ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
25-04-2024, 12:07
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ควรเลือกเป้าหมายใด: เงินเฟ้อ หรือ จีดีพี? 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ควรเลือกเป้าหมายใด: เงินเฟ้อ หรือ จีดีพี?  (อ่าน 788 ครั้ง)
ผู้ทำลาย
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,496


lynnicky


เว็บไซต์
« เมื่อ: 26-06-2006, 15:44 »

ควรเลือกเป้าหมายใด: เงินเฟ้อ หรือ จีดีพี?
Which goal is best : Inflation or GDP?


24 มิถุนายน 2549
 
เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก             

   เศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะที่เงินเฟ้อสูงขึ้นพร้อมกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจ เนื่องจากแรงกดดันจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น การดำเนินนโยบายการเงินการคลังอยู่ในภาวะ “หนีเสือปะจรเข้” กล่าวคือ หากธนาคารแห่งประเทศไทยใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวดเพื่อควบคุมเงินเฟ้อจะทำให้เศรษฐกิจยิ่งชะลอตัวลง แต่หากกระทรวงการคลังใช้นโยบายการคลังแบบขยายตัวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจะยิ่งทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น 

 ปัญหาจึงเกิดขึ้นเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยถูกมองว่าใช้นโยบายการเงินค่อนข้างเข้มงวด โดยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ข้อถกเถียงกันอย่างกว้างขวางว่า การขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวรุนแรงมากขึ้น ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้เหตุผลว่าเป็นการตัดไฟแต่ต้นลม เพื่อการจัดการมิให้เงินเฟ้อขยายตัวไปมากกว่านี้ซึ่งจะทำให้แก้ไขได้ยาก

ประเด็นสำคัญของความขัดแย้งเชิงนโยบายนี้จึงอยู่ที่ว่า ผู้มีอำนาจในการบริหารเศรษฐกิจของชาติควรให้ความสำคัญกับเป้าหมายใด?

การตอบคำถามดังกล่าว เราจำเป็นต้องพิจารณาบริบทแวดล้อมทางเศรษฐกิจในปัจจุบันและแนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคต ซึ่งจากการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ผมขอสรุปว่า การบริหารเศรษฐกิจในครึ่งหลังของปี 2549 ควรเน้นเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากกว่าการควบคุมเงินเฟ้อ 

เหตุที่สรุปเช่นนี้เพราะในครึ่งปีหลัง ปัญหาเงินเฟ้อน่าจะรุนแรงน้อยกว่าปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว แม้ว่าเศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปี 2549 จะขยายตัวถึงร้อยละ 6 แต่หน่วยงานเศรษฐกิจของรัฐทุกแห่งกลับคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจครึ่งปีหลังจะชะลอตัวลงกว่าครึ่งปีแรก ทำให้ทุกสำนักปรับลดเป้าหมายการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจปี 2549 ลงจากเดิม ขณะที่อัตราเงินเฟ้อได้รับกาiคาดการณ์ว่าจะลดลงในครึ่งปีหลัง ทำให้ค่าเฉลี่ยของเงินเฟ้อตลอดทั้งปีต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อในช่วงครึ่งปีแรก
 
เศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังจะได้รับผลกระทบจาก 2 ปัจจัยสำคัญ คือการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2550 ที่ล่าช้าและราคาน้ำมันโลก ซึ่งจากการวิเคราะห์ผลกระทบจากทั้งสองปัจจัยนี้โดยใช้แบบจำลองดุลยภาพทั่วไป (Computable General Equilibrium) ผมพบว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะลดลงมากกว่าเพราะได้รับผลกระทบเชิงลบจากทั้งสองปัจจัยดังกล่าว แต่ทั้งสองปัจจัยนี้จะส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อในลักษณะที่หักล้างกัน ซึ่งทำให้อัตราเงินเฟ้อไม่เพิ่มขึ้นมากนัก (ตารางที่ 1)

การเลือกตั้งที่ล่าช้าจะทำให้การเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2550 ล่าช้าออกไปอย่างน้อย 3 เดือน หรือหมายความว่าจะไม่มีการเบิกจ่ายงบลงทุนในไตรมาสสุดท้ายของปี 2549 คิดเป็นเม็ดเงินประมาณ 7 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่แท้จริง (real GDP growth) ปี 2549 ลดลงร้อยละ 0.41 จากตัวเลขประมาณการเดิม ขณะที่ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 (เป็น 65 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล) จะทำให้จีดีพีลดลงอีกร้อยละ 0.51 เมื่อรวมผลกระทบจากทั้งสองปัจจัยนี้ เศรษฐกิจปี 2549 จะลดลงถึงร้อยละ 0.92

แต่ในกรณีผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ การไม่มีการเบิกจ่ายงบลงทุนในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2549 จะลดแรงกดดันต่อเงินเฟ้อ ทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลงร้อยละ 0.41 จากตัวเลขประมาณการเดิม ขณะที่ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 จะทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 0.58 ดังนั้นผลกระทบของทั้งสองปัจจัยนี้จะทำให้อัตราเงินเฟ้อในปี 2549 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.17 จากตัวเลขประมาณการเดิม



ตารางที่  SEQ ตารางที่ \* ARABIC 1 ผลการวิเคราะห์ผลกระทบของการเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้าและราคาน้ำมัน


ที่มา: เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2549)
 
การใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวดเกินไปยังอาจจะไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากปัญหาเงินเฟ้อของไทยในปัจจุบันเป็นเงินเฟ้อจากแรงผลักด้านต้นทุน (cost push inflation) ซึ่งเกิดจากราคาน้ำมันที่เป็นปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยจึงไม่ช่วยให้แรงกดดันต่อเงินเฟ้อลดลง

                ขณะที่ประชาชนและผู้ประกอบการขาดความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจไทยในอนาคต เนื่องจากปัญหาทางการเมืองและผลกระทบจากราคาน้ำมัน ส่งผลทำให้การบริโภคและการลงทุนชะลอตัวลงอยู่แล้ว ทางการจึงไม่จำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินที่ตึงตัวเพื่อลดแรงกดดันต่อเงินเฟ้อด้านอุปสงค์

สถานการณ์ปัจจุบันเงินบาทแข็งค่าขึ้น เพราะเงินลงทุนระยะสั้นไหลเข้ามาในประเทศไทย และทำให้มีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศเป็นจำนวนมาก ประเทศไทยจึงไม่จำเป็นมากนักที่ต้องขึ้นดอกเบี้ยเพื่อรักษาเงินลงทุนระยะสั้นจากต่างประเทศ แต่น่าจะยอมให้เงินลงทุนระยะสั้นที่ไหลเข้ามาชะลอตัว ลงบ้าง เพื่อไม่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งเกินไปและยังเป็นการกระตุ้นการส่งออกในครึ่งปีหลัง

นอกจากนี้ นโยบายการเงินที่เข้มงวดเกินไปจะส่งผลกระทบต่อประชาชนอย่างรุนแรง เพราะนโยบายประชานิยมของรัฐบาลได้ทำให้หนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง หากดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นมากเกินไปจะทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ของประชาชนลดลงจนอาจเกิดปัญหาหนี้เสียตามได้

                ผมจึงเห็นด้วยกับผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยที่ระบุว่า จะขึ้นดอกเบี้ยเป็นครั้งสุดท้ายแล้ว


ขอคิดอย่างสร้างสรรค์ : เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
http://www.kriengsak.com/series_to_date/240606/index.htm
บันทึกการเข้า

แสนยานุภาพผู้ยิ่งใหญ่เสมอฟ้าดิน
AsianNeocon
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,277


中華萬歲﹗ LONG LIVE CHINA!


เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 26-06-2006, 16:30 »

เห็นด้วยกับอ.เกรียงศักดิ์

ถ้าเราสามารถหยุดรัฐบาลชั่วหน้าเหลี่ยมไม่ให้ผลาญเงินต่อ เอาไปส่งเสริมการก่อหนี้ เรื่องก็จบ แบงก์ชาติก็ไม่ต้องตามไปขึ้นดอกเบี้ยต่อ ประชาชนก็ไม่ต้องเป็นหนี้เพิ่มอีก เป็นการชะลอเงินร้อนไหลเข้าได้ด้วย ช่วยค่าเงินบาท พยุงการส่งออก

สรุปว่า ทุกคนต้องมาปวดหัว มาเดินขบวนต่อต้าน บ้านเมืองวุ่นวาย แบงก์ชาติขึ้นดอกเบี้ย เพราะไอ้หน้าเหลี่ยมตัวเดียว
บันทึกการเข้า

In The Name Of Justice.
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 952


-_-;


« ตอบ #2 เมื่อ: 26-06-2006, 17:23 »

เป้าหมายคือ ทักษิณออกไปครับ  Laughing  Razz  Wink
บันทึกการเข้า

"มนุษย์มักต้องการในสิ่งที่ตนเองไม่มี..."

"I Fight In The Name Of Justice."
so what?
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,729


« ตอบ #3 เมื่อ: 26-06-2006, 17:41 »

เหลี่ยมจะออกเมื่อไหร่หรือไม่ออกก็ตามที
ผมเชื่อว่าหายนะทางเศรษฐกิจที่กำลังคืบคลานเข้ามาครั้งนี้หนักหนาสาหัสทีเดียว
และคงจะต้องใช้เวลาเยียวยาบูรณะกันนานกว่าวิกฤติปี 47

ค่าเงินบาทที่แข็งแบบผิดปกติเป็นสัญญานร้ายที่ต้องจับตาดูให้ดีครับ
บันทึกการเข้า
ตลก
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 686


ไปมาไร้ร่องรอย


« ตอบ #4 เมื่อ: 26-06-2006, 18:58 »

ผมว่าคำว่าเงินเฟ้อ มันส่งสัญญาณไม่ดีไงก็ไม่รู้นะครับ
บันทึกการเข้า

ผ่านฟ้าแล้วเลยไปนรกเลยรึเปล่าครับ.........
กิ๊กบนเรือ บนเครื่องบิน กิ๊กบนรถ ทุกอาชีพกิ๊กกันหมดอนาคตจะเป็นไง?
แอ่นแอ๊น
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,591


"Angela Gheorghiu" My goddess


เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 26-06-2006, 19:21 »

ถ้าให้ตอบต้องบอกว่า เงินเฟ้อ
แต่ว่า เงินเฟ้อนี้เกิดจากอุปทาน ไม่ใช่อุปสงค์
ใช้วิธีแก้แบบเดียวกันไม่ได้
ที่สำคัญคือ ถ้าเอานโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจแบบเดิมๆ มาใช้ละก็เป็นอันได้เน่าแน่ๆ
เท่าที่รู้มา ยังไม่มีใครแก้เงินเฟ้อจากอุปทานได้เลย นอกจากปล่อยให้เดี้ยงตายกันไป
แล้วให้เวลาค่อยๆ ช่วยแก้ปัญหา (เครื่องมือทั้งทางการเงินและการคลังมักจะไม่ค่อยได้ผล)
บันทึกการเข้า

       

"เมื่อเจตนาเบี่ยงเบนไปจากความจริง การนำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง บางทีก็เป็นเพียงภาษาสุภาพสำหรับการพูดเท็จนั่นเอง" : วิถีแห่งปราชญ์ พิมพ์ครั้งที่ ๗ หน้า ๒๐๖
Kittinunn
Aloha007
Global Moderator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,127


ไปได้สวย...ด้วยเกียร์ต่ำ!!!


เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 26-06-2006, 19:59 »

ผมว่าสลับกัน หรือผสมผสานกันตามแต่สถานการณ์จะดีกว่าครับ
บันทึกการเข้า

“ผมเขียนไปในบล็อกนั้น แบบข้างบนนี้เหมือนกัน นึกว่า จะโพสต์ ปรากฏว่า เขาบอกว่า ต้อง สมัครสมาชิกก่อน ผมขี้เกียจ เลยมาโพสต์ที่นี่แทน อ้อ ตอนเขียน ผมใส่คำว่า ทุเรศ และ น่าสมเพช ไปด้วย” (อ.สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล-เว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน - ข้อความในเสรีไทย โดย Snowflake)

หน้า: [1]
    กระโดดไป: