ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
19-04-2024, 01:11
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  อ้างเป็น สส. ไม่ต้องไปฟังคำพิพากษาได้มั๊ย ! 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
อ้างเป็น สส. ไม่ต้องไปฟังคำพิพากษาได้มั๊ย !  (อ่าน 2311 ครั้ง)
ooo
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 670


« เมื่อ: 13-09-2008, 13:12 »

คิดเล่นๆ...ช่วยกันดูหน่อยครับ ว่ามันจะเป็นไปได้มั๊ย


หมัก อ้างว่าเป็น สส.มีเอกสิทธิ์ ไม่ต้องไปฟังคำพิพากษา


ตามรธน.ม.151 ...ในกรณีที่มีการฟ้อง สส. หรือ สว.ในคดีอาญาศาลจะพิจารณาคดีนั้น

ในระหว่างสมัยประชุมมิได้ เว้นแต่ จะได้รับอนุญาตจากสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิก...


ปัญหาอยู่ที่ว่า การห้ามศาลพิจารณาคดี จะมีความหมายรวมไปถึง การห้ามศาลพิพากษาด้วยหรือไม่ ?

ผมกำลังสงสัยว่า หากมีการไปยื่นต่อศาลว่า จำเลยเป็น สส. ได้รับเอกสิทธิ์คุ้มครอง ขอให้ศาลเลื่อนการ

อ่านคำพิพากษาออกไปจนพ้นสมัยประชุม  ศาลจะสั่งอย่างไร

ถ้าสมมุติ ศาลสั่งว่า รธน. ห้ามไม่ให้ศาลพิจารณา แต่ไม่ห้าม ศาลพิพากษา ยังยืนยันที่จะอ่านคำพิพากษาต่อไป

จำเลยโต้แย้งอ้างว่า  รธน.ห้ามศาลพิจารณาคดี ย่อมหมายความรวมถึง ห้ามพิพากษาด้วย เพราะการพิพากษา คือ

การพิจารณาคดีอย่างหนึ่ง แล้วอ้างว่าการที่ศาลยืนยันที่จะอ่านคำพิพากษาต่อไปไม่ว่าศาลจะอ้างว่าทำได้โดยอาศัย

อำนาจจากบทบัญญัติกฎหมายใดก็แล้วแต่ บทบัญญัตติกฎหมายนั้นขัดรัฐธรรมนูญ ขอให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย


รธน.ม.211 และ ม.6 สรุปความได้ว่า..ในการที่ศาลจะใช้บทบัญญัติกฎหมายบังคับแก่คดีใด ถ้าศาลเห็นเอง

หรือ คู่ความโต้แย้งว่ากฎหมายนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญ ให้ศาลส่งไปให้ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยก่อน และในระหว่างนั้นให้ศาล

รอการพิพากษาคดีไว้ชั่วคราว จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะได้วินิจฉัย


ถ้าจะยื้อคดีแนวทางนี้พอไปไหวมั๊ยครับ...แต่ก็คงจะยื้อไปได้อีกไม่กี่เดือน

บันทึกการเข้า
Sweet Chin Music
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,613



« ตอบ #1 เมื่อ: 13-09-2008, 13:30 »

อ้างถึง
มาตรา ๑๓๑ วรรคสี่ บัญญัติว่า การพิจารณาพิพากษาคดีที่ศาลได้กระทำก่อนมีคำอ้างว่าจำเลยเป็นสมาชิกของสภาใดสภาหนึ่งย่อมเป็นอันใช้ได้


ดังนี้แล้ว ในเมื่อคดีหมิ่นประมาทเกิดขึ้นก่อนที่ หมัก เมถุน เป็น สส. คำอ้างเรื่อง "เอกสิทธิ์ของ สส." จึงตกไปครับ
บันทึกการเข้า


You'll Never Walk Alone
เข้าไปกันได้ค๊าป- - - >http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=sweetchinmusic&group=1
ooo
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 670


« ตอบ #2 เมื่อ: 13-09-2008, 14:41 »


ดังนี้แล้ว ในเมื่อคดีหมิ่นประมาทเกิดขึ้นก่อนที่ หมัก เมถุน เป็น สส. คำอ้างเรื่อง "เอกสิทธิ์ของ สส." จึงตกไปครับ

ผมเห็นว่าตาม ม.131 วรรคสี่ หมายถึงการกระทำของศาลก่อนมีคำกล่าวอ้างว่าจำเลยเป็นสมาชิกสภาใด

                                              สภาหนึ่งไม่เสียไปครับหากจะมีการกล่าวอ้างในภายหลัง


ยกตัวอย่าง เช่นนาย ก.เป็นสส. แต่นาย ก.ไม่เคยแจ้งให้ศาลทราบ(แม้จริงๆแล้วศาลจะรู้ว่านาย ก.

เป็น สส. แต่เมื่อนาย ก. ไม่แถลงต่อศาลอีกครั้งหนึ่ง ก็ต้องถือว่าศาลไม่รู้ เพราะศาลไม่อาจเอาข้อเท็จจริง

นอกสำนวน มาวินิจฉัยได้) ศาลก็เลยดำเนินการพิจารณาคดี สืบพยานไป จนกระทั่งนาย ก.แถลงต่อศาล

ว่าตนเองเป็น สส.นั่นแหละครับ วรรคสี่จะเข้ามาแก้ปัญหาว่า การสืบพยานที่ศาลทำมาก่อนที่นาย ก. จะแจ้ง

ให้ศาลทราบว่าตนเป็น สส.นั้นไม่เสียไป ยังคงใช้ได้ ไม่ต้องมาสืบพยานกันใหม่อ่ะครับ

คงไม่เกี่ยวกับว่า คดีจะเกิดขึ้นก่อนหรือ หลังการเป็น สส.หรอกครับ
บันทึกการเข้า
RiDKuN
Administrator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,015



เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 13-09-2008, 17:29 »

การพิจารณาคดี คือการที่ศาลออกนั่งพิจารณาคดี คือพิจารณาพยานหลักฐานจากทั้งสองฝ่าย
การเรียกไปฟังคำพิพากษา ผมคิดว่าไม่ใช่ขั้นตอนในการพิจารณาคดี
เพราะพิจารณาเสร็จไปแล้ว ถึงได้มีคำพิพากษาออกมาได้
บันทึกการเข้า

คนไม่มี "อุดมคติ" ไม่ใช่ "นักการเมือง"
Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #4 เมื่อ: 13-09-2008, 17:51 »

ว่าแต่ตอนนี้มันอยู่ในสมัยประชุมอยู่รึครับ อีกอย่างพิจารณาคดีมันไม่เหมือนพิพากษานี่จะแถยังไงก็เข้าคุกไปก่อนละกัน เพราะคำพิพากษามันคือการพิจารณาเสร็จสิ้นไปแล้ว ไปดูประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาประกอบได้ครับ
บันทึกการเข้า
RiDKuN
Administrator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,015



เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 13-09-2008, 17:54 »

เพิ่มเติมว่า จุดมุ่งหมายของมาตรานี้ คือไม่ต้องการให้มีการสืบคดี ที่รบกวนการทำงานในฐานะ ส.ส.
เพราะการจะไปขึ้นศาลในช่วงพิจารณาคดีจะต้องเตรียมตัว ว่าจะพูดอะไรอย่างไร
แต่การไปฟังคำพิพากษา ไม่ต้องเตรียมตัวอะไร เตรียมใจอย่างเดียว 
บันทึกการเข้า

คนไม่มี "อุดมคติ" ไม่ใช่ "นักการเมือง"
Sweet Chin Music
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,613



« ตอบ #6 เมื่อ: 13-09-2008, 19:28 »

เพิ่มเติมว่า จุดมุ่งหมายของมาตรานี้ คือไม่ต้องการให้มีการสืบคดี ที่รบกวนการทำงานในฐานะ ส.ส.
เพราะการจะไปขึ้นศาลในช่วงพิจารณาคดีจะต้องเตรียมตัว ว่าจะพูดอะไรอย่างไร
แต่การไปฟังคำพิพากษา ไม่ต้องเตรียมตัวอะไร เตรียมใจอย่างเดียว 

ตกไปนิดนึงฮ่ะ ต้องเตรียมหลักประกันไปด้วย

ถ้าจะเอาเก้าอี้นายกฯ มายื่นเป็นหลักประกันต่อศาลก็ไม่ได้แล้วดิ เพราะโดนถีบตกไปแล้ว อิอิ

ส่วนศาลจะรับ ไม่รับก็อีกเรื่องหนึ่ง 555+
บันทึกการเข้า


You'll Never Walk Alone
เข้าไปกันได้ค๊าป- - - >http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=sweetchinmusic&group=1
Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #7 เมื่อ: 13-09-2008, 19:34 »


ตกไปนิดนึงฮ่ะ ต้องเตรียมหลักประกันไปด้วย

ถ้าจะเอาเก้าอี้นายกฯ มายื่นเป็นหลักประกันต่อศาลก็ไม่ได้แล้วดิ เพราะโดนถีบตกไปแล้ว อิอิ

ส่วนศาลจะรับ ไม่รับก็อีกเรื่องหนึ่ง 555+

เจอระเบียบใหม่ของศาลฎีกา ถ้าฎีกาไม่ได้หวังว่าหมักคงไม่บอกว่าโดนวางกับดักอีกนะ
บันทึกการเข้า
Sweet Chin Music
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,613



« ตอบ #8 เมื่อ: 13-09-2008, 19:48 »

เจอระเบียบใหม่ของศาลฎีกา ถ้าฎีกาไม่ได้หวังว่าหมักคงไม่บอกว่าโดนวางกับดักอีกนะ

ผมว่า ลุงหมัก อาจจะให้คนขับรถ เป็นคนช่วยยินประกันตัวให้นะครับ

เพราะได้ข่าวว่า ทำรายการชิมไปบ่นไปมาเนี่ย คนขับรถรับเละ อยู่คนเดียว

ส่วนลุงหมัก ไม่ได้เลยแม้สักแดงเดียว 555+
บันทึกการเข้า


You'll Never Walk Alone
เข้าไปกันได้ค๊าป- - - >http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=sweetchinmusic&group=1
soco
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,842



« ตอบ #9 เมื่อ: 13-09-2008, 20:13 »

ตอบตามประเด็น คือ

ไม่ได้ 


หากฝ่าฝืน จงใจไม่ไปฟังคำพิพากษา ก็จะเจอหมายจับ

เมื่อจับตัวได้ ก็ต้องนำตัวไปฟังคำพิพากษาตามที่นัดใหม่


หากจับตัวไม่ได้ ภายในสามสิบวัน ก็อ่านลับหลังได้




ส่วนระเบียบศาลฎีกา เป็นเรื่องที่กำหนดใว้ใน รัฐธรรมนูญอยู่แล้วครับ 
บันทึกการเข้า
ooo
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 670


« ตอบ #10 เมื่อ: 13-09-2008, 21:03 »

ผมเห็นด้วยกับ หลายๆท่านครับ ในประเด็นที่ว่า การพิจารณาและพิพากษา คนละขั้นตอนกันครับ

แต่ถ้าจำเลย จะอ้างว่าเหมือนกัน ศาลต้องหยุดการพิพากษาคดีไว้ก่อน มิฉะนั้นจะขัดรัฐธรรมนูญ

ขอส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัย แบบนี้ละครับ จะส่งผลให้ศาลต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ

วินิจฉัยในประเด็นนี้ก่อน และรธน.ม.211 ก็ให้ศาลรอการพิพากษาคดีไว้จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญ จะได้วินิจฉัย


ปล. ผมเข้าใจว่า ขณะนี้อยู่ในระหว่างสมัยประชุม ผมเข้าใจถูกหรือป่าวครับ...
บันทึกการเข้า
Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #11 เมื่อ: 13-09-2008, 21:12 »

ผมเห็นด้วยกับ หลายๆท่านครับ ในประเด็นที่ว่า การพิจารณาและพิพากษา คนละขั้นตอนกันครับ

แต่ถ้าจำเลย จะอ้างว่าเหมือนกัน ศาลต้องหยุดการพิพากษาคดีไว้ก่อน มิฉะนั้นจะขัดรัฐธรรมนูญ

ขอส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัย แบบนี้ละครับ จะส่งผลให้ศาลต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ

วินิจฉัยในประเด็นนี้ก่อน และรธน.ม.211 ก็ให้ศาลรอการพิพากษาคดีไว้จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญ จะได้วินิจฉัย


ปล. ผมเข้าใจว่า ขณะนี้อยู่ในระหว่างสมัยประชุม ผมเข้าใจถูกหรือป่าวครับ...

ปิดไปตั้งแต่เดือนมิถุนายนแล้วไม่ใช่หรือคับ หรือผมจำผิด อีกอย่างจะประชุมสามัญหรือวิสามัญมันต้องมีพระราชกฤษฎีกาด้วยนี่ครับ และถ้าการพิจารณาและพิพากษาแยกกันไม่ออกว่าเป็นคนละขั้นตอน ถ้าจบนิติศาสตร์มาก็สมควรริบปริญญาคืนได้แล้วครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13-09-2008, 21:20 โดย ฟัักแม้ว » บันทึกการเข้า
soco
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,842



« ตอบ #12 เมื่อ: 13-09-2008, 21:24 »

การพิจารณาพิพากษาคดีที่ศาลได้กระทำก่อนมีคำอ้างว่าจำเลยเป็นสมาชิกของสภาใดสภาหนึ่ง
ย่อมเป็นอันใช้ได้



ไม่รู้จะอธิบายภาษาไทยอย่างไร

หากคนไม่เข้าใจ ก็ย่อมไม่อ่าน


แต่ผมบอกใว้เลยว่า การอ้างไม่ไปฟังคำพิพากษา ก็คือจงใจไม่ไปฟังคำพิพากษา และต้องออกหมายจับทันที


ผมบอกไปแล้ว   นายสมัคร หรือคณะทนายรู้เรื่องเป็นอย่างดี

สรุปว่า ไปฟังแน่ นอกจากหนีไป 
บันทึกการเข้า
ooo
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 670


« ตอบ #13 เมื่อ: 13-09-2008, 21:33 »

ปิดไปตั้งแต่เดือนมิถุนายนแล้วไม่ใช่หรือคับ หรือผมจำผิด อีกอย่างจะประชุมสามัญหรือวิสามัญมันต้องมีพระราชกฤษฎีกาด้วยนี่ครับ และถ้าการพิจารณาและพิพากษาแยกกันไม่ออกว่าเป็นคนละขั้นตอน ถ้าจบนิติศาสตร์มาก็สมควรริบปริญญาคืนได้แล้วครับ

พยายามเข้าไปเช็คในเวปของสภาแล้ว ก็ยังไม่รู้ ว่ามีพระราชกฤษฎีกาให้เปิดประชุมสภาเมื่อไร

เพียงแต่คิดว่า ที่เขานัดประชุมกันอยู่นี้ น่าจะอยู่ในสมัยประชุมครับ ...

ไม่ต้องไปริบปริญญาใครหรอกครับ นักกฎหมายคงรู้ว่ามันต่างกัน แต่บางทีอาจจะแกล้งไม่รู้

เพื่อใช้เป็นเหตุประวิงคดี โดยการส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยก่อน น่ะครับ ถ้าจะริบก็ควรจะริบ

เนื่องจากขาดจริยธรรมในการใช้กฎหมายมากกว่า...
บันทึกการเข้า
soco
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,842



« ตอบ #14 เมื่อ: 13-09-2008, 21:37 »

การพิจารณาหลักฐาน พยานบุคคล พยานวัตถุ พยานโจทย์หรือ จำเลย ทำไม่ได้อยู่แล้ว

การพิจารณาพิพากษา ก็ทำได้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #15 เมื่อ: 13-09-2008, 23:14 »

มาตรา 131 วรรค 4

การพิจารณาพิพากษาคดีที่ศาลได้กระทำมาก่อนมีคำอ้างว่าจำเลยเป็นสมาชิกของสภาใดสภาหนึ่ง ย่อมเป็นอันใช้ได้

000000

ความหมายคือ ปกติจะต้องขออนุญาตสภาหากเป็นสมัยประชุม ( หมายถึง สส.จะขอใช้เอกสิทธิ์นี้ )

แต่กรณีนายสมัคร ยังไงก็ใช้เอกสิทธิ์ไม่ได้ เพราะคดีเกิดขึ้นก่อนนายสมัครเป็น สส.

ต้องอ่าน มาตรา 131 ตั้งแต่ต้น ถึงจะเข้าใจ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13-09-2008, 23:32 โดย Can ไทเมือง » บันทึกการเข้า

ooo
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 670


« ตอบ #16 เมื่อ: 13-09-2008, 23:39 »

การพิจารณาพิพากษาคดีที่ศาลได้กระทำก่อนมีคำอ้างว่าจำเลยเป็นสมาชิกของสภาใดสภาหนึ่ง
ย่อมเป็นอันใช้ได้




มาตรา 131 วรรค 4

การพิจารณาพิพากษาคดีที่ศาลได้กระทำมาก่อนมีคำอ้างว่าจำเลยเป็นสมาชิกของสภาใดสภาหนึ่ง ย่อมเป็นอันใช้ได้

การพิจารณาพิพากษาคดี ก่อนที่จะมีการอ้าง...ย่อมเป็นอันใช้ได้

ถ้าเกิดมีการยกขึ้นอ้างต่อศาลว่าจำเลยเป็นสส.ในวันที่ 15 กย.นี้ย่อมแสดงว่า การกระทำของศาลที่เกิดขึ้นก่อน

วันที่ 15 กย. ไม่ว่าจะเป็นการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้น ย่อมใช้ได้ ไม่เสียไป ไม่ต้องกลับไปดำเนินการใหม่

แต่การกระทำที่เกิดขึ้นหลังจากวันที่มีการอ้าง(วันที่ 15 กย.) ย่อมใช้ไม่ได้ครับ ดังนั้นการพิจารณาพิพากษา

ในชั้นอุทธรณ์ที่เกิดขึ้น หลังจากวันที่ 15 กย.ย่อมจะใช้ไม่ได้ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13-09-2008, 23:42 โดย ooo » บันทึกการเข้า
Sweet Chin Music
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,613



« ตอบ #17 เมื่อ: 13-09-2008, 23:59 »


การพิจารณาพิพากษาคดี ก่อนที่จะมีการอ้าง...ย่อมเป็นอันใช้ได้

ถ้าเกิดมีการยกขึ้นอ้างต่อศาลว่าจำเลยเป็นสส.ในวันที่ 15 กย.นี้ย่อมแสดงว่า การกระทำของศาลที่เกิดขึ้นก่อน

วันที่ 15 กย. ไม่ว่าจะเป็นการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้น ย่อมใช้ได้ ไม่เสียไป ไม่ต้องกลับไปดำเนินการใหม่

แต่การกระทำที่เกิดขึ้นหลังจากวันที่มีการอ้าง(วันที่ 15 กย.) ย่อมใช้ไม่ได้ครับ ดังนั้นการพิจารณาพิพากษา

ในชั้นอุทธรณ์ที่เกิดขึ้น หลังจากวันที่ 15 กย.ย่อมจะใช้ไม่ได้ครับ


แล้วมันจะใช้ไม่ได้ ได้อย่างไรครับ? ในเมื่อตอนแรก ได้มีการพิจารณาคดีและมีคำพิพากษามาก่อน ที่จำเลยสมัคร เป็น สส. แล้ว

ในเมื่อตอนแรกมาถูกต้องแล้ว ตอนหลังก็ไม่มีปัญหาเรื่อง เอกสิทธิ์ใดๆอีก ผมจึงคิดว่า สมัคร ไม่สามารถอ้างเรื่องนี้ได้ครับ ...
บันทึกการเข้า


You'll Never Walk Alone
เข้าไปกันได้ค๊าป- - - >http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=sweetchinmusic&group=1
ooo
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 670


« ตอบ #18 เมื่อ: 14-09-2008, 00:05 »


แล้วมันจะใช้ไม่ได้ ได้อย่างไรครับ? ในเมื่อตอนแรก ได้มีการพิจารณาคดีและมีคำพิพากษามาก่อน ที่จำเลยสมัคร เป็น สส. แล้ว

ในเมื่อตอนแรกมาถูกต้องแล้ว ตอนหลังก็ไม่มีปัญหาเรื่อง เอกสิทธิ์ใดๆอีก ผมจึงคิดว่า สมัคร ไม่สามารถอ้างเรื่องนี้ได้ครับ ...


ของศาลชั้นต้นนะใช้ได้ครับ...จบไปแล้ว

แต่ของศาลอุทธรณ์ละครับ...

ถ้ามีการยกขึ้นอ้างว่าเป็นสส.ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์

ก็น่าจะมีเอกสิทธิ์ นะครับ
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #19 เมื่อ: 14-09-2008, 00:24 »

ขึ้นรถทัวร์ไปแล้ว ขอลงกลางทางไม่ได้ครับ

กฎหมายนี้เค้าป้องกันไม่ให้กลั่นแกล้งสส. ที่อยู่ในสภา ซึ่งฝ่ายบริหารอาจใช้อำนาจกลั่นแกล้งนิติบัญญัติ

เจตนารมณ์เป็นอย่างนั้น
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
    กระโดดไป: