jerasak
|
|
« เมื่อ: 28-09-2008, 16:26 » |
|
==แนวคิดการเมืองใหม่ง่ายๆ ที่ทำได้จริง โดย jerasak จาก http://forum.serithai.net==เห็นสมาชิกหลายท่านช่วยกันเสนอรูปแบบการเมืองใหม่กันหลายรูปแบบแล้ว ผมเองได้รับแรงบันดาลใจไปออกแบบบ้าง ได้โครงสร้างมารูปแบบหนึ่งครับ ถือว่าเสนอตุ๊กตามาให้ดูอีกตัวก็แล้วกัน - โฆษณาก่อนว่า.. ข้อดีของระบบที่ผมจะนำเสนอมี 9 ข้อ ดังนี้ 1. ระบบทั้งหมดสามารถเข้าใจได้ง่ายเพราะใกล้เคียงระบบเดิมเกือบ 100% 2. สามารถสลายการเผชิญหน้าของประชาชนชาวไทย ที่แตกแยกแบ่งฝักฝ่ายทางการเมือง ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ด้วยระบบที่ทุกฝ่ายสามารถเข้าถึงและมีเหตุผลยอมรับได้ 3. ทำได้จริงเพราะสาระสำคัญเป็นการเปลี่ยนแปลง "ธรรมเนียมปฏิบัติ" ที่ก่อให้เกิดปัญหา ทำให้แก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพียงเล็กน้อย หรืออาจไม่ต้องแก้เลย 4. สามารถจัดตั้งรัฐบาลไ้ด้ทันทีที่รู้ผลเลือกตั้ง แต่ละพรรคไม่ต้องวิ่งต่อรองจับขั้วกันแบบเดิม เนื่องจากประชาชนเป็นผู้กำหนดโควต้ารัฐมนตรีมาตั้งแต่ต้น 5. รัฐบาล และสภาผู้แทนราษฎรมีเสถียรภาพสูง มีโอกาสมากที่จะอยู่ครบวาระ 4 ปีเป็นปกติ 6. มีระบบตรวจสอบที่คาดหวังประสิทธิภาพได้มากขึ้นผ่าน วุฒิสภา ที่มีกฎหมายกำหนดห้าม ไม่ให้เกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง แทนพรรคฝ่ายค้านที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการตรวจสอบ 7. แก้ปัญหาการด้อยความสามารถของรัฐมนตรี โดยให้พรรคการเมืองได้ทำหน้าที่ที่ควรทำ คือการพัฒนาบุคลาการทางการเมือง และสั่งสมความรู้ความชำนาญในการบริหารประเทศ 8. แก้ปัญหาการหยุดชะงักของโครงการภาครัฐจากการเปลี่ยนนโยบายตามรัฐมนตรีคนใหม่ 9. ตอบสนองข้อเสนอกลุ่มพันธมิตรได้ระดับหนึ่ง ที่ต้องการเพิ่มการมีส่วนร่วมของสาขาอาชีพ โดยกำหนดให้ทำผ่านโครงสร้างวุฒิสภา ที่รองรับตัวแทนสาขาอาชีพได้ในสัดส่วนที่สูง------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ก่อนอื่นมาดู โครงสร้างคะแนนนิยมพรรคการเมืองในประเทศไทย กันก่อนครับตามภาพคงพอเห็นได้ว่า รัฐบาลไทยในปัจจุบัน มีปัญหาไม่ได้รับการสนับสนุน จากบางภาคส่วนของประเทศอย่างชัดเจน เป็นเหตุให้ทั้ง นายกฯ , รัฐมนตรี และแม้แต่ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล ถูกต่อต้านขณะไปปฏิบัติหน้าที่ในบางพื้นที่ ในทางกลับกันถ้ามีการกลับขั้วการเมือง ก็จะเกิดสภาพ นายกฯ , รัฐมนตรี และ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลใหม่ ถูกต่อต้านขณะไปปฏิบัติหน้าที่ในบางพื้นที่เช่นกัน..ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและจะเกิดในอนาคตนี้ สมควรได้รับการป้องกันแก้ไข..เป็นที่มาของการเสนอ "แนวคิดการเมืองใหม่ง่ายๆ ที่ทำได้จริง" ในครั้งนี้ครับ ภาพซ้ายมือแสดงพื้นที่ผูกขาด ส.ส.เขต พลังประชาชน/ประชาธิปัตย์ (ชนะยกจังหวัดหรือเกิน 75%) ภาพขวามือแสดงพื้นที่ผูกขาด ส.ส.เขต พรรคอื่นๆ หรือมีการจับคู่แข่งขันกันเพียง 2 พรรคทั้งจังหวัด
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06-10-2008, 23:11 โดย jerasak »
|
บันทึกการเข้า
|
= A dreamer lives for eternity.= == นักฝันมีชีวิตเพื่อนิรันดร์กาล ==
|
|
|
jerasak
|
|
« ตอบ #1 เมื่อ: 28-09-2008, 16:31 » |
|
ผมมองว่าที่คนในชาติทะเลาะกัน ไม่ใช่เพราะ รธน.50แต่เป็นเพราะวิธีปฏิบัติในการฟอร์มรัฐบาล ที่ทำตามๆ กันมา และก่อให้เกิดปัญหาประชาชน 12 ล้านคนได้รัฐบาลของตัว แ่ต่ประชาชนอีก 12 ล้านคนเท่าๆ กัน เหลือสิทธิเป็นศูนย์!!!เรื่องนี้เห็นได้จากผลการเลือกตั้ง ส.ส.สัดส่วน (เลือกพรรค) ที่ 12 ล้านเสียงลงให้พลังประชาชน และอีก 12 ล้านเสียง ลงให้ประชาธิปัตย์ แต่เพราะระบบ Zero-Sum Game ในปัจจุบัน ทำให้ฝ่ายชนะ ได้ครองอำนาจบริหารทั้งหมด ขณะที่ฝ่ายแพ้ถูกกันออกจาก อำนาจบริหารโดยสิ้นเชิง ทั้งที่เป็นประชาชนไทยเหมือนกัน หากระบอบประชาธิปไตยหมายถึงการใส่ใจกับทุกเสียงในสังคม วิธีตั้งรัฐบาลในปัจจุบันเท่ากับเป็น "เผด็จการเสียงข้างมาก"ที่สำคัญคือคะแนนเสียงมีการกระจุกตัวเป็นภูมิภาคชัดเจน ทำให้เกิดภาพความแตกแยกทางการเมืองเป็นภูมิภาคด้วย ..ประชาชน 12 ล้านคนกลุ่มหลัง มีส่วนหนึ่งที่ต่อต้านรัฐบาล อย่างรุนแรง เพราะมองว่าไม่ใช่รัฐบาลที่ตัวเองเลือก.. ทำให้นายกฯ และรัฐมนตรีถูกขับไล่ในบางพื้นที่ของประเทศและปัญหานี้ไม่มีทางจบ ต่อให้กลุ่มหลังสามารถผลักดัน ให้พรรคที่ตัวเองสนับสนุนได้เป็นรัฐบาล เพราะประชาชน- ในกลุ่มแรกก็จะต่อต้านรัฐบาลใหม่อีกเช่นเดียวกัน ทางออกที่ผมคิดขึ้นในแนวคิดการเมืองใหม่ที่ทำได้จริงก็คือ..จะต้องนำสัดส่วนการสนับสนุนพรรคการเมืองของประชาชน ที่แสดงผ่านคะแนนเลือกตั้ง ส.ส.สัดส่วน (เลือกพรรค) มาใช้ กำหนดโควต้ารัฐมนตรี*เพราะประชาชนทั้งประเทศได้แสดงเจตจำนงเป็นมติมหาชน แล้วว่า สนับสนุนพรรคการเมืองใดเป็นรัฐบาลในสัดส่วนเท่าใด*ถ้าประชาธิปไตยคือการให้ความสำึคัญกับเสียงทุกเสียง แนวทางนี้ก็คือการมีรัฐบาลจากประชาธิปไตยจริงๆ.. ระบบปัจจุบันได้รัฐบาลมาจาก "เผด็จการเสียงข้างมาก"ทีไม่ว่าพรรคใดได้เป็นแกนนำรัฐบาล ก็จะไม่ได้รับการยอมรับ ว่าเป็นรัฐบาลของคนทั่วทั้งประเทศ.. ระบบปัจจุบันทำให้เกิดความแตกแยกในสังคมไทย!!!... ที่สำคัญคือวิธีปฏิบัติในการฟอร์มรัฐบาล ที่ทำตามๆ กันมา และก่อให้เกิดปัญหานั้น *ไม่ได้มีกฎหมายบัญญัติรับรอง หรือบังคับให้ต้องทำ* เป็นแค่เพียงธรรมเนียมปฏิบัติ ที่เปลี่ยนแปลงได้ หากมีวิธีอื่นที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหา *คนไทยฝ่ายละ 12 ล้านคน ไม่มีทางกำจัดอีกฝ่าย ให้หมดไปจากประเทศไทยได้หรอกครับ*ทางออกคือเราต้องหาทางอยู่ร่วมกันโดยสงบสุข เพื่อจะได้วางเรื่องแบ่งฝักแบ่งฝ่ายทางการเมือง แล้วเอาเวลาไปทำมาหากินกันเสียทีครับ ธรรมเนียมปฏิบัติใดก่อปัญหาสร้างความแตกแยก ก็ควรปรับเปลี่ยน เลือกวิธีใหม่ที่สามารถแก้ปัญหา *การเมืองคือมายา ข้าวปลาคือของจริง* ... อาจมีบางท่านตั้งคำถามถึงระบบตรวจสอบ เพราะดูเหมือน ระบบที่เสนอนี้จะไม่มีพรรคฝ่ายค้าน.. ผมเห็นว่าการตรวจสอบรัฐบาลควรเป็นหน้าที่ "วุฒิสภา"เนื่องจาก ส.ว. ถูกกำหนดไม่ให้สังกัดพรรคการเมือง และ ห้ามเป็นญาติใกล้ชิดพรรคการเมือง โดยที่ประชาชนก็เข้าใจหลักการดีแล้วว่าไม่ควรสนับสนุน ส.ว. ที่ข้องเกี่ยวกับพรรคการเมือง ประชาชนทราบแล้วว่า "วุฒิสภา" คือ "ฝ่ายตรวจสอบ" ในรัฐสภา ที่ผ่านมาผลงานตรวจสอบของวุฒิสภาเป็นที่ประจักษ์แล้ว
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03-10-2008, 14:16 โดย jerasak »
|
บันทึกการเข้า
|
= A dreamer lives for eternity.= == นักฝันมีชีวิตเพื่อนิรันดร์กาล ==
|
|
|
jerasak
|
|
« ตอบ #2 เมื่อ: 28-09-2008, 16:37 » |
|
ต่อไปเป็นรายละเอียดครับ มีทั้งหมด 6 ข้อ และภาคผนวกอีก 3 บท
เริ่มกันด้วยเรื่องเบาๆก่อน.. สรุปว่าส่วนนี้ก็เหมือนกับระบบเดิม จะมีเพิ่มเติมก็คือ เสนอให้เพิ่มความ "สำนึก" ในหมู่ประชาชนว่า..
"ประชาชนชาวไทยมีหน้าที่ต้องร่วมกันบริหารประเทศผ่านกลไกรัฐสภา"
และในข้อ 3 ที่ผมคิดว่าสามารถเปิดโอกาสให้มี "ผู้สมัครอิสระ" ได้ด้วย
เพราะการมี ส.ส.สัดส่วน เปิดโอกาสให้ประชาชน "เลือกพรรค" โดยตรงแล้ว และผมคิดว่าการเลือก ส.ส.เขต ถือเป็นการให้ประชาชน "เลือกตัวบุคคล" จึงไม่จำเป็นต้องบังคับให้ผู้สมัครต้องสังกัดพรรคการเมือง -------------------------------------------------------------------------------------------- 1. อำนาจอธิปไตย - ประเทศไทยปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข - อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย องค์พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนั้น ผ่านทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล - ประชาชนชาวไทยมีหน้าที่ต้องร่วมกันบริหารประเทศผ่านกลไกรัฐสภา
2. รัฐสภา - รัฐสภาประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร และ วุฒิสภา - สภาผู้แทนราษฎร มีหน้าที่พิจารณากฎหมาย และควบคุมตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล - วุฒิสภา มีหน้าที่กลั่นกรองตรวจสอบการทำงานของสภาผู้แทนราษฎร และการทำงานของรัฐบาล
3. สภาผู้แทนราษฎร - ให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. ใน 2 รูปแบบเหมือนในปัจจุบัน คือ "ส.ส.เขต" เพื่อให้ ประชาชนเลือกตัวบุคคล และ "ส.ส.สัดส่วน" เพื่อให้ประชาชนเลือกพรรค - จำนวน ส.ส.เขต และ ส.ส.สัดส่วน ให้ถือตามรัฐธรรมนูญ 2550 ก็ได้ - ผู้สมัคร ส.ส.เขต จะสังกัดพรรคการเมืองหรือไม่ก็ได้ โดยถือว่าการเลือก ส.ส.เขต เป็นการให้ประชาชนเลือกตัวบุคคล โดยอาศัยพื้นที่ในการแบ่งเขตเลือกตั้ง - ผู้สมัคร ส.ส.สัดส่วน ต้องสังกัดพรรคเสมอโดยถือว่าการเลือก ส.ส.สัดส่วน เป็นการให้ประชาชนเลือกพรรค (ใช้การแบ่งพื้นที่เป็น 8 ภาคเหมือนเดิมก็ได้) - ให้ ส.ส.เขต และ ส.ส.สัดส่วน ร่วมกันทำหน้าที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รับผิดชอบอำนาจนิติบัญญัติ คือการพิจารณางบประมาณ และกฎหมายต่างๆ และรับผิดชอบควบคุมตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ให้เป็นไปตามโครงการ ที่ได้รับอนุมัติงบประมาณ และเป็นไปตามกฎหมาย - ให้ สภาผู้แทนราษฎร มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03-10-2008, 14:18 โดย jerasak »
|
บันทึกการเข้า
|
= A dreamer lives for eternity.= == นักฝันมีชีวิตเพื่อนิรันดร์กาล ==
|
|
|
jerasak
|
|
« ตอบ #3 เมื่อ: 28-09-2008, 16:44 » |
|
4. วุฒิสภา- ให้มีการเลือกตั้งวุฒิสมาชิกจังหวัดละ 1 คน และแต่งตั้งจากการสรรหาตัวแทนของ ภาคส่วนต่างๆ เช่น กลุ่มอาชีพ/สมาคม/องค์กรเอกชน มีจำนวนตามความเหมาะสม ที่จะครอบคลุมทุกภาคส่วนของสังคม (เช่น เมื่อรวมกับวุฒิสภาชิกจากทุกจังหวัดแล้ว ให้มีจำนวนสมาชิกวุฒิสภาไม่เกิน 300 คน)- ผู้สมัครรับเลือกตั้งวุฒิสมาชิกประจำจังหวัด และผู้ได้รับการแต่งตั้งจากการสรรหา ต้องไม่สังกัดพรรคการเมือง และต้องไม่แสดงตนฝักใฝ่พรรคการเมืองใดๆ - ให้วุฒิสมาชิกจากการเลือกตั้งและการสรรหา ร่วมกันทำหน้าที่เป็นสมาชิกวุฒิสภา รับผิดชอบอำนาจนิติบัญญัติ คือการพิจารณางบประมาณ และกฎหมายต่างๆ ที่ได้รับ ความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร และรับผิดชอบตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล และ ส.ส. โดยเฉพาะการถอดถอนจากตำแหน่ง และดำเนินการตามกฎหมายเมื่อกระทำผิด - ให้วุฒิสภาร่วมกับฝ่ายตุลาการพิจารณาแต่งตั้งองค์กรอิสระ เช่น ปปช. - วุฒิสภามีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี และห้ามไม่ให้ดำรงตำแหน่ง 2 วาระต่อเนื่องกัน ---------------------------------------------------------------------------------------------- เช่นเดียวกันกับ 3 ข้อที่ผ่านมา ในส่วนนี้ส่วนใหญ่เหมือนระบบเดิมที่ใช้กันมา ต่างกันที่ผมคิดว่า น่าจะเปิดโอกาสให้มีตัวแทนจากภาคส่วนต่างๆ เพิ่มมากขึ้นอีก ซึ่งจุดนี้น่าจะสอดคล้องกับข้อเสนอของพันธมิตรอยู่บ้าง ในโมเดลนี้ ตัวแทนกลุ่มอาชีพตามข้อเสนอของกลุ่มพันธมิตร ผมจัดให้อยู่ในวุฒิสภา เพราะสามารถทำหน้าที่ได้ตรงตามที่กลุ่มพันธมิตรเสนอพอสมควร แต่จะถูกใจบรรดา พันธมิตรหรือเปล่าก็ไม่ทราบนะครับ เพราะดูเหมือนกลุ่มพันธมิตรก็ยังไม่ชัดเจนเลย โครงสร้างส่วนนี้เปิดกว้างจะให้มีตัวแทนจากภาคส่วนใด สัดส่วนเท่าไหร่ก็ได้ครับ หรือถ้าอยากเลือกตั้งเ้ข้ามาจากกลุ่มอาชีพก็ทำได้ตามสะดวกเช่นเดียวกัน..อำนาจหน้าที่ในการทำงานก็ให้มีเหมือนกับ ส.ว.ในระบบปัจจุบันครับ.. เนื่องจาก ส.ว. ตามรัฐธรรมนูญ 2550 มีความสามารถในการตรวจสอบรัฐบาล อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน และสามารถทำงานได้ดีเป็นที่ประจักษ์แล้วในโครงสร้างของผมนี้ ส.ว. ถือเป็นส่วนสำคัญใน ระบบตรวจสอบรัฐบาล
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03-10-2008, 09:19 โดย jerasak »
|
บันทึกการเข้า
|
= A dreamer lives for eternity.= == นักฝันมีชีวิตเพื่อนิรันดร์กาล ==
|
|
|
jerasak
|
|
« ตอบ #4 เมื่อ: 28-09-2008, 16:46 » |
|
5. นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี - คณะรัฐมนตรีประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรีว่าการประจำกระทรวง กระทรวงใดมีภารกิจมาก ให้มีรัฐมนตรีช่วยฯ ตามจำเป็นไม่เกินกระทรวงละ 2 คน - นายกรัฐมนตรีคือผู้ได้รับการสนับสนุนจากเสียงส่วนใหญ่ในสภาผู้แทนราษฎร โดยให้สภาผู้แทนฯพิจารณาเสนอชื่อผู้เหมาะสมที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก่อน หากไม่มีผู้ใดได้รับการสนับสนุนจากเสียงส่วนใหญ่ในสภาผู้แทนฯ จนกระทั่งเกิน เวลาที่กำหนด สภาผู้แทนฯ จะเสนอชื่อผู้เหมาะสมที่ไม่ใช่ ส.ส. ก็ได้
- ให้นำคะแนน ส.ส.สัดส่วน (เลือกพรรค) ทั่วประเทศของแต่ละพรรคมาคำนวณ โควต้ารัฐมนตรีของแต่ละพรรค จัดตั้งเป็นคณะรัฐมนตรีรับผิดชอบอำนาจบริหาร (ระบบควบคุมตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล จะกล่าวถึงต่อไปในภาคผนวก)
- ให้แต่ละพรรคเสนอชื่อผู้เหมาะสมดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ให้สภาผู้แทนราษฎร พิจารณาให้ความเห็นชอบเป็นรายกระทรวง ให้ผู้ที่ได้รับคะแนนเห็นชอบสูงสุด ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ทุกพรรคมีสิทธิเสนอรายชื่อผู้เหมาะสม จนกระทั่งมีรัฐมนตรีของพรรคครบตามโควต้า - ให้ผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการเสนอรายชื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการ จำนวนไม่เกิน กระทรวงละ 2 คน ให้สภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบตามเกณฑ์ที่กำหนด (เช่นต้องมี ส.ส.สนับสนุนกี่คน) จำนวนรัฐมนตรีช่วยว่าการที่จะเสนอได้ทั้งหมด ให้เป็นไปตามความเหมาะสมของขนาดภารกิจกระทรวง (ในเบื้องต้นอาจพิจารณา จากขนาดงบประมาณของแต่ละกระทรวง) - ผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นรัฐมนตรีว่าการ และรัฐมนตรีช่วยว่าการ ต้องมีคุณสมบัติ ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด เช่น ไม่เคยถูกศาลพิพากษาให้พ้นตำแหน่งรัฐมนตรีในอายุ สภาผู้แทนราษฎรปัจจุบัน (รายละเอียดคุณสมบัติรัฐมนตรีจะกล่าวถึงในภาคผนวก) - ให้ประธานรัฐสภานำรายชื่อคณะรัฐมนตรีขึ้นทูลเกล้าฯ และเป็นผู้ลงนามรับสนองฯ ----------------------------------------------------------------------------------------------
ข้อนี้ถือเป็นไฮไลน์ของระบบครับ เพราะมีการเปลี่ยนแปลงวิธีตั้งรัฐบาลจากเดิม
แต่ถามว่าแตกต่างจากระบบเดิมมากหรือไม่ ความจริงจะไม่แก้รัฐธรรมนูญก็ยังได้เลยครับ
*เพียงเปลี่ยนวิธีตั้ง ครม.แบบเดิมที่ก่อปัญหาแตกแยก มาใช้วิธีใหม่ที่แก้ปัญหาแทน*
ข้อแตกต่างที่สำคัญจากระบบเดิมคือ ระบบเดิมพรรคที่ชนะเลือกตั้งจะวิ่งเต้นจับกลุ่มกัน เพื่อฟอร์มรัฐบาล มีการต่อรองผลประโยชน์กันวุ่นวายอย่างที่เห็นมาโดยตลอด
สุดท้ายเมื่อจับกลุ่มกันได้เกินครึ่งสภา ก็จะยึดอำนาจในการตั้งรัฐบาลไปเป็นของตัว ทิ้งให้พรรคการเมืองที่เหลือมีสิทธิเป็นศูนย์ ไม่ว่าจะได้รับเลือกตั้งกี่ล้านคะแนนก็ตาม!!!
ขณะที่พรรคเล็กพรรคน้อยที่ได้ ส.ส.เพียง 4-5 คน และอาจไม่มี ส.ส.สัดส่วน เลยสักคน อาจได้รับตำแหน่งรัฐมนตรี เพียงเพราะไปเข้าร่วมกับกลุ่มเสียงข้างมากในสภาผู้แทนฯ ทั้งที่พรรคเล็กพรรคน้อยเหล่านี้ อาจไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนให้เป็นรัฐบาล โดยมีหลักฐานยืนยันชัดเจนจากคะแนน ส.ส.สัดส่วน (การเลือกพรรค) ที่ได้รับ
ข้อสรุปที่อ้างกันทั่วไปว่า "พรรคที่ได้เสียงมากที่สุดต้องเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล" ขณะที่พรรคอื่นๆ จะได้เป็นรัฐบาลหรือไม่เพียงใด ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของพรรคแกนนำ เป็นเพียงมายาคติที่ยึดถือกัน โดยไม่มีกฎหมายใดๆ บัญญัติรองรับทั้งสิ้น
มายาคติดังกล่าวเป็นสาเหตุความวุ่นวายไร้เสถียรภาพของรัฐบาลตลอดมา และปัจจุบันกลายเป็นสาเหตุของความแตกแยกในประเทศ
...
ข้อเสนอของผมนี้จะทำให้ไม่ต้องมีการต่อรองโควต้ารัฐมนตรีกันอีก เพราะประชาชนได้แสดง เจตจำนงชัดเจนแล้วว่า "สนับสนุนพรรคใดเป็นรัฐบาลในสัดส่วนเท่าใด"
โควต้ารัฐมนตรีในรัฐบาลก็ควรเป็นไปตามสัดส่วนความไว้วางใจของประชาชนที่ ได้แสดงผ่านการลงคะแนนเลือก ส.ส.สัดส่วน (เลือกพรรค) มาตั้งแต่ต้น
ปล. สำหรับท่านที่สงสัยว่าทำแบบนี้จะำทำให้ไม่มีฝ่ายค้าน ไม่มีระบบตรวจสอบ ผมจัดเรืองนี้ไว้ใน ภาคผนวก ก. : ระบบควบคุมตรวจสอบ ที่จะกล่าวต่อไปครับ
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06-10-2008, 02:04 โดย jerasak »
|
บันทึกการเข้า
|
= A dreamer lives for eternity.= == นักฝันมีชีวิตเพื่อนิรันดร์กาล ==
|
|
|
jerasak
|
|
« ตอบ #5 เมื่อ: 28-09-2008, 17:03 » |
|
6. ศาล - สมควรให้ใช้ระบบเดิมตาม รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ต่อไป ---------------------------------------------------------------------------------------------- เนื่องจากระบบศาลในปัจจุบันมีความน่าเชื่อถืออยู่แล้วนะครับ ดังนั้นผมคิดว่าน่าจะใช้ระบบเดิมต่อไป
อาจจะมีข้อสังเกตบางอย่าง เช่น ผมคิดว่าการวินิจฉัยยุบพรรค หรือการถอดถอนนายกรัฐมนตรี (เช่น คดีซุกหุ้น) น่าจะให้เป็น เขตอำนาจของศาลยุติธรรม มากกว่าศาลรัฐธรรมนูญ
แต่ก็เป็นเพียงความเห็นเล็กน้อย เพราะระบบปัจจุบันก็ทำงาน ได้มีประสิทธิภาพพอสมควรแล้วนะครับ เนื่องจากใน รธน.50 มีการปรับสัดส่วนตุลาการให้มาจากฝ่ายศาลยุติธรรมเพิ่มขึ้นแล้ว
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02-10-2008, 02:25 โดย jerasak »
|
บันทึกการเข้า
|
= A dreamer lives for eternity.= == นักฝันมีชีวิตเพื่อนิรันดร์กาล ==
|
|
|
moon
|
|
« ตอบ #6 เมื่อ: 28-09-2008, 17:32 » |
|
รอภาคผนวกอยู่ครับ ขอบคุณครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jerasak
|
|
« ตอบ #7 เมื่อ: 28-09-2008, 17:42 » |
|
ภาคผนวก ก. : ระบบควบคุมตรวจสอบ- ให้ ส.ส. มีสิทธิเข้าชื่อกันเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะ รวมทั้งตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีเกี่ยวกับการทำหน้าที่ในรัฐบาล - ให้ วุฒิสภา มีอำนาจถอดถอน นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และ ส.ส. ตามที่กฎหมายกำหนด - ให้ วุฒิสภา พิจารณาส่งเรื่องให้ ปปช. พิจารณาดำเนินคดีตามกฎหมาย เมื่อ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี หรือ ส.ส. ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดกฎหมาย - ให้นายกรัฐมนตรี มีอำนาจพิจารณาปลดรัฐมนตรีจากตำแหน่ง โดยนำความขึ้นทูลเกล้าฯ - เมื่อมีตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการว่างลง ให้พรรคที่มีรัฐมนตรีไม่ครบโควต้ามีสิทธิเสนอชื่อ ผู้เหมาะสมให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบ - เมื่อมีตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงใดว่างลง ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงนั้น เป็นผู้เสนอชื่อผู้เหมาะสมให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบ - ให้นายกรัฐมนตรี นำรายชื่อรัฐมนตรีใหม่ที่สภาให้ความเห็นชอบ ขึ้นทูลเกล้าฯ และเป็นผู้ลงนามรับสนองฯ - ให้นายกรัฐมนตรี มีอำนาจยุบสภาผู้แทนราษฎร โดยต้องได้รับความเห็นชอบ จากสภาผู้แทนราษฎรตามเกณฑ์ที่กำหนด แล้วนำความขึ้นทูลเกล้า ---------------------------------------------------------------------------------------------- อธิบาย ภาคผนวก ก. : ระบบควบคุมตรวจสอบ - ให้ ส.ส. มีสิทธิเข้าชื่อกันเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะ - ให้ วุฒิสภา มีอำนาจถอดถอน นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และ ส.ส. ตามที่กฎหมายกำหนด - ให้ วุฒิสภา พิจารณาส่งเรื่องให้ ปปช. พิจารณาดำเนินคดีตามกฎหมาย เมื่อ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี หรือ ส.ส. ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดกฎหมายระบบที่ผมเสนอเกี่ยวกับการกำหนดโควต้ารัฐมนตรีจากคะแนนเลือก ส.ส.สัดส่วน ดูเหมือนกับทำให้ไม่มีฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร แต่ในความเป็นจริง... ..การตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลเป็นหน้าที่ของ ส.ส. ทุกคนอยู่แล้ว..เพียงแต่ที่ผ่านมาพรรคร่วมรัฐบาลจะมีจำนวน ส.ส. มากกว่าพรรคฝ่ายค้านเสมอ และรัฐมนตรีทุกคนมาจากพรรคร่วมรัฐบาล ทำให้ ส.ส.ส่วนใหญ่ในสภาไม่ทำหน้าที่- ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล มีเพียง ส.ส.เสียงข้างน้อยทำหน้าที่ตรวจสอบ ซึ่งที่ผ่านมาก็เห็นกันแล้วว่าการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ไม่มีทางทำให้ ส.ส.ส่วนใหญ่ ลงคะแนนไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี ขณะที่เนื้อหาและข้อมูลในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ของฝ่ายค้าน และการตอบแก้ตัวของรัฐมนตรี ก็ไม่มีมาตรฐาน จะใช้แต่เพียงคารม เอาตัวรอด หรือโจมตีเรื่องส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นก็ได้ ประเด็นที่นำมาอภิปรายไม่ไว้วางใจ เมื่อมีการกล่าวหาว่ารัฐมนตรี หรือบุคคลใดๆ ทุจริตคอร์รัปชั่นก็มักไม่มีฟ้องร้องการดำเนิืนคดีให้ความจริงเป็นที่ประจักษ์ ฝ่ายค้านทำให้สภาลงมติไม่ไว้วางใจก็ไม่ได้ เมื่อกล่าวหารัฐมนตรีหรือบุคคลใดๆ ก็ไม่มีการฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมาย สรุปว่ามีฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรก็มีไว้พอเป็นพิธีเท่านั้น.. ใช้งานจริงไม่ได้... แต่.. ไม่ใช่ว่าการกำหนดโควต้ารัฐมนตรีจากคะแนน ส.ส.สัดส่วน จะทำให้ ไม่มีบทบาทการตรวจสอบรัฐบาล จากสภาผู้แทนราษฎรนะครับ เมื่อลองพิจารณาแล้วจะพบว่า ส.ส.ของพรรคใดๆ ยังสามารถตั้งกระทู้ถาม เพื่อตรวจสอบรัฐมนตรีต่างพรรคได้เสมอ รวมทั้งจะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ ก็สามารถเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายได้เช่นเดียวกับระบบเดิมทุกประการ นอกจากนี้ยังมี ส.ส.จำนวนหนึ่งที่สังกัดพรรคเล็กพรรคน้อยซึ่งไม่ได้โควต้า- รัฐมนตรี และในระบบที่ผมนำเสนอยังอาจมี ส.ส.อิสระ อยู่ในสภาอีกด้วย ทั้งหมดก็เท่ากับมีสถานะเป็น ส.ส.ฝ่ายค้าน ในระบบเดิมนั่นเอง อย่างไรก็ตาม.. โครงสร้างของผมไม่ให้น้ำหนักกับบทบาทตรวจสอบรัฐบาล โดยสภาผู้แทนราษฎรนะครับ ด้วยเหตุผลที่ได้อธิบายมาแล้ว หน้าที่หลักของสภาผู้แทนราษฎรคือ "การพิจารณางบประมาณ" และ "การพิจารณากฎหมายต่างๆ" ซึ่งเป็นส่วนของ อำนาจนิติบัญญัติ ครับ... องค์กรที่มีบทบาทหลักในการตรวจสอบรัฐบาลในระบบของผมคือ "วุฒิสภา" ตลอดไปถึง "ปปช." และ "ศาล"เนื่องจากวุฒิสภามีความเหมาะสมทุกประการในการรับหน้าที่ตรวจสอบ - ไม่สังกัดพรรคการเมือง และแสดงการฝักใฝ่พรรคการเมืองไม่ได้ - กำหนดให้ดำรงตำแหน่งยาวนานกว่าสภาผู้แทนราษฎร เป็นการตัดความ สัมพันธ์กับรัฐบาลที่มีอายุเพียงเท่ากับอายุสภาผู้แทนฯ - มีตัวแทนทั้งจากจังหวัด และภาคส่วนต่างๆ อย่างกว้างขวาง - การทำงานของวุฒิสภาเน้นการถอดถอนนักการเมืองจากตำแหน่ง และส่งฟ้องดำเนินคดีตามกฎหมาย ซึ่งเกิดผลตรวจสอบควบคุมจริง ต่างจากการอภิปรายในสภาผู้แทนฯ อย่างชัดเจน - มีตัวอย่างผลงานตรวจสอบของวุฒสภามาแล้ว เช่น กรณีอดีตนายกฯสมัครปัจจุบันผมคิดว่าสังคมเชื่อมั่นการตรวจสอบโดย วุฒิสภา มากกว่า ส.ส. อยู่แล้ว
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02-10-2008, 02:35 โดย jerasak »
|
บันทึกการเข้า
|
= A dreamer lives for eternity.= == นักฝันมีชีวิตเพื่อนิรันดร์กาล ==
|
|
|
jerasak
|
|
« ตอบ #8 เมื่อ: 28-09-2008, 17:59 » |
|
อธิบาย ภาคผนวก ก. : ระบบควบคุมตรวจสอบ (ต่อ) - ให้นายกรัฐมนตรี มีอำนาจพิจารณาปลดรัฐมนตรีจากตำแหน่ง โดยนำความขึ้นทูลเกล้าฯ
- เมื่อมีตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการว่างลง ให้พรรคที่มีรัฐมนตรีไม่ครบโควต้ามีสิทธิเสนอชื่อ ผู้เหมาะสมให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบ - เมื่อมีตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงใดว่างลง ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงนั้น เป็นผู้เสนอชื่อผู้เหมาะสมให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบ - ให้นายกรัฐมนตรี นำรายชื่อรัฐมนตรีใหม่ที่สภาให้ความเห็นชอบ ขึ้นทูลเกล้าฯ และเป็นผู้ลงนามรับสนองฯ- ให้นายกรัฐมนตรี มีอำนาจยุบสภาผู้แทนราษฎร โดยต้องได้รับความเห็นชอบ จากสภาผู้แทนราษฎรตามเกณฑ์ที่กำหนด แล้วนำความขึ้นทูลเกล้า---------------------------------------------------------------------------------------------- ในระบบของผมเมื่อมีรัฐมนตรีถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ แม้มีความผิดพลาดชัดเจน ก็เป็นการยากที่รัฐมนตรีจะถูกลงมติไม่ไว้วางใจ อยู่ดีนะครับ แต่นายกรัฐมนตรีอาจพิจารณาเห็นว่าสมควรปรับรัฐมนตรีรายดังกล่าวออกก็ได้ ซึ่งในฐานะผู้นำรัฐบาล ผมคิดว่านายกฯ ควรมีสิทธิปลดรัฐมนตรี (หรือกระซิบ ให้ลาออกแต่โดยดี ) ถ้ารัฐมนตรีถูกปลดตรงๆ นายกฯ ก็นำเรื่องขึ้นทูลเกล้่าฯ แต่ถ้ายอมลาออกโดยดี ก็ยังไม่ต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯ รอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเลือกรัฐมนตรีคนใหม่ แล้วค่อยนำขึ้นทูลเกล้าฯ ในขั้นตอนเดียวก็ได้ครับ จุดสำคัญก็คือผมถือว่าสิทธิในการเสนอตัวรัฐมนตรีตามโควต้าของพรรคยังคงอยู่ เพราะประชาชนได้ตัดสินใจให้พรรคมีสิทธิเลือกรัฐมนตรีตามสัดส่วนคะแนนแล้ว สิทธินี้จึงยังคงอยู่ตลอดอายุของสภาผู้แทนฯและสำหรับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วย ถือว่าเป็นผู้ช่วยของรัฐมนตรีว่าการโดยตรง ผมถือว่าเป็นสิทธิของรัฐมนตรีว่าการที่จะเสนอชื่อครับ และเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับ ประสิทธิภาพการทำงานของทีม ที่น่าจะเป็นทีมเดียวกันด้วย... อีกประเด็นที่ผมเสนอก็คือ อำนาจการยุบสภาของนายกรัฐมนตรี ควรขึ้นอยู่กับ ความเห็นชอบของสภาผู้แทนฯ เพราะตัวนายกฯ เองก็มาจากการแต่งตั้งของ สภาผู้แทนราษฎร ไม่ควรมีอำนาจล้มล้างสภาผู้แทนราษฎรเสียเอง ถ้ามีปัญหาทำงานไม่ได้จริงๆก็ต้องลาออกไป และให้สภาผู้แทนฯเลือกคนใหม่ มาทำหน้าที่นายกฯ คนใหม่ต่อไปครับสำหรับผมแล้ว สภาผู้แทนราษฎรต้องใหญ่กว่านายกฯ เพราะเป็นช่องทาง ในการบริหารประเทศของประชาชนชาวไทยครับ
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02-10-2008, 02:37 โดย jerasak »
|
บันทึกการเข้า
|
= A dreamer lives for eternity.= == นักฝันมีชีวิตเพื่อนิรันดร์กาล ==
|
|
|
jerasak
|
|
« ตอบ #9 เมื่อ: 28-09-2008, 18:11 » |
|
ภาคผนวก ข. : เกณฑ์มาตรฐานผู้มีสิทธิดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี - ให้มีการกำหนดเกณฑ์คุณสมบัติของรัฐมนตรีว่าการ เป็นรายกระทรวงโดยเฉพาะ ในรูปเดียวกับที่มีการกำหนดคุณสมบัติของผู้บริหารองค์กรภาครัฐ เช่น ผู้ว่าฯ ธปท. - กำหนดให้พรรคการเมืองแต่ละพรรค จัดตั้งคณะรัฐมนตรีเงาประจำกระทรวงต่างๆ เพื่อทำหน้าที่ติดตามตรวจสอบการทำงานของคณะรัฐมนตรี และเสนอความคิดเห็น ต่อสาธารณะเกี่ยวกับการทำงานของกระทรวงต่างๆ - ผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีเงาของพรรคในแต่ละกระทรวงจะต้องมีคุณสมบัติตรงตาม เกณฑ์คุณสมบัติรัฐมนตรีของกระทรวงนั้นๆ - รายชื่อของคณะรัฐมนตรีเงาชุดปัจจุบันต้องได้รับการเปิดเผยต่อสาธารณะตลอดเวลา - ในการเสนอชื่อผู้เหมาะสมดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ และรัฐมนตรีช่วยว่าการ ต่อสภาผู้แทนราษฎร ผู้ได้รับการเสนอชื่อต้องดำรงตำแหน่งเป็น รัฐมนตรีเงา ประจำกระทรวงดังกล่าวของพรรคการเมืองที่มีสมาชิกเป็น ส.ส. ในขณะนั้น - ในกรณีผู้เหมาะสมจาก ครม.เงา ของพรรค ไม่ผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนฯ ให้เสนอชื่อผู้เหมาะสมดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ และรัฐมนตรีช่วยว่าการ จาก ผู้ดำรงตำแหน่ง หรือเคยดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมาธิการ หรือ รองประธาน- กรรมาธิการในสภาผู้แทนราษฎร เฉพาะคณะที่มีภารกิจตรงกับกระทรวงที่เสนอชื่อ - ในกรณีผู้เหมาะสมจากกรรมาธิการสภาฯ ไม่ผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนฯ อีก อนุโลมให้เสนอชื่อผู้เหมาะสมดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ และรัฐมนตรีช่วยว่าการ จากข้าราชการ หรือ อดีตข้าราชการระดับอธิบดีขึ้นไป ในกระทรวงดังกล่าวก็ได้ โดยให้ถือว่า สภาผู้แทนฯ ให้ความเห็นชอบแล้ว - ห้ามเสนอชื่อผู้ที่เคยถูกศาลพิพากษาให้พ้นตำแหน่งรัฐมนตรีในอายุสภาผู้แทนฯ กลับมาดำรงตำแหน่งในรัฐบาลอีก ตลอดอายุของ สภาผู้แทนฯ นั้นๆ ---------------------------------------------------------------------------------------------- อธิบาย ภาคผนวก ข. : เกณฑ์มาตรฐานผู้มีสิทธิดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี
- ให้มีการกำหนดเกณฑ์คุณสมบัติของรัฐมนตรีว่าการ เป็นรายกระทรวงโดยเฉพาะ ในรูปเดียวกับที่มีการกำหนดคุณสมบัติของผู้บริหารองค์กรภาครัฐ เช่น ผู้ว่าฯ ธปท. - กำหนดให้พรรคการเมืองแต่ละพรรค จัดตั้งคณะรัฐมนตรีเงาประจำกระทรวงต่างๆ เพื่อทำหน้าที่ติดตามตรวจสอบการทำงานของคณะรัฐมนตรี และเสนอความคิดเห็น ต่อสาธารณะเกี่ยวกับการทำงานของกระทรวงต่างๆ - ผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีเงาของพรรคในแต่ละกระทรวงจะต้องมีคุณสมบัติตรงตาม เกณฑ์คุณสมบัติรัฐมนตรีของกระทรวงนั้นๆ - รายชื่อของคณะรัฐมนตรีเงาชุดปัจจุบันต้องได้รับการเปิดเผยต่อสาธารณะตลอดเวลา - ในการเสนอชื่อผู้เหมาะสมดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ และรัฐมนตรีช่วยว่าการ ต่อสภาผู้แทนราษฎร ผู้ได้รับการเสนอชื่อต้องดำรงตำแหน่งเป็น รัฐมนตรีเงา ประจำกระทรวงดังกล่าวของพรรคการเมืองที่มีสมาชิกเป็น ส.ส. ในขณะนั้น
ปัญหาสำคัญที่สุดประการหนึ่งของระบบการเมืองไทยก็คือ "รัฐมนตรีด้อยคุณภาพ"
ผมคิดว่าควรมีการตั้งเกณฑ์คุณสมบัติของรัฐมนตรีขึ้นมาเป็นรายกระทรวง และพรรคการเมืองควรมีบทบาทในการคัดสรร และบ่มเพาะนักการเมือง ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเพื่อขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรี
ในเมื่อการตั้ง พรรคการเมือง ก็มีวัตถุประสงค์เพื่อเข้าสู่การบริหารประเทศอยู่แล้ว ดังนั้นพรรคการเมืองทุกพรรคก็ควรมีความพร้อมที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดิน ในทุกกระทรวง โดยมีการสั่งสมความรู้ แนวคิด และประสบการณ์อย่างต่อเนื่อง
ผมจึงคิดว่าควรกำหนดให้ทุกพรรคการเมือง มีการจัดตั้ง ครม.เงา ของตัวเอง โดยคัดสรรผู้มีความรู้ความสามารถเหมาะสม มาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีเงา เพื่อทำหน้าที่ติดตามตรวจสอบคณะรัฐมนตรี ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะในการ บริหารราชการแผ่นดิน และเป็นประูตูของพรรคที่เปิดรับความคิดเห็นในการ บริหารประเทศจากประชาชนทุกภาคส่วน
รายชื่อ ครม.เงา ชุดปัจจุบันจะต้องเปิดเผยต่อประชาชนตลอดเวลา เพื่อประโยชน์ของประชาชนในการตัดสินใจ "เลือกพรรค" ที่น่าสนับสนุน
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02-10-2008, 02:38 โดย jerasak »
|
บันทึกการเข้า
|
= A dreamer lives for eternity.= == นักฝันมีชีวิตเพื่อนิรันดร์กาล ==
|
|
|
jerasak
|
|
« ตอบ #10 เมื่อ: 28-09-2008, 18:28 » |
|
อธิบาย ภาคผนวก ข. : เกณฑ์มาตรฐานผู้มีสิทธิดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี (ต่อ)
- ในกรณีผู้เหมาะสมจาก ครม.เงา ของพรรค ไม่ผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนฯ ให้เสนอชื่อผู้เหมาะสมดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ และรัฐมนตรีช่วยว่าการ จาก ผู้ดำรงตำแหน่ง หรือเคยดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมาธิการ หรือ รองประธาน- กรรมาธิการในสภาผู้แทนราษฎร เฉพาะคณะที่มีภารกิจตรงกับกระทรวงที่เสนอชื่อ - ในกรณีผู้เหมาะสมจากกรรมาธิการสภาฯ ไม่ผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนฯ อีก อนุโลมให้เสนอชื่อผู้เหมาะสมดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ และรัฐมนตรีช่วยว่าการ จากข้าราชการ หรือ อดีตข้าราชการระดับอธิบดีขึ้นไป ในกระทรวงดังกล่าวก็ได้ โดยให้ถือว่า สภาผู้แทนฯ ให้ความเห็นชอบแล้ว - ห้ามเสนอชื่อผู้ที่เคยถูกศาลพิพากษาให้พ้นตำแหน่งรัฐมนตรีในอายุสภาผู้แทนฯ กลับมาดำรงตำแหน่งในรัฐบาลอีก ตลอดอายุของ สภาผู้แทนฯ นั้นๆ ---------------------------------------------------------------------------------------------- อย่างไรก็ตามเพื่อกันเหนียวกรณีผู้เหมาะสมจาก ครม.เงา ของพรรค ไม่ผ่านความเห็นชอบ จากสภาผู้แทนฯ ผมก็เลยคิดต่อไปว่ายังมีนักการเมืองอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความเหมาะสม ที่จะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ก็คือประธาน+รองประธานคณะกรรมการธิการต่างๆ ในสภา- ผู้แทนราษฎร ถ้าจำไม่ผิดปัจจุบันจะมีอยู่ 35 คณะครับ
หรือถ้าผู้เหมาะสมจากคณะกรรมาธิการก็ยังไม่ผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนฯ อีก ก็คงต้องหาวิธีให้มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ผมก็คิดต่อไปอีกว่ายังมีบุคลากรที่มีความ สามารถเหมาะสมอีกก็คือ ข้าราชการและอดีตข้าราชการระดับอธิบดีขึ้นไป เนื่องจาก กว่าจะำดำรงตำแหน่งระดับอธิบดีน่าจะมีอายุราชการยาวนาน เข้าใจระบบการทำงาน ของกระทรวงตัวเองเป็นอย่างดี น่าจะพอบริหารกระทรวงไปได้ตลอดรอดฝั่งนะครับ
และถ้ามาถึงขนาดนี้ผมคิดว่าต้องมีบทสรุปในการหาผู้ดำรงตำแหน่งให้สำเร็จครับ ดังนั้นถึงขั้นนี้ไม่ต้องให้สภาฯเห็นชอบอีกแล้ว แต่ให้ถือว่าเห็นชอบไปเลยจบเรื่อง ไม่อย่างนั้นอาจไม่ได้ตัวผู้ดำรงตำแหน่งเสียที
...
ที่ำสำคัญที่สุดคือ รัฐมนตรีที่ถูกศาลพิพากษาให้ต้องพ้นตำแหน่งไปแล้ว ไม่สมควรกลับมาดำรงตำแหน่งอีกในอายุของสภาฯ เดียวกัน
จะปล่อยให้พิจารณาตัวเองก็ดูเหมือนไว้ใจไม่ได้เสียแล้ว ผมอยากเสนอ ให้กำหนดห้ามเป็นลายลักษณ์อักษรให้ชัดเจนไปเลยครับ
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02-10-2008, 02:40 โดย jerasak »
|
บันทึกการเข้า
|
= A dreamer lives for eternity.= == นักฝันมีชีวิตเพื่อนิรันดร์กาล ==
|
|
|
jerasak
|
|
« ตอบ #11 เมื่อ: 28-09-2008, 18:55 » |
|
ภาคผนวก ค. : ปัญหาการดำเนินโครงการภาครัฐ และข้อเสนอแนะหัวข้อนี้สารภาพตามตรงว่าคิดยังไม่เสร็จนะครับรายละเอียดมากเหลือเกิน ก็เลยอยากปรึกษาทุกๆ คนมากกว่า... ปัญหาที่ผมเห็นในโครงการภาครัฐ และคิดว่าเกี่ยวข้องกับโครงสร้างการเมือง ก็คือโครงการภาครัฐต่างๆ มักได้รับการผลักดันจากรัฐมนตรี หรือผู้นำรัฐบาล แต่โชคร้ายที่ประเทศไทยเรา การดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีไ่ม่มีความมั่นคงใดๆ ทำให้โครงการภาครัฐที่ได้รับการผลักดันโดยรัฐมนตรีไม่มั่นคงไปด้วย ..ส่วนใหญ่โครงการจะจากไปพร้อมกับตัวรัฐมนตรีที่มีอันต้องพ้นตำแหน่ง..เพราะพอรัฐมนตรีคนใหม่เข้ามาก็มักล้มโครงการเดิม และผลักดันโครงการใหม่ ของตัวเองขึ้นมาแทนที่ ... ัปัญหาอีกประการก็คือความรู้ความสามารถของตัวรัฐมนตรีที่ผลักดันโครงการ เนื่องจากที่ผ่านมาเราไม่มีเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับคุณสมบัติรัฐมนตรี ทำให้ โครงการต่างๆ ที่รัฐมนตรีผลักดัน ไม่มีความถูกต้องเหมาะสม ไปจนถึงขนาด แปลกประหลาด และอาจถึงขนาดบ้าๆ บอๆ ก็เคยมี ..ระหว่างยังดำรงตำแหน่งอยู่ ข้าราชการก็ต้องทนทำสนองนโยบายกันไป ซึ่งในที่สุดก็ล้มเหลว สร้างความเสียหาย สิ้นเปลืองงบประมาณไปเปล่าๆ..... ปัญหาเหล่านี้อาจทุเลาเบาบางลง หากโครงสร้างระบบการเมืองทำตาม ข้อเสนอทั้งหมดของผมในกระทู้นี้ เพราะคาดหวังได้ว่าอายุขัยของรัฐบาล น่าจะยืนยาวได้ตลอดอายุของสภาผู้แทนฯ เพราะมีเกณฑ์ในการกำหนด ตัวรัฐมนตรีมาตั้งแต่ต้น และโควต้ารัฐมนตรีประชาชนก็ตัดสินใจเสร็จแล้ว ในส่วนของคุณสมบัติรัฐมนตรีก็กำหนดไว้แล้ว น่าจะได้ผู้มีความเหมาะสม อย่างไรก็ตาม ผมก็ยังไม่มั่นใจว่าผู้มาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีจะสามารถ คิดโครงการที่เหมาะสมและทำได้ต่อเนื่องจนสำเร็จริงๆ ก็เลยอยากมีข้อเสนอแนะ ให้สมาชิกทุกๆ ท่านลองคิดพิจารณาดูนะครับ ---------------------------------------------------------------------------------------------- ข้อเสนอแนะ- โครงการภาครัฐต่างๆ น่าจะจัดทำและนำเสนอโดยหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบ เพื่อให้ได้โครงการที่ทำได้จริง คิดขึ้นโดยผู้ทำงานโดยตรงมายาวนาน - ในเบื้องต้นรัฐมนตรีน่าจะมีหน้าที่เพียงพิจารณาให้การสนับสนุนไม่ใช่คิดโครงการเอง - เมื่อโครงการใดรัฐมนตรีสนับสนุนแล้ว ให้หน่วยงานราชการที่เสนอโครงการ เป็นผู้นำเสนอโครงการต่อสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้สภาฯ อนุมัติงบประมาณ - รัฐมนตรีมีหน้าที่กำกับดูแล ผลักดันให้โครงการที่สภาผู้แทนฯ ลงมติอนุมัติแล้ว ดำเนินต่อไปจนสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นโครงการที่รัฐมนตรีสนับสนุนขณะดำรงตำแหน่ง หรือเป็นโครงการที่สภาผู้แทนฯ อนุมัติในสมัยรัฐมนตรีคนก่อนๆ - โครงการที่สภาผู้แทนฯ อนุมัติแล้ว รัฐมนตรีไม่มีสิทธิล้มโครงการเองโดยพลการ - สภาผู้แทนฯ มีหน้าที่ติดตามการทำงานของรัฐมนตรีกระทั่งโครงการสำเร็จ - หากโครงการไม่สำเร็จถือเป็นความรับผิดชอบของรัฐมนตรีที่ต้องรับผิดชอบต่อสภา
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02-10-2008, 02:41 โดย jerasak »
|
บันทึกการเข้า
|
= A dreamer lives for eternity.= == นักฝันมีชีวิตเพื่อนิรันดร์กาล ==
|
|
|
jerasak
|
|
« ตอบ #12 เมื่อ: 28-09-2008, 18:58 » |
|
โพสต์ครบแล้วครับ ขอเชิญสมาชิกทุกท่านร่วมวิจารณ์ระบบกันได้เลย มีข้อสงสัยอย่างไรสามารถตั้งคำถามทิ้งไว้ได้เลยนะครับ
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02-10-2008, 02:44 โดย jerasak »
|
บันทึกการเข้า
|
= A dreamer lives for eternity.= == นักฝันมีชีวิตเพื่อนิรันดร์กาล ==
|
|
|
Sweet Chin Music
|
|
« ตอบ #13 เมื่อ: 28-09-2008, 21:13 » |
|
ขอลองมอมในอีกมุมหนึ่งได้ไหมครับ
คือว่า ปัจจุบัน เท่าที่ผมเห็น มีคนที่ไม่รู้จักใช้สิทธิทางการเมืองของตัวเองอย่างเต็มที่
เช่น พอถึงช่วงเลือกตั้ง ก็เลือกๆไป ประมาณว่า สักแต่ว่าเลือกๆๆ ตามเพื่อน พ่อ แม่ แฟน อะไรก็ว่าไป
หรือที่พันธมิตรกำลังชุมนุมอยู่ในเวลานี้ กลับมองว่าเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ ไม่น่าสนใจ
หรือเจอข่าวการเมืองใดๆ เปิดผ่านไป ไม่อ่าน ไม่ดูข่าว แม้แต่ช่อง Free TV นี่ละ ข่าวการเมืองมาปุ๊ กดเปลี่ยนปั๊บ...
คนกลุ่มนี่ละครับ ที่จะเป็นตัวทำให้ระบบต่างๆที่คิดว่าดี กลายเป็นง่อย พิการ ไปไำด้ เพราะว่า นักการเมืองชั้นต่ำทั้งหลาย
ก็จะมีวิธีหากินกับคนกลุ่มนี้อยู่ ดังนี้แล้ว ประเด็นที่ผมอยากให้มีการเร่งรัดคือ การใส่คำว่า "การเมือง" ไปในการศึกษาตั้งแต่ยังเด็กๆ
โดยอาจจะยอมทนฟังเสียงเด็กๆด่าบ้าง (และระบบ a-net o-net ที่บ่นๆกัน ก็มาจากการเมืองแท้ๆ) เพื่อปลูกฝัง ความรู้ความเข้าใจ
ทางการเมืองให้มากๆ ใช้สิทธิ์ของตนให้เกิดประโยชน์ โดยอาจมีการปลูกฝังเรื่องจริยธรรม คุณธรรมเข้าไปด้วย ผมว่าตำราที่น่าจะใช้ได้ก็คือ
ตำราธรรมะจากพระนี่ละ ผมว่า มันมีความน่าอ่าน น่าสนใจกว่า หนังสือแบบเรียน พระพุทธศาสนา เยอะมากเลย ...
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Scorpio6
|
|
« ตอบ #14 เมื่อ: 28-09-2008, 22:38 » |
|
ลงชื่อไว้ก่อนในฐานะ แฟนคลับคุณจีฯครับ แล้วผมจะ เจาะเวลา...มาตามอ่านเรื่อยๆนะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
คิดจะล้มระบอบทักษิณ ต้องอ่านใจเนวินและเพื่อนบล็อกเสี่ยวไทบ้าน*แวะเยี่ยมRepublican Collage ของคุณสุธา ชันแสง* http://www.oknation.net/blog/thaibaan/2008/03/26/entry-1"ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนและในฐานะอย่างไร จงตรองหาว่า จะมีทางใช้ชีวิต ให้เป็นประโยชน์ในทางใดบ้าง เมื่อตั้งใจคิดถึงมันแล้วก็จะพบเสมอ ไม่ว่าอยู่ที่ใด เมื่อพบทางแล้วจงลงมือทำสิ่งที่เป็นประโยชน์"
|
|
|
|
jerasak
|
|
« ตอบ #16 เมื่อ: 28-09-2008, 23:44 » |
|
*ย้ายเนื้อหา คคห.16 ขึ้นไปสรุปที่ต้นกระทู้นะครับ*
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03-10-2008, 14:03 โดย jerasak »
|
บันทึกการเข้า
|
= A dreamer lives for eternity.= == นักฝันมีชีวิตเพื่อนิรันดร์กาล ==
|
|
|
jerasak
|
|
« ตอบ #17 เมื่อ: 28-09-2008, 23:48 » |
|
*ย้ายเนื้อหา คคห.17 ขึ้นไปสรุปที่ต้นกระทู้แล้วครับ*
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03-10-2008, 14:03 โดย jerasak »
|
บันทึกการเข้า
|
= A dreamer lives for eternity.= == นักฝันมีชีวิตเพื่อนิรันดร์กาล ==
|
|
|
พระพาย
|
|
« ตอบ #18 เมื่อ: 29-09-2008, 00:56 » |
|
เพราะชัดเจนตั้งแต่แรกว่าที่ประชาชน "เลือกพรรค" ก็คือต้องการเลือกให้ไปเป็นฝ่ายบริหารขณะเดียวกันในทางนิติบัญญัติ พรรคที่ได้คะแนน อันดับ 2 ก็จะมีสิทธิเป็นอันดับ 2 ไม่ใช่อันดับศูนย์ รายละเอียดรบกวนอ่านรายละเอียดข้างบนนะครับ มีโอกาสแว๊บเข้ามาอ่านได้แป๊บนึง... ว่าจะถามท่านจีตรงที่โค้ดนี่แหละครับ สมมติว่านโยบายของพรรคที่ประชาชนเลือกมีข้อแตกต่างมากมายมหาศาลในแต่ละพรรค เช่น พรรค A เน้นแนวทางประชานิยมในทุกกระทรวง ส่วนพรรค B เน้นที่ Mega Project ในทุกกระทรวง... แล้วพรรคเหล่านั้นจะทำงานร่วมรัฐบาลเดียวกันได้หรือไม่ครับ ? ที่จริงมีอีกประเด็นเรื่องการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งสาขาอาชีพ... ผมคิดว่ามีสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่เป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับปรัชญาพื้นฐานในระบอบประชาธิปไตย แต่คิดว่ายังไม่ควรวิพากษ์ตอนนี้จนกว่าจะเห็นตุ๊กตาชัดๆ ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Jrock1
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
ออฟไลน์
กระทู้: 28
|
|
« ตอบ #19 เมื่อ: 29-09-2008, 01:11 » |
|
เวลาลงมติไม่ไว้วางใจ ทำยังไงครับ
สมมุติ พปช มี 280 เสียง ปชป มี 200
เวลาโหวต รัฐมนตรีฝั่ง ปชป ไม่หลุดกันเป็นว่าเล่นหรือ ??
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jerasak
|
|
« ตอบ #20 เมื่อ: 29-09-2008, 01:41 » |
|
มีโอกาสแว๊บเข้ามาอ่านได้แป๊บนึง... ว่าจะถามท่านจีตรงที่โค้ดนี่แหละครับ
สมมติว่านโยบายของพรรคที่ประชาชนเลือกมีข้อแตกต่างมากมายมหาศาลในแต่ละพรรค เช่น พรรค A เน้นแนวทางประชานิยมในทุกกระทรวง ส่วนพรรค B เน้นที่ Mega Project ในทุกกระทรวง... แล้วพรรคเหล่านั้นจะทำงานร่วมรัฐบาลเดียวกันได้หรือไม่ครับ ?
ที่จริงมีอีกประเด็นเรื่องการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งสาขาอาชีพ... ผมคิดว่ามีสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่เป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับปรัชญาพื้นฐานในระบอบประชาธิปไตย แต่คิดว่ายังไม่ควรวิพากษ์ตอนนี้จนกว่าจะเห็นตุ๊กตาชัดๆ ครับ
ขอบคุณที่ช่วยตั้งคำถามนะครับ ผมมองว่าข้ออ้างเรื่องนโยบายต่างกัน เป็นเพียง "ข้ออ้าง" เท่านั้นครับ เอาเข้าจริงที่ผ่านมาก็เห็นทุกพรรคผสมกันได้ไม่ใช่หรือ ในเมื่อประชาชนเห็นด้วยกับนโยบายพรรคต่างๆ ในสัดส่วนต่างกัน ก็เท่ากับมติมหาชนต้องการทุกๆ นโยบายในสัดส่วนดังกล่าวครับ ทุกพรรคที่เป็นรัฐบาลก็มีหน้าที่ต้องนำนโยบายมารวมกันให้ได้ ถ้าแก้ปัญหาแค่นี้ยังทำไม่ได้ แล้วจะประสานประโยชน์ของทุกฝ่าย ผ่านการบริหารประเทศได้ยังไง ข้อเสนอเบื้องต้นของผมก็คือแยกบริหารไปกระทรวงใครกระทรวงมัน และงบประมาณกระทรวงใครกระทรวงมันแต่ผมเชื่อว่าถึงเวลาต้องร่วมรัฐบาลกันจริงๆ ก็ต้องร่วมมือกันจนได้... อีกอย่างหนึ่งคือ ตาม ข้อเสนอแนะใน ภาคผนวก ค. ของผมนะครับ โครงการภาครัฐต่างๆ น่าจะจัดทำและนำเสนอโดยหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบ เพื่อให้ได้โครงการที่ทำได้จริง คิดขึ้นโดยผู้ทำงานโดยตรงมายาวนาน..ส่วนรัฐมนตรีมีหน้าที่พิจารณาให้การสนับสนุนไม่ใช่คิดโครงการเอง..เมื่อโครงการใดรัฐมนตรีสนับสนุนแล้ว ให้หน่วยงานราชการที่เสนอโครงการ เป็นผู้นำเสนอโครงการต่อสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้สภาฯ อนุมัติงบประมาณ จากนั้นรัฐมนตรีมีหน้าที่กำกับดูแล ผลักดันให้โครงการที่สภาผู้แทนฯ ลงมติ อนุมัติแล้วดำเนินต่อไปจนสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นโครงการที่รัฐมนตรีสนับสนุน ขณะดำรงตำแหน่งหรือเป็นโครงการที่สภาฯ อนุมัติในสมัยรัฐมนตรีคนก่อนๆ
... สรุปคือบทบาทพรรคการเมืองในความคิดของผมน่าจะมีเพื่อพิจารณาสนับสนุน โครงการภาครัฐ ที่หน่วยงานภาครัฐเป็นผู้นำเสนอ ตลอดจนพิจารณาอนุมัติ งบประมาณ และควบคุมตรวจสอบการใช้งบประมาณ ขณะที่รัฐมนตรีเป็นตัวแทนของพรรคการเมืองในการกำกับดูแลหน่วยราชการ ให้ดำเนินโครงการตามที่ได้เสนอไว้จนสำเร็จตามเป้าหมายเพราะผมมองว่าจากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมานักการเมืองที่เข้าดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรี มีปัญหาในการเสนอโครงการแบบจินตนาการส่งเดชมากมายครับ ไม่ว่าอย่างไรความรู้ในงานไม่มีทางเทียบกับอธิบดีกรม ที่ทำงานยาวนาน มาถึง 30-40 ปีได้ ผมมองว่าองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบต่างๆ ของไทย จริงๆแล้วอยู่ที่ข้าราชการ อธิบดีส่วนใหญ่ "รู้จริง" มากกว่ารัฐมนตรีเจ้ากระทรวงทั้งนั้นครับส่วนจะขี้เกียจหรือขี้โกง เป็นหน้าที่รัฐมนตรีและสภาฯ จะต้องควบคุมดูแล ... นโยบายบริหารประเทศที่เป็นไปได้ต้องดูว่าปัจจุบันหน่วยงานต่างๆ ทำอะไร แล้วก็เลือกเขียนนโยบายส่งเสริมสนับสนุน ไม่ใช่เขียนส่งเดชคนละทิศละทาง และถ้ามาร่วมรัฐบาลกันก็ต้องอยู่ด้วยกันให้ได้ และทำงานร่วมกันให้ได้ครับ มีกระทรวงของตัวเองให้ดูแลแล้ว และแบ่งตามขนาดงบประมาณอีกต่างหาก ผมว่าอยู่กันง่ายกว่าวิ่งผสมพรรคร่วมรัฐบาลแบบเดิมๆ เสียอีก
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29-09-2008, 02:06 โดย jerasak »
|
บันทึกการเข้า
|
= A dreamer lives for eternity.= == นักฝันมีชีวิตเพื่อนิรันดร์กาล ==
|
|
|
jerasak
|
|
« ตอบ #21 เมื่อ: 29-09-2008, 01:52 » |
|
เวลาลงมติไม่ไว้วางใจ ทำยังไงครับ
สมมุติ พปช มี 280 เสียง ปชป มี 200
เวลาโหวต รัฐมนตรีฝั่ง ปชป ไม่หลุดกันเป็นว่าเล่นหรือ ??
ขอบคุณที่มาช่วยตั้งคำถามนะครับ เราก็กำหนดเกณฑ์คะแนนลงมติไม่ไว้วางใจ ให้สูงกว่าจำนวน ส.ส. พรรค พปช. สิครับ เอาเป็นสัก 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกสภา หรือให้เท่า เกณฑ์ถอดถอน ส.ส.จากสภาฯ คือ 3 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกสภาก็ได้ อย่าลืมว่าของเดิมไม่ว่าอภิปรายยังไงก็ไม่มีทาง ทำให้สภาผู้แทนฯ ไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีอยู่แล้วผมมองว่าหน้าที่หลักของสภาผู้แทนฯ ก็คือ การพิจารณางบประมาณและกฎหมายต่างๆ ไม่ใช่คอยโหวตรัฐมนตรีออกจากตำแหน่ง นอกจากจะผิดพลาดเหลืออดเหลือทนจริงๆ การอภิปรายไม่ไว้วางใจเป็นเพียงการแสดง บทบาทตรวจสอบ ที่ผ่านมาไม่เคยหวังผล ให้มีการลงมติไม่ไว้วางใจกันจริงๆ ครับโดยที่หลังจากนั้นหากกระแสสังคมรับไม่ได้ รัฐมนตรีก็จะพิจารณาตัวเอง ..หรือถูกบังคับให้ต้องพิจารณาตัวเอง.. ... การดำรงตำแหน่งของรัฐมนตรีต้องมีความมั่นคง ไม่ใช่ให้ใครรวมหัวกันโหวตออกได้ง่ายๆ แต่ถ้ากระทำผิดกฎหมาย ก็เป็นหน้าที่ของ ส.ว. ที่จะพิจารณาถอดถอน และส่ง ปปช.ดำเนินคดี ซึ่งในส่วนนี้คือของจริง ถูกดำเนินคดีในศาลจริงๆ และอาจต้องรับโทษทางอาญาจริงๆ ครับผลงานที่ผ่านมาของ ส.ว. คงเป็นที่ประจักษ์แล้ว
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02-10-2008, 02:59 โดย jerasak »
|
บันทึกการเข้า
|
= A dreamer lives for eternity.= == นักฝันมีชีวิตเพื่อนิรันดร์กาล ==
|
|
|
jerasak
|
|
« ตอบ #22 เมื่อ: 29-09-2008, 02:13 » |
|
เวลาลงมติไม่ไว้วางใจ ทำยังไงครับ
สมมุติ พปช มี 280 เสียง ปชป มี 200
เวลาโหวต รัฐมนตรีฝั่ง ปชป ไม่หลุดกันเป็นว่าเล่นหรือ ??
ผมมีข้อสังเกตเพิ่มเติมอีกจุดนะครับ..คือระบบของผมถ้ารัฐมนตรีถูกโหวตออก โควต้ารัฐมนตรีของพรรคก็ยังไม่เปลี่ยนดังนั้นถ้าไม่มีเหตุผิดพลาดทุจริตกันจริงๆ ก็ไม่รู้จะอภิปรายไม่ไว้วางใจกันทำไม รัฐบาลไม่มีทางล้มและไม่มีการเปลี่ยนขั้ว จะต้องอยู่กันไปจนกว่าจะครบอายุสภาฯ ผมว่าเสถียรภาพรัฐบาลดีกว่าปัจจุบันอีก
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29-09-2008, 13:34 โดย jerasak »
|
บันทึกการเข้า
|
= A dreamer lives for eternity.= == นักฝันมีชีวิตเพื่อนิรันดร์กาล ==
|
|
|
moon
|
|
« ตอบ #23 เมื่อ: 29-09-2008, 02:19 » |
|
โดยส่วนตัวของผมสนใจในเรื่องของ ที่มาและจำนวนของ สส. , การที่ฝ่ายค้านเปิดอภิปรายแล้ว
ฝ่ายรัฐบาลชนะทุกทีด้วยเสียงข้างมากลากไป, การซื้อเสียง และการเพิ่มอำนาจให้กับฝ่ายตุลาการ
ได้อ่านของคุณจีแล้ว ขอเสนอในเรื่องของ ที่มาของอำนาจบริหารต่อจากคุณจี นิดนึงครับ
สส. มีทั้งแบบสัดส่วนซึ่งต้องสังกัดระบบพรรค และ สส. เขต แต่ไม่สังกัดพรรคก็ได้
ข้อนี้ผมคิดว่าสุดท้ายแล้วมันก็จะเข้าสังกัดพรรคหมดแหละครับ ถ้าไม่มีข้อกำหนดเหมือน สว.
สว. ถึงแม้จะมีข้อกำหนดก็ตาม แต่ก็ยากที่จะตรวจสอบได้ว่า สว.ท่านนั้นได้เคยทำอะไร
หรือฝักไฝ่พรรคการเมืองใดการเมืองหนึ่งหรือไม่ ไม่เป็นไรทั้งสองส่วนนี้ปล่อยผ่านไปก่อน
ทั้ง สส. และ สว. อยู่ในฝ่ายนิติบัญญัติ (คุณจียังไม่ได้บอกตัวเลขของจำนวน สส. แต่ไม่เป็นไร)
สว. มีจำนวนไม่เกิน 300 (ในโมเดลของคุณจีว่าไว้ แต่คาดว่าเปลี่ยนได้)
ให้ ส.ส. สัดส่วน ต้องเลือกตั้ง แบบทั้งประเทศ กาเบอร์เดียว เลือกพรรค
พรรคไหนได้เสียงเยอะกว่า ก็มีสิทธิ์ที่จะได้จำนวนกระทรวงเยอะกว่า
ต้องให้สิทธิ์ทั้ง สส. และ สว. ในการเลือกฝ่ายบริหาร นายกฯ ให้มาจากพรรคไหนก็ได้
รัฐมนตรี ให้ทุกพรรคส่งผู้แทนเข้าประกวด ทุกกระทรวงก็ได้ เพื่อขจัดการเลือก
หรือผูกขาดกระทรวงเกรดเอจากพรรคที่ได้เสียงเยอะ แลการฮั้วกัน
ขอบคุณครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jerasak
|
|
« ตอบ #24 เมื่อ: 29-09-2008, 02:58 » |
|
โดยส่วนตัวของผมสนใจในเรื่องของ ที่มาและจำนวนของ สส. , การที่ฝ่ายค้านเปิดอภิปรายแล้ว ฝ่ายรัฐบาลชนะทุกทีด้วยเสียงข้างมากลากไป, การซื้อเสียง และการเพิ่มอำนาจให้กับฝ่ายตุลาการ ได้อ่านของคุณจีแล้ว ขอเสนอในเรื่องของ ที่มาของอำนาจบริหารต่อจากคุณจี นิดนึงครับ
สส. มีทั้งแบบสัดส่วนซึ่งต้องสังกัดระบบพรรค และ สส. เขต แต่ไม่สังกัดพรรคก็ได้ ข้อนี้ผมคิดว่าสุดท้ายแล้วมันก็จะเข้าสังกัดพรรคหมดแหละครับ ถ้าไม่มีข้อกำหนดเหมือน สว. สว. ถึงแม้จะมีข้อกำหนดก็ตาม แต่ก็ยากที่จะตรวจสอบได้ว่า สว.ท่านนั้นได้เคยทำอะไร หรือฝักไฝ่พรรคการเมืองใดการเมืองหนึ่งหรือไม่ ไม่เป็นไรทั้งสองส่วนนี้ปล่อยผ่านไปก่อน
ทั้ง สส. และ สว. อยู่ในฝ่ายนิติบัญญัติ (คุณจียังไม่ได้บอกตัวเลขของจำนวน สส. แต่ไม่เป็นไร) สว. มีจำนวนไม่เกิน 300 (ในโมเดลของคุณจีว่าไว้ แต่คาดว่าเปลี่ยนได้)
ให้ ส.ส. สัดส่วน ต้องเลือกตั้ง แบบทั้งประเทศ กาเบอร์เดียว เลือกพรรค พรรคไหนได้เสียงเยอะกว่า ก็มีสิทธิ์ที่จะได้จำนวนกระทรวงเยอะกว่า
ต้องให้สิทธิ์ทั้ง สส. และ สว. ในการเลือกฝ่ายบริหาร นายกฯ ให้มาจากพรรคไหนก็ได้ รัฐมนตรี ให้ทุกพรรคส่งผู้แทนเข้าประกวด ทุกกระทรวงก็ได้ เพื่อขจัดการเลือก
หรือผูกขาดกระทรวงเกรดเอจากพรรคที่ได้เสียงเยอะ แลการฮั้วกัน
ขอบคุณครับ
* สส. มีทั้งแบบสัดส่วนซึ่งต้องสังกัดระบบพรรค และ สส. เขต แต่ไม่สังกัดพรรคก็ได้ ข้อนี้ผมคิดว่าสุดท้ายแล้วมันก็จะเข้าสังกัดพรรคหมดแหละครับ ถ้าไม่มีข้อกำหนดเหมือน สว.ระบบ 1 เขตมี ส.ส. ได้ 2-3 คนแบบปัจจุบัน ทำให้เป็นไปได้มากขึ้นที่จะมี ส.ส.อิสระ ครับ ประมาณว่าหลุดเดี่ยวเข้ามาเป็นหนึ่งใน 3 คน ถ้ามีศักยภาพมากๆ มีแผนประชาสัมพันธ์ดีๆ และลงสมัครในพื้นที่เหมาะสมก็เป็นไปได้ที่จะผ่านเลือกตั้งนะครับ อย่างไรก็ตามคงมีแบบนี้เพียงแค่ไม่กี่คน แต่คนมาลงสมัครเดี่ยวๆ คงจะมีเยอะครับ * สว. ถึงแม้จะมีข้อกำหนดก็ตาม แต่ก็ยากที่จะตรวจสอบได้ว่า สว.ท่านนั้นได้เคยทำอะไร หรือฝักไฝ่พรรคการเมืองใดการเมืองหนึ่งหรือไม่ ไม่เป็นไรทั้งสองส่วนนี้ปล่อยผ่านไปก่อนเรื่องห้ามฝักใฝ่พรรคการเมืองเป็นการห้ามมีพฤติกรรมให้เห็นครับ เบื้องหลังเบื้องลึกก็อีกเรื่อง แต่ผมเน้นให้ สว.มาจากตัวแทนหลายภาคส่วน ถือว่าเชื่อตามและเอาใจแฟนๆ แกนนำพันธมิตร ที่ว่าทำแบบนี้แล้วจะฮั้วกันยาก ซึ่งก็น่าจะเชื่อถือได้มากกว่าพรรคการเมืองนะครับ * ทั้ง สส. และ สว. อยู่ในฝ่ายนิติบัญญัติ (คุณจียังไม่ได้บอกตัวเลขของจำนวน สส. แต่ไม่เป็นไร) สว. มีจำนวนไม่เกิน 300 (ในโมเดลของคุณจีว่าไว้ แต่คาดว่าเปลี่ยนได้) ให้ ส.ส. สัดส่วน ต้องเลือกตั้ง แบบทั้งประเทศ กาเบอร์เดียว เลือกพรรค พรรคไหนได้เสียงเยอะกว่า ก็มีสิทธิ์ที่จะได้จำนวนกระทรวงเยอะกว่าลืมไปเลยครับคงต้องกลับไปเพิ่มเติม ผมคิดตามระบบเดิมเลยครับ ส.ส.เขตมี 400 คน และ ส.ส.สัดส่วน มี 80 คน เลือกตั้งแยกกันเป็น 8 กลุ่มๆ ละ 10 คนเหมือนเดิม ส่วนจำนวน ส.ว. ยังไม่ได้กำหนดแน่นอนเพราะไม่รู้ว่าจะต้องมีตัวแทนภาคส่วนใดบ้าง แต่คิดว่าน่าจะมากกว่า ส.ว.จังหวัด ตัวอย่างจำนวนรวม 300 คน ความจริงผมล้อจาก สัดส่วน 70:30 ที่พันธมิตรนำเสนอตอนแรกครับ การเลือก ส.ส.สัดส่วน ผมยึดจำนวน 80 คน เลือกตั้งแยกกันเป็น 8 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน ตามรัฐธรรมนูญ 2550 นะครับ เพราะผมเห็นด้วยที่ไม่ให้ มีการรวมคะแนนเป็นก้อนเดียวแบบ เลือก ส.ส.บัญชีรายชื่อ คราวก่อน และการแบ่งเป็น 8 กลุ่มยังทำให้เราได้ ส.ส.กลุ่ม ที่ถือได้ว่ามีขอบเขต การทำงานครอบคลุมพื้นที่มากกว่า ส.ส.เขต เท่ากับเป็นตัวแทนของ กลุ่มพื้นที่ซึ่งต้องมีวิสัยทัศน์กว้างไกลกว่า ส.ส.เขต ครับ * ต้องให้สิทธิ์ทั้ง สส. และ สว. ในการเลือกฝ่ายบริหาร นายกฯ ให้มาจากพรรคไหนก็ได้ รัฐมนตรี ให้ทุกพรรคส่งผู้แทนเข้าประกวด ทุกกระทรวงก็ได้ เพื่อขจัดการเลือก หรือผูกขาดกระทรวงเกรดเอจากพรรคที่ได้เสียงเยอะ แลการฮั้วกันประเด็นให้ ส.ส. และ ส.ว. เลือกฝ่ายบริหาร ผมไม่ได้นำเสนอนะครับผมนำเสนอว่าให้เป็นหน้าที่ของพรรคการเมือง นั่นคือเป็นหน้าที่ ส.ส. โดยในส่วน ส.ว.ให้แยกเด็ดขาดจากฝ่ายบริหารเพราะไม่สังกัดพรรค จะได้ทำหน้าที่ตรวจสอบฝ่ายบริหารได้อย่างเต็มที่ครับนายกฯ ให้มาจากพรรคไหนก็ได้ หรือถ้าหมดตัวเลือกจริงๆ จะมาจากไหนก็ได้ครับ เพราะนายกฯ ในโมเดลของผมไม่ได้มีอำนาจมาก หลักๆ คือเป็นประธานของ ครม. รัฐมนตรีให้ทุกพรรคส่งผู้แทนเข้าประกวดทุกกระทรวงก็ได้ แต่จำกัดจำนวนตาม โควต้าที่คำนวณจากคะแนน ส.ส.สัดส่วน นะครับ เรื่องกระทรวงเกรดเอนั้นไม่แน่ เพราะสภาฯ ต้องให้ความเห็นชอบ กระทรวงเด่นๆ ก็คงตกเป็นของพรรคที่มีเสียง มากกว่าก่อน ผมถือว่าให้เป็นดุลยพินิจของสภาฯ เพราะมีโควต้ามาคุมเอาไว้แล้ว กระทรวงมีทั้งหมดเพียง 20 กระทรวงนะครับ และรัฐมนตรีว่าการมีสิทธิเสนอตั้ง รัฐมนตรีช่วย ซึ่งในส่วนนี้จะตั้งคนจากพรรคเล็กก็ได้ขอให้มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ และจำนวนรัฐมนตรีช่วย จะถูกจำกัดด้วยขนาดงบประมาณของกระทรวงครับ
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01-10-2008, 21:16 โดย jerasak »
|
บันทึกการเข้า
|
= A dreamer lives for eternity.= == นักฝันมีชีวิตเพื่อนิรันดร์กาล ==
|
|
|
Can ไทเมือง
|
|
« ตอบ #25 เมื่อ: 29-09-2008, 03:04 » |
|
โครงร่างของคุณจี ยังติดอยู่กับ รัฐธรรมนูญ 2550
มีแตกต่างในรายละเอียด เล็ก ๆ น้อย ๆ
อำนาจของวุฒิ ยังไม่สามารถกำหนดนโยบายได้ ก็คงเดิม ๆ
ถ้าที่มาของ สส. มีสายอาชีพลงไปคลุกซัก 50/50
การจัดตั้งรัฐบาลต้องหันมาให้ความสำคัญของ สส. สายอาชีพ ซึ่งบังคับไม่ให้สังกัดพรรคการเมือง
ผมมองว่าปัญหาที่สังคมมองตอนนี้ คือ ผลเสียจากพรรคการเมือง และ สส.เขต
ปาร์ตี้ลิสต์ แทนที่จะเป็นผู้เชี่ยวชาญ กลับเป็น นายทุนพรรค
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
moon
|
|
« ตอบ #26 เมื่อ: 29-09-2008, 03:24 » |
|
ต้องให้สิทธิ์ทั้ง สส. และ สว. ในการเลือกฝ่ายบริหาร นายกฯ ให้มาจากพรรคไหนก็ได้ รัฐมนตรี ให้ทุกพรรคส่งผู้แทนเข้าประกวด ทุกกระทรวงก็ได้ เพื่อขจัดการเลือก หรือผูกขาดกระทรวงเกรดเอจากพรรคที่ได้เสียงเยอะ แลการฮั้วกัน
ประเด็นให้ ส.ส. และ ส.ว. เลือกฝ่ายบริหาร ผมไม่ได้นำเสนอนะครับ
ประเด็นนี้ ผมเสนอให้คุณจีพิจารณาเองครับ เพราะผมยังไม่เห็นจำนวน สส. ครับ
ผมเลยคิดว่าไม่ว่า สส. จะจำนวนเท่าไหร่ แล้วให้พวกเดียวกันเองยกมือ
เลือกพวกของตัวเองให้ไปอยู่ฝ่ายบริหาร มันก็คงจะเหมือนเดิม
คงจะมีการวิ่งล๊อบบี้กัน ฮั้วกัน เลยคิดว่าน่าจะเอา สว. ซึ่งก็ไหนๆ
อยู่ในฝ่ายนิติบัญญัติอยุ่แล้ว มีส่วนในการถอดถอนด้วยก็เลยให้
มีส่วนในการแต่งตั้งด้วยเลย มันจะได้โปร่งใสขึ้นมาอีกนิดนึงครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jerasak
|
|
« ตอบ #27 เมื่อ: 29-09-2008, 04:06 » |
|
โครงร่างของคุณจี ยังติดอยู่กับ รัฐธรรมนูญ 2550 มีแตกต่างในรายละเอียด เล็ก ๆ น้อย ๆ
อำนาจของวุฒิ ยังไม่สามารถกำหนดนโยบายได้ ก็คงเดิม ๆ
ถ้าที่มาของ สส. มีสายอาชีพลงไปคลุกซัก 50/50 การจัดตั้งรัฐบาลต้องหันมาให้ความสำคัญของ สส. สายอาชีพ ซึ่งบังคับไม่ให้สังกัดพรรคการเมือง
ผมมองว่าปัญหาที่สังคมมองตอนนี้ คือ ผลเสียจากพรรคการเมือง และ สส.เขต ปาร์ตี้ลิสต์ แทนที่จะเป็นผู้เชี่ยวชาญ กลับเป็น นายทุนพรรค
ใช่ครับ.. สรุปง่ายๆ ก็คือเป็นการประเมินจุดบกพร่องของรัฐธรรมนูญ 2550 ..หรือความจริงก็คือจุดบกพร่องของ "ธรรมเนียมปฏิบัติ" ต่อคะแนนเสียงเลือกตั้ง ในส่วนที่ประชาชนเลือกพรรค ที่นำไปสู่ปัญหาในการจัดตั้งรัฐบาลมาโดยตลอด..เริ่มจากการเจรจาต่อรองผลประโยชน์เก้าอี้รัฐมนตรี ที่ประชาชนต้องทน ทั้งที่ก็ได้แสดงเจตจำนงในการสนับสนุนพรรคต่างๆ ให้เป็นฝ่ายบริหาร ตามสัดส่วนไปแล้ว แต่กลับถูกยึดอำนาจไปแบ่งกันเองตามใจชอบ พรรคที่ถูกผลักไปเป็นฝ่ายค้านไม่ว่าจะมีจำนวนเท่าไหร่ก็มีสิทธิเป็นศูนย์ ในฝ่ายบริหาร และเกือบเป็นศูนย์ในฝ่ายนิติบัญญัติ ทั้งที่ตัวอย่างปัจจุบัน ได้รับเสียงสนับสนุน ส.ส.สัดส่วน เท่าๆ กับพรรคแกนนำรัฐบาล ขณะที่พรรคเล็กพรรคน้อยที่มี ส.ส. เพียงไม่กี่คน และประชาชนแทบจะ- ไม่ให้การสนับสนุนเลือกพรรค กลับได้รับอำนาจฝ่ายบริหาร???... ปัจจุบันเกิดปัญหาลุกลาม กลายเป็นปัญหาในการแบ่งฝักฝ่ายแบ่งภูมิภาค ทั้งที่รัฐบาลก็ควรเป็นตัวแทนของประชาชนในการบริหารประเทศ เมื่อประชาชนให้คะแนนพรรคผสมกันมาอย่างไร รัฐบาลก็ควรผสมตามนั้น ถ้าทำได้ก็จะไม่มีปัญหานายกฯ พปช.ไปภาคใต้ไ่ม่ได้ หรือ นายกฯ ปชป. ไปภาคเหนือ/ภาคอีสานไม่ได้ เรื่องนี้แค่ "เปลี่ยนมุมมอง" ก็ได้ทางออกใหม่แล้วครับ และก็น่าจะเป็นทางออก ที่อธิบายได้ในทางประชาธิปไตย ตามสภาพปัจจุบันด้วย เกณฑ์ปฏิบัติเดิมที่พรรคการเมืองใช้วิธีเจรจาจับกลุ่มกัน แล้วเอาจำนวน ส.ส. มาหารเก้าอี้รัฐมนตรี ก็ไม่เคยได้รับการรับรองเป็นลายลักษณ์อักษรนะครับ ความจริงเป็นแค่วิธีคิดที่ก่อปัญหามาตลอด แต่ยึดถือกันมาเรื่อยๆ เท่านั้น... ประเด็นเรื่องให้มี สส. จากสายอาชีพ ผมมองว่าจนถึงตอนนี้ก็ยังไม่ชัดเจน ในเกณฑ์จำแนกสายอาชีพ และสัดส่วนของ ส.ส. จากแต่ละสายอาชีพ และผมมองว่าไม่ได้ตอบโจทย์ เกี่ยวกับปัญหาที่กลุ่มต้านทักษิณไม่ยอมรับ คือการลงคะแนนเสียงของกลุ่มรากหญ้าที่มีจำนวนมากกว่าชนชั้นกลางในเมือง ถ้าจัดกลุ่มอาชีพตามจำนวนประชากรก็จะเท่ากับเสียงข้างมากกลุ่มรากหญ้า ยังมีน้ำหนักมากเหมือนเดิม ..นอกจากจะหักดิบให้ 1 อาชีพ 1 เสียง ซึ่งผมว่ามีหวังได้เกิดจลาจล..... โมเดลของผมก็เลยจัดตัวแทนกลุ่มอาชีพไปไว้กับ ส.ว. ที่มีโครงสร้างเปิดกว้าง จะให้ตัวแทนภาคส่วนใดมาอยู่ก็ได้ เพื่อทำหน้าที่ควบคุมตรวจสอบรัฐบาลครับ แต่ถ้าคิดเข้ามาครองอำนาจรัฐในฝ่ายบริหาร หรือมีส่วนในการแต่งตั้งฝ่ายบริหาร ก็จะลักลั่นกลายเป็นกลุ่มอาชีพทำตัวเป็นพรรคการเมืองเสียเอง ส่วนตัวผมไม่เห็นด้วยหากกลุ่มอาชีพจะมีสถานะเหมือนพรรคการเมืองนะครับ เพราะผมมองว่าในที่สุดจะมีสถานะเหมือนกลุ่มมาเฟียที่ไม่มีใครทำอะไรได้ ตัวอย่างสหภาพรัฐวิสาหกิจที่ร่วมกันนัดหยุดงานคราวก่อน ก็เห็นกันแล้วว่า ประชาชนทั่วไป(หรือใครหน้าไหนก็ตาม) ไม่สามารถแตะต้องพวกเขาได้เลย หากตัวแทนกลุ่มอาชีพสามารถทำตัวเป็น กลุ่มการเมือง แบบพรรคการเมือง ปัญหาต่างๆที่เคยเกิดกับพรรคการเมืองก็จะเกิดกับตัวแทนกลุ่มอาชีพไปด้วย แต่อาจหนักกว่าเพราะไม่รู้จะฟ้องยุบกลุ่มอาชีพได้ยังไง???... กลับมาที่ ส.ว.จากกลุ่มอาชีพ ผมเชื่อว่าตั้งได้แน่นอนเพราะตอนนี้ก็ตั้งไปแล้ว ถ้า ส.ว.กลุ่มอาชีพต้องการกลั่นกรองผู้ดำรงตำแหน่งฝ่ายบริหาร ก็สามารถทำได้ ด้วยการตรวจสอบคุณสมบัติ และพฤติกรรมต่างๆ อยู่แล้วครับ แต่ถ้าจะให้อำนาจวุฒิสภาในการกำหนดนโยบาย คงต้องแก้รัฐธรรมนูญเพื่อให้ วุฒิสภาสามารถออกกฎหมายได้ (คงต้องตั้งชื่อเพิ่มนอกว่า พรบ. พรก. พรฎ.) และแน่นอนว่าคงต้องจำกัดขอบเขตว่าจะออกกฎหมายใดได้บ้าง และต้องมี เกณฑ์ปฏิบัติในการควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจของวุฒิสภาเพิ่มมาอีก ความจริงผมนึกไม่ออกเหมือนกันว่าจะให้วุฒิสภามีอำนาจออกกฎหมายอะไรดี... เรื่องการจัดตั้งรัฐบาลที่จะให้ความสำคัญกับ ส.ส.สายอาชีพ ผมไม่แน่ใจว่า หมายถึงอะไรนะครับ หรือจะให้ ส.ส.สายอาชีพ ได้โควต้ารัฐมนตรี??? เรื่องนี้ผมมองว่าในเมื่อประชาชนลงคะแนนเลือก ส.ส.สัดส่วน (เลือกพรรค) เรียบร้อยแล้วสัดส่วนรัฐมนตรีแต่ละพรรคก็ควรเป็นไปตามนั้น ส่วนใครจะได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ต้องมีเกณฑ์มาตรฐานรายกระทรวง และผมเสนอว่าทุกพรรคต้องจัดให้มี ครม.เงา ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ ที่จะเป็นรัฐมนตรีกระทรวงนั้นๆ โดย ครม.เงา มีหน้าที่ติดตามการทำงาน ของ ครม.คิดวิเคราะห์เรื่องต่างๆ ประกบรัฐมนตรีตัวจริงและให้ข้อเสนอแนะ เรื่องปาร์ตี้ลิสต์ ที่มีแต่นายทุนพรรคแทนที่จะเป็นผู้เชี่ยวชาญ จะมาอยู่ใน โครงสร้าง ครม.เงา ลำบาก เพราะพรรคต้องสรรหาผู้มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ ไม่อยู่ใน ครม.เงา ก็ไม่มีสิทธิไปเป็นรัฐมนตรีนะครับ เวลาประชาชนจะเลือกพรรค ก็จะรู้จักหน้าตาของว่าที่รัฐมนตรีก่อนล่วงหน้า และ รมต.เงา ที่เก่งๆ ก็จะเป็นที่รู้จักมาก่อนอีกด้วย... ดูเหมือนระยะหลังมานี้ ภาพลักษณ์ของพรรคการเมืองยิ่งถูกมองไม่ดีนะครับ ก็เป็นเรื่องที่พรรคการเมืองต้องเร่งปรับตัวกันไป แต่การจะปฏิเสธพรรคการเมือง แล้วไปเอาผู้แทนกลุ่มอาชีพมาทำหน้าที่ เป็นพรรคการเมืองแทน ผมระแวงว่าน่ากลัวกว่าพรรคการเมืองเสียอีก
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03-10-2008, 06:03 โดย jerasak »
|
บันทึกการเข้า
|
= A dreamer lives for eternity.= == นักฝันมีชีวิตเพื่อนิรันดร์กาล ==
|
|
|
chaturant
|
|
« ตอบ #28 เมื่อ: 29-09-2008, 04:28 » |
|
5. คณะรัฐมนตรี- ให้คณะรัฐมนตรีประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรีประจำกระทรวง กระทรวงที่มีภารกิจมากให้มีรัฐมนตรีช่วยฯ ตามที่จำเป็นไม่เกินกระทรวงละ 2 คน - นายกรัฐมนตรีคือผู้ได้รับการสนับสนุนจากเสียงส่วนใหญ่ในสภาผู้แทนราษฎร โดยกำหนดให้พิจารณาเสนอชื่อผู้เหมาะสมที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก่อน หากไม่มีผู้ใดได้รับการสนับสนุนจากเสียงส่วนใหญ่ในสภาผู้แทนฯ กระทั่งเกิน กำหนดเวลาที่กำหนด จะเสนอชื่อผู้เหมาะสมที่ไม่ใช่ ส.ส. ก็ได้ - ให้นำคะแนน ส.ส.สัดส่วน (เลือกพรรค) ทั่วประเทศของแต่ละพรรคมาคำนวณ โควต้ารัฐมนตรีของแต่ละพรรค จัดตั้งเป็นคณะรัฐมนตรีรับผิดชอบอำนาจบริหาร (ระบบควบคุมตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล จะกล่าวถึงต่อไปในภาคผนวก)- ให้แต่ละพรรคเสนอชื่อผู้เหมาะสมดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ให้สภาผู้แทนราษฎร พิจารณาให้ความเห็นชอบเป็นรายกระทรวง ให้ผู้ที่ได้รับคะแนนเห็นชอบสูงสุด ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ทุกพรรคมีสิทธิเสนอรายชื่อผู้เหมาะสม จนกระทั่งมีรัฐมนตรีของพรรคครบตามโควต้า - ให้ผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการเสนอรายชื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการ จำนวนไม่เกิน กระทรวงละ 2 คน ให้สภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบตามเกณฑ์ที่กำหนด (เช่นต้องมี ส.ส.สนับสนุนกี่คน) จำนวนรัฐมนตรีช่วยว่าการที่จะเสนอได้ทั้งหมด ให้เป็นไปตามความเหมาะสมของขนาดภารกิจกระทรวง (ในเบื้องต้นอาจพิจารณา จากขนาดงบประมาณของแต่ละกระทรวง)- ผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นรัฐมนตรีว่าการ และรัฐมนตรีช่วยว่าการ ต้องมีคุณสมบัติ ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด เช่น ไม่เคยถูกศาลพิพากษาให้พ้นตำแหน่งรัฐมนตรีในอายุ สภาผู้แทนราษฎรปัจจุบัน (รายละเอียดคุณสมบัติรัฐมนตรีจะกล่าวถึงในภาคผนวก)- ให้ประธานรัฐสภานำรายชื่อคณะรัฐมนตรีขึ้นทูลเกล้าฯ และเป็นผู้ลงนามรับสนองฯ ---------------------------------------------------------------------------------------------- ข้อนี้ถือเป็นไฮไลน์ของระบบที่ออกแบบใหม่เลยครับ เพราะมีการเพิ่มข้อกำหนดขึ้นมาใหม่ แต่ถามว่าแตกต่างจากระบบเดิมมากหรือไม่ ความจริงจะไม่แก้รัฐธรรมนูญก็ยังได้เลยครับ เพียงแต่ให้ถือเอาเกณฑ์ตามที่เป็นสีแดงมาใช้แทนเกณฑ์เดิมในปัจจุบัน ก็เข้าระบบแล้ว - ให้นำคะแนน ส.ส.สัดส่วน (เลือกพรรค) ทั่วประเทศของแต่ละพรรคมาคำนวณ โควต้ารัฐมนตรีของแต่ละพรรค จัดตั้งเป็นคณะรัฐมนตรีรับผิดชอบอำนาจบริหาร (ระบบควบคุมตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล จะกล่าวถึงต่อไปในภาคผนวก)ข้อแตกต่างที่สำคัญจากระบบเดิมคือ ระบบเดิมพรรคที่ชนะการเลือกตั้งจะวิ่งเต้นจับกลุ่มกัน เพื่อฟอร์มรัฐบาล มีการต่อรองผลประโยชน์กันวุ่นวายอย่างที่เห็นมาโดยตลอด สุดท้ายเมื่อสามารถจับกลุ่มกันได้เกินครึ่งสภา ก็จะยึดอำนาจในการตั้งรัฐบาลไปเป็นของตัว ทิ้งให้พรรคการเมืองที่เหลือมีสิทธิเป็นศูนย์ ไม่ว่าจะได้รับเลือกตั้งมากี่ล้านคะแนนก็ตาม!!! ขณะที่พรรคเล็กพรรคน้อยที่ได้ ส.ส.เพียง 4-5 คน และอาจไม่มี ส.ส.สัดส่วน เลยสักคน อาจได้รับตำแหน่งรัฐมนตรี เพราะไปเข้าร่วมกับกลุ่มเสียงข้างมากในสภาผู้แทนฯ ทั้งที่พรรคเล็กพรรคน้อยเหล่านี้ อาจไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนให้เป็นรัฐบาล โดยมีหลักฐานยืนยันชัดเจนจากคะแนน ส.ส.สัดส่วน (การเลือกพรรค) ที่ได้รับมุมมองที่ต้องการนำเสนอคือ การลงคะแนนเลือก ส.ส.สัดส่วน เป็นการแสดงระดับการสนับสนุน ของประชาชนที่มีต่อพรรคการเมืองในการเป็นรัฐบาล ไม่ใช่การสนับสนุนให้พรรคใดเป็นฝ่ายค้าน ข้อสรุปที่อ้างกันทั่วไปว่า "พรรคที่ได้เสียงมากที่สุดต้องเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล " ขณะที่พรรคอื่นๆ จะได้เป็นรัฐบาลหรือไม่เพียงใด ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของพรรคแกนนำ เป็นเพียงมายาคติที่ยึดถือกัน โดยไม่มีข้อกำหนดกฎหมายใดๆ รองรับทั้งสิ้นและมายาคติดังกล่าวเป็นสาเหตุของความวุ่นวายไร้เสถียรภาพของรัฐบาลไทยตลอดมา... ข้อเสนอของผมนี้จะทำให้ไม่ต้องมีการต่อรองโควต้ารัฐมนตรีกันอีก เพราะประชาชนได้แสดง เจตจำนงชัดเจนแล้วว่า "สนับสนุนพรรคใดเป็นรัฐบาลในสัดส่วนเท่าใด"โควต้ารัฐมนตรีในรัฐบาลก็ควรเป็นไปตามสัดส่วนความไว้วางใจของประชาชนที่ได้แสดง ผ่านการลงคะแนนเลือก ส.ส.สัดส่วน (เลือกพรรค) มาตั้งแต่ต้น*ส่วนท่านที่สงสัยว่าทำแบบนี้จะำทำให้ไม่มีฝ่ายค้าน ไม่มีระบบตรวจสอบ ผมได้จัดเรืองนี้ไว้ ใน ภาคผนวก ก. : ระบบควบคุมตรวจสอบ ที่จะได้กล่าวถึงต่อไปนะครับ*ถ้ามีอะไรเพิ่มเติมในส่วนนี้อีก จะมาคุยเพิ่มเติมอีกครั้งครับ ผมว่า ก็ดีน่ะ ครับ เลือกกำหนดโควต้าให้ รมต. แต่ละพรรคที่ได้จากคะแนน สัดส่วน แต่มันก็ต้องมาแย่งกันอีกว่า พรรคใครจะได้กระทรวงเกรดไรกันบ้าง แล้วมันก็เข้าอีรอบเดิม เอา นักเลือกตั้ง มาเป็น รมต. อยู่ดีครับ แล้วอีกอย่าง การบริหาร จะไม่มีประสิทธิภาพอีก เพราะ รมต. มาจากคนละขึ้วเลย แล้ววิธีนี้นายกก็ไม่สามารถเลือก ครม. ของตัวเองได้ ผมว่า มันต้องแยกออกไปเลยครับ ประชาชนเลือกผู้บริหารโดยตรง คือ ท่านจีกลัวมันจะแต่ง ยี้มาอีกใช่ป่ะครับ คือๆๆ ผมว่า ถ้ามันตั้งยี้อย่างนี้ คนมันจะเลือกกันอีกหรอครับ เฮ้อ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jerasak
|
|
« ตอบ #29 เมื่อ: 29-09-2008, 04:33 » |
|
ต้องให้สิทธิ์ทั้ง สส. และ สว. ในการเลือกฝ่ายบริหาร นายกฯ ให้มาจากพรรคไหนก็ได้ รัฐมนตรี ให้ทุกพรรคส่งผู้แทนเข้าประกวด ทุกกระทรวงก็ได้ เพื่อขจัดการเลือก หรือผูกขาดกระทรวงเกรดเอจากพรรคที่ได้เสียงเยอะ แลการฮั้วกัน
ประเด็นให้ ส.ส. และ ส.ว. เลือกฝ่ายบริหาร ผมไม่ได้นำเสนอนะครับ
ประเด็นนี้ ผมเสนอให้คุณจีพิจารณาเองครับ เพราะผมยังไม่เห็นจำนวน สส. ครับ ผมเลยคิดว่าไม่ว่า สส. จะจำนวนเท่าไหร่ แล้วให้พวกเดียวกันเองยกมือ
เลือกพวกของตัวเองให้ไปอยู่ฝ่ายบริหาร มันก็คงจะเหมือนเดิม คงจะมีการวิ่งล๊อบบี้กัน ฮั้วกัน เลยคิดว่าน่าจะเอา สว. ซึ่งก็ไหนๆ อยู่ในฝ่ายนิติบัญญัติอยุ่แล้ว มีส่วนในการถอดถอนด้วยก็เลยให้ มีส่วนในการแต่งตั้งด้วยเลย มันจะได้โปร่งใสขึ้นมาอีกนิดนึงครับ
ผมมองเรื่องนี้ว่าต้องแยก ส.ว. ออกจากการมีส่วนแต่งตั้ง นายกฯ เพราะในทางหนึ่งเป็นจุดให้เกิดการทุจริตได้ครับ ตัวอย่างเช่นอาจมีการซื้อ ส.ว. ให้ช่วยยกมือสนับสนุน นายกฯ หรือต่อให้ไม่มีการซื้อ ส.ว.การยกมือสนับสนุนให้ใครเป็นนายกฯ ก็เท่ากับแสดงพฤติกรรมฝักใฝ่พรรคการเมืองแล้วครับ ถ้าเริ่มต้นด้วยการฝักใฝ่พรรคการเมืองแล้วต่อไปตลอดอายุรัฐบาล จะทำงานตรวจสอบรัฐบาลกันอย่างไร เพราะอาจเกิดสภาพ วุฒิสภาแบ่งออกเป็นฝักฝ่ายตั้งแต่ต้น... การเข้าไปยุ่งวุ่นวายกับการตั้งนายกรัฐมนตรีโดยสภาผู้แทนฯ ยังดูเป็นการล้วงลูก ซึ่งถึงที่สุดแล้วก็คือก้าวก่ายการตัดสินใจ ของประชาชนที่แสดงเจตจำนงในการสนับสนุนพรรคการเมือง ผ่านการเลือกตั้งครั้งล่าสุด เพราะพรรคที่ได้รับคะแนนเสียงสูงสุดย่อมสามารถอ้างสิทธิ ในการเป็นผู้นำรัฐบาล และในทางปฏิบัติก็น่าจะมีจำนวน ส.ส. เพียงพอสนับสนุนผู้ที่พรรคเห็นควรให้ดำรงตำแหน่งนายกฯ ในขณะที่พรรคอื่นๆ ก็สามารถอ้างสิทธิในการได้ร่วมรัฐบาล ตามสัดส่วนความไว้วางใจที่พรรคได้รับ โดยในส่วนของ ส.ว. นั้นถูกห้ามไม่ให้สังกัดพรรคการเมือง ตามโครงสร้างแล้วไม่เกี่ยวข้องในการตั้งรัฐบาลมาตั้งแต่ต้น ่เพราะประชาชนก็เลือกให้มาเป็นฝ่ายตรวจสอบโดยตรง... ผมอยากให้สังเกตด้วยว่า นายกฯ ในระบบของผมไม่มีอำนาจใดๆ ในการฟอร์มคณะรัฐมนตรี เป็นเพียงผู้ทำหน้าที่ประธาน ครม. ครับ คือเป็นประมุขฝ่ายบริหาร คล้ายๆ ประธานรัฐสภาเป็นประมุขฝ่าย นิติบัญญัติ หรือประธานศาลเป็นประมุขฝ่ายตุลาการ นอกจากนี้อำนาจในการยุบสภาก็ไม่มีเพราะต้องขอความเห็นชอบ จากสภาผู้แทนราษฎรจึงจะยุบสภาได้ ให้วุฒิสภามีส่วนในการเลือกนายกฯ เป็นการวุ่นวายเปล่าๆ ครับ หน้าที่หลักของวุฒิสภาคือตรวจสอบฝ่ายบริหาร และกลั่นกรอง กฎหมายที่มาจากสภาผู้แทนราษฎร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
= A dreamer lives for eternity.= == นักฝันมีชีวิตเพื่อนิรันดร์กาล ==
|
|
|
moon
|
|
« ตอบ #30 เมื่อ: 29-09-2008, 04:54 » |
|
ครับเห็นด้วยครับ
พอผมโพสเสร็จแล้วลองทบทวนดู ก็นึกขึ้นมาได้ว่าสุดท้ายก็คงโดนล๊อบบี้หมดทั้งสภา
แล้ววิธีนี้ก็คือการลากเอา สว.เข้ามาฝักไฝ่กับพรรคการเมืองเข้าไปอีก
ยังมีบางประเด็นที่ผมยังไม่เข้าใจอยู่อีก แล้วจะถามไถ่อีกครับ ขอบคุณครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jerasak
|
|
« ตอบ #31 เมื่อ: 29-09-2008, 05:06 » |
|
ผมว่า ก็ดีน่ะ ครับ เลือกกำหนดโควต้าให้ รมต. แต่ละพรรคที่ได้จากคะแนน สัดส่วน แต่มันก็ต้องมาแย่งกันอีกว่า พรรคใครจะได้กระทรวงเกรดไรกันบ้าง แล้วมันก็เข้าอีรอบเดิม เอา นักเลือกตั้ง มาเป็น รมต. อยู่ดีครับ แล้วอีกอย่าง การบริหาร จะไม่มีประสิทธิภาพอีก เพราะ รมต. มาจากคนละขึ้วเลย แล้ววิธีนี้นายกก็ไม่สามารถเลือก ครม. ของตัวเองได้ ผมว่า มันต้องแยกออกไปเลยครับ ประชาชนเลือกผู้บริหารโดยตรง คือ ท่านจีกลัวมันจะแต่ง ยี้มาอีกใช่ป่ะครับ คือๆๆ ผมว่า ถ้ามันตั้งยี้อย่างนี้ คนมันจะเลือกกันอีกหรอครับ เฮ้อ
ขอบคุณที่ร่วมแสดงความคิดเห็นนะครับการที่พรรคใดจะได้กระทรวงใดไม่ต้องแย่งกันครับ เพราะมีโควต้ากำหนดอยู่แล้ว เท่ากับแต่ละพรรคมีจำนวนรัฐมนตรีที่จะสามารถเสนอได้ในจำนวนจำกัด และผมถือว่าพรรคที่ได้คะแนนสนับสนุนมากกว่าก็น่าจะมีสิทธิเลือกกระทรวงดีๆอย่างไรก็ตามเพื่อความยุติธรรมเราอาจเพิ่มเกณฑ์ควบคุมอีกตัวก็เรียบร้อยแล้ว เช่น อาจกำหนดโควต้าการเลือกกระทรวง ด้วยสัดส่วนงบประมาณที่กระทรวงได้รับ แต่ละพรรคก็จะมีลิมิตของตัวเองในการเลือกกระทรวงไม่ให้เอาเปรียบคนอื่น สมมุติว่ามีพรรคที่ได้รับโควต้ารัฐมนตรี 3 พรรคจากทั้งหมด 20 กระทรวง ดังนี้- พรรค พ. ได้โควต้า 10 ที่นั่ง - พรรค ป. ได้โควต้า 8 ที่นั่ง - พรรค ช. ได้โควต้า 2 ที่นั่งเมื่อประชุมสภา ก็จะให้ทุกพรรคเสนอชื่อรัฐมนตรีไล่ไปเป็นรายกระทรวง กระทรวงไหนน่าสนใจและพรรคมีความมั่นใจก็จะเสนอชื่อผู้เหมาะสม สมมุติว่าเริ่มจาก ... กระทรวง A1 ตามด้วย C1 และตามด้วย B1 กระทรวง C2 ตามด้วย B2 และตามด้วย A2 กระทรวง A3 ตามด้วย B3 และตามด้วย C3-------------------------------------------------------------------------------- กระทรวง A1 (กระทรวงเกรด A)- พรรค พ. เสนอชื่อ <--- พรรค พ. ชนะโหวตเพราะมีเสียงข้างมาก (เหลือโควต้า 9 คน) - พรรค ป. เสนอชื่อ - พรรค ช. ไม่เสนอชื่อเพราะรู้ว่าสู้ไม่ได้ กระทรวง C1 (กระทรวงเกรด C)- พรรค พ. ไม่เสนอชื่อ เพราะไม่สนใจ - พรรค ป. ไม่เสนอชื่อ เพราะไม่สนใจ - พรรค ช. เสนอชื่อ <--- พรรค ช. ชนะโหวตเพราะเสนออยู่คนเดียว (เหลือโควต้า 1 คน) กระทรวง B1 (กระทรวงเกรด B)- พรรค พ. ไม่เสนอชื่อ เพราะจะเก็บโควต้างบประมาณไว้เลือกกระทรวงใหญ่ - พรรค ป. เสนอชื่อ <--- พรรค ป. ชนะโหวตเพราะเสียงมากกว่า พรรค ช. (เหลือโควต้า 7 คน) - พรรค ช. เสนอชื่อ เผื่อฟลุ๊ก กระทรวง C2 (กระทรวงเกรด C)- พรรค พ. ไม่เสนอชื่อ เพราะไม่สนใจ - พรรค ป. ไม่เสนอชื่อ เพราะไม่สนใจ - พรรค ช. เสนอชื่อ <--- พรรค ช. ชนะโหวตเพราะเสนออยู่คนเดียว (หมดโควต้า) กระทรวง B2 (กระทรวงเกรด B)- พรรค พ. เสนอชื่อ <--- พรรค พ. ชนะโหวตเพราะมีเสียงข้างมาก (เหลือโควต้า 8 คน) - พรรค ป. เสนอชื่อ - พรรค ช. ไม่เสนอชื่อเพราะรู้ว่าสู้ไม่ได้ กระทรวง A2 (กระทรวงเกรด A)- พรรค พ. เสนอชื่อ <--- พรรค พ. ชนะโหวตเพราะมีเสียงข้างมาก (เหลือโควต้า 7 คน) - พรรค ป. เสนอชื่อ - พรรค ช. ไม่เสนอชื่อเพราะหมดโควต้า กระทรวง A3 (กระทรวงเกรด A)- พรรค พ. เสนอชื่อ <--- พรรค พ. ชนะโหวตเพราะมีเสียงข้างมาก (เหลือโควต้า 6 คน) - พรรค ป. เสนอชื่อ กระทรวง B3 (กระทรวงเกรด B)- พรรค พ. ไม่เสนอชื่อ เพราะจะเก็บโควต้างบประมาณไว้เลือกกระทรวงใหญ่ (เหลือโควต้า 6 คน) - พรรค ป. เสนอชื่อ <--- พรรค ป. ชนะโหวตเพราะเสนอพรรคเดียว (เหลือโควต้า 6 คน) กระทรวง C3 (กระทรวงเกรด B)- พรรค พ. ไม่เสนอชื่อ เพราะจะเก็บโควต้างบประมาณไว้เลือกกระทรวงใหญ่ (เหลือโควต้า 6 คน) - พรรค ป. เสนอชื่อ <--- พรรค ป. ชนะโหวตเพราะเสนอพรรคเดียว (เหลือโควต้า 5 คน) -------------------------------------------------------------------------------- ไล่ไปแบบนี้เรื่อยๆ ในที่สุดก็จะครบทุกกระทรวงครับ กรณีมีข้อติดขัดในการปฏิบัติ เช่นโควต้างบประมาณ หมดก่อนโควต้ารัฐมนตรี ก็แล้วแต่จะตกลงกันต่อไป เช่นอาจให้พรรคดังกล่าวหมดสิทธิเสนอชื่อรัฐมนตรี และรอไปจนกว่าพรรคอื่นจะโหวดเสร็จ ปัญหาเรื่องอื่นยากกว่านี้ครับ ผมมั่นใจว่าถ้าต้องเลือก เสนอชื่อรัฐมนตรีในระบบโควต้า แต่ละพรรคจะต้องจัดการได้อย่างแน่นอน
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29-09-2008, 05:10 โดย jerasak »
|
บันทึกการเข้า
|
= A dreamer lives for eternity.= == นักฝันมีชีวิตเพื่อนิรันดร์กาล ==
|
|
|
jerasak
|
|
« ตอบ #32 เมื่อ: 29-09-2008, 05:33 » |
|
ผมว่า ก็ดีน่ะ ครับ เลือกกำหนดโควต้าให้ รมต. แต่ละพรรคที่ได้จากคะแนน สัดส่วน แต่มันก็ต้องมาแย่งกันอีกว่า พรรคใครจะได้กระทรวงเกรดไรกันบ้าง แล้วมันก็เข้าอีรอบเดิม เอา นักเลือกตั้ง มาเป็น รมต. อยู่ดีครับ แล้วอีกอย่าง การบริหาร จะไม่มีประสิทธิภาพอีก เพราะ รมต. มาจากคนละขึ้วเลย แล้ววิธีนี้นายกก็ไม่สามารถเลือก ครม. ของตัวเองได้ ผมว่า มันต้องแยกออกไปเลยครับ ประชาชนเลือกผู้บริหารโดยตรง คือ ท่านจีกลัวมันจะแต่ง ยี้มาอีกใช่ป่ะครับ คือๆๆ ผมว่า ถ้ามันตั้งยี้อย่างนี้ คนมันจะเลือกกันอีกหรอครับ เฮ้อ
คนจะมาเป็นรัฐมนตรีได้้ ผมกำหนดไว้ว่าจะต้องผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้เฉพาะเป็นรายกระทรวง ไม่ใช่ว่าใครเป็นลูกหัวหน้าพรรคการเมือง มีอายุครบ 35 ปี และจบ ป.ตรี ก็เป็นรัฐมนตรีได้ นอกจากนี้ยังกำหนดด้วยว่า จะต้องดำรงตำแหน่งใน ครม.เงา ของพรรค โดยเป็น รัฐมนตรีเงา ประจำกระทรวงดังกล่าว หรือเคยเป็นประธานหรือรองประธานกรรมาธิการสาขาที่เกียวข้อง หรือเคยเป็นข้าราชการระดับสูงในกระทรวงนั้นๆ มาก่อน ฯลฯ ถ้านักเลือกตั้งคนไหนผ่านเกณฑ์ทั้งหมดเข้ามา เราก็ยอมๆ ให้เขาเป็นรัฐมนตรีไปเถอะครับ ขี้เหร่ขนาดไหนก็เคยเป็นรัฐมนตรีไทยมาแล้ว ดังนั้นมันคงไม่แย่ไปกว่าเดิมหรอก เรื่องรัฐมนตรีมาจากคนละขั้ว หรือเรื่องนายกฯ ไม่ได้เลือก ครม. ของตัวเอง ผมถือว่าเป็น ภารกิจของคณะรัฐมนตรีโดยรวมครับ ที่ผ่านมาก็ไม่เห็นจะได้เลือกเองมีแต่ตั้งตามโควต้า แล้วก็เข้าไปทำงานอยู่ด้วยกัน ในทางปฏิบัติแต่ละพรรคอาจสมานฉันท์กันเสร็จตั้งแต่ที่รู้ ผลการเลือกตั้งแล้วก็ได้ครับ แต่ละกระทรวงก็แยกกันทำงานอยู่แล้วเป็นส่วนใหญ่นะครับ และอย่างน้อยตามธรรมเนียม ก็ต้องตั้งหัวหน้าพรรคอันดับ 2-3 เป็นรองนายกรัฐมนตรี เท่ากับจะมีคนดูแล ครม. อีกชั้น รัฐบาลมีปัญหาก็หน้าตาตัวเองทั้งนั้น เพราะเป็นรัฐบาลของพวกเขาเอง อีกอย่างผมถือเป็นภารกิจของมืออาชีพครับ จะมากันจากไหนก็ต้องทำงานด้วยกันให้ไ้ด้ คนส่วนใหญ่ทำงานก็ไม่มีโอกาสเลือกผู้ร่วมงานทั้งนั้นนะผมว่า... กลับมาเรื่องเลือกผู้บริหารโดยตรงอีกครั้ง ในความเป็นจริงการเลือกแบบนั้นเราไม่ได้ เลือกตัวทีมงานโดยตรงด้วยนะครับ เพราะนายกฯ มีอำนาจจะปรับทีมงานอย่างไรก็ได้ จะไปบังคับห้ามปรับก็ไม่ได้ ตัวอย่างถ้ามีใครลาออกกลางคันทีมก็เปลี่ยนแล้วครับ เรื่องเอายี้มาให้เลือกผมเชื่อมั่น 9 ใน 10 ส่วนว่าเขามีโอกาสผลักดันให้พรรคชนะเลือกตั้ง และถ้าชนะไปเพียงคะแนนเดียว ผู้ชนะกินรวบเลยนะครับ ไม่กลัวหรือ?
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
= A dreamer lives for eternity.= == นักฝันมีชีวิตเพื่อนิรันดร์กาล ==
|
|
|
jerasak
|
|
« ตอบ #33 เมื่อ: 29-09-2008, 05:41 » |
|
ครับเห็นด้วยครับ
พอผมโพสเสร็จแล้วลองทบทวนดู ก็นึกขึ้นมาได้ว่าสุดท้ายก็คงโดนล๊อบบี้หมดทั้งสภา
แล้ววิธีนี้ก็คือการลากเอา สว.เข้ามาฝักไฝ่กับพรรคการเมืองเข้าไปอีก
ยังมีบางประเด็นที่ผมยังไม่เข้าใจอยู่อีก แล้วจะถามไถ่อีกครับ ขอบคุณครับ
ยินดีรับฟังคำถามครับ ที่ผมนำโครงสร้างการเมืองชุดนี้มาโพสต์ ก็เพราะไอเดียตีบตันไม่รู้จะคิดอะไรต่อ รู้ว่ายังไม่เสร็จแต่ไม่รู้จะดูตรงไหนต่อครับ ได้สมาชิกบอร์ดเสรีไทยช่วยกันซักถาม ทำให้เกิดมุมมองใหม่ๆ ที่นึกเองคงไม่ออก ถ้าทำออกมาได้สมบูรณ์พอสมควรไม่แน่ว่า อาจมีประเทศเกิดใหม่เอาไปใช้นะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
= A dreamer lives for eternity.= == นักฝันมีชีวิตเพื่อนิรันดร์กาล ==
|
|
|
concordance democracy
|
|
« ตอบ #34 เมื่อ: 29-09-2008, 06:56 » |
|
"ชมรมประชาธิปไตยแบบสอดคล้อง" ขอสนับสนุนและเอาใจช่วยคุณจีรศักดิ์ฯ
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29-09-2008, 06:59 โดย concordance democracy »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
วิหค อัสนี
|
|
« ตอบ #35 เมื่อ: 29-09-2008, 10:56 » |
|
ขอบคุณครับ
แบบที่คุณ jerasak เสนอ มีรายละเอียดครบถ้วนดีในส่วนของกลไกรัฐสภา
แล้วก็แนวคิดเรื่องโควต้า รมต. จากคะแนนเสียงโดยตรง กับการแบ่งปาร์ตี้ลิสท์เป็น 8 เขต มีแง่มุมที่น่าสนใจ
เปรียบเทียบกับโมเดลที่ผมเสนอไว้ จะเป็นแนวเลือกพรรคเดียวขึ้นมาเป็น "สภาบริหารแห่งชาติ" แยกต่างหากจากสภาผู้แทนฯ ซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนในจังหวัดนั้นๆ อย่างแท้จริงโดยไม่ต้องเกี่ยวกับพรรค แล้วก็ประกอบกัน 2 ส่วนเป็นรัฐสภาเหมือนเดิม
แต่ผมวางบทบาทการตรวจสอบ และถ่วงดุลทางการเมืองไว้ที่อำนาจอธิปไตยอีก 2 ฝ่ายที่เหลือกับภาคประชาชนมากกว่า
เสริมอีกหน่อย: เรื่องการเสนอโครงการจากข้าราชการแต่ละกระทรวง ข้อนี้ผมมองว่าน่าจะเป็นฝ่ายบริหารเสนอ แต่พวกเมกะโปรเจคท์ทั้งหลายควรเน้นให้ทำภายในกรอบของ "วาระแห่งชาติ" ที่ได้รับความเห็นชอบจากประชามติ และมีแผนกำกับในระยะยาวมากกว่าครับ
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29-09-2008, 11:13 โดย วิหค อัสนี »
|
บันทึกการเข้า
|
_______ดังนี้แล __เปลวไฟจักลุกโชน ___หามีวันดับลงได้ _ตราบที่ในมือพวกสูเจ้า ยังแต่น้ำมันเตาให้ราดรดไป
|
|
|
Sweet Chin Music
|
|
« ตอบ #36 เมื่อ: 29-09-2008, 12:25 » |
|
เรื่องของการวางนโยบายของแต่ละกระทรวง ให้เป็นวาระแห่งชาติ เป็นแผนระยะยาวนั้น
ผมว่าน่าสนใจดีครับ และคิดว่าน่าจะให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทำให้เป็นลายลักษณ์อักษรเลย
พูดถึงเรื่องนี้แล้ว เวลามีมติ ครม. หรือ นโยบาย อะไรก็ตาม น่าจะกำหนดให้ทำเป็นลายลักษณ์อักษร
หรือบันทึกการประชุม พร้อมทั้ง ประกาศในราชกิจจานุเบกษาไปด้วย (รวมทั้งความเห็นของ ครม.เงา ด้วย)
ไม่รู้ว่าจะเกินไปรึเปล่านะครับ เพราะอยากให้แต่ละเรื่องที่ รัฐมนตรี หรือ ครม. มีมติร่วมกัน
ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึง เพื่อศึกษาได้ ไม่ใช่มัวแต่ทำอุบๆอิ๊บๆ อาจจะมี บทลงโทษว่า
ถ้านโยบายใดไม่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ภายในกี่วันนับแต่วันประชุม ให้นโยบายนั้น
ไม่มีผลบังคับ และผู้ร่วมลงมติ ต้องรับผิดชอบในค่าเสียหายที่ ประเทศชาติต้องจ่ายไป...
เรื่องของสัมปทานที่มีผลกระทบกับประชาชนเป็นวงกว้าง ที่บริษัทเอกชนทำกับรัฐก็เช่นกันครับ
อยากให้มีการเปิดเผยข้อมูล + ผลการดำเนินงานของบริษัท มากกว่าที่เป็นอยู่
ดังตัวอย่างข้างต้น เช่น บขส. ขอขึ้นราคา บอกว่าขาดทุนๆๆ แต่เราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าขาดทุนจริงหรือเปล่า
-------------------------------
อีกเรื่องหนึ่งที่อยากเสนอคือ ให้เพิ่มความเข้มแข็งของกระบวนการการตรวจสอบ
"ความชอบด้วยกฎหมาย" และ "ความเหมาะสม" ภายในฝ่ายบริหารเอง
ต้องขอเท้าความก่อนนะครับว่า การกระทำทางปกครองของฝ่ายบริหาร(อีกนัยหนึ่งฝ่ายปกครองนั้นละ)นั้น
ศาลปกครอง สามารถเข้ามาตรวจสอบได้แค่ "ความชอบด้วยกฎหมาย" เท่านั้น จะไปก้า่วถึง "ความเหมาะสม" ด้วยไม่ได้
ยกตัวอย่างเช่น การที่กระทรวงคมนาคม อนุมัติให้ บขส. ปรับขึ้นราคาค่าโดยสารได้ จะเห็นได้ว่า
ถ้าการอนุมัตินั้นถ้าทำถูกต้องตามกฎหมาย แม้ว่าการปรับราคาให้สูงขึ้นนั้นจะเป็นการปรับราคาที่เกินจริงไปบ้าง
ศาลปกครองก็ไม่สามารถทำอะไรได้ ดังที่บอกไปข้างต้น เพราะ้เป็นเรื่องของความเหมาะสม ไม่ใช่ความชอบด้วยกฎหมาย
เว้นแต่ว่าไปพิสูจน์ว่า ที่อนุมัติให้ปรับนั้น มีผลประโยชน์มาเกี่ยวข้อง นั้นก็อีกเรื่องหนึ่ง... หรือแม้การสร้าง สภาผู้แทนราษฎรใหม่
ถ้า ครม. อนุมติก็จบ เราได้แต่ประท้วง ทำตาปริบๆๆ รัฐบาลไม่สนใจอะไรเลย และศาลปกครองอาจเข้ามายุ่งเรื่องนี้ไม่ได้ด้วย...
ซึ่งเรื่องพวกนี้ อาจจะให้ สว. เข้ามาตรวจสอบ เรียกผู้บริหารมาชี้แจงให้เหตุผล ฟังคำโต้แย้งจากฝ่ายผู้ได้รับผลกระทบ
แล้วลงมติโหวตล้มเรื่องนั้นได้ (อาจจะมีกำหนดเวลา ให้ทำภายใน 30 วัน เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบมากนัก)
แต่อาจจะต้องจำกัดอำนาจการตรวจสอบของ สว. ให้อยู่เฉพาะ สัญญาสัมปทาน หรือสัญญาที่ต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก เท่านั้น
และถ้าเป็นไปได้ เวลาที่ สส. หรือ สว. ต้องลงมติใดๆ ที่สำคัญ เช่น การทำสนธิสัญญากับต่างประเทศ หรือ อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี
หรือการลงมติของ สว. เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของโครงการที่รัฐบาลจะอนุมัติได้ ... ผมอยากให้มีการออกความเห็น ของ สว. และ สส.
ในเรื่องนั้นๆ เป็นการส่วนตัวด้วยครับ คล้ายๆกับคำวินิจัจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญ โดยไม่ต้องมีคำวินิจฉัยกลางออกมาก็ได้ครับ (เอาแค่คะแนนเสียงพอ)
และก็เช่นกันครับ ความเห็นของ สส. และ สว. เหล่านั้นต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา (เพราะผมเห็นว่า คนที่จะเข้าไปทำหน้าที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
หรือนั่งในสภาสูงนั้น จะต้องมีความรู้ ความสามารถในระดับหนึ่ง ไม่ใช่แค่เข้าไปเฉพาะนั่ง กดปุ่ม เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย อย่างเดียวมันง่ายไปครับ ไม่สมกับเงินเดือนที่ให้เลย)
แต่อาจจะยกเว้นในเรื่องของ การออกกฎหมายของฝ่ายนิติบัญญัติ ไม่ต้องออกความเห็นส่วนตัวก็ได้ โดยอาจจะให้อยู่ในรูปของคณะกรรมธิการแทน... เพื่อมิให้เป็นการต้องยุ่งยากเกินไป
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29-09-2008, 12:30 โดย Sweet Chin Music »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
วาโย
|
|
« ตอบ #37 เมื่อ: 29-09-2008, 12:37 » |
|
เข้ามาลงชื่อติดตามไว้ก่อน ปัญญาหางเขียดขอฟังไปก่อนแล้วกันครับเพราะเสนออะไรไม่ค่อยได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
มาเถอะพี่น้องพ้องเพื่อนชีวิต ...ตื่นเถอะมวลมิตรผู้ยังหลับไหลจากเรา...คาราวาน (ขอยกท่อนหนึ่งของเพลงคาราวานมาแสดงระกันครับ ถึงเวลาแล้วที่คนหลับต้องตื่นสู้ คนอยู่ต้องก้าวต่อไป)
|
|
|
jerasak
|
|
« ตอบ #38 เมื่อ: 29-09-2008, 14:19 » |
|
ลงชื่อไว้ก่อนในฐานะ แฟนคลับคุณจีฯครับ แล้วผมจะ เจาะเวลา...มาตามอ่านเรื่อยๆนะครับ วันนี้อ่านไม่ไหว..ปวดกระบอกตาครับ
เดี๋ยวพรุ่งนี้ผมเปลี่ยนเลนส์แว่นตาก่อนแล้วจะมาอ่านอีกทีครับอาจารย์ ตอนนี้ผมจัดหน้าเอกสารใหม่แล้วครับโดยนำ คคห.ที่สรุปประเด็นสำคัญไปไว้ที่ต้นกระทู้ หวังว่าจะอ่านได้ง่าย และปวดตาน้อยลง ..อ่านจบแล้วรบกวนช่วยตั้งคำถามด้วยนะครับ.. ตอนนี้ผมพยายามดูอยู่ว่ายังมีปัญหาตรงไหน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
= A dreamer lives for eternity.= == นักฝันมีชีวิตเพื่อนิรันดร์กาล ==
|
|
|
indexthai
|
|
« ตอบ #39 เมื่อ: 29-09-2008, 16:46 » |
|
อ่านเคร่าๆ (อ่านไม่หมด)
แต่เจอข่าวนี้ .. บอกให้ทราบว่า คุณสินธิ ก็ไม่รู้จะเอาอย่างไร กับการเมืองใหม่..
คุณสนธิ ลิ้มทองกุล ก็ไม่ทราบ การเมืองใหม่ จะออกมาในรูปแบบใด ..ข่าว ผู้จัดการออนไลน์ 29 กันยายน 2551 01:07 น. รายงาน..
"ถึงแม้ตนจะเป็นคนจุดประกายเรื่องการเมืองใหม่ แต่ในการประชุมสัมมนาการเมืองใหม่ 2 ครั้งที่ผ่านมานั้น ตนไม่ได้เข้าร่วมประชุมด้วย และจะไม่เข้าประชุมตลอดไป เพราะมีหน้าที่จุดประกายให้พี่น้องประชาชนรู้ว่าเราต้องการการเมืองใหม่ แต่จะไม่ลงไปข้างล่างหรือข้างใน เดี๋ยวจะถูกกล่าวหาว่าไปครอบงำ เราเพียงแค่ให้เกิดความคิดทางการเมืองใหม่เท่านั้น"
แสดงว่า คุณสนธิ เองก็ไม่ทราบว่า รูปแบบการเมืองใหม่ จะเป็นอย่างไร หากคิดว่ามันดี ต้องแสดงออกมาเลย ไม่ต้องเกรงว่าจะมีใครจะกล่าวหา ว่าจะมาครอบงำ ..มีแต่จะสรรเสริญยกย่องเชิดชู.. การที่คุณสนธิกล่าวเช่นนี้ มองได้อีกว่า.. คุณสนธิ ลอยตัว เหนือแกนนำท่านอื่น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
chaturant
|
|
« ตอบ #41 เมื่อ: 29-09-2008, 19:35 » |
|
ขอบคุณที่ร่วมแสดงความคิดเห็นนะครับการที่พรรคใดจะได้กระทรวงใดไม่ต้องแย่งกันครับ เพราะมีโควต้ากำหนดอยู่แล้ว เท่ากับแต่ละพรรคมีจำนวนรัฐมนตรีที่จะสามารถเสนอได้ในจำนวนจำกัด และผมถือว่าพรรคที่ได้คะแนนสนับสนุนมากกว่าก็น่าจะมีสิทธิเลือกกระทรวงดีๆอย่างไรก็ตามเพื่อความยุติธรรมเราอาจเพิ่มเกณฑ์ควบคุมอีกตัวก็เรียบร้อยแล้ว เช่น อาจกำหนดโควต้าการเลือกกระทรวง ด้วยสัดส่วนงบประมาณที่กระทรวงได้รับ แต่ละพรรคก็จะมีลิมิตของตัวเองในการเลือกกระทรวงไม่ให้เอาเปรียบคนอื่น สมมุติว่ามีพรรคที่ได้รับโควต้ารัฐมนตรี 3 พรรคจากทั้งหมด 20 กระทรวง ดังนี้- พรรค พ. ได้โควต้า 10 ที่นั่ง - พรรค ป. ได้โควต้า 8 ที่นั่ง - พรรค ช. ได้โควต้า 2 ที่นั่งเมื่อประชุมสภา ก็จะให้ทุกพรรคเสนอชื่อรัฐมนตรีไล่ไปเป็นรายกระทรวง กระทรวงไหนน่าสนใจและพรรคมีความมั่นใจก็จะเสนอชื่อผู้เหมาะสม สมมุติว่าเริ่มจาก ... กระทรวง A1 ตามด้วย C1 และตามด้วย B1 กระทรวง C2 ตามด้วย B2 และตามด้วย A2 กระทรวง A3 ตามด้วย B3 และตามด้วย C3-------------------------------------------------------------------------------- กระทรวง A1 (กระทรวงเกรด A)- พรรค พ. เสนอชื่อ <--- พรรค พ. ชนะโหวตเพราะมีเสียงข้างมาก (เหลือโควต้า 9 คน) - พรรค ป. เสนอชื่อ - พรรค ช. ไม่เสนอชื่อเพราะรู้ว่าสู้ไม่ได้ กระทรวง C1 (กระทรวงเกรด C)- พรรค พ. ไม่เสนอชื่อ เพราะไม่สนใจ - พรรค ป. ไม่เสนอชื่อ เพราะไม่สนใจ - พรรค ช. เสนอชื่อ <--- พรรค ช. ชนะโหวตเพราะเสนออยู่คนเดียว (เหลือโควต้า 1 คน) กระทรวง B1 (กระทรวงเกรด B)- พรรค พ. ไม่เสนอชื่อ เพราะจะเก็บโควต้างบประมาณไว้เลือกกระทรวงใหญ่ - พรรค ป. เสนอชื่อ <--- พรรค ป. ชนะโหวตเพราะเสียงมากกว่า พรรค ช. (เหลือโควต้า 7 คน) - พรรค ช. เสนอชื่อ เผื่อฟลุ๊ก กระทรวง C2 (กระทรวงเกรด C)- พรรค พ. ไม่เสนอชื่อ เพราะไม่สนใจ - พรรค ป. ไม่เสนอชื่อ เพราะไม่สนใจ - พรรค ช. เสนอชื่อ <--- พรรค ช. ชนะโหวตเพราะเสนออยู่คนเดียว (หมดโควต้า) กระทรวง B2 (กระทรวงเกรด B)- พรรค พ. เสนอชื่อ <--- พรรค พ. ชนะโหวตเพราะมีเสียงข้างมาก (เหลือโควต้า 8 คน) - พรรค ป. เสนอชื่อ - พรรค ช. ไม่เสนอชื่อเพราะรู้ว่าสู้ไม่ได้ กระทรวง A2 (กระทรวงเกรด A)- พรรค พ. เสนอชื่อ <--- พรรค พ. ชนะโหวตเพราะมีเสียงข้างมาก (เหลือโควต้า 7 คน) - พรรค ป. เสนอชื่อ - พรรค ช. ไม่เสนอชื่อเพราะหมดโควต้า กระทรวง A3 (กระทรวงเกรด A)- พรรค พ. เสนอชื่อ <--- พรรค พ. ชนะโหวตเพราะมีเสียงข้างมาก (เหลือโควต้า 6 คน) - พรรค ป. เสนอชื่อ กระทรวง B3 (กระทรวงเกรด B)- พรรค พ. ไม่เสนอชื่อ เพราะจะเก็บโควต้างบประมาณไว้เลือกกระทรวงใหญ่ (เหลือโควต้า 6 คน) - พรรค ป. เสนอชื่อ <--- พรรค ป. ชนะโหวตเพราะเสนอพรรคเดียว (เหลือโควต้า 6 คน) กระทรวง C3 (กระทรวงเกรด B)- พรรค พ. ไม่เสนอชื่อ เพราะจะเก็บโควต้างบประมาณไว้เลือกกระทรวงใหญ่ (เหลือโควต้า 6 คน) - พรรค ป. เสนอชื่อ <--- พรรค ป. ชนะโหวตเพราะเสนอพรรคเดียว (เหลือโควต้า 5 คน) -------------------------------------------------------------------------------- ไล่ไปแบบนี้เรื่อยๆ ในที่สุดก็จะครบทุกกระทรวงครับ กรณีมีข้อติดขัดในการปฏิบัติ เช่นโควต้างบประมาณ หมดก่อนโควต้ารัฐมนตรี ก็แล้วแต่จะตกลงกันต่อไป เช่นอาจให้พรรคดังกล่าวหมดสิทธิเสนอชื่อรัฐมนตรี และรอไปจนกว่าพรรคอื่นจะโหวดเสร็จ ปัญหาเรื่องอื่นยากกว่านี้ครับ ผมมั่นใจว่าถ้าต้องเลือก เสนอชื่อรัฐมนตรีในระบบโควต้า แต่ละพรรคจะต้องจัดการได้อย่างแน่นอน ท่านจี ครับ มันไม่วุ่นวายไปหรอครับ กำหนดไปเลย สส. ฝ่ายนิติบัญญัติ ห้ามดำรงตำแหน่งบริหาร ตัดปัญหาไปเลยไม่ดีกว่าหรอครับ แล้ว เรื่อง ครม. ก็คือก่อนเลือกตั้งให้เสนอหน้าตา ครม. กันออกมาเลย แล้วให้ ประชาชนตัดสินไม่ง่ายกว่าหรอครับ ผมก็เสียวน่ะ อีสานภาคเดียวประชากรตั้ง 22 ล้านคน เหนืออีก 9 ล้าน แต่ผมเชื่อว่ารอบนี้ พ่อจิ๋วจะเป็นผู้ชิงตำแหน่งนายก จะมีคนเอาหรอครับ แล้วอีกอย่าง ถ้าเลือก สส. แล้วให้ สส. ไปเลือกนายก มันก็ล็อบบี้ แล้วก็เอานายกหน้าตาทุเรศขึ้นมากันอีกอ่ะครับ และ มันก็ต่อรองเก้าอี้เหมือนเดิมอีก ปัญหาคงไม่จบแน่ๆ ถ้าจะกำหนด โควต้าเป็นสัดส่วนอย่างที่คุณ จีว่า ก็ต้องห้าม สส. ดำรงตำแหน่งบริหาร ใ้ห้ พรรคที่ได้โควต้า เอาคนที่มีความสามารถเข้ามา เพื่อเป็นหน้าตาของ พรรคตัวเอง แต่ผมว่ายังไง มันก็ต้องต่อรองผลประโยชน์กันเหมือนเดิมอ่ะครับ สมมุติ นายทุนของพรรค ที่ได้โควต้า บอกว่าอยากเป็น รมต. ก็จ่ายให้ พรรคนั้นเพื่อไปเป็น รมต. แล้วก็ถอนทุน มันก็เข้าอีรอบเดิม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jerasak
|
|
« ตอบ #42 เมื่อ: 29-09-2008, 21:52 » |
|
ขอบคุณ คุณอังศนา มากครับที่ช่วยประชาสัมพันธ์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
= A dreamer lives for eternity.= == นักฝันมีชีวิตเพื่อนิรันดร์กาล ==
|
|
|
jerasak
|
|
« ตอบ #43 เมื่อ: 29-09-2008, 23:48 » |
|
ขอบคุณครับ
แบบที่คุณ jerasak เสนอ มีรายละเอียดครบถ้วนดีในส่วนของกลไกรัฐสภา
แล้วก็แนวคิดเรื่องโควต้า รมต. จากคะแนนเสียงโดยตรง กับการแบ่งปาร์ตี้ลิสท์เป็น 8 เขต มีแง่มุมที่น่าสนใจ
เปรียบเทียบกับโมเดลที่ผมเสนอไว้ จะเป็นแนวเลือกพรรคเดียวขึ้นมาเป็น "สภาบริหารแห่งชาติ" แยกต่างหากจากสภาผู้แทนฯ ซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนในจังหวัดนั้นๆ อย่างแท้จริง โดยไม่ต้องเกี่ยวกับพรรค แล้วก็ประกอบกัน 2 ส่วนเป็นรัฐสภาเหมือนเดิม
แต่ผมวางบทบาทการตรวจสอบ และถ่วงดุลทางการเมืองไว้ที่อำนาจอธิปไตยอีก 2 ฝ่ายที่เหลือกับภาคประชาชนมากกว่า
เสริมอีกหน่อย: เรื่องการเสนอโครงการจากข้าราชการแต่ละกระทรวง ข้อนี้ผมมองว่าน่าจะเป็นฝ่ายบริหารเสนอ แต่พวกเมกะโปรเจคท์ทั้งหลายควรเน้นให้ทำภายในกรอบของ "วาระแห่งชาติ" ที่ได้รับความเห็นชอบจากประชามติ และมีแผนกำกับในระยะยาวมากกว่าครับ
ขอบคุณที่เข้ามาร่วมพูดคุยนะครับ เรื่องการเสนอโครงการจากข้าราชการแต่ละกระทรวงในระบบของผมที่คุณเห็นว่าน่าจะให้ฝ่ายบริหารเสนอ และพวกเมกะโปรเจคท์ให้ทำภายใน กรอบ "วาระแห่งชาติ" ที่ผ่านประชามติและมีแผนกำกับระยะยาว นั่นคือระบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบันอยู่แล้วครับ ซึ่งผมมองว่าเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้เราไม่ค่อยได้ทำอะไรเลย และถึงได้ทำก็เป็นโครงการประหลาดๆ ที่ความเห็นผู้เชี่ยวชาญจริงๆ ไม่สนับสนุนตัวอย่างล่าสุดจากรัฐบาลสมัคร เราก็เกือบได้ทำโครงการซื้อน้ำมันรัสเซีย เกือบได้ทำอุโมงค์ผันน้ำโขง เกือบได้ขยายรางรถไฟเป็น standard gate เกือบได้ยกเลิก CLยา ทั้งที่เรื่องพวกนี้ความเห็นหลายฝ่ายคือ "ไ่ม่ ok"สมัยรัฐบาลทักษิณมีโครงการประหลาดไปถึงบ้าๆบอๆ จากรัฐมนตรีบางคน ที่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติต้องกล้ำกลืนฝืนทนทำ หลายคนคงพอจำได้นะครับ ที่เป็นแบบนั้นเพราะเราให้อำนาจมากมายกับนักการเมืองที่มาเป็น "รัฐมนตรี" แต่กลับไม่มี "เกณฑ์มาตรฐานคุณสมบัติรัฐมนตรี" และต่อให้มีเกณฑ์ดังกล่าว ก็ยังเป็นไปได้ยากที่รัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ จะ "รู้จริง" ในเรื่องการทำงาน ของกระทรวงที่ตัวเองดูแล (นอกจากจะเคยเป็นข้าราชการระดับสูงที่นั่น)ตัวอย่าง คุณมิ่งขวัญ ที่มาดูแลปัญหาข้าวอยู่พักหนึ่ง ผมไม่เคยเชื่อเลยว่า คุณมิ่งขวัญจะรู้เรื่อง "ข้าว" มากกว่า "อธิบดีกรมการข้าว"
หรือล่าสุดกรณี รัฐมนตรีน้องใหม่ ที่เป็นลูกคุณบรรหาร ผมไม่เชื่อเด็ดขาด ว่าจะรู้เรื่องการบริหารงานในกระทรวงที่ดูแล มากกว่าผู้เป็นปลัดกระทรวง... ในโครงสร้างของผมก็เลยเสนอให้ทุก พรรคการเมือง ต้องมี "ครม.เงา"เพื่อบังคับทางอ้อมให้ทุกพรรคต้องสรรหาคนที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ มาเตรียมเป็นรัฐมนตรี มีเวลาติดตามศึกษาเกี่ยวกับกระทรวงที่จะดูแล เป็นการสั่งสมองค์ความรู้ของพรรคการเมืองในการบริหารประเทศ และยังเป็นช่องทางให้สังคมภาคส่วนต่างๆ ได้นำเสนอความคิดเห็น ต่อพรรคการเมืองทุกพรรค สังคมจะได้ประโยชน์จากการแสดงความเห็นของ ครม.เงา แต่ละพรรค เกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ที่ทุกพรรคจะแข่งขันแสดงวิสัยทัศน์โดยอัตโนมัติ และสังคมยังจะได้รู้จักคุ้นเคยกับ "ว่าที่รัฐมนตรี" แต่ละคนล่วงหน้า... ผมเชื่อว่าองค์ความรู้ในการบริหารงานกระทรวงต่างๆ อยู่ที่ "ข้าราชการ"ซึ่งมีจำนวนรวมกันมากมายมหาศาลมากกว่านักการเมืองทุกพรรครวมกัน บางคนมีประสบการณ์ตรงในการทำงาน 30-40 ปี ผ่านการศึกษาดูงาน กันมาแล้วทั่วโลก มีวุฒิการศึกษาปริญญาโท-เอก ท่วมกระทรวง พวกนี้ต่างหากที่เป็น "สมอง" ของประเทศในเรื่องบริหารราชการแผ่นดิน แต่จะ ขี้เกียจ-ขี้โกง หรือไม่เป็นเรื่องที่ต้องมีคนไปควบคุม ซึ่งก็คือ นักการเมือง ที่จะเป็นตัวแทนของประชาชนเข้าไปทำหน้าที่นักการเมืองส่วนหนึ่งอยู่ใน สภาผู้แทนฯ ทำหน้าที่พิจารณางบประมาณ เพื่ออนุมัติให้ข้าราชการนำไปใช้จ่ายในการทำงานอย่างเหมาะสม
นักการเมืองอีกส่วนหนึ่งอยู่ใน คณะรัฐบาล ทำหน้าที่กำกับควบคุมดูแล การทำงานของข้าราชการไม่ให้ ขี้เกียจ-ขี้โกง... เรื่องต่างๆ เช่น ที่ผ่านมางานของกระทรวง ของกรม ของกองต่างๆ ทำไปถึงไหน มีปัญหาอะไร จะแก้ไขอย่างไร คิดแผนงานในอนาคต เอาไว้อย่างไร ใครเชี่ยวชาญด้านไหน... คนรู้ดีที่สุดคือข้าราชการ ดังนั้นความเห็นของผม คนที่ควรเขียนแผนงานเสนอของบประมาณ ควรเป็นคนที่นำงบประมาณไปใช้ ซึ่งก็คือหน่วนงานราชการนั่นเองแต่ในการทำงานต้องมีคนไปกำกับดูแล และควรเป็นตัวแทนจาก ฝ่ายการเมืองซึ่งก็คือ คณะรัฐมนตรี และสภาผู้แทนราษฎร นั่นเองประโยชน์อีกอย่างที่โครงการเป็นของหน่วยงานราชการก็คือ "ความต่อเนื่อง" ที่โครงการจะดำเนินต่อไปได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีกี่คนก็ตาม... ผมแวะไปอ่านกระทู้ของ คุณวิหค อัสนี จนจบแล้วนะครับ หลังจากเคยเข้าไปแบบผ่านๆ เพราะมีเนื้อหาเยอะมาก การเมืองใหม่ที่ข้าพเจ้ามองเห็นhttp://forum.serithai.net/index.php?topic=29267.0เนื่องจากเนื้อหากระทู้คุณเยอะ ก็เลยวิจารณ์สั้นๆยาก แต่ก็ตั้งใจว่าจะแวะไปให้ความเห็นไว้ในกระทู้นะครับ
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30-09-2008, 00:48 โดย jerasak »
|
บันทึกการเข้า
|
= A dreamer lives for eternity.= == นักฝันมีชีวิตเพื่อนิรันดร์กาล ==
|
|
|
jerasak
|
|
« ตอบ #44 เมื่อ: 30-09-2008, 00:32 » |
|
ท่านจี ครับ มันไม่วุ่นวายไปหรอครับ กำหนดไปเลย สส. ฝ่ายนิติบัญญัติ ห้ามดำรงตำแหน่งบริหาร ตัดปัญหาไปเลยไม่ดีกว่าหรอครับ แล้ว เรื่อง ครม. ก็คือก่อนเลือกตั้งให้เสนอหน้าตา ครม. กันออกมาเลย แล้วให้ ประชาชนตัดสินไม่ง่ายกว่าหรอครับ ผมก็เสียวน่ะ อีสานภาคเดียวประชากรตั้ง 22 ล้านคน เหนืออีก 9 ล้าน แต่ผมเชื่อว่ารอบนี้ พ่อจิ๋วจะเป็นผู้ชิงตำแหน่งนายก จะมีคนเอาหรอครับ แล้วอีกอย่าง ถ้าเลือก สส. แล้วให้ สส. ไปเลือกนายก มันก็ล็อบบี้ แล้วก็เอานายกหน้าตาทุเรศขึ้นมากันอีกอ่ะครับ และ มันก็ต่อรองเก้าอี้เหมือนเดิมอีก ปัญหาคงไม่จบแน่ๆ ถ้าจะกำหนด โควต้าเป็นสัดส่วนอย่างที่คุณ จีว่า ก็ต้องห้าม สส. ดำรงตำแหน่งบริหาร ใ้ห้ พรรคที่ได้โควต้า เอาคนที่มีความสามารถเข้ามา เพื่อเป็นหน้าตาของ พรรคตัวเอง แต่ผมว่ายังไง มันก็ต้องต่อรองผลประโยชน์กันเหมือนเดิมอ่ะครับ สมมุติ นายทุนของพรรค ที่ได้โควต้า บอกว่าอยากเป็น รมต. ก็จ่ายให้ พรรคนั้นเพื่อไปเป็น รมต. แล้วก็ถอนทุน มันก็เข้าอีรอบเดิม
ผมว่าพิจารณากฎหมายวุ่นวายกว่านี้อีกนะครับ การเสนอชื่อ รัฐมนตรีว่าการ 20 คน และรัฐมนตรีช่วย ทั้งหมดรวมกันสามสิบกว่าคน ผมว่าวันเดียวก็เสร็จครับ เพราะตามระบบของผมแต่ละพรรคมีชื่อคนที่จะเสนอแล้ว และมีโควต้าของแต่ละพรรคชัดเจน ถ้าเทียบกับเวลาที่เสียไปในการฟอร์มรัฐบาลแบบเดิมๆ ผมว่าเร็วกว่ากันหลายเท่านะครับ... การเลือก นายกฯ +ครม.ทั้งคณะ ผมไม่เห็นด้วยก็เพราะ เป็นระบบที่ผู้ชนะได้ทั้งหมด ผู้แพ้มีสิทธิเป็นศูนย์ พิจารณาสภาพการเมืองไทยในปัจจุบัน ที่แบ่งเป็นภาค การที่ผู้แพ้มีสิทธิเป็นศูนย์จะยิ่งสร้างความแตกแยกไปอีก ทั้งที่ความจริงรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ได้กำหนดระบบ ในการแสดงเจตจำนงทางการเมืองของประชาชนไว้แล้ว ว่าต้องการสนับสนุนพรรคการเมืองใดในสัดส่วนเท่าไหร่ แต่ระบบการตั้งรัฐบาล กลับใช้วิธีเดิมไม่ยอมเปลี่ยน ทำให้การเลือก ส.ส.สัดส่วน (เลือกพรรค) สูญเปล่า... ผมมองว่าที่แตกแยกกันอยู่ทุกวันนี้ ส่วนหนึ่งก็เพราะ.. *ผู้ลงคะแนนให้พรรคฝ่ายค้านปัจจุบัน 12 ล้านเสียง รู้สึกว่าตัวเอง "มีสิทธิเป็นศูนย์" ในอำนาจบริหาร*ผมคิดว่าถ้าใช้วิธีเลือก นายกฯ +ครม. โดยตรง ไม่ว่าพรรคใดชนะ ปัญหาก็ยังเหมือนเดิมครับ
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30-09-2008, 00:36 โดย jerasak »
|
บันทึกการเข้า
|
= A dreamer lives for eternity.= == นักฝันมีชีวิตเพื่อนิรันดร์กาล ==
|
|
|
jerasak
|
|
« ตอบ #45 เมื่อ: 30-09-2008, 05:11 » |
|
อ่านเคร่าๆ (อ่านไม่หมด)
แต่เจอข่าวนี้ .. บอกให้ทราบว่า คุณสินธิ ก็ไม่รู้จะเอาอย่างไร กับการเมืองใหม่..
คุณสนธิ ลิ้มทองกุล ก็ไม่ทราบ การเมืองใหม่ จะออกมาในรูปแบบใด ..ข่าว ผู้จัดการออนไลน์ 29 กันยายน 2551 01:07 น. รายงาน..
"ถึงแม้ตนจะเป็นคนจุดประกายเรื่องการเมืองใหม่ แต่ในการประชุมสัมมนาการเมืองใหม่ 2 ครั้งที่ผ่านมานั้น ตนไม่ได้เข้าร่วมประชุมด้วย และจะไม่เข้าประชุมตลอดไป เพราะมีหน้าที่จุดประกายให้พี่น้องประชาชนรู้ว่าเราต้องการการเมืองใหม่ แต่จะไม่ลงไปข้างล่างหรือข้างใน เดี๋ยวจะถูกกล่าวหาว่าไปครอบงำ เราเพียงแค่ให้เกิดความคิดทางการเมืองใหม่เท่านั้น"
แสดงว่า คุณสนธิ เองก็ไม่ทราบว่า รูปแบบการเมืองใหม่ จะเป็นอย่างไร หากคิดว่ามันดี ต้องแสดงออกมาเลย ไม่ต้องเกรงว่าจะมีใครจะกล่าวหา ว่าจะมาครอบงำ ..มีแต่จะสรรเสริญยกย่องเชิดชู.. การที่คุณสนธิกล่าวเช่นนี้ มองได้อีกว่า.. คุณสนธิ ลอยตัว เหนือแกนนำท่านอื่น
ขอบคุณสำหรับความเห็นนะครับ เนื้อหากระทู้นี้ค่อนข้างยาวจริงๆ สมาชิกคงอ่านกันลำบาก เนื่องจากผมพยายามบรรยาย ครอบคลุมกลไกการทำงาน เกือบทั้งระบบว่ามีทำงานสัมพันธ์กันอย่างไร ในขณะที่ปัญหาข้อเสนอของ แกนนำพันธมิตร ดูเหมือนว่า ยังอยู่ในขั้นหลักการและเหตุผล มากกว่าจะเป็นระบบจริงๆ ที่มีกลไกการทำงานชัดเจน ... ผมเชื่อว่าในตอนแรกที่ประกาศเรื่อง 70:30 คงกะเอาจริง แต่เนื่องจากถูกคัดค้านอย่างหนักก็เลยถอยหลังกระทันหัน และเปลี่ยนคำพูดใหม่ว่าเป็นเพียงตุ๊กตา ..อย่างไรก็ตามฝ่ายตรงข้ามพันธมิตรไม่ยอมรับมุกตามด้วย ก็เลยโจมตี 70:30 ต่อเนื่องมาเรื่อยๆ ครับ.. อย่างไรก็ตามพันธมิตรมีจังหวะดีที่กระแสเบื่อระบบปัจจุบัน กำลังจุดติดจากหน้าตา ครม.เต้าหู้ยี้ 2 ชุดซ้อน เลยทำให้ สามารถส่งไม้ต่อไปยังภาคส่วนอื่นๆ ให้ช่วยคิดแทน ผมเองก็ได้โอกาสเสนอความคิดตามกระแสไปด้วยอีกคน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
= A dreamer lives for eternity.= == นักฝันมีชีวิตเพื่อนิรันดร์กาล ==
|
|
|
Arch_FreeMan
|
|
« ตอบ #46 เมื่อ: 01-10-2008, 18:28 » |
|
คุณ จีรศักดิ์ แนะให้ผมเข้ามาเสนอความคิดเห็น ในกระทู้นี้
เท่าที่ผมอ่าน เรื่องระบบน้ำหนักของคุณจีรศักดิ์ ก็น่าสนใจ แต่ต้องอย่าลืมว่า ประชาชนข้างล่าง ทุกวันนี้เขายังไม่เข้าใจเลยว่า สว. เลือกเข้ามาทำอะไรกัน สส. เลือกเข้ามาแล้วจะเข้ามาทำอะไรกัน การไปออกแบบระบบให้ซับซ้อน ผมคิดว่าประชาชนยิ่งจะเข้าใจยาก และ มองเรื่องการปกครองเป็นเรื่องไกลตัว
ส่วนตัวผมเห็นว่า วิธีที่ง่ายที่สุดสำหรับประเทศไทยนั้น สำหรับตอนนี้
สว. เมื่อก่อนใช้การเลือกตั้งทั้งหมดถึงบังคับว่าจะไม่สังกัดพรรคการเมือง แต่ในทางปฏิบัติมันก็มีการสนับสนุนกันอย่างลับๆของระบบหัวคะแนนของ สส. ในพื้นที่ ผลปรากฎว่าเราได้ สว. ทาส ของ รธน ปี 40 สภาผัวเมีย ผัวเป็น สส เมีย เป็น สว. ดังนั้น รธน. ปี50 จึงแก้ให้ สว. มีสองระบบ มีแบบสรรหา และ แบบเลือกตั้ง ซึ้งผมก็เห็นว่าการทำงานของ สว. ในปัจจุบันนั้น เข้าท่าที่สุด มี สว. สรรหา และ สว. เลือกตั้ง ที่มีคุณภาพจำนวนหนึ่ง ถึงแม้จะไม่ทั้งหมด แต่ก็ถือว่า การทำงานในภาพรวมนั้น ประชาชนยังพอฝากความหวังได้ ผมจึงเห็นว่า เราไม่ควรแตะ เรื่อง สว. สักเท่าไหร่
ปัญหาตอนนี้ มันอยู่ ที่ สส. เพราะ ระบบรัฐสภาของไทย มันมีพื้นฐานมาจากระบบพรรคการเมือง เราเข้าใจกันมาตลอดว่า พรรคเลือกคน ประชาชนเลือกพรรค แต่ทุกวันนี้ มันเลือกใครก็ไม่รู้ มาให้ประชาชนเลือก เลือกไปแล้วก็เข้าไปทำมาหากิน แทนที่จะบริหารประเทศ แต่กลับกอบโกยผลประโยชน์เข้าพรรค เข้าตัวเอง เพื่อเตรียมการเลือกตั้งครั้งต่อไป ปัญหาของ สส คือ ธรุกิจการเมือง การซื้อเสียงให้ได้มาซึ่งอำนาจการบริหารประเทศ
ประเด็น สส. ผมมองว่า ข้อเสนอ ของ คณาจารย์ของนิด้าน่าสนใจ คือ เราผสมกับระบบของอเมริกาได้ คือ สส. มาจากเลือกตั้งทั้งหมดเดิม เพียงแต่ต้องแยก นิติบัญญัติ กับ บริหารขาดออกจากกัน ในการแยกขาด นั่นก็หมายถึง สส. ทำหน้าที่นิติบัญญัติอย่างเดียว ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารประเทศ การต่อรองตำแหน่ง การขายตัวย้ายพรรค การซิ้อตัว การดูด สส. ก็จะหมดไป เพราะไม่มีเหตุจูงใจให้ทำ ในขณะเดียวกัน ก็ให้ นายกฯ มาจากการเลือกตั้งโดยตรง แล้ว ให้อำนาจนายกฯ ตั้ง ครม โดยดึงคนในพรรคตัวเองหรือคนที่มีความสามารถนอกพรรค มาเป็น รมต ก็ได้ สส กลุ่มก้วนต่างๆ ก็ต่อรองตำแหน่ง รมต ไม่ได้ เพราะ กฎหมายห้ามไม่ให้ สส เป็น รมต ดังน้น ใครอยากเป้น รมต ก็ต้องห้ามลงสมัคร สส. นั่นเอง แต่การเมืองในระบบนี้ นายกฯ จะไม่มีสิทธิยุบสภา ในขณะเดียวกัน สส. แต่ลำพังก็ไม่มีสิทธิลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาลทั้งคณะและนายก แต่อาจจะเปิดให่้ รัฐสภาคือ สว และ สส สามารถถอดถอน นายกฯ รัฐมนตรีได้ ในกรณีที่ นายกฯ ไม่อยู่กับร่องกับรอย ซึ่งการถอดถอนนั้น ต้องอาศัยเสียงของ สมาชิกของรัฐสภาทั้งหมดเท่านั้น
เรื่อง ระบบ สส. นั้น ผมไม่ค่อยอยากให้ความสำคัญมากนะ เพราะ ไม่ว่าระบบไหน นักการเมืองไทย ก็สามารถแหกคอก ทุจริตได้ทั้งหมด ตราบใดที่คนชั่วมันเข้ามา มันก็สามารถหาทางประกอบทุจริตได้ทั้งนั้น ไม่ว่าระบบการเลือกตั้งแบบไหน คนพวกนี้ก็สามารถทำได้หลายหลากรูปแบบ
สิ่งที่ผมให้ความสนใจมากที่สุดคือ ระบบการตรวจสอบจากภาคประชาชน การจับกุมบังคับใช้กฎหมายกับนักการเมือง และ กระบวนการยุติธรรม รวมไปถึงการจัดการกับสื่อสารมวลชลที่ไม่มีจรรยาบรรณทาวิชาชีพด้วย
โดยเฉพาะสื่อมวลชน ในขณะนี้ภาคประชาชนแทบไม่มีช่องทางจัดการตรวจสอบได้เลย ผมคิดว่าเราควรมีกฎหมายสักฉบับเพื่อกำหนดจริยธรรมและจรรยาบรรณของสื่อสารมวลชน และ ประชาชนก็สามารถฟ้องร้องกับกระบวนการยุติธรรม ในกรณีที่สื่อสารมวลชนไม่ว่าจะเป็นของรัฐ และ เอกชน ประพฤติตนไม่อยู่กับร่องกับรอยได้ เช่นเสนอข่าวสารที่เป็นเท็จบิดเบือน ก่อความเสียหายให้กับสังคมในภาพรวม ทั้งหมดนี้ควรให้กระบวนการยุติธรรมตัดสิน
คำว่า สื่อเสรี มันไม่ใช่ว่า ใครจะเสนออะไรก็ได้ แล้วให้ประชาชนเลือกบริโภค ทุกวันนี้เลยเสรีกันแบบไม่จรรยาบรรณ เสรีกันตามผลประโยชน์ที่ตัวเองได้รับ แล้ว ประชาชนทุกคนก็เลือกบริโภคจนเกิดความแตกแยกแผ่ขยายไปทั่วประเทศไทย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ธรรมเท่านั้นคือทางรอดของสังคมไทย
|
|
|
jerasak
|
|
« ตอบ #47 เมื่อ: 01-10-2008, 21:39 » |
|
คุณ จีรศักดิ์ แนะให้ผมเข้ามาเสนอความคิดเห็น ในกระทู้นี้
เท่าที่ผมอ่าน เรื่องระบบน้ำหนักของคุณจีรศักดิ์ ก็น่าสนใจ แต่ต้องอย่าลืมว่า ประชาชนข้างล่าง ทุกวันนี้เขายังไม่เข้าใจเลยว่า สว. เลือกเข้ามาทำอะไรกัน สส. เลือกเข้ามาแล้วจะเข้ามาทำอะไรกัน การไปออกแบบระบบให้ซับซ้อน ผมคิดว่าประชาชนยิ่งจะเข้าใจยาก และ มองเรื่องการปกครองเป็นเรื่องไกลตัว
ถ้าคุณ Arch_FreeMan นำระบบเลือก ส.ว. และ ส.ส. ที่ผมนำเสนอ ไปเทียบกับระบบที่ใช้่ในปัจจุบันดู จะพบว่าเกือบเหมือนกันทุกประการดังนั้นระบบที่ผมนำเสนอไม่ได้ซับซ้อนอะไรกว่าเดิม จุดสำคัญก็คือ.. เปลี่ยนวิธีฟอร์มรัฐบาลที่ก่อปัญหาแตกแยก และไม่มีกฏหมายรองรับ มาเป็นวิธีที่แก้ปัญหา ในส่วนสำคัญนี้ประชาชนไม่ต้องทำอะไรเลย แค่ไปเลือกตั้งเหมือนเดิม แต่จะได้รัฐบาลจากสัดส่วนที่ประชาชน เลือกสนับสนุนจริงๆ เพียงเปลี่ยนวิธีปฏิบัติในการฟอร์มรัฐบาล ระบบนี้จึงไม่ได้ก่อปัญหา "เข้าใจได้ยาก" เทียบกับระบบปัจจุบัน... ดูคะแนนเลือก ส.ส.สัดส่วน(เลือกพรรค) ครั้งล่าสุดมาเป็นตัวอย่าง.. ผมเชื่อว่าประชาชน 12 ล้านเสียงที่เลือก ปชป. จะสนับสนุนแนวคิด ที่ผมนำเสนอ และประชาชน 12 ล้านเสียงที่เลือก พปช. ก็ยอมรับได้ รวมถึงประชาชนที่เลือกสนับสนุนพรรคอื่นๆ ด้วย เพราะข้อเสนอของผมก็เป็นประชาธิปไตยอย่างชัดเจน และมีจุดเด่น- ที่คะแนนเลือกพรรคแต่ละพรรค สามารถเชื่อมโยงกับอำนาจบริหาร ไม่ใช่มี 12 ล้านเสียงที่ มีสิทธิเป็นศูนย์ ในอำนาจบริหารแบบปัจจุบัน ซึ่งทำให้ทั้ง 12 ล้านเสียงนี้มองได้ว่ารัฐบาลไม่ใช่รัฐบาลของเขา ข้อเสนอของผมจึงไม่ได้ทำให้มอง "การปกครองเป็นเรื่องไกลตัว" ในทางกลับกันทุกคนจะรู้สึกมีส่วนร่วมในรัฐบาลที่เขากำหนดร่วมกัน
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02-10-2008, 02:46 โดย jerasak »
|
บันทึกการเข้า
|
= A dreamer lives for eternity.= == นักฝันมีชีวิตเพื่อนิรันดร์กาล ==
|
|
|
jerasak
|
|
« ตอบ #48 เมื่อ: 01-10-2008, 21:56 » |
|
ส่วนตัวผมเห็นว่า วิธีที่ง่ายที่สุดสำหรับประเทศไทยนั้น สำหรับตอนนี้
สว. เมื่อก่อนใช้การเลือกตั้งทั้งหมดถึงบังคับว่าจะไม่สังกัดพรรคการเมือง แต่ในทางปฏิบัติมันก็มีการสนับสนุนกันอย่างลับๆของระบบหัวคะแนนของ สส. ในพื้นที่ ผลปรากฎว่าเราได้ สว. ทาส ของ รธน ปี 40 สภาผัวเมีย ผัวเป็น สส เมีย เป็น สว. ดังนั้น รธน. ปี50 จึงแก้ให้ สว. มีสองระบบ มีแบบสรรหา และ แบบเลือกตั้ง ซึ้งผมก็เห็นว่าการทำงานของ สว. ในปัจจุบันนั้น เข้าท่าที่สุด มี สว. สรรหา และ สว. เลือกตั้ง ที่มีคุณภาพจำนวนหนึ่ง ถึงแม้จะไม่ทั้งหมด แต่ก็ถือว่า การทำงานในภาพรวมนั้น ประชาชนยังพอฝากความหวังได้ ผมจึงเห็นว่า เราไม่ควรแตะ เรื่อง สว. สักเท่าไหร่
ถูกต้องครับ ส.ว. ปัจจุบัน ได้รับการแก้ไขจนสามารถทำหน้าที่ฝ่ายตรวจสอบในรัฐสภาได้อย่างดีแล้ว และมีโครงสร้าง 2 กลุ่ม คือมาจากการเลือกตั้ง และมาจากการสรรหา ซึ่งผมมองว่าส่วนที่มาจากการสรรหา เราสามารถเพิ่มน้ำหนักโดยเปิดกว้างให้ตัวแทนสาขาอาชีพต่างๆ เข้ามาดำรงตำแหน่งในส่วนนี้เพิ่มได้อีกตามสมควรครับ ตัวแทนสาขาอาชีพต่างๆ ก็จะเข้ามาเป็นตัวแทนดูแลผลประโยชน์ของแต่ละกลุ่มอาชีพ และดำเนินการ เอาผิด นักการเมือง ที่กระทำผิดก่อให้เกิดความเสียหาย ได้อย่างเต็มที่
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01-10-2008, 21:59 โดย jerasak »
|
บันทึกการเข้า
|
= A dreamer lives for eternity.= == นักฝันมีชีวิตเพื่อนิรันดร์กาล ==
|
|
|
jerasak
|
|
« ตอบ #49 เมื่อ: 01-10-2008, 22:15 » |
|
ปัญหาตอนนี้ มันอยู่ ที่ สส. เพราะ ระบบรัฐสภาของไทย มันมีพื้นฐานมาจากระบบพรรคการเมือง เราเข้าใจกันมาตลอดว่า พรรคเลือกคน ประชาชนเลือกพรรค แต่ทุกวันนี้ มันเลือกใครก็ไม่รู้ มาให้ประชาชนเลือก เลือกไปแล้วก็เข้าไปทำมาหากิน แทนที่จะบริหารประเทศ แต่กลับกอบโกยผลประโยชน์เข้าพรรค เข้าตัวเอง เพื่อเตรียมการเลือกตั้งครั้งต่อไป ปัญหาของ สส คือ ธรุกิจการเมือง การซื้อเสียงให้ได้มาซึ่งอำนาจการบริหารประเทศ
ประเด็น สส. ผมมองว่า ข้อเสนอ ของ คณาจารย์ของนิด้าน่าสนใจ คือ เราผสมกับระบบของอเมริกาได้ คือ สส. มาจากเลือกตั้งทั้งหมดเดิม เพียงแต่ต้องแยก นิติบัญญัติ กับ บริหารขาดออกจากกัน ในการแยกขาด นั่นก็หมายถึง สส. ทำหน้าที่นิติบัญญัติอย่างเดียว ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารประเทศ การต่อรองตำแหน่ง การขายตัวย้ายพรรค การซิ้อตัว การดูด สส. ก็จะหมดไป เพราะไม่มีเหตุจูงใจให้ทำ ในขณะเดียวกัน ก็ให้ นายกฯ มาจากการเลือกตั้งโดยตรง แล้ว ให้อำนาจนายกฯ ตั้ง ครม โดยดึงคนในพรรคตัวเองหรือคนที่มีความสามารถนอกพรรค มาเป็น รมต ก็ได้ สส กลุ่มก้วนต่างๆ ก็ต่อรองตำแหน่ง รมต ไม่ได้ เพราะ กฎหมายห้ามไม่ให้ สส เป็น รมต ดังน้น ใครอยากเป้น รมต ก็ต้องห้ามลงสมัคร สส. นั่นเอง แต่การเมืองในระบบนี้ นายกฯ จะไม่มีสิทธิยุบสภา ในขณะเดียวกัน สส. แต่ลำพังก็ไม่มีสิทธิลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาลทั้งคณะและนายก แต่อาจจะเปิดให่้ รัฐสภาคือ สว และ สส สามารถถอดถอน นายกฯ รัฐมนตรีได้ ในกรณีที่ นายกฯ ไม่อยู่กับร่องกับรอย ซึ่งการถอดถอนนั้น ต้องอาศัยเสียงของ สมาชิกของรัฐสภาทั้งหมดเท่านั้น
เรื่อง ระบบ สส. นั้น ผมไม่ค่อยอยากให้ความสำคัญมากนะ เพราะ ไม่ว่าระบบไหน นักการเมืองไทย ก็สามารถแหกคอก ทุจริตได้ทั้งหมด ตราบใดที่คนชั่วมันเข้ามา มันก็สามารถหาทางประกอบทุจริตได้ทั้งนั้น ไม่ว่าระบบการเลือกตั้งแบบไหน คนพวกนี้ก็สามารถทำได้หลายหลากรูปแบบ
คุณ Arch_FreeMan มองจุดสำคัญเหมือนผม.. คือประเด็นที่ไม่ว่าจะออกแบบระบบอย่างไรก็ป้องกันนักการเมืองทุจริตไม่ได้ มีแต่ดำเนินการเอาผิดคนที่โกงแล้วตามกฎหมาย โดยให้มีระบบตรวจสอบ ที่บุคลากรมีที่มาหลากหลาย ตัวอย่างเช่น วุฒิสภา ระบบของผมจึงไม่เน้นแก้ไขวิธีการเลือกตั้ง ส.ส. ที่ใช้่อยู่ในปัจจุบันมากนัก แต่เสนอ "แนวทางแก้ปัญหาความแตกแยกทางการเมืองของประชาชน" โดยเสนอให้เปลี่ยนวิธีฟอร์มรัฐบาลที่ก่อปัญหา ไปใช้วิธีใหม่ที่แก้ปัญหาได้ซึ่งไม่จำเป็นต้องแก้ไขกฏหมายด้วยซ้ำ เพราะระบบเดิมก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติ เป็นเพียงธรรมเนียมปฏิบัติที่ทำตามๆ กันมา แล้วยึดถือกันเอาเอง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
= A dreamer lives for eternity.= == นักฝันมีชีวิตเพื่อนิรันดร์กาล ==
|
|
|
|