ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
20-04-2024, 16:23
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  สภาขุนนางในอังกฤษ = อำมาตยาธิปไตย หรือไม่? 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
สภาขุนนางในอังกฤษ = อำมาตยาธิปไตย หรือไม่?  (อ่าน 6375 ครั้ง)
Şiłąncē Mőbiuş
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,215



เว็บไซต์
« เมื่อ: 26-09-2008, 13:56 »

นี่เป็นเรื่องที่ผมสงสัยมาก

ใครช่วยอธิบายหน่อยซิ

โดยเฉพาะพวกนิยมประชาธิปไตย โปรอังกฤษน่ะ
บันทึกการเข้า



“People should not be afraid of their governments. Governments should be afraid of their people.”

. “ประชาชนไม่ควรกลัวรัฐบาลของตนเอง รัฐบาลต่างหากที่ควรกลัวประชาชน” .

. แวะไปเยี่ยมกันได้ที่ http://silance-mobius.blogspot.com/ นะครับ .
concordance democracy
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 313


« ตอบ #1 เมื่อ: 26-09-2008, 14:32 »

 Smile
1.อังกฤษเขามีรัฐธรรมนูญแบบไม่เป็นตัวหนังสือ

2.ขุนนางในอังกฤษเป็นกลุ่มผลประโยชน์ใหญ่เก่าแก่กลุ่มหนึ่งที่เขาจำเป็นจะต้องรักษาผลประโยชน์ของกลุ่ม

3.ประเด็นน่าจะอยู่ตรงเขามาตามช่อง/ออกตามประตูหรือไม่ ลากตั้งหรือไม่ และเมื่อตั้งเข้ามาแล้วทำตัวเป็นประชาธิปไตยหรือเผด็จการ ผมไม่ได้มีความรู้อะไรลึกซึ้งในเรื่องนี้ แต่เท่าที่ฟังดู ขุนนางของอังกฤษเป็นผู้ดีจริงๆ ไม่วุ่นวาย เจียมเนื้อเจียมตัว เขาจึงอยู่ได้อย่างมีเกียรติในสังคมและได้รับการยกย่องจากชาวโลก
 Laughing
บันทึกการเข้า
Şiłąncē Mőbiuş
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,215



เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 26-09-2008, 14:35 »

Smile
1.อังกฤษเขามีรัฐธรรมนูญแบบไม่เป็นตัวหนังสือ (อย่างนี้เรียกว่าระบบจารีตหรือไม่)

2.ขุนนางในอังกฤษเป็นกลุ่มผลประโยชน์ใหญ่เก่าแก่กลุ่มหนึ่งที่เขาจำเป็นจะต้องรักษาผลประโยชน์ของกลุ่ม (อันนี้ไม่รู้)

3.ประเด็นน่าจะอยู่ตรงเขามาตามช่อง/ออกตามประตูหรือไม่ ลากตั้งหรือไม่ และเมื่อตั้งเข้ามาแล้วทำตัวเป็นประชาธิปไตยหรือเผด็จการ ผมไม่ได้มีความรู้อะไรลึกซึ้งในเรื่องนี้ แต่เท่าที่ฟังดู ขุนนางของอังกฤษเป็นผู้ดีจริงๆ ไม่วุ่นวาย เจียมเนื้อเจียมตัว เขาจึงอยู่ได้อย่างมีเกียรติในสังคมและได้รับการยกย่องจากชาวโลก (ขุนนางมันมีเลือกตั้งด้วยเหรอ?)
 Laughing
บันทึกการเข้า



“People should not be afraid of their governments. Governments should be afraid of their people.”

. “ประชาชนไม่ควรกลัวรัฐบาลของตนเอง รัฐบาลต่างหากที่ควรกลัวประชาชน” .

. แวะไปเยี่ยมกันได้ที่ http://silance-mobius.blogspot.com/ นะครับ .
BrettAnderson
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 180



« ตอบ #3 เมื่อ: 26-09-2008, 14:41 »

ที่เขาไม่จุ้นจ้าน ก็เพราะนักการเมืองในสภาล่างเขาทำตัวดี น่าเชื่อถือ ไม่ได้เป็นเครื่องมือของฝ่ายรัฐบาล ที่สำคัญไม่ทำตัวหาผลประโยชน์ของชาติเสียเอง

ถ้าหากพวกสภาล่างไม่ทำตัวเลว พวกสภาสูงจะทำอะไรได้ล่ะครับ

ความเป็นมาของสภาสูงในอังกฤษนั้นยาวมาก ไว้ถ้ากระทู้นี้ยังไม่ตก คืนนี้กลับไปบ้านแล้วจะเอาหนังสือมาเปิดเขียนให้อ่านนะครับ (เพราะจำเองไม่หมด มันเยอะ)

ถ้ากระทู้นี้ยังไม่ตกน่ะนะครับ
บันทึกการเข้า

Şiłąncē Mőbiuş
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,215



เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 26-09-2008, 14:52 »

ที่เขาไม่จุ้นจ้าน ก็เพราะนักการเมืองในสภาล่างเขาทำตัวดี น่าเชื่อถือ ไม่ได้เป็นเครื่องมือของฝ่ายรัฐบาล ที่สำคัญไม่ทำตัวหาผลประโยชน์ของชาติเสียเอง

ถ้าหากพวกสภาล่างไม่ทำตัวเลว พวกสภาสูงจะทำอะไรได้ล่ะครับ

ความเป็นมาของสภาสูงในอังกฤษนั้นยาวมาก ไว้ถ้ากระทู้นี้ยังไม่ตก คืนนี้กลับไปบ้านแล้วจะเอาหนังสือมาเปิดเขียนให้อ่านนะครับ (เพราะจำเองไม่หมด มันเยอะ)

ถ้ากระทู้นี้ยังไม่ตกน่ะนะครับ

เดี๋ยวผมจะคอยดันไว้ไม่ให้คก เพราะผมเองก็อยากอ่าน อิอิ
บันทึกการเข้า



“People should not be afraid of their governments. Governments should be afraid of their people.”

. “ประชาชนไม่ควรกลัวรัฐบาลของตนเอง รัฐบาลต่างหากที่ควรกลัวประชาชน” .

. แวะไปเยี่ยมกันได้ที่ http://silance-mobius.blogspot.com/ นะครับ .
May The Force Be With You
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 331


ขอพลังสถิตย์กับท่าน


« ตอบ #5 เมื่อ: 26-09-2008, 15:12 »

อำมาตยาธิปไตยชัดชัด    ใช่ไหมคุณจ๊ะ
บันทึกการเข้า

"เจไดที่ฉลาดมากๆ คนหนึ่งเคยบอกข้าไว้ว่าเราไม่จำเป็นต้องชนะ แต่เราต้องสู้"
concordance democracy
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 313


« ตอบ #6 เมื่อ: 26-09-2008, 15:20 »

 Smile
การเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อปี 2475 ถ้าหลวงประดิษฐ์ฯแกไม่แค้นฝ่ายขุนนางมากเกินไป หรือมีหัวทาง socialism มากเกินไป ประนีประนอมเสียหน่อย แล้วจัดให้มีสภาขุนนางแบบอังกฤษ ป่านนี้การเมืองไทยอาจจะไม่วิกฤติแบบนี้ก็เป็นได้  
Very Happy
บันทึกการเข้า
Şiłąncē Mőbiuş
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,215



เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 26-09-2008, 15:44 »

ปัญหาประชาธิปไตยบ้านเรา มันเกิดจากเมื่อปี 2475 มีคนกลุ่มเดียว เสี้ยน อยากได้ อยากมี อยากเป็น เหมือนฝรั่ง โดยที่ไม่ยอมรับรู้ว่าประชาชนในประเทศยังไม่มีความเข้าใจในเรื่องประชาธิปไตย


ปล. ตะวันออกกลางบางประเทศ (เท่าที่รู้) มันยังเป็นระบอบขุนนางอยู่เลย ไม่เห็นว่าคนมันจะเดือดร้อนอะไร
บันทึกการเข้า



“People should not be afraid of their governments. Governments should be afraid of their people.”

. “ประชาชนไม่ควรกลัวรัฐบาลของตนเอง รัฐบาลต่างหากที่ควรกลัวประชาชน” .

. แวะไปเยี่ยมกันได้ที่ http://silance-mobius.blogspot.com/ นะครับ .
samepong(ยุ่งแฮะ)
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,402



« ตอบ #8 เมื่อ: 26-09-2008, 16:05 »

Smile
1.อังกฤษเขามีรัฐธรรมนูญแบบไม่เป็นตัวหนังสือ

2.ขุนนางในอังกฤษเป็นกลุ่มผลประโยชน์ใหญ่เก่าแก่กลุ่มหนึ่งที่เขาจำเป็นจะต้องรักษาผลประโยชน์ของกลุ่ม

3.ประเด็นน่าจะอยู่ตรงเขามาตามช่อง/ออกตามประตูหรือไม่ ลากตั้งหรือไม่ และเมื่อตั้งเข้ามาแล้วทำตัวเป็นประชาธิปไตยหรือเผด็จการ ผมไม่ได้มีความรู้อะไรลึกซึ้งในเรื่องนี้ แต่เท่าที่ฟังดู ขุนนางของอังกฤษเป็นผู้ดีจริงๆ ไม่วุ่นวาย เจียมเนื้อเจียมตัว เขาจึงอยู่ได้อย่างมีเกียรติในสังคมและได้รับการยกย่องจากชาวโลก
 Laughing

อย่ายึดติดคำว่าเลือกตั้งคือ ปชต.ครับ สภาขุนนางสืบทอดกันตามสายเลือดครับ เป็นตัวแทนฝ่ายอนุรักษ์นิยมครับ
บันทึกการเข้า

เวลาจะพิสูจน์ความเชื่อ สักวัน ไม่ว่าความเชื่อนั้นจะถูกหรือผิด ผมขอรับไว้ด้วยตัวเอง คิเสียว่าทำแล้วเสียใจดีกว่าเสียใจที่ไม่ได้ทำ
concordance democracy
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 313


« ตอบ #9 เมื่อ: 26-09-2008, 16:09 »

 Question
ประชาชนในประเทศยังไม่มีความเข้าใจในเรื่องประชาธิปไตย ?
 Smile
โดยรูปแบบอาจจะใช่
 Very Happy
แต่โดยเนื้อหาแล้ว ประชาชนมีความเข้าใจ"ประชาธิปไตยแบบสอดคล้อง"มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
  Sad
หลัง 2475 "ประชาธิปไตยแบบสอดคล้อง" กลายเป็นประชาธิปไตยแบบเลือกข้าง" หรือ "ประชาธิปไตยแบบพวกมากลากไป" จนทุกวันนี้
 Rolling Eyes
บันทึกการเข้า
BrettAnderson
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 180



« ตอบ #10 เมื่อ: 26-09-2008, 16:20 »

ผมกลับคิดว่าสิ่งที่คณะราษฎร์ในยุคนั้นทำไปนั้น ทำถูกแล้วนะครับ โอเคว่าอาจจะไวไปหน่อย คนไทยยังไม่พร้อม แต่ถ้าใครได้ศึกษาถึงการปกครองประเทศในรัฐบาลตั้งแต่สมัย ร.6-ร.7 จะรู้เลยว่า ขุนนางไทยสมัยนั้นนอกจากจะไม่มีความสามารถแล้ว ยังมีความคิดอยู่เลยว่าประเทศสยามและคนไทยเป็นขี้ข้าของพวกเขา

ผมไม่ได้ว่า ร.7 นะครับ แต่ผมว่าพวกขุนนางในยุคนั้นต่างหาก ทั้งร.6 และ ร.7 ทั้งสองพระองค์มีความสามารถครับ แต่ว่าท่านบริหารบ้านเมืองไม่ได้เพียงลำพัง แล้วสิ่งที่เราในรุ่นหลังๆมักไม่ค่อยรู้ก็คือจริงๆแล้วขุนนางในพระราชสำนัก มีบทบาทและอำนาจมากในสังคมไทย ตั้งแต่ยุคสมัย ร.4 เป็นต้นมา

ดังนั้นการที่คณะราษฎร์ทำโดยเนื้อแท้แล้ว คือการล้างระบอบขุนนางมากกว่าจะโค่นล้มระบอบกษัตริย์ เพราะถ้าต้องการโค่นล้มสถาบันจริงๆ ตอนนั้นจะทำก็ทำได้ครับ แต่ก็ยังยก ร.7 เป็นกษัตริย์เหมือนเดิมแต่ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ

แต่ผมไม่ได้บอกว่าคณะราษฎร์นั้นดีนะครับ

ถ้าใครศึกษามาจะเห็นว่าหลังยุค 2475 แล้ว การแก่งแย่งอำนาจ การหักล้างกันเองนั้น ก็แสดงธาตุแท้ของพวกคณะราษฎรืได้เป็นอย่างดี

นี่ล่ะครับ ความน่ากลัวของสิ่งที่เรียกว่าอำนาจ มันไม่เข้าใครออกใครจริงๆ

สุดท้ายพวกคณะราษฎร์ก็ทำเหมือนกับสิ่งที่ขุนนางสมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองทำ นั่นคือมองว่าปรเทศไทยและคนไทยเป็นของพวกตัวเอง ก็กระทำการย่ำยีจนไม่เห็นหัว

กว่าสายเลือดของพวกคณะราษฎร์จะหมดไปเราก็ต้องรอจนถึง 14 ตุลา 16 นั่นแหละ

เกือบสี่สิบปีเลยนะครับ นานเหลือเกิน
บันทึกการเข้า

Şiłąncē Mőbiuş
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,215



เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 26-09-2008, 16:28 »

งั้นแปลว่า กว่าเชื้อชั่วๆ ของไอ้เหลี่ยม และ พรรคพวกจะหมดไป ก็ต้องรอ ถึง 20 ปีงั้นซิ 

ส่วนคุณ concordance democracy ถ้าคุณเห็นด้วยกับพวกแดกป่าในกระทู้ http://forum.serithai.net/index.php?topic=36692.0 เราก็ไม่ต้องคุยอะไรกันอีก และ ผมรังเกียจคุณในกระทู้ผม
บันทึกการเข้า



“People should not be afraid of their governments. Governments should be afraid of their people.”

. “ประชาชนไม่ควรกลัวรัฐบาลของตนเอง รัฐบาลต่างหากที่ควรกลัวประชาชน” .

. แวะไปเยี่ยมกันได้ที่ http://silance-mobius.blogspot.com/ นะครับ .
concordance democracy
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 313


« ตอบ #12 เมื่อ: 26-09-2008, 17:06 »

 Question
กว่าสายเลือดของพวกคณะราษฎร์จะหมดไป เราก็ต้องรอจนถึง 14 ตุลา 16 นั่นแหละ
 Question
แล้ว 19 กย. / คมช. สายเลือด ?
70/30 สายเลือดอะไร ?
 Question
หมดไปจริง ?
 Question
บันทึกการเข้า
Şiłąncē Mőbiuş
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,215



เว็บไซต์
« ตอบ #13 เมื่อ: 26-09-2008, 17:22 »

Question
กว่าสายเลือดของพวกคณะราษฎร์จะหมดไป เราก็ต้องรอจนถึง 14 ตุลา 16 นั่นแหละ
 Question
แล้ว 19 กย. / คมช. สายเลือด ?
70/30 สายเลือดอะไร ?
 Question
หมดไปจริง ?
 Question

เข้ามาอีกทำไม

เข้ามาเพื่ออะไร

ใครเชิญให้เข้ามา (ในกระทู้ผม)

กรูรังเกียจมรึงว่ะ 
บันทึกการเข้า



“People should not be afraid of their governments. Governments should be afraid of their people.”

. “ประชาชนไม่ควรกลัวรัฐบาลของตนเอง รัฐบาลต่างหากที่ควรกลัวประชาชน” .

. แวะไปเยี่ยมกันได้ที่ http://silance-mobius.blogspot.com/ นะครับ .
อนัตตา (ไร้สี ไร้กลิ่น ไร้ฝ่าย)
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 620



« ตอบ #14 เมื่อ: 26-09-2008, 18:51 »

ไม่ใช่ เพราะไม่มีนปก.(ฮา)
บันทึกการเข้า

qazwsx
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,359


นักธุรกิจและตำรวจ ต้องออกไปจากการเมือง


« ตอบ #15 เมื่อ: 26-09-2008, 19:32 »

ปัญหาทุกวันนี้มาจาก รธน.ปี 2540
ซึ่ง "บังคับ" ให้ประเทศชาติมีการแบ่งข้าง ( เอาอย่างอเมริกา )
และ "ให้อำนาจพรรคการเมืองมากไป" ถึงขนาดที่ว่านักการเมือง + พรรคการเมือง คือผู้กุมอำนาจ "แทบทุกอย่าง" ในแผ่นดิน
เพราะเข้าใจว่า "ถ้านักการเมือง + พรรคการเมืองแข็งแกร่งและทหารและข้าราชการก็ต้องหลีกทางไป"

...แต่ไม่รับรู้เลยว่า "นักการเมืองและพรรคการเมือง" นั่นล่ะคือตัวปัญหา
เป็น "กลไกสารเลว" ที่มีพื้นฐานมาจาก
1. นายทุน
2. พวกแปลกแยกจากสังคม ( เป็นปฏิปักษ์กับราชวงศ์และระบบสังคมไทยแบบ "ผู้ดี - ขี้ข้า" ) เช่น พวกลูกคนชั้นกลางที่ชอบอ้าง "คนยากจน + ชาวไร่ชาวนา" ราวกับว่าพวกตนรู้จักความลำบากของคนยากจนและชาวไร่ชาวนาดีไปกว่า "ผู้ดี" ที่เขาอุปการะกันมาแต่เนิ่นนาน
3. พวกปีนกระได  อันได้แก่พวก "ทำห่าอะไรไม่เป็น หรือหากินโดยสุจริต + ขยัน + อดออมไม่เป็น" จึงใช้ความเป็นนักเลียไข่ + ปากเก่ง + หน้าด้าน  เกาะพรรค + เกาะนายทุน ( กลุ่มที่ 1 ) ผสมกับ "แอบอ้างขี้ปากพวกแปลกแยก ( กลุ่มที่ 2 )" เพื่อสร้างโอกาสและราคาให้ตนเอง

รธน.ปี 2540 เดินตามตูดฝรั่ง ( อเมริกา + อังกฤษ ) อย่างซื่อบื้อ ๆ
ไม่ดูตาม้าตาเรือ - ไม่ดูราก ( สันดาน ) คนไทยและฝรั่งว่ามันแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
สสร.ชุดนั้นเป็นพวก "เด็กจบเมืองนอกไร้ราก"
...ฉลาดทาง "รับรู้ - ลอกเลียน" แต่โง่บัดซบทาง "ตระหนัก - วิเคราะห์" ( ความฉลาดแบบสัตว์เลี้ยง )
อีกทั้งยังมีรากมาจาก "ความกลัว ( ภยาคติ )" ต่อทหาร - การทำรัฐประหาร
ถึงขนาด "สร้างระบบ" ขึ้นมาเพื่อปกป้อง "พวกที่ไม่ใชทหาร ( และข้าราชการ )"
แล้วก็กลายเป็น "การปกป้อง "นักการเมืองและพรรคการเมือง" ชั่ว ๆ
...เอาประชาชนทั้งแผ่นดินไปเป็นเกราะกำบังให้ "นักการเมืองและพรรคการเมือง" ชั่ว ๆ
ทั้ง ๆ ที่ปัญหาทางการเมืองไทยนั้นล้วนมาจาก "ตัวตน" หรือ "อัตตา"
ไม่ใช่ความบกพร่องของ "ระบบ"


บันทึกการเข้า

exzcute
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 221


« ตอบ #16 เมื่อ: 26-09-2008, 20:00 »

Question
กว่าสายเลือดของพวกคณะราษฎร์จะหมดไป เราก็ต้องรอจนถึง 14 ตุลา 16 นั่นแหละ
 Question
แล้ว 19 กย. / คมช. สายเลือด ? ข้าราชการทหารเกษียณแล้วก็ไปเลี้ยงหลาน แล้วพวกนักการเมืองชาติชั่วมันมีเกษียณหรือเปล่า ? ตัวตายยังส่งต่อให้ลูกหลานอีก
70/30 สายเลือดอะไร ? แล้วสายเลือด 50/50 ที่ไปนั่งรองนายกความมั่นคงนั่นคืออะไร ? เขาไม่เอา 70/30 มาตั้งนานยังมาปลุก 50/50 อีก
 Question
หมดไปจริง ? มีใครเขาเล่นการเมืองเหมือนพวกนักการเมืองชาติชั่วมั่ง มันเล่นไม่ได้ก็ส่งเมียส่งลูกเข้ามา
 Question

ตอบให้แล้วคงเลิกโง่ได้แล้วมั่ง
บันทึกการเข้า
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #17 เมื่อ: 26-09-2008, 20:26 »

 
ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าขุนนาง ก็อำมาตย์นั่นแหละครับ

แต่รู้สึกว่าสภาอำมาตย์ของอังกฤษไม่มีอำนาจบทบาทมากเท่าไหร่ ไม่แรงเหมือน สว. บ้านเรา Confused

บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
Ammika
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 167


หนูไม่ใช่ลิงนะจ๊ะ


« ตอบ #18 เมื่อ: 26-09-2008, 22:57 »

เข้ามาอีกทำไม

เข้ามาเพื่ออะไร

ใครเชิญให้เข้ามา (ในกระทู้ผม)

กรูรังเกียจมรึงว่ะ 

  เจ็บแทน














 
บันทึกการเข้า

เบื่อไอ้ปึ้ด...จริงๆ
บัวริมบึง
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 384


« ตอบ #19 เมื่อ: 26-09-2008, 23:09 »

เอ้า ช่วยดันๆๆๆๆๆ

จะรออ่านนะค๊าบบบบบ
บันทึกการเข้า
Şiłąncē Mőbiuş
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,215



เว็บไซต์
« ตอบ #20 เมื่อ: 27-09-2008, 00:09 »

รอ ร๊อออ รอออออออ

รอ ร๊อออ รอออออออ

 
บันทึกการเข้า



“People should not be afraid of their governments. Governments should be afraid of their people.”

. “ประชาชนไม่ควรกลัวรัฐบาลของตนเอง รัฐบาลต่างหากที่ควรกลัวประชาชน” .

. แวะไปเยี่ยมกันได้ที่ http://silance-mobius.blogspot.com/ นะครับ .
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #21 เมื่อ: 27-09-2008, 00:29 »

สภาขุนนาง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


   สภาขุนนาง (อังกฤษ: House of Lords) หมายถึงสภาสูงของสหราชอาณาจักร ประกอบไปด้วยสมาชิกที่เรียกว่า ลอร์ดส (Lords) หรือ เพียร์ส (peers) ประมาณ 700 กว่าคน ซึ่งมาจากการแต่งตั้งทั้งหมด (ตรงข้ามกับสภาสามัญชน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด) โดยแบ่งเป็น 4 ประเภทคือ

ขุนนางชั่วชีพ (Life Peers) มาจากการแต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรี และจะดำรงตำแหน่งไปตลอดชีวิต ปัจจุบันสมาชิกของเฮาส์ออฟลอร์ดสจำนวนมากอยู่ในประเภทนี้

ขุนนางสืบตระกูล (Hereditary Peers) มาจากการสืบทอดตำแหน่งทางสายเลือด โดยสมัยก่อนนั้นเฮาส์ออฟลอร์ดสมีเฉพาะสมาชิกประเภทนี้เท่านั้น แต่ปัจจุบันถูกลดจำนวนเหลือเพียงแค่ 92 คน โดย Parliament Act 1999 โดย 90 คนมาจากการเลือกตั้งโดย Hereditary Peers ด้วยกัน และอีกสองคนเป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่งซึ่งเกี่ยวเนื่องกับรัฐสภาโดยตรงอยู่ก่อนแล้ว ได้แก่ Great Lord Chamberlain และ Earl Marshall

ขุนนางศาสนา (Spiritual Peers) มาจากตัวแทนของศาสนา เช่น บิชอปและอาร์คบิชอปต่าง ๆ

ขุนนางนิติ (Law Lords) เป็นสมาชิกที่มีความรู้ด้านกฎหมาย และทำหน้าที่เป็นผู้พิพากษาศาสสูงสุดของสหราชอาณาจักรด้วย ประกอบไปด้วยผู้พิพากษา 26 คน

ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%87".
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #22 เมื่อ: 27-09-2008, 00:38 »

สภาสามัญชน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สภาสามัญชน (อังกฤษ: House of Commons) หรือ สภาสามัญ หมายถึงสภาล่างของสหราชอาณาจักร ประกอบไปด้วยสมาชิกสภาที่เรียกว่า เอ็มพี (MP - Member of Parliament) ที่มาจากการเลือกตั้งทุก ๆ 4-5 ปี โดยนายกรัฐมนตรีเป็นผู้กำหนดวันเลือกตั้ง

หัวหน้าพรรคที่มีเสียงมากที่สุดในสภาล่างนี้จะได้รับการแต่งตั้งจากกษัตริย์ให้เป็นนายกรัฐมนตรี โดยปัจจุบันพรรคแรงงาน (Labour Party) เป็นพรรคที่ครองเสียงข้างมากจากการชนะการเลือกตั้งเมื่อปี 2005 นายกอร์ดอน บราวน์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทนนายโทนี แบลร์ ที่ลาออก

ปัจจุบันสภาสามัญชนมีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเทียบกับสภาสูงหรือสภาขุนนาง (House of Lords) ที่มาจากการแต่งตั้ง ซึ่งมีบทบาทน้อยลงเมื่อเทียบกับอดีต โดยบทบาทของสภาสามัญชนนั้นเพิ่มขึ้นอย่างเป็นรูปเป็นร่างครั้งแรกเมื่อปี 1911 จากการออกกฎหมาย Parliament Act 1911 ซึ่งกำหนดให้สภาขุนนางสามารถระงับกฎหมายได้ไม่เกิน 2 ปีเท่านั้น และไม่สามารถแตะต้องกับกฎหมายซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการเงินการคลังของประเทศได้ ต่อมา Parliament Act 1949 ลดระยะเวลาการระงับกฎหมายเหลือเพียง 1 ปีเท่านั้น
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #23 เมื่อ: 27-09-2008, 00:47 »

การเมืองการปกครอง
 

ใช้ระบอบการปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจบริหารผ่านคณะรัฐมนตรีซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล

คณะรัฐมนตรีนั้นเลือกจากรัฐสภาและมีหน้าที่รับผิดชอบต่อรัฐสภาเช่นเดียวกัน

รัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรเป็นระบบสภาคู่ แบ่งเป็น 2 สภา คือ เฮาส์ออฟลอร์ดส เป็นสภาสูงที่มาจากการแต่งตั้ง และเฮาส์ออฟคอมมอนส์ เป็นสภาล่างที่มาจากการเลือกตั้ง

โดยหลักการแล้วผู้นำของรัฐสภาคือพระมหากษัตริย์ สหราชอาณาจักรเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่ไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร

แต่ขนบธรรมเนียมประเพณี และกฎหมายรัฐธรรมนูญแยกกันไป

พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันคือ สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือ นายกอร์ดอน บราวน์ จากพรรคแรงงาน ซึ่งเข้ารับตำแหน่งหลังจากนายโทนี แบลร์ ลาออกเมื่อกลางปี พ.ศ. 2550 ในส่วนของมกุฏราชกุมารที่จะครองราชย์สมบัติเป็นคนต่อไปจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าชายแห่งเวลส์ก่อน จึงจะมีความชอบธรรมในการเป็นมกุฏราชกุมารแห่งสหราชอาณาจักร เจ้าชายแห่งเวลส์ในปัจจุบันคือเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ ซึ่งมิได้อาศัยอยู่ที่เวลส์แต่อย่างใด หากแต่อาศัยอยู่ที่สวน High Grove ใน Tetbury ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #24 เมื่อ: 27-09-2008, 00:52 »

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ หรือ
ปรมิตตาญาสิทธิราชย์ (constitutional monarchy)


ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ หรือ ปรมิตตาญาสิทธิราชย์ (constitutional monarchy) เป็นระบอบการปกครองแบบราชาธิปไตยที่จัดตั้งขึ้นภายใต้ระบอบที่มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด โดยมีพระมหากษัตริย์จากการคัดเลือกหรือการสืบราชสันตติวงศ์ ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญสมัยใหม่มักใช้หลักการ "แบ่งแยกอำนาจ" โดยพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของฝ่ายบริหารหรือทรงมีพระราชกรณียกิจในพิธีการต่างๆ ระบอบที่พระมหากษัตริย์มีอำนาจเบ็ดเสร็จ คือ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ กระบวนการของรัฐบาลและกระบวนการทางกฎหมายในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สามารถแตกต่างอย่างมากจากระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ

ในประเทศที่ใช้ระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนควบคู่กับระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ดังเช่น ในสหราชอาณาจักร พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของรัฐ อย่างไรตามนายกรัฐมนตรีซี่งมาจากการเลือกตั้งทางตรงหรือทางอ้อมเป็นหัวหน้ารัฐบาล

ถืงแม้ว่าระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญส่วนมากเป็นแบบระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน (ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) แต่ในประวัติศาสตร์ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญในบางรัฐก็ไม่เป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน ในประวัติศาสตร์ รัฐที่ปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญใช้รัฐธรรมนูญแบบฟาสซิส (หรือกึ่งฟาสซิส) ซึ่งตัวอย่างดังกล่าวเคยเกิดขึ้นในประเทศอิตาลี ญี่ปุ่น สเปน
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #25 เมื่อ: 27-09-2008, 00:59 »

รัฐธรรมนูญฉบับแรกของโลก

ในวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1215 ขุนนางและพระราชาคณะจำนวน 25 คน ได้บังคับให้พระเจ้าจอห์นลงนามในเอกสารที่เรียกว่า "มหากฎบัตร" (The Great Charter, Magna Carta) ซึ่งเป็นสัญญาระหว่างพระมหากษัตริย์กับขุนนางและพระสงฆ์ โดยในมหากฎบัตรได้กำหนด ถึงการจัดองค์กรและการบริหารอำนาจของสภาสูง (Magnum Concillium) และกำหนดว่าพระมหากษัตริย์จะเก็บภาษีบางอย่างตามที่กำหนดไว้โดยมิได้รับความเห็นชอบจากสภาสูงมิได้ จะจับกุมคุมขังบุคคลได้ก็ต่อเมื่อ มีคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมาย มหากฎบัตรนี้ นักกฎหมายบางท่านเห็นว่า เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรก

รัฐธรรมนูญในสหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศส ในภาษาของประเทศทั้งสอง คำว่ารัฐธรรมนูญต่างใช้คำว่า Constitution ซึ่งแปลว่า การสถาปนา หรือการจัดตั้ง ซึ่งหมายถึงการสถาปนาหรือจัดตั้งรัฐนั่นเอง โดยทั้งสองประเทศมีรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ประเทศอังกฤษไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร




Magna Carta

บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #26 เมื่อ: 27-09-2008, 01:12 »

ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม

ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Democracy) หมายถึง การมีส่วนร่วมในทางการเมืองการปกครอง ตลอดจนการกำหนดวิถีชีวิตที่สอดคล้องกับการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตย ทั้งนี้ไม่ว่าเกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิเสรีภาพ หน้าที่ ตามระบอบการเมืองการปกครองที่ไม่ไปก้าวก่ายหรือก่อความเดือดร้อนแก่ผู้อื่นหรือสังคมส่วนรวม การมีส่วนร่วมในทางการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอาจจะจำแนกเป็น 3 ระดับ คือ

การมีส่วนร่วมในระดับเบื่องต้น เช่น ร่วมแสดงความคิดเห็นในทางการเมือง, ร่วมพูดคุยอภิปรายเรื่องราวทางการเมืองและสถานการณ์ปัจจุบัน, ร่วมลงชื่อเพื่อเสนอเรื่องราวหรือประชาพิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งในทางการเมือง, รวมกลุ่มเล็ก ๆ เพื่อแสดงความคิดเห็นในทางการเมือง, เป็นสมาชิกพรรคการเมือง

การมีส่วนร่วมในระดับกลาง เช่น ร่วมเดินขบวนเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม, ร่วมปราศัยในการชุมนุมเรียกร้องเรื่องราว, ร่วมลงชื่อเพื่อเสนอให้ฝ่ายที่มีอำนาจตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง, ร่วมอดข้าวประท้วงหรือร่วมกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อเรียกร้อง

การมีส่วนร่วมในระดับสูง เช่น ร่วมลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา, ร่วมก่อตั้งพรรคการเมือง, ร่วมก่อตั้งรัฐบาล
ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิธีการกระจายอำนาจและทรัพยากรต่าง ๆ ที่ไม่เท่าเทียมกันอันมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนและวิธีการที่ประชาเหล่านั้นมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจที่มีผลกระทบต่อตน

โดยที่กล่าวถึงข้างต้น ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม จึงหมายถึง การที่อำนาจในการตัดสินใจไม่ควรเป็นของกลุ่มคนจำนวนน้อย แต่อำนาจควรไดรับการจัดสรรในระหว่างประชาชน เพื่อทุก ๆ คนได้มีโอกาสที่จะมีอิทธิพล และจัดเป็นกระจายอำนาจและเปิดต่อการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางของประชาชนในกระบวนการทางการเมือง ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ

จากคำนิยามดังกล่าวข้างต้นอาจสรุปหลักการหรือองค์ประกอบสำคัญของคำว่าประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมได้ ดังนี้

การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเมืองและการบริหาร

เน้นการกระจายอำนายในการตัดสินใจและการจัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ ในระหว่างประชาชนให้เท่าเทียมกัน
 
อำนาจในการตัดสินใจและการจัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ นั้น จะส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน

เพิ่มการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน

มีความยืดหยุ่นได้ กล่าวคือ มีโครงสร้างการทำงานที่สามารถตรวจสอบได้ มีความโปร่งใสและคำนึงถึงความต้องการทรัพยากรของผู้มีส่วนร่วม

การมีส่วนร่วมของประชาชนมีทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ

แคทท์ (Catt 1999, 39-56) ได้เสนอไว้ว่า องค์ประกอบและเงื่อนไขที่สำคัญที่สุดของความเป็นประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม คือ

ทุกคนสามารถยกประเด็นปัญหาใดปัญหาหนึ่งขึ้นมา เพื่อกำหนดเป็นวาระของการประชุม สามารถเสนอทางเลือกและมีส่วนร่วมในการเลือกหรือการตัดสินใจสุดท้ายได้

เป็นการประชุมที่ทุกคนสามารุพูดคุยกันได้อย่างทั่วถึง (face-to-face meeting)

มีการปรึกษาหารือ หรืออภิปรายประเด็นปัญหาที่หยิบยกมาพิจารณากันอย่างกว้างขวาง ทุกคนต้องการมีส่วนร่วมในการอภิปราย และสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่

มีแนวโน้มที่พยายามจะให้เกิดความเห็นพ้อง (consensus) ร่วมกันในประเด็นปัญหาที่พิจารณา

การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นกระบวนการซึ่งประชาชน หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้มีโอกาสแสดงทัศนะและเข้าร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งมีการนำความคิดเห็นดังกล่าวไปประกอบการพิจารณากำหนดนโยบายและการตัดสินใจของรัฐ

การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นกระบวนการสื่อสารในระบบเปิด กล่าวคือ เป็นการสื่อสารสองทาง ทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ซึ่งประกอบไปด้วยการแบ่งสรรข้อมูลร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนเสียและเป็นการเสริมสร้างความสามัคคีในสังคม

ทั้งนี้เพราะการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นการเพิ่มคุณภาพของการตัดสินใจการลดค่าใช้จ่ายและการสูญเสียเวลา เป็นการสร้างฉันทามติ และทำให้ง่ายต่อการนำไปปฏิบัติ อีกทั้งช่วยหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าใน “กรณีที่ร้ายแรงที่สุด” ช่วยให้เกิดความน่าเชื่อถือและความชอบธรรมและช่วยให้ทราบความห่วงกังวลของประชาชนและค่านิยมของสาธารณชน รวมทั้งเป็นการพัฒนาความเชี่ยวชาญและความคิดสร้างสรรค์ของของสาธารณชน

การมีส่วนร่วมของประชาชนมีความสำคัญในการสร้างประชาธิปไตยอย่างยั่งยืนและส่งเสริมธรรมาภิบาล ตลอดจนการบริหารงานหากมีการมีส่วนร่วมของประชาชนมากขึ้นเพียงใดก็จะให้มีการตรวจสอบการทำงานของผู้บริหารและให้ผู้บริหารที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการป้องกันนักการเมืองจากการกำหนดนโยบายที่ไม่เหมาะสมกับสังคมนั้น ๆ นอกจากนี้การมีส่วนร่วมของประชาชนยังเป็นการสร้างความมั่นใจว่าเสียงของประชาชนจะมีคนรับฟัง อีกทั้งความต้องการหรือความปรารถนาประชาชนก็จะได้รับการตอบสนอง

กล่าวโดยสรุป ระบบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ซึ่งเปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงทัศนะและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ที่จะมีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน นอกจากจะช่วยให้การตัดสินใจของผู้เสนอโครงการหรือรัฐบาลมีความรอบคอบ และสอดรับกับปัญหาและความต้องการของประชาชนมากยิ่งขึ้นแล้ว ยังเป็นการควบคุมการบริหารงานของรัฐบาลให้มีความโปร่งใส (Transparency) ตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของประชาชน (Responsiveness) และมีความรับผิดชอบหรือสามารถตอบคำถามของประชาชนได้ (Accountability) อีกด้วย ซึ่งเท่ากับเป็นการส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้นอีกด้วย
บันทึกการเข้า

samepong(ยุ่งแฮะ)
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,402



« ตอบ #27 เมื่อ: 27-09-2008, 01:40 »

70/30 คือคำที่พุดออกมาลอยไม่ยอมเจรไนจนกระทั่งมาเตะปากตัวเอง ขนาดวันนี้ เค้าบอกแล้วว่าเลือกตั้งครบ100%แต่ขอแบ่งไปให้สาขาอาชีพได้แสดงทรรศนะ ไม่ให้นักเลือกตั้งโชว์พาวบ้าอำนาจ100%

ก้ยังหยิบ70/30มาถามถึง ก็ไม่รู้จะถามถึงทำไม 19 กย. พูดไปเหมือพายเรือในอ่าง ไม่ทำคนก็ตีกันตาย ทำแล้วไม่ดี ทำไปทำไม อีกฝ่ายก็พูดคำเดิน ไม่ทำก้ตีกันตาย วนไปวนมาเป็นแผ่นเสียงตกร่อง

คมช.ไปแล้วไปลับ แล้วก้ถามถึง คมช. ผมเห็น โกวิท ก็ยังเกาะหญิงอ้ออี้ ได้เก้าอี้มา

การเลือกตั้งไม่ใช่คำตอบนะครับ วันนี้ดูช่องสามช่วงเย็นกับปัญหาโลกร้อนและน้ำแข็งละลายแล้ว หากการเมืองใหม่มีขึ้นมาจริงๆๆอยากเห็น ส.ส. สาย กรีน(พวกนิเวศวิทยาการเมือง)ที่มีอย่างบางประเทศจัง เพื่อจะกาให้1เสียงไปดูเเลเรื่อง นิเวศวิทยา
บันทึกการเข้า

เวลาจะพิสูจน์ความเชื่อ สักวัน ไม่ว่าความเชื่อนั้นจะถูกหรือผิด ผมขอรับไว้ด้วยตัวเอง คิเสียว่าทำแล้วเสียใจดีกว่าเสียใจที่ไม่ได้ทำ
เทวา
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 54


« ตอบ #28 เมื่อ: 27-09-2008, 07:03 »

ตามคุณ แคน ว่า

house of commons บางทีก็เรียกว่า house of representatives

มันก็คือ สภานิติบัญญัติ และ วุฒิสภานั่นแหละ
บันทึกการเข้า
Şiłąncē Mőbiuş
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,215



เว็บไซต์
« ตอบ #29 เมื่อ: 27-09-2008, 13:49 »

ข้อมูลเยอะดี ขอบคุณคัรบ 
บันทึกการเข้า



“People should not be afraid of their governments. Governments should be afraid of their people.”

. “ประชาชนไม่ควรกลัวรัฐบาลของตนเอง รัฐบาลต่างหากที่ควรกลัวประชาชน” .

. แวะไปเยี่ยมกันได้ที่ http://silance-mobius.blogspot.com/ นะครับ .
meriwa
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,100



เว็บไซต์
« ตอบ #30 เมื่อ: 27-09-2008, 14:52 »

จะกลุ่มอำมาตย์หรือกลุ่มทหาร หรือจะเป็นประชาชนเอง มันก็เป็นกลุ่มผลประโยชน์ด้วยกันทั้งนั้น

การจะไปตัดคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งออก แล้วบอกว่าเป็นประชาิธิปไตย มันก็คงไม่ใช่

หลักการมันก็บอกอยู่แล้ว ว่าทุกคนมีส่วนร่วม ในระบอบประชาธิปไตย

เพียงแต่เราจะทำอย่างไรจึงจะสามารถจัดสรรผลประโยชน์ได้อย่างลงตัว ไม่มีการเอาเปรียบกัน

ฉะนั้นไม่ว่าคุณจะอยู่กลุ่มผลประโยชน์ใด แต่ถ้าผลประโยชน์นั้นได้มาถูกต้องตามกฏกติกา หลักจริยธรรม

มิใช่ใช้อำนาจเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์เฉพาะตัวเอง  ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
บันทึกการเข้า

ผู้ปกครองระดับธรรมดา   ใช้ความสามารถของตน    อย่างเต็มที่
ผู้ปกครองระดับกลาง       ใช้กำลังของคนอื่น             อย่างเต็มที่
ผู้ปกครองระดับสูง           ใช้ปัญญาของคนอื่น           อย่างเต็มที่

                                                                  ...คำคมขงเบ้ง
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #31 เมื่อ: 27-09-2008, 16:53 »

ตามคุณ แคน ว่า

house of commons บางทีก็เรียกว่า house of representatives

มันก็คือ สภานิติบัญญัติ และ วุฒิสภานั่นแหละ

อังกฤษใช้ "สภาคู่" นั่นแหละครับ

ส่วนวุฒิสภา สมาชิกแบ่งเป็น 4 ส่วน มีสัดส่วนที่มาจากการแต่งตั้งของนายกรัฐมนตรี  ( สมาชิกตลอดชีพ ตายแล้วนายกตั้งเสริมใหม่ มีจำนวนมากที่สุด )

ไทยก็เคยใช้แบบนี้ แต่แต่งตั้งจากนายกทั้งวุฒิสภา ( เพิ่งมาเปลี่ยนเป็น วุฒิสมาชิกเลือกตั้งเมื่อปี 2540 )

ไทยไม่มีสัดส่วนจาก ศาล และ พระราชวงศ์

ส่วน สภาล่าง ก็เหมือนไทย แต่ไทยไปเอาระบบสัดส่วนมาจาก ระบบของเยอรมัน

เอาระบบองค์กรอิสระมาจากอเมริกา ( ผู้ตรวจการระฐสภา / กรรมการสิทธิ์ )

ไทยไปลอกมาแต่โครงร่าง ไม่เอาจิตวิญญาณประชาธิปไตยมาด้วย


ถ้าจะเอาแบบอังกฤษ วุฒิสภาก็ควรแบ่งสัดส่วนตามเค้าดูสิ...ระดับที่มี "ศาล" เข้าไปอยู่ในวุฒิสภา

ย่อมมีมุมมองของนักกฎหมายที่ใช้กฎหมายอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน

ทุกระบบมันก็มีข้อดีข้อเสียทั้งนั้น โดยเฉพาะหากอำนาจนั้นตกอยู่ในมือของคนชั่ว
บันทึกการเข้า

samepong(ยุ่งแฮะ)
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,402



« ตอบ #32 เมื่อ: 27-09-2008, 17:11 »

ขอโทษครับลุงแคน ขอแย้งนิดนึงระบบ ผู้ตรวจการรัฐสภา ไทยเราเอามาจากสวีเดนกัลแถบสแกนดิเนเวียนครับ สวีเดนคือต้นแบบผู้ตรวจการรัฐสภา(เท่าที่อ่านเจอคร้าบ)
บันทึกการเข้า

เวลาจะพิสูจน์ความเชื่อ สักวัน ไม่ว่าความเชื่อนั้นจะถูกหรือผิด ผมขอรับไว้ด้วยตัวเอง คิเสียว่าทำแล้วเสียใจดีกว่าเสียใจที่ไม่ได้ทำ
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #33 เมื่อ: 29-09-2008, 14:33 »

ขอโทษครับลุงแคน ขอแย้งนิดนึงระบบ ผู้ตรวจการรัฐสภา ไทยเราเอามาจากสวีเดนกัลแถบสแกนดิเนเวียนครับ สวีเดนคือต้นแบบผู้ตรวจการรัฐสภา(เท่าที่อ่านเจอคร้าบ)

ประเด็นมันไม่ได้อยู่ที่ว่ามาจากไหน

แต่ประเด็นคือ เอามาแล้ว เคยเห็นผลงานของผู้ตรวจการรัฐสภาหรือไม่

คือถ้าเอาของเค้ามาเพียงเพื่อความโก่เก๋ ไม่เอาจิตวิญญาณมา หรือ ทำงานไม่ได้ ก็ไร้ประโยชน์ เปลืองงบประมาณอีกต่างหาก


รัฐธรรมนูญ 2540 ให้องค์กรอิสระ ประเมินตัวเอง ไม่ทราบว่ามีการประเมินหรือไม่...ตรงนี้คือสิ่งที่ต้องศึกษา

คิดระบบ ลอกระบบดีแค่ไหน แต่ถ้าคนในสังคมไม่รู้สึกรู้สา ไม่นำพา มันก็แค่นั้นแหละครับ

ประมวลจริยธรรมที่ออกมา ก็มีโทษหน่อมแน้ม จนเหมือนให้ศีลของชาวพุทธ ไม่ทำก็แค่บาป แต่มีผลในทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม

00000000000

การอ้างว่า สภาแต่งตั้งไม่เป็นประชาธิปไตย

แต่ไหง สภาสูง สภาขุนนางของอังกฤษ ทำหน้าที่ร่วมกับสภาล่าง สร้างสรรค์ประเทศให้เป็นประชาธิปไตยต้นแบบได้

นี่ก็ต้องนำมาพิจารณาด้วย
บันทึกการเข้า

Kabal
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 27


« ตอบ #34 เมื่อ: 29-09-2008, 15:17 »

สำหรับผม การปฏิวัติ 2475 ก็แค่พวกขุนนางชั้นล่างๆ ไม่กี่คน ไม่พอใจกับการที่ถูกตัดงบ ก็เลยออกมาโวยวาย บอกว่าตัวเองไม่ได้รับความยุติธรรมทั้งๆ ที่ขุนนางผู้ใหญ่อยู่กันสุขสบาย แต่ผมว่าตอนนั้นมันช่วงสงครามโลก ศก. กำลังแย่ แล้วมันจะเอาเงินที่ไหนมาจ่ายละครับ

สรุปแล้ว ก็แค่พวกที่ต้องการความยุติธรรมกับพวกตนแบบไม่ดูตาม้าตาเรือ ไม่ดูปชช ประชาธิปไตย มันก็เลยเอียงกะเท่เล่งี้ไงครับ
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #35 เมื่อ: 30-09-2008, 01:58 »

ตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

การเมืองไทยก็ผ่านการจัดรูปแบบของสภามาแทบจะทุกอย่างแล้วครับ

มันขึ้นอยู่กับว่า ใครมีเสียงดังในสังคมช่วงนั้น ๆ ก็สร้างกติกาให้พวกตัวเองได้เปรียบ พอเกิดความไม่พอใจก็ล้มรัฐธรรมนูญ

แต่ไม่ได้ลงไปทำประชาธิปไตยฐานราก หรือ มีแนวทางพัฒนาประชาธิปไตยที่แท้จริง

สุดท้ายมันก็เป็นเพียงวาทกรรม ที่จะสร้างอำนาจให้กลุ่มตัวเอง พวกตัวเอง

รัฐธรรมนูญ 2540 ก็ใช้มาจนเกือบ ๆ 10 ปี ประชาธิปไตยก็ยังเต่าคลาน จนมีเหตุให้ต้องล้มล้างกันลงไป

รัฐธรรมนูญ 2550 ก็พยายามปิดจุดอ่อนเหล่านั้น เนื้อหาก็เป็นแบบ 2540 เดิม ๆ ไม่ได้เปลี่ยนอะไรมากไปกว่า มีวุฒิสรรหามาครึ่งหนึ่ง

แต่ตัวปัญหาใหญ่ที่ทำให้การเมืองพิกล พิการ น่าจะเป็นการทำงานในระบบเลือกตั้ง

ตั้งแต่ตัวประชาชนเอง นักเลือกตั้ง และ กกต.

นี่คือตัวปัญหาหลัก ที่ทำให้ระบบการคัดคนเข้าสู่อำนาจ ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการเมืองในระบอบประชาธิปไตย

ไม่ว่าจะเปลี่ยนรูปแบบไปถึงไหน หากยังมีการฉ้อฉลกันตั้งแต่เริ่มเข้าสู่อำนาจ โกงเลือกตั้ง ล้อบบี้ในกลุ่มอาชีพ

ถึงที่สุด มันก็หนีไม่พ้นการล้อบบี้ การซื้อเสียงในสภา เพียงเพื่อจัดตั้งรัฐบาล

ถึงวันนี้ ผมก็ยังเชื่อว่าหากจะปฏิรูปการเมือง แบบที่พันธมิตรทำ พยายามตัดพวกนักเลือกตั้ง ให้ออกจากการออกแบบรัฐธรรมนูญใหม่

คงเป็นไปได้ยากยิ่ง....เพราะหากถึงเวลาจวนตัว นักเลือกตั้งก็จะยุบสภา ให้กลับไปสู่วังวนการโกงเลือกตั้งแบบเดิม ๆ

เพราะยังไม่มีกติกาใหม่ เค้าก็อ้างความชอบธรรม ตามกติกา รัฐธรรมนูญ 2550 อยู่เช่นเดิม

กว่าจะกลับมาแก้ไข มาตรา 271 ก็ต้องแลกกับการเสนอเงื่อนไข ต้องทำรัฐธรรมนูญให้มีข้อเสนอของฝ่ายนักเลือกตั้งอยู่ดี

การแย่งอำนาจให้ฝ่ายตนได้เปรียบ มันเป็นธรรมชาติของมนุษย์


ตราบใดที่ไม่สร้างความเข้มแข็งให้เกิดจากฐานราก

ตราบใดไม่สร้างความตื่นตัวทางการเมืองในหมู่ประชาชนตลอดเวลา

ปล่อยให้การเมืองเป็นเรื่องของนักเลือกตั้ง ตราบนั้น ประชาธิปไตยไทยก็จะยังคงพายเรือในอ่างอยู่แบบนี้แหละครับ

มันขึ้นกับผู้คนในสังคม มากกว่าระบบ ระบอบอะไรทั้งนั้น


ถึงที่สุด พันธมิตรต้องตอบคำถามให้ได้ว่า ต้องการล้างผู้คนในระบอบการเมืองเก่า

หรือจะล้างระเบียบด้วยการปฏิรูปการเมืองเพียงแค่สร้างรัฐธรรมนูญใหม่

พันธมิตรตระเตรียมประชาชน ให้มีความพร้อมเพื่อเข้ามามีบทบาททางการเมืองมากน้อยแค่ไหน

ฝ่ายตรงข้ามกับพันธมิตร พร้อมจะก้าวเดินไปด้วยกันหรือไม่


ฟังพลตรีจำลองบอกว่า ฝ่ายอาจารย์มหาวิทยาลัยทำไป พันธมิตรก็ทำไปแบบคู่ขนาน

เลยไม่ทราบว่า มันจะมีจุดบรรจบกัน ณ ที่ใด
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
    กระโดดไป: