ประกายดาวขออนุญาต เอา บทความของ ท่าน มาแปะ ให้อ่านกัน ...
ความเป็นไทยในภาษาและหนังสือ
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล "ครับ ไม่รู้ผมต้องเริ่มอย่างนี้ทำไม เพราะรู้สึกเป็นแฟชั่นแล้ว จะพูดอะไรที่ต้อง คะหรือครับก่อน
วันนี้ผมทุกข์ระทมที่สุด เพราะว่าผมได้รับเชิญให้มาพูดในสิ่งที่ผมคิด ว่าผมไม่รู้เรื่องเลย
เพราะแค่พูดสื่อกันรู้และเข้าใจก็รู้สึกว่าเป็นบุญแล้ว เนื่องจากใน ความเป็นจริง ผมไม่ค่อยรู้เรื่องภาษาไทยเลย
ขอกรุณาอย่าใช้คำว่าปาฐกถาได้ไหมครับ เพราะผมไม่เข้าใจว่ามันแปลว่าอะไร
ผมรู้สึกว่ามันเป็นคำที่สูงเหลือเกิน เกินฐานะที่ผมจะรับได้ เอาเป็นว่าวันนี้เป็นการเล่า
ความรู้สึกของตัวผม ในแง่ที่เกียวกับภาษาหรืออะไรหลายๆ อย่างก็แล้วกัน
ผมอาจจะโชคไม่ดีสักนิดหนึ่ง หรืออาจจะโชคดีก็ได้ผมไม่ทราบ คือพอจบมัธยม ต้น
ผมก็ออกจากบ้านไปไม่ได้กลับบ้านเลยจนกระทั้งอายุ 30 ระเหเร่ร่อนตามบ้านเมือง ต่างๆ
ได้รับทราบภาษาและวัฒนธรรมประเพณีอื่นๆ การศึกษาของผมนั้นเกือบจะเรียก ได้ว่า
เศษสามส่วนสี่ได้รับจากต่างประเทศ
ผมเรียนด้านรัฐศาสตร์การทูต คือเรียนมาฝึกมาเตรียมตัวจะเป็นทูต แต่วิถีชีวิต
ก็เปลี่ยนอย่างกะทันหัน ได้ไปอยู่ที่สภาพัฒน์ (สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ)
แต่ความที่ไม่รู้ภาษา ผมสงสัยตั้งแต่แรกแล้ว ว่า เอ๊..ไอ้นี่มันไปเกี่ยวข้องกับสภาผู้แทน
ราษฎรเขายังไงทำไมถึงเรียนสภา แต่ว่าความที่ไม่อยากไปต่างประเทศเพราะอยู่ตั้งแต่ 10 กว่าขวบ
จนกระทั้ง 30 ปี เบื่อหน่าย ใครเขาชอบอยู่ แต่ผมเบื่อ ยิ่งอยู่ยิ่งเบื่อ เลยไป อยู่ที่สภาพัมน์
ตอนนั้นเขาเรียกสภาพัฒน์สองคำ พวกเราชอบใช้ย่อๆ จนเวลานี้คิดว่า
จะทำดิกชันนารีอักษรย่อของเมืองไทยกัน เพราะมันเยอะแยะไปหมดเลยจำไม่ถ้วนแปล ไม่ออก
จำได้ว่าครั้งแรกเจ้านายสั่งว่าลองศึกษาเอกสารนี้สิ ก็ไปเจอประโยคหนึ่งคือ "เผื่อยกระดับ"
ถามเพื่อนๆ ก็ไม่มีใครรู้ เพราะพวกนั้นจบเศรษฐศาสตร์ อุตส่าห์ข้ามฝั่ง ไปยังกรมนิเทศก์
เพราะที่นั่นจบอักษรศาสตร์เยอะ ก็ไปยื่นให้ดูว่า "เผื่อยกระดับ" แปลว่า อะไร นักอักษรศาสตร์ทั้งหลาย
ส่ายหัวกันเป็นแถว ไม่รู้มันแปลว่าอะไรก็ไม่รู้ที่แท้เป็นการ พิมพ์ผิด "เพื่อ..ยกระดับ" เขาพิมพ์ติดกัน แต่ความที่เราไม่ชินตามันเก็เลย "เผื่อย.. กระดับ" และเวลาไปถามใครผมก็พูดนำก่อนว่า "เผื่อย..กระดับ" ทุกคนก็จะอ่าน
"เผื่อย.. กระดับ" ตามผม
ความที่อยู่ต่างประเทศนาน ผมสังเกตว่ามีสิ่งที่สวนทางกลับประการหนึ่ง คือ ยิ่งอยู่นานเท่าไหร่
ยิ่งรู้สึกรักประเทศมากเท่านั้น พอกลับมา ยิ่งรู้สึกลึกซึ้งเข้าไปใหญ่คิด ว่า 20 กว่าปีที่อยู่ตางประเทศนั้น
ได้ซื้อเอาองค์ความรู้ทำไมเดี๋ยวนี้บวชไปแล้วนะครับ เรื่ององค์ความรู้นี่เป็นองค์ไปแล้ว เดี๋ยวนี้
เราบวชหลายอย่าง เช่น องค์ความรู้ ผมก็เลย พูดบ้าง เดี๋ยวจะหาว่าเชย
มีคำๆ หนึ่งซึ่งกระทบจิตใจผมมาก "องค์รวม" เช่น การพัฒนานี้ต้องใช้แบบองค์ รวม
ผมเคยไปบรรยายที่อีสานและบอกชาวบ้านว่าการพัฒนานี้พัฒนาแบบองค์รวมเด้อ ชาวบ้านยกมือขึ้นถามว่า
ต้องนิมนต์พระทั้งวัดมั้ย องค์รวมนี้คือรวมทุกองค์หรือเปล่า (หัวเราะ) อันนี้สำคัญมาก เพราะบางทีสิ่งที่เราสื่อไป เราเข้าใจความหมาย หรือย่างน้อย ที่สุดก็รู้สึกว่ามันหมายความว่าอะไร แต่ว่าเวลาที่เราสื่อออกไป
เครื่องรับเข้ารับยังไง
ทุกวันที่ 4 ธันวาคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเดือนเป็นระยะๆ ว่าการที่
สื่อออกไป อย่าว่าแต่ฝรั่งคำไทยคำอย่างที่นิยมพูดกันนี้ ยิ่งเป็นผู้หลักผูใหญ่มากๆ รู้สึกว่า
มันโก้หรือยังไงไม่ทราบพูดไทยคำหนึ่งฝรั่งคำหนึ่งยิ่งไม่รู้เรื่องกันไปใหญ่เลย แล้วภาษา ไทยแท้ๆ
ไม่รู้แท้ๆ หรือเปล่าผมไม่มั่นใจที่พูดๆ กันอยู่นี่ถ้าสื่อออกไปแล้วคนเขาจะเข้าใจ กันหรือเปล่า
ยิ่งครูบาอาจารย์ชอบใช้คำที่คนฟังไม่รู้เรื่อง ใช้คำสูงๆ เพราะใช้คำสูงๆ แล้ว มันแสดงถึงภูมิปัญญา
แต่ผมว่าด้อยปัญญามากกว่า
ความเรียบง่ายนั้นมีค่าสูงส่ง แต่เวลานี้ ผมเห็นว่าเราตกเป็นทาสของฝรั่งโดยสิ้น เชิง
ที่นี้เวลาจะใช้ภาษาฝรั่งก็เหนียมไม่กล้าใช้ ก็พยายามแปล ผมไม่เจอคำหนึ่งว่า
การ พัฒนาต้องพัฒนาแบบองค์รวมเพื่อให้เกิดบูรณาการความคิด แล้วก็ให้สันดาป อะไรก็ไม่ รู้ มีทั้งดาบทั้งหอก สันดาปความคิดอันเป็น..ในบริบทสังคม..บริบทอะไร..โอ๊ยยย.. ฟังแล้วเหนื่อยสมองที่สุดเลย
ผมด้อยปัญญามาก ต้องสารภาพว่าสติปัญญาของผมไม่ ถึงจริงๆ มีสันดาป ศักยภาพ ดุลยภาพ
อะไรต่างๆ วุ่นวายกันไปหมด
คนไทยเราคุยกันว่าเราไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของใครเลยมีอิสรเสรีภาพเต็มที่
แต่ ความจริงผมว่าจิตวิญญาณเป็นเมืองขึ้นไปหมดแล้ว ไม่เหลือหลออะไรแล้ว
ถ้าดู พฤติกรรมการแต่งกายหรืออะไรต่อมิอะไรนี่เป็นตะวันตกไปหมดแล้ว ผมไปประชุมอาเซียน
หรือไปเมืองนอกก็โอเค..เอ้า หลุดคำฝรั่งไปคำหนึ่งแล้วคำว่าโอเค คงไม่ถือสากันนะครับ
ช่างมันเถอะโอเคสามล้อก็พูดได้เพราะฉะนั้นทุกคนรับทราบกันหมดแล้วว่ามันแปลว่าอะไร
ซึ่งจะแปลว่าอะไรก็ไม่รู้นะครับ เวลาตอนเย็นหลักเลิกประชุมสมาชิกกลุ่มอาเซียนแล้วจะ
มีการผลัดกันเป็นเจ้าภาพ ผมช้ำใจทุกครั้งเลยนะครับ ประเทศที่เราด่าว่าเขาเป็นเมืองขึ้น
นั้นเขาแต่งชุดประจำชาติกันหมด แต่คนที่คุยว่าไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของใครนั้น แต่งชุด
ขี้ข้าฝรั่งลงมาเป็นเจ้าภาพอย่างหน้าตาเฉย
เพราะฉะนั้น เมื่อมันไม่เหลือหลออะไรแล้ว ผมก็คิดว่ามันเหลือยู่สิ่งเดียวที่สะท้อน
ตอบความเป็นไทยก็คือภาษา คำพูดถึงแม้มันจะเป็นส่วนผสมหรือได้รับอิทธิพลมาจาก
แขกบ้างจีนบ้าง แต่อย่างน้อย ภาษาถิ่นของเรายังเป็นภาษาไทย ฉะนั้นภาษาไทยนี้จึงเป็น
สิ่งที่เหลืออยู่เพียงสิ่งเดียว แล้วมันจะเหลืออีกนานเท่าไหร่ ผมไม่ทราบ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสอนเสมอว่า ทำสิ่งที่ยากๆ ให้เป็นสิ่งที่ง่าย
พระราชดำรัสในปี 2502 ได้ทรงรับสั่งว่า
"เมื่อมาคำนึงถึงวิธีที่จะนำเอาวิชาความรู้ไปใช้ ประโยชน์ จะต้องอาศัยสิ่งใดบ้างแล้ว
ก็เห็นว่าสิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งคือภาษาการได้ มาซึ่งวิชาความรู้ต้องอาศัยภาษา
การนำความรู้ไปใช้ก็ย่อมต้องอาศัยภาษาอีก ในปัจจับัน นี้ปรากฎว่า ได้มีการใช้ภาษาออกจะ
ฟุ่มเฟือยและไม่ตรงกับความหมายอันแท้จริงอยู่เนืองๆ ทั้งการออกเสียงก็ไม่ถูกต้องตามอักขระวิธี
ถ้าปล่อยให้เป็นไปดังนี้ ภาษาของเราก็มีแต่จะ ทรุดโทรม ชาติไทยเรามีภาษาของเราใช้เอง
เป็นสิ่งอันประเสริฐอยู่แล้ว เป็นมรดกอันมีค่า ตกทอดมาถึงเราทุกคน จึงมีหน้าที่ที่จะต้องรักษาไว้
ฉะนั้นจึงขอให้ช่วยกันรักษาภาษาและ ส่งเสริมภาษา
ซึ่งเป็นอุปกรณ์และหลักประกันเพื่อความเจริญพัฒนาของประเทศชาติ"
สังเกตดูพวกเราทุกคนไม่ว่าจะเป็นคนระดับไหนก็ตามชอบเห็นพระเจ้าอยู่หัวเฉยๆ
เห็นแล้วชื่นใจ เห็นทุกวันก็ได้ แต่ไม่เคยมองพระเจ้าอยู่หัวเลย ผมเคยไม่ได้บัญญัติศัพท์ นะครับ
ว่าการเห็นกับการมองนั้นต่างกันยังไง ระดับไหนก็เถอะ ไม่เคยมองพระเจ้าอยู่หัว
ไม่ได้เข้าใจสิ่งที่พระองค์ท่านสื่อ ชอบเห็นเฉยๆ แต่ไม่ชอบมอง ชอบได้ยินเฉยๆ แต่ไม่ เคยฟังเลย แต่ละท่านไม่ว่าระดับไหนทั้งสิ้น ออกมาจากดุสิตดาลัยทันทีที่จบพระราชกระแส
ถามว่าเป็นยังไงบ้างเมื่อกี้ "มันดี" นี่ถามข้าราชการชั้นสูงระดับปลัดกระทรวงนะครับ
เพื่อนๆ ที่ออกมาพร้อมกันนี้ถามว่า เมื่อกี่รับสั่งว่ายังไงบ้าง "ปีนี้เบาหน่อย ไม่ทรงดุใครมาก ไม่งั้น
โดยดุกันหลายคน" ถามว่าเป็นไงบ้าง "มันดี" แล้วเป็นไงอีกละ "โอ..ชื่นใจมาก" แล้วไงอีก ล่ะ
ผมพยายามไล่ต้อน "ประทับใจเหลือเกิน" แล้วท่านรับสั่งอะไรบ้าง "ไม่รู้สิ" (หัวเราะ) นี่ระดับผู้ใหญ่นะครับ
ที่เข้าไปนั่งฟังสลอนหัวเราะกันครืนๆ พอออกมา ประทับใจเฉยๆ งัด มาไม่ออกประทับอยู่ในใจอย่างนั้น
น่าเสียดายนะครับ ถ้าเรามองชะหน่อยฟังชะนิดหนึ่ง ผมคิดว่าประโยชน์จะเกิดขึ้นอย่างมากมาย
อีกอย่าง เราชอบบัญญัติศัพท์แผลงๆ ที่คนไม่ค่อยเข้าใจพระองค์ท่านทรงรับสั่ง ว่า
"ภาษาไทยของเราจะต้องหวงแหนเพราะเวลานี้รู้สึกว่ามันวิวัฒนาการไม่เป็นไรนะครับ
่ภาษาต้องมีวิวัฒนาการไป แต่ว่าจะวิวัฒนาการไปในลักษณะที่ถูกต้องหรือดี หรือทำให้
สมบูรณ์ขึ้นหรือไม่นั้นผมไม่ทราบเป็นภาษาของเราเองแต่โปราณกาล เราต้องรักษาเอาไว้ บริสุทธิ์ด้วยการออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน ในวิธีใช้คำประกอบประโยคความร่ำรวยของ ภาษาไทยเรามีอยู่มาก แต่นึกกันไปเองว่าไม่รวย ในเนื้อแท้เรารวยแต่นึกว่าไม่รวยเลยต้อง บัญญัติศัพท์กันขึ้นมาใหม่ๆ การบัญญัติศัพท์นั้นจำเป็นแต่ก็อันตราย คำใหม่ๆ จำเป็นทาง วิชาการแต่บางคำที่ง่ายๆ ก็ควรใช้คำเก่าๆ ของเราที่มีอยู่แล้ว ไม่ควรใช้คำบัญญัติใหม่ แต่คงจะเห็นไม่โก้พอ คำใหม่ต้องมีหลักต้องรู้ภาษาอื่นลึกซึ้งต้องรู้ที่มา รู้ความนึกคิดของ คำภาษาเดิมที่เราจะเอามาบัญญัติขึ้นใช้ไม่ใช่ว่าแปลงตรงๆ ไปอย่างนั้นความจริง ความ หมายแต่ละคำนั้นมาจากวัฒนธรรม"
ต้องสะท้อนตอบถึงความรู้สึกออกมา ไม่ใช่แปลอย่างนี้องค์รวมเอย ผู้ว่าฯ ซีอีโอ หรือบูรณาการเอย
หรือผู้ว่าฯ เซี้ยว ผู้ว่าฯ บางคนยังไม่รู้เลยว่าผู้ว่าฯ เซี้ยวมันแปลว่าอะไร และย่อมาจากอะไร เขาว่าซีอีโอ เราก็ว่าตามมันถึงได้อยู่แค่นี้ไงครับ
พระองค์ท่านรับสั่งอีกว่า
"ภาษามีชีวิตประชาชนใช้ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงความ หมายไปตามกาลเวลาจำเป็นจะเปี่ยนก็ต้องเปลี่ยน
ถ้าบัญญัติศัพท์ขึ้นให้ประชาชนทั้งชาติ ใช้ ก็ต้องดูว่าเขาเข้าใจหรือเปล่า ผลิตปืนไม้มาให้เด็กยิงกันเล่น
เป็นความผิดบัญญัติศัพท์ มาใช้กันเลอะเทอะก็ผิดเท่าๆ กัน
รักชาติขออย่าทำลายภาษาที่มีอยู่ บัญญัติศัพท์มีเหตุผล ก็ทำได้ แต่อย่าให้เขว
อย่าให้เป็นการเมือง อย่าให้เป็นการรักตัวเอง คือเป็นการแสดงว่า ตนเองรู้ เก่งเกินไป
บัญญัติขึ้นมาแล้วให้คนเข้าใจ ภาษามีไว้สำหรับแสดงความคิดถ้าคน อื่นไม่เข้าใจ
คิดคนเดียวก็เหงา ต้องแสดงให้คนอื่นรู้เพื่อรู้ของคนอื่นบ้าง ปราศจากภาษา
พูดกันรู้เรื่องก็กลายเป็นลิง คำต้องมีความหมายชัดเจน ตกลงกันว่าคำนั้นแปลว่าอะไร" อย่างเมื่อก่อนเราเคยเรียกขาวไรชาวนาว่า เป็นกระดูกสันหลังของชาติ พอมายุคนี้
กลายเป็นรากหญ้า ไม่รู้นะ ใครจะรู้สึกหรือไม่รู้สึกยังไงก็ช่าง
แต่ผมรู้สึกมาก เพราะหญ้า มันอาหารวัวควาย สนามหญ้าเป็นที่ย้ำที่เดิน
แต่เอาไปเรียกชาวนาเฉยเลย โครงการราก หญ้า โก้มาก เพราะอะไร เราแปลมาจาก Grass Root
ลืมนึกไปว่าคำอย่างนี้เขาไม่ใช่ เรียกคนผมก็เลยไปยุชาวไร่ชาวน่าว่าใครก็ตามใหญ่แค่ไหนก็ตามมาเรียกรากหญ้า ให้ลาก ไม้หน้าสามตีกบาลไปเลย
ตั้งแต่ระดับสูงก็เรียกรากหญ้า ไม่มีความรู้สึกสำเหนียกในความ เป็นไทยสักนิดเดียวว่า
เราเรียกเขาว่าอะไร ผมบอกว่าถ้านิยมภาษาอังกฤษ ขอเปลี่ยนตัว R เป็นตัว L ได้มั้ย เป็น Glass Root
ตอนนี้เลยเอาไปหาเสียงกันใหญ่ จากรากหญ้าเป็น รากแก้ว"
ที่สุดแล้ว ในทัศนะของผมนั้น ผมคิดว่าภาษาเป็นความภาคภูมิใจชิ้นสุดท้ายของ
เราในความเป็นไทย เรามีภาษาเขียนผมเคยเรียนอยู่ในเมืองขึ้นอย่างเวียดนาม
เขาใช้ อักษร A B C D มาสะกดเป็นคำเขียน แน่นอน มันเข้าใจ มันเขียนได้ แต่ความภาคภูมิหรือ
ศักดิ์ศรีอะไรต่างๆ ผมว่ามันไม่มี แต่ไปลาวไปเขมรเขามีตัวเขียน ยังมีศักดิ์ศรีมีความรู้สึก
"เพราะฉะนั้น ผมคิดว่าภาษานั้นเป็นเรื่องสำคัญ และถ้าให้เรียบง่ายที่สุด ก็จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด
คือพูดออกมาแล้วตั้งแต่ชาวนาไปจนถึงทุกระดับต่างเข้าใจ ผมคิดว่าอันนั้นเป็นสิ่งที่ประเสิรฐเลิศที่สุด" รายงานชิ้นนี้ คัดทอนมาจากปาฐกถาเรื่อง ความเป็นไทยในภาษาและหนังสือ ในทัศนะของ ดร.สุเมธตันติเวชกุล" ซึ่งแสดงในวันรับมอบรางวัลเรื่องสั้นและบทกวีดีเด่น ประจำปี 2546 ของสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
_ยาวไปหน่อยค่ะ แต่ อยากให้ ทุกๆ อ่านตามช้าๆ ช้าๆ ..
แล้วคิด ตามไป กับ ท่านดร . สุเมธ ด้วย ...
แล้วคิดถึง พระเจ้าอยู่หัว ของพวกเรา
ท่าน ไม่เคย เรียกใช้ คน ผิด ค่ะ