ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
30-11-2024, 17:57
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  ห้องสาธารณะ  |  สื่อรับใช้....ระหว่างนักการเมือง...ปชช....จนถึงรับใช้ตัวเอง ????? 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
สื่อรับใช้....ระหว่างนักการเมือง...ปชช....จนถึงรับใช้ตัวเอง ?????  (อ่าน 1338 ครั้ง)
โพงพาง
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: 17-09-2008, 18:54 »

http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01act03070851&day=2008-08-07&sectionid=0130

จุดยืนสื่อ ในสถานการณ์ความขัดแย้ง

โดย บุญเลิศ ช้างใหญ่

ลอง สำรวจตรวจตราอย่างพินิจพิเคราะห์ดูซิว่า ในท่ามกลางสถานการณ์ที่เกิดความขัดแย้งทางความคิดของคนในสังคม
ที่แบ่งออก เป็นฝักฝ่าย จากกรณีความขัดแย้งทางการเมือง สื่อมวลชนได้ทำหน้าที่อย่างไร
สื่อไหนสมควรได้รับการยอมรับอย่างมีเหตุผล มีหลักวิชาทั้งวิชาการและวิชาชีพว่าเป็น "สื่อของมวลชน" อย่างแท้จริง
ไม่ใช่สื่อของพรรคและพวกที่มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายเฉพาะเพื่อพรรคและพวก ของตนเอง

มีคนเรียกร้องให้สื่อวางตัวเป็นกลาง ไม่เข้าข้างฝ่ายใด ต้องการเห็นสื่อไม่ยั่วยุ ไม่ทำให้เหตุการณ์ขัดแย้งนั้นบานปลาย
จนนำไปสู่ความรุนแรงถึงขั้นนองเลือด เสียงเรียกร้องนั้นมาจากคนทั่วไปและนักวิชาการบางส่วน ซึ่งฟังดูก็น่าจะเข้าท่า

แต่ถ้ามองให้ลึกถึงแก่นแท้ มองให้กว้างอย่างรอบด้าน ใช้ประสบการณ์ในอดีตมาประกอบการพิจารณาก็จะพบ "ความจริงแท้"
ที่อธิบายสถานการณ์ความขัดแย้งและบทบาทหน้าที่ของสื่อได้อย่างไม่ผิดพลาด และสุดท้ายการจะเรียกร้องอะไร อย่างไร
ก็จะไม่กลายเป็นความเพ้อเจ้อ เลื่อนลอยจนตกเป็นเครื่องมือของบางฝ่ายไปโดยไม่รู้ตัว

กล่าวสำหรับ สื่อที่เป็นสื่อกระแสหลัก ประกอบด้วยหนังสือพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์ ทั้ง 3 สื่อนี้มีความแตกต่างกัน
โดยหนังสือพิมพ์เป็นสื่อของเอกชน มีประวัติการต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพของวิชาชีพหนังสือพิมพ์และการแสดงออก
ใน การพูด การแสดงความคิดเห็น การชุมนุมเรียกร้องของประชาชนมาช้านาน ถูกจับติดคุกติดตะราง
ถูกปิดโรงพิมพ์ ถูกฆ่าตายมาจำนวนไม่รู้เท่าไร

ใน ขณะที่วิทยุ และโทรทัศน์ถือเป็น "สื่อของรัฐ" กล่าวคือ ผู้มีอำนาจรัฐได้นำคลื่นความถี่
ที่ใช้ส่งกระจายเสียงทางวิทยุและโทรทัศน์  มาใช้ในการกระจายเสียงและแพร่ภาพ ได้แก่
กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพ อากาศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ อสมท ฯลฯ
โดยถือสิทธิว่า วิทยุทุกคลื่น (ทุกสถานี) โทรทัศน์ทุกช่องเป็นของรัฐบาล
(แม้บางสถานีจะให้สัมปทานเอกชนเพื่อแลกกับผลประโยชน์ทางการเงิน)
ก็จะต้องเสนอข่าวและรายการต่างๆ ที่ไม่กระทบกระเทือนหรือสร้างความไม่พอใจให้กับผู้ปกครองประเทศ

สื่อ ของรัฐถูกคาดหวังจากรัฐบาลว่าจะไม่เสนอข่าวและรายการที่เกิดความเสียหายกับ
รัฐบาลโดยไม่สนใจว่ารัฐบาลทำดี ทำชั่วอย่างไร ไม่นำพาว่า ปฏิกิริยาของภาคส่วนต่างๆ ในสังคมเป็นแบบไหน
แต่ในแง่ของมวลชนนั้นมีสิทธิพูดได้อย่างเต็มปากว่า คลื่นความถี่ที่อยู่ในอากาศเป็น "ทรัพยากรสื่อสารของชาติ"
และต้องถูกใช้ "เพื่อประโยชน์ของสาธารณะ" ทั้งมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ "สื่อของรัฐ" หันกลับมาเป็น "สื่อของมวลชน"

ในตำราวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ถือว่า หนังสือพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์เป็น "สื่อมวลชน"
เพราะนำเสนอข่าวสารและเรื่องราวไปสู่สาธารณชน ซึ่งจำแนกแยกแยะไม่ได้ว่าเป็นใคร กลุ่มไหน
และไม่อาจปฏิเสธได้ว่า สื่อมวลชนไม่เกี่ยวกับระบอบการเมืองการปกครอง

การปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยก็เคารพในสิทธิเสรีภาพของสื่อในการพิมพ์ การโฆษณา
ถือเป็นเนื้อเดียวกับเสรีภาพของคนทุกคนในการพูด การแสดงความคิดเห็น การเขียน การชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ
ตรงกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติที่ประกาศเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2491
และรัฐธรรมนูญของไทยฉบับต่างๆ รวมถึงฉบับปัจจุบันก็บัญญัติไว้ชัดแจ้ง นี่เองจึงมีคำกล่าวที่ว่า
"เสรีภาพหนังสือพิมพ์คือเสรีภาพประชาชน" และเปลี่ยนมาเป็น "เสรีภาพสื่อมวลชนคือเสรีภาพประชาชน"

เพื่อให้สอดรับกับยุคสมัยที่มนุษย์ต้องดำรงชีวิตอย่างมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี สิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน
ได้รับการปฏิบัติอย่างจริงจังจากภาครัฐ โดยสื่อมวลชนต้องทำหน้าที่อย่างซื่อสัตย์ต่อประชาชน

ด้วยความแตกต่างในโครงสร้างและจุดกำเนิดของสื่อแขนงต่างๆ รวมทั้งจากอดีตที่ผ่านมา
สื่อของรัฐถูกกล่าวหาและประณามว่า ไม่ได้ทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา
โดยเฉพาะเวลาเกิดข้อขัดแย้งระหว่างประชาชนกับรัฐบาล ดังเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2535
จึงเป็นที่มาของการเรียกร้องให้ "ปฏิรูปสื่อ"

แต่น่าเสียดายที่จนถึงวันนี้แทบไม่มีความเปลี่ยนแปลงในทางสร้างสรรค์เกิด ขึ้นกับวิทยุและโทรทัศน์

ต้องยอมรับว่า ความขัดแย้งทางความคิดของคนในปัจจุบันนั้นมีอยู่จริง
เป็นสภาวะที่ร้าวลึกจนน่าเป็นห่วงและอาจนำไปสู่ความรุนแรงถึงขั้นเกิด "สงครามกลางเมือง"
แม้ว่า ไม่มีใครอยากให้เกิด แต่มันอาจจะเกิดถ้าหากนักการเมืองที่เป็นฝ่ายรัฐบาลยั่วยุอยู่ทุกวัน
เดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ คอยให้ท้ายอันธพาลกวนเมือง

ในส่วนของเจ้าหน้าที่รัฐโดยเฉพาะข้าราชการฝ่ายปกครอง ตำรวจ ก็นิ่งดูดายไม่หาทางป้องกันหรือปราบปราม
ดังกรณีการล้อมปราบที่หนองประจักษ์ จังหวัดอุดรธานี

ถามว่าสื่อจะวาง ตัวหรือมี "จุดยืน" อย่างไรในสถานการณ์เช่นนี้
ก่อนจะตอบต้องย้อนกลับไปในช่วง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นรัฐบาล
ตอนนั้นถ้าสื่อไม่หลอกตัวเองต้องยอมรับว่า สื่อทุกแขนงโดยเฉพาะวิทยุและโทรทัศน์ถูกแทรกแซงจากรัฐบาลในรูปแบบต่างๆ
แต่สุดท้ายรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณก็เผชิญวิกฤตเพราะความฉ้อฉลและความเลวร้ายต่างๆ
มีมากเกินกว่าที่ใครหรือสื่อใดจะปกปิด หรือบิดเบือนได้

การเกิด วิกฤตครั้งใหม่ในรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช เป็นความต่อเนื่องของสถานการณ์ โดย พ.ต.ท.ทักษิณและพวก
รวมทั้งพรรคพลังประชาชนจะถูกตรวจสอบโดยองค์กรอิสระถูกพิพากษาโดยศาลยุติธรรม มีโทษถึงติดคุกและยุบพรรค ทำให้พรรคพลังประชาชนต้องเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญบางมาตรา เป็นเหตุให้ถูกต่อต้านจากกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

ไม่ ว่าสื่อใด มิอาจวางตัวอยู่ตรงกลางได้ ตรงกันข้ามสื่อต้องแสดงจุดยืนเพื่อให้ได้ชื่อว่าเป็น "สื่อของมวลชน"
ให้สมกับการเป็นวิชาชีพที่ยืนอยู่กับความจริง นำเสนอข่าวอย่างมืออาชีพ นั่นคือรอบด้านและเจาะลึก
ไม่เลือกเสนอข่าวแต่เฉพาะที่เป็นผลดีต่อฝักฝ่ายของรัฐบาล โดยเฉพาะโทรทัศน์ช่องต่างๆ
ควรจะรู้ว่าการเสนอข่าวสารในปัจจุบันไม่ได้แสดงออกซึ่งการมีฝีมือและปัญญาสม กับการเป็นสื่อของมวลชนเลย
จึงมีเสียงบ่นระคนการก่นด่าเมื่อดูข่าวโทรทัศน์ นี่ก็เป็นเหตุหนึ่งที่คนหันไปดู ASTV มากขึ้นทุกวันแถมยังบริจาคเงินให้อีกด้วย

จากคำพิพากษาของศาลอาญาให้ จำคุกนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร คนละ 3 ปี
และนางกาญจนาภา หงษ์เหิน 2 ปี ในความผิดฐานหลีกเลี่ยงการเสียภาษีบริษัท ชินคอร์ปฯ
ควรจะทำให้สื่อและสถาบันต่างๆ ตื่นขึ้นมาจากความหลงผิดแล้วทำหน้าที่ด้วยจุดยืนที่จะทำให้สังคมหูตาสว่าง
ยืนเคียงข้างความถูกต้อง ไม่ยอมเป็นมือเป็นไม้ของฝ่ายฉ้อฉลอีกต่อไป

ทั้ง นี้ มิใช่เพื่อร่วมแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่ล่อแหลมต่อการเกิดเหตุวุ่นวายและการ
นองเลือดเท่านั้น หากแต่เป็นการธำรงสถานะของการเป็นสื่อของมวลชนเอาไว้
ก่อนที่จะถูกก่นด่าและถูกประณามจากคนในสังคมมากไปกว่านี้

--------------ใครจะระบุได้บ้างว่า  สื่อไหนเป็นกลาง  หรือสื่อไหนกล้าเรียกตัวเอง ว่า เป็นกลาง

พวกที่เรียกตัวเองว่าถูกไม่ต้องเลือก รบ  หรือเลือก พธม  แค่มองให้ออกว่า ความจริง ความถูกต้อง
ศีลธรรม จริยธรร คุณธรรม คืออะไร  แล้วเสนอไปตามนั้น

ไม่ใช่แปะข่าวแบบพวกเล่นเนตฆ่าเวลา  หรือสักแต่มีปาก(กา) เลยจะเขียนอะไร ก็ได้
แค่ไม่เจาะข่าวเชิงลึกที่มาที่ไปของข่าว ให้คนอ่านรู้เรื่อง ตลอด ตั้งแต่ต้นจนจบ  ก็เรียกได้ว่า สื่อขายตัว

เช่น ข่าวสมัคร เรื่องชิมไปบ่นไป  เขียนแค่ถูกตัดสิน  อ่านคำตัดสิน ว่า....
แต่ไม่พยายามชี้ประเด็นสำคัญของคำพิพากษาว่า เป็นเรื่องของ conflict of interest  ซึ่งคนเป็น นายก ไม่ควรทำ

สื่อไม่เคยเห็นว่า  รบ ทักษิณ  ล้วนมีแต่เรื่องฉ้อฉล  แล้วเสนอข่าวเชิงลึกให้คนทุกระดับเข้าใจ

สื่อ ที่คุยว่าขายดีทั่วประเทศ เคยคิดจะทำเพื่อบ้านเมืองบ้างไหม  ถ้าไม่

ขอถามว่า เคยคิดจะทำหน้าที่สื่อเพื่อความถูกต้อง  บ้างไหม


บันทึกการเข้า
OMEGA
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 233



« ตอบ #1 เมื่อ: 19-09-2008, 08:47 »

rep เถื่อนมากันเพียบเลย เตรียมไม้กอล์ฟไว้ให้พร้อม
 

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19-09-2008, 08:49 โดย OMEGA » บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
    กระโดดไป: