 15:37 »

อ้าว แบบนี้ดูท่าจะยิ่งยุ่งกันไปใหญ่

ถูกต้องครับ ยุ่งแน่ๆ ยุ่งมา 76 ปีแล้วครับ และจะยุ่งต่อไป ถ้าไม่แก้ไขเรื่องนี้ หมกเม็ดกันมาก่อนผมเกิดด้วยซ้ำ
บันทึกการเข้า
concordance democracy
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 313


« ตอบ #37 เมื่อ: 03-10-2008, 15:40 »

ประชาชนไม่มีสิทธิ์ฟ้องคดีต่อศาลรัฐธรรมนูญเองครับ

ผมกำลังฟ้องประชาชน
บันทึกการเข้า
concordance democracy
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 313


« ตอบ #38 เมื่อ: 03-10-2008, 15:43 »

เข้ามาตามอ่านครับ ความรู้ผมหางอึ่ง ขอเก็บข้อมูลครับ

อ่าน "รธน.2550 หมวด 9 คณะรัฐมนตรี" ที่คุณรับหรือไม่รับนั่นแหละ ก็จะเข้าใจ ความรู้แค่ไหนก็เข้าใจได้ครับ
บันทึกการเข้า
concordance democracy
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 313


« ตอบ #39 เมื่อ: 03-10-2008, 15:50 »

โอเคพอเข้าใจครับ แล้วตุลาการต่างๆที่ไม่ขึ้นกับรมต.เมื่อมีการโปรดเกล้าแต่งตั้งใครเป็นผู้ลงนาม
สนองพระบรมราชโองการครับ ? (รบกวนอีกทีครับ อยากรู้)

กรุณาหา รธน.2550 อ่านที่ ----> http://www.krisdika.go.th/
บันทึกการเข้า
concordance democracy
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 313


« ตอบ #40 เมื่อ: 03-10-2008, 15:56 »

แหม คิดไปได้
เรื่องโดยหลักการแบบนี้ เป็นเรื่องที่นักกฎหมายเก่งอยู่แล้ว และเขาคิดตลอดเวลาที่เขียนและอ่านกฎหมาย
ถ้ามีอะไรผิดพลาดร้ายแรงขนาดนั้น ไม่มีทางที่จะรอดหูรอดตานักกฎหมายทั้งประเทศได้หรอก

สาธุ
บันทึกการเข้า
concordance democracy
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 313


« ตอบ #41 เมื่อ: 03-10-2008, 16:14 »

เรื่องนี้ใหญ่มาก ผมลงทุนสอบถามกับ สสร. โดยตรงแล้วได้ความว่า ให้ไปดูที่ มาตรา 195 ในหมวดคณะรัฐมนตรี ครับ
สรุปว่าหลังจากประธานสภาฯลงนามรับสนองฯแต่งตั้งนายกฯ แล้ว จะมีรัฐมนตรีเพียงคนเดียว คือ นายกฯ
ซึ่งตามมาตรา 195 บังคับว่า พระบรมราชโองการ ต้องมีรัฐมนตรี
ลงนามรับสนองฯ เว้นแต่จะมีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

นายกฯ จึงมีหน้าที่ลงนามรับสนองฯ การแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ครับ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------
มาตรา ๑๙๕
บทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการอันเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน
ต้องมีรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ เว้นแต่ที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
ในรัฐธรรมนูญนี้
บทกฎหมายที่ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้วหรือถือเสมือนหนึ่งว่าได้ทรงลงพระปรมาภิไธย แล้ว ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาโดยพลัน

มั่วนิ่ม แปลว่า มั่วนิ่ม
บันทึกการเข้า
Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #42 เมื่อ: 03-10-2008, 18:26 »

เรื่องนี้ใหญ่มาก ผมลงทุนสอบถามกับ สสร. โดยตรงแล้วได้ความว่า
ให้ไปดูที่ มาตรา 195 ในหมวดคณะรัฐมนตรี ครับ

สรุปว่าหลังจากประธานสภาฯ ลงนามรับสนองฯ แต่งตั้ง นายกฯ แล้ว
จะมีรัฐมนตรีเพียงคนเดียว คือ นายกฯ

ซึ่งตามมาตรา 195 บังคับว่า พระบรมราชโองการ ต้องมีรัฐมนตรี
ลงนามรับสนองฯ เว้นแต่จะมีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

นายกฯ จึงมีหน้าที่ลงนามรับสนองฯ การแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ครับ 

-----------------------------------------------------------------------------------------------------
มาตรา ๑๙๕
บทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการอันเกี่ยวกับ ราชการแผ่นดิน
ต้องมีรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ เว้นแต่ที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
ในรัฐธรรมนูญนี้

บทกฎหมายที่ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้วหรือถือเสมือนหนึ่งว่าได้ทรงลงพระปรมาภิไธย แล้ว
ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาโดยพลัน
ถูกต้องครับ นายกฯ มีหน้าที่ลงนามรับสนองฯ การแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ครับ เพราะตามมาตรา 195 พระบรมราชโองการอันเกี่ยวกับราชการแผ่นดินต้องมีรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่ในขณะนั้นมีรัฐมนตรีเพียงคนเดียวครับ จึงเป็นหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีที่ต้องลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ไม่จำเป็นต้องบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรไว้จึงไม่เห็นในรัฐธรรมนูญฉบับอื่น ๆ ไงครับ และอีกอย่างรัฐธรรมนูญตีความตามเหตุผลและเจตนารมณ์ ไม่ได้คีความตามตัวอักษรประกอบเจตนารมณ์เหมือนกฎหมายแพ่ง หรือตีความตามตัวอักษรอย่างเคร่งครัดเหมือนกฎหมายอาญา เรื่องบางเรื่องไม่จำเป็นต้องเขียนไว้ครับ แต่คนบางกลุ่มกลับพยายามให้ตีความรัฐธรรมนูญเหมือนการตีความกฎหมายอื่น ๆ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03-10-2008, 18:38 โดย Solidus » บันทึกการเข้า
ooo
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 670


« ตอบ #43 เมื่อ: 03-10-2008, 18:59 »

กรุณาหา รธน.2550 อ่านที่ ----> http://www.krisdika.go.th/

อ่านแล้วแต่ยังไม่ทราบครับ...

ม.200 บอกว่าพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งผู้พิพากษาและตุลาการ...

ม.204 บอกว่าประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานศาลรธน.และตุลาการรธน.

ส่วนการแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลยุติธรรม และตุลาการศาลปกครอง รัฐธรรมนูญไม่ได้บอกว่าใครเป็นผู้ลงนามรับสนองฯ

คงมีแต่ม.220 และ224 เท่านั้นที่บอกว่าการแต่งตั้งต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตุลาการประจำศาลก่อน

จึงนำความขึ้นกราบบังคมทูล

เนี่ยละครับจึงทำให้ผมสงสัยว่าใครเป็นผู้ลงนามรับสนองฯแต่งตั้งผู้พิพากษาหรือตุลาการเหล่านี้...


บันทึกการเข้า
Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #44 เมื่อ: 03-10-2008, 19:00 »

ผมพยายามค้นแต่ยังไม่เจอเลย เผื่อคุณจีจะทราบ ก็รบกวนขอความรู้หน่อยครับ...

ใครเป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานศาลฎีกา แล้วใครเป็นผู้ลงนาม

สนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งผู้พิพากษาใช่ประธานศาลฎีกาหรือไม่
รู้สึกกฎหมายไม่ได้ระบุไว้ครับ แต่ตามธรรมเนียมปฏิบัติคือนายกรัฐมนตรีครับ
บันทึกการเข้า
Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #45 เมื่อ: 03-10-2008, 19:06 »

การลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดย ศาสตราจารย์ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ
          ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (constitutional monarchy) พระมหากษัตริย์จะทรงปกเกล้าฯ  แต่มิได้ทรงปกครองกล่าวคือ พระมหากษัตริย์จะทรงเป็นประมุขปกเกล้าฯ เหล่าประชาแต่จะไม่มีพระราชดำริใดๆ  ทางการเมือง และการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งเป็นเรื่องการปกครองโดยตรง จะทรงทำตามคำแนะนำและยินยอขององค์กรทางการเมือง โดยเฉพาะคณะรัฐมนตรีหรือรัฐสภา เมื่อทรงทำตามคำแนะนำและยินยอมขององค์กรทางการเมืองก็ไม่ต้องทรงรับผิดชอบ ทางการเมือง แต่องค์กรทางการเมืองต้องรับผิดชอบแทน จึงมีหลักว่าพระมหากษัตริย์ไม่ทรงกระทำผิดใดๆ (The king can do no wrong) เพื่อแสดงให้เห็นว่าทรงทำตาม คำแนะนำและยินยอมขององค์กรทางการเมือง จึงต้องมี ผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ การลงนามรับสนองพระบรมราชโองการนี้เป็นการลงนามกำกับการกระทำของประมุขของ รัฐเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน
   

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย    

หัวข้อ

    * หลักทั่วไปของการลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
    * ประวัติศาสตร์การลงนามรับสนองพระบรมราชโองการในประเทศไทย
    * การลงนามรับสนองพระบรมราชโองการตามรัฐธรรมนูญปัจจุบัน
    * ผลของการลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

หลักทั่วไปของการลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
          หลักที่ว่าต้องมีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์อัน เกี่ยวกับราชการแผ่นดินนี้  ได้มีขึ้นในทวีปยุโรปตั้งแต่ยุคกลางที่มีการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้รัฐมนตรีต้องรับผิดชอบต่อพระมหากษัตริย์  โดยวิธีที่รัฐมนตรีประทับตราตำแหน่งลงในเอกสาร กล่าวคือ เมื่อรัฐมนตรีประทับตราตำแหน่งลงในเอกสารแล้ว ก็ต้องรับผิดชอบต่อข้อความในเอกสารนั้น และในเวลาเดียวกันเป็นการรับรองความถูกต้องแท้จริงของเอกสารด้วย ต่อมาเมื่อประเทศต่างๆ มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย การประทับตราซึ่งใช้แทนการลงลายมือชื่อ และมีความมุ่งหมายเพียงแต่ใช้เป็นพยานหลักฐานย่อมไม่เป็นการเพียงพอ  การลงนามรับสนองพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ได้กลายเป็นวิธีควบคุมการ บริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอย่างหนึ่ง คือ การลงนามรับสนองพระบรมราชโองการเป็นเหตุให้รัฐมนตรีซึ่งลงนามรับสนองพระบรม ราชโองการในฐานะผู้ถวายคำแนะนำให้พระมหากษัตริย์ต้องรับผิดชอบทั้งทางการ เมืองและกฎหมายอาจถูกฟ้องร้องได้ หากการถวายคำแนะนำนั้นมิชอบด้วยกฎหมาย

   
ประวัติศาสตร์การลงนามรับสนองพระบรมราชโองการในประเทศไทย
           ประเพณีการลงนามรับสนองพระบรมราชโองการในประเทศไทยมีมาตั้งแต่เมื่อใดไม่ ปรากฏเด่นชัด โดยเฉพาะการตรากฎหมายนั้นแต่เดิมจะใช้ตราประทับ ดังเช่น ในกฎหมายตราสามดวงจะใช้ตราราชสีห์  คชสีห์  และบัวแก้วโดยพระมหากษัตริย์จะไม่ทรงลงพระปรมาภิไธยและไม่มีผู้ใดลงนามรับ สนองพระบรมราชโองการการตรวจความถูกต้องใช้การตรวจตราประทับดังข้อความตอน ท้ายของประกาศพระบรมราชปรารภกฎหมายตราสามดวงในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราชว่า “...ครั้นชำระแล้วให้อาลักษณ์ชุบเส้นหมึกสามฉบับ ไว้ห้องเครื่องฉบับหนึ่ง ไว้หอหลวงฉบับหนึ่ง ไว้  ณ ศาลหลวงสำหรับลูกขุนฉบับหนึ่ง ปิดตราพระราชสีห์ พระคชสีห์ บัวแก้ว ทุกเล่มเป็นสำคัญถ้าพระเกษม พระไกรสี เชิญพระสมุดพระราชกำหนดบทพระอัยการออกมาพิพากษาคดีใดลูกขุนทั้งปวงไม่เห็น ปิดตราพระราชสีห์ พระคชสีห์บัวแก้ว สามดวงนี้ไซร้ อย่าให้เชื่อฟังเอาเป็นอันขาดทีเดียว” ประเพณีที่ไม่มีการลงพระปรมาภิไธยและลงนามรับสนองพระบรมราชโองการนี้ยึดถือ กันเรื่อยมาจนเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  พุทธศักราช  ๒๔๗๕  ดังจะเห็นได้จากกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์พุทธศักราช  ๒๔๖๗  ก็ยังไม่มีการลงพระปรมาภิไธย และการลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

          การลงพระปรมาภิไธยในกฎหมาย หรือ การอื่นเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน มาปรากฏครั้งแรกในยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองตามหลักฐานในประชุม กฎหมายประจำศกปรากฏว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยท้ายพระราชกำหนดนิรโทษ กรรมในคราวเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดินพุทธศักราช ๒๔๗๕ เป็นฉบับแรกโดยไม่มีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ  และประกาศใช้กฎหมายดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษาลง วันที่  ๒๖  มิถุนายน พุทธศักราช  ๒๔๗๕  กฎหมายฉบับที่สอง คือ พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครอง แผ่นดินสยามชั่วคราวพุทธศักราช  ๒๔๗๕  ซึ่งก็ทรงลงพระปรมาภิไธยท้ายพระราชบัญญัติโดยไม่มีผู้ลงนามรับสนองพระบรม ราชโองการเช่นกัน แต่การลงนามรับสนองพระบรมราชโองการมาปรากฏในประกาศจัด ระเบียบป้องกันราชอาณาจักร  ซึ่งลงราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่  ๖  กรกฎาคม  พุทธศักราช  ๒๔๗๕  โดยมีพระยามโนปกรณ์นิติธาดาประธานคณะกรรมการราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระ บรมราชโองการ  ที่เป็นเช่นนี้  เพราะพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว  พุทธศักราช  ๒๔๗๕  มาตรา  ๗  บัญญัติว่า  “การกระทำใดๆ  ของกษัตริย์ต้องมีกรรมการราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดลงนามด้วย โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ”

          แม้ในการตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช  ๒๔๗๕  ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่  ๑๐  ธันวาคม  พุทธศักราช  ๒๔๗๕  ก็ทรงลงพระปรมาภิไธยก่อนคำปรารภ  ดังเช่นที่ปฏิบัติมาตั้งแต่การตราพระราชบัญญัติยกเลิกอากรนาเกลือ  พุทธศักราช  ๒๔๗๕  (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่  ๑๗  กรกฎาคม  พุทธศักราช ๒๔๘๒) และพระยาม โนปกรณ์นิติธาดา ประธานคณะกรรมการราษฎรลงนามรับสนองพระบรมราชโองการตอนท้ายของรัฐธรรมนูญ  ธรรมเนียมการลงพระปรมาภิไธยและการลงนามรับสนองพระบรมราชโองการก็ต้อง ปฏิบัติตังนี้มาจนถึงปัจจุบัน

          ปัจจุบัน ในทางปฏิบัติ การลงนามรับสนองพระบรมราชโองการก็คือ เมื่อมีกฎหมายหรือข้อราชการใดในการบริหารราชการแผ่นดินสำนักเลขาธิการคณะ รัฐมนตรีก็จะทำเรื่องเสนอนายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับคติสากลที่ว่า  ผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการคือผู้ถวายคำแนะนำนั่นเอง

   

กฎหมายตราสามดวงประทับตราพระราชสีห์ ตราพระคชสีห์ และตราบัวแก้ว    


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้วแก่ประธานรัฐสภา    

การลงนามรับสนองพระบรมราชโองการตามรัฐธรรมนูญปัจจุบัน
          รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน  (พุทธศักราช ๒๕๔๐)  มาตรา  ๒๓๑  บัญญัติว่า “บทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการอันเกี่ยวกับราชการแผ่นดินต้องมี รัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ เว้นแต่ที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญนี้” ซึ่งหมายความว่า การ กระทำของพระมหากษัตริย์ที่เป็นลายลักษณ์อักษรอันเกี่ยวด้วยราชการแผ่นดิน  ซึ่งรัฐธรรมนูญมิได้ระบุให้เป็นหน้าที่ของบุคคลอื่นที่จะลงนามรับสนองพระ บรมราชโองการไว้เป็นการเฉพาะแล้วต้องมีรัฐมนตรีคนหนึ่งลงนามรับสนองพระบรม ราชโองการเสมอไป  การที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้รัฐมนตรีคนหนึ่งเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราช โองการ ก็เท่ากับให้รับผิดชอบสำหรับการกระทำของพระมหากษัตริย์ ความรับผิดชอบนี้ ในทางการเมืองย่อมหมายถึง ความรับผิดชอบต่อรัฐสภาและต่อสาธารณชน ในอันที่จะรับคำวิพากษ์วิจารณ์หรืออธิบายเหตุผล เพราะตนเป็นผู้ถวายคำแนะนำ และพระมหากษัตริย์ก็ทรงกระทำตามคำแนะนำโดยมิได้มีพระราชดำริส่วนพระองค์เลย  จึงมีธรรมเนียมปฏิบัติในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุขต่อไปอีกว่า ผู้วิพากษ์วิจารณ์จะไม่วิพากษ์วิจารณ์พระมหากษัตริย์ แต่จะวิจารณ์รัฐมนตรีผู้ถวายคำแนะนำ และรัฐมนตรีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการก็จะต้องไม่อ้างพระราชดำริใดๆ  ของพระมหากษัตริย์ เพื่อปัดความผิดให้พ้นตัว

         การลงนามรับสนองพระบรมราชโองการนี้รัฐธรรม นูญไม่ได้กำหนดว่ารัฐมนตรีคนใดต้องเป็นผู้ลงนาม ดังนั้น ในทางกฎหมาย  รัฐมนตรีคนใดลงนามรับสนองพระบรมราชโองการก็มีผลสมบูรณ์ แต่ในธรรมเนียมปฏิบัติ  ผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการมักเป็นนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่ นายกรัฐมนตรีมอบหมายเพราะถือเป็นเรื่องสำคัญ

         อนึ่ง การลงนามรับสนองพระบรมราชโองการนี้ รัฐธรรมนูญกำหนดไว้เฉพาะบทกฎหมายพระราชหัตถเลขา หรือพระบรมราชโองการอันเกี่ยวกับราชการแผ่นดินเท่านั้น  ไม่รวมถึงพระราชหัตถเลขา  หรือพระบรมราชโองการอื่นส่วนพระองค์ที่ไม่เกี่ยวกับราชการแผ่นดินซึ่งพระ มหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยได้เองโดยไม่ต้องมีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราช โองการ  อาทิ  พระราชหัตถเลขาส่วนพระองค์ พระบรมราชโองการสั่งข้าราชบริพารในราชสำนักที่ไม่ใช่ราชการแผ่นดิน  พระบรมราชโองการเกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนพระองค์ เป็นต้น ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะราชการแผ่นดินนั้นพระมหากษัตริย์ทรงใช้ อำนาจอธิปโตยโดย ผ่านทางรัฐสภา  คณะรัฐมนตรี  และศาล  ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ (ดูรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา ๓)  และคณะรัฐมนตรีมีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน (ดูรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย มาตรา  ๒๐๑  วรรคหนึ่งประกอบมาตรา ๒๑๒)  ดังนั้น เรื่องที่จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ  ถวายคำแนะนำให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย จึงต้องมีมติคณะรัฐมนตรี ถวายคำแนะนำ ส่วนผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ไม่ว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรี  รองนายกรัฐมนตรี  หรือรัฐมนตรีคนอื่น เป็นเพียงผู้นามติคณะรัฐมนตรีขึ้นกราบบังคมทูล เว้นแต่ ที่รัฐธรรมนูญยกเว้นไว้เป็นการเฉพาะว่า ให้รัฐมนตรีผู้ใดลงนามรับสนองพระ บรมราชโองการได้เพียงผู้เดียวโดยไม่ต้องมีมติคณะรัฐมนตรีรับรอง อาทิ กรณี ตามมาตรา ๙๓  ซึ่งรัฐธรรมนูญให้นายกรัฐมนตรีนำร่างพระราชบัญญัติ  หรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่รัฐสภาเห็นชอบแล้ว ขึ้นทูลเกล้าฯ  ถวายภายใน  ๒๐ วันหรือกรณีตามมาตรา ๒๑๗  ให้นายกรัฐมนตรีถวายคำแนะนำพระมหากษัตริย์เพื่อโปรดเกล้าฯ  ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง นอกจากนั้นยังอาจมีธรรมเนียมปฏิบัติทางรัฐธรรม นูญที่เป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันมานาน โดยที่ไม่ได้บัญญัติไว้เป็นลาย ลักษณ์อักษร อาจยกเว้นให้นายกรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่เพียง ลำพัง โดยไม่ต้องมีมติคณะรัฐมนตรีรับรองก็ได้ อาทิ การที่นายกรัฐมนตรีถวายคำแนะ นำให้ทรงแต่งตั้งรัฐมนตรีทั้งปวงนั้นไม่มีรัฐธรรมนูญมาตราใดกำหนดไว้  แต่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติว่า  นายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้ถวายคำแนะนำ และลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ หรือการ ยุบสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา ๑๑๖ ซึ่งไม่ได้ระบุให้นายกรัฐมนตรีถวายคำแนะนำ แต่กำหนดให้ทำเป็นพระราช กฤษฎีกาซึ่งโดยปกติต้องผ่านการพิจารณาจากคณะรัฐมนตรีแต่ธรรมเนียมปฏิบัติ ที่ปฏิบัติกันมากว่า ๒๐ ปีแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ถวายคำแนะนำได้เพียง ลำพังเช่นนี้ ก็ต้องถือว่าการถวายคำแนะนำดังกล่าวย่อมกระทำได้โดยชอบ โดยมิ ต้องมีมติคณะรัฐมนตรีรองรับ (โปรดดูมาตรา ๗  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย)

           หลักที่ว่า  รัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการนี้  มีข้อยกเว้นกรณีที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่น เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแทน  ซึ่งมีหลายกรณี ดังนี้
             ๑. การแต่งตั้งและให้ประธานองคมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ประธานรัฐสภาจะเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ (มาตรา ๑๓)
             ๒. การแต่งตั้งองคมนตรี หรือให้องคมนตรีพ้นจากตำแหน่ง  ประธานองคมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ (มาตรา ๑๓)
             ๓. การแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช  ๒๔๖๙  ให้ประธานรัฐสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ (มาตรา ๒๒)
             ๔.  การแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร  ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ  (มาตรา ๑๒๐)
             ๕.  การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการเลือกตั้ง  (มาตรา  ๑๓๖)  ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ  (มาตรา  ๒๕๕) ประธานและกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (มาตรา ๒๙๗)  ประธานและกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน(มาตรา ๓๑๓) ให้ประธานวุฒิสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
             ๖. การเรียกประชุมรัฐูสภาสมัยวิสามัญตามที่สมาชิกรัฐสภาไม่ น้อยกว่าหนึ่งในสามเข้าชื่อกันร้องขอให้เรียกประชุม ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้กราบบังคมทูล  และลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ  (มาตรา  ๑๖๓)
             ๗. การแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีให้ ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ (มาตรา๒๐๑)

   

เหตุการณ์ในวันที่นำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๐    


นายอานันท์ ปันยารชุน กำลังรับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี    

ผลของการลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
          การลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ มีผล ดังนี้

             ๑. การลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ เป็นการรับรองพระปรมาภิโธยว่าเป็นพระปรมาภิไธยอันแท้จริงของพระมหากษัตริย์

             ๒.  การลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ เป็นการแสดงว่าผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการเป็นผู้ถวายคำแนะนำพระมหา กษัตริย์  ให้ทรงลงพระปรมาภิไธย และผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการต้องเป็นผู้รับผิดชอบ  ๓  ประการ  ดังต่อไปนี้
                 ๒.๑  ผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการรับผิดชอบในความถูกต้องของกระบวนการที่ผ่าน มาและแบบพิธีในเรื่องที่ทูลเกล้าฯ  ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยว่าได้ ผ่านกระบวนการและแบบพิธีโดยถูกต้องตามกฎหมาย เช่น กรณีร่างพระราชบัญญัติ ร่างพระราชบัญญัตินั้นจะต้องผ่านการพิจารณาได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภามา แล้ว  เป็นต้น
                 ๒.๒  ผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการรับผิดชอบความถูกต้องของข้อความว่าข้อความ ในเอกสารถูกต้อง  เช่น  กรณีร่างพระราชบัญญัติ  ข้อความในร่างพระราชบัญญัติถูกต้องตามที่ผ่านการพิจารณาของรัฐสภา เป็นต้น
                 ๒.๓  ผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการรับผิดชอบในเนื้อหาสาระของข้อความนั้น เช่น  สมควรประกอบพระราชกรณียกิจนั้นหรือไม่  ผู้ที่ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการจะต้องรับผิดชอบในฐานะที่เป็นผู้ถวายคำ แนะนำให้พระมหากษัตริย์ทรงกระทำพระราชกรณียกิจนั้นๆ  ทั้งนี้ เพราะพระมหากษัตริย์ไม่ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจโดยพระองค์เอง แต่ทรงปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการจึงต้องรับผิดชอบแทนพระมหากษัตริย์

          อย่างไรก็ตาม โนกรณีที่รัฐธรรมนูญบังคับว่า จะต้องลงนามรับสนองพระบรมราชโองการเสมอไป  โดยผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการไม่มีทางเลือก ผู้ลงนามรับสนองพระบรมราช โองการจะมีความรับผิดชอบเพียงในเรื่องความถูกต้องของกระบวนการและแบบพิธี  และความถูกต้องของข้อความที่ปรากฏในเอกสารเท่านั้น แต่ไม่ต้องรับผิดชอบ เนื้อหาสาระของข้อความที่ปรากฏในพระบรมราชโองการ
บันทึกการเข้า
ooo
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 670


« ตอบ #46 เมื่อ: 03-10-2008, 19:17 »

รู้สึกกฎหมายไม่ได้ระบุไว้ครับ แต่ตามธรรมเนียมปฏิบัติคือนายกรัฐมนตรีครับ

ผมคิดว่าไม่น่าจะใช่นายกฯนะครับ เพราะอำนาจบริหาร กับ ตุลาการ แยกกันเด็ดขาดไม่อาจมาก้าวก่ายกันได้

ตอนนี้ผมกำลังคิดว่าการแต่งตั้งบุคคลต่างๆ อาจจะไม่ถือว่าเป็นพระบรมราชโองการอันเกี่ยวกับราชการแผ่นดินก็ได้ เพราะ

เมื่อไม่ถือว่าเป็นพระบรมราชโองการอันเกี่ยวกับราชการแผ่นดินก็ไม่จำเป็นต้องมีผู้ลงนามรับสนอง...

อย่างไรก็ดี...ยังรอข้อมูลที่ถูกต้องอยู่นะครับ
บันทึกการเข้า
Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #47 เมื่อ: 03-10-2008, 19:27 »

ผมคิดว่าไม่น่าจะใช่นายกฯนะครับ เพราะอำนาจบริหาร กับ ตุลาการ แยกกันเด็ดขาดไม่อาจมาก้าวก่ายกันได้

ตอนนี้ผมกำลังคิดว่าการแต่งตั้งบุคคลต่างๆ อาจจะไม่ถือว่าเป็นพระบรมราชโองการอันเกี่ยวกับราชการแผ่นดินก็ได้ เพราะ

เมื่อไม่ถือว่าเป็นพระบรมราชโองการอันเกี่ยวกับราชการแผ่นดินก็ไม่จำเป็นต้องมีผู้ลงนามรับสนอง...

อย่างไรก็ดี...ยังรอข้อมูลที่ถูกต้องอยู่นะครับ

อำนาจบริหารและตุลาการแยกกันอยู่ก็จริงครับ แต่ตุลาการทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับราชการแผ่นดินนะครับ อย่าสับสนกับเรื่องการบริหารราชการแผ่นดินนะครับ


* 15.jpg (49.87 KB, 679x823 - ดู 328 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
concordance democracy
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 313


« ตอบ #48 เมื่อ: 03-10-2008, 19:33 »

ถูกต้องครับ นายกฯ มีหน้าที่ลงนามรับสนองฯ การแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ครับ เพราะตามมาตรา 195 พระบรมราชโองการอันเกี่ยวกับราชการแผ่นดินต้องมีรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่ในขณะนั้นมีรัฐมนตรีเพียงคนเดียวครับ

ม.195 เป็นแนวทางปฏิบัติหลังมี ครม.ครบ 35 คนแล้ว ผมไม่ติดใจสงสัย
แต่ที่ผมติดใจสงสัยก็คือ รธน.มิได้ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีสนองพระบรมราชโองการในเรื่องการแต่งตั้งรัฐมนตรี หรืออีกนัยหนึ่ง นายกรัฐมนตรีสนองพระบรมราชโองการโดยที่ รธน.มิได้ให้อำนาจไว้

ทำไมในเรื่องอื่นๆจะสนองหรือไม่สนองอย่างไร รธน.บัญญัติไว้ชัดเจน
รัฐธรรมนูญไทยเป็นรัฐธรรมนูญแบบลายลักษณ์อักษร มิใช่แบบจารีตหรือประเพณีแบบอังกฤษ
ถ้านึกไม่ออกบอกไม่ถูกก็อ้างประเพณีๆๆๆไว้ก่อน ถ้าอย่างนั้นผมจะถือว่าการยึดทำเนียบเป็นประเพณีบ้างได้ไหมครับ ?

เรื่องอะไรๆ 108 อย่าง รธน.เขียนได้รัดกุมชัดเจน
แต่ทำไมการเข้าสู่อำนาจหรือการได้มาซึ่งรัฐมนตรีไม่เขียนไว้ให้ชัดเจน หรือต้องการหมดเม็ดหมกอำนาจเบ็ดเสร็จนี้ไว้ตีกิน ?
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03-10-2008, 19:37 โดย concordance democracy » บันทึกการเข้า
Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #49 เมื่อ: 03-10-2008, 19:34 »

ประธานศาลฎีกา


* 1.jpg (64.39 KB, 686x857 - ดู 327 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 4
    กระโดดไป: