ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
26-04-2024, 16:05
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ศักดินา นักการเมือง ใครเก่ง ใครดี กว่าใคร ? 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ศักดินา นักการเมือง ใครเก่ง ใครดี กว่าใคร ?  (อ่าน 1853 ครั้ง)
indexthai
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 122


« เมื่อ: 12-09-2008, 11:44 »

.

เก่ง = วิสัยทัศน์ ปรัชญา

ดี = คุณธรรม จริยธรรม


ศักดินา (ข้าราชการระดับสูง) ในความหมายของบทความนี้ แตกต่างจากความหมาย ศักดินาของนายจักรภพ เพ็ญแข นายจักรภพ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ให้ความหมาย'ศักดินาว่า 'เป็นคนล้าหลัง' ทำให้ความเจริญของประเทศเป็นไปอย่างเชื่องช้า เหมือนทากเดิน และบอกว่าตนเองทนกับศักดินาไม่ได้

ผู้เขียนเห็นแตกต่างจากนายจักรภพ เห็นว่าศักดินา 'เป็นผู้มีวิสัยทัศน์ปรัชญาเฉพาะตัวระดับหนึ่ง เป็นผู้มีข้อมูลความรู้ในเรื่องระบบดีกว่านักการเมือง' เพียงแต่เขาใช้คุณสมบัติดังกล่าวไปในทางเบี่ยงเบน ทำเพื่อประโยชน์ตัวเองคล้ายนักการเมืองนั่นเอง 

76 ปีระบอบประชาธิปไตยที่ผ่านมา ทั้งศักดินาและนักการเมืองต่างมีมิจฉาทิฏฐิเหมือนกัน  ต่างแสวงหาแต่ประโยชน์ส่วนตน ทำให้ประเทศไทยเสื่อมลง นายจักรภพ ก็มาจากศักดินา แล้วแปลงตัวมาเป็นนักการเมือง

แท้จริงแล้วนักการเมืองและนายจักรภพ เพ็ญแข รู้ไม่เท่าทันมิจฉาทิฏฐิของศักดินา หรือเพราะมีมิจฉาทิฏฐิเหมือนกัน

แทนที่จะหยุดยั้งห้ามปรามวิสัยทัศน์ปรัชญาที่เบี่ยงเบนของศักดินา แต่กลับสวมรอยหาประโยชน์จากระบบไปด้วยกัน

นายกทักษิณ ไม่ได้ทำให้ประเทศเจริญ ไม่ได้ทำอะไรให้มีการใช้หนี้ไอเอ็มเอฟหมดก่อนกำหนด ไม่ใช่คนที่ทำให้ราคายางสูงขึ้น เรื่องดังกล่าวเป็นไปตามกลไกเศรษฐกิจโลกที่เบี่ยงเบน อินโดนีเซียและเกาหลีใต้ ที่เข้าโครงการไอเอ็มเอฟ ก็สามารถใช้หนี้ไอเอ็มเอฟได้หมดเช่นเดียวกัน ราคายางก็สูงขึ้นทั่วโลก สูงขึ้นเหมือนราคาหุ้น ราคาทองคำ ราคาน้ำมัน ราคาถั่วเหลือง ราคาข้าว ราคาข้าวโพด ราคามันสัมปะหลัง ฯลฯ

ตลาดหุ้นในยุคทักษิณ อยู่ช่วงตลาดหุ้นโลกขาขึ้น เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นทั่วโลกแล้ว ก็ไม่ได้ดีกว่าชาวโลกแต่อย่างใด

นายจักรภพ เพียงหลงไหลในตัวอดีตนายก พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร ไม่ทราบถึงวิสัยทัศน์ปรัชญา คุณธรรมจริยธรรมที่เบี่ยงเบนของนายกทักษิณ นำความหลงผิดมาข่มศักดินา

การนำปตท.เข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นของรัฐบาลทักษิณ คือตัวอย่าง ทำความเดือดร้อนให้คนทั่วประเทศมาจนถึงทุกวันนี้

การหลงผิดของนายจักรภพ เพ็ญแขต่อตัว พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร ถึงขนาดเป็นแกนนำน.ป.ก.บุกบ้านพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ที่สี่เสาเทเวศน์

การบุกบ้านพลเอกเปรมของนายจักรภพ เพ็ญแข เป็นเรื่องอวิชชา คาดว่ามีเป้าหมายทับซ้อนระบอบการปกครองใหม่ ที่แตกต่างจากระบอบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

ศักดินาส่วนน้อย เป็นใหญ่เป็นโตขึ้นด้วยวิธีการที่เบี่ยงเบน เป็นตัวที่สร้างปัญหาให้ประเทศชาติ ศักดินาส่วนใหญ่เป็นคนดี แต่การบริหารประเทศเป็นไปด้วยระบบตัวแทน ที่คนส่วนน้อย ที่ไม่ดี บริหารประเทศ

ถ้าเรียกว่าเป็นอาชีพ

ยุคสมบูรณาญาสิทธิราช มีอาชีพที่อยู่ในแนวหน้า 2 อาชีพ คือ 'อาชีพศักดินา' กับ 'อาชีพพ่อค้า' ภายหลังเมื่อกลายเป็นระบอบประชาธิปไตยแล้ว ทำให้มีอาชีพในแนวหน้าเพิ่มมาอีกอาชีพหนึ่ง คือ 'อาชีพนักการเมือง' ทำให้ประเทศไทยทุกวันนี้มีอาชีพชั้นแนวหน้าถึง 3 อาชีพ คืออาชีพศักดินา(ข้าราชการระดับสูง) อาชีพพ่อค้า(นายทุน) และอาชีพนักการเมือง

แท้จริงแล้วประเทศไทยมีระบอบ 'ศักดินาธิปไตย' ทับซ้อนกันอยู่กับระบอบ 'ประชาธิปไตย'

ราชการระดับสูงอยู่กับข้อมูลของประเทศ คือผู้บริหารประเทศตัวจริง  เป็นผู้ชงเรื่องให้นักการเมือง(ผู้บริหาร)อนุมัติ แต่ข่าวสารการดำเนินงานออกมาว่า "เป็นนโยบายรัฐมนตรี" ข้าราชการระดับสูงของรัฐและรัฐวิสาหกิจ คือศักดินาในยุคประชาธิปไตย หรือศักดินาธิปไตย พรรคข้าราชการเป็นพรรคการเมืองที่ใหญ่ที่ในประเทศไทย

จะเห็นว่าพรรคการเมืองใดมาบริหารประเทศ นโยบายก็ไม่แตกต่างกันมากนัก ทั้งนี้เป็นเพราะนโยบายหลักมาจากส่วนข้าราชการเดียวกัน เดิมๆนั่นเอง พลเอกชวลิต ยงใจยุทธเคยบอกว่า 'พรรคไหนมาก็เหมือนกัน ไม่แตกต่างกัน' ที่แตกต่างกันคงอยู่ที่เรื่องการกินมากกว่า อยู่ที่พรรคไหนจะกินมูมมาม หรือกินได้ดุเดือดกว่ากัน

ประเทศไทยไม่ได้เป็นของคนส่วนใหญ่ของประเทศ แต่เป็นของศักดินายุคใหม่ นักการเมือง และนายทุน ประชาชนรู้สึกไม่พอใจที่นักการเมืองมาทำมาหากินกับประเทศชาติ แต่แทัที่จริงมีคนรุมกินโต๊ะประเทศไทยถึง 3 กลุ่ม คือ ข้าราชการระดับสูง(ศักดินา) นักการเมือง และนายทุน ประเทศชาติประชาชนไม่ได้อะไร มีแต่เสียกับเสีย ประเทศชาติประชาชน เป็นเพียงข้ออ้างของคนทั้ง 3 อาชีพ

ประไทยแก้ปัญหาไม่ได้ ยิ่งแก้ยิ่งเหมือนลิงแก้แห เพราะคิดว่าปัญหาของประเทศไทยอยู่ที่นักการเมืองกลุ่มเดียว แท้จริงแล้ว ข้าราชการระดับสูง และนายทุนก็คือกลุ่มอาชีพที่ทำให้ประเทศชาติเกิดปัญหาเช่นกัน

ข้าราชการระดับสูง(ศักดินา) นักการเมือง และนายทุน คือต้นเหตุความวุ่นวายของประเทศ

ข้าราชการ รอจังหวะมิจฉาทิฏฐิอยู่ตลอดเวลา ที่จะ 'ชงเรื่อง' ออกมาเมื่อใด และในทิศทางใด

การจะชงเรื่องให้ประโยชน์ประเทศชาตินั้น ยาก

ส่วนใหญ่จะชงมากินกันเอง


ประเทศสหรัฐอเมริกา มีการแบ่งส่วนกันระหว่าง เอกชน และราชการอย่างชัดเจน คงเป็นเพราะการเริ่มต้นของประเทศ ด้วยระบอบประชาธิปไตยโดยตรง

ประเทศไทย การแบ่งส่วนกันระหว่าง เอกชน และราชการอย่างไม่ชัดเจน  ส่วนของเอกชน และส่วนของราชการปนเปกัน คงเป็นเพราะประชาธิปไตยของประเทศไทยแปลงตัวเองมาจากระบบมบูรณาญาสิทธิราช

มาจากระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราช ที่มีศักดินาเป็นแกนหลักของระบบ ที่ยังติดอยู่กับอำนาจ และความมั่งคั่ง ที่พยายามยึดความเป็นเจ้าขุนมูลนาย เอารัดเอาเปรียบ และความมั่งคั่งไว้กับตัว

ศักดินาในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมั่งคั่ง มีที่นา มีทรัพย์สินเงินทอง และข้าทาษบริวารมาก จนมีคำกล่าวว่า 'สิบพ่อค้า ไม่เท่าหนึ่งพระยาเลี้ยง' ทุกวันนี้ ศักดินา  หรือข้าราชการระดับสูง ก็มีความมั่งคั่งเหมือนในอดีตนั่นเอง มั่งคั่งเชิงนโยบาย (คล้ายคอร์รัปชันเชิงนโยบาย)

ศักดินายุคประชาธิปไตย 'ราชการระดับสูง' มีการออกอุบาย แปลงสินทรัพย์ของชาติไปเป็นทรัพย์สินส่วนตน ง่ายดาย ยกตัวอย่างเช่นการแปรรูปปตท. และการแปรรูปรัฐวิสาหกิจทั่วไปเป็นต้น หลายคนเป็นทั้งกรรมการและผู้ถือหุ้นในบริษัทในเครือและนอกเครือหลายสิบแห่ง ได้รับเงินเดือน ค่าเบี้ยประชุม โบนัสประจำปี รวมกันแต่ละปี 50 - 100 ล้านบาท ข้าราชการระดับสูงในปัจจุบัน จึงมั่งคั่ง เหมือนศักดินา หรือพระยา หรือเจ้าพระยาในอดีต

เคยศึกษาเรื่องกรรมการบอร์ดบริษัทในเครือปตท. 7 แห่งเมื่อปี 2549 พบว่า มีตำแหน่งทั้งหมด 161 ตำแหน่ง ใช้คนเป็นประธาน เป็นกรรมการและผู้บริหารทั้งหมด 70 คน เฉลี่ย 2.3 ตำแหน่งต่อ 1 ต่อคน บางคนมี 6 ตำแหน่งในเวลาเดียวกัน http://www.oknation.net/blog/indexthai/2008/07/17/entry-2

อำนวย วีรวรรณ เขียนในหนังสือ 'เล่าเรื่องสมมุติในอดีต' ยุครัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์   มีรัฐวิสาหกิจกว่า 130 แห่ง จอมพลสฤษดิ์ได้ปิดรัฐวิสาหกิจไปหลายแห่ง  ปี 2521 - 2523 มีรัฐวิสาหกิจ  76 แห่ง มูลค่าทรัพย์สินรวมกัน 177,600 ล้านบาท  ปี 2546 เหลือรัฐวิสาหกิจ 61 แห่ง รัฐวิสาหกิจกับที่มารวมตัวกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย(พธม.) มีทั้งหมด 43 แห่ง

ส่วนหนึ่งของรัฐวิสาหกิจที่หายไปเพราะเกิดการขาดทุนจากการบริหารงาน ถูกปิดกิจการ ส่วนที่ยังอยู่ มีการแปรรูปเป็นเอกชน แม้จะเห็นว่ารัฐเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ก็ตาม แต่ผู้ถือหุ้นรองก็เป็นศักดินา และนักการเมือง

นอกจากนี้ก็มีการสร้างรัฐวิสาหกิจใหม่ขึ้นเช่นกัน เช่นการตั้งธนาคารเอสเอ็มอี การตั้งสถานีโทรทัศน์ Thai PBS เป็นต้น การตั้งสถานีโทรทัศน์ Thai PBS ตั้งขึ้นจากการล้มลงของโทรทัศน์เอกชน ITV ทำให้

ประเทศไทยต้องเสียงบประมาณเพิ่มขึ้นปีละ 2,000 ล้านบาท จากที่ไม่ต้องเสียงบประมาณเช่นนี้มาก่อน ประเทศไทยไม่ได้อะไรเพิ่มขึ้น แต่ศักดินาได้กระบอกเสียงของรัฐเพิ่มขึ้น ได้ตำแหน่งกรรมการ และตำแหน่งงานมาแบ่งปันกัน เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นวิสัยทัศน์ปรัชญาที่คุณภาพต่ำของศักดินา แสดงถึงคุณธรรมและจริยธรรมที่ไม่มีคุณภาพเช่นกัน


คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์
รัฐมนตรีศักดินาประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในรัฐบาล พลเอกสุรยุทธ จุลานนท์
ศักดินา ..ผู้ก่อตั้งสถานีโทรทัศน์ Thai PBS

เพราะการแปรรูปเป็นไปเพื่อเพื่อประโยชน์ส่วนตน การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ 'จึงเป็นไปในทางเบี่ยงเบน

ที่ควรแปรรูปก็ไม่ได้แปรรูป ที่ไม่ควรแปรรูป กลับถูกแปรรูป

เช่นการแปรรูปปตท.เป็นต้น

รัฐวิสาหกิจที่เป็นสาธารณูปโภค เช่นพลังงาน ไฟฟ้า ประปา ระบบขนส่งมวลชน รถไฟ รถเมล์ ควรจะคงอยู่เป็นของรัฐ

ที่ไม่เป็นสาธารณูปโภค ไม่จำเป็นที่จะเป็นของรัฐก็ได้ เช่นสถานีโทรทัศน์ และสถานีวิทยุต่างๆ

สถาบันการเงินก็ไม่จำเป็นต้องเป็นของรัฐ ให้เป็นเอกชนทั้งหมดได้ แต่วิกฤติทางเศรษฐกิจแต่ละครั้ง ทำให้สถาบันการเงินล้มลง ทำให้ตกมาเป็นของรัฐเป็นจำนวนมาก รัฐไปควบกิจการมา(ยึด) แต่รัฐก็รักษาไว้ไม่ได้ ต้องขายออกแทบไม่หลือเช่นกัน สถาบันการเงินบางแห่งก็ยังขายไม่ออก

เอกชน ควรเป็นเจ้าของและผู้ดำเนินงานวิสาหกิจ (Operator) รัฐ ควรถอยออกมา และมาเป็นผู้ควบคุมกฎอย่างเดียว (Regulator)

รัฐบาลสมัคร มีการเข้าไปหาประโยชน์ส่วนตน ในรัฐวิสาหกิจกันดื้อๆ

เช่น..

1) การแปลงโทรทัศน์ช่อง 11 มาเป็นโทรทัศน์ NBT ทำเป็นประโยชน์เฉพาะกลุ่มคน

2) นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมว.กระทรวงการคลัง และนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี  ใช้เวลาเพียง 5 เดือน ทำการแปลงตลาดหลักทรัพย์ เป็นบริษัทเอกชน เตรียมนำเข้าตลาดหุ้นในปี 2544

http://www.oknation.net/blog/indexthai/2008/08/06/entry-1

การแปรรูปตลาดหลักทรัพย์ เช่นนี้ คือการแปลงสินทรัพย์ที่มีมูลค่าสูงที่สุดในประเทศไทย ไปเป็นเอกชน ตลาดหลักทรัพย์มีมูลค่ามากกว่าปตท.หลายเท่า มูลค่าสินทรัพย์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีมูลค่าทรัพย์สินเท่ากับหรือเกือบเท่ากับมูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมดของประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์เป็นตัวสะท้อนค่าเงินบาทโดยตรง มูลค่าตลาดหลักทรัพย์สูงขึ้น ค่าเงินบาทก็จะสูงขึ้น มูลค่าตลาดหลักทรัพย์ตกลง ค่าเงินบาทก็จะตกลง มูลค่าตลาดหลักทรัพย์พังทลาย ค่าเงินบาทก็พังทลาย ความเป็นไปของตลาดหลักทรัพย์อิทธิพลสูงต่อระบบเศรษฐกิจหลักของประเทศ ทั้งสภาพคล่องของระบบ ค่าเงิน อัตราดอกเบี้ย และเงินเฟ้อ ตลาดหุ้นจึงไม่สมควรแปรรูปเป็นเอกชน   

และ .ตลาดหุ้นคือสิ่งที่อัตรายของประเทศทุนนิยม

ค่าเงินบาทพังทลาย กระทั่งต้องลอยค่าเมื่อกลางปี 2540 ก็เป็นผลมาจากการพังทลายของตลาดหุ้นในปี 2537

ค่าเงินเหรียญสหรัฐพังทลายช่วง 6-7 ปีที่ผ่านมานี้ ทำให้ค่าเงินเหรียญสหรัฐเสียหาย ไหลออกจากอเมริกาแทบเกลี้ยง ไหลออกมาท่วมโลก ก็เกิดจากการพังทลายของตลาดแนสแดกซ์ในปี 2000 (2543)

ตลาดหุ้นเป็นต้นเหตุวิกฤติทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ทำให้ต้องเข้าโครงการณ์ไอเอ็มเอฟมา 2 ครั้ง วิกฤติเศรษฐกิจ 2 ครั้งที่ผ่านมา ทำให้สินทรัพย์ของคนในประเทศ ตกไปเป็นของต่างชาติเกินครึ่ง

คนทั่วไป ขาดข้อมูล ความรู้ ความเข้าใจใน เรื่องนี้ จึงปล่อยให้อยู่ในการจัดการของกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับตลาดหลักทรัพย์แต่อย่างเดียว เช่น กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โบรเกอร์ สภาตลาดทุนไทย

ข้ออ้างการแปรรูปตลาดหลักทรัพย์ ไม่ได้แตกต่างจากข้ออ้างการแปรรูปปตท.แต่อย่างใด "เป็นการพัฒนาตลาดทุน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เพื่อให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับสากล"

ตลาดหลักทรัพย์ไทยเป็นของรัฐมาแต่แรก ไม่เหมือนของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เป็นเอกชนมาแต่แรก ตลาดหลักทรัพย์ไทย ถูกจัดตั้งขึ้นด้วยกฎหมายพิเศษ ให้กำกวมว่าเป็นของเอกชนหรือของรัฐ ตลาดหลัก

ทรัพย์มีรายได้ดี แต่ 33 ปีที่ตั้งตลาดหลักทรัพย์ไม่เคยโอนเงินเป็นรายได้ให้กระทรวงการคลัง รายได้ของตลาดหลักทรัพย์ถูกจัดการโดยลำพังของตลาดหลักทรัพย์เอง

ศักดินาไม่รู้ว่า ทำไมวิกฤติเศรษฐกิจ 2 ครั้งที่ขึ้นกับประเทศไทย มีต้นเหตุมาจากอะไร ทำไมจึงเกิดวิกฤติซ้ำรอย เขาไม่ทราบว่า  ทำอย่างไรจึงจะให้ประเทศไทยมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ แต่พวกเขาทราบสินทรัพย์ของชาติอยู่ตรงไหนบ้าง และหาวิธีการที่จะหาประโยชน์ส่วนตนจากสินทรัพย์เหล่านั้นได้อย่างไร ดังเช่นการหาประโยชน์การแปรรูป ปตท. และรัฐวิสาหกิจต่างๆนั่นเอง



นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์
นายกสภาตลาดทุนไทย (กรรมการผู้จัดการปตท.)

การแปรรูปปตท. และบริษัทในกลุ่มเป็นเอกชน และนำเข้าตลาดหุ้น ผู้บริหารได้เงิน เดือน โบนัสเพิ่มขึ้น ผู้ถือหุ้นได้เงินปันผลสูง แต่ประชาชนเดือดร้อนทั่วประเทศ 

ปตท.เป็นกิจการลักษณะผูกขาด หรือกึ่งผูกขาด ซึ่งเป็นข้อห้ามของการนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แต่ทำไมจึงนำปตท.เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้

การที่ราคาน้ำมันสูงขึ้น สูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านมาก ส่งผลให้ราคาสินค้า ค่าขนส่ง ค่าเดินทาง ค่าความเป็นอยู่สูงขึ้น เงินเฟ้อของประเทศพุ่งสูงขึ้นอย่างถาวร ประชาชนเดือดร้อนกันทั่วประเทศ

รัฐวิสาหกิจที่ผลการดำเนินงานไม่ดี ศักดินาไม่เคยคิดที่จะเข้าไปทำการปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้น

ศักดินาคิดแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่มีกำไรดี และมีแนวโน้มกำไรดีเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อที่จะได้ตำแหน่งบริหาร ได้ตำแหน่งงาน ได้ส่วนผู้ถือหุ้น และได้ผลประโยชน์มาแบ่งปันกัน

เช่นการแปรรูปตลาดหลักทรัพย์เป็นต้น



นายวิจิตร สุพินิจ
ประธานคณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

ประธานคณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เมื่อก่อนเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธานโดยตำแหน่ง

การแปรรูปตลาดหุ้น คือการคิดหาประโยชน์ส่วนตนของคนที่เกี่ยวข้องกับตลาดหุ้น ป่วยการที่จะไปกล่าวถึงอดีตนายกทักษิณ มีนายกทักษิณหรือไม่มีนายกทักษิณ ก็มีความตั้งใจจะทำเช่นนี้อยู่แล้ว รุมกินโต๊ะประเทศไทย

นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี หรือ 'หมอเลี๊ยบ' เลขาธิการพรรคพลังประชาชน หนึ่งในกลุ่มคนเดือนตุลา เป็นคนเรียนเก่ง สอบปลายปีม.ศ. 5 สายวิทย์ ได้ที่ 1 ของประเทศ

ร้อยเก่งหรือจะสู้ 1 ชำนาญ



นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

การมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เขาไม่ได้เจอผู้ชำนาญการเพียงคนเดียว

แต่เขาตกมาอยู่ในกลุ่ม 100 ศักดินาที่ชำนาญการ

ชำนาญการในการหาประโยชน์ส่วนตน  ชำนาญการในการปล้นชาติตน ชำนาญการในการขายประเทศชาติของตนเอง

6-7 เดือนของรัฐบาลสมัครที่ผ่านมา ส่งเงินออกกระตุ้นรากหญ้า ขึ้นเงินเดือนข้าราชการ โรดโชว์ต่างประเทศ กู้เงินญี่ปุนมาทำเมกะโปรเจ็คท์ อ้างว่าเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ได้ยินเรื่องการกระตุ้นเศรษฐกิจทุกเดือน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคนใดมาก็หาเงินแบบมักง่าย รมว.คลัง นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ก็คิดหาเงินจากอบายมุขหวยบนดินเช่นกัน

10 เดือนที่ผ่านมา ประเทศไทยขาดดุลงบประมาณแล้ว กว่า 170,000 ล้านบาท รวมทั้งหนี้สาธารณะคงค้างของประเทศยังอยู่ระดับสูงประมาณ 3.5 ล้านล้านบาท รัฐบาลยังออกรายโครงการณ์ประชานิยม 6

เดือน 6 เรื่อง ทำให้สูญงบประมาณเพื่อการนี้อีกไม่ต่ำกว่า 56,000 ล้านบาท ฝนตกไม่ทั่วฟ้า ได้ประโยชน์เฉพาะคนกรุง คนต่างจังหวัดได้ประโยชน์น้อย เป็นการบริหารประเทศที่ขาดความรับผิดชอบ เมื่อเงินขาดมือ ทางการก็ต้องหาทางขึ้นภาษีวีเอที หรือไม่ก็ขายรัฐวิสาหกิจเอาเงินมาใช้อีก

นพ.สุรพงษ์ไม่สงสัย รายได้ของตลาดหุ้น ช่วง 33 ปีที่ผ่านมา เป็นอย่างไร? ใช้แบบไหน ? ทางใดบ้าง ? ตลาดหุ้นนี้ช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศเจริญจริงหรือไม่ ? 

วิสัยทัศน์และปรัชญาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่ละรัฐบาลไม่ได้แตกต่างกัน ไม่ได้มีวิสัยทัศน์และปรัชญาที่เป็นส่วนตน การตัดสินใจทางด้านเศรษฐกิจจึงเป็นไปตาม การชี้นำของศักดินาเดิมๆในกระทรวงการคลัง ซึ่งวิสัยทัศน์ปรัชญาเบี่ยงเบนเป็นส่วนใหญ่

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังที่ผ่านมา รวมทั้งนพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เป็นเพียง 'เครื่องมือ' ของศักดินาในกระทรวงการคลัง และศักดินาพันธมิตรของกระทรวงการคลัง

กรรมเก่าของนพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี สร้างมาดี ทำให้เกิดมาเรียนเก่ง

แต่ชาตินี้มาอยู่กับคนบาปหนาถึง 2 คน พลอยทำให้ชาตินี้ต้องมาทำบาปด้วย การแปรรูปตลาดหุ้นเป็นเอกชนของ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี คือการทำบาปกับประเทศชาติ  การแปรรูปตลาดหุ้นเป็นเอกชน ไม่ได้

ช่วยให้มีการพัฒนาตลาดหุ้น ไม่ต้องแปรรูปฯก็พัฒนาตลาดหุ้นได้



ดัชนีตลาดหุ้นไทยยุคทักษิณ
เปรียบเทียบกับดัชนีตลาดหุ้นไทยกับดัชนีตลาดหุ้นประเทศอินโดนีเซีย

ปรับฐานเท่ากันที่ 100 ในวันเริ่มต้นของรัฐบาลทักษิณในปี 2544 (2001) ตลาดหุ้นยุคทักษิณดีเฉพาะ 3 ปีแรก (วงกลมในกราฟ) และ 3 ปีหลัง ไม่ได้ดีขึ้น และอยู่ต่ำกว่าดัชนีตลาดหุ้นของประเทศอินโดนีเซียอย่างมาก

พบข่าวในหนังสือพิมพ์ มูลนิธิกองทุนพัฒนาระบบตลาดทุน มีทุน 16,000 ล้านบาท อยากจะหารายละเอียด ดูจาก http://www.cdf.or.th/vhcs2/aiweb/modules.php?

name=Page_View&page=page1.html แต่ไม่ได้รายละเอียดอะไร ได้แต่รายชื่อคณะกรรมการ มูลนิธิกองทุนพัฒนาระบบตลาดทุน มีนายนิพัทธ  พุกกะณะสุต ประธานกรรมการ  นายโกวิทย์  โปษยานนท์ รองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย นายธวัชชัย  ยงกิตติกุล คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม  นางสาวนวพร เรืองสกุล นายวิโรจน์  นวลแข นายไกรทิพย์  ไกรฤกษ์ นายวิจิตร  สุพินิจ มีนายนายชูชัย  ตีรณชาติ เป็นกรรมการและผู้จัดการ เหรัญญิก และเลขานุการ



นายนิพัทธ  พุกกะณะสุต ประธานกรรมการมูลนิธิกองทุนพัฒนาระบบตลาดทุน

การแปรรูปตลาดหุ้น เป็นเรื่องที่ศักดินา ชงเรื่องไว้กินเอง เป็นการเปิดประตูให้กลุ่มคนเข้ามาปล้นสินทรัพย์ทรัพย์ของชาติด้วย 

ระบบ คือประเทศชาติประชาชน

มีคนได้ ก็มีคนเสีย (Zero sum games) มีคนหรือกลุ่มคน เอาประโยชน์ไปจากระบบ ระบบก็เสียประโยชน์
 
บันทึกการเข้า

http://www.oknation.net/blog/indexthai
ค น น อ ก ก ร ะ แ ส
เทพเจ้าโดเรมอน
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 70


« ตอบ #1 เมื่อ: 12-09-2008, 17:06 »

ศักดินาเก่งกว่า เพราะสามารถเอาเปรียบคนอื่นแล้วไม่มีใครกล้าว่า เขาวางหมากมาตั้งแต่รุ่นคุณปู่
วิสัยทัศน์ไกลสุดๆ
บันทึกการเข้า
ฮูลิแกน
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 234



« ตอบ #2 เมื่อ: 13-09-2008, 17:10 »

ถ้าข้าราชการประจำชั้นผู้ใหญ่ มีอิทธิพลต่อการเมืองจริงๆ อย่างที่ว่ามา
อธิบดีกรมต่างๆ คงไม่โดนย้าย โดนเด้งเป็นระนาว เมื่อการเมืองเปลี่ยนขั้ว หรือเปลี่ยนผู้บริหารหรอก ว่าม่ะ?
ตำรวจชั้นสูงอย่างเสรีพิสุทธิ์ ยังต่อรองกะไอ่พวกรัฐบาลนี้ไม่ได้เลย
บันทึกการเข้า

ชาตินิยมแบบคับแคบผมไม่ชอบ แต่พวกเพ้อเจ้อบ้าทฤษฎี ผมก็ไม่ชอบเหมือนกัน
บทความของ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล จาก ค.คน ฉบับเมษายน 2550
หน้า: [1]
    กระโดดไป: