เออ... ท่าน theOceaner...
การไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
เขาหมายถึง ไม่ผิดศีล ไม่ผิดคุณธรรม... น่ะครับ
เช่น การไปทำร้ายร่างกาย... การไปโกงทรัพย์... การไปหลอกลวงเขา... การไปล่อลวง.. การไปข้องแวะกับอบายมุข... ฯลฯ
การไปสอนหนังสือ... คงไม่เข้าข่ายขัดศีลธรรมมั้งครับ...
ประเด็นนี้ จึงแค่ไป โฟกัส ว่า ผิดกฎหมายเท่านั้นก็พอ...
ซึ่งไม่น่าจะผิดนะ...
มันคลุมเครืออยู่ตรงที่ว่า มหาวิทยาลัย... ควรจะถูกจัดให้เป็น องค์กรแสวงหากำไร หรือไม่....
ถ้าใช่... ก็ต้องใช้เกณฑ์เดียวกันกับลุงหมัก... ท่านจรัญ ต้องโดนด้วย...
แต่ถ้าไม่ใช่... ได้รับการ คุ้มครอง ตาม มาตรา 50... ก็รอดตัว..
![](http://oldforum.serithai.net/Smileys/default/slime_fighto.gif)
มันคนละเรื่องกันเกี่ยวกับ "การกระทำที่ ผิดกฎหมาย" แล้วครับ
การกระทำของคุณจรัญ ภักดีธนากุล ถือว่าเข้าขั้น ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เลยหล่ะครับ
จากเนื้อหาที่ผมได้ขบคิดนั้น ดังที่ว่า
...
ทั้งนี้ คุณจรัญ ภักดีธนากุล มีปัญหาและมีความบกพร่องทางศีลธรรมอันดี และจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๒๗๙ ใช่หรือไม่
...
มาตรา ๒๗๙ มาตรฐานทางจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐแต่ละประเภท ให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรมที่กำหนดขึ้นมาตรฐานทางจริยธรรมตามวรรคหนึ่ง จะต้องมีกลไกและระบบในการดำเนินงานเพื่อให้การบังคับใช้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งกำหนดขั้นตอนการลงโทษตามความร้ายแรงแห่งการกระทำการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดทางวินัย ในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินรายงานต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี หรือสภาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี และหากเป็นการกระทำผิดร้ายแรงให้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติพิจารณาดำเนินการโดยให้ถือเป็นเหตุที่จะถูกถอดถอนจากตำแหน่งตามมาตรา ๒๗๐การพิจารณา สรรหา กลั่นกรอง หรือแต่งตั้งบุคคลใด เข้าสู่ตำแหน่งที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
ในการใช้อำนาจรัฐ รวมทั้งการโยกย้าย การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนเงินเดือน และการลงโทษบุคคลนั้นจะต้องเป็นไปตามระบบคุณธรรมและคำนึงถึงพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลดังกล่าวด้วย
ซึ่งมาตรา ๒๗๙ นั้น ก็มีความเกี่ยวเนื่องกับ มาตรา ๒๘๐ เพราะอยู่ในหมวดเดียวกัน คือ หมวด ๑๓ จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
มาตรา ๒๘๐ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามหมวดนี้ ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจหน้าที่เสนอแนะหรือให้คำแนะนำในการจัดทำหรือปรับปรุงประมวลจริยธรรมตามมาตรา ๒๗๙วรรคหนึ่ง และส่งเสริมให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีจิตสำนึกในด้านจริยธรรม รวมทั้งมีหน้าที่รายงานการกระทำที่มีการฝ่าฝืนประมวลจริยธรรมเพื่อให้ผู้ที่รับผิดชอบในการบังคับการให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรมดำเนินการบังคับให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรมตามมาตรา ๒๗๙ วรรคสาม
ในกรณีที่การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมมีลักษณะร้ายแรงหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าการดำเนินการของผู้รับผิดชอบจะไม่เป็นไปด้วยความเป็นธรรม ผู้ตรวจการแผ่นดินจะไต่สวนและเปิดเผยผลการไต่สวนต่อสาธารณะก็ได้
ดังนั้น มาตรา ๒๘๐ ในวรรคที่บัญญัติไว้ว่า
เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามหมวดนี้ ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจหน้าที่เสนอแนะหรือให้คำแนะนำในการจัดทำหรือปรับปรุงประมวลจริยธรรมตามมาตรา ๒๗๙วรรคหนึ่ง
ผมก็ได้ทำการค้นหาคำว่า "ประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการ" ใน
www.google.com ได้ข้อมูลน่าสนใจ ดังนี้
http://www.geocities.com/judge4843/article/article1.htmlประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการ
หมวด ๑ อุดมการณ์ของผู้พิพากษา
หมวด ๒ จริยธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ในทางอรรถคดี
หมวด ๓ จริยธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ในทางธุรการ
หมวด ๔ จริยธรรมเกี่ยวกับกิจการอื่น
หมวด ๕ จริยธรรมเกี่ยวกับการดำรงตนและครอบครัว
หมวด ๖ จริยธรรมของผู้ช่วยผู้พิพากษา ดะโต๊ะยุติธรรม และผู้พิพากษาสมทบ
ผมคิดว่าหมวด ๔ นั้น น่าสนใจครับ เชิญอ่านต่อ
...
หมวด ๔ จริยธรรมเกี่ยวกับกิจการอื่น
ข้อ ๒๖ ผู้พิพากษาจักต้องไม่เป็นกรรมการ ผู้จัดการ ที่ปรึกษาหรือดำรงตำแหน่งอื่นใดในห้างหุ้นส่วน บริษัท ห้างร้าน หรือธุรกิจของเอกชน เว้นแต่จะเป็นกิจการที่มิได้แสวงหากำไร
ผู้พิพากษาจักต้องไม่ประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพ หรือกระทำกิจการใด อันจะกระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่หรือเกียรติศักดิ์ของผู้พิพากษา
ข้อ ๒๗ ในกรณีจำเป็นผู้พิพากษาอาจได้รับมอบหมายหรือแต่งตั้งจากหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐให้ปฏิบัติหน้าที่อันเกี่ยวกับหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานนั้นได้ ในเมื่อการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวไม่กระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่หรือเกียรติศักดิ์ของผู้พิพากษา ทั้งจักต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงยุติธรรมแล้ว
การเป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจหรือกิจการอื่นของรัฐในทำนองเดียวกัน จักต้องได้รับอนุมัติจาก ก.ต. ด้วย
ข้อ ๒๘ ผู้พิพากษาไม่พึงแสดงปาฐกถา บรรยาย สอน หรือเข้าร่วมสัมมนา อภิปรายหรือแสดงความคิดเห็นใดๆ ต่อสาธารณชน ซึ่งอาจกระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่หรือเกียรติศักดิ์ของผู้พิพากษา
ข้อ ๒๙ ผู้พิพากษาไม่พึงเป็นกรรมการ สมาชิก หรือเจ้าหน้าที่ของสมาคม สโมสร ชมรม หรือองค์การใดๆ หรือเข้าร่วมในกิจการใดๆ อันจะกระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่หรือเกียรติศักดิ์ของผู้พิพากษา
ข้อ ๓๐ ผู้พิพากษาไม่พึงรับเป็นผู้จัดการมรดก ผู้จัดการทรัพย์สิน หรือผู้ปกครองทรัพย์ เว้นแต่เป็นกรณีที่ตัวผู้พิพากษาเอง คู่สมรส ผู้บุพการี ผู้สืบสันดานของตน หรือญาติสืบสายโลหิตหรือเกี่ยวพันทางแต่งงาน ซึ่งผู้พิพากษาถือเป็นญาติสนิทมีส่วนได้เสียในมรดกหรือทรัพย์นั้นโดยตรง
ข้อ ๓๑ ผู้พิพากษาจักต้องไม่รับแต่งตั้งเป็นผู้แทนในการดำเนินคดีหรือรับเป็นผู้เรียง ผู้เขียน ผู้พิมพ์คำคู่ความ คำร้อง คำขอ หรือคำแถลงในคดีใดๆ
ผู้พิพากษาจักต้องไม่รับปรึกษาคดีความ หรือเรื่องซึ่งอาจจะเป็นคดีความขึ้นได้ และไม่รับเป็นผู้ร่าง ผู้เขียน ผู้พิมพ์ หรือพยานในพินัยกรรมหรือนิติกรรมอื่นใด ไม่ว่าเพื่อสินจ้างรางวัลหรือไม่ เว้นแต่เป็นกรณีที่ตัวผู้พิพากษาเอง คู่สมรส ผู้บุพการี ผู้สืบสันดานของตน หรือญาติสืบสายโลหิตหรือเกี่ยวพันทางแต่งงาน ซึ่งผู้พิพากษาถือเป็นญาติสนิท มีส่วนได้เสียในคดีหรือเรื่องนั้นโดยตรง
ข้อ ๓๒ ผู้พิพากษาไม่พึงรับเป็นอนุญาโตตุลาการ หรือผู้ประนอมข้อพิพาท
ข้อ ๓๓ ผู้พิพากษาจักต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขแห่งรัฐ
ข้อ ๓๔ ผู้พิพากษาจักต้องไม่เป็นกรรมการ สมาชิก หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมือง และจักต้องไม่เข้าเป็นตัวกระทำการ ร่วมกระทำการ สนับสนุนในการโฆษณาหรือชักชวนใดๆ ในการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาหรือผู้แทนทางการเมืองอื่นใด ทั้งไม่พึงกระทำการใดๆ อันเป็นการฝักฝ่ายพรรคการเมือง หรือกลุ่มการเมืองใดนอกจากการใช้สิทธิเลือกตั้ง
ผมได้อ่านข้อมูลดังกล่าว พร้อมๆกับการพิมพ์การตอบข้อความนี้ไปพร้อมๆกัน ผมไม่ได้จบนิติศาสตร์หรือรัฐศาสตร์มาหรอกครับ ผมเรียนมาทางด้านวิทยาศาสตร์ครับ ผมไม่ได้มีทัศนคติที่เห็นแย้งไปเสียทุกเรื่อง แต่ก็ได้ทำความเข้าใจกับกฏพื้นฐานของการอ่านออกเขียนได้ ที่ว่า จริงๆแล้วการที่รัฐส่งเสริมให้พลเมืองได้รับการศึกษาในขั้นพื้นฐาน[อ่านออก เขียนได้ บวกเลขเป็น]นั้น ก็เพื่อจะได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญและรวมไปถึงกฎหมายต่างๆ เพื่อที่จะได้เข้าใจ >>> หมวด ๓ สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย (มาตรา ๒๖ ๖๘) ทั้งนี้ ผมได้ยกเอาบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกัน มาประกอบเพื่อเป็นหลักอ้างอิง โดยปราศจากการเชื่อในความคิดและความรู้สึกตัวเอง เช่นการที่เราคิดว่า "จริงๆแล้วมันน่าจะเป็นอย่างนี้เสียมากกว่า"
หมวด ๓ สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
ส่วนที่ ๘ สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
มาตรา ๔๙ บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่นการจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชนการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
มาตรา ๕๐ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการการศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
เห็นอะไรคุ้นๆไหมครับ มาตรา ๕๐ ไงครับ
ขออ้างข่าวจากนสพ.อีกทีครับ (13 ก.ย.) นายเสรี สุวรรณภานนท์ อดีตรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) 50 กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า แม้ทั้ง 2 กรณีจะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่ในข้อเท็จจริงแล้วแตกต่างกัน [คุณเสรีอ้างถึง ระหว่าง กรณีของอดีตนายกสมัคร สุนทรเวชในเรื่องรายการชิมไปบ่นไป กับ กรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คุณจรัญ ภักดีธนากุลในเรื่องการสอนการบรรยาย]
เพราะเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญระบุให้เห็นได้ว่า การสอนหนังสือ ถือเป็นเสรีภาพทางวิชาการ ซึ่งรัฐธรรมนูญมาตรา 50 ให้การรับรองไว้ว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพทางวิชาการ การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ดังนั้นการสอนหนังสือดังกล่าวจึงเป็นลักษณะ ของอาจารย์พิเศษ ไม่ใช่ลูกจ้าง
จากการให้สัมพาษณ์ดังกล่าว คุณเสรี สุวรรณภานนท์ ได้กล่าวข้อความที่อ้างตามมาตรา ๕๐ ยังไม่ครบถ้วนครับ ซึ่งเดิมผมได้เน้นเอาไว้ว่า มาตรา ๕๐ ...เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน...
ทั้งนี้ ความในวรรคดังกล่าวนี้น่าสนใจตรงที่ว่า
1.หน้าที่ของพลเมือง [พลเมืองที่ชื่อ นายจรัญ ภักดีธนากุล]
2.ศีลธรรมอันดีของประชาชน [ประชาชนคนที่ชื่อ นายจรัญ ภักดีธนากุล]
ซึ่งความใน2ข้อนี้ เดี๋ยวไว้ว่ากันต่อครับ กลับเข้าเรื่องเดิม เรื่อง ประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการ
ดังนั้น ประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการ ... หมวด ๔ จริยธรรมเกี่ยวกับกิจการอื่น ... กล่าวไว้ชัดเจนครับ ชัดเจนจริงๆ จนส.ส.ร. นำไปอ้างอิงบัญญัตไว้ในรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา ๒๐๗
มาตรา ๒๐๗ ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต้อง
(๑) ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ
(๒) ไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือไม่เป็นกรรมการหรือที่ปรึกษาของรัฐวิสาหกิจหรือของหน่วยงานของรัฐ
(๓) ไม่ดำรงตำแหน่งใดในห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือองค์การที่ดำเนินธุรกิจโดยมุ่งหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน หรือเป็นลูกจ้างของบุคคลใด
(๔) ไม่ประกอบวิชาชีพอิสระอื่นใด
ในกรณีที่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาหรือที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดเลือกบุคคล หรือวุฒิสภาให้ความเห็นชอบบุคคลตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) โดยได้รับความยินยอมของบุคคลนั้น ผู้ได้รับเลือกจะเริ่มปฏิบัติหน้าที่ได้ต่อเมื่อตนได้ลาออกจากการเป็นบุคคลตาม (๑) (๒)หรือ (๓) หรือแสดงหลักฐานให้เป็นที่เชื่อได้ว่าตนได้เลิกประกอบวิชาชีพอิสระดังกล่าวแล้ว ซึ่งต้องกระทำภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับเลือกหรือได้รับความเห็นชอบ แต่ถ้าผู้นั้นมิได้ลาออกหรือเลิกประกอบวิชาชีพอิสระภายในเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยรับเลือกหรือได้รับความเห็นชอบให้เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๐๔ และมาตรา ๒๐๖ แล้วแต่กรณีมาใช้บังคับ
คุณจรัญ ภักดีธนากุล ได้รับการสรรหาและการเลือก โดยวุฒิสภา
มาตรา ๒๐๔ ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญคนหนึ่งและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอื่นอีกแปดคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาจากบุคคลดังต่อไปนี้
(๑) ผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาโดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวนสามคน
(๒) ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดโดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวนสองคน
(๓) ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านนิติศาสตร์อย่างแท้จริงและได้รับเลือกตามมาตรา ๒๐๖ จำนวนสองคน
(๔) ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์อื่น ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านการบริหารราชการแผ่นดินอย่างแท้จริงและได้รับเลือกตามมาตรา ๒๐๖ จำนวนสองคน
ในกรณีที่ไม่มีผู้พิพากษาในศาลฎีกาหรือตุลาการในศาลปกครองสูงสุดได้รับเลือกตาม (๑) หรือ (๒) ให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาหรือที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดแล้วแต่กรณี เลือกบุคคลอื่นซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๐๕ และมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านนิติศาสตร์ที่เหมาะสมจะปฏิบัติหน้าที่เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตาม (๑) หรือ (๒) แล้วแต่กรณี
ให้ผู้ได้รับเลือกตามวรรคหนึ่ง ประชุมและเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ แล้วแจ้งผลให้ประธานวุฒิสภาทราบ
ให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
หลังจากที่ คุณจรัญ ภักดีธนากุล
ได้รับการสรรหาและคัดเลือกตามมาตรา ๒๐๔
มีคุณสมบัติตาม มาตรา ๒๐๕
โดยวิธีการตาม มาตรา ๒๐๖
และ"ต้อง"ปฏิบัติตาม มาตรา ๒๐๗ [มาตรา ๒๐๗ ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ"ต้อง"... ]
ตามมาตรา ๒๐๗ นั้น โดยก่อนที่ คุณจรัญ ภักดีธนากุล จะเข้าดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนั้น จะเริ่มปฏิบัติหน้าที่ได้ต่อเมื่อตนได้ลาออกจากการเป็นบุคคลตาม (๑) (๒)หรือ (๓) หรือแสดงหลักฐานให้เป็นที่เชื่อได้ว่าตนได้เลิกประกอบวิชาชีพอิสระดังกล่าวแล้ว ซึ่งต้องกระทำภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับเลือกหรือได้รับความเห็นชอบ
แต่เมื่อคุณจรัญ ภักดีธนากุล เข้ามาดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแล้วนั้น คุณจรัญ ภักดีธนากุล จะมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา ๒๐๘
มาตรา ๒๐๘ ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีวาระการดำรงตำแหน่งเก้าปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียวประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่จะเข้ารับหน้าที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นเจ้าพนักงานในการยุติธรรมตามกฎหมาย
9 ปีเชียวหรือ???
ไม่หรอกครับ
มาตรา ๒๐๙ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑) ตาย
(๒) มีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์
(๓) ลาออก
(๔) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๐๕
(๕) กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๒๐๗
(๖) วุฒิสภามีมติตามมาตรา ๒๗๔ ให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง
(๗) ต้องคำพิพากษาให้จำคุก แม้คดีนั้นจะยังไม่ถึงที่สุดหรือมีการรอการลงโทษเว้นแต่เป็นกรณีที่คดียังไม่ถึงที่สุดหรือมีการรอการลงโทษในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทความผิดลหุโทษ หรือความผิดฐานหมิ่นประมาทเมื่อมีกรณีตามวรรคหนึ่ง ให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ภายใต้บังคับมาตรา ๒๑๖
เห็นอะไรไหมครับ???
มาตรา ๒๐๙ ...
...
(๕) กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๒๐๗
...
หากศาลรัฐธรรมนูญ ไม่รับเรื่องตีความในกรณีคุณจรัญ ภักดีธนากุล เหตุเพราะได้เคยพิจารณาวินิจฉัยแล้ว เหมือนกรณีคุณสมัคร สุนทรเวช ก็เท่ากับว่าคำวินิจฉัยในกรณีคุณสมัครนั้น จะใช้เป็นบรรทัดฐานเดียวกันกับคุณจรัญ ภักดีธนากุล ตามมาตรา ๒๑๕
มาตรา ๒๑๕ ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าเรื่องใดหรือประเด็นใดที่ได้มีการเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา เป็นเรื่องหรือประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญได้เคยพิจารณาวินิจฉัยแล้วศาลรัฐธรรมนูญจะไม่รับเรื่องหรือประเด็นดังกล่าวไว้พิจารณาก็ได้
แต่หากศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า กรณีคุณ จรัญ ภักดีธนากุล ต่างจากกรณีคุณ สมัคร สุนทรเวช แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญ จะต้องรับเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณา
แต่เนื่องจากข้อความโดย: bangkaa
เห็นว่า คุณจรัญ ภักดีธนากุล จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรา ๕๐ แน่ๆแล้ว เพราะอ้างว่า การสอนหนังสือไม่ขัดศีลธรรมอันดีของประชาชน ตามมาตรา ๕๐ ...การไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
แต่สิ่งที่คุณจรัญ ภักดีธนากุลนั้น อาจจะ ขัดกับ "จริยธรรมข้าราชการตุลาการ" ตามประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการ อันเป็นผลมาจาก มาตรา ๒๗๙ มาตรฐานทางจริยธรรม...
ศีลธรรม มาจากคำว่า ศีล และ ธรรม
ศีล แปลว่า ปกติ
ธรรม แปลว่า สภาพที่ทรงไว้
มันเป็นเรื่องเกี่ยวศีลหรือครับ ที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จะไปทำหน้าที่สอนหนังสือ??? หรือเป็นเรื่องปกติที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะสอนหนังสือทั้งๆที่ขัดกับรัฐธรรมนูญบางมาตรา มันเป็นเรื่องปกติไหมครับ???
มันเป็นเรื่องธรรมหรือครับ ที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จะเป้นอาจารย์สอนหนังสือ??? ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญควรจะมีสภาพที่ทรงไว้ในหน้าที่สอนหนังสือ หรือครับ???
ถ้า คุณ จรัญ ภักดีธนากุล เป็นประชาชน ที่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผมยอมรับครับ ว่า มาตรา ๕๐ ไม่มีปัญหาแน่นอน
แต่ทั้งนี้ คุณ จรัญ ภักดีธนากุลนั้น เป็นประชาชนซึ่งดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โดยมีรัฐธรรมนูญกำกับไว้ว่า เป็นใคร? มาจากไหน? มีหน้าที่อะไร? และควรปฏิบัติหน้าที่อย่างไร?
ให้เห็นกันอีกครั้ง เกี่ยวกับประเด็นของตัวคุณ จรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นะครับ
ประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการ
...
หมวด ๔ จริยธรรมเกี่ยวกับกิจการอื่น
ข้อ ๒๖ ผู้พิพากษาจักต้องไม่เป็นกรรมการ ผู้จัดการ ที่ปรึกษาหรือดำรงตำแหน่งอื่นใดในห้างหุ้นส่วน บริษัท ห้างร้าน หรือธุรกิจของเอกชน เว้นแต่จะเป็นกิจการที่มิได้แสวงหากำไร
ผู้พิพากษาจักต้องไม่ประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพ หรือกระทำกิจการใด อันจะกระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่หรือเกียรติศักดิ์ของผู้พิพากษา
ข้อ ๒๗ ในกรณีจำเป็นผู้พิพากษาอาจได้รับมอบหมายหรือแต่งตั้งจากหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐให้ปฏิบัติหน้าที่อันเกี่ยวกับหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานนั้นได้ ในเมื่อการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวไม่กระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่หรือเกียรติศักดิ์ของผู้พิพากษา ทั้งจักต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงยุติธรรมแล้ว
การเป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจหรือกิจการอื่นของรัฐในทำนองเดียวกัน จักต้องได้รับอนุมัติจาก ก.ต. ด้วย
ข้อ ๒๘ ผู้พิพากษาไม่พึงแสดงปาฐกถา บรรยาย สอน หรือเข้าร่วมสัมมนา อภิปรายหรือแสดงความคิดเห็นใดๆ ต่อสาธารณชน ซึ่งอาจกระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่หรือเกียรติศักดิ์ของผู้พิพากษา
ข้อ ๒๙ ผู้พิพากษาไม่พึงเป็นกรรมการ สมาชิก หรือเจ้าหน้าที่ของสมาคม สโมสร ชมรม หรือองค์การใดๆ หรือเข้าร่วมในกิจการใดๆ อันจะกระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่หรือเกียรติศักดิ์ของผู้พิพากษา
ข้อ ๓๐ ผู้พิพากษาไม่พึงรับเป็นผู้จัดการมรดก ผู้จัดการทรัพย์สิน หรือผู้ปกครองทรัพย์ เว้นแต่เป็นกรณีที่ตัวผู้พิพากษาเอง คู่สมรส ผู้บุพการี ผู้สืบสันดานของตน หรือญาติสืบสายโลหิตหรือเกี่ยวพันทางแต่งงาน ซึ่งผู้พิพากษาถือเป็นญาติสนิทมีส่วนได้เสียในมรดกหรือทรัพย์นั้นโดยตรง
ข้อ ๓๑ ผู้พิพากษาจักต้องไม่รับแต่งตั้งเป็นผู้แทนในการดำเนินคดีหรือรับเป็นผู้เรียง ผู้เขียน ผู้พิมพ์คำคู่ความ คำร้อง คำขอ หรือคำแถลงในคดีใดๆ
ผู้พิพากษาจักต้องไม่รับปรึกษาคดีความ หรือเรื่องซึ่งอาจจะเป็นคดีความขึ้นได้ และไม่รับเป็นผู้ร่าง ผู้เขียน ผู้พิมพ์ หรือพยานในพินัยกรรมหรือนิติกรรมอื่นใด ไม่ว่าเพื่อสินจ้างรางวัลหรือไม่ เว้นแต่เป็นกรณีที่ตัวผู้พิพากษาเอง คู่สมรส ผู้บุพการี ผู้สืบสันดานของตน หรือญาติสืบสายโลหิตหรือเกี่ยวพันทางแต่งงาน ซึ่งผู้พิพากษาถือเป็นญาติสนิท มีส่วนได้เสียในคดีหรือเรื่องนั้นโดยตรง
ข้อ ๓๒ ผู้พิพากษาไม่พึงรับเป็นอนุญาโตตุลาการ หรือผู้ประนอมข้อพิพาท
ข้อ ๓๓ ผู้พิพากษาจักต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขแห่งรัฐ
ข้อ ๓๔ ผู้พิพากษาจักต้องไม่เป็นกรรมการ สมาชิก หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมือง และจักต้องไม่เข้าเป็นตัวกระทำการ ร่วมกระทำการ สนับสนุนในการโฆษณาหรือชักชวนใดๆ ในการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาหรือผู้แทนทางการเมืองอื่นใด ทั้งไม่พึงกระทำการใดๆ อันเป็นการฝักฝ่ายพรรคการเมือง หรือกลุ่มการเมืองใดนอกจากการใช้สิทธิเลือกตั้ง
หมวด ๕ จริยธรรมเกี่ยวกับการดำรงตนและครอบครัว
ข้อ ๓๕ ผู้พิพากษาจักต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด อยู่ในกรอบของศีลธรรม และพึงมีความสันโดษครองตนอย่างเรียบง่าย สุภาพ สำรวมกิริยามารยาท มีอัธยาศัยยึดถือจริยธรรมและประเพณีอันดีงามของตุลาการ ทั้งพึงวางตนให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาของบุคคลทั่วไป
ข้อ ๓๖ ผู้พิพากษาพึงปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้นเป็นลำดับและพึงขวนขวายศึกษาเพื่มเติมทั้งในวิชาชีพตุลาการและความรู่รอบตัว
ข้อ ๓๗ ผู้พิพากษาจักต้องไม่ก้าวก่ายหรือแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษาอื่น
ข้อ ๓๘ ผู้พิพากษาจักต้องไม่ยินยอมให้บุคคลในครอบครัวก้าวก่ายการปฏิบัติหน้าที่ของตน หรือของผู้อื่น และจักต้องไม่ยินยอมให้ผู้อื่นใช้ตำแหน่งของตนแสวงหาประโยชน์อันมิชอบ
ข้อ ๓๙ ผู้พิพากษาพึงยึดมั่นในระบบคุณธรรม และจักต้องไม่แสวงหาตำแหน่ง ความดีความชอบ หรือประโยชน์อื่นใด โดยมิชอบจากผู้บังคับบัญชา หรือจากบุคคลอื่นใด
ข้อ ๔๐ ผู้พิพากษาจักต้องระมัดระวังมิให้การประกอบวิชาชีพ อาชีพ หรือการงานอื่นใดของคู่สมรส ญาติสนิท หรือบุคคลซึ่งอยู่ในครัวเรือนของตนมีลักษณะเป็นการกระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่หรือเกียรติศักดิ์ของผู้พิพากษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านความเชื่อถือศรัทธาของบุคคลทั่วไปในการประสาทความยุติธรรมของผู้พิพากษา
ข้อ ๔๑ ผู้พิพากษาและคู่สมรสจักต้องไม่รับทรัพย์สินหรือประโยชน์ใดๆ จากคู่ความหรือจากบุคคลอื่นใดเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษา และจักต้องดูแลให้บุคคลในครอบครัวปฏิบัติเช่นเดียวกันด้วย
ข้อ ๔๒ ผู้พิพากษาและคู่สมรสจักต้องไม่รับของขวัญของกำนัล หรือประโยชน์อื่นใดอันมีมูลค่าเกินกว่าที่พึงให้กันตามอัธยาศัยและประเพณีในสังคม และจักต้องดูแลให้บุคคลในครอบครัวปฏิบัติเช่นเดียวกันด้วย
ข้อ ๔๓ ผู้พิพากษาจักต้องละเว้นการคบหาสมาคมกับคู่ความ หรือบุคคลอื่น ซึ่งมีส่วนได้เสีย หรือผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับคดีความ หรือบุคคลซึ่งมีความประพฤติหรือมีชื่อเสียงในทางเสื่อมเสีย อันอาจจะกระทบกระเทือนต่อความเชื่อถือศรัทธาของบุคคลทั่วไปในการประสาทความยุติธรรมของผู้พิพากษา
...
ด้วยความเคารพ
the OCEANER