ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
17-04-2024, 01:30
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  ห้องสาธารณะ  |  ร่วมลงชื่อคัดค้านการขอบำเหน็จบำนาญ สส. สว. 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ร่วมลงชื่อคัดค้านการขอบำเหน็จบำนาญ สส. สว.  (อ่าน 2108 ครั้ง)
นักวิชาการ
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: 24-09-2008, 12:23 »

เรื่อง คัดค้านการขอบำเหน็จ บำนาญ ให้ข้าราชการการเมือง ส.ส.-ส.ว.

ถึง ประชาชนคนไทยทุกท่าน

เรื่องที่จะมีการออกพระราชกฤษฎีกาให้บำเหน็จบำนาญ ส.ส.-ส.ว.ไม่ทราบว่าท่านผู้ทรงเกียรติใช้สติปัญญาส่วนไหนคิด  ถึงแม้รัฐธรรมนูญจะเปิดโอกาสให้ข้าราชการการเมืองมีโอกาสได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ท่านคำนึงถึงความเหมาะสมบ้างหรือไม่?

ท่านมีสิทธิพิเศษ  และสวัสดิการมากมาย ยังจะมาเอาเปรียบประชาชน และข้าราชการประจำอีกหรือ ท่านดูอัตราเงินเดือนของท่านให้ดีนะครับ

บัญชีเงินประจำตำแหน่ง และเงินเพิ่มของ ส.ส.-ส.ว.

เงินประจำตำแหน่ง+เงินเพิ่ม ประธานรัฐสภา ๖๔,๐๐๐+๕๐,๐๐๐ บาท

ประธานวุฒิสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร ๖๓,๐๐๐+๔๕,๐๐๐ บาท

รองประธานรัฐสภา ๖๓,๐๐๐+๔๕,๐๐๐ บาท

รองประธานวุฒิฯ และรองประธานสภาผู้แทนฯ ๖๓,๐๐๐+๔๒,๐๐๐ บาท

ผู้นำฝ่ายค้านในสภาฯ ๖๓,๐๐๐+๔๕,๐๐๐ บาท

ประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภา และสภาผู้แทนฯ ๖๓,๐๐๐+๔๒,๕๐๐ บาท

สมาชิกวุฒิสภา และสมาชิกสภาผู้แทนฯ ๖๓,๐๐๐+๔๑,๐๐๐ บาท

เฉพาะ ส.ส.และ ส.ว.ท่านมีเงินประจำตำแหน่ง และเงินเพิ่มรวมแล้ว ๑๐๔,๐๐๐ บาท/เดือน ครับ

ถ้าท่านเป็น ส.ส. ๔ ปี ท่านจะมีรายได้รวม ๔,๙๙๒,๐๐๐ บาท

ถ้าท่านเป็น ส.ว. ๖ ปี ท่านจะมีรายได้รวม ๗,๔๘๘,๐๐๐ บาท

คนทั่วไปเขาทำงานกันทั้งชีวิตนะครับกว่าจะได้เงินขนาดนี้ นอกจากเงินเดือนแล้ว  ในระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง  ยังมีสวัสดิการ  มีสิทธิพิเศษมากมาย  เดินทางฟรี ขึ้นเครื่องบินฟรี ท่านมีเบี้ยเลี้ยงประชุม

ในการเดินทางไปดูงานต่างประเทศ  ท่านก็เบิกได้เต็มที่  ๑๐๐% นอกจากนี้แล้ว  ยังมีเงินประจำตำแหน่งในคณะกรรมาธิการต่างๆ ของสภาที่ท่านสามารถจะได้รับอีก  เรียกได้ว่าท่านแทบไม่จำเป็นต้องแตะเงินเดือนของท่านเลย ถ้าท่านกินอยู่อย่างพอเพียง  และรู้จักประกอบอาชีพสุจริต  เงินจำนวนนี้ถือว่ามากพอที่จะเลี้ยงชีวิตท่านนะครับ

แล้วท่านจะยังมาเอาบำเหน็จ-บำนาญ อะไรกันอีกครับ?

ในฐานะของประชาชน ผมขอคัดค้าน "พระราชกฤษฎีกา" ให้บำเหน็จ-บำนาญ ส.ส.-ส.ว.ฉบับนี้  ขอเชิญท่านร่วมแสดงความคิดเห็น และส่งข้อความนี้ให้กับเพื่อนๆ ด้วย

ร่วมลงชื่อคัดค้านกฎหมายฉบับนี้  ไปที่  ตู้ ปณ.๖๙ ปณจ.สามเสนใน เขตพญาไท  กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐   

และส่งสำเนาบัตรประชาชน   ขีดคร่อมด้วยข้อความว่า "ร่วมลงชื่อคัดค้านกฎหมายบำเหน็จ-บำนาญ ส.ส.-ส.ว." ไปด้วย

บันทึกการเข้า
mthai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: 24-09-2008, 12:59 »

บี้ทบทวนบำนาญ"ส.ส.-ส.ว." ปลุกนักวิชาการ-ประชาชนต้าน

บี้ทบทวนบำนาญ


ปลุก นักวิชาการ-ประชาชนเคลื่อนไหวคัดค้านร่าง พ.ร.ฎ.บำเหน็จบำนาญ ส.ส. ส.ว. ระบุเสียงต่อต้านในสังคมเริ่มแรงขึ้นเรื่อยๆ จี้รัฐบาลทบทวนใหม่ให้เฉพาะบำเหน็จ-ค่าตอบแทนอื่นๆ หวั่นผู้แทนท้องถิ่นนับหมื่นรายขอบ้างแล้วจะเอาเงินที่ไหนจ่าย

นาย บรรเจิด สิงคะเนติ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม เรียกร้องให้นักวิชาการ และประชาชนออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านการเสนอร่างพระราชกฤษฎีกา(พ.ร.ฎ.) บำเหน็จบำนาญสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.) สมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) โดยให้เหตุผลว่า การเอาภาษีประชาชนไปควรถามเจ้าของภาษีก่อนว่ารู้สึกอย่างไรที่จะให้บำเหน็จ บำนาญ ส.ส. ส.ว. ทำไมไม่ให้ชาวนาชาวไร่บ้าง ความเสมอภาคอยู่ที่ไหน นักการเมืองท้องถิ่นได้หรือไม่ แบ่งเส้นกันตรงไหน

นายบรรเจิดกล่าว ต่อไปว่า บำเหน็จบำนาญเป็นการให้ข้าราชการซึ่งเงินเดือนไม่สูง ความจริงล็อคการทำงานที่อายุงาน 25 ปี เพราะฉะนั้น การที่ข้าราชการไม่มีโอกาสทำอย่างอื่นนอกจากรับราชการ รัฐจึงตอบแทนการดำรงชีวิตหลังเกษียณ ซึ่งเอาไปใช้กับนักการเมืองไม่ได้ คนละเรื่องกัน แล้วนักการเมืองมีฐานอาชีพเดิมอยู่แล้ว และเป็นเพียง 3-5 ปี จึงไม่ได้ทำงานให้กับชาติในความหมายแบบนี้ คนละแนวคิดกัน

" อย่างที่ตั้งคำถามว่ามีหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาล ถามว่าตรวจสอบอะไร แล้วยังจะมาเรียกร้องให้ชาติมาตอบแทน ถามว่าอะไรคือมรรคผลที่คุณให้กับบ้านเมือง มันไม่มี ไม่เห็น ผมว่าถ้าให้ไปมันมีความน่าจะละอายใจ ถ้านักการเมืองด้วยกันออกมาทักท้วงจะมีพลัง เพราะแม้ตัวเองรู้ว่าจะได้รับแต่เมื่อรู้สึกว่าไม่เหมาะ ควรออกมา น่าจะตัดทอนความชอบธรรมระดับหนึ่ง ส่วนคนที่คุมการเงินการคลังของประเทศควรจะดูว่าการจ่ายเงินเป็นไปตามแนวคิด หรือไม่" นายบรรเจิดกล่าว

นายปรีชา สุวรรณทัต อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีต ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ ให้ความเห็นว่า ขณะนี้กระแสการคัดค้านร่าง พ.ร.ฎ.บำเหน็จบำนาญ ส.ส. ส.ว. ขยายไปถึงระดับผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.)แล้ว เนื่องจากผู้แทน อบจ.เห็นว่า ถ้า ส.ส. ส.ว.ได้บำเหน็จบำนาญ ผู้แทนท้องถิ่นซึ่งมาจากการเลือกตั้งระดับจังหวัดเช่นเดียวกัน สมควรจะได้รับด้วย และต่อไปอาจเคลื่อนไหวเสนอกฎหมายให้บำเหน็จบำนาญผู้แทนท้องถิ่นบ้าง คิดดูว่าจำนวนผู้แทนท้องถิ่นนับหมื่นๆ คน ต้องใช้งบประมาณแผ่นดินเท่าไหร่จึงจะพอจ่าย ดังนั้น ถ้ารัฐบาลยังไม่ได้นำร่าง พ.ร.ฎ.ทูลเกล้าฯ ก็น่าจะทบทวนในรูปการให้บำเหน็จอย่างเดียว หรือให้ในรูปเงินตอบแทนอย่างอื่น จะช่วยให้กระแสการคัดค้านเบาบางลงไปได้ เพราะไม่มีผลผูกพันภาระในอนาคต ไม่ใช่เป็น ส.ส.2 ปี ได้บำนาญตลอดชีวิต

" ตอนนี้มองเห็นแล้วว่าคนส่วนใหญ่คัดค้าน รัฐบาลอยู่ในวิสัยที่น่าจะนำไปทบทวนได้ไม่ยากเหมือน พ.ร.บ. เพราะอำนาจเป็นของรัฐบาล แม้จะเป็นความคิดของ ส.ส.ที่อ้างบทบัญญัติรัฐธรรมนูญก็ตาม เท่าที่ผมทราบ ในระหว่างนี้อยู่ในขั้นตอนเตรียมนำเสนอ ยังไม่เสนอขึ้นไป" นายปรีชากล่าว

อดีต ส.ส.กทม.กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันรัฐสภามีสวัสดิการดูแลอดีตนักการเมืองซึ่งพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว หรือถ้าไม่มีก็สามารถจัดให้ได้โดยอาศัยมาตรา 229 ในรูปของประโยชน์ตอบแทนอื่นๆ ให้ไปแทนบำเหน็จบำนาญ โดยวางเกณฑ์ให้ได้เฉพาะผู้เจ็บป่วยทุพพลภาพ รวมถึงผู้ยากไร้ ไม่ใช่ได้กันทุกคน

ทางด้านนายชาติชาย เจียมศรีพงษ์ นายก อบจ.พิจิตร กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับการที่จะให้บำเหน็จบำนาญ ส.ส. และ ส.ว. เพราะมีเงินเดือนสูงอยู่แล้ว และไม่ยุติธรรม เนื่องจาก ส.ส. และ ส.ว.มีสิทธิพิเศษอยู่แล้วในหลายๆ เรื่อง ประกอบกับเศรษฐกิจของประเทศขณะนี้ยังไม่ดีขึ้นเลย

นายชาติชายกล่าว ว่า หากจะพิจารณาให้บำนาญ ส.ส. และ ส.ว.ควรจะให้บำนาญกับผู้บริหารที่มาจากการเลือกตั้งในส่วนท้องถิ่นด้วย อย่าไปมองเพียง ส.ส. และ ส.ว.เท่านั้น เวลานี้ทางที่ดีควรจะเงียบๆ เอาไว้ก่อน รอให้เศรษฐกิจประเทศดีขึ้นแล้วค่อยมาว่ากัน ควรเอาเงินที่มีอยู่มาพัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญกว่านี้

วันเดียว กัน ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน แนวร่วมต่อต้านการคอร์รัปชั่นแห่งชาติ และกลุ่มชาวบ้านบางระจัน กรุงเทพมหานคร นำโดยนายวัชระ เพชรทอง นำป้ายผ้าเขียนข้อความ "หยุดบำเหน็จบำนาญ ส.ส. ส.ว." มาเดินวนรอบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย พร้อมกับไฮปาร์กคัดค้านการขอจ่ายเงินบำเหน็จบำนาญให้ ส.ส. ส.ว. พร้อมกับเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกการยื่นทูลเกล้าฯถวายร่าง พ.ร.ฎ. เนื่องจากในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันไม่เหมาะสมที่จะเร่งรีบดำเนินการในเรื่อง ดังกล่าว ประกอบกับเพื่อมิให้เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคม หากไม่ยับยั้งอาจจะนำไปสู่กระแสความไม่พอใจของกลุ่มข้าราชการประจำ นักการเมืองท้องถิ่น และเกษตรกรที่รุนแรงขึ้น


ที่มาจากหนังสือพิมพ์ มติชน

http://www.mthai.com/webboard/5/130433.html

บอก พธม  เลย
บันทึกการเข้า
THE THIRD WAY
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,821


Love looks not with eyes, but with the mind.


« ตอบ #2 เมื่อ: 24-09-2008, 13:37 »

ถ้าจำไม่ผิดเรื่องนี้ออกเป็นพ.ร.บ.นะครับ
การยกเลิกก็ต้องยกเลิกพ.ร.บ.นี้ด้วย

ท่าจะยาก
เหมือนหมูเข้าปากม๋าแลวอ่ะ
บันทึกการเข้า

ความรักนั้นหวาน ไม่ว่าจะรับหรือให้
************************
การขับไล่ทรราช เป็นภารกิจของเจ้าของประเทศ
เล่าปี๋
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,417


ทำดีได้ดีมีไฉน ทำชั่วได้ดีมีถมไป


« ตอบ #3 เมื่อ: 25-09-2008, 11:35 »



หน้าพวกเนี้ย  มันด้านกว่าคอนกรีตเสริมเหล็ก...

ขนาดข้าราชการรุ่นหลังๆ  ยังมีแค่บำเหน็จ  บำนาญยกเลิกแล้ว....
บันทึกการเข้า

ขงเบ้งดูดาว เฮอะเอ่อเอ้ย เมื่อดาวตก เสียวในหัวอกเมือเห็นดาว
ไม่พราวไสว  หรือว่าตัวเราจะหมดบุญ จึงเป็นไป
ดาวที่สดใสเมื่อก่อนนั้น  พลันมืดมัว....
moon
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 780


« ตอบ #4 เมื่อ: 25-09-2008, 12:01 »

อีกเรื่องนึงที่ทำให้รู้สึกเซงกับไอ้พวกนี้
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: