ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
16-04-2024, 20:00
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีสิ้นสถานภาพและหมดสิทธิที่จะเป็นรัฐมนตรีได้ตามรัฐธรรมนูญ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีสิ้นสถานภาพและหมดสิทธิที่จะเป็นรัฐมนตรีได้ตามรัฐธรรมนูญ  (อ่าน 1834 ครั้ง)
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« เมื่อ: 11-09-2008, 21:57 »

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9510000107884

อ้างถึง
โดย ยินดี วัชรพงศ์ ต่อสุวรรณ 11 กันยายน 2551 17:48 น.
 
ผู้เขียนมีความประสงค์ที่จะเสนอบทความทางวิชาการนี้ต่อสาธารณชน เพื่อประโยชน์แก่ทุกคนที่จะนำไปพิจารณาและดำเนินการให้เกิดสันติสุขในแผ่นดิน
       
       ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยโดยมีมติเป็นเอกฉันท์มีสาระสำคัญว่า นายสมัคร สุนทรเวชนายกรัฐมนตรี ได้กระทำการอันต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 267 มีผลให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182 วรรคหนึ่ง(7) จึงเป็นเหตุให้รัฐมนตรีทั้งคณะต้องพ้นจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 180 วรรคหนึ่ง แต่ด้วยความเป็นรัฐมนตรีเป็นการสิ้นสุดลงเฉพาะตัว ทำให้รัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีที่เหลือ จึงอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 181
       
       ทันทีที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยก็ปรากฏข่าวทางสื่อมวลชนว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนหนึ่งได้มีมติเป็นเอกฉันท์ที่จะโหวตให้นายสมัคร สุนทรเวชเป็นนายกรัฐมนตรีอีก เพราะยังเป็นส.ส.สัดส่วนกับมีข่าวอีกว่า พรรคการเมืองจะกอดคอกันไว้เพื่อพิสูจน์ให้ระบบตุลาการเห็นว่าข้อกล่าวหาเหล่านี้ทำอะไรพวกเรา(พรรคการเมือง)ไม่ได้ การตัดสินเช่นนี้น่าอายชาวโลกว่านายกไทยต้องพ้นจากตำแหน่ง เพราะจัดรายการอาหาร(ข่าวมติชน, ไทยโพสต์, วิทยุ )
       
       รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือหลักรัฐธรรมนูญในนานาอารยประเทศนั้น เป็นกฎหมายแม่แบบของการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น กฎหมายรัฐธรรมนูญจึงเป็นกฎหมายที่ไม่มีบทลงโทษเพื่อใช้บังคับกับบุคคลที่อยู่ในฐานะเป็นผู้ปกครองประเทศ บุคคลที่เป็นชนชั้นปกครองหรืออยู่ในฐานะเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยของประชาชนนั้น เป็นบุคคลที่ทุกประเทศ หรือมนุษยชาติทั่วโลกยอมรับเป็นบุคคลที่มีคุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรม และมีคุณสมบัติของผู้ดีที่สูงกว่าบุคคลทั่วไป เพราะเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อการปกครองประเทศ ดูแลความทุกข์ความสุขของประชาชนเป็นที่ตั้ง
       
       ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยเพราะนายสมัคร สุนทรเวช ได้กระทำการอันฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ เพราะมีการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ของความเป็นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญมาตรา264 ทำให้ผู้ที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยนั้นไม่มีสถานภาพของความเป็นรัฐมนตรีและเป็นนายกรัฐมนตรีได้อีกต่อไป และสูญสิ้นไปซึ่งสถานภาพของการดำรงตำแหน่งดังกล่าว กรณีจึงหาใช่เป็นเรื่องว่าเมื่อมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว และนายสมัครพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว 1 วันถือเป็นการลงโทษสิ้นสุดลงแล้ว และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรส่วนใหญ่ก็จะเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีใหม่ในทันทีที่สิ้นเสียงคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้น หาทำได้ไม่ เพราะคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไม่ใช่บทบังคับที่เป็นการลงโทษ (PUNISHMENT) แต่เป็นคำวินิจฉัยที่มีผลต่อสถานภาพของบุคคล (STATUS)
       
       ผู้ที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นนักการเมืองจะต้องรู้ดีว่า การสิ้นสถานภาพของรัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ จะมีผลตลอดไปในช่วงวาระของการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และวาระของสภาผู้แทนราษฎรนั้นกำหนดไว้คราวละ 4 ปีนับแต่วันเลือกตั้ง (มาตรา 104) เว้นแต่จะมีการยุบสภา เนื่องจากการเข้ามาดำรงตำแหน่งของรัฐมนตรีจะต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญตลอดอายุของสภาผู้แทนราษฎร คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจึงมีผลให้สถานภาพ(STATUS) การเป็นรัฐมนตรีของนายสมัครสิ้นสุดลงตลอดระยะเวลาของอายุสภาผู้แทนราษฎร โดยนายสมัครไม่อาจกลับมาเข้ามาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีได้อีกตลอดวาระอายุของสภาผู้แทนราษฎรนั้น การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวาระหนึ่งๆ ซึ่งมีวาระ 4 ปีนั้น เปรียบเสมือนประชาชนได้ปลูกธัญพืชเอาไว้รับประทานในฤดูกาลหนึ่ง หรือ CROP หนึ่ง ซึ่งมีเวลา 4 ปี ถ้าธัญพืชนั้นเป็นเชื้อราหรือเน่าเสียจะต้องถอนทิ้งไป ก็ต้องทิ้งไป ไม่สามารถที่จะเอาธัญพืชนั้นเข้ามาในแปลงเพาะปลูกได้อีก เพราะมิฉะนั้นธัญพืชทั้งแปลงจะเน่าและเป็นเชื้อราทั้งหมดซึ่งจะต้องรื้อทิ้งทั้งแปลง
       
       คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ได้วินิจฉัยให้รัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่งไปด้วย ตามมาตรา 180 นั้น ก็เป็นผลมาจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญนั้นเอง แม้มาตรา 182 บัญญัติให้ การกระทำที่ต้องห้ามไม่ให้รัฐมนตรีกระทำการตามมาตรา 267 เป็นการกระทำที่ให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวก็ตาม แต่รัฐธรรมนูญมาตรา 181ได้บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง เมื่อความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา182 แสดงให้เห็นเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญอย่างแจ้งชัดว่า แม้จะเป็นเรื่องเฉพาะตัวของนายสมัครในฐานะเป็นรัฐมนตรีก็ตาม แต่เมื่อนายสมัครเป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว รัฐมนตรีทั้งคณะก็ต้องพ้นจากตำแหน่งไปด้วยตามมาตรา 180 (1) เมื่อรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ชัดแจ้งเช่นนี้ จึงไม่อาจตีความเป็นอย่างอื่นไปได้ สถานภาพของความเป็นรัฐมนตรีทั้งคณะจึงสิ้นสภาพการเป็นรัฐมนตรีไปด้วย บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญตามมาตรา 180 วรรคแรก (1)นี้เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับถึงความรับผิดชอบของคณะรัฐมนตรีที่ต้องมีต่อสาธารณชน (PUBLIC RESPONSIBILITY) ตามหลักรัฐธรรมนูญที่เป็นสากล การสิ้นสภาพของการเป็นรัฐมนตรีของคณะรัฐมนตรีจึงเป็นการสิ้นสุดสถานภาพตลอดไปจนสิ้นอายุของสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา 104 ด้วยเช่นกัน นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีจึงไม่อาจกลับเข้ามาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีได้อีกในช่วงอายุของสภาผู้แทนราษฎรนี้ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
       
       การตีความของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่แสดงออกต่อสาธารณชน โดยตีความว่า เมื่อนายสมัครพ้นจากตำแหน่งการเป็นนายกรัฐมนตรีตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ก็ถือเป็นการเสร็จสิ้นแล้วโดยจะเลือกเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีใหม่นั้น หรือตีความว่าคณะรัฐมนตรีที่สิ้นสถานภาพตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไปเพียงวันหรือสองวันแล้ว ก็สามารถกลับมาเป็นรัฐมนตรีได้ใหม่นั้น เป็นการตีความที่มีเจตนาจะไม่ใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ในหมวด 12 เรื่องการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในส่วนการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ เพราะสามารถใช้อำนาจบริหารหรือการออกเสียงในสภาเข้ามาดำรงตำแหน่งได้อีก การตีความดังกล่าวจะมีผลทำให้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญในเรื่อง การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐหมดสภาพบังคับใช้ และถ้าจะตีความเช่นนั้นบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในหมวด 12 ก็ไม่จำเป็นต้องบัญญัติไว้เลยก็ได้
       
       การพยายามดำเนินการใดๆ เพื่อให้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไม่มีประสิทธิภาพในการเป็นแม่แบบการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตย หรือการดำเนินการใดๆที่จะแสดงให้เห็นศักยภาพ การใช้อำนาจในทางสภาผู้แทนราษฎรนั้นสามารถยกเลิกหรือแกล้งโง่กับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ โดยไม่นำมาเป็นแม่แบบการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตย หรือไม่ให้มีผลบังคับใช้โดยวิธีการทางสภาโดยอาศัยเสียงข้างมากแล้ว จึงเป็นกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรจะต้องใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่ง เพราะเข้าข่ายการกระทำการอันฝ่าฝืนต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ซึ่งบัญญัติว่า “ บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตาม วิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้มิได้” การกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศดังกล่าวด้วยวิธีการตีความคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไม่ให้มีผลที่จะปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้น เป็นวิธีการที่มิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจมีผู้เสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยสั่งเลิกการกระทำดังกล่าวได้ และสามารถดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าวได้ และในกรณีเช่นนี้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจสั่งยุบพรรคการเมือง และสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกยุบได้เป็นระยะเวลา 5 ปี ทั้งนี้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรคสอง วรรคสาม และที่นอกเหนือไปจากนี้ ประชาชนมีสิทธิอันชอบตามรัฐธรรมนูญที่จะต่อต้านโดยสันติวิธี จากการกระทำดังกล่าวของพรรคการเมืองนั้นๆได้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 69
 


ฝากบทความนี้ไว้พิจารณาค่ะ 
บันทึกการเข้า
ooo
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 670


« ตอบ #1 เมื่อ: 11-09-2008, 22:18 »

ความเห็นของอดีตผ้พิพากษาศาลฎีกาท่านนี้ นับว่าสนใจอย่างยิ่ง

หากพ้นสภาพไปวัน สองวัน แล้วกลับมาเป็นใหม่ รัฐธรรมนูญ จะเขียนไว้ทำไม

นี่คืออีกกรณีหนึ่งของการตีความ ตามเจตนารมณ์ ผมสนับสนุนแนวคิดท่าน ยินดี ครับ
บันทึกการเข้า
เล่าปี๋
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,417


ทำดีได้ดีมีไฉน ทำชั่วได้ดีมีถมไป


« ตอบ #2 เมื่อ: 11-09-2008, 22:28 »

ความเห็นของอดีตผ้พิพากษาศาลฎีกาท่านนี้ นับว่าสนใจอย่างยิ่ง

หากพ้นสภาพไปวัน สองวัน แล้วกลับมาเป็นใหม่ รัฐธรรมนูญ จะเขียนไว้ทำไม

นี่คืออีกกรณีหนึ่งของการตีความ ตามเจตนารมณ์ ผมสนับสนุนแนวคิดท่าน ยินดี ครับ


อ้าว คุณ 000 ครับ เมืองไทยพวกเดียวกับศรีธนญชัย มีมากครับ..
บันทึกการเข้า

ขงเบ้งดูดาว เฮอะเอ่อเอ้ย เมื่อดาวตก เสียวในหัวอกเมือเห็นดาว
ไม่พราวไสว  หรือว่าตัวเราจะหมดบุญ จึงเป็นไป
ดาวที่สดใสเมื่อก่อนนั้น  พลันมืดมัว....
ริวเซย์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4,637


Worrior in The Blue Armor


เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 11-09-2008, 22:34 »

เป็นความเห็นที่น่าสนใจมากครับ เรามาดูกันว่าองคณะผู้พิพากษาจะวินิจฉัยเรื่องนี้ว่ายังไง

น่าจะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความนะครับ

 
บันทึกการเข้า

ถ้ามีแฟนแบบนี้เอาไหมครับ^^


vorapoap
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 512



เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 11-09-2008, 22:34 »

ประเด็นนี้เอาไปขยายความได้หรือไม่ครับ

แล้วจะไปขยายความผ่านทางองค์กรใด?

หรือต้องรอคุณสวอีกแล้ว
บันทึกการเข้า

นักปฏิวัติ
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 330



« ตอบ #5 เมื่อ: 11-09-2008, 22:41 »

ผมเห็นด้วย ว่า พปช.มีพฤติการณ์ ที่ส่อผิด รธน. มาตรา 68 หลายเรื่องแล้ว เช่น

ที่ ผมเคยพยายามนำเรื่อง ที่ พปช.เป็นตัวแทนทักษิณ(ตามข้อสรุปของ อนุฯกกต.)

แล้ว พปช.ได้เป็นรัฐบาล

แสดงว่า ทักษิณ กระทำผิด มาตรา 68 โดย พปช.ร่วมกระทำผิด

ดังนั้น ความผิดสำเร็จแล้ว
บันทึกการเข้า

"สุดยอดกลยุทธ์ คือชนะโดยไม่ต้องรบ" ซุนวู

"ผู้นำชั้นเลิศนั้น เพียงแต่เป็นที่รับรู้ว่ามีตัวตนอยู่
ชั้นรองลงมา เป็นที่รักและสรรเสริญ
ชั้นรองกว่านั้น เป็นที่เกรงกลัวและเกลียดชัง" เหล่าจื๊อ เต้าเต๋อจิง
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #6 เมื่อ: 11-09-2008, 23:16 »

ประเด็นที่นำเสนอในบทความน่าสนใจมากครับ

ผมคิดว่าสำหรับประเทศไทยน่าจะแก้ไข รธน.
ระบุให้ชัดเจนเลยว่าห้ามกลับมาดำรงตำแหน่ง
ตลอดอายุสภาผู้แทนราษฎร

จะหวังพึ่งแต่สำนึก หรือจริยธรรมนักการเมือง
สำหรับประเทศไทยคงหวังได้ยากครับ

รัฐธรรมนูญกำหนดไม่ชัดเจนก็เข้าทางเท่านั้น

ผมว่าต่อให้ยื่นตีความก็ไม่แน่ว่าจะครอบคลุม
ควรผลักดันให้แก้ รธน. ระบุชัดเจนเลยดีกว่า
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
An.mkII
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,984


Out of kontrol....!!!!!


เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 12-09-2008, 09:13 »

เมื่อวาน ผมฟังอ.วิชา มหาคุณ ทางคลื่น 92.25 ตอนสายๆ  ท่านให้ความเห็นไว้ประมาณว่า..


ไม่น่าจะรับได้ เพราะเหมือนว่า ถ้าตำเเหน่งนายก มีวาระ 4ปี..

และเมื่อสมัครทำผิดอยู่ในขณะตำเเหน่ง 4ปี สมัครก็ไม่น่าจะมีสิทธิ์เขามารับดำเเหน่งได้อีก..

เพราะในเมื่อเขาตัดสิทธิ์ คุณผิดไปแล้ว คุณก็ไม่ควรจะเข้ามาอีก เว้นเสียจาก คุณจะพ้นระยะเวลา 4 ปี ไปแล้ว..


แต่ถ้าใครจะเข้ามา... มันก็เป็นที่รู้กันอยู่ว่านิสัยนักการเมืองไทย มันเป็นเช่นไรนั้นเอง.. แบบกรณี ไชยยา  ที่เวลาผ่านไปแต่นักการเมืองไทยไม่เคยพัฒนา


รวมถึง นายก ชั่วคราวอย่าสมชาย ก็ไม่น่าจะมีสิทธิ์ยุบสภา เพราะมันไม่ใช่ นายกทั่วไปในสภาวะปรกติ

แต่ในกรณ๊นี้นายกต้องหลุดเพราะทำผิดรธน. และสมชายเองก็เป็นเเค่รองนายก ที่มารักษาการนายก..
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: