ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
21-12-2024, 21:12
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ชูสูตร "สภาองค์กรชุมชน" สร้างการเมืองใหม่ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ชูสูตร "สภาองค์กรชุมชน" สร้างการเมืองใหม่  (อ่าน 2212 ครั้ง)
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« เมื่อ: 24-09-2008, 02:18 »

วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2551

ชูสูตร "สภาองค์กรชุมชน" สร้างการเมืองใหม่
พธม.ปูดรบ.เล็งตั้ง"ส.ส.ร."แก้รธน.เพื่อหาทางลงทั้งสองฝ่าย


"บวรศักดิ์-ไพบูลย์" ชูสูตรสภาองค์กรชุมชน ช่วยสร้างการเมืองใหม่ เชื่อเป็นความหวังลดความขัดแย้งสังคม "ประเวศ" เตือนพันธมิตรอย่าหลงเข้าไปสู่กลไกและรูปแบบทางการเมือง จะเปลืองตัว สหภาพแรงงานทั่วโลกทำหนังสือถึงนายกฯ ให้เพิกถอนหมายจับแกนนำพันธมิตรในข้อหากบฏ "สุริยะใส"เผยรัฐบาลเล็งตั้ง ส.ส.ร.แก้รัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นทางลงสองฝ่าย แต่ยังหวั่นแค่เป็นเหยื่อล่อ

"ประเวศ"แนะพันธมิตรอยู่กับจุดแข็ง
 
ความคืบหน้าหลังกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เปิดประเด็นเรื่องการเมืองใหม่ ปรากฎว่ามีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมามากมาย เมื่อวันที่ 23 กันยายน นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส เขียนบทความเรื่อง "การเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งใหม่ที่ดี โอกาสอันยิ่งใหญ่ของประเทศไทย" โดยสรุปว่า การที่ขบวนการการเมืองภาคประชาชนเติบโตเข้มแข็งขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดจากวิกฤตการณ์สุดๆ ไม่มีทางไป และอีกส่วนหนึ่งเกิดจากมีคนอย่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และนายสมัคร สุนทรเวช ถ้าปราศจากคนอย่างทั้งสอง ขบวนการประชาชนก็จะไม่เติบโตอย่างนี้ การรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประชาชนจำนวนมากเกิดจากการมีเป้าหมายร่วม ประชาชนควรจะรวมตัว ร่วมคิด ร่วมทำในทุกพื้นที่ ในทุกองค์กร และในทุกเรื่อง เกิดเป็นประชาสังคมหรือสังคมเข้มแข็ง นั่นแหละคือประชาธิปไตยโดยสาระ ในขณะที่กลไกทางการเมืองอาจเป็นเพียงรูปแบบ
 
นพ.ประเวศ ยังเสนออีกว่า พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยควรจะอยู่กับจุดแข็งของพันธมิตร คือสร้างขบวนการมหาประชาชนเพื่อธรรมาธิปไตย-ประชาธิปไตยมากกว่าเข้าไปสู่กลไกและรูปแบบทางการเมือง ซึ่งจะเปลืองตัวและทำให้ตัวเองอ่อนแอลง ขบวนการมหาประชาชนเพื่อธรรมาธิปไตย-ประชาธิปไตย จะไปทำให้เกิดกลไกและรูปแบบทางการเมืองต้องปรับตัวไปสู่ประชาธิปไตยเอง ซึ่งการกระจายอำนาจไปอย่างทั่วถึง และทุกส่วนของสังคม จะปฏิสัมพันธ์ด้วยการเรียนรู้และตรวจสอบซึ่งกันและกัน แทนที่การใช้อำนาจจากบนลงล่างแบบแยกส่วนตายตัวซึ่งเป็นการเมืองแบบเก่า ประชาธิปไตยจะกลายเป็นวัฒนธรรมที่เข้ามาอยู่เหนือกลไกทางการเมือง

"โคทม"ข้องใจที่มาส.ส.การเมืองใหม่
 
ด้านนายโคทม อารียา ประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  กล่าวว่า ยังไม่เห็นด้วยกับกลุ่มพันธมิตร ที่จะให้เลือก ส.ส.มาจากสัดส่วนอาชีพ เพราะสังคมมีความหลากหลาย และตนมีคำถามว่า แม่บ้านจะจัดอยู่กลุ่มไหน เพราะคนเหล่านี้อาจจะเป็นกลุ่มใหญ่ อีกทั้งมีคำถามว่าเกษตรกรที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศจะให้เลือกตั้งแบบไหน และการเป็น ส.ส.ที่จะทำงานมีความสมบูรณ์จะต้องไม่คำนึงว่าตัวเองมีที่มาจากสาขาอาชีพใด แต่ควรคำนึงถึงประโยชน์ของคนส่วนรวม ไม่ใช่การเข้ามารักษาผลประโยชน์ของสาขาอาชีพนั้นๆ เช่นเดียวกับสมาชิกสภาที่ปรึกษาที่เข้ามาทำงานโดยไม่ได้รักษาผลประโยชน์ของอาชีพตัวเอง

"ไพบูลย์"แนะการเมืองใหม่เน้นชุมชน
 
อีกด้านหนึ่ง ที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน มีการประชุมผู้แทนสภาองค์กรชุมชนที่เป็นสมาชิกสภาพัฒนาการเมือง 76 จังหวัดและมีการเสวนาเรื่อง "สภาองค์กรชุมชนกับการพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง" โดยนายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม อดีตรองนายกรัฐมนตรีและประธานอนุกรรมการสนับสนุนสภาองค์กรชุมชน กล่าวว่า แม้ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตการณ์มาหลายครั้ง แต่ก็ยังอยู่ในขั้นตอนของการค้นหารูปแบบการเมืองที่ควรจะเป็น เช่น การเมืองใหม่ ซึ่งคำว่าใหม่โดยทั่วไปหมายถึงดีขึ้น แต่จะดีขึ้นอย่างไรคงต้องมีข้อคิดและทฤษฎีมากมายหลายสูตร แต่สูตรที่ยังไม่ค่อยมีการเสนอคือสิ่งที่ชุมชนทำกันอยู่แล้ว และเป็นการเมืองในความหมายกว้าง โดยมีการจัดการสังคม ชีวิตผสมผสานกันไป
 
นายไพบูลย์กล่าวว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันก็ยังไม่นำไปสู่การเมืองที่ปรารถนา เพราะรัฐธรรมนูญเป็นการกำหนดโครงสร้างกลไก แต่การเมืองมีมากกว่านั้น มีกระบวนการเงื่อนไข วัฒนธรรมและความคิดจิตใจที่ผันแปรป็นพลวัตรไม่หยุดนิ่ง หรืออยู่อย่างโดดๆ แต่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม การที่คำนึงถึงการเกาะเกี่ยวแต่รัฐธรรมนูญอย่างเดียวโดยไม่พัฒนาสังคมให้เท่าทันจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่มีการเรียกร้องหาการเมืองใหม่ ซึ่งยากประสบความสำเร็จหากคิดและทำการเมืองในความหมายแคบ หรือแก้ไขรัฐธรรมนูญเพียงอย่างเดียว

ปราชญ์อีสานเชื่อสภาชุมชนช่วยได้
 
นายสน รูปสูง ปราชญ์ชาวบ้านจากภาคอีสานและสมาชิกสภาองค์กรชุมชน การเมืองปัจจุบันเข้าขั้นสามานย์สุดแล้ว เพราะเงินไม่มากาไม่เป็น ที่ผ่านมามีความพยายามแก้ไขทุกวิถีทาง แต่ก็ยังแก้ไม่ได้ แถมการเมืองสกปรกยังทำให้ชาวบ้านแปดเปื้อนด้วย การเมืองในระบอบตัวแทนสกปรกมากจนไม่อาจเข้าไปร่วมได้ สภาองค์กรชุมชนนี้เป็นสภาแห่งการเรียนรู้ด้วยการปฎิบัติจริง เพื่อเข้าไปร่วมจัดการกับท้องถิ่นระดับจังหวัดและระดับชาติ สภาแห่งนี้จะช่วยปลดปล่อยจิตสำนึกและทะลายคุกขัง เพื่อให้เกิดการเมืองภาคประชาชนที่แท้จริง สภาองค์กรชุมชนต้องไม่เป็นกับดักทางการเมือง และอย่าสร้างคุกใหม่  คนที่เกี่ยวข้องต้องเคารพชุมชนแท้จริง อย่าเริ่มต้นด้วยความปรารภนาดีและด้วยความบริสุทธิ์แต่โง่
 
นายสุจิตต์ บุญบงการ ประธานศูนย์พัฒนาการเมืองสถาบันพระปกเกล้าและอดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า การเมืองที่ผ่านมาเป็นการเมืองระดับบนที่มีการแย่งชิงและยึดอำนาจกลับไปกลับมา และเป็นการแข่งขันกันระหว่างพรรคการเมือง ที่ผ่านมาพยายามปรับปรุงแก้ไขกันมาตลอดทั้งรัฐธรรมนูญ คุณสมบัติของผู้บริหาร แต่การเมืองก็ยังวนเวียนอยู่อย่างนี้ จึงคิดว่าการเมืองระดับล่างมีความสำคัญ ต้องทำให้ชุมชนเข้มแข็ง การประสานงานในแนวราบมีความจำเป็น
 
น.พ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ อดีตส.ว.อุบลราชธานี กล่าวว่า การเมืองภาคพลเมืองคือตัวจริงของการเมืองใหม่ ไม่เช่นนั้นจะถูกสถานการณ์ดึงให้ไข้วเขว เพราะที่ผ่านมาระบบการเมืองของนักการเมืองกระทบต่อการเมืองภาคพลเมือง แต่การเมืองต้องแสดงให้เห็นว่าต้องเปลี่ยนความขัดแย้งที่แก่งแย่งอำนาจเป็นความร่วมมือทางสังคม ซึ่งไม่ใช่ทางสายกลาง แต่เป็นเรื่องประโยชน์ของสาธารณะ โดยต้องลดอำนาจรัฐ และเพิ่มอำนาจการต่อรองภาคประชาชนให้ได้
 
"บวรศักดิ์"ชี้สภาชุมชนเป็นความหวัง
 
นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสภาพัฒนาการเมือง กล่าวว่า สภาองค์กรชุมชนและสภาพัฒนาการเมืองน่าจะเป็นความหวังของบ้านเมือง และความขัดแย้งของสองกลุ่ม  การเมืองใหม่มีความหมายต้องเอาชุมชนเป็นหลัก ไม่ใช่เอาผู้แทนราษฎรเป็นหลักอย่างในอดีต เป้าหมายที่คิดไว้ในการทำงานของสภาพัฒนาการเมืองในช่วง 3 ปีนี้คือ เน้นสำนึกความเป็นพลเมืองในกิจการของชุมชนและส่วนร่วมที่เหมาะสมของประชาชนในระดับต่างๆ และเมื่อสภาแห่งนี้ไม่มีอำนาจบังคับใครเลยจึงต้องอาศัยความร่วมมือ โดยต้องสร้างความร่วมมือจากทุกภาคส่วน นอกจากนี้จะสร้างความเชื่อถือและการยอมรับให้เกิดขึ้น สถานการณ์ยามนี้แทบไม่มีความหวังหรือแสงสว่างเลย แต่หากสภาองค์กรชุมชนชุดนี้จุดประกายไฟก็จะทำให้เป็นที่พึ่งของประชาชนที่แท้จริง

นายสุริชัย หวันแก้ว ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า หลายฝ่ายเรียกร้องว่าทำอย่างไรให้ความขัดแย้งในปัจจุบันจบเสียที แต่ไม่ว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดชนะก็ยังต้องเจอโจทย์ร่วมกันในเรื่องความศรัทธาประชาธิปไตย  การเมืองไหม่คงเป็นไปไม่ได้ หากไม่เอาเรื่องของชุมชนไปถก ถ้ามัวแต่ถกว่าสัดส่วนใครมาจากไหนกี่เปอร์เซ็น ถ้าใช้วิกฤตครั้งนี้เป็นโอกาสเรียกร้องร่วมกันทางสังคมได้ก็จะเป็นเรื่องดี

พันธมิตรเปิดรับไอเดียการเมืองใหม่
 
วันเดียวกัน ที่ห้องผู้สื่อข่าวทำเนียบรัฐบาล พล.ต.จำลอง ศรีเมือง นายสมศักดิ์  โกศัยสุข และนายพิภพ ธงไชย แกนนำกลุ่มพันธมิตร ร่วมกันแถลงข่าว โดยพล.ต.จำลอง กล่าวว่า ในวันที่ 27 กันยายนพันธมิตรฯ จะประชุมสัมมนาเรื่องการเมืองใหม่ ครั้งที่ 2 เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายร่วมกันเสนอแนะข้อคิดเห็นต่างๆ เกี่ยวกับรูปแบบการเมืองใหม่ว่าควรจะเป็นลักษณะใด ก่อนที่จะนำข้อมูลทั้งหมดเสนอข้ให้สาธารณชนพิจารณาตัดสินใจอีกครั้ง ซึ่งช่วง 1-2 วันที่ผ่านมา มีตัวแทนประชาชนหลายภาคส่วนเสนอแนวคิดเรื่องการเมืองใหม่มาให้แกนนำพันธมิตร อาทิ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กลุ่มแท็กซี่ ทั้งนี้พันธมิตรเปิดรับข้อเสนอจากทุกฝ่าย ไม่มีการปิดกั้น
 
"ล่าสุด มีนักธุรกิจรายหนึ่งเสนอแนวคิดที่น่าสนใจมาก โดยเฉพาะประเด็นเรื่องพรรคการเมืองว่าควรจะมีหรือไม่ หรือถ้ามีแล้วควรเป็นอย่างใด ผมจึงเสนอให้นำประเด็นเรื่องพรรคการเมืองบรรจุในวาระการสัมมนาในวันที่ 27 กันยายนนี้ด้วย และทำหนังสือเชิญนักธุรกิจรายนี้มาร่วมสัมมนาด้วย แต่ยังไม่ขอเปิดเผยนักธุรกิจคนดังกล่าวในขณะนี้ ส่วนจะเชิญตัวแทนพรรคการเมืองมาร่วมสัมมนาด้วยหรือไม่ ยังบอกไม่ได้" พล.ต.จำลอง กล่าว

"จำลอง"ยันไม่คิดตั้งพรรคการเมือง
 
ผู้สื่อข่าวถามว่า กลุ่มพันธมิตรฯมีแนวคิดจะตั้งพรรคการเมืองของตนเองหรือไม่ พล.ต.จำลอง กล่าวว่า "พันธมิตร ไม่มีแนวคิดเรื่องนี้แน่นอน เพราะพรรคการเมืองไม่ใช่เป้าหมายของเรา และถ้าจะมีใครทำ ผมจะขอถอนตัวทันที"
 
พล.ต.จำลอง กล่าวถึงกรณีที่ผู้ชุมนุมในทำเนียบรัฐบาลมีจำนวนลดลงอย่างมาก ในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมาว่า เป็นเรื่องปกติ เพราะคนที่มาชุมนุมมาด้วยใจ ไม่ได้รับค่าจ้าง และทุกคนก็มีหน้าที่ประจำวันที่จะต้องไปทำ แต่เชื่อว่าถ้ามีเหตุการณ์อะไร หรือมีการเคลื่อนขบวนดาวกระจายไปที่ไหน ผู้ชุมนุมก็จะมาร่วมตัวกันมากเหมือนเดิม
 
"เป้าหมายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรยังเหมือนเดิม คือคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และขับไล่รัฐบาลพรรคพลังประชาชน เราไม่เคยเปลี่ยนจุดยื่น เพราะเป็นเงื่อนไขสำคัญของการทำสงคราม ดังนั้น จึงบอกไม่ได้ว่าเราจะชุมนุมกันต่อไปอีกนานแค่ไหน" พล.ต.จำลอง กล่าว
 
นายสมศักดิ์กล่าวถึงการคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่ ว่า เหมือนกับฝนตกขี้หมูไหล เพราะไม่ว่าใครจะเข้ามานั่งรัฐมนตรีอะไร ก็ไม่มีความหมาย เพราะรัฐบาลชุดนี้ หมดความชอบธรรมในการบริหารประเทศไปนานแล้ว ตั้งแต่กรณีเขาพระวิหารแล้ว ซึ่งเรื่องนี้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีก็มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย

นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มพันธมิตร ให้สัมภาษณ์ว่า ทราบมาว่ารัฐบาลเตรียมเสนอให้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) เพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อหาทางลงให้กับความขัดแย้งในขณะนี้ แต่ยังไม่ทราบรายละเอียด หากรัฐบาลตั้ง ส.ส.ร.จริง จะมีวาระซ่อนเร้นของพรรคพลังประชาชนหรือไม่ คิดว่าอาจเป็นเหยื่อล่อปลาก็ได้

สหภาพแรงงานโลกจี้ถอนหมายจับกบฏ

นายเดวิด คอครอฟท์ เลขาธิกาสหพันธ์แรงงานขนส่งระหว่างประเทศ และองค์กรสมาชิก 654 สหภาพแรงงานทั่วโลกยื่นหนังสือถึงนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี เพื่อแสดงความกังวลถึงกรณีการออกหมายจับแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งรวมถึงนายสมศักดิ์ โกศัยสุข รองประธานสาขาแรงงานรถไฟภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิค สหพันธ์แรงงานขนส่งระหว่างประเทศ(ITF) และมีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการประสานงานสหพันธ์แรงงานขนส่งระหว่างประเทศแห่งประเทศไทย (ITF-THAI)  โดยนายสมศักดิ์ และแกนนำอีก 8 คนถูกตั้งข้อหาว่าเป็นกบฏ ทำการสมรู้ร่วมคิดกันบ่อนทำลาย ดำเนินการชุมนุมอย่างผิดกฎหมาย และปฏิเสธที่จะแยกย้ายสลายการชุมนุมที่สืบเนื่องจากการดำเนินกิจกรรมที่ทางสากลถือว่าเป็นเสรีภาพในการแสดงออก  สหภาพแรงงานมีสิทธิที่จะแสดงออกถึงความคิดเห็นทางการเมือง ซึ่งเป็นสิทธิที่ได้รับการยอมรับและรับรองในระดับสากล การออกหมายจับผู้นำสหภาพแรงงานและการตั้งข้อหาดังกล่าวนี้ อาจจะทำให้ประชาคมโลกมองได้ว่าประเทศไทยได้ทำการละเมิดสิทธิแรงงานขั้นพื้นฐาน (violation of fundamental trade union rights)

หนังสือระบุด้วยว่าสหพันธ์แรงงานขนส่งระหว่างประเทศเข้าใจว่าข้อกล่าวหาการเป็นกบฏทางกฎหมายเทียบเท่าได้กับการขายชาติ ซึ่งมีโทษสูงสุดคือประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต ซึ่งเชื่อว่าข้อกล่าวหาว่าขายชาติ สำหรับการดำเนินกิจกรรมปกติตามวิถีทางแห่งประชาธิปไตยนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้โดยสิ้นเชิง ในนามของแรงงานภาคขนส่ง 4,500,000 คนทั่วโลก ขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีที่เพิ่งได้รับการเลือกตั้งขึ้นมาใหม่นั้น ดำเนินการถอนหมายจับดังกล่าวและจัดให้มีการพูดคุยร่วมกับสหภาพแรงงานในประเทศไทยเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธี

พธม.ใต้จัดเสวนา "การเมืองใหม่"

นายสุนทร รักษ์รงค์ แกนนำพันธมิตรฯชุมพร และผู้ประสานงานพันธมิตรฯ 14 จังหวัดภาคใต้ เปิดเผยว่า พันธมิตรฯ ภาคใต้ กำหนดจัดการประชุมเสวนาในหัวข้อ "การเมืองใหม่ ประชาภิวัฒน์...ทางออกของประเทศไทย" ในวันที่ 25 กันยายนนี้ เวลา 12.00 น. ณ สวนอาหารปูเล ถนนกรมหลวงชุมพร ซอย 5 อ.เมือง จ.ชุมพร โดยจะมีแกนนำพันธมิตรฯจาก 14 จังหวัดในภาคใต้ เข้าร่วมประชุมเสวนา จากนั้นเวลา 16.00 น.พันธมิตรฯ ชุมพร จะจัดเวทีการเมืองภาคประชาชนจังหวัดชุมพร ครั้งที่ 2 บริเวณลานอเนกประสงค์ หน้าสถานีรถไฟชุมพร
บันทึกการเข้า

jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #1 เมื่อ: 24-09-2008, 05:02 »

รายชื่อสมาชิกสภาพัฒนาการเมืองทั้ง 120 รายครับ
แก้ไขตัวสะกดตามประกาศแก้ไขล่าสุด 15/09/2551 

----------------------------------------------------------------

สมาชิกซึ่งมาจากผู้แทนองค์กรภาคประชาสังคม จังหวัดละ 1 คน
1. นางคนึงนิตย์ อายุมั่น
2. ส.อ.เฉลิม ถาน้อย
3. นายสามารถ พุทธา
4. นายพงษ์ศักดิ์ ทองอยู่
5. นายอำนวย พลหล้า
6. นายสำเริง แก้วเทพ
7. นายประยูร เผ่าเต็ม
8. นายประนอม เชิมชัยภูมิ
9. นายประยูรณ์ ศิริน้อย
10. นายหนูเวียง นวลพุ่ม
11. นายวิทยา ศรีวงศ์สืบ
12. นายเฉลิมรัตน์ เกษรสกุล
13. นายมะลิ ทองคำปลิว
14. ส.ต.ศุภกร วุฒิพันธ์
15. นายเสถียร เม่นบางผึ้ง
16. นายประยุทธ ชุ่มนาเสียว
17. นายชาติวัฒน์ ร่วมสุข
18. นายผดุงศักดิ์ ปะวะกุล
19. นายอุดม บัวเกษ
20. นายสันทนา ธรรมสโรจน์
21. นายเริ่ม สานุสนต์
22. นายสมศรี ทองหล่อ
23. นายศรายุทธ อันทะไชย์
24. นายสุพจน์ อัคพราหมณ์
25. นายสน รูปสูง
26. นายประทีป พลมณี
27. นายกฤษณะเดช โสสุทธิ
28. นายสมบูรณ์ จันทร์ชมภู
29. นายไพรพนม พลยศ
30. นายกุล พิมดี
31. นายสิงห์ อุปพงษ์
32. นายนิพนธ์ เศวตะดุล
33. นายสุรพร ชัยชาญ
34. นายนีณวัฒน์ เคนโยธา
35. นายวิภาศศิ ช้างทอง
36. นายสุรินทร์ นิลเลิศ
37. นายสิทธิวัชร์ สุขล้อมธนิต
38. นายวิกิจ แก้วจิตคงทอง
39. นายสุเทพ บุญส่ง
40. นายประสิทธิ์ ช้างแก้ว
41. นายธานินทร์ แสงวิภาสนภาพร
42. นายบุญเรือง ปาแสนกุล
43. นายศิวกรวิศิาฎ์ อ่วมป่วน
44. นายนิคม อู่อ่อน
45. นายสมภร ทัพนาค
46. นายวัชรินทร์ จันทร์เดช
47. นายทิสาปาโมกข์ ปรึกษากิ่ง
48. นายนิมิต โต๋วสัจจา
49. นายวิเชียร วงษ์วรรณรัตน์
50. นายสมศักดิ์ จิตรเอื้อตระกูล
51. นายชาติชาย เหลืองเจริญ
52. นายสุนทร กิตติสุนทโรภาศ
53. นายทองสุข สีลิด
54. นายวีระ จงไพศาล
55. นายอนุศิษฏ์ ธำรงรัตนศิลป์
56. นายชาญศักดิ์ บุญเรือง
57. นายวิทยา ปิยะพงษ์
58. นายสายันต์ ไหมพิมพ์
59. นายสมคิด เรื่องอร่าม
60. นายวงษ์ ก่อเกิดบุญ
61. นายวีระพรรณ พรมบุตร
62. นายสุรศักดิ์ อินทรประสิทธิ์
63. นายจินดา บุญจันทร์
64. นายมณเฑียร ธรรมวัติ
65. นายลำยอง บุญลพ
66. นายอุส่าห์ ดวงจันทร์
67. นายประพาส บัวแก้ว
68. นายโกศล พรหมช่วย
69. นางอริยา แก้วสามดวง
70. นายสมยศ ถิ่นปกาสัย
71. นายประยูร จงไกรจักร
72. นายโชคชัย ชีวเจริญกุล
73. นายสายัณห์ ศรีน้อย
74. นายยะโกะ เบ็ญมะเซ็ง
75. นายนิมาโซ นิยอ
76. นายธรณินทร์ แวดอเลาะ


สมาชิกจากผู้แทนองค์กรภาคประชาสังคม
1. นายกนก โตสุรัตน์
2. พ.ท. พญ.กมลพรรณ ชีวพันธุศรี
3. นายกองสิน แรงดี
4. พล.ต.ต.จำรูญ เด่นอุดม
5. ดร.นรินทร์ กรินชัย
6. พญ.ประคอง วิทยาศัย
7. นางประพีร์พรรณ ภาณวะวัฒน์
8. นายไพโรจน์ พรหมสาส์น
9. ศ.พิเศษ  ดร.ยุวัฒน์ วุฒิเมธี
10. นางเรวดี ประเสริฐเจริญสุข
11. น.ส.ลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์
12. น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย
13. นายวีระ สมความคิด
14. นายสมเกียรติ รอดเจริญ
15. นายสวิง ตันอุด
16. รศ.อำไพ อินทรประเสริฐ


สมาชิกผู้ซึ่งมีความรู้และประสบการณ์ด้านการพัฒนาประชาธิปไตยเพื่อประชาชน
1. นางเดือนฉาย คอมันตร์
2. ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์
3. ศ.ดร.สุจิต บุญบงการ


สมาชิกผู้ทรงคุณวุฒิด้านความมั่นคง
1. พล.ต.นิวัติ บูรณะกุล

สมาชิกผู้ทรงคุณวุฒิจากบัญชีรายชื่อที่เสนอโดยสถาบันอุดมศึกษา
1. รศ.ดร.ดารณี อุทัยรัตนกิจ
2. รศ.ดร.บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ
3. รศ.ดร.ปธาน สุวรรณมงคล
4. รศ.ดร.พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์
5. รศ.แล ดิลกวิทยรัตน์
6. รศ.ดร.อุไรวรรณ ธนสถิตย์


สมาชิกซึ่งมาจากหัวหน้าพรรคการเมืองหรือผู้แทนหัวหน้าพรรคการเมืองซึ่งมีสมาชิกเป็น ส.ส.
1. นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ พรรคพลังประชาชน
2. นายพิเชฐ พัฒนโชติ พรรคประชาธิปัตย์
3. นายนิกร จำนง พรรคชาติไทย
4. นายสุรชาติ เทียนทอง พรรคประชาราช
5. ดร.อาคม ตุลาดิลก
6. นายธนพร ศรียากูร พรรคมัชฌิมาธิปไตย
7. นายเฉลิมชัย ตันติวงศ์ พรรคเพื่อแผ่นดิน


สมาชิกซึ่งมาจากหัวหน้าพรรคการเมืองหรือผู้แทนหัวหน้าพรรคการเมืองซึ่งไม่มีสมาชิกเป็น ส.ส.
1. ดร.โชคชัย สุทธาเวศ
2. นายอัคคชา พรหมสูตร


สมาชิกจากตัวแทนวุฒิสภา
1. นายนิคม ไวรัชพานิช
2. นายไพบูลย์ ขำศิริพงษ์


สมาชิกโดยตำแหน่ง
1. นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต.
2. ศ.ศรีราชา เจริญพานิช เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
3. นายศราวุธ เมนะเศวต เลขาธิการ ปปช.
4. นางอริณญา สูตรสุคนธ์ เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
5. น.ส.พรรณราย ขันธกิจ เลขาธิการสภาที่ปรึกษาเศรษกิจและสังคมแห่งชาติ
6. น.ส.สมสุข บุญญะบัญชา ผอ.สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
7. ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24-09-2008, 05:09 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 24-09-2008, 13:01 »

สภาองค์กรชุมชน ซึ่งเป็นผลมาจากการเสนอกฎหมายของรัฐบาลขิงแก่ ควรเร่งทำงานให้ปรากฎ

แนวทางของขิงแก่ คือแนวทางที่เป็นจริงได้ เพราะเป็นกิจกรรมที่มีพื้นฐานมาจากประชาชนที่มาจากแนวคิดชุมชนเข้มแข็ง

ซึ่งเป็น "ประชาธิปไตยฐานราก" อย่างแท้จริง

แต่ต้องอาศัยเงื่อนเวลาทำกิจกรรมในพื้นที่ให้มากยิ่งขึ้น เปิดเวทีสภาองค์กรชุมชนให้มากขึ้น

ในขณะที่พันธมิตร ก็ต้องยื่นมือมาประสาน ให้เติบโตเป็นแนวร่วมอย่างสร้างสรรค์

วิทยากรที่อยู่บนเวทีพันธมิตร แบบ พิเชฐ พัฒนโชติ  หรือ วีระ สมความคิด ลองเสนอในที่ประชุมแกนนำดูบ้างซีครับ

คนเรามีหมวกหลายใบ ก็น่าจะลองหันกลับมาดูอีกแนวทาง ที่เดินไปอย่างมั่นคงเพราะกลั่นออกมาจากการตกผลึกของสังคมมายาวนาน

ควรใช้ทุกองค์กร ที่มีเป้าหมายร่วมกัน อย่างมีศักดิ์ศรี

ถ้าเอาดีคนเดียว คงไปไม่รอดครับ
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
    กระโดดไป: