ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
23-01-2025, 10:53
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ข่าวBBCชิ้นนี้น่าสนใจ...สะท้อนอะไรหลายอย่าง...ปชตไทยล้มเหลวหรือไม่ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ข่าวBBCชิ้นนี้น่าสนใจ...สะท้อนอะไรหลายอย่าง...ปชตไทยล้มเหลวหรือไม่  (อ่าน 2081 ครั้ง)
istyle
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 853



« เมื่อ: 29-06-2006, 08:30 »

    อย่างที่ได้ทราบกันดีว่ากษัตริย์แห่งภูฐานได้วางแผนที่จะสละราชสมบัติและเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยให้แก่ประเทศภูฐาน


Will Bhutan be 'happy' as a democracy? 
   By Robin Lustig http://news.bbc.co.uk/2/hi/south_asia/5001222.stm
BBC News, Tempakha village, western Bhutan 


 
In Bhutan gross national happiness is more important than GDP
It is an auspicious day in western Bhutan's Tempakha village.
Mrs Lem, one of the villagers, is having her new home blessed by Buddhist monks, and her neighbours have come to help her celebrate.

Tempakha is a happy place: its people are farmers, and they lead a good, if simple, life.

Within the next few weeks, they'll be connected to the electricity grid; there are plans to build a local school, and there is even talk of building a road to connect them to the one that runs along the valley below them.

Talk to the villagers of Tempakha about the Bhutanese government's policy of preferring gross national happiness to gross domestic product (GDP), and they are all in favour.

If the government wants them to be happy, that's fine by them.

The land is fertile, and they can grow two rice crops a year, plus chillies, tomatoes, beans and aubergines.

Bhutan is an anachronism in a world now dominated by economic globalisation.


Seductive modernisation


King Jigme Singye Wangchuck has absolute power, and it was his idea that the way for his country to develop was not to go all out for economic growth.


 
Sangay like many other youngsters are seduced by modernisation

In line with Buddhist teaching he says true happiness, both individual and national, is more than mere material wealth.

So tourism is restricted to those who can afford to pay a minimum of $200 per day.

Industrialisation is strictly limited; the forests are safeguarded and only a small amount of timber is felled each year.

Sustainable development, environmental protection, and the preservation of Bhutan's unique culture are the ingredients, he says, that go to make up gross national happiness.

But talk to young Bhutanese in the capital, Thimphu. Since TV was finally allowed seven years ago, they have learned rapidly what life is like in other countries.

A wrestling channel became so popular that it was taken off air. Likewise American music channels.

Sangay Kandu, who is 18 and in his final year at school, tells me television has made a big impact.

"We see all the commercials on TV and of course it's tempting to say we want to have all the latest products."

The vice-principal at Yangchengphug High School, Pema Wangdi, says modernisation has brought huge benefits to Bhutan - many of her students, she says, are much happier than their parents were at their age.

But some are also dissatisfied when they compare their lives with those they see portrayed on TV.

For Buddhist teachers, like the young lama Drupa Rimpoche, who is said to be the reincarnation of an earlier lama, happiness means inner happiness, a refusal to be seduced by the joys of a luxury limousine or a brand new television set.


Bold experiment


For the king, living in the modern world means accepting both the good and the bad from outside Bhutan: not only TV, but mobile phones and the internet.


 
Many villagers do not want the king to abdicate

His faith is that the Bhutanese will take what is good and turn away from what is bad.

And in two years' time, he will hand over his powers to them. A new constitution has been drawn up, turning Bhutan into a constitutional monarchy, in which a directly-elected parliament will be granted full powers.

The king will abdicate in favour of his son, the Crown Prince - all future kings will, under the constitution, have to abdicate when they reach their 65th birthday.

So are Bhutan's 630,000 people ready for democracy? The minister for home and cultural affairs, Lyonpo Jigme Thinley, says they're being well prepared.

There are already elections at the local level, and the king and Crown Prince have been touring the country to prepare their people for the change.

But back in the village of Tempakha, on the slopes above the fast-flowing River Phochu, carpenter Thinley, who sits on the village committee, tells me that at their last meeting, they decided to ask the king not to hand over his powers.

"I'm sure the Crown Prince will do well," he says. "But we'd be happier if the king would stay on for a few more years."

The people of this tiny kingdom, perched high in the Himalayas between India and Tibet, hope they can have the best of both worlds: retaining their Buddhist traditions but adopting modern technology - and democracy - at the same time.

They know it is a bold experiment - and they know there's a risk it could fail.


.... ครับ ทีนี้เราลองมองย้อนกลับไปเมื่อ 74 ปีที่แล้ว ถนน74ปีแห่งประชาธิปไตยไทย โรยด้วยกลีบกุหลาบหรือ? จะเห็นว่าการเมืองของไทยหลังจากนั้นมาเต็มไปด้วยกลิ่น

อายแห่งเผด็จการ เต็มไปด้วยการปฎิวัติ จนทำให้เกิดการนองเลือดมาแล้วหลายครา บ้านเมืองของเรา...ได้บรรลุพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

แล้วหรือไม่? ดังพระราชดำรัสนี้

"เราต้องเรียนรู้และทดลองเพื่อที่จะมีความคิดว่า ระบอบการ
ปกครองแบบรัฐสภาจะเป็นไปได้อย่างไรในสยาม เขาต้องพยายามให้

การศึกษาแก่ประชาชนให้มีความสำนึกทางการเมือง ถ้าเราจะต้อง

มีรัฐสภา เราต้องสอนประชาชนว่าจะออกเสียงอย่างไร และจะเลือก

ผู้แทนอย่างไร ที่จะมีจิตใจฝักใฝ่กับผลประโยชน์ของพวกเขาอย่างแท้จริง
"

ดำริของท่าน ไม่มีความล้าสมัยเลย...  แม้แต่บัดนี้ ประชาธิปไตยก็ยังมิได้สอนให้ประชาชนออกเสียงอย่างไร...และเลือกผู้แทนอย่างไร ให้มีจิตใจฝักใฝ่กับผลประโยชน์ของพวกเขาอย่างแท้จริง

74ปี ... ถ้านับเป็ีนมนุษย์ก็เข้าสู่วัยชรา... ทำไมถึงได้เกิดความผิดพลาดซ้ำแล้วซ้ำเล่า... คณะราษฎร์ทำผิดพลาดหรือไม่? สมัยนั้นเมืองสยามพร้อมแล้วหรือ ทั้งในด้านระบบ

ด้านบุคคล และด้านความรู้ความเข้าใจของประชาชนซึ่งสำคัญที่สุดของระบบนี้

อย่าลืมนะครับว่า ประชาธิปไตยนั้นคู่กับทุนนิิยมเสมอ ทั้งนี้ ไม่ได้ว่าประชาธิปไตยและทุนนิยมเป็นสิ่งชั่วร้าย แต่

อยากจะเรียนถามว่า ทำไมเราจึงได้คนชั่วมาปกครองบ้านเมือง? ทำไมคนดีถึงไม่มีอำนาจ .. ทำไปถึงไปยึดอำนาจจากคนดีที่มองเห็นไปให้แก่คนดีที่ยังเป็นแค่เงาลางๆล่ะ..

ผมอดไม่ได้ที่จะตำหนิ..ไม่สิ ประนาม ผมขอประณามคณะราษฎร์
บันทึกการเข้า
100600
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 553



« ตอบ #1 เมื่อ: 29-06-2006, 09:00 »

ลีกวนยูก็วิจารณ์ไทย


ลีกวนยูวิจารณ์ไทยเจ็บปวดม๊าก ... ประชาธิปไตยไทยยิ่งกว่าอิรัก

ลีกวนยูวิจารณ์ไทยเจ็บปวดม๊าก เสียหน้ากันทั้งประเทศเลย เพราะไอ้หน้าเหลี่ยมคนเดียวแท้ๆๆๆๆ
-  ประชาธิปไตยไทยยิ่งกว่าอิรัก
- ตั้งข้อหาทักษิณอย่างเป็นทางการ แล้วนำไปสู่การพิจารณาตามขบวนการประชาธิปไตย



แม้ความเจ็บปวดเหมือนกรวดทราย ถมทิ้งลงไปแม่โขงทั้งสายคงกลายเขินตื้น ... โฮ่โฮ่โฮ่

นึกถึงเพลงของคุณยายรุ่งฤดี แพ่งผ่องใส ขึ้นมาแป๊บบบบบ
แต่ไปค้นกูเกิ้ลแล้ว เจอที่มีคำร้องก็แต่เวอร์ชั่นของคุณป้าดาวใจ ไพจิตร http://members.thai.net/doajai/A777.htm


เอาความขมขื่นไปทิ้งแม่โขง ให้มันไหลลงไหลลง ไหลลง ไหล ลงทะเล เบื่อ ความรักจากคนร้อยเล่ห์ เล่ห์ลวงลึกกว่าทะเล สุดคาดคะเน สุดนับคณา เอาความทุกข์ยากฝากธาราใส ให้มันไหลไป ไหลไปไหลไปมิให้ หวนมาช่วย กลบฝังความหลังของข้า บทเรียนรักด้วยน้ำตา แม่โขงเจ้าขา ช่วยกลบช่วยกลืน แม้ความเจ็บปวด เหมือนกรวดทราย ถมทิ้งลงไปแม่โขงทั้งสายคงกลายเขินตื้น ถ้าความเจ็บช้ำ เป็นน้ำก็คงท่วมพื้น รสชาติบาดแผลขมขื่น  แม่โขงช่วยกลืน ให้ไกลแสนไกล เอาความขมขื่นไปทิ้งแม่โขง ให้มันไหลลงไหลลง ไหลลงไหล ลงลับไป โอ้ แม่โขงที่โค้งคดไกลเปรียบยังมิเท่าน้ำใจ คดเคี้ยวเชี่ยวไหล กว่าลำโขงเอย เอาความขมขื่นไปทิ้งแม่โขง ให้มันไหลลงไหลลงไหลลง ไหลลง ลับไป โอ้ แม่โขงที่โค้งคดไกลเปรียบยังมิเท่าน้ำใจ คดเคี้ยวเชี่ยวไหล กว่าลำโขงเอย... 
บันทึกการเข้า

100600
istyle
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 853



« ตอบ #2 เมื่อ: 29-06-2006, 09:03 »

http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01pra01260649&day=2006/06/26
บันทึกการเข้า
In The Name Of Justice.
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 952


-_-;


« ตอบ #3 เมื่อ: 29-06-2006, 09:51 »

คณะราษฏ์ คือพวกที่มีการศึกษาแนวหัวรุนแรง แล้วก็อยากอวดภูมิปัญญาตนเอง

ทั้งที่ประเทศไทยอยู่ในขั้นเตรียมตัวที่จะเป็นประชาธิปไตยแท้ๆ แต่กลับทำการใหญ่ซะก่อน

รากฐานประชาธิปไตยของไทยเลยเป็นแบบกระท่อนกระแท่นมาตลอด

ทำไมเมื่อก่อนถึงมีแต่ พลเอก หรือพวกมียศทางทหารขึ้นมาเป็นนายก?

ประชาธิปไตยของไทยถูกปกครองด้วย อำนาจ และอิทธิพลใช่หรือไม่?

ถึงตอนนี้จะเริ่มหมดยุคของพวกทหารแล้วก็เถอะ แต่เราก็ยังต้องเจอกับ ประชาธิปไตย ครึ่งใบอยู่ดี
บันทึกการเข้า

"มนุษย์มักต้องการในสิ่งที่ตนเองไม่มี..."

"I Fight In The Name Of Justice."
stromman
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 526



« ตอบ #4 เมื่อ: 29-06-2006, 09:52 »

แล้วลีกวนยุมา เสือ..... อะไรด้วยอะ เดี๊ย ยิงทิ้งซะนี่
บันทึกการเข้า
แอ่นแอ๊น
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,591


"Angela Gheorghiu" My goddess


เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 29-06-2006, 11:30 »

โดยความเห็นส่วนตัว เชื่อว่า คณะราษฎร์ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เป็นเจตนาดี แต่ลืมนึกถึงบริบทของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศว่า มีความพร้อมมากน้อยแค่ไหน มีความเข้าใจกับประชาธิปไตยแค่ไหน เพราะเป็นฝ่ายที่ถูกปกครองมาโดยตลอด การวางรากฐานความรู้ความเข้าใจจึงยังไม่พร้อมมากพอที่จะเปลี่ยนแปลง จนเกิดการแทรกแซงขบวนการประชาธิปไตยมาตลอด อันเป็นเหตุให้เกิดโศกนาฏกรรมทางการเมืองหลายครั้ง (บางคนก็โทษไปถึงว่า เป็นเพราะบาปกรรมที่คณะราษฎร์ทำผิดฟ้า ผิดดิน ทำให้ประชาชนรับเคราะห์ แต่ถ้าวิเคราะห์ตามเหตุ ตรรกะ ก็มีที่มาที่ไปอยู่บ้าง)

ส่วนตัวอีกเหมือนกัน คิดว่าตรงนี้เป็นจุดเปลี่ยนผ่านการเมืองที่สำคัญมากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย เพราะภาคประชาชนมีความเข้มแข็งอย่างเห็นได้ชัด และมีอำนาจต่อรองทางการเมืองอย่างเป็นเหตุเป็นผล (ที่ผ่านมาก็มี แต่เคยมีใครเข้าใจบทบาทของสมัชชาคนจนมากแค่ไหน นอกจากคำว่าม๊อบป่วนเมืองมาขอล้างหนี้) อีกจุดหนึ่งที่คิดว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญมากที่สุดของรูปแบบทางการเมือง คือ การบอยคอตของฝ่ายค้าน บางแง่มุมอาจจะมองว่าเป็นการเล่นการเมืองเพื่อชิงดีชิงเด่น ให้ได้มาซึ่งอำนาจ แต่อย่าลืมว่า ฉากหลังจากนั้น เจตนาส่วนหนึ่งคือ การไม่ยอมรับอำนาจรัฐแบบผิดๆ เป็นการต่อสู้อีกรูปแบบหนึ่งซึ่งจะเปลี่ยนโฉมนักการเมืองไทยในอีก 10 ปีข้างหน้า (ถ้าอยู่ต่อได้ดู และรอยต่อตรงนี้ทำให้สามารถหลุดจากวังวนแห่งความชั่วร้ายนี้ไปได้)

บทบาททั้งสองส่วน (ส่วนตัว) คิดว่ามีส่วนเสริมกันอย่างมีนัยสำคัญ จนทำให้เป็นเป้าโจมตีว่า เป็นทฤษฎีสมคบคิด แต่ถ้ามองภาพรวมทั้งหมดแล้ว ตัดอคติอันมีมาแต่อดีต มองถึ่งเหตุผลของการกระทำแต่ละบุคคล หรือกลุ่มบุคคล จะเห็นนัยที่แทรกอยู่ในนั้นหลายๆ อย่าง

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ ในอีก 10 ปีข้างหน้า (ถ้ายังจำได้) จะลองมองย้อนกลับมาว่า รูปแบบการเมืองของเรา หลุดพ้นจะตรงนี้ไปได้หรือไม่ เป็นพัฒนาการทางการเมืองที่สำคัญมากๆ อยากจะให้ทุกคนจับตามอง

เรามีนัดกัน วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2559  Wink
บันทึกการเข้า

       

"เมื่อเจตนาเบี่ยงเบนไปจากความจริง การนำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง บางทีก็เป็นเพียงภาษาสุภาพสำหรับการพูดเท็จนั่นเอง" : วิถีแห่งปราชญ์ พิมพ์ครั้งที่ ๗ หน้า ๒๐๖
แอ่นแอ๊น
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,591


"Angela Gheorghiu" My goddess


เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 29-06-2006, 11:32 »

ลืมบอกไป แนะนำให้ฟังเพลง 2548 ของคุณหงาคาราวานค่ะ ฟังแล้ว ได้แรงบันดาลใจหลายๆ อย่าง
บันทึกการเข้า

       

"เมื่อเจตนาเบี่ยงเบนไปจากความจริง การนำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง บางทีก็เป็นเพียงภาษาสุภาพสำหรับการพูดเท็จนั่นเอง" : วิถีแห่งปราชญ์ พิมพ์ครั้งที่ ๗ หน้า ๒๐๖
AsianNeocon
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,277


中華萬歲﹗ LONG LIVE CHINA!


เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 29-06-2006, 11:49 »

คุณแอ่นแอ๊น มองโลกในแง่ดีจัง

แต่ผมมองว่า จะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น มีแต่จะแย่ลง ตราบใดที่คนไทยมีวัฒนธรรมแบบไม่พึ่งพาตนเอง มองหาหลักยึด อัศวิน ซุปเปอร์ฮีโร่ ฯลฯ อยู่ตลอด ก็เป็นโอกาสอันดีของคนชั่วจะเข้ามาครอบงำ นอกจากนี้ก็เป็นระเบียบวินัย (ซึ่งเป็นรากฐานของความรักมาตรฐาน ถ้ารักมาตรฐานรักความคงเส้นคงวา ก็จะพัฒนาเทคโนโลยี ความรู้ ต่อไปได้) ถ้าขาดสิ่งเหล่านี้ก็มีแต่จะเสื่อมลงไปเรื่อยๆ
บันทึกการเข้า

In The Name Of Justice.
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 952


-_-;


« ตอบ #8 เมื่อ: 29-06-2006, 11:55 »

เรามีนัดกัน วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2559 



รบกวนคุณแอ่นแอ๊น ช่วยเตือนเมื่อถึงเวลานั้นด้วยนะครับ

พอดีผมความจำสั้นครับ   Confused
บันทึกการเข้า

"มนุษย์มักต้องการในสิ่งที่ตนเองไม่มี..."

"I Fight In The Name Of Justice."
istyle
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 853



« ตอบ #9 เมื่อ: 29-06-2006, 12:25 »

โดยความเห็นส่วนตัว เชื่อว่า คณะราษฎร์ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เป็นเจตนาดี แต่ลืมนึกถึงบริบทของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศว่า มีความพร้อมมากน้อยแค่ไหน มีความเข้าใจกับประชาธิปไตยแค่ไหน เพราะเป็นฝ่ายที่ถูกปกครองมาโดยตลอด การวางรากฐานความรู้ความเข้าใจจึงยังไม่พร้อมมากพอที่จะเปลี่ยนแปลง จนเกิดการแทรกแซงขบวนการประชาธิปไตยมาตลอด อันเป็นเหตุให้เกิดโศกนาฏกรรมทางการเมืองหลายครั้ง (บางคนก็โทษไปถึงว่า เป็นเพราะบาปกรรมที่คณะราษฎร์ทำผิดฟ้า ผิดดิน ทำให้ประชาชนรับเคราะห์ แต่ถ้าวิเคราะห์ตามเหตุ ตรรกะ ก็มีที่มาที่ไปอยู่บ้าง)

ส่วนตัวอีกเหมือนกัน คิดว่าตรงนี้เป็นจุดเปลี่ยนผ่านการเมืองที่สำคัญมากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย เพราะภาคประชาชนมีความเข้มแข็งอย่างเห็นได้ชัด และมีอำนาจต่อรองทางการเมืองอย่างเป็นเหตุเป็นผล (ที่ผ่านมาก็มี แต่เคยมีใครเข้าใจบทบาทของสมัชชาคนจนมากแค่ไหน นอกจากคำว่าม๊อบป่วนเมืองมาขอล้างหนี้) อีกจุดหนึ่งที่คิดว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญมากที่สุดของรูปแบบทางการเมือง คือ การบอยคอตของฝ่ายค้าน บางแง่มุมอาจจะมองว่าเป็นการเล่นการเมืองเพื่อชิงดีชิงเด่น ให้ได้มาซึ่งอำนาจ แต่อย่าลืมว่า ฉากหลังจากนั้น เจตนาส่วนหนึ่งคือ การไม่ยอมรับอำนาจรัฐแบบผิดๆ เป็นการต่อสู้อีกรูปแบบหนึ่งซึ่งจะเปลี่ยนโฉมนักการเมืองไทยในอีก 10 ปีข้างหน้า (ถ้าอยู่ต่อได้ดู และรอยต่อตรงนี้ทำให้สามารถหลุดจากวังวนแห่งความชั่วร้ายนี้ไปได้)

บทบาททั้งสองส่วน (ส่วนตัว) คิดว่ามีส่วนเสริมกันอย่างมีนัยสำคัญ จนทำให้เป็นเป้าโจมตีว่า เป็นทฤษฎีสมคบคิด แต่ถ้ามองภาพรวมทั้งหมดแล้ว ตัดอคติอันมีมาแต่อดีต มองถึ่งเหตุผลของการกระทำแต่ละบุคคล หรือกลุ่มบุคคล จะเห็นนัยที่แทรกอยู่ในนั้นหลายๆ อย่าง

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ ในอีก 10 ปีข้างหน้า (ถ้ายังจำได้) จะลองมองย้อนกลับมาว่า รูปแบบการเมืองของเรา หลุดพ้นจะตรงนี้ไปได้หรือไม่ เป็นพัฒนาการทางการเมืองที่สำคัญมากๆ อยากจะให้ทุกคนจับตามอง

เรามีนัดกัน วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2559  Wink

^^ นัดกันแล้วนะครับ

แต่ผมว่าไม่ต้องถึงขนาดนั้นหรอก

ปี 2549 2550 นี้แหละ หัวเลี้ยวหัวต่อเลยล่ะ
บันทึกการเข้า
แอ่นแอ๊น
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,591


"Angela Gheorghiu" My goddess


เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 29-06-2006, 12:46 »

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนผ่านค่ะ แอนถึงต้องให้เวลาอีก 10 ปีไงคะ เพื่อให้ชาวบ้านเปลี่ยนแปลง บริบทสังคมถึงจะเดินไปข้างหน้าและพัฒนาไปได้ จุดนี้เป็นทางแยกที่จะพาเราไปสู่จุดที่ก้าวไปข้างหน้า หรือจะหมุนวนตกต่ำลงไป (ไม่พยายามพูดถึง เพราะไม่อยากเกิดอะไรร้ายแรง)

ส่วนที่คุณ Thaitruth บอกว่าแอนมองในแง่ดีเกินไป แอนก็จะบอกว่า คุณมองแง่ร้าย และสั้นไปค่ะ

ฟังเพลงนั้นเถอะ ความหมายตอนนี้ เป็นแบบที่เพลงนั้นว่าจริงๆ  Mr. Green
บันทึกการเข้า

       

"เมื่อเจตนาเบี่ยงเบนไปจากความจริง การนำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง บางทีก็เป็นเพียงภาษาสุภาพสำหรับการพูดเท็จนั่นเอง" : วิถีแห่งปราชญ์ พิมพ์ครั้งที่ ๗ หน้า ๒๐๖
Limmy
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,346


« ตอบ #11 เมื่อ: 29-06-2006, 13:54 »

74 ปีผ่านไปคนไทยจำนวนมากยังไม่เข้าใจถึงคำว่าประชาธิปไตยครับ

น่าคิดเป็นอย่างยิ่ง ว่าทำไม่คนไทยจำนวนมากถึงคิดว่าการเลือกตั้งคือประชาธิปไตย ? รักประชาธิไตยต้องไปเลือกตั้ง ?

หรือว่าคนเหล่านี้คิดว่าสิทธิและหน้าที่ของตัวเองคือไปเลือกตั้ง หลังจากนั้นนักการเมืองจะไปทำอะไรกับบ้านเมืองก็ได้

ให้ความสำคัญกับการเลือกตั้งจนลืมเรื่อง อำนาจอธิปไตย - สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น - สิทธิเสรีภาพในการรับรู้ข่าวสาร และองค์ประกอบอื่น ๆ ของคำว่าประชาธิปไตย รวมทั้งการคำนึงถึงเสียงส่วนน้อย

ถ้าจะต้องหาคนรับผิดชอบ ผมขอมอบให้กับระบบการศึกษาของเมืองไทย ในระยะเวลา 74 ปีที่ผ่านมา ที่ไม่เปิดโอกาสให้คนได้คิด หรือโต้เถียงขัดแย้งอะไรเลย จนทำให้ทักษะในการแยกแยะและวิเคราะห์ไม่มี ความคิดเป็นวิทยาศาสตร์ยิ่งไม่ต้องพูดถึง แค่มีคนมาบอกว่าทักษิณดี เพราะเอาเงินมาให้ก็ไม่เคยพิเคราะห์เลยว่าเขาให้เพราะอะไร เงินมาจากไหน และสุดท้ายกลับไปที่ไหน ?

มันเป็นไปได้อย่างไรที่ประเทศเรามีคนที่ได้รางวัลทางวิทยาศาสตร์มากมาย เรียกว่ามากที่สุดในโลกก็ได้ แต่ชาวบ้านก็ยังไหว้วุ้นและบ้าหวยอยู่...นี่คือสิ่งที่พิลึกพิลั่นที่สุด

ทุกวันนี้ช่องว่างระหว่างนักวิชาการและประชาชนห่างออกไปเรื่อย ๆ  ทั้งๆ ที่ประชาชนก็คือนักวิชาการคนหนึ่งเหมือนกัน ถ้าเข้าถึงความรู้และข้อมูลข่าวสารอย่างเท่าเทียมกัน

รับนัดคุณ แอนแอ๊นไว้แล้วกันครับ....ทั้งที่ใจคิดว่าคงยากที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลง
บันทึกการเข้า
mini
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 407


« ตอบ #12 เมื่อ: 29-06-2006, 14:19 »

ผมไม่เห็นด้วยกับความเห็นของเจ้าของกระทู้ครับ

ลองอ่านบทความพวกนี้ดูนะครับ เพราะผมคิดว่า บทความที่ผมกล่าวถึงนี้ มีมุมมองที่น่าสนใจมากครับ

1 http://www.matichon.co.th/weekly/weekly.php?srctag=0461230747&srcday=2006/06/23&search=no
2 http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01act04230649&day=2006/06/23
3 http://bangkokbiznews.com/2006/06/21/news_20910152.php?news_id=20910152

คือ ผมไม่อยาก นำข่าวหรือบทความเหล่านั้นมา post ลงกระทู้ เพราะจะทำให้มันยาวโดยไม่จำเป็น
เลย ขอแค่ แปะ link ให้นะครับ เพราะผมก็ต้องไป search หาอยู่ตั้งนาน ว่า link พวกนี้อยู่ที่ไหน
เนื่องจากผมอ่านพวกนี้จากในฉบับหนังสือจริงๆ พอมาหาในฉบับ internet เลยหานานหน่อยครับ

ถ้าสนใจในประวัติศาสตร์ อย่าพลาดนะครับ (โฆษณา link น่ะ กลัวไม่มีคนอ่าน)
บันทึกการเข้า
katindork
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 369


« ตอบ #13 เมื่อ: 29-06-2006, 14:20 »

ถึงแม้แทบอยากลากไส้นายทักษิณออกมากองให้กากินขนาดไหน
แต่ไม่เคยเห็นนายลีกวนยูเป็นของดีเลยแม้แต่น้อย    Undecided

เพราะนายนี่เป็นต้นแบบแห่งความเลวร้ายที่นายทักษิณพยายามเลียนแบบให้มากที่สุด  Mad


คนที่คอรับชั่นแม้กระทั่งความนึกคิดของคนสิงคโปร์  ความเป็นมนุษย์ของคนสิงคโปร์   จะมีใครเกินนายลีคนนี้

กวาดผลประโยชน์มหาศาลเข้าพกเข้าห่อ เข้าพรรคพวกเหลือแล้วค่อยเจียดเศษให้คนสิงคโปร์  เพียงแต่คนมีน้อยจึงไม่ลำบาก   แต่เมืองไทยมีหลาย 10 ล้าน ทักษิณถึงเหนื่อย



คนสิงคโปร์อยากยิ้มมันยังต้องรณรงค์กัน   
คิดจะมาเปรียบกับการเมืองไทย    การเมืองเป็นเรื่องของชีวิตวิญาณและพื้นฐาน  ไม่ใช่เรื่องของตัวเลข กำไร ขาดทุน


ชีวิตการเป็นอยู่ไม่เหมือนกันอยู่แล้ว  บาปบุญคุณโทษก็คิดไม่เหมือนกัน   แก้ปัญหาความโลภเจ้าเล่ห์  เอาเปรียบเห็นแก่ตัวของคนสิงคโปร์ให้ได้ก่อนเถอะ
แล้วค่อยมาวิเคราะห์การเมืองไทย Shocked

โถ่  ไอ้คนไม่มีรากเหง้า่์ Mr. Green
บันทึกการเข้า
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #14 เมื่อ: 29-06-2006, 14:29 »

ปชต.แบบคนไทยบางคนแถวสวนลุมฯก็คือ การมองนายกฯที่ได้รับเสียงท่วมท้นจากการเลือกตั้งว่าเป็นเผด็จการ แต่พอได้รัฐบาลผสม...ก็โวยอีกว่ามีแต่นักการเมืองต่อรองผลประโยชน์

คนไทยกลุ่มดังกล่าวนั่นแหล่ะ คือ ต้นเหตุแห่งความอัปยศระบอบปชต.ของไทย!!
บันทึกการเข้า
The Tiger
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 184



« ตอบ #15 เมื่อ: 29-06-2006, 15:41 »

     คุณ อะไรจ้ะ ผมนะเคยชมชอบทักกี้มาก่อน เพราะช่วงเป็นนายกใหม่ๆ ทักกี้สร้างภาพดีมากๆๆ จนคนไทยหลงคารม แต่พอลองใช้มันสมองวิเคราะห์เจาะลึกดู ทักกี้และสมุนนี่แหล่ะ คือ ตัวอัปยศ ต่อระบอบ ปชต ตัวจริงเลยครับ ลองคิดดูผู้นำปชต. จริง ต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ประเทศอื่นๆแค่คนหลักหมื่น อย่างเช่น คนเกาหลีออกมาวิจารณ์ ประธานาธิบดีๆ ก็ลาออกแล้ว แต่ผู้นำไทย นอกจากไม่ฟังใครยังด้านได้อายอดอีกตั้งหาก ผมว่าทักกี้คือสุดยอดมหาอมตะนิรันดร์การของผู้นำไทยที่เลวที่สุดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันก็ไม่มีใครเลวเท่านี้หรอกครับ ดูผลประโยชน์ของชาติที่แกกอบโกยให้ตัวเอง รวมทั้งพวกแร้งทึ้งรอบๆตัวแกซิครับ
      ทักกี้หรอกได้เฉพาะคนโง่เขลาเบาปัญญาเท่านั้นครับ ถ้ารู้จักคิดคนพวกนั้นจะเปลี่ยนใจเหมือนผมแหล่ะ ประเทศชาติย่อมมาก่อนตัวเองครับ การที่ผมเปลี่ยนขั้วมาอยู่ตรงข้ามทักกี้ แม้ครอบครัวที่บ้านจะเจ็บปวดที่ทำอย่างนี้ เพราะคนใกล้ชิดอยู่รักไทย แต่ที่ต้องทำเพราะประเทศชาติต้องมาก่อน
บันทึกการเข้า

ต่อต้านเผด็จการและนักกินเมือง
เพื่อความผาสุขและความมั่นคงของไทย
สมาชิกขบวนการเลขที่ 415
ไม่อยากสมานฉันท์กับคนชั่ว
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 592


เตือนให้นึกถึง Icarus ผู้ไม่ประมาณตน


« ตอบ #16 เมื่อ: 29-06-2006, 16:11 »

ถรุยยยส์  ไอ้แก่ลีกวนยู (ขออนุญาต แรง)  Evil or Very Mad

ถ้าไอ้ประเทศสันดอนนั่นมันไม่อยู่ตรงช่องแคบที่เรือผ่าน ผมอยากจะรู้ว่าไอ้เกาะโปรโตกนั่นจะเอาอะไรแด๊คมิทราบ
ถ้าไม่คอยเลียแข้งเลียขามหาอำนาจให้ดีๆ  มันจะเอาเงินที่ไหนใช้ครับ ไม่ต่างอะไรกะหมา

ประเทศที่ไม่มีอะไรจะเสียอย่างพวกมันนั้น ปกครองโดยระบอบเผด็จการนั่นหล่ะ ดีที่สุด
ไอ้ที่มีรัฐสภาทุกวันนี้ ก็จัดตั้งขึ้นมาบังหน้าไปอย่างนั้นเองว่ากรูเป็นประชาธิปไตย อ้วกจะแตก
ต้องทำเป็น democracy เพราะว่า ถ้าถูกชาติอื่นแดคขึ้นมา พ่ออเมริกาจะได้เอาทหารมาตายแทนพวกมรึงไง

เฮ้อออ...  ขออภัยจริงๆครับที่พูดหยาบคาย ประเทศเค้าก็ต้องเอาตัวรอดก็เข้าใจ แต่มาทำเป็นปากหะมา ด่าคนอื่นนี่ รับไม่ได้

เกือบลืม  ประชาธิปไตย นอกจากเสียงข้างมากแล้ว ยังต้องมีระบบตรวจสอบถ่วงดุลย์ที่สมบูรณ์ด้วยนะครับ
ผมว่าการตรวจสอบถ่วงดุลย์นี่แหละ ปัญหาของเมืองไทย
ไม่ต้องไปคิดให้ยุ่งยาก  ทุกวันนี้ ความยุติธรรมอยู่ที่ระบบการพิจารณาคดี หรืออยู่ที่การทำสำนวน ปั้นพยานหลักฐานครับ?
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29-06-2006, 16:16 โดย พระเอกละครหลังข่าว » บันทึกการเข้า
istyle
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 853



« ตอบ #17 เมื่อ: 29-06-2006, 16:40 »

ผมไม่เห็นด้วยกับความเห็นของเจ้าของกระทู้ครับ

ลองอ่านบทความพวกนี้ดูนะครับ เพราะผมคิดว่า บทความที่ผมกล่าวถึงนี้ มีมุมมองที่น่าสนใจมากครับ

1 http://www.matichon.co.th/weekly/weekly.php?srctag=0461230747&srcday=2006/06/23&search=no
2 http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01act04230649&day=2006/06/23
3 http://bangkokbiznews.com/2006/06/21/news_20910152.php?news_id=20910152

คือ ผมไม่อยาก นำข่าวหรือบทความเหล่านั้นมา post ลงกระทู้ เพราะจะทำให้มันยาวโดยไม่จำเป็น
เลย ขอแค่ แปะ link ให้นะครับ เพราะผมก็ต้องไป search หาอยู่ตั้งนาน ว่า link พวกนี้อยู่ที่ไหน
เนื่องจากผมอ่านพวกนี้จากในฉบับหนังสือจริงๆ พอมาหาในฉบับ internet เลยหานานหน่อยครับ

ถ้าสนใจในประวัติศาสตร์ อย่าพลาดนะครับ (โฆษณา link น่ะ กลัวไม่มีคนอ่าน)


^^" บ้านผมก็รับมติชนครับ ก่อนหน้าผมก็ไปหาลิงค์ที่นั่นเหมือนกัน (แต่พึ่งเห็นของกรุงเทพธุรกิจแฮะ ขอบคุณครับ)

คือ ผมมองที่ผลลัพธ์ครับ เ้ข้าใจว่าเจตนาดี แต่เจตนาที่ดีไม่อาจนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่ดีเสมอไป(ต้องมองมิติอื่นเช่น การวางแผนด้วย)

ก่อนพระราชทาน อาจจะบอกว่าไอเดียคุณดี แต่คุณมีแผนการที่ดีแล้วหรือ คุณมั่นใจได้ยังไงว่าจะดีอย่างที่คุณคิด...เสียแรงที่พระมหากษัตริย์ทรงไว้ใจ..หรือเปล่า?

ลองอ่านเรื่องของหลวงศุภชลาศัยดูครับ

http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01pra01260649&day=2006/06/26
edited:ขอโทษคับ สงสัยยังไม่ได้copyอันใหม่ ตอนpasteอันเก่าค้าง

อีกอย่าง ผมอดไม่ได้ครับ เมื่อผ่านงานฉลองฯ60ปีไป ผมอดเสียดายไม่ได้ว่าทำไมถึงไปริบอำนาจท่าน......
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29-06-2006, 18:32 โดย istyle » บันทึกการเข้า
koo
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 550



« ตอบ #18 เมื่อ: 29-06-2006, 16:44 »

ไม่เข้าใจเฟ้ย คุณต้องการจะบอกว่าประเทศภูฎาน ประชากร 6แสน3หมื่น ของเขาไม่ต้องการประชาธิปไตย ยังไม่พร้อมที่จะมีประชาธิปไตย(โดยข่าวเนี่ย?)

เลยเอามาโยงกับประเทศไทย จะประนามคณะราษฎร์ เรื่องขอพระราชทาน อำนาจธิปไตย

จะตำหนิว่า คณะราษฎร์ขอเร็วไป? ขอเร็วไปกี่ปี? คุณคิดว่า สมัยไหนตาสีตาสา ตามชนบท ถึงจะควรเริ่มหัดการมีประชาธิปไตยหรือครับ

จนถึงวันนี้นาที คุณคิดว่า ประเทศไทยถึงเวลาของการมีประชาธิปไตยหรือยัง?

ผมไม่แก่ และ ขวนขวาย ขนาดจะไปรู้ข้อเท็จจริงในอดีตหรอกนะครับ

แต่ผมไม่ชอบการที่คุณมองว่าวันนี้ประเทศไทยหกล้ม คุณมองย้อนกลับไปโทษคนที่มันก้าวเดินออกมาก้าวแรก
บันทึกการเข้า
istyle
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 853



« ตอบ #19 เมื่อ: 29-06-2006, 16:51 »

ไม่เข้าใจเฟ้ย คุณต้องการจะบอกว่าประเทศภูฎาน ประชากร 6แสน3หมื่น ของเขาไม่ต้องการประชาธิปไตย ยังไม่พร้อมที่จะมีประชาธิปไตย(โดยข่าวเนี่ย?)

เลยเอามาโยงกับประเทศไทย จะประนามคณะราษฎร์ เรื่องขอพระราชทาน อำนาจธิปไตย

จะตำหนิว่า คณะราษฎร์ขอเร็วไป? ขอเร็วไปกี่ปี? คุณคิดว่า สมัยไหนตาสีตาสา ตามชนบท ถึงจะควรเริ่มหัดการมีประชาธิปไตยหรือครับ

จนถึงวันนี้นาที คุณคิดว่า ประเทศไทยถึงเวลาของการมีประชาธิปไตยหรือยัง?

ผมไม่แก่ และ ขวนขวาย ขนาดจะไปรู้ข้อเท็จจริงในอดีตหรอกนะครับ

แต่ผมไม่ชอบการที่คุณมองว่าวันนี้ประเทศไทยหกล้ม คุณมองย้อนกลับไปโทษคนที่มันก้าวเดินออกมาก้าวแรก


จะกี่ปีไม่สำคัญ ตราบใดที่ยังไม่มีการวางแผนที่ดี....... ขนาดโครงการเล็กกว่า เช่น สนามบินฯ ยังต้องมีการให้ไปศึกษาอย่างรอบคอบ มีประชาพิจารณ์เลย
แต่นี่ ... คุณคิดว่ามันใหญ่ขนาดไหนล่ะ?? ถ้าสิ่งที่เรียกว่าอำนาจ ไปอยู่ในมือคนที่ผิดล่ะ(อยู่ไปแล้ว) คุณ(คณะราษฎร์)จะรับผิดชอบอย่างไร มันไม่ใช่เรื่องที่คุณจะเยียวยาง่ายๆเลยนะ

คุณเคยได้ยินคำว่าถอยหลังลงคลอง/ถอยหลังไป10ปีมั้ย .....

ที่ผมใช้คำว่าประณาม แทนคำว่า ตำหนิ ก็เพราะคณะราษฎร์ในยุคแรกๆนั่นน่ะ... พออยู่กับอำนาจ ก็หลงอำนาจเสียเอง

ถึงจะดูเห็นแก่ตัวและเหมือนต้องขอพึ่งคนอื่นอยู่ แต่ผมก็ยังคิดอยู่ว่า ถ้าในหลวงของเราได้มีพระราชอำนาจจริงๆ มันจะดีกว่านี้มั้ย

แก้พิมพ์ผิด - -"
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29-06-2006, 16:53 โดย istyle » บันทึกการเข้า
koo
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 550



« ตอบ #20 เมื่อ: 29-06-2006, 17:28 »

สิ่งที่คณะราษฎร์ขอคือ อำนาจอธิปไตย ซึ่งก็ทรงพระราชทานให้

แต่คนที่ได้คือ ชาวไทยทั้งประเทศนะครับ ไม่ใช่คณะราษฎร์ได้

ส่วนที่ว่าได้มาแล้วดูแลจัดการกันอย่างไร ผมว่าผิดสมัยที่ยกสิ่งนี้ขึ้นมาพูดแล้ว

ถ้าพูดในตอนที่ พึ่งได้รับมาใหม่ๆเป็นสิ่งที่พูดได้อยู่แล้ว แต่มาพูดในตอนนี้ซึ่ง คนรุ่นนั้นไม่มีหลงเหลืออยู่แล้ว

...ผมมีธุระด่วน เดี๋ยวจะมาแก้ไขพิมพ์เพิ่มนะครับ Sad 

เรื่องพระราชอำนาจที่คุณพิมพ์ ถ้าไม่เข้าใจก็อ่านเพิ่มที่นี้ได้ครับ

http://power.manager.co.th/
บันทึกการเข้า
ตลก
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 686


ไปมาไร้ร่องรอย


« ตอบ #21 เมื่อ: 29-06-2006, 17:33 »

ความสุขมวลรวม มันไม่แตกต่างจากทำว่า เศรษฐกิจพอเพียง เท่าไหร่นะครับ มองไปมองมา ความหมายมันก็คืออันเดียวกันซะด้วยซ้ำ








(เอ๊ะ!!! นี่เราคุยเรื่องเดียวกันเหรอป่าวเนี่ยยยยยยย)
บันทึกการเข้า

ผ่านฟ้าแล้วเลยไปนรกเลยรึเปล่าครับ.........
กิ๊กบนเรือ บนเครื่องบิน กิ๊กบนรถ ทุกอาชีพกิ๊กกันหมดอนาคตจะเป็นไง?
mini
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 407


« ตอบ #22 เมื่อ: 29-06-2006, 17:59 »

สำหรับ เจ้าของกระทู้ครับ

ผมเข้าใจ ที่คุณบอกว่า คณะราษฎร์ขาดการวางแผนที่ดี
คุณต้องการให้มี "การศึกษาแก่ประชาชนให้มีความสำนึกทางการเมือง
ถ้าเราจะต้องมีรัฐสภา เราต้องสอนประชาชนว่าจะออกเสียงอย่างไร
และจะเลือกผู้แทนอย่างไร ที่จะมีจิตใจฝักใฝ่กับผลประโยชน์ของพวกเขาอย่างแท้จริง"


แต่ถ้ามองอีกแง่นึง การสอนโดยที่ไม่ได้เห็นของจริง ไม่ได้สัมผัสเลย มันจะทำได้อย่างไรหล่ะครับ
เหมือนเราสอนภาษา สอนกันแต่หลักไวยากรณ์ แต่ไม่เคยได้ใช้จริงในชีวิตประจำวัน มันได้ผลมากน้อยแค่ไหน
สำเนียงภาษาต่างประเทศ ที่ระบบการศึกษาไทย สอนคนไทยออกมา ก็เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของความล้มเหลวนะครับ
ดังนั้น ผมจึงไม่เห็นว่าจะสอนประชาธิปไตย การเลือกผู้แทน ในระบบการปกครองแบบเก่านั้น จะทำให้คนทั่วไปเข้าใจได้อย่างไร

ที่สำคัญ คุณไม่พอใจ คณะราษฎร์ เพราะ คิดว่า "ทำไมถึงไปยึดอำนาจจากคนดีที่มองเห็นไปให้แก่คนดีที่ยังเป็นแค่เงาลางๆล่ะ.."
มันง่ายที่เราจะคิดว่าสิ่งที่คนอื่นๆทำในอดีต คนๆนั้นทำผิดหรือถูก
เพราะเราสามารถมองเห็นว่าสิ่งที่เค้าทำในอดีต ส่งผลยังไงในปัจจุบัน
แต่ถ้าคุณอยู่ ณ จุดที่คุณไม่รู้อนาคตหล่ะครับ
คุณจะรู้ได้อย่างไร ว่าคนดีที่คุณว่า จะมีอายุอยู่ต่อไปอีกกี่ปี และลูกหลานเหลนในอนาคตของคนดีของคุณ จะดีด้วยรึป่าว
ไม่มีอะไรบอกได้เลยนะครับ ว่าจะดีได้ไหม แล้วถ้าเกิดไม่ดีขึ้นมา คุณจะแก้ไขอย่างไรครับ

(ถ้าผมวิจารณ์อดีตหรือแก้ไขได้ ผมคงคิดว่า ผมน่าจะบอกให้ครอบครัวญาติพี่น้อง ซื้อหุ้น PTT ให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้
แต่ ณ ตอนนั้น หุ้น PTT เข้าใหม่ๆ ยังมีช่วงต่ำกว่าราคาจองเลยนะครับ
ดังนั้น ในความเป็นจริง ณ เวลาที่ PTT เข้าใหม่ๆ มันก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ผมจะกล้าบอกให้ซื้อ PTT ให้มากที่สุดได้อย่างไร ถูกไหมครับ)

PS1 Link http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01act04230649&day=2006/06/233 ของคุณ กับ
http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01act04230649&day=2006/06/23 ของผม
มันเป็น link เดียวกันครับ ถึงจะต่างกันที่ตัวเลขสุดท้ายก็ตาม

-----------------------------------------------------------------------------------------------------

PS2 สำหรับคุณ Koo ที่ให้ Link http://power.manager.co.th/ ผมเข้าไปอ่านแล้วครับ
ผมมีความคิดเห็นว่า ให้คุณลองเข้าไปอ่านที่นี่ครับ เกี่ยวกับ พระราชอำนาจครับ
http://www.matichon.co.th/weekly/weekly.php?srctag=0408301248&srcday=2006/06/23&search=no
เพราะผมมีความคิดเห็นไปในแนวทางนี้ มากกว่าของคุณ ประมวล รุจนเสรี
บันทึกการเข้า
AsianNeocon
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,277


中華萬歲﹗ LONG LIVE CHINA!


เว็บไซต์
« ตอบ #23 เมื่อ: 29-06-2006, 18:31 »

ถ้าผมเป็นคณะราษฏร์ในขณะนั้น ผมจะเริ่มจากประชาธิปไตยระดับหมู่บ้านก่อน ให้มีการเลือกตั้ง และวิพากย์วิจารณ์ ในระดับหมู่บ้าน ให้รู้จักเรียนรู้สิทธิพื้นฐานของความเป็นคนก่อน คือ ทุกอย่างต้องมีการทดลองก่อน ก่อนจะเอามาใช้กับในระดับใหญ่ทั้งประเทศ

แบบ จีน ในขณะนี้ เช่น การเลือกตั้งระดับหมู่บ้านและตำบล ให้มันเป็นค่อยๆพัฒนาทีละนิด น้ำซึมบ่อทราย ดีกว่าเปิดให้เป็นเสรีกันโครมๆ ผลสุดท้าย ก็เกิดปัญหาเรื้อรัง

แต่อย่างว่า ตอนนี้กลับไปแก้ไขอดีตไม่ได้แล้ว คงต้องดิ้นรนหาทางออกกันต่อไป
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29-06-2006, 18:32 โดย ThaiTruth » บันทึกการเข้า

istyle
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 853



« ตอบ #24 เมื่อ: 29-06-2006, 18:54 »

สำหรับ เจ้าของกระทู้ครับ

ผมเข้าใจ ที่คุณบอกว่า คณะราษฎร์ขาดการวางแผนที่ดี
คุณต้องการให้มี "การศึกษาแก่ประชาชนให้มีความสำนึกทางการเมือง
ถ้าเราจะต้องมีรัฐสภา เราต้องสอนประชาชนว่าจะออกเสียงอย่างไร
และจะเลือกผู้แทนอย่างไร ที่จะมีจิตใจฝักใฝ่กับผลประโยชน์ของพวกเขาอย่างแท้จริง"


แต่ถ้ามองอีกแง่นึง การสอนโดยที่ไม่ได้เห็นของจริง ไม่ได้สัมผัสเลย มันจะทำได้อย่างไรหล่ะครับ
เหมือนเราสอนภาษา สอนกันแต่หลักไวยากรณ์ แต่ไม่เคยได้ใช้จริงในชีวิตประจำวัน มันได้ผลมากน้อยแค่ไหน
สำเนียงภาษาต่างประเทศ ที่ระบบการศึกษาไทย สอนคนไทยออกมา ก็เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของความล้มเหลวนะครับ
ดังนั้น ผมจึงไม่เห็นว่าจะสอนประชาธิปไตย การเลือกผู้แทน ในระบบการปกครองแบบเก่านั้น จะทำให้คนทั่วไปเข้าใจได้อย่างไร

ที่สำคัญ คุณไม่พอใจ คณะราษฎร์ เพราะ คิดว่า "ทำไมถึงไปยึดอำนาจจากคนดีที่มองเห็นไปให้แก่คนดีที่ยังเป็นแค่เงาลางๆล่ะ.."
มันง่ายที่เราจะคิดว่าสิ่งที่คนอื่นๆทำในอดีต คนๆนั้นทำผิดหรือถูก
เพราะเราสามารถมองเห็นว่าสิ่งที่เค้าทำในอดีต ส่งผลยังไงในปัจจุบัน
แต่ถ้าคุณอยู่ ณ จุดที่คุณไม่รู้อนาคตหล่ะครับ
คุณจะรู้ได้อย่างไร ว่าคนดีที่คุณว่า จะมีอายุอยู่ต่อไปอีกกี่ปี และลูกหลานเหลนในอนาคตของคนดีของคุณ จะดีด้วยรึป่าว
ไม่มีอะไรบอกได้เลยนะครับ ว่าจะดีได้ไหม แล้วถ้าเกิดไม่ดีขึ้นมา คุณจะแก้ไขอย่างไรครับ

(ถ้าผมวิจารณ์อดีตหรือแก้ไขได้ ผมคงคิดว่า ผมน่าจะบอกให้ครอบครัวญาติพี่น้อง ซื้อหุ้น PTT ให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้
แต่ ณ ตอนนั้น หุ้น PTT เข้าใหม่ๆ ยังมีช่วงต่ำกว่าราคาจองเลยนะครับ
ดังนั้น ในความเป็นจริง ณ เวลาที่ PTT เข้าใหม่ๆ มันก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ผมจะกล้าบอกให้ซื้อ PTT ให้มากที่สุดได้อย่างไร ถูกไหมครับ)


ผมก็เคยคิดเหมือนคุณเลยนะ ..... แต่อย่าลืม ว่าเมืองนอกเขามีประชาธิปไตยมาก่อนเราแล้ว.... ทำไมอเมริกาถึงไม่พลาดอย่างเราล่ะ อะไรมันต่างกัน?

ปชต.เริ่มต้นที่อังกฤษเลย ตอนนั้นบ้านเมืองในภาวะสงคราม กษัตริย์ก็ไม่ดี ก็เลยเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาก็มาถึงทุกวันนี้ได้ ดูดีกว่าเราเยอะเลย

ลองมาดูที่ปัจจัยตอนเริ่ม... ก็ต่างจากเราแล้ว ศาสนาก็ต่าง ประเพณีก็ต่าง ของเราที่อยากเปลี่ยนเพราะหัวนอกหรือเปล่า?? นิสัยเอาอย่างตะวันตก ตามก้นมันทุกอย่าง เริ่มตั้งแต่ยุคนั้นหรือเปล่า

เอาล่ะ ที่ตั้งประเด็นขึ้นมาไม่ใช่ผมจะเรียกร้องระบอบเดิมนะ ... แต่รู้สึกเสียใจ เสียดายเวลาที่ผ่านมา ระบบที่ใช้ผิดวิธี ทำให้ประเทศเราเสียหาย เสียโอกาส

สะสมมาจนถึงทุกวันนี้ (อย่างเรื่องการศึกษาที่คุณว่า และปัญหาอีกมากมายที่ซับซ้อนต่อเนื่องกัน ถ้าแก้ถูกทางแต่แรกจะเป็นยังไงนะ...)

จริงๆแ้ล้ว ผมว่าจะระบบไหนก็ได้ ถ้าได้คนดีมาเป็นผู้ปกครอง แต่อย่าลืมว่ากษัตริย์นั้นจะมีข้อได้ดี เพราะไม่ได้เข้ามาเพื่อแสวงหาผลประโยชน์เหมือนนักการเมือง

แต่ถ้ากษัตริย์ไม่ดีก็ีอีกเรื่องหนึ่ง.......ผมลองมองย้อนไปว่า จากยุด 2475 นั้น เรามีทางเลือกอื่นมั้ยนอกจากเอาตามอย่างเขา หรือทางอื่น เช่น วิธีที่จะควบคุมกษัตริย์ให้ดี (เช่น ทศพิธราชธรรม , ปลูกฝังจิตสำนึกของผู้คน , รับมือกับกระแสตะวันตก , หรือแม้กระทั่งอย่างที่คุณ Thaitruth ว่า เหมือนดุสิตธานี แต่อาจจะให้ทดลองในรูปแบบผู้ว่าจังหวัดจากการเลือกตั้งก่อนก็ได้ มันมีอีกสารพัดวิธี)

แต่มาถึงทุกวันนี้แล้ว เมื่อเลือกเส้นทางนี้แล้ว ก็คงต้องแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบนี้ ก็คือ ความรู้,ศีลธรรม ของประชาชน ก่อน

ในศาสนาพุทธนั้นมีธรรมาธิปไตย ซึ่งเอาธรรมะเป็นหลัก ส่วนประชาธิปไตย ที่ถือเอาคนส่วนใหญ่เป็นหลัก(เพราะมีสมมติฐานว่า คนส่วนใหญ่...ใช้ได้) แต่อย่าลืม คน

ส่วนใหญ่ขาดความรู้หรือเป็นคนชั่ว ก็จบเห่.....

อีกอย่าง อย่าลืมนะครับว่า โง่ --> จน --> เจ็บ --> โง่ มันเป็นวงจรอุบาทว์ แต่อย่างว่าแหละครับ ... นี่แหละปัญหาที่แท้จริงของเมืองไทย 

อีดิทซักหน่อย : 1.เว็บลิงค์นั้นผมลงผิดนะครับ 2.อยากบอกอีกอย่างว่า ระบบของเราตอนนี้นั้น ทำคนดีให้กลายเป้นคนไม่ดีได้ ^^ สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29-06-2006, 18:58 โดย istyle » บันทึกการเข้า
koo
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 550



« ตอบ #25 เมื่อ: 29-06-2006, 19:21 »

พอกลับมา ดันบิว อารมณ์ต่อไม่ถูกเลย

ผมไม่อยากจะเถียงต่อในเรื่องพระราชอำนาจ มีกระทู้ปักหมุดเตือนเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่

ผมขอพูดสั้นๆนะครับผมจะไม่พิมพ์เพิ่มแล้ว


 "มองจากเบื้องสูง กับมองจากประชาชน"

http://power.manager.co.th/

บันทึกการเข้า
แอ่นแอ๊น
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,591


"Angela Gheorghiu" My goddess


เว็บไซต์
« ตอบ #26 เมื่อ: 29-06-2006, 19:54 »

ใจเย็นๆ เน้อ ติเพื่อก่อ สุมหัวกันเพือหาทางออกดีกว่านิ  Mr. Green
บันทึกการเข้า

       

"เมื่อเจตนาเบี่ยงเบนไปจากความจริง การนำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง บางทีก็เป็นเพียงภาษาสุภาพสำหรับการพูดเท็จนั่นเอง" : วิถีแห่งปราชญ์ พิมพ์ครั้งที่ ๗ หน้า ๒๐๖
istyle
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 853



« ตอบ #27 เมื่อ: 29-06-2006, 20:32 »

ครับ คงจะพอได้แ้ล้วเรื่องพระราชอำนาจเนี่ย พูดไปก็เท่านั้น นายกพระราชทานก็ไม่ใช่ทางออกที่ดี

ปัญหาอยู่ที่ว่าตอนนี้เราจะทำยังไงถึงออกจากวงจร โง่ จน เจ็บ(การศึกษา ความเป็นอยู่ สาธารณสุข) ได้ซะที

ปัญหานี้สะสมมานาน ปล่อยไว้นานยิ่งแก้ลำบาก

เพราะคนมีอำนาจ(แห่งระบอบประชาธิปไตยที่งดงาม)ไม่แก้ หรือแก้ไม่ได้ก็ไม่ทราบ




การใช้ประชาธิปไตยให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต้องแก้ที่ประชาชน ถ้าเงินซื้อประชาชนได้ ก็เป็นแค่ประชาธิปไตยจอมปลอมเท่านั้น

นอกจากนี้ผมว่าประชาธิปไตยมันยังดูแข็งๆเกินไป ผมคิดว่าระบบการเลือกพรรค/ผู้นำนั้น ถ้า51%รักมาก แต่ 49%เกลียดมาก

อย่างนี้จะเอาเสียงส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ ถ้าเป็นยังงี้ ผมว่า 51%รักหน่อยๆ 49% เฉยๆ ยังจะดีเสียกว่า........

อยากให้ปรับปรุงจุดนี้ด้วย








« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29-06-2006, 20:37 โดย istyle » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: