ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
19-03-2024, 12:06
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ==ป้ายแท็กซี่อัจฉริยะ +โครงการอัจฉริยะต่างๆ เอกชนออกเงินทั้งหมด แต่ผู้ว่าฯ ถูกโจมตี???== 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: 1 [2]
==ป้ายแท็กซี่อัจฉริยะ +โครงการอัจฉริยะต่างๆ เอกชนออกเงินทั้งหมด แต่ผู้ว่าฯ ถูกโจมตี???==  (อ่าน 9265 ครั้ง)
moon
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 780


« ตอบ #50 เมื่อ: 25-09-2008, 16:48 »

อนุคตส.ปล่อยอภิรักษ์ สมัครไม่รอดรถดับเพลิงฉาว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน  เมื่อวันที่ 17 มิ.ย.

มีการประชุมคณะอนุกรรมการไต่สวนโครงการจัดซื้อรถและเรือดับเพลิงของ กรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่มีนายนาม ยิ้มแย้ม ประธานกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ (คตส.)  เป็นประธาน เพื่อสรุปสำนวนก่อนส่งรายงานต่อที่ประชุมใหญ่ คตส.

มีรายงานข่าวว่า คณะอนุกรรมการไต่สวนได้พิจารณาข้อมูลที่เกี่ยวข้องของบุคคลและบริษัทเอกชนที่ถูกกล่าวหาในชั้นการสอบสวนทั้งหมด

เห็นว่าผู้ถูกตั้งข้อกล่าวหาเกือบทั้งหมดมีความเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดจริง โดยเฉพาะในส่วนของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ในสมัยที่ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พบว่ามีความเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ทุกขั้นตอน แต่ในส่วนของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ประชุมได้พิจารณาแล้วเห็นว่าคำชี้แจงของนายอภิรักษ์ที่อ้างว่าได้พยายามยับยั้งไม่ให้มีการเปิดแอล/ซีแล้ว แต่เหตุผลที่ต้องเปิดแอล/ซีเป็นเพราะถูกกระทรวงมหาดไทยเร่งรัดมานั้น ถือว่าเป็นคำชี้แจงที่พอรับฟังได้  และถือว่านายอภิรักษ์ทำหน้าที่ได้ดีที่สุดแล้ว  จึงเห็นสมควรให้นายอภิรักษ์หลุดข้อกล่าวหาในชั้นการไต่สวน  ส่ง คตส.ชุดใหญ่ชี้ขาด 23 มิ.ย. 

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า นอกจากนายอภิรักษ์แล้ว คณะอนุกรรมการยังพิจารณาว่า

นายสมศักดิ์ คุณเงิน อดีตผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ไม่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าว มีเพียงแค่การทำหน้าที่แจ้งเรื่องให้ กทม.รับทราบเท่านั้น จึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง  แม้คณะอนุกรรมการไต่สวนจะมีมติแล้วว่าบุคคลใดที่จะถูกแจ้งข้อกล่าวหา แต่ก็ยังมีรายละเอียดบางส่วนที่จะต้องพิจารณาเพิ่มเติม จึงนัดประชุมกันอีกครั้งในวันที่ 19 มิ.ย. นี้ หากไม่ติดขัดปัญหาใดๆ ก็จะส่งสำนวนการไต่สวนคดีให้กรรมการ คตส. แต่ละคนนำไปศึกษาก่อนที่จะลงมติ อย่างเป็นทางการอีกครั้งในวันที่ 23 มิ.ย. นี้

ด้าน นายนาม ยิ้มแย้ม ประธาน คตส. และประธานคณะอนุกรรมการไต่สวนโครงการจัดซื้อรถและเรือดับเพลิงของ กทม.  กล่าวว่า
 
ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับคดีนี้ได้ เพราะผู้ที่จะชี้ขาดในคดีได้ต้องเป็น คตส.ชุดใหญ่เท่านั้น คณะอนุกรรมการไต่สวนจะนัดประชุมกันอีกครั้งในวันที่ 19 มิ.ย. ส่วน กรรมการ คตส.หลายคนไม่เห็นด้วย หากคณะอนุกรรมการไต่สวนจะให้นายอภิรักษ์หลุดข้อกล่าวหา นั้น เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล ตนไปตอบแทนอะไรไม่ได้ และจะไม่ขอพูดถึงเรื่องใดเกี่ยวกับรถดับเพลิงในขณะนี้ 

มีลิงค์ให้ด้วยนะจ๊ะ จะได้ยืนยันว่าไอ้กระพ้มไม่ได้แก้ไขมาก่อน http://tnews.teenee.com/politic/24264.html
บันทึกการเข้า
moon
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 780


« ตอบ #51 เมื่อ: 25-09-2008, 16:53 »

ถึงคุณ ประภัส   
ตอนนี้ยังไม่เห็น นโยบายของคุณที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม หรือมีแต่ไม่บอกผ่านป้ายหาเสียงต่างๆ
ต้องคอยตามดูเวลาที่มีโอกาสออกทีวี
การบอกแค่ว่าคุณทำได้ ทำจริง ไม่ได้บอกว่าคุณจะทำอะไรครับ
ด้วยความเป็นห่วง

จากคุณ : คิงคองไทย  - [ 17 ก.ย. 51 12:01:44 A:125.25.139.166 X: ]

http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P7007147/P7007147.html
บันทึกการเข้า
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #52 เมื่อ: 25-09-2008, 17:01 »

อนุคตส.ปล่อยอภิรักษ์ สมัครไม่รอดรถดับเพลิงฉาว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน  เมื่อวันที่ 17 มิ.ย.

มีการประชุมคณะอนุกรรมการไต่สวนโครงการจัดซื้อรถและเรือดับเพลิงของ กรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่มีนายนาม ยิ้มแย้ม ประธานกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ (คตส.)  เป็นประธาน เพื่อสรุปสำนวนก่อนส่งรายงานต่อที่ประชุมใหญ่ คตส.

มีรายงานข่าวว่า คณะอนุกรรมการไต่สวนได้พิจารณาข้อมูลที่เกี่ยวข้องของบุคคลและบริษัทเอกชนที่ถูกกล่าวหาในชั้นการสอบสวนทั้งหมด

เห็นว่าผู้ถูกตั้งข้อกล่าวหาเกือบทั้งหมดมีความเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดจริง โดยเฉพาะในส่วนของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ในสมัยที่ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พบว่ามีความเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ทุกขั้นตอน แต่ในส่วนของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ประชุมได้พิจารณาแล้วเห็นว่าคำชี้แจงของนายอภิรักษ์ที่อ้างว่าได้พยายามยับยั้งไม่ให้มีการเปิดแอล/ซีแล้ว แต่เหตุผลที่ต้องเปิดแอล/ซีเป็นเพราะถูกกระทรวงมหาดไทยเร่งรัดมานั้น ถือว่าเป็นคำชี้แจงที่พอรับฟังได้  และถือว่านายอภิรักษ์ทำหน้าที่ได้ดีที่สุดแล้ว  จึงเห็นสมควรให้นายอภิรักษ์หลุดข้อกล่าวหาในชั้นการไต่สวน  ส่ง คตส.ชุดใหญ่ชี้ขาด 23 มิ.ย. 

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า นอกจากนายอภิรักษ์แล้ว คณะอนุกรรมการยังพิจารณาว่า

นายสมศักดิ์ คุณเงิน อดีตผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ไม่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าว มีเพียงแค่การทำหน้าที่แจ้งเรื่องให้ กทม.รับทราบเท่านั้น จึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง  แม้คณะอนุกรรมการไต่สวนจะมีมติแล้วว่าบุคคลใดที่จะถูกแจ้งข้อกล่าวหา แต่ก็ยังมีรายละเอียดบางส่วนที่จะต้องพิจารณาเพิ่มเติม จึงนัดประชุมกันอีกครั้งในวันที่ 19 มิ.ย. นี้ หากไม่ติดขัดปัญหาใดๆ ก็จะส่งสำนวนการไต่สวนคดีให้กรรมการ คตส. แต่ละคนนำไปศึกษาก่อนที่จะลงมติ อย่างเป็นทางการอีกครั้งในวันที่ 23 มิ.ย. นี้

ด้าน นายนาม ยิ้มแย้ม ประธาน คตส. และประธานคณะอนุกรรมการไต่สวนโครงการจัดซื้อรถและเรือดับเพลิงของ กทม.  กล่าวว่า
 
ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับคดีนี้ได้ เพราะผู้ที่จะชี้ขาดในคดีได้ต้องเป็น คตส.ชุดใหญ่เท่านั้น คณะอนุกรรมการไต่สวนจะนัดประชุมกันอีกครั้งในวันที่ 19 มิ.ย. ส่วน กรรมการ คตส.หลายคนไม่เห็นด้วย หากคณะอนุกรรมการไต่สวนจะให้นายอภิรักษ์หลุดข้อกล่าวหา นั้น เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล ตนไปตอบแทนอะไรไม่ได้ และจะไม่ขอพูดถึงเรื่องใดเกี่ยวกับรถดับเพลิงในขณะนี้ 

มีลิงค์ให้ด้วยนะจ๊ะ จะได้ยืนยันว่าไอ้กระพ้มไม่ได้แก้ไขมาก่อน http://tnews.teenee.com/politic/24264.html



จ๊ากกกกกกกกกกกกก....เค้ากลัวน๊า ไปขุดผีลืมหลุมคตส.มาทำด๊วยอาราย ใครๆก็รู้ดีว่า คตส. มันเป็นคณะที่แต่งตั้งโดยโจร นิสัยมันก็เลยไม่ต่างไปจากโจรแน่นอนจ๊ะ
บันทึกการเข้า
อยู่บำรุ๊ง .. บำรุง
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 210


ทีวีเพื่อพวกตน !


« ตอบ #53 เมื่อ: 25-09-2008, 17:10 »

หลักฐานมันมีมูลไม่ว่าจะใครตรวจสอบมันก็เหมือนกัน

ถ้าผิดและมีหลักฐานไม่ใช่ว่านำขอมูลเอกสารเท็จไปให้ศาลแล้วจะรอด

เพราะฉะนั้นจะหน่วยงานไหนตรวจสอบก็ไม่ต่างไม่ใช่เหรอ

ถ้าเกิด คตส. นำข้อมูลเท็จมาอ้างคุณก็มีสิทธฟ้องกลับได้ไม่ใช่เหรอ

รอดูดีกว่าจะมานั้งด่าคนที่ทำงาน ไม่ใช่นั้งหาเรื่องคนอื่นไปทั่วแต่ทำตัวไม่เป็นประโยชน์
บันทึกการเข้า

moon
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 780


« ตอบ #54 เมื่อ: 25-09-2008, 17:16 »


จ๊ากกกกกกกกกกกกก....เค้ากลัวน๊า ไปขุดผีลืมหลุมคตส.มาทำด๊วยอาราย ใครๆก็รู้ดีว่า คตส. มันเป็นคณะที่แต่งตั้งโดยโจร นิสัยมันก็เลยไม่ต่างไปจากโจรแน่นอนจ๊ะ

555 แล้วมันก็อ้างว่า คตส. ถูกแต่งตั้งมาด้วยโจร เหมือนเดิมเลย 555
บันทึกการเข้า
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #55 เมื่อ: 25-09-2008, 17:18 »

หลักฐานมันมีมูลไม่ว่าจะใครตรวจสอบมันก็เหมือนกัน

ถ้าผิดและมีหลักฐานไม่ใช่ว่านำขอมูลเอกสารเท็จไปให้ศาลแล้วจะรอด

เพราะฉะนั้นจะหน่วยงานไหนตรวจสอบก็ไม่ต่างไม่ใช่เหรอ

ถ้าเกิด คตส. นำข้อมูลเท็จมาอ้างคุณก็มีสิทธฟ้องกลับได้ไม่ใช่เหรอ

รอดูดีกว่าจะมานั้งด่าคนที่ทำงาน ไม่ใช่นั้งหาเรื่องคนอื่นไปทั่วแต่ทำตัวไม่เป็นประโยชน์


จะเอาหลักฐานไหมว่า ม. 309 คุ้มครอง คตส. ห้ามคนอื่นฟ้องร้องในเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินงานทั้งหมดทั้งปวง...จะเอาไหมหล่ะ!!!
บันทึกการเข้า
moon
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 780


« ตอบ #56 เมื่อ: 25-09-2008, 17:27 »

คุณเอกดีจังที่ไม่ยอมรับ คตส. เพราะถ้า คตส.บอกว่า ไอ้หมักไม่ผิดเนี่ย คุณเอกต้องประท้วงแน่นอนเลย
บันทึกการเข้า
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #57 เมื่อ: 25-09-2008, 17:30 »

"วิพากษ์มาตรา 309 กฎหมายนิรโทษกรรม



โดย: ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


 

ในบรรดา 309 มาตราของร่างรัฐธรรมนูญ 2550 เรื่องหนึ่งที่เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์มากที่สุดคือ “มาตรา 309” ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับ “การนิรโทษกรรม”

 

ประเด็นก็คือ มีความจำเป็นเเละเหมาะสมเพียงไร ที่รัฐธรรมนูญฉบับถาวรจะรับรองเรื่องนิรโทษกรรมไว้ เเละมาตรา 309 นั้นมีไว้เพื่อใคร เเละควรหรือไม่ที่จะนิรโทษกรรมต่อไปอีกหลังจากที่รัฐธรรมนูญ 2550 มีผลใช้บังคับหากร่าง 2550 ผ่านประชามติ

 

วัตถุประสงค์ของข้อเขียนนี้พยายามทำความกระจ่างกับคำถามข้างต้น

 

 

1. นิรโทษกรรมคืออะไร

นิรโทษกรรมหมายถึง การตรากฎหมายย้อนหลังเป็นคุณเเก่ผู้กระทำความผิดทางการเมืองหรือความผิดอาญาก็ได้ เเก่บุคคล หรือ กลุ่มบุคคล โดยบุคคลดังกล่าวจะไม่ตกอยู่ภายใต้การดำเนินคดีตามกฎหมาย โดยมีความมุ่งหมายเพื่อให้ลืมความบาดหมางกับเหตุการณ์ในอดีตที่เกิดขึ้นเเล้ว

 

 

2. เงื่อนไขด้าน “องค์กร” ผู้มีอำนาจตรากฎหมายนิรโทษกรรม

จากการศึกษากฎหมายนิรโทษกรรมของไทยที่ผ่านมาในอดีต ซึ่งปรากฎอยู่หลายฉบับ พบว่า หากไม่นับพระราชกำหนดนิรโทษกรรมในคราวเปลี่ยนเเปลงการปกครองเเผ่นดิน พุทธศักราช 2475 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานนั้น โดยปกติ กฎหมายนิรโทษกรรมจะตราอยู่ในรูปของ “พระราชบัญญัติ” หรือ “พระราชกำหนด” เท่านั้น ซึ่งหมายความว่า ฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายบริหารเท่านั้นที่มีอำนาจตรากฎหมายนิรโทษกรรม

 

เเต่ร่างรัฐธรรมนูญ 2550 (ซึ่งผู้ร่าง ประสงค์จะให้เป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับถาวร เเละเป็นผลผลิตของส.ส.ร. ที่มาจากคมช.) เดินตามมาตรา 222 ของรัฐธรรมนูญปี 2534 ซึ่งออกในสมัยรสช. โดยมาตรา 309 กลับรับรองเรื่องนิรโทษกรรมไว้ ขณะที่หากเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2517 ที่ร่างในบรรยากาศประชาธิปไตยมากกว่านี้ มาตรา 4[1] กลับห้ามมิให้มีการนิรโทษกรรมไว้อย่างชัดเจน

 

เนื่องจากมีหลักกฎหมายทั่วไปว่า “บุคคลไม่สามารถอ้างประโยชน์จากการกระทำความผิดของตนได้” หรือหลัก “ไม่มีใครเป็นผู้พิพากษาในเรื่องที่ตนเองมีส่วนได้เสีย” [2] การออกกฎหมายนิรโทษกรรม ควรให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้พิจารณาในเรื่องนี้จะสมควรกว่า

 

อีกทั้งมีเรื่องการลงประชามติของรัฐธรรมนูญด้วย ซึ่งไม่ควร “ยืมมือประชาชน” มาฟอกตัวให้กับผู้กระทำความผิดฐานล้มล้างรัฐธรรมนูญเเละองค์กรเฉพาะกิจอย่างคตส.ด้วย

 

 

3. เงื่อนไขด้าน “เวลา”

รากศัพท์ของคำว่า “amnesty” มาจากภาษากรีก คือ “amnestia” เเปลว่า “ทำให้ลืม” คือลืมจากเหตุการณ์หรือความผิดในอดีต (past offense)

 

วัตถุประสงค์ของกฎหมายนิรโทษกรรมคือ ทำให้สังคมลืมเหตุการณ์ในอดีตที่เกิดขึ้นเเละสิ้นสุดลงเเล้ว ดังนั้น ในกฎหมายนิรโทษกรรมของไทยนั้น ในอดีตจะเขียนไว้ในสองลักษณะ

 

ลักษณะเเรก จะกำหนดวันที่จะได้รับนิรโทษกรรมไว้อย่างชัดเจน เช่น พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมเเก่นักเรียน นิสิต นักศึกษาเเละประชาชน ซึ่งกระทำความผิดเกี่ยวเนื่องกับการเดินขบวนเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2516

 

ลักษณะที่สอง ซึ่งมักจะใช้กับการนิรโทษกรรมเเก่ผู้กระทำรัฐประหารนั้น กฎหมายมักจะเขียนนิรโทษกรรมกับบรรดาการกระทำที่เกิดขึ้นก่อนที่กฎหมายนิรโทษกรรมจะประกาศใช้ ดังปรากฎให้เห็นจาก พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมเเก่ผู้ทำรัฐประหาร พ.ศ. 2490 มาตรา 3 ซึ่งบัญญัติว่า

 

“บรรดาการกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของบุคคลใดๆ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เนื่องในการกระทำรัฐประหารเพื่อเลิกใช้รัฐธรรมนูญเเห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 เเละประกาศใช้รัฐธรรมนูญเเห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 หากเป็นการผิดกฎหมายใดๆ ก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดเเละความรับผิดโดยสิ้นเชิง เเละการใดๆ ที่ได้กระทำ ตลอดจนบรรดาประกาศเเละคำสั่งใดๆ ที่ได้ออกสืบเนื่องในการกระทำรัฐประหารที่กล่าวเเล้ว ให้ถือว่าเป็นอันชอบด้วยกฎหมายทุกประการ”

 

ความทำนองเดียวกันก็ปรากฎในพระราชนิรโทษกรรมเเก่ผู้กระทำการยึดอำนาจการบริหารราชการเเผ่นดินเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 (มาตรา 3) เเละ พระราชนิรโทษกรรมเเก่ผู้กระทำการปฎิวัติเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 (มาตรา 3) เเละ พระราชนิรโทษกรรมเเก่ผู้กระทำการปฎิวัติเมื่อวันที่ 17 พฤศจิการยน พ.ศ. 2514 (มาตรา 3)

 

กล่าวให้ง่ายเข้า กฎหมายจะนิรโทษกรรมได้ 3 ช่วงเวลาเท่านั้นคือ

1. ก่อนวันทำรัฐประหาร (เช่นการตระเตรียมการทั้งหลาย)

2. วันทำรัฐประหาร เเละ

3. หลังวันทำรัฐประหาร

 

เเต่ทั้งนี้ ต้องก่อนวันที่พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมมีผลใช้บังคับเท่านั้น ซึ่งก็ต้องไปดูว่า กฎหมายนิรโทษกรรมฉบับนั้นๆ มีผลใช้บังคับเมื่อใด โดยปกติเเล้วจะเขียนไว้สองเเบบคือ มีผลให้ใช้บังคับตั้งเเต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

 

ซึ่งหมายความว่า การกระทำหลังจากกฎหมายนิรโทษกรรม เเม้จะเกิดขึ้นเป็นผลเกี่ยวเนื่องหลังจากวันทำรัฐประหารก็ตาม เเต่หากการกระทำนั้นมีผลต่อเนื่องมายังวันที่กฎหมายนิรโทษกรรมมีผลใช้บังคับเเล้ว ความผิดต่อเนื่องที่เกิดขึ้นภายหลังจากวันที่กฎหมายนิรโทษกรรมมีผลใช้บังคับ ก็ไม่ได้รับการยกเว้นความผิดอีกต่อไป

 

ยกตัวอย่างเช่น พ.ร.บ. นิรโทษกรรมเเก่ผู้กระทำการปฎิวัติเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 มาตรา 3 บัญญัติว่า “บรรดาการกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของบุคคลใดๆ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ซึ่งได้กระทำเนื่องในการปฎิวัติเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 ก็ดี ….เเละไม่ว่ากระทำในวันที่กล่าวนั้น หรือก่อนหรือหลังวันที่กล่าวนั้น หากการกระทำนั้นผิดกฎหมาย ก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิด….”

 

ผลในทางกฎหมายก็คือ “การกระทำในวันที่กล่าวนั้น” ซึ่งหมายถึงวันทำรัฐประหารในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 เเละ “ก่อนวันที่กล่าวนั้น” ซึ่งหมายถึงวันก่อนวันทำรัฐประหาร หรือก่อนวันที่ 20 ตุลาคม เเละ “หลังวันที่กล่าวนั้น” คือหลังวันทำรัฐประหารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 ย่อมได้รับการนิรโทษกรรม

 

เเต่เมื่อมาตรา 3 บัญญัติว่า “ให้ใช้กับบรรดาการกระทำก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ” ก็ต้องไปดูว่า กฎหมายนี้ใช้บังคับเมื่อใด

 

มาตรา 2 ของพ.ร.บ.นี้ระบุว่า “พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งเเต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป” พ.ร.บ. นิรโทษกรรมเเก่ผู้กระทำการปฎิวัติเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2502 ดังนั้น บรรดาการกระทำที่กระทำขึ้นก่อนวันทำรัฐประหารในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 ก็ดี วันทำรัฐประหารในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 ก็ดี เเละรวมถึงวันหลังวันทำรัฐประหารก็ดี เรื่อยมาจนถึงวันที่ 2 เมษายน 2502 ก็ดี ล้วนได้รับการนิรโทษกรรมทั้งสิ้น

 

เเต่บรรดาการกระทำนับตั้งเเต่วันที่ 3 เมษายน 2502 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นวันที่กฎหมายนิรโทษกรรมเริ่มประกาศใช้ เเม้จะเป็นผลมาจากการปฎิบัติตาม “คำสั่ง” หรือ “ประกาศ” ของคณะรัฐประหารก็ตาม ย่อมไม่ได้รับอานิสงค์ของกฎหมายนิรโทษกรรมด้วย ซึ่งย่อมหมายความว่า การกระทำนั้น ๆ เป็นความผิดเเละต้องได้รับโทษ

 

มีข้อสังเกตว่า รัฐธรรมนูญฉบับถาวรที่ตราขึ้นหลังจากที่มีการทำรัฐประหาร ในบทเฉพาะกาลมักจะบัญญัติรับรองให้บรรดาคำสั่งหรือประกาศของคณะรัฐประหารยังคงมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป [3] เเต่มิได้ไปไกลถึงขนาดนิรโทษกรรมหรือห้ามมิให้ฟ้องร้องกับผู้ปฎิบัติตามคำสั่งหรือประกาศของคณะรัฐประหาร เเม้ว่าการกระทำนั้นจะเกิดขึ้นหลังจากที่กฎหมายมีผลใช้บังคับเเล้วก็ตาม เเต่คราวนี้ เนื้อความของมาตรา 309 คล้ายคลึงกับมาตรา 222 ของรัฐธรรมนูญปี 2534 ซึ่งออกในสมัยรสช.มาก เเม้ว่าถ้อยคำจะเเตกต่างกัน

 

กล่าวคือ มาตรา 222 ได้รับรองให้บรรดา “คำสั่ง” เเละ “ประกาศ” ของรสช. ซึ่งออกใช้บังคับก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ยังมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้ต่อไป เเละการยกเลิกหรือเปลี่ยนเเปลงประกาศหรือคำสั่งของรสช. ดังกล่าว ไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อการปฎิบัติหน้าที่ของบุคคลซึ่งได้กระทำไปตามคำสั่งหรือประกาศดังกล่าว เเละให้บุคคลนั้นได้รับความคุ้มครอง ผู้ใดจะนำไปฟ้องร้องในทางใดมิได้

 

ในขณะที่มาตรา 309 [4] (ซึ่งโยงกับมาตรา 36 และ 37) รับรองว่า ประกาศ คำสั่ง รวมถึงการกระทำที่ปฎิบัติตามคำสั่งและประกาศ ย่อมชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะกระทำ “ก่อน” หรือ “หลัง” ใช้รัฐธรรมนูญปี 2549 และ 2550 (ถ้าประชามติผ่าน) ซึ่งย่อมส่งผลให้องค์กรเฉพาะกิจอย่าง คตส. หรือ คมช. ที่ได้กระทำการใดๆ โดยอาศัยประกาศหรือคำสั่งของคณะรัฐประหารนั้นเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายเเละรัฐธรรมนูญต่อไป เเม้ว่าการกระทำนั้นจะกระทำขึ้นหลังจากที่รัฐธรรมนูญ 2550 มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญเเล้วก็ตาม

 

ซึ่งการยอมรับให้มีการตรากฎหมายลักษณะเช่นนี้ดำรงอยู่ต่อไป จะมีผลเป็นการบั่นทอนหลักนิติรัฐ ทำให้คตส. เเละคมช. อาจปฎิบัติหน้าที่โดยละเลยต่อกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่นๆ ก็ได้ เพียงอ้างว่าตนได้ปฎิบัติตามประกาศหรือคำสั่งของคณะรัฐประหาร เเละได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 309 เเล้ว อันเป็นการจำกัดสิทธิในกระบวนยุติธรรมของผู้ถูกกล่าวหา

 

อีกทั้งยังเกิดปัญหาตามมาว่า หากร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ผ่านประชามติ ประกาศใช้เป็นกฎหมายเเล้ว ก็ไม่มีการควบคุมตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของบรรดาคำสั่ง ประกาศ เเละการกระทำที่ปฎิบัติตามคำสั่งหรือประกาศนั้นไม่ได้ด้วย เนื่องจากมาตรา 309 ได้รับรองเรียบร้อยเเล้วว่า “การนั้น” เเละ “การกระทำ” นั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้

 

การเขียนเช่นนี้เท่ากับหนีการตรวจสอบจากศาลรัฐธรรมนูญ เป็นการละเมิดหลักนิติรัฐที่ยอมรับให้มีกลไกการทบทวนตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ เเละมีผลทำให้หลัก “ความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ” เป็นหมันไป

 

 

 

4. พ.ร.บ. ให้ความคุ้มครองเเละห้ามฟ้องร้องบุคคลผู้ปฎิบัติการเกี่ยวเเก่มาตรา 17 เเห่งรัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2508 [5]

 

หากมองย้อนกลับไปในทางประวัติศาสตร์จะพบว่า มาตรา 222 (สมัยรสช) เเละร่างมาตรา 309 (สมัยคมช.) มิใช่ของใหม่ เเต่เป็นมรดกทอดมาตั้งเเต่ปีพ.ศ. 2508 เเล้ว

 

โดยพ.ร.บ.ให้ความคุ้มครองฯ นี้ ออกมาหลังจากการทำรัฐประหารโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะรัฐประหาร เเต่พ.ร.บ.ดังกล่าวออกโดยจอมพลถนอม กิตติขจร ในฐานะนายกรัฐมนตรี

 

เนื้อหาสาระสำคัญของพ.ร.บ.นี้ ให้ความคุ้มครองมิให้ฟ้องร้องนายกรัฐมนตรี รวมทั้งผู้ได้รับมอบอำนาจจากนายกรัฐมนตรี อันเป็นผลมาจากการที่นายกรัฐมนตรีใช้อำนาจตามมาตรา 17 ไม่ว่าจะได้มีคำสั่งหรือการกระทำก่อนหรือหลังวันที่พ.ร.บ.นี้มีผลใช้บังคับ เเละถ้ามีการฟ้องร้องอยู่ในระหว่างที่พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับอยู่ ให้ศาลจำหน่ายคดีเสีย

 

กล่าวง่ายๆ ก็คือ กฎหมายนี้ให้ความคุ้มกันเเก่นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีรวมทั้งผู้ได้รับมอบอำนาจหรือปฎิบัติตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีใช้อำนาจตามมาตรา 17 ซึ่งคนไทยรับรู้มาโดยตลอดว่ามาตรา 17 เป็นมาตรา 17 ที่ให้อำนาจเเก่นายกรัฐมนตรีจะกระทำอะไรก็ได้ หากการกระทำนั้นกระทำในนามของ “ความมั่นคงของรัฐ” หรือในนามของ “รักษาราชบัลลังก์” มาตรา 17 จึงเปรียบเสมือน “เช็คเปล่า” ที่นายกรัฐมนตรีกรอกตัวเลขตามใจชอบ

 

ประเด็นสำคัญอยู่ที่พ.ร.บ.ให้ความคุ้มครองฯ นี้ ใช้คำว่า “ไม่ว่าจะได้มีคำสั่งหรือกระทำก่อนหรือหลังวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ” ซึ่งละม้ายคล้ายคลึงกับมาตรา 222 เเละร่างมาตรา 309 เเม้มาตรา 309 ของร่างรัฐธรรมนูญ 2550 (ซึ่งโยงกับมาตรา 36 เเละ 37 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี พ.ศ. 2549) จะมิได้มีความรุนเเรงเท่ากับมาตรา 17 ก็ตาม เเต่ผลในทางกฎหมายคล้ายกันคือ เป็นการให้ความคุ้มกัน (Immunity) เเก่ผู้ปฎิบัติตามคำสั่งก็ดี ประกาศก็ดีของคณะรัฐประหารว่า ชอบด้วยกฎหมาย เเละชอบด้วยรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550

 

ซึ่งเท่ากับตัดช่องทางมิให้ตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของบรรดาประกาศเเละคำสั่ง รวมทั้งการกระทำคตส. หรือคมช. เเม้ว่ารัฐธรรมนูญปี 2550 จะมีผลใช้บังคับเเล้วก็ตาม

 

สรุปก็คือ กฎหมายนิรโทษกรรมจะมีผลใช้บังคับกับเหตุการณ์ในอดีตที่เกิดขึ้นก่อนวันที่กฎหมายประกาศใช้ เเต่มาตรา 309 บัญญัติว่า “บรรดาการใดๆ ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญเเห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายเเละรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าว ไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือว่าการนั้นเเละการกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้”

 

หมายความว่า หากร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ผ่านประชามติ ก็มีผลทำให้บรรดาการทำใดๆ เช่น การปฎิบัติหน้าที่ของคตส. (อาจรวมถึงคมช.ด้วย) ไม่อาจถูกตรวจสอบได้ เเม้ว่าการกระทำนั้นจะเกิดขึ้นหลังจากที่รัฐธรรมนูญ 2550 นี้มีผลใช้บังคับเเล้วก็ตาม

 

และดังที่ได้กล่าวมาเเล้วว่า เจตนารมย์ของนิรโทษกรรมคือ การลืมเหตุการณ์ในอดีต ไม่ใช่ลืมเหตุการณ์ในอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้น

 

 

บทส่งท้าย

 

หากยอมรับการตรารัฐธรรมนูญชนิดบิดเบือนหลักกฎหมายนิรโทษอย่างมาตรา 309 เเล้ว ก็เท่ากับยอมให้บั่นทอนหลักนิติรัฐอีกครั้ง เเละเเทนที่จะสร้างความสมานฉันท์เเก่คนในชาติอันเป็นวัตถุประสงค์ของกฎหมายนิรโทษกรรม เเต่กลับถูกดัดเเปลงบิดเบือนเป็นวิธีการป้องกันตนเองให้รอดพ้นจากการดำเนินคดีเเละควบคุมตรวจสอบตามกฎหมาย ซึ่งก็เท่ากับยอมรับโดยปริยายว่า สิ่งที่คณะรัฐประหารเเละบรรดาองค์กรที่เป็นผลผลิตของรัฐประหารได้กระทำหลังจาก 19 กันยายนนั้น ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เเละไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ หลังจากการทำรัฐประหารในวันที่ 19 กันยายนที่ผ่านมาก็มีการบั่นทอนหลักนิติรัฐครั้งเเล้วครั้งเล่า ในคดียุบพรรคมีการยอมรับว่า การตรากฎหมายย้อนหลังลิดรอนสิทธิของพลเมืองได้ ตราบเท่าที่ไม่เข้าข่ายโทษอาญา 5 สถานเป็นอันใช้ได้ เเต่คราวนี้ เปิดช่องให้มีการนิรโทษกรรมล่วงหน้าได้

 

“กฎหมายนิรโทษ” จึงมิได้เป็นอะไรมากไปกว่า “เครื่องมือ” รับใช้ของเผด็จการที่หาทางหนีที่ไล่มิให้ใครมาเอาผิดตามกฎหมายได้

 

หลักนิติรัฐจะกลับมาดำรงอยู่อีกครั้งในสังคมไทยหรือไม่ ประชาชนจะเป็นผู้ให้คำตอบในวันที่ 19 สิงหาคมนี้"
บันทึกการเข้า
moon
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 780


« ตอบ #58 เมื่อ: 25-09-2008, 17:35 »

หลักนิติรัฐจะกลับมาดำรงอยู่อีกครั้งในสังคมไทยหรือไม่ ประชาชนจะเป็นผู้ให้คำตอบในวันที่ 19 สิงหาคมนี้

มันเลยวันมาแล้วนี่ ก็ไม่เห็นจะมีอะไรเลย และนั่นก็คือความเห็นของคนคนนึงเท่านั้น
บันทึกการเข้า
Matahari
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 228



« ตอบ #59 เมื่อ: 25-09-2008, 17:43 »

อ้างถึง
ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช

   มารนปกตัวสุดท้ายตัวนี้มันเอาหมาไหนมาอ้าง ก็ไอ้พวกนักกมที่กินขี้เหลียม มันไม่แปลกวะทีมันจะวิจารณ์วะ ล
   เหมือนวรเจตน์ทำเป็นเก่งออกมาหอนเรื่อง ศาลปกครองตัดสินเรื่องเขาพระวิหาร โดนดร.สมปอง สุจริตกุล ที่จบกมหมาชนและทำงานต่างประเทศออกมาด่า และโดนดร.อมร รักษาสัตย์ ตอกหน้าหงายเรื่องกม มหาชน
   พวกนักกม กินขี้เหลี่ยมหอนเก่งอย่างเดียวประชาธิปไตย ไปตามหลักการ  ปล่อยไป แต่ไหงพวกเลี้ยก้นทักษิณก็ได้ดิบดี ขนาดกล้าไปร่วมงานเหลียมที่กินโกงได้อย่างไรอย่างอาย เช่น นายพิชิต อ.ธรรมศาสตร์ เลียก้นเหลียมจนได้ดีเป็นบอร์ดการบินไทย
  ก่อนหอนนะหานักวิชาการทีเป็นกลางนะ อย่าเอานักวิชาการสีเทามาอ้างเนอะมันไม่ขลังวะ 
 
บันทึกการเข้า
1ktip
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,457



« ตอบ #60 เมื่อ: 25-09-2008, 21:23 »

ตอนนี้เล่นมุกใต้ดิน ให้พวกเสื้อแดง ดูจากข้อความบนเสื้อ น่าจะเป็นพวก nocoup หรือแนวร่วม ไปไล่ติดสติ๊กเกอร์รูปสนธิกับอภิสิทธิ์

พร้อมเนื้อความประมาณว่า อยากได้ม็อบให้เลือกอภิรักษ์ แปะเลอะเทอะตามป้ายรถเมล์อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #61 เมื่อ: 25-09-2008, 21:27 »

*หมายเหตุจากเจ้าของกระทู้ครับ*

ออกไปข้างนอกเพิ่งได้กลับมาดูกระทู้ พบว่าประเด็นไหลไปที่ไหนแล้วก็ไม่รู้ 

หัวข้อกระทู้ที่ผมตั้งคือ โครงการอัจฉริยะต่างๆ เช่น ป้ายแท็กซี่อัจฉริยะ เป็นโครงการลงทุนของเอกชน
โดยที่ กทม. ไม่ได้ใช้งบประมาณดำเนินการอย่างที่คนส่วนใหญ่อาจเข้าใจผิด และที่ผ่านมาก็ถูกโจมตี
จากฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองมาโดยตลอด ล่าสุดคือคุณชูวิทย์ ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.

ผมคิดว่า้ข้อเท็จจริงเรื่องนี้สมควรที่สาธารณชนจะไ้ด้รับรู้ จึงตัดสินใจเอามาตั้งเป็นกระทู้นี้

...

ส่วนประเด็นนอกเรื่องที่มีคนพยายามเอามาโพสต์ในกระทู้ ขอแนะนำว่าอย่าไปสนใจครับ
และเรื่องที่เอามาโพสต์นอกประเด็นผมถือเป็นความไม่มีมารยาทของผู้โพสต์เอง

อย่างไรก็ตาม... หากมีเรื่องนอกประเด็นที่ผมเห็นว่ามีเนื้อหาที่ควรจะนำมาพูดคุยกัน
ผมคงจะรวบรวมตั้งเป็นกระทู้ใหม่แยกต่างหากต่อไป

สำหรับ login TLE ผมประกาศเลิกเสวนาไปแล้ว เนื่องจากแสดงทัศนคติที่ผมรับไม่ได้หลายเรื่อง
ทั้งกรณีหมิ่นสถาบัน และอื่นๆ เช่น ชื่นชมยินดีกับพฤติกรรมพยายามฆ่าพันธมิตรของกลุ่มคนรักอุดร
ส่วนสมาชิกท่านใดยังต้องการเสวนากับ login TLE ก็เชิญได้ตามอัธยาศัยนะครับ  
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #62 เมื่อ: 25-09-2008, 21:35 »

หลักนิติรัฐจะกลับมาดำรงอยู่อีกครั้งในสังคมไทยหรือไม่ ประชาชนจะเป็นผู้ให้คำตอบในวันที่ 19 สิงหาคมนี้

มันเลยวันมาแล้วนี่ ก็ไม่เห็นจะมีอะไรเลย และนั่นก็คือความเห็นของคนคนนึงเท่านั้น

วันที่ 19 สิงหาคม ตามบทความ น่าจะหมายถึง 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ที่เป็นวันลงประชามติ
ผมเคยทำบทวิเคราะห์เอาไว้เกี่ยวกับการลงประชามติวันนั้นอยู่ที่กระทู้นี้ครับ 

==ควันหลง..วิเคราะห์ผลการลงประชามติ ร่างฯ รธน50 บนแผนที่ประเทศไทย=
http://forum.serithai.net/index.php?topic=16979.0
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
อยู่บำรุ๊ง .. บำรุง
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 210


ทีวีเพื่อพวกตน !


« ตอบ #63 เมื่อ: 25-09-2008, 21:51 »

เห็นเป็นประจำว่าชอบดึงไปนอก Topic ถ้าต้องการพูดคุยเรื่องไหน

ก็ไปเอาข้อมูลเรื่องนั้นมาคุยกันหรือไม่ก็ ..

ไปตั้ง Topic เองเถอะครับแต่เดี๊ยวผมว่าพอแถไม่ออกก็เปลี่ยนเรื่องทุกที

 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25-09-2008, 22:58 โดย อยู่บำรุ๊ง .. บำรุง » บันทึกการเข้า

chaturant
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 499



« ตอบ #64 เมื่อ: 25-09-2008, 21:58 »

่ส่วนตัวผม ชอบ เรื่อง BRT ครับ อยากให้ทำหลายๆ ถนนเลยด้วย เพราะมันสะดวกมาก อยากให้ รถเมย์ใน กทม. มาเข้าระบบ BRT เลย ด้วยซ้ำ  เพราะตอนนี้ วิ่งทับเส้่นมั่วไปหมด ถนนละ สายไปเลย  อีกเรื่องก็คือ สวนสาธารณะ ต่างๆ สวยมากและเพิ่มขึ้นหลายที่  และ ถนน ก็มีการปรับปรุงหลายเส้นทาง ชอบ ป้ายจราจรอัจฉริยะ ชอบเรื่องรถไฟฟ้า ส่วนต่อขยาย ที่ไม่รอ รัฐบาล ถ้า รอ รัฐบาลก็อีกชาตินึง กทม. ออก เองหมด  แล้วอีกอย่าง อนาคตผมว่า ปชป. อาจจะได้เป็น รัฐบาล ได้มาประสานต่อเลย ดังเช่น โอน ขสมก. ให้ กทม ดูแลเพื่อ จำทำเป็น ระบบ BRT  และ ให้ กทม. ซื้อ รถไฟฟ้ามาดูแลเอง  และอีกอย่างที่สำคัญที่สุด    เกลียด พปช.  พรรค  เห้  เข้าใส้ครับ เลยต้องเลือกตรงข้าม ให้ พรรค นี้มันได้รู้ว่า คน กทม. เกลียด พรรค นี้ขนาดไหน
บันทึกการเข้า
มารุจัง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,761


@^____^@


« ตอบ #65 เมื่อ: 25-09-2008, 22:04 »

่ส่วนตัวผม ชอบ เรื่อง BRT ครับ อยากให้ทำหลายๆ ถนนเลยด้วย เพราะมันสะดวกมาก อยากให้ รถเมย์ใน กทม. มาเข้าระบบ BRT เลย ด้วยซ้ำ  เพราะตอนนี้ วิ่งทับเส้่นมั่วไปหมด ถนนละ สายไปเลย ............

เห็นด้วยค่ะ ว่าน่าจะให้รถเมล์วิ่งเหมือนกับ BRT เำพราะสายรถเมล์มันซ้ำซ้อนไปหมด และเลนส์รถเมล์ ก็มักจะมีรถส่วนตัววิ่งกับฉิว ๆ
โดยที่ตำรวจไม่จับ จนสุดท้ายก็ต้องยกเลิก บัสเลนส์ไป
แล้วรถเมล์เองก็ชอบขับออกมาเลนส์อื่น แล้วมันก็กลับไปเละเหมือนเดิม

คิด ๆ ดูแล้วเราต้องกลับไปแก้ที่วินัยของคนก่อน น่าจะดีกว่า...
^^'
บันทึกการเข้า


ประชาธิปไตย มิได้จบอยู่แค่การเลือกตั้ง
ปล.รูปจากเวบ ผจก.
บัวริมบึง
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 384


« ตอบ #66 เมื่อ: 25-09-2008, 22:50 »


อย่ามากินแรงเอกซิเอ๊ะ...แค่เอกเอาทรัพย์สินทางปัญญามาโพสต์ให้อ่านฟรีๆนี่ก็ถือว่าบุญแล้วน๊ะ น้องๆในเว๊บที่เป็นโรคสมองฝ่อต่อมจริยธรรมอักเสบจะได้มีอาการกระเตื้องขึ้นมาบ้าง

นี่เอกผิดอีกแล้วซิน๊ะ!?!


ส๊าาาาาาาธุ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25-09-2008, 23:08 โดย บัวริมบึง » บันทึกการเข้า
inthanon
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 67


« ตอบ #67 เมื่อ: 25-09-2008, 22:57 »

ลิ่วล้อยังปฏิบัติงานดี
พวกแถก็คงยังแถต่อไป
ข้อมูลเอาแต่เรื่องเก่าก่อนมาตัดแปะ ไม่อัพเดท ที่เขาสรุปว่าไงมาให้ดู
แค่ข้าอ่านอย่างเดียวยังเหนื่อยกับพวกบัตรเติมเงินจิงจิ๊งงงง
บันทึกการเข้า
หาเพื่อนหยิงคุยแก้เหงาครับ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,131


กูรู้มึงต้องอ่าน ฮ่าๆ ขำขำนะจ๊ะ


เว็บไซต์
« ตอบ #68 เมื่อ: 25-09-2008, 23:38 »

เห็นด้วยค่ะ ว่าน่าจะให้รถเมล์วิ่งเหมือนกับ BRT เำพราะสายรถเมล์มันซ้ำซ้อนไปหมด และเลนส์รถเมล์ ก็มักจะมีรถส่วนตัววิ่งกับฉิว ๆ
โดยที่ตำรวจไม่จับ จนสุดท้ายก็ต้องยกเลิก บัสเลนส์ไป
แล้วรถเมล์เองก็ชอบขับออกมาเลนส์อื่น แล้วมันก็กลับไปเละเหมือนเดิม

คิด ๆ ดูแล้วเราต้องกลับไปแก้ที่วินัยของคนก่อน น่าจะดีกว่า...
^^'



ถะถะถะ ถูกต้องนะคร้าบบบบบ   
บันทึกการเข้า

ขอมอบ เพลงนี้ให้กับพี่น้อง พันธมิตรทุกคนฮะ


http://www.imeem.com/sakujo/music/04_GaHIQ/09_avenged_sevenfold_strength_of_the_worldmp3/

strength of the world
moon
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 780


« ตอบ #69 เมื่อ: 26-09-2008, 01:17 »

ประภัสร์ ไม่เห็นด้วยกับ BRT

BRT ประชันโฉม METRO ใครตัวจริง.....ใครตัวปลอม

    ในการเสวนาเรื่อง “BRT ประชันโฉม METRO” ซึ่งจัดโดยมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ(มสช.)และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) มีประเด็น “ฮอต” ที่กระชากใจผู้คนในเมืองใหญ่หลายประการด้วยกัน
       
       ไม่ว่าจะเป็นวาทกรรมของ “ประภัสร์ จงสงวน” ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศ (รฟม.) ที่ออกมาท้าทายโครงการรถเมล์ด่วนพิเศษของผู้ว่า ฯ อภิรักษ์โกษะโยธินว่า เจ๊งมากกว่าเจ๋ง หรือแนวคิดของ ผศ.ดร.สิทธา เจนศิริศักดิ์ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมการศาสตร์ ม.อุบลราชธานี ที่เสนอให้เก็บค่าที่รถยนต์ส่วนตัวของคนกรุงเทพวันละ 50 บาททั้งในที่บ้านและที่สาธารณะเพื่อนำเงินลงทุนรถไฟฟ้าของรัฐบาลได้ทุกระบบ เป็นต้น
       **ขนส่งมวลชน สิ่งจำเป็นของคนเมือง
       สมเกียรติ พงษ์กันทา ที่ปรึกษา บ.รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด ให้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับความจำเป็นในการสร้างระบบขนส่งว่า ระบบขนส่งมวลชน ถือเป็นส่วนหนึ่งในความสุขของชุมชนเมือง เนื่องจากสามารถช่วยลดความเครียดจากวิกฤติการจราจรที่นำมาซึ่งโรคหัวใจและอีกสารพัดของคนเมือง
       
       ทั้งนี้ ระบบขนส่งมวลชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถไฟฟ้าสามารถขนคนได้มากถึง 50,000 คน/ชั่วโมง/ทิศทาง โดยต้องการทางกว้างเพียง 9 เมตร ขณะที่รถเมล์ต้องการ 35 เมตรc]tรถยนต์ส่วนบุคคลต้องการ 175 เมตร ที่สำคัญคือ เกิดอุบัติเหตุน้อยกว่าทางถนนอย่างน้อย 12 เท่า กล่าวคือมีอัตราการเสียชีวิต 0.48 คน ต่อ 1,000 ล้านคนต่อกิโลเมตร ในขณะที่ทางถนนตาย 6 คน สามารถขนผู้โดยสารทั่วโลกเฉลี่ยมากกว่า 150 ล้านคน
       
       สำหรับในด้านการใช้พลังงาน รถไฟฟ้าในเมืองใช้พลังงานน้อยกว่ารถยนต์ 5 ถึง 20 เท่า รถไฟฟ้าชานเมืองใช้พลังงานน้อยกว่ารถยนต์ 3 ถึง 17 เท่า รวมทั้งสามารถลดปัญหาการจราจรโดยลดปริมาณลดยนต์
       
       “แต่สิ่งหนึ่งที่ผมยังข้องใจและไม่เข้าใจก็คือ ทำไมถนนสุขุมวิท และถนนรัชดาภิเษกรถยังติดอยู่ทั้งๆที่มีรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้าใต้ดินแล้ว”
       
       สมเกียรติให้คำแนะนำเพิ่มเติมว่า การจัดระบบขนส่งมวลชนควรมีการพัฒนาบุคลากรเพราะปัจจุบันต้องซื้อทุกอย่างตั้งแต่ที่ปรึกษา ราง ล้อ ซึ่งตรงนี้น่าเป็นห่วงประเทศไทยมาก รวมถึงต้องพัฒนาระบบคมนาคม โทรคมนาคม การตรวจสอบความปลอดภัยของผู้โดยสาร การก่อการร้าย อุตสาหกรรมด้านนี้ต้องเตรียมรับมือกับสถานการณ์ของการก่อการร้ายด้วย
       
       **เสนอเก็บค่าจอดรถคนกรุงวันละ 50 บาท
       
       ทีนี้ ก็มาถึงไอเดียเด็ดของ ผศ.ดร.สิทธา เจนศิริศักดิ์ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมการศาสตร์ ม.อุบลราชธานี ที่เสนอให้เก็บค่าจอดรถคนกรุงเทพวันละ 50 บาทกันบ้างว่า เป็นอย่างไร
       
       ผศ.ดร.สิทธาขยายความว่า ระบบขนส่งสาธารณะไม่ว่าจะเป็นรถบีอาร์ทีหรือเมโทร ต่างก็เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาเมืองแต่ไม่สามารถทำให้การใช้ลดยนต์ลดลงได้ ดังนั้น แก้ปัญหาจราจรติดขัดไม่ได้จึงต้องใช้มาตรการด้านอื่นจัดการแทน
       
       กล่าวคือ ภาครัฐควรจัดเก็บภาษีค่าจอดรถยนต์ส่วนบุคคลกว่า 3 ล้านคัน ใน กทม. จำนวน 20 บาทต่อคันต่อวัน คิดเป็นเงิน 12,000 ล้านบาทต่อปี มาดำเนินโครงการบีอาร์ที 120 กิโลเมตร หรือเก็บภาษีจำนวน 50 บาทต่อคันต่อวัน จะได้เงิน 30,000 ล้านบาทต่อปี เพียง 7 ปี ก็สามารถลงทุนในทุกโครงการที่ภาครัฐวางแผนไว้ได้ทุกเส้นทาง
       
       “การจะลงทุนระบบขนส่งมวลชนไม่ว่าระบบ บีอาร์ที หรือ รถไฟฟ้า ผู้ลงทุนต้องประเมินว่า เมื่อลงทุนไปแล้ว ในอนาคตระบบดังกล่าวจะรองรับปริมาณผู้ใช้และการจราจร ที่จะแออัดเพิ่มสูงขึ้นได้มากน้อยเพียงใด นอกจากนี้ต้องมีการวางแผนการเดินทางสำหรับทุกกลุ่มคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ด้อยโอกาสทางสังคม และที่สำคัญที่สุดนักการเมืองต้องกล้าเปลี่ยนแปลงการทำงาน”

**ผู้ว่าฯ รฟม.ค้านบีอาร์ทีกทม.
       ขณะที่ ประภัสส์ จงสงวน ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศ (รฟม.) ฟันธงตรงไปว่า โครงการรถเมล์ด่วนพิเศษ (บีอาร์ที) ของ กรุงเทพมหานคร (กทม.) อาจจะไม่ประสบความสำเร็จ เพราะจะมีประชาชนเข้ามาใช้บริการความจุไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน ขณะที่ก่อนจะมีการลงทุนในโครงการดังกล่าวทาง กทม. ควรจะมีการทดลองระบบก่อนว่า รถบีอาร์ที จะสามารถดำเนินการได้จริงหรือไม่
       
       “โดยส่วนตัวเห็นว่า รถบีอาร์ทีควรเป็นระบบ Feeder ที่อยู่ข้างนอกไม่ใช่ในเมือง และการจะเปลี่ยนพฤติกรรมคนใช้รถส่วนตัวให้มาใช้รถบีอาร์ทีไม่ง่ายเลย ระบบตั๋วร่วมที่จะใช้ร่วมกับรถไฟฟ้าก็ควรที่จะคุยให้ชัดเจนว่าเป็นร่วมแบบไหนเสียค่าแรกเข้าครั้งเดียวหรือใช้ได้ตลอดหรือต้องเสียทุกครั้งแต่ใช้บัตรโดยสารเพียงใบเดียว ผมกลัวว่ารถบีอาร์ทีที่อื่นประสบความสำเร็จจริงแต่เมื่อนำมาใช้ที่กทม.อาจไม่ประสบความสำเร็จ”
       
       ประภัสร์กล่าวอีกว่า ปัญหาระบบขนส่งมวลชนของไทยเป็น เพราะนโยบายทางการเมืองของรัฐบาล มีทิศทางที่ไม่ชัดเจน และสับสน เช่น ไม่สนับสนุนให้นำเงินกองทุนน้ำมันกว่า 4 หมื่นล้านบาทมาใช้ในโครงการรถไฟฟ้า , การสนับสนุนให้ประชาชนใช้รถยนต์ติดก๊าซเอ็นจีวี และรถยนต์ขนาดเล็กประหยัดพลังงาน(อีโคคาร์) ซึ่งเป็นนโยบายสวนทางการแก้ไขปัญหาการจราจรในปัจจุบันที่ควรลดปริมาณรถยนต์ส่วนบุคคล หรือนโยบายตั๋วร่วมระหว่างบีทีเอสกับรฟม. เพราะหากค่าใช้จ่ายในการเดินทางด้วยระบบรางมีต้นทุนสูงกว่า ค่าใช้จ่ายด้วยรถส่วนบุคคล ย่อมส่งผลให้ประชาชนไม่นิยมใช้บริการ

       **เชียงใหม่เดินหน้าบีอาร์ที

       ดร. รังสรรค์ อุดมศรี อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เชียงใหม่ หัวหน้าโครงการจัดทำแผนแม่บทและออกแบบการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนเมืองเชียงใหม่(BRT) เปิดเผยว่า จากการศึกษาพบว่ารถเมล์ด่วนพิเศษบีอาร์ทีมีความเหมาะสมและคุ้มค่าต่อการลงทุนในพื้นที่ตัวเมืองเชียงใหม่เนื่องจากคณะกรรมการวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่มีมติไม่ให้สร้างรถไฟฟ้า และเมื่อพิจารณาองค์ประกอบหลายด้านแล้วรถบีอาร์ทีจึงลงตัวที่สุดโดยมีโครงข่าย 4 เส้นทาง ครอบคลุมพื้นที่เขตเมือง 150 ตารางกิโลเมตร รองรับผู้โดยสารสูงสุด 301,400 เที่ยวต่อคนต่อวัน คาดว่าจะมีผู้โดยสารเต็มระบบในปี 2563
       
       ทั้งนี้ แต่ละเส้นทางในชั่วโมงเร่งด่วนจะมีผู้ใช้บริการอยู่ระหว่าง 2,500-7,500 คนต่อชั่วโมงซึ่งจะทำให้สัดส่วนการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะในเมืองเชียงใหม่เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 27.5 จากเดิมที่มีเพียงร้อยละ 8 จะช่วยทำให้ลดปัญหาวิกฤติจราจร พลังงาน และสิ่งแวดล้อมอย่างได้ผล มีการใช้ระบบขนส่งอัจฉริยะ ระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ โดยแบ่งงบประมาณในการลงทุน 2 เฟส คือ เฟสแรก
       8,041.8 ล้านบาท ระยะเวลา 10 ปี จากระยะทาง 50 กิโลเมตร และ 10 ปีหลังในเฟสที่ 2 อีก 50 กิโลเมตร ทั้งนี้ตั้งเป้าจะมีประชาชนมาใช้บริการร้อยละ 30 ในส่วนของรถ 4 ล้อแดงนั้นจะให้เป็น Feedder ขนคนเข้าระบบบีอาร์ที
       
       อย่างไรก็ตาม ขณะนี้แผนแม่บทรถบีอาร์ทีเมืองเชียงใหม่ได้ส่งให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) แล้ว
       
       **กทม.โต้เดือด BRT เจ๋งจริง
       หลังจากผู้ว่าฯ รฟม.ออกมาให้สัมภาษณ์ วันต่อมา พนิช วิกิตเศรษฐ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) ก็ออกมาตอบโต้โดยยืนยันว่า รถเมล์ด่วนพิเศษ BRT เป็นทางเลือกหนึ่งในระบบขนส่งมวลชนเพื่อแก้ปัญหาจราจรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะเดินหน้า BRT สายแรก จากช่องนนทรีย์-ราชพฤกษ์ ให้แล้วเสร็จกลางปีหน้า และผลักดัน BRT สายที่ 2 จากหมอชิต - ศูนย์ราชการแห่งใหม่ แจ้งวัฒนะ แม้ นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะออกมาระบุว่า BRT อาจไม่ประสบความสำเร็จก็ตาม
       
       ทั้งนี้ ขอยืนยันอีกด้วยว่า การผลักดัน BRT ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง แต่ กทม. ต้องการสร้างระบบขนส่งมวลชนที่มีความหลากหลาย สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ ทั้งยังมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ ซึ่ง BRT ใช้เงินลงทุนเพียง 100 ล้านบาท/กิโลเมตร ถูกกว่าการสร้างรถไฟใต้ดินถึง 30 เท่า และจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในปีครึ่งขณะที่รถไฟฟ้าใต้ดิน ใช้เวลาสร้างนานถึง 4 ปี จึงต้องการให้นายประภัสร์กลับไปศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ BRTให้ครบถ้วน และให้มีการเปิดบริการ BRT ก่อน แล้วจึงค่อยออกมาแสดงความคิดเห็นว่าโครงการดังกล่าวล้มเหลว
       
       “ข้อมูลของประภัสร์ เป็นข้อมูลเก่า น่าจะกลับไปศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วนก่อน อย่าเพิ่งมาบอกว่าโครงการบีอาร์ทีจะล้มเหลว ขอให้กทม.ได้เปิดใช้บีอาร์ทีสายแรกก่อนแล้วค่อยมาวิพากษ์วิจารณ์ซึ่งกทม.ก็พร้อมจะรับเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข แต่ตอนนี้ยังไม่ทันได้เห็นก็วิจารณ์ก่อนแล้ว เรื่องตัดกระแสจราจรก็ไม่กระทบมาก เพราะตัดแค่ 3 แยกเท่านั้นคือบนถนนนราราธิวาสฯ 2 แยก และอีกแห่งคือที่ถนนพระราม 3 ตัดนราธิวาสฯ ส่วนจะให้นำเอารถเมล์ขสมก.มาทดลองวิ่งก่อน มันก็เป็นไปไม่ได้เพราะประสิทธิภาพรถมันต่างกัน อีกทั้งยังไม่ได้มีการก่อสร้างสถานีเกาะกลางก็จะไม่ปลอดภัยกับประชาชน” รองผู้ว่าฯกทม.สรุป.-

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์ 

ลิงค์มาจากที่นี่อีกที http://www.thainhf.org/index.php?module=news&page2=detail&id=118
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
    กระโดดไป: