http://www.thaijustice.com/webboard.asp?sub=0&id=490547จรัญ ภักดีธนากุล" ยุติธรรมหรือขี้โกง
จรัญ ภักดีธนากุล มีสถานะตุลาการชั้นผู้ใหญ่ ที่มีสัญญลักษณ์ตราชั่งอันแสดงถึงความสถิตย์ ยุติธรรม แต่ใครจะรู้ว่า หลังบ้านนั้นกลับมีพฤติกรรม ขี้โกง เป็นกมลสันดาน ทั้งโกงเงิน โกงที่ดิน คนใกล้ชิดที่นับหน้าถือตากันมานาน
นายจรัญ ภักดีธนากุล ซึ่งคลุกคลีอยู่ในแวดวงกระบวนการศาลสถิตยุติธรรม รับราชการตุลาการ เกินครึ่งชีวิต ก่อนจะก็ได้รับการขอโอนย้ายจากข้าราชการตุลาการ ในตำแหน่งสุดท้ายคือ เลขาธิการประธานศาลฎีกา สำนักงานประธานศาลฎีกา ไปเป็นข้าราชการพลเรือนในตำแหน่งปลัดกระทรวงยุติธรรม ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549
การคลุกคลีในตำแหน่งข้าราชการตุลาการเกินครึ่งชีวิต ย่อมจะเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเป็นอย่างดี ในการผดุงความยุติธรรม
ดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ เคยพระราชทานพระราชดำรัส แก่ผู้พิพากษา ประจำสำนักงานศาลยุติธรรม เข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณตนก่อนเข้ารับหน้าที่ ณ ท้องพระโรง ศาลาเริง วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 (ฉบับไม่เป็นทางการ)
มีใจความตอนหนึ่งว่า "........ ความยุติธรรมนี้คือ การปฏิบัติอะไรที่ถูกต้องตามธรรม คือยุติธรรม ถ้าฟังดูก็ยุติในธรรม ยุติในความดีความชอบ ท่านก็รักษาความยุติธรรม ท่านต้องรักษาความดีความชอบ ผู้พิพากษาจะต้องรักษาความยุติธรรมด้วยความดี ความถูกต้อง ถ้าท่านรักษาความยุติธรรม ตามที่ได้ปฏิญาณตน เชื่อว่าความสุขความสงบก็จะเกิดขึ้น ถ้าผู้พิพากษาไม่รักษาความยุติธรรมเมื่อใด ประเทศชาติคงวุ่นวาย........"
แต่นายจรัญ ภักดีธนากุล คงจะไม่เคยถ่ายทอดแนวทางตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่นายจรัญ ภักดีธนากุล ได้รับ ไปถึงคนในครอบครัว โดยเฉพาะภรรยาที่ชื่อนางทีปสุรางค์ ภักดีธนากุล และแม่ยายที่ชื่อ นางจินดา สุนทรพันธ์
เพราะหาก นายจรัญ ภักดีธนากุล ถ่ายทอดแนวทางตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้กับภรรยาและแม่ยาย เรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับคดี โกงที่ดิน คนใกล้ชิดที่นับหน้าถือตากันมานานคงไม่เกิดขึ้น และคงไม่คิดเบียดบังทรัพย์สินคนอื่นมาเป็นของตน
และในกรณีโกงที่ดิน ทำให้สาธารณะชนได้รับรู้อีกว่า พฤติกรรมขี้โกงของนางทีปสุรางค์ ภักดีธนากุล ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกรณีนี้กรณีเดียว เพราะในคำฟ้องคดีดังกล่าว ยังได้แฉพฤติกรรมให้สาธารณะชนได้รับรู้ ถึงความเป็นคนขี้โกงของนางทีปสุรางค์ โดยข้อความในคำฟ้องระบุตอนหนึ่งว่า
"......นางทีปสุรางค์ มีพฤติกรรมที่น่าสงสัย เนื่องจากเคยยืมเงินพันตรีหญิงสินเสริม เลขะวนิช จำนวน 2 ล้านบาท แล้วไม่ยอมชดใช้........"
เรื่องอื้อฉาวคดีฟ้องร้องโกงที่ดิน สืบเนื่องจาก นางทีปสุรางค์ และมารดาร่วมกันคมคบคิด โกงที่ดินของพันตรีหญิงสินเสริม เลขะวนิช และนางสาวสุภา วงศ์เสนา ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินร่วมกัน ตามโฉนดที่ดินเลขที่ 20550 และโฉนดที่ดินเลขที่ 23716 -23765 รวม 51 แปลง ที่ตำบลควนลัง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งมีเนื้อรวมกันที่ประมาณ 22 ไร่เศษ
ทำให้พันตรีหญิงสินเสริม เลขะวนิช และนางสาวสุภา วงศ์เสนา ตัดสินใจร่วมกันเป็นโจทย์ ยื่นฟ้องแพ่งนางทีปสุรางค์ ภักดีธนากุล เป็นจำเลยที่ 1 และนางจินดา สุนทรพันธ์ ซึ่งเป็นมารดาของนางทีปสุรางค์ เป็นจำเลยที่ 2 ในปี 2540 ที่ศาลจังหวัดสงขลา โดยเป็นคดีหมายเลขดำที่ 2715/2540 คดีหมายเลขแดงที่ 993/2547 เกี่ยวกับเรื่องที่ดิน เพิกถอนนิติกรรม เรียกทรัพย์คืน
ในคำฟ้องของ พันตรีหญิงสินเสริม เลขะวนิช และนางสาวสุภา วงศ์เสนา ระบุว่า ได้ทำหนังสือมอบอำนาจ ด้วยการลงลายมือชื่อในช่องมอบอำนาจ แต่ไม่ได้กรอกข้อความ จำนวน 15 ฉบับ เพื่อให้นางทีปสุรางค์ ไปดำเนินการที่สำนักงานที่ดิน จังหวัดสงขลา สาขาหาดใหญ่ เพื่อรวมโฉนดที่ดินทั้ง 51 แปลง เป็นแปลงเดียว แล้วแบ่งเป็นแปลงย่อย ไม่เกินแปลงละ 50 ตารางวา เพื่อนำออกขายแก่บุคคลทั่วไป
แต่ต่อมาประมาณเดือนพฤษภาคม 2540 ทราบว่านางทีปสุรางค์ ไม่ได้รวม และแบ่งแยกโฉนดตามที่ได้มอบหมายให้ไปดำเนินการ แต่กลับสบคบกับนางจินดา สุนทรพันธ์ ซึ่งเป็นมารดาของนางทีปสุรางค์ นำหนังสือมอบอำนาจที่ได้ลงลายมือไว้ให้ ไปกรอกข้อความจดทะเบียนโอนที่ดินเป็นของนางทีปสุรางค์และมารดาเสียเอง
หลังจากนั้น นางทีปสุรางค์และมารดา ได้นำที่ดินไป และได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินบางส่วนให้กับบุคคลภายนอก
พฤติกรรมเยี่ยงนี้ ถือเป็นการโกงซึ่งหน้า เพราะพันตรีหญิงสินเสริม เลขะวนิช และนางสาวสุภา วงศ์เสนา มอบหมายให้นางทีปสุรางค์ เป็นตัวแทนในการดำเนินการรวมโฉนดที่ดินแล้วแบ่งแยกใหม่ โดยมีจุดประสงค์เพื่อขายที่ดินที่แบ่งแยกแล้วให้บุคคลอื่น ไม่เคยให้นางทีปสุรางค์ นำที่ดินออกขาย และไม่เคยให้ดำเนินการพัฒนาที่ดินแต่อย่างใด
ที่สำคัญ ในคำฟ้อง ระบุว่า พันตรีหญิงสินเสริม เลขะวนิช และนางสาวสุภา วงศ์เสนา ไม่ได้ขายที่ดินให้กับนางทีปสุรางค์และมารดา ตามที่ทั้งสองให้การต่อศาลว่าซื้อมาในราคา 4 ล้านบาท และไม่เคยได้รับเงินค่าที่ดินจากนางทีปสุรางค์และมารดาแม้แต่บาทเดียว
พันตรีหญิงสินเสริม เลขะวนิช และนางสาวสุภา วงศ์เสนา จึงได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ให้ดำเนินคดีกับนางทีปสุรางค์และมารดา ในข้อหาร่วมกันปลอมแปลงเอกสารและใช้เอกสารปลอม และได้แจ้งอายัด ที่สำนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา สาขาหาดใหญ่
เพราะการกรอกข้อความในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว เป็นการกระทำที่ไม่สุจริต ซึ่งถือเป็นการร่วมกันปลอมแปลงเอกสารหนังสือมอบอำนาจ จึงถือเป็นเอกสารปลอม จะนำไปใช้จดทะเบียนทำนิติกรรมใดๆ ไม่ได้
ดังนั้นการที่ นางทีปสุรางค์และมารดา นำที่ดินไปจดทะเบียนโอนขาย จึงถือเป็นโมฆะ
ในคำฟ้อง ระบุให้นางทีปสุรางค์และมารดา เพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรมโอนขายที่ดิน ตามหนังสือมอบอำนาจที่กรอกข้อความจดทะเบียนโอนที่ดินเป็นของนางทีปสุรางค์ และมารดา และให้จดทะเบียนโอนที่ดินคืนกลับมา
หากไม่สามาถโอนคืน นางทีปสุรางค์และมารดาร่วมกันชำระเงินค่าที่ดินจำนวน 45 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5ต่อปี จากเงินต้นดังกล่าว นับแต่วันฟ้อง
ในคำฟ้องยังระบุถึงสำหรับสาเหตุที่พันตรีหญิงสินเสริม เลขะวนิช และนางสาวสุภา วงศ์เสนา มอบหมายให้นางทีปสุรางค์ ไปดำเนินการรวมโฉนดที่ดินแล้วแบ่งเป็นแปลงย่อย เนื่องจากนางสาวสุภา วงศ์เสนา เป็นเพื่อนสนิทของนายยิ่งยง สุนทรพันธ์ ซึ่งเป็นสามีของนางจินดา สุนทรพันธ์ และไปมาหาสู่กับครอบครัวของนายยิ่งพันธ์มาโดยตลอด ทำให้สนิทสนมกับนางทีปสุรางค์ โดยรักและเอ็นดูเหมือนบุตรหลาน
ระหว่างปี 2537 พันตรีหญิงสินเสริม เลขะวนิช ล้มป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน มือเท้าสั่นและอ่อนแรง ส่วนนางสาวสุภา วงศ์เสนา เส้นเลือดฝอยในสมองแตกร่างกายเป็นอัมพฤกษ์ ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล นายยิ่งยง จึงให้นางทีปสุรางค์ ซึ่งเป็นลูกสาวมาเยี่ยมและดูแลไข้
และด้วยสถานะของนางทีปสุรางค์ ซึ่งเป็นลูกของเพื่อน และที่สำคัญเป็นภริยาของตุลาการชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งก็คือนายจรัล ภักดีธนากุล ขณะนั้นมีตำแหน่ง เลขาธิการประธานศาลฎีกา สำนักงานประธานศาลฎีกา ทำให้พันตรีหญิงสินเสริม เลขะวนิช และนางสาวสุภา วงศ์เสนา เชื่อมั่นและไว้วางใจ มากยิ่งขึ้น ในการมอบหมายไว้วาน ให้ดำเนินการในเรื่องอื่นๆ รวมถึงรวมโฉนดที่ดินแล้วแบ่งเป็นแปลงย่อยจนนำไปสู่การฟ้องร้อง
ซึ่งหากพิจารณาจากพฤติการณ์เป็นการใช้กลฉ้อฉล โดยอาศัยความสับสน ซึ่งสติสัมปชัญญะพันตรีหญิงสินเสริม เลขะวนิช และนางสาวสุภา วงศ์เสนา ในยามที่เจ็บป่วยให้ลงชื่อไว้
อย่างไรก็ตามในการฟ้องร้องดังกล่าว นางทีปสุรางค์และมารดา ได้ฟ้องแย้ง โดยระบุว่า การโอนกรรมสิทธิ์ทั้ง 51 แปลง เป็นการโอนโดยถูกต้องตามเจตนาของทั้งสองฝ่าย ไม่ใช่หนังสือมอบอำนาจปลอม ที่ดินทั้งหมดจึงเป็นของนางทีปสุรางค์และมารดา หลังจากซื้อที่ดินจากพันตรีหญิงสินเสริม เลขะวนิช และนางสาวสุภา วงศ์เสนา ในราคา 4 ล้านบาท ก็ได้ลงทุนพัฒนาที่ดิน จนทำให้ราคาที่ดินสูงขึ้น มีมูลค่าในการซื้อขายประมาณ 85 ล้านบาท
ซึ่งหากขายที่ดินได้ทั้งหมด จะได้เงินไม่น้อยกว่า 120 ล้านบาท หักต้นทุนและค่าใช้จ่ายแล้ว นางทีปสุรางค์และมารดา จะมีกำไรไม่น้อยกว่า 30 ล้านบาท
นอกจากนี้ พันตรีหญิงสินเสริม เลขะวนิช และนางสาวสุภา วงศ์เสนา ทราบข้อเท็จจริงทั้งหมด ตั้งแต่ปี 2538 แต่มาฟ้องคดีเมื่อปี 2540 เกิน 3 ปี ดังนั้นคำฟ้องจึงขาดอายุความ
ดังนั้นการที่พันตรีหญิงสินเสริม เลขะวนิช และนางสาวสุภา วงศ์เสนา อายัดที่ดินที่สำนักงานที่ดิน ทำให้ได้รับความเสียหาย เนื่องจากมีผู้ซื้อที่ดินและได้รำระราคาให้บางส่วนแล้ว แต่เมื่อไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ทำให้นางทีปสุรางค์และมารดา ขาดประโยชน์อันพึงได้รับจากการขายที่ดิน กล่าวคือ ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินบางส่วนให้กับบุคคลภายนอกแล้ว คิดเป็นราคาที่ดินทั้งสิ้น 34.8 ล้านบาท
ในคำฟ้องแย้ง ของนางทีปสุรางค์และมารดา ได้ขอเรียกค่าเสียหาย ให้พันตรีหญิงสินเสริม เลขะวนิช และนางสาวสุภา วงศ์เสนา ชดใช้ค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์อันพึงได้เป็นเงิน 30 ล้านบาท และเรียกค่าเสียหาย จากการอายัดที่ดินทำให้เสียชื่อเสียงและเสียความน่าเชื่อถือ 20 ล้านบาท และให้ชดใช้ค่าเสียหายตามฟ้องแย้งเป็นเงิน 94.39 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม พันตรีหญิงสินเสริม เลขะวนิช และนางสาวสุภา วงศ์เสนา ได้เสียชีวิตลงในระหว่างการฟ้องร้อง นางกัลยาณี รุทระกาญจน์ จึงเป็นผู้เข้ารับมรดกแทนพันตรีหญิงสินเสริม เลขะวนิช และมูลนิธิสินเสริมธรรม เข้ารับมรดกแทนนางสาวสุภา วงศ์เสนา
ทั้งนี้ ในการพิจารณาคำฟ้องดังกล่าว ศาลได้กำหนดประเด็นข้อพิพาท ไว้ 6 ประเด็น ประกอบด้วย
1.คำฟ้องแย้งเคลือบคลุมหรือไม่
2.การกรอกข้อความลงในแบบพิมพ์ใบมอบอำนาจฝ่าฝืนต่อเจตนาหรือไม่
3.พันตรีหญิงสินเสริม เลขะวนิช และนางสาวสุภา วงศ์เสนา ได้รับความเสียหายเพียงไร
4.คำฟ้องขาดอายุความหรือไม่
5.การอายัดที่ดินที่พิพาทเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตหรือไม่
6.นางทีปสุรางค์และมารดาได้รับความเสียหายเพียงใด
ทั้งนี้ภายหลังการนำสืบพยาน โดยศาลจังหวัดสงขลา ได้มีการพิพากษาเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2547 ได้วินิจฉัยว่า นางทีปสุรางค์ กรอกข้อความลงในแบบพิมพ์ใบมอบอำนาจฝ่าฝืนเจตนาของพันตรีหญิงสินเสริม เลขะวนิช และนางสาวสุภา วงศ์เสนา จริง ดังนั้นนิติกรรมการโอนที่ดินมาเป็นของนางทีปสุรางค์ จึงเกิดขึ้นจากการฉ้อฉล โดยเจตนาทุจริตและ พันตรีหญิงสินเสริม เลขะวนิช และนางสาวสุภา วงศ์เสนา มิได้รู้เห็นยินยอมด้วย นิติกรรมการโอนดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ และต้องถือเสมือนว่ามิได้มีนิติกรรมการโอนเกิดขึ้น
ศาลจึงพิพากษา ให้นางทีปสุรางค์และมารดา จดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรมโอนขายที่ดินตามคำร้องของพันตรีหญิงสินเสริม เลขะวนิช และนางสาวสุภา วงศ์เสนา
แต่ที่ไม่น่าเชื่อ คือ ประเด็นข้อพิพาทในข้อที่ 6 ที่นางทีปสุรางค์และมารดา ได้ดำเนินการถมดินเพื่อพัฒนา ซึ่งเท่ากับได้ดัดแปลงหรือต่อเติมทรัพย์สิน อันเป็นกรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 418 วรรคแรก ซึ่งบัญญัติว่า
"ถ้าบุคคลรับทรัพย์สินอันมิควรได้ไว้โดยสุจริต และได้ทำการดัดแปลงหรือต่อเติมขึ้นในทรัพย์สินนั้น ท่านว่าบุคคลเช่ชชนั้นต้องจัดทำทรัพย์สินนั้นให้คืนคงสภาพเดิม ด้วยค่าใช้จ่ายของตนเอง แล้วจึงส่งคืน เว้นแต่เจ้าของทรัพย์สินจะเลือกให้ส่งคืนตามสภาพที่เป็นอยู่ ในกรณีเช่นนี้เจ้าของจะใช้ราคาค่าทำดัดแปลงหรือต่อเติม หรือใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นราคาทรัพย์สินเท่าที่เพิ่มขึ้นนั้นก็ได้ แล้วแต่จะเลือก"
ซึ่งพันตรีหญิงสินเสริม เลขะวนิช และนางสาวสุภา วงศ์เสนา เลือกที่จะให้นางทีปสุรางค์และมารดา ส่งคืนที่ดินตามสภาพที่เป็นอยู่
ศาลจึงวินิจฉัย กรณีที่นางทีปสุรางค์และมารดา ได้มีการเข้าไปลงทุนพัฒนาที่ดินแล้ว ทำให้ค่าของที่ดินที่พิพาทสูงขึ้น ซึ่งการชดใช้เงินตามราคาทรัพย์สินเท่าที่เพิ่มขึ้นตามที่บัญญัติไว้ในประมูล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 418 วรรคแรกนี้ ให้ดูมูลค่าของที่ดินดูดีขึ้น
จึงพิพากษาให้ผู้เข้ารับมรดกแทนพันตรีหญิงสินเสริม เลขะวนิช และนางสาวสุภา วงศ์เสนา ร่วมกันชดใช้ราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นให้แก่ นางทีปสุรางค์และมารดา เป็นเงิน 10 ล้านบาท
การพิพากษาให้นางทีปสุรางค์และมารดา จดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรมโอนขายที่ดิน และโอนคืนที่ดินให้กับพันตรีหญิงสินเสริม เลขะวนิช และนางสาวสุภา วงศ์เสนา
ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษาอย่างเที่ยงธรรม และน่ายกย่องอย่างยิ่งสมกับ พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้แก่ผู้พิพากษา ประจำสำนักงานศาลยุติธรรม ตามที่ระบุไว้ข้างต้น
แต่ประเด็นที่ยังเป็นข้อครหา คือ ทั้งที่นางทีปสุรางค์และมารดา โกงที่ดิน และนำไปพัฒนาโดยพละการ เหตุใดจึงพิพากษาให้ต้องชดใช้เป็นเงิน 10 ล้านบาท
โกงแล้วยังได้เงินตั้ง 10 ล้านบาท
ประเด็นคำถามที่มีการตั้งข้อสังเกต มิไม่มีเจตนาที่จะหมิ่นศาล แต่เป็นคำถามของผู้คนในสังคมที่ยังครางแคลงใจในประเด็นดังกล่าวว่า
เกิดอะไรขึ้นกับกระบวนการพิจารณาของศาลสถิตยุติธรรม
เกิดอะไรขึ้นกับกระบวนการยุติธรรมอันเป็นที่พึ่งพิงของประชาชนของบ้านนี้เมืองนี้
หรือว่ามี ผู้มีบารมีในตุลาการชั้นผู้ใหญ่ เข้ามาก้าวก่ายการพิจารณาคดี
กรณีการฟ้องร้องนางทีปสุรางค์และมารดา ซึ่งเป็นภรรยาและแม่ยายของ ตุลาการชั้นผู้ใหญ่ หากพิจารณาตามหลักการทำนิติกรรม
ตาม ประมวลกฏหมายแพ่ง หมวด 3 ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา
มาตรา 1461 สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา สามีภริยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและ ฐานะของตน
ดังนั้น ความเดือดร้อนขนาดคดีขึ้นโรงขึ้นศาลของนางทีปสุรางค์ ซึ่งเป็นภริยา มีหรือที่ นายจรัล ภักดีธนากุล จะไม่รับรู้
ตาม ประมวลกฏหมายแพ่ง หมวด 4 ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา
มาตรา 1479 การใดที่สามีหรือภริยากระทำ ซึ่งต้องรับความยินยอม ร่วมกัน และถ้าการนั้นมีกฎหมายบัญญัติ ให้ทำเป็นหนังสือหรือ ให้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ความยินยอมนั้นต้องทำเป็นหนังสือ
ดังนั้น การทำนิติกรรมซื้อขายที่ดิน มีหรือที่ นายจรัล ภักดีธนากุล จะไม่รับรู้
และหากพิจารณาพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 หมวด 5 ว่าด้วยเรื่อง วินัย การรักษาวินัย การลงโทษ และการร้องทุกข์ ส่วนที่ 1
มาตรา ๕๗ ข้าราชการตุลาการต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความระมัดระวังมิให้เสียหายแก่ราชการ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรม
มาตรา ๖๐ ข้าราชการตุลาการต้องรักษาชื่อเสียง มิให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว
ห้ามมิให้ประพฤติตนเป็นคนเสเพล มีหนี้สินรุงรัง เสพของมึนเมาจนไม่สามารถครองสติได้ เล่นการพนันเป็นอาจิณ กระทำความผิดอาญา หรือกระทำการอื่นใดซึ่งความประพฤติหรือการกระทำดังกล่าวอาจทำให้เสียเกียรติ ศักดิ์แห่งตำแหน่งหน้าที่ราชการ
มาตรา ๖๖ ข้าราชการตุลาการต้องไม่เข้าไปก้าวก่ายหรือแทรกแซงการพิจารณาพิพากษาคดีของ ข้าราชการตุลาการอื่น หรือกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้การพิจารณาพิพากษาคดีของข้าราชการตุลาการอื่นขาดความเป็น อิสระหรือความยุติธรรม
นายจรัล ภักดีธนากุล จะตอบคำถามกับสังคมอย่างไร เกี่ยวกับข้อสังเกตเรื่อง ผู้มีบารมีในตุลาการชั้นผู้ใหญ่
นายจรัล ภักดีธนากุล จะตอบคำถามกับสังคมอย่างไร เกี่ยวกับกับพฤติกรรม"ขี้โกง"ของคนในครอบครัว
ในขณะที่นายจรัล ภักดีธนากุล มีสถานะและบทบาทในสังคม คือ ผู้ผดุงความยุติธรรม
....................
อ่านแล้วเป็นไงมั่ง