ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
19-04-2024, 18:33
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ++ เปิดสัมพันธ์ โอฬาร-ทักษิณ กลไกขับเคลื่อน 'ความทับซ้อน' ++ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
++ เปิดสัมพันธ์ โอฬาร-ทักษิณ กลไกขับเคลื่อน 'ความทับซ้อน' ++  (อ่าน 1693 ครั้ง)
ThePong+
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 198



« เมื่อ: 03-04-2006, 20:04 »

ที่มา:  

http://www.thannews.th.com/detialNews.php?id=T0921011&issue=2101

เปิดสัมพันธ์ โอฬาร-ทักษิณ กลไกขับเคลื่อน 'ความทับซ้อน'  
 
   
 
 
   
กรณีที่ศาลปกครองสูงสุดได้พิพากษาให้รัฐบาลแพ้คดีการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เป็นบริษัท กฟผ. จำกัด(มหาชน) (บมจ.)โดยเห็นว่าพระราชกฤษฏีกา ( พ.ร.ฏ) 2 ฉบับเกี่ยวกับการแปรรูปคือ พ.ร.ฏ. กำหนดอำนาจ สิทธิและประโยชน์ของบริษัท กฟผ. จำกัด(มหาชน) พ.ศ.2548 และพ.ร.ฏ กำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2548 นั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ภายหลังจากที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกับพวก เป็นฝ่ายยื่นฟ้องนายก ฯทักษิณ ชินวัตร ,นายวิเศษ จูภิบาล รมว.พลังงานและพวกต่อศาลปกครองสูงสุด


การพิพากษาของศาล สืบเนื่องจากการพิจารณาคุณสมบัติของคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้ง คือ นายโอฬาร ไชยประวัติ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการดังกล่าว เป็นนายกสภามหาวิทยาลัยชินวัตร และเป็นกรรมการบมจ. ชินคอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นบริษัทที่ถือหุ้นหลักในบมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ประกอบกิจการสื่อสารและโทรคมนาคม จึงถือได้ว่ามีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวข้องกับกิจการของ กฟผ. (มหาชน) ที่ได้จัดตั้งบริษัท กฟผ.โทรคมนาคม จำกัด เพื่อประกอบกิจการโทรคมนาคมและสื่อสารเช่นกัน


ประกอบกับนายโอฬาร ยังเป็นกรรมการบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) ซึ่ง กฟผ. ได้ซื้อก๊าซธรรมชาติจาก ปตท.อีกด้วย จึงเข้าข่ายลักษณะต้องห้ามที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบรัษัท[/size]

ผลของการพิพากษาศาลครั้งนี้ ไม่เพียงจะส่งให้แผนการแปรรูป กฟผ.ต้องพับแผนกลับไปใหม่ แต่ทว่ายังเพิ่มน้ำหนัก ให้กับข้อกล่าวหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน ที่มีต่อ รักษาการนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ขึ้นอีกโข


ไม่เพียง กฟผ. หากอดีตนายแบงก์คนนี้ ยังถูกมองว่า เขายังมีสถานะทับซ้อนในกรณีอื่นๆอีก โดยเฉพาะกรณี บมจ.การบินไทย กับ บมจ.ไทยแอร์เอเชีย อีกด้วย ทั้งนี้ "ไทยแอร์เอเชีย"ถือหุ้นหลักโดย บริษัท เอเชียวิชั่น ซึ่งมี บมจ.ชนคอร์ป ถือหุ้นใหญ่อีกชั้นหนึ่ง


โอฬารเป็น บอร์ด บมจ.การบินไทย และเป็นบอร์ด บมจ.ชินคอร์ ผู้ถือหุ้นใหญ่ของ บมจ.ไทยแอร์เอเชีย (ผ่าน เอเชียวิชั่น) ซึ่งเป็นรูปแบบความสัมพันธ์ทำนองเดียวกับที่ การเข้าไปเป็นหนึ่งในกรรมการก่อตั้ง บมจ.กฟผ. ที่มีแผนทำธธุรกิจโทรคมนาคม แต่โอฬารนั่งเป็นบอร์ดใน บมจ.ชินคอร์ป บริษัทแม่ของ เอไอเอส (แอดวานซ์อินโฟร์เซอร์วิส)


ด้วยความสัมพนธ์ที่เกี่ยวเนื่องกับ ไทยแอร์เอเชีย ดังกล่าวและมีเสียงร้องเรียน จนทำให้ บอร์ดการบินไทยต้อง สั่งการให้เลขานุการคณะกรรมการ ตรวจสอบคุณสมบัติกรรมการบริษัท ว่าเข้า เพราะก่อนหน้านี้ มีข่าวมาตลอดว่าการที่การบินไทยยกเลิกหรือลดเที่ยวบินเส้นทางบินในประเทศบางเส้นทาง ก็เพื่อเอื้อให้ไทยแอร์เอเชียทำการบินแทน


ด้วยบทบาทของโอฬารใน บมจ.ชินคอร์ป และ ในบริษัทแปรรูปใหญ่อย่าง บมจ.ปตท. บมจ.การบินไทย ทำให้เขาถูกจับตาจากสังคม มากขึ้น


ทั้งนี้ การที่เขาถึงได้รับความไว้วางใจอย่างสูงจาก รักษาการนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะ โอฬาร กับ รักษาการนายกฯ ไม่ใช่คนแปลกหน้าทั้ง 2 คน ต่างเคยเป็นสมาชิกพรรคพลังธรรมยุค พล.ต.จำลอง ศรีเมือง เป็นหัวหน้าพรรคเมื่อ 17 ปีที่แล้ว ที่เที่ยวหาคนดีเด่นดังมาร่วมอุดมการณ์ขับเคลื่อนพรรค


คนดีเด่นดังที่ พล.ต.จำลอง ดึงมาร่วมงานนอกจาก พ.ต.ท.ทักษิณ (ตำแหน่งขณะนั้น) แล้วยังมี ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แบงก์ไทยพาณิชย์ (อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม) ,นายอนันต์ อัศวโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ และดร.โอฬาร ตั้งแต่สมัยเป็นรองกรรมการผู้จัดการแบงก์ไทยพาณิชย์ ทุกคนจะเรียกพล.ต.จำลองว่า


"หัวหน้า"


ว่ากันว่า โอฬาร เข้าไปเกี่ยวในกลุ่ม"ดีเด่นดัง"หลังจากสนับสนุนให้แบงก์ไทยพาณิชย์ปล่อยกู้ โครงการรถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งได้รับการผลักดันจาก กรุงเทพมหานคร ยุค พล.ต.จำลองเป็นผู้ว่าการและเป็นโครงการที่หลายแบงก์ปฏิเสธให้กู้รวมทั้ง ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ อดีตรัฐมนตรีคลังและกรรมการผู้จัดการใหญ่แบงก์ไทยพาณิชย์ จากจุดเริ่มต้นตรงนี้ความสัมพันธ์ได้ถูกสานต่อไปยัง ทักษิณ ที่เวลานั้นแสดงคัวว่าจะเป็นทายาทการเมืองของพล.ต.จำลอง ก่อนทิ้งพรรคไปตั้งพรรคไทยรักไทย


ต่อมา เมื่อ ทักษิณ หัวหน้าพรรคไทยรักไทย ชนะการเลือกตั้งในปี 2544 และขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ประจวบเหมาะกับ โอฬาร ว่างงานเพราะ ลาออกจากแบงก์ไทยพาณิชย์ ตั้งแต่ปี 2542


จังหวะนั้นเอง ถูกดึงมาเป็นกุนซือ ดร.สมิคด จาตุรศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีคลัง(ขณะนั้น) ทำหน้าที่เป็นคนกรองสถานการณ์เศรษฐกิจที่หน่วยงานทั้งแบงก์ชาติ กระทรวงสายเศรษฐกิจทั้งหมด รวมทั้ง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ต้องส่งข้อมูลผ่าน โอฬาร ก่อน


หลังจากนั้นเป็นต้นมาบทบาทของโฮฬารก็เบ่งบานทั้งในธุรกิจเครือชินคอร์ป และหน่วยงานของรัฐบาล เช่น เคยดำรงตำแหน่ง นายกสภามหาวิทยาลัยชินวัตร ,กรรมการและประธานกรรมการตรวจสอบ บมจ.ชินคอร์ปตั้งแต่ปี 2541 จนถึงปัจจุบัน


ต่อด้วย ประธานคณะกรรมการบริหารสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) , ,กรรมการบมจ.การบินไทย ,ประธานกรรมการตรวจสอบภายใน ปตทและไทยโอเฟินส์ ,กรรมการอิสระไทยออยส์ , ประธานกรรมการบริษัทหลักทรัพย์ เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ,กรรมการบมจ.สหพัฒนาโฮลดิ้ง ,กรรมการตลาดหลักทรัพย์ ,ประธานกรรมการบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) เป็นต้น


นอกจากนี้ยัง เป็นหนึ่งใน คณะทำงานโครงการลงทุนพิเศษของรัฐเพื่อการพัฒนาประเทศ ในโครงการเมกกะโปรเจ็ตต์ มูลค่า 1.8 ล้านล้านบาท .เป็นประธานประธานคณะกรรมการลงทุนในกองทุนรวมวายุภักษ์ เป็นต้น ที่สำคัญในการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งแรกของรัฐบาลทักษิณ 2 เมื่อปี 2548 ที่ผ่านมา ทักษิณ ทาบทามโอฬาร นั่งเก้าอี้คลังแต่เจ้าตัวปฏิเสธด้วยเหตุผลที่ว่า "คนที่บ้านไม่เห็นด้วย"


ด้วยบทบาทดังกล่าวนั่นเอง ทำให้โอฬาร ไม่เพียงถูกมองว่า เป็นทั้งพนักงานระดับสูงของชินคอร์ป" แต่ยังเป็นคนวงในของ พ.ต.ท.ทักษิณอีกด้วน แม้เจ้าตัวไม่เคยดำรงตำแหน่งใด ๆทางการเมืองใดเลยก็ตาม หากบทบาทและตำแหน่งใน องค์กร และหน่วยธุรกิจ ของรัฐบาลหลายแห่งสะท้อนให้เห็นความ"ลึกซึ้ง" ระหว่างเขากับรัฐบาลทักษิณ แม้ถูกกล่าวถึงอย่างอื้ออึงต่อเมื่อ"ฐานเศรษฐกิจ"พยายามติดต่อสอบถามจากปาก หากโอฬาร ปฏิเสธให้ความเห็นเขาตอบเพียงว่า "ยังไม่ใช่เวลาที่ผมจะตอบ "


แม้เจ้าตัวไม่ยอมชี้แจง หากการเข้าไปมี บทบาททั้งในระดับเศรษฐกิจมหภาค (กุนซือรมว.คลัง) และผู้ขับเคลื่อนคนสำคัญในแผนยุทธศาสตร์ของรัฐบาลโดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และเป็นนั่งเป็นบอร์ดที่ชินคอร์ป ทำให้ภาพของเขาถูกมองโดยปริยาย


ว่า ตัวเขาคือหนึ่งในกลไกขับเคลื่อนความซ้อนทันระหว่างผลประโยชน์ของชาติกับธุรกิจของชินคอร์ป ดังคำพิพากษาจาก ศาลปกครองสูงสุด ในกรณี การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯที่ว่าตำแหน่งของเขา


มีความเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน  
บันทึกการเข้า

(-O-)Koka
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 562



« ตอบ #1 เมื่อ: 03-04-2006, 20:29 »

ก่อนหน้าดีลขายชินคอร์ปแม้วพูดตลอดว่าไม่รู้จัก "ผลประโยชน์ทับซ้อน"
ฟังแล้วอยากเอาส้นเท้าลองลูบหน้าเหลี่ยมๆดู อยากรู้ว่าอันไหนด้านกว่ากัน
บันทึกการเข้า


อหิงสาคือความเข้มแข็ง ไม่ใช่ความขี้ขลาด
ThePong+
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 198



« ตอบ #2 เมื่อ: 04-04-2006, 18:05 »

http://www.thannews.th.com/detialNews.php?id=T0121014&issue=2101

โยงหมอมิ้งพัวพันปตท. ปูดตัวเบ้งติดร่างแหอื้อ!    

องค์กรผู้บริโภค เตรียมตรวจสอบ"หมอมิ้ง"โยงใยผลประโยชน์ทับซ้อนในปตท.พบพิรุธ ยับยั้งการแยกกิจการท่อก๊าซฯ ไม่ให้เกิดการแข่งขัน หลัง"มนู-วิเศษ"โดนมีผลประโยชน์ทับซ้อนจากการจัดสรรหุ้น ด้าน"เชิดพงษ์-เมตตา"โดนหางเลข ในฐานะเป็นผู้ควบคุมราคาพลังงานแต่มานั่งเป็นกรรมการในปตท. ขณะที่"ปิยสวัสดิ์"รู้เห็นแปลงสภาพปตท.ตลอด แต่ยังปล่อยให้ทรัพย์สินของรัฐตกอยู่ในมือเอกชน


นางสาวรสนา โตสิตระกูล กรรมการมูลนิธิองค์กรผู้บริโภค เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า ขณะนี้ทางเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค อยู่ระหว่างการสืบสวนหาข้อมูลในเชิงลึก เพื่อหาช่องทางดำเนินการฟ้องการแปลงสภาพบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) ว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โดยเฉพาะกรณีที่มติคณะรัฐมนตรี ได้เห็นชอบให้ปตท.ดำเนินการแยกกิจการทางท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ออกจากกิจการ ภายใน 1 ปี หลังจากปตท.กระจายหุ้นแล้ว


โดยเฉพาะกรณีการให้ปตท.จัดตั้งและถือหุ้นทั้งหมดในบริษัท ปตท.ท่อส่งก๊าซธรรมชาติ จำกัด รวมถึงให้ปตท.เปิดบริการขนส่งก๊าซฯทางท่อแก่บุคคลที่ 3 สำหรับระบบท่อในอนาคตและในระบบท่อเดิมของปตท. เพื่อให้ผู้ใช้ก๊าซฯสามารถซื้อก๊าซฯจากผู้ขายก๊าซฯได้โดยตรง และให้มีการตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระขึ้นมา


แต่เนื่องจากระยะเวลาผ่านมา 4 ปี ทางปตท.ไม่ได้ดำเนินการตามมติดังกล่าว โดยอ้างถึงรัฐบาลได้เปลี่ยนนโนยบายโครงสร้างกิจการไฟฟ้าใหม่ จากเดิมที่กำหนดเป็นแบบพาวเวอร์พูล มาเป็นระบบอีเอสบี และรอการแปรรูปบริษัท กฟผ.ให้แล้วเสร็จเสียก่อน ทำให้ปตท.ไม่สามารถดำเนินการได้ แต่ข้ออ้างดังกล่าวกลับกลายมาเป็นประเด็นที่ผูกมัดถึงการมีผลประโยชน์ทับซ้อนที่เกิดขึ้นในเวลานี้


นอกจากนี้เมื่อมีการตรวจสอบข้อมูล พบว่านายแพทย์ พรมมินทร์ เลิศสุริย์เดช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานในสมัยนั้น ได้เป็นผู้ยับยั้งการแยกกิจการท่อก๊าซฯออกจากปตท. และการจัดตั้งองค์การอิสระด้านพลังงาน ไม่ให้เป็นไปตามมติครม.ซึ่งเป็นประเด็นที่ทางองค์กรผู้บริโภคจะเข้าตรวจสอบว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่อย่างไร เพราะเป็นการแทรกแซงของนักการเมือง เนื่องจากนายแพทย์พรมมินทร์ เข้ามาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานไม่นาน แต่สามารถดึงเรื่องดังกล่าวออกมาพิจารณาใหม่ และภายหลังตั้งนายวิเศษ จูภิบาล มาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานแทน เพื่อรับผิดชอบในเรื่องนี้แทน


"ที่สำคัญจะต้องมาดูว่า การที่นายแพทย์พรหมินทร์ ยับยั้งการแยกกิจการก่อนนั้น ต้องไปดูว่านโยบายที่กำหนดออกมา เป็นนโยบายที่ให้ประโยชน์กับรัฐหรือให้ประโยชน์กับปตท. ซึ่งหากมองในแง่ของการแปรรูป การดำเนินงานจะต้องมีการแข่งขัน แต่การแปรรูปแล้วกลายเป็นว่ายกอำนาจผูกขาดจากรัฐไปเป็นของเอกชนก็ถือว่าผิดอยู่แล้ว"


"การที่ปตท.อ้างว่า การแยกกิจการท่อก๊าซฯออกมาแล้วจะทำให้หุ้นไม่มีค่า มองว่าเวลานี้จำนวนหุ้นได้ผ่องถ่ายไปเป็นของนักลงทุนแล้วจำนวนมาก กระทรวงการคลังถือหุ้นเพียง 52 % ผลประโยชน์ไม่ได้ตกอยู่กับภาครัฐแล้ว การไม่แยกกิจการท่อก๊าซฯออกมาเป็นการกระทำเพื่อผลประโยชน์ของนักลงทุนมากกว่า โดยอาศัยทรัพย์สินของชาติไปแสวงหาผลประโยชน์ ซึ่งการเวนคืนที่ดิน การวางท่อก๊าซผ่านที่ดินชาวบ้าน เป็นการรอดสิทธิ์ จะมาบอกว่าปตท.มีอำนาจในการดำเนินงานไม่ได้ แม้จะอ้างว่าศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินให้ดำเนินการได้ก็ตาม"


นางสาวรสนา กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ในเบื้องต้นมองว่า คณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งปตท.ที่มีนายมนู เลียวไพโรจน์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมและประธานบอร์ดสมัยนั้น เข้ามาเป็นประธานคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้ง และหลังจากปตท.กระจายหุ้นแล้ว นายมนูได้มีผลประโยชน์จากการจัดสรรหุ้นไปจำนวนหนึ่ง จำนวนร้อยละ 0. 013584 ซึ่งตาม พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ ได้มีข้อกำหนดให้คณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งจะต้องเว้นวรรคการไม่รับหุ้นหลังจากการกระจาหยุ้น 3 ปี


ขณะที่นายวิเศษ จูภิบาล ผู้ว่าการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยสมัยนั้น ได้เป็นกรรมการเตรียมการจัดตั้งปตท.และได้รับการจัดสรรหุ้นด้วย จำนวนร้อยละ 0.005766 แต่เนื่องจากนายวิเศษ เป็นผู้บริหารถึงกลางปี 2546 แต่ยังถือหุ้นอยู่อีกประมาณ 1 ปี ทำให้ต้องมีการตรวจสอบว่านายวิเศษพ้นจากตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดแล้ว จะยังสามารถถือหุ้นต่อไปได้อีกหรือไม่


นอกจากนี้ ปตท.ไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนการแปลงสภาพที่ถูกต้องตั้งแต่ต้น ในเรื่องของการจัดทำประชาพิจารณ์ ซึ่งพบว่าปตท.ทำการประกาศสาระสำคัญก่อนการตรา พ.ร.ฎ.เพื่อแปลงสภาพปตท. 2 ฉบับเพียง 1 วันก่อนที่จะมีการรับฟังความคิดเห็น ซึ่งไม่ถูกต้องตามระเบียบที่กำหนดให้ลงประกาศในหนังสือพิมพ์ฉบับเดียวติดต่อกัน 3 วัน ทำให้การแปลงสภาพปตท.ขัดกับเจตนารมณ์ของพ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ


ด้านแหล่งข่าวจากองค์กรผู้บริโภค เปิดเผยว่า สำหรับกรณีของนายเชิดพงษ์ สิริวิชช์ ปลัดกระทรวงพลังงาน ซึ่งเป็นประธานกรรมการ ของปตท.และบริษัท ไทยออยล์ และมีบทบาทในฐานะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ที่ดูแลการกำหนดราคาพลังงาน และ นายเมตตา บันเทิงสุข ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายพลังงานแห่งชาติ(สนพ.) ในฐานะเลขาคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ซึ่งมีส่วนดูแลโครงสร้างราคาด้านพลังงาน แต่มานั่งเป็นกรรมการปตท.ด้วยนั้น


มองว่าบุคคลเหล่านี้สามารถรับรู้ข้อมูลภายในของภาครัฐ และมาบริหารจัดการปตท.ได้ จะเห็นได้จากช่วงที่ผ่านมา ปตท.และโรงกลั่นน้ำมันมีกำไรจำนวนมาก ซึ่งมีปัญหามาจากการที่มีผู้ควบคุมราคาและผู้ที่กำหนดราคาน้ำมันเป็นคนกลุ่มเดียวกัน ซึ่งถือเป็นผลประโยชน์ทับซ้อนของเจ้าหน้าที่รัฐกับเอกชน


นอกจากนี้ ในส่วนของนายพละ สุขเวช กรรมการปตท.ยังเข้าไปเป็นกรรมการในกฟผ.ด้วย ทำให้เห็นผลประโยชน์ทับซ้อนของสองหน่วยงานนี้อย่างเห็นได้ชัด ที่จะเอื้อผลประโยชน์ซึ่งกันและกันในการซื้อขายก๊าซธรรมชาติ ซึ่งจะมีผลต่อค่าไฟฟ้าของประชาชนได้


อย่างไรก็ตาม จากที่ตรวจสอบรายงานการประชุมคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งปตท.พบว่า มีนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานกรรมการ บลจ.หลักทรัพย์จัดการกองทุนกสิกรไทย อดีตเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน ได้เข้าร่วมประชุมด้วยทุกครั้ง ซึ่งไม่ทราบว่าทำไมถึงปล่อยให้มีการดำเนินงานในลักษณะนี้ออกมา โดยเฉพาะประเด็นการโอนสินทรัพย์ของรัฐไปเป็นของเอกชนปล่อยให้มีการดำเนินงานได้อย่างไร


ทั้งที่เวลานี้นายปิยสวัสดิ์เองสนับสนุนให้มีการแยกกิจการท่อก๊าซออกจากปตท. เพื่อกำกับดูแลได้ง่ายขึ้น และสามารถเปิดให้บริการผ่านท่อทำได้อย่างเป็นธรรมมากขึ้น โดยเฉพาะการไม่ให้อำนาจผูกขาดไปอยู่ในมือของเอกชน


ต่อเรื่องนี้นายมนู เลียวไพโรจน์ อดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวชี้แจงว่า ตามกฏหมายคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้ง สามารถถือหุ้นได้ เพราะฉะนั้นในส่วนของตนและนายวิเศษ จูภิบาล รักษาการว่าการกระทรวงพลังงาน จะไม่มีปัญหา ซึ่งทุกอย่างมันเป็นไปตามขั้นตอน ไม่ได้เป็นไปตามที่ถูกกล่าวหา เพราะมันมีกฏหมายมาตรา12 มาตรา18 ที่ข้าราชการที่ได้รับแต่งตั้งให้ดูแลเรื่องนี้ สามารถถือครองหุ้นในส่วนนี้ได้ "คำกล่าวหาที่ทำให้ผมเสียหาย ถ้าเล่นกับผมมากๆ ผมคงต้องขออำนาจศาลช่วยเหลือ"นายมนูกล่าว
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
    กระโดดไป: