ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
23-04-2024, 17:39
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  การเมืองใหม่ทำได้จริงหรือ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
การเมืองใหม่ทำได้จริงหรือ  (อ่าน 1245 ครั้ง)
Kabal
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 27


« เมื่อ: 29-09-2008, 02:23 »

ตามนั้นครับ

ส่วนตัวผมเอง ผมเชื่อว่ายากครับ โอกาสทำได้จริงคงไม่มากกว่า 30% เพราะเท่าที่ดูแล้วอคติที่เริ่มมาจากคำว่า 70/30 มันยังมีพลังอยู่มาก จนคนเกิดอคติกับการเมืองใหม่ของพธม. ขึ้นเยอะ ถึงแม้ว่าท่านแกนนำจะเสนอทางเลือกอีกหลากหลาย และตั้งโต๊ะ debate กับเหล่านักวิชาการอีกหลายคนก็ตาม

อีกข้อที่ยากคือ การจะเปลี่ยนการเมืองใหม่ จำเป็นต้องล้างโคตราเหง้านรก ของพวกนักการเมืองเก่า ซึ่งมันจะรวมถึง การขับไล่พวก "ตัวเงินตัวทองตัวเหลี่ยม และคณะ" ออกไปจากแผ่นดินไทย และนั่นก็จะเกิดความขัดแย้งกับเหล่า "พลพรรคนิยมสิ่งมีเหลี่ยม" ซึ่งผมเชื่อว่า เป็นพลเมืองราวๆ 65-70% ของประเทศนี้ แล้วคุณจะทำให้คน 65-70% ของประเทศนี้ยอมรับกับการเมืองใหม่ได้อย่างไร นอกจากได้แต่พูดว่าคนภาค....... และภาค........ไม่ค่อยจะมีความคิดดีๆ (ไม่ยากใช้คำแรงเท่าไรครับ เดี๋ยวไปกระทบ) ซึ่งมีแต่ทำให้คนเมืองทั้งหลายแหล่ ถูกคนต่างจังหวัดหมั่นไส้ว่าเป็นพวกคุณหนู ไม่เคยออกไปดูความลำบากชาวบ้านเลย เอาแต่เชิดชูศักดินา ซึ่งรวมๆ แล้วผมว่าคนจำนวนนี้มีเ้กินครึ่งประเทศอย่างแน่นอน

ผมไม่ได้ไม่เห็นด้วยกับการเมืองใหม่ แต่คำถามของผมคือ ในเวลาที่คนที่ไม่เห็นด้วยกับพวกคุณมีเกินครึ่งประเทศ (เพราะเขามีรอยหยักบนอวัยวะบางอย่างน้อย หรือโดนหลอกง่าย หรือสมคบคิดกับนักการเมืองเลวๆ อะไรก็แล้วแต่) คุณจะ "ล้างสมอง" คนพวกนี้ยังไงครับ ให้เขาเห็นด้วยกับคุณ เพราะมิฉะนั้น ต่อให้คุณล้มระบอบทักษินได้จริงๆ คนเกินครึ่งประเทศ ก็จะยังเรียกขานสวดอ้อนวอนให้ "เทพเหลี่ยม ผู้ทำให้เรามีเงิน(กู้) กลับมาทีเท้อ" อยู่ร่ำไป และการเมืองใหม่ก็จะถูกคนเหล่านี้พังทิ้งอยู่ดีครับ

ไม่ได้มาหาเรื่องครับ แต่ขอความเห็นเฉยๆ
บันทึกการเข้า
moon
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 780


« ตอบ #1 เมื่อ: 29-09-2008, 02:26 »

คิดว่าไม่ยากก็ไม่ยาก คิดว่ายากก็ยาก

แต่ถ้ามุ่งมั่นแล้วไม่มีอะไรในโลกนี้ที่ยาก

มนุษย์ยังไปดวงจันทร์แล้ว จีนส่งนักบินอวกาศแล้ว

เพราะฉะนั้นไม่มีเรื่องใดในโลกนี้ที่ยากอีกแล้ว

เหลือเพียงอย่างเดียว นั่นคือความมุ่งมั่น

ตั้งเป้าให้ชัด แล้วก็ ลุยๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ อย่างเดียว
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 29-09-2008, 02:54 »

ยากแต่ก็ต้องทำ

ที่ว่ายากเพราะพันธมิตรปฏิเสธ สภาที่มีพลังประชาชนมีเสียงข้างมาก

ยากเพราะต้องขับไล่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งไปก่อน

ยากครับ แต่ก็ต้องทำ ให้ความรู้ไปเรื่อยๆ จนกว่า รัฐบาลมันไปไม่รอดจริง ๆ

แต่ถ้ารัฐบาล ยุบสภา พันธมิตรเตรียมแผนยังไง....


วันนี้ กกต. โดย อาจารย์สุเมธ ก็ขวางลำ

ลองหาความเห็น อ.วิชา มหาคุณ กับ อ.มีชัยดูซีครับ

รู้สึกวันนี้ออกมาให้ความเห็นบ้างแล้ว
บันทึกการเข้า

วิหค อัสนี
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 946



« ตอบ #3 เมื่อ: 29-09-2008, 10:26 »

โดยส่วนตัว ผมยังเชื่อในแนวทางการสร้างเครือข่ายประชาสังคม แบบที่ อ.หมอประเวศ เสนอไว้ครับ

บันทึกการเข้า

_______ดังนี้แล
__เปลวไฟจักลุกโชน
___หามีวันดับลงได้
_ตราบที่ในมือพวกสูเจ้า
ยังแต่น้ำมันเตาให้ราดรดไป
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #4 เมื่อ: 29-09-2008, 10:44 »

การเมืองใหม่ เป็นวาทกรรมอันหนึ่ง ซึ่งตีความได้มากมาย

กรณี 70 / 30 เป็นการปฏิบัติ ซึ่งนำเสนอโดยบุคคล ไม่ใช่หลักการ ว่าด้วยการเมืองใหม่

จะว่าไปแล้ว การเมืองใหม่ ตีความหมายได้ชัดเจนว่า ไม่เอาแบบเก่า  เท่านั้นเอง

แล้วแบบเก่าคืออะไร ก็ไปตีความเอาตามชอบใจ ฝ่ายหนึ่งก็ตีความว่า แบบที่ใช้อยู่ในวันนี้เป็นแบบเก่าไม่ต้องการแล้ว บ้างก็ว่าแบบที่ใช้อยู่วันนี้ดีอยู่แล้ว จะใช้ต่อไป

คำถามของกระทู้มีอยู่ว่า การเมืองใหม่ทำได้จริงหรือ ก็ต้องถามกลับก่อนว่า ผู้ถามคิดว่า การเมืองใหม่นั้นคืออะไร จึงจะสามารถตอบได้ชัดเจน

แต่ถ้าจะตีความตามใจผู้ตอบ ก็ขอตีความว่า มีการนำเสนอที่จะไม่ใช้การเมืองแบบทุกวันนี้ นั่นคือ ผู้แทนมาจากพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ทั้งหมด แต่จะมีการปรับเปลี่ยนการเลือกผู้แทนให้เป็นไปตามกลุ่มสาขาอาชีพ หรือจะตามกลุ่มอะไรก็ตามแต่จะคิดกัน ส่วนผู้แทนตามพื้นที่ทางภูมิศาตร์ จะลดเหลือจำนวนหนึ่งเท่านั้น 

ทั้งนี้เพื่อเป็นการให้ผูแทนราษฎร สามารถสนองตอบความต้องการของกลุ่มชนได้ดีกว่า เนื่องจากการเลือกตั้งแบบเก่านั้น ความต้องการของผู้ที่ตั้งใจไปเลือกตั้ง จะถูกกลบด้วยกระบือที่ขายเสียง ดังนั้นเสียงส่วนใหญ่ในบางพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ จึงเลือกผู้แทนที่จ่ายเงินให้มาก ผู้แทนที่เข้ามาจึงเป็นพวกซื้อเสียง และจะมาถอนทุน 

สำหรับจุดนี้ คือจุดที่นักการเมืองเก่าจะต่อต้านมากที่สุด 

แนวการเสนอการเมืองใหม่ ได้สะดุดไปหนหนึ่งจาก 30 / 70 นี่แหละ แต่เมื่อนานวันเข้า ผู้มีความคิดก็เริ่มมองเห็นหลักการของการเมืองใหม่ สามารถแยกแยะวิธีการออกจากหลักการได้ ซึ่งน่าตลกตรงที่ นักวิชาการส่วนหนึ่งในตอนแรก ต่อต้านการเมืองใหม่เพราะ 70 / 30 พึ่งจะมารู้ตัวว่าโง่ดังกระบือ แล้วแยกหลักการกับวิธีการอกจากกันเป็น ทั้งๆที่ทะลึ่งเป็นนักวิชาการมาตั้งนาน จึงกระโจนเข้าร่วมขบวนการการเมืองใหม่ ด้วยเป็นแถวๆ

วันนี้ จึงสรุปได้ว่า มีการนำเสนอให้เปลี่ยนแปลงทางการเมือง ไปสู่ระบบใหม่ ระบบที่ว่านั้นจะมีหลักปฏิบัติอย่างไร วิธีการอย่างไร ก็เชิญเสนอแนะ หากใครยังโง่ นั่งค้านตะพึด ก็ไม่ว่ากัน แต่ก็อดเสนอแนวความคิดของตนเองนั่นแหละ แล้วก็ตกรถไฟไป 

วันนี้ จึงมีคนเริ่มเข้ามาร่วมเสนอการเมืองใหม่กันมากขึ้น เพราะมีทางเลือกเพียงสามทาง หนึ่งยอมรับการเมืองเก่า สองมีการเมืองใหม่แต่ตนเองนั่งโง่เลยอดมีส่วนร่วม สามเข้าร่วมกับเขาและเรียกร้องแนวทางที่ตนเห็นว่าเหมาะสม

การเมืองใหม่จึงจะกระทำได้ ด้วยเหตุที่สามนั่นแล 
บันทึกการเข้า
นักปฏิวัติ
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 330



« ตอบ #5 เมื่อ: 29-09-2008, 11:53 »

ก่อนเกิด รธน.40 มีกระแสปฏิรูปการเมือง

คนทั่วไป ก็บอกทำได้ยาก ไม่น่าเป็นไปได้

แต่หมอประเวศเชื่อว่าเป็นไปได้

ในที่สุด ก็เกิด รธน. 40 ซึ่งก็คือรูปธรรมของการปฎิรูปการเมือง

หมอประเวศ พูดถูก ท่านไม่ได้เชื่อและพูดเฉยๆ

แต่ลงมือทำ..จนสำเร็จ..แล้วท่านก็หายไป เมื่อทำสำเร็จ


"การหลบลี้หายหน้าไป ภายหลังประสบความสำเร็จแล้ว คือมรรคแห่งสัจธรรม"
เหล่าจื๊อ (580 -500 ปี ก่อน ค.ศ.)


บันทึกการเข้า

"สุดยอดกลยุทธ์ คือชนะโดยไม่ต้องรบ" ซุนวู

"ผู้นำชั้นเลิศนั้น เพียงแต่เป็นที่รับรู้ว่ามีตัวตนอยู่
ชั้นรองลงมา เป็นที่รักและสรรเสริญ
ชั้นรองกว่านั้น เป็นที่เกรงกลัวและเกลียดชัง" เหล่าจื๊อ เต้าเต๋อจิง
Kabal
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 27


« ตอบ #6 เมื่อ: 29-09-2008, 13:28 »

จริงๆ แล้ว ผมอาจตั้งชื่อกระทู้ผิด จริงๆ ต้องเปลี่ยนเป็นว่า คุณจะทำยังไง ให้คนโง่ๆ ที่มีเกินครึ่งประเทศ ตาสว่างเห็นสัจธรรม ธาตุแท้ของคนที่เอาเงินมาโปรยได้ต่างหากครับ ขอโทษที่ตั้งกระทู้ผิดประเด็นไป
บันทึกการเข้า
สวิส
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 78


« ตอบ #7 เมื่อ: 29-09-2008, 13:45 »

ผมก็คิดแบบคุณ kabal ครับ และก็เห็นด้วยกับคุณ Can ที่ว่ายากยังไงก็ต้องทำ อีก 10 หรือ 20 ปีมันจะสำเร็จ มันก็ต้องเริ่มจากวันนี้

ส่วนตัวผมนนั้นผมมองว่าพลังนักศึกษานั้นสำคัญมากครับ ถ้าพันธมิตรสามารถเข้าถึงคนกลุ่มนี้ได้ เพราะคนกลุ่มนี้กำลังอยู่ในวัยที่มีพลัง

และเป็นอนาคตของชาติ ถ้าเค้าได้รับการปลูกฝังและโตมากับความถูกต้อง ความยุติธรรม อนาคาตการเมืองใหม่ก็ยังพอมองเห็นครับ

ส่วนพวกผู้ใหญ่ที่หลงผิดนั้น ถ้าเอากลับมาได้ก็ดีครับ แต่ถ้าไม่ได้ก็ปล่อยไปเลยดีกว่า ทุกวันนี้ผมก็เริ่มจากคนใกล้ตัวก่อน ผมสอนลูก

สอนหลานให้รู้ผิดชอบชั่วดี การเมืองเก่า การเมืองใหม่เป็นยังไง ให้เค้าคิดเป็นครับ
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 29-09-2008, 14:21 »

การเมืองใหม่ ที่จะทำได้เร็วที่สุดและได้ผลในระยะยาวคือ ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ที่ฝั่งคุณหมอประเวศ เสนอไว้นานแล้ว

มีผลในรัฐธรรมนูญในปัจจุบันแล้ว แต่ประชาชนเองยังไม่ตื่นตัวใช้สิทธิ์

และยังถูกนักการเมืองในระบบสภาผู้แทน ให้ความรู้ผิดๆ ว่า

การเมืองภาคประชาชน เป็นสิ่งชั่วร้าย นั่นเพราะพวกนักเลือกตั้ง ดิสเครดิตการเมืองภาคประชาชน กันให้ออกไปจากการเมือง หรือ อำนาจ

และมีคำท้าทายบ่อบๆ ว่า ให้มาลงเลือกตั้ง

ผมคิดว่า การนำการเมืองแบบมีส่วนร่วมขยายผลให้มากขึ้น ๆ อย่าหยุดแค่นำเสนอแนวทางการเมืองใหม่

แต่ต้องทำการเมืองแบบมีส่วนร่วมให้เกิดผลในทางปฎิบัติ

การตื่นขึ้นของพลังทางศีลธรรม พลังการตรวจสอบ ต้องให้คงอยู่ ให้เกิดอย่างยั่งยืน

ในขณะเดียวกัน ก็ต้องลงไปทำ เรื่อง "ชุมชุนเข้มแข็ง" เพื่อเพิ่มแรงต้านการซื้อเสียง หรือการฉ้อฉลในการแสวงหาทางเข้าสู่อำนาจของนักเลือกตั้ง

การเชื่อมร้อยชุมชนต่อชุมชน การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ จากกลุ่มเล็กๆ ขยายไปสู่กลุ่มใหญ่

ขยายอำนาจประชาชนไปในแนวทางขวางก่อนให้มั่นคง

จะเกิดพลังในทางสร้างสรรค์มากกว่าจะมุ่งแก้แต่โครงสร้างทางรัฐสภา

หากจะสู้ต้องสู้กันตั้งแต่การเมืองท้องถิ่น เมื่อท้องถิ่นดี การเมืองระดับรัฐสภาก็จะดีตามไปด้วย

การต่อสู้แค่รูปแบบ คงไม่พอ แต่การต่อสู้จริงจัง ตั้งแต่ฐานราก การเมืองฐานรากต้องเข้มแข็ง

แต่ฝ่ายที่ต้องการ การเมืองใหม่ ยังไม่ได้คิดเรื่อง ชุมชนเข้มแข็งแม้แต่น้อยนิด

หากเดินสายหมอประเวศ ต้องลงไปลุยที่ชุมชนเป็นแรงหลัก คู่ขนานกับการเมืองระบบรัฐสภา ที่กำลังกลายเป็นกระแส

แต่ก็นั่นแหละ หากไม่แก้โครงสร้างด้านบน โครงสร้างด้านต่างจังหวัดก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้

การมีสภาองค์กรท้องถิ่น เป็นอีกความหวังหนึ่ง ที่รัฐบาลขิงแก่ ทิ้งไว้ให้ อย่าละเลยส่วนสำคัญส่วนนั้นเป็นอันขาด


ถ้าจะปฏิรูปการเมืองให้บังเกิดผลมั่นคง ยั่งยืน ต้องปฏิรูปที่ตัวประชาชนฐานรากเป็นสำคัญ

หากประชาธิปไตยที่แท้จริง ประชาธิปไตยที่มีคุณธรรมลงหลักปักฐานที่ประชาชน

ประชาธิปไตยที่เป็นการเมืองใหม่ เกิดขึ้นได้โดยธรรมชาติของมันเอง

การให้การศึกษาทางการเมืองแก่ประชาชน ต้องได้รับการส่งเสริมจากฝ่ายรัฐ ทั้งในหลักสูตรการศึกษา กิจกรรมในชุมชน

ตลอดจนต้องมี "สื่อทีวีเพื่อประชาธิปไตย" เกิดขึ้น ในรูปแบบของ "ฟรีทีวี"

พวกเราสู้กันแทบตาย แต่สุดท้ายเราก็จะได้แต่ "รูปแบบ" ที่ต่างคนต่างฝันว่า การเมืองใหม่ ในรูปแบบรัฐธรรมนูญจะเป็น "ยาวิเศษ"

แต่เราก็รู้ว่า บรรดานักเลือกตั้งและนายทุนการเมือง มักจะใช้เล่เหลี่ยมบิดเบือนหลักการประชาธิปไตย เพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มเขาเองเสมอมา

รัฐธรรมนูญใหม่ ที่พันธมิตรฯและสังคมเรียกร้องในขณะนี้ อาจจะส่งผลดีหรือไม่ดีก็ได้ เพราะยังไม่ได้ทดลองใช้

แต่หากลงไปสร้าง "ประชาธิปไตยฐานราก" ทำให้ประชาชนตระหนักรู้ อะไรคือประชาธิปไตยที่จะให้ประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและประเทศชาติ

นั่นต่างหากที่ประชาชนทั้งหลายพึงตระหนัก และร่วมแรง ร่วมใจกันทำงานต่อไป

ไม่หยุดยั้งแต่การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง เสร็จงานแล้วก็บ้านใครบ้านมัน

ถ้าหากเป็นแบบนั้น เราก็จะได้แต่ ประชาธิปไตยที่มีแต่โครงกระดูก แต่ไม่มีชีวิตจิตใจ

ประชาธิปไตยจะไปได้ ต้องขับเคลื่อนโดยประชาชนตลอดไป มิใช่ปลุกกันเป็นครั้งเป็นคราว

ถึงเวลาต้องมีสื่อการเมืองที่สร้างสรรค์ โดยรัฐเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณอย่างเต็มที่
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 29-09-2008, 14:35 »

ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม

ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Democracy) หมายถึง การมีส่วนร่วมในทางการเมืองการปกครอง ตลอดจนการกำหนดวิถีชีวิตที่สอดคล้องกับการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตย ทั้งนี้ไม่ว่าเกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิเสรีภาพ หน้าที่ ตามระบอบการเมืองการปกครองที่ไม่ไปก้าวก่ายหรือก่อความเดือดร้อนแก่ผู้อื่นหรือสังคมส่วนรวม การมีส่วนร่วมในทางการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอาจจะจำแนกเป็น 3 ระดับ คือ

การมีส่วนร่วมในระดับเบื่องต้น เช่น ร่วมแสดงความคิดเห็นในทางการเมือง, ร่วมพูดคุยอภิปรายเรื่องราวทางการเมืองและสถานการณ์ปัจจุบัน, ร่วมลงชื่อเพื่อเสนอเรื่องราวหรือประชาพิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งในทางการเมือง, รวมกลุ่มเล็ก ๆ เพื่อแสดงความคิดเห็นในทางการเมือง, เป็นสมาชิกพรรคการเมือง

การมีส่วนร่วมในระดับกลาง เช่น ร่วมเดินขบวนเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม, ร่วมปราศัยในการชุมนุมเรียกร้องเรื่องราว, ร่วมลงชื่อเพื่อเสนอให้ฝ่ายที่มีอำนาจตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง, ร่วมอดข้าวประท้วงหรือร่วมกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อเรียกร้อง

การมีส่วนร่วมในระดับสูง เช่น ร่วมลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา, ร่วมก่อตั้งพรรคการเมือง, ร่วมก่อตั้งรัฐบาล
ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิธีการกระจายอำนาจและทรัพยากรต่าง ๆ ที่ไม่เท่าเทียมกันอันมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนและวิธีการที่ประชาเหล่านั้นมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจที่มีผลกระทบต่อตน

โดยที่กล่าวถึงข้างต้น ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม จึงหมายถึง การที่อำนาจในการตัดสินใจไม่ควรเป็นของกลุ่มคนจำนวนน้อย แต่อำนาจควรไดรับการจัดสรรในระหว่างประชาชน เพื่อทุก ๆ คนได้มีโอกาสที่จะมีอิทธิพล และจัดเป็นกระจายอำนาจและเปิดต่อการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางของประชาชนในกระบวนการทางการเมือง ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ

จากคำนิยามดังกล่าวข้างต้นอาจสรุปหลักการหรือองค์ประกอบสำคัญของคำว่าประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมได้ ดังนี้

การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเมืองและการบริหาร

เน้นการกระจายอำนายในการตัดสินใจและการจัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ ในระหว่างประชาชนให้เท่าเทียมกัน
 
อำนาจในการตัดสินใจและการจัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ นั้น จะส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน

เพิ่มการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน

มีความยืดหยุ่นได้ กล่าวคือ มีโครงสร้างการทำงานที่สามารถตรวจสอบได้ มีความโปร่งใสและคำนึงถึงความต้องการทรัพยากรของผู้มีส่วนร่วม

การมีส่วนร่วมของประชาชนมีทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ

แคทท์ (Catt 1999, 39-56) ได้เสนอไว้ว่า องค์ประกอบและเงื่อนไขที่สำคัญที่สุดของความเป็นประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม คือ

ทุกคนสามารถยกประเด็นปัญหาใดปัญหาหนึ่งขึ้นมา เพื่อกำหนดเป็นวาระของการประชุม สามารถเสนอทางเลือกและมีส่วนร่วมในการเลือกหรือการตัดสินใจสุดท้ายได้

เป็นการประชุมที่ทุกคนสามารุพูดคุยกันได้อย่างทั่วถึง (face-to-face meeting)

มีการปรึกษาหารือ หรืออภิปรายประเด็นปัญหาที่หยิบยกมาพิจารณากันอย่างกว้างขวาง ทุกคนต้องการมีส่วนร่วมในการอภิปราย และสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่

มีแนวโน้มที่พยายามจะให้เกิดความเห็นพ้อง (consensus) ร่วมกันในประเด็นปัญหาที่พิจารณา

การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นกระบวนการซึ่งประชาชน หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้มีโอกาสแสดงทัศนะและเข้าร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งมีการนำความคิดเห็นดังกล่าวไปประกอบการพิจารณากำหนดนโยบายและการตัดสินใจของรัฐ

การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นกระบวนการสื่อสารในระบบเปิด กล่าวคือ เป็นการสื่อสารสองทาง ทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ซึ่งประกอบไปด้วยการแบ่งสรรข้อมูลร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนเสียและเป็นการเสริมสร้างความสามัคคีในสังคม

ทั้งนี้เพราะการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นการเพิ่มคุณภาพของการตัดสินใจการลดค่าใช้จ่ายและการสูญเสียเวลา เป็นการสร้างฉันทามติ และทำให้ง่ายต่อการนำไปปฏิบัติ อีกทั้งช่วยหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าใน “กรณีที่ร้ายแรงที่สุด” ช่วยให้เกิดความน่าเชื่อถือและความชอบธรรมและช่วยให้ทราบความห่วงกังวลของประชาชนและค่านิยมของสาธารณชน รวมทั้งเป็นการพัฒนาความเชี่ยวชาญและความคิดสร้างสรรค์ของของสาธารณชน

การมีส่วนร่วมของประชาชนมีความสำคัญในการสร้างประชาธิปไตยอย่างยั่งยืนและส่งเสริมธรรมาภิบาล ตลอดจนการบริหารงานหากมีการมีส่วนร่วมของประชาชนมากขึ้นเพียงใดก็จะให้มีการตรวจสอบการทำงานของผู้บริหารและให้ผู้บริหารที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการป้องกันนักการเมืองจากการกำหนดนโยบายที่ไม่เหมาะสมกับสังคมนั้น ๆ นอกจากนี้การมีส่วนร่วมของประชาชนยังเป็นการสร้างความมั่นใจว่าเสียงของประชาชนจะมีคนรับฟัง อีกทั้งความต้องการหรือความปรารถนาประชาชนก็จะได้รับการตอบสนอง

กล่าวโดยสรุป ระบบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ซึ่งเปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงทัศนะและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ที่จะมีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน นอกจากจะช่วยให้การตัดสินใจของผู้เสนอโครงการหรือรัฐบาลมีความรอบคอบ และสอดรับกับปัญหาและความต้องการของประชาชนมากยิ่งขึ้นแล้ว ยังเป็นการควบคุมการบริหารงานของรัฐบาลให้มีความโปร่งใส (Transparency) ตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของประชาชน (Responsiveness) และมีความรับผิดชอบหรือสามารถตอบคำถามของประชาชนได้ (Accountability) อีกด้วย ซึ่งเท่ากับเป็นการส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้นอีกด้วย
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
    กระโดดไป: