ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
25-04-2024, 01:32
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ความตายของณรงค์ศักดิ์ กรอบไธสงค์ กับความรับผิดชอบของสื่อ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ความตายของณรงค์ศักดิ์ กรอบไธสงค์ กับความรับผิดชอบของสื่อ  (อ่าน 1050 ครั้ง)
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« เมื่อ: 10-09-2008, 23:35 »

ทัศนะวิจารณ์ ชำนาญ จันทร์เรือง
10 กันยายน พ.ศ. 2551 00:39:00
ความตายของณรงค์ศักดิ์ กรอบไธสงค์ กับความรับผิดชอบของสื่อ
ชำนาญ จันทร์เรือง

กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : ชื่อ ณรงค์ศักดิ์ กรอบไธสงค์ คงไม่เป็นคุ้นหูหรือเป็นที่รู้จักเท่ากับสมัคร สุนทรเวช หรือ สนธิ ลิ้มทองกุล และ จำลอง ศรีเมือง เพราะณรงค์ศักดิ์เป็นเพียงเบี้ยตัวเล็กๆ ที่ตกเป็นเหยื่อของความบ้าคลั่งทางการเมืองจนสูญเสียชีวิตด้วยการถูกตีด้วยของแข็งที่ศีรษะและร่างกายบาดเจ็บสาหัส และสิ้นใจในที่สุด

ณรงค์ศักดิ์ อายุ 55 ปี พื้นเพเดิมเป็นชาวอำเภอพุทไธสงค์ จ.บุรีรัมย์ ต่อมาครอบครัวย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่กาญจนบุรี แต่ณรงค์ศักดิ์เดินทางเข้ากรุงเทพฯตั้งยังหนุ่ม โดยประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปบ้าง ค้าขายบ้าง ณรงค์ศักดิ์เป็นผู้ที่ชื่นชอบการเมืองเป็นชีวิตจิตใจโดยเข้าร่วมการชุมนุมทางการเมืองอยู่เสมอ ไม่ว่าการชุมนุมต่อต้านการรัฐประหาร 19 กันยา ล่าสุดคือการเข้าร่วมการชุมนุมของ นปช.และเสียชีวิตอย่างทารุณในที่สุด

การเสียชีวิตของเขาไม่มีปรากฏการณ์แสดงออกถึงความรับผิดชอบจากใครทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจที่อยู่ในเหตุการณ์ หรือแกนนำ นปช.ที่นำขบวนไปปะทะกันกับฝ่ายพันธมิตร จนศพถูกทิ้งอยู่ในสภาพของศพไม่มีญาติอยู่ในระยะหนึ่งก่อนที่จะมีญาติของณรงค์ศักดิ์ที่มาจากกาญจนบุรีเข้ามาติดต่อขอรับศพที่วชิระพยาบาล นปช.ถึงเข้าไปรับผิดชอบแต่ก็รับผิดชอบแต่เพียงการไปเป็นเจ้าภาพงานศพในบางส่วนเท่านั้น

อันที่จริงแล้วการเสียชีวิตของณรงค์ศักดิ์ในครั้งนี้ผู้ที่จะต้องร่วมรับผิดมีมากกว่าผู้ที่ทำร้ายณรงค์ศักดิ์หรือ แกนนำ นปช.ที่นำขบวนไปต่อสู้กันอย่างน้อยอีก 3 กลุ่ม คือ


1) พันธมิตร ซึ่งปลุกระดมให้มีการชุมนุมจนถึงกับยึดทำเนียบรัฐบาลเพื่อสนองตัณหาของตนเองที่ต้องการล้มรัฐบาลและเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบบการเมืองใหม่ที่ล้าหลังและคลั่งชาติ มีการปลุกระดมจนสมาชิกของกลุ่มพันธมิตรฯได้กลุ้มรุมทำร้ายณรงค์ศักดิ์จนตายโดยไม่มีสาเหตุโกรธเคืองโดยส่วนตัวมาก่อน

มีการยึดสถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีเพื่อที่จะเชื่อมต่อสัญญาณเอเอสทีวีพร้อมทั้งมีการทุบทำลายทรัพย์สินของทางราชการ ซึ่งประเด็นนี้เป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้ภาพลักษณ์ของพันธมิตรเสียหายเป็นอย่างมาก เพราะเป็นการคุกคามและทำร้ายสื่ออย่างอย่างรุนแรง

มีการปรับเปลี่ยนข้อเรียกร้องตลอดเวลาทำให้ถูกมองว่าไม่มีจุดยืน ล่าสุดแกนนำพันธมิตรออกมาประกาศว่า แม้ว่ารัฐบาลจะลาออกก็จะยังไม่ยุติ จะคอยดูว่ารัฐบาลใหม่เป็นไปตามที่ตนต้องการหรือไม่

2) รัฐบาล โดย นายสมัคร สุนทรเวช เป็นหัวหน้า ที่ไม่สามารถรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองจนเกิดเหตุจลาจล ทั้งๆ ที่ได้รับความไว้วางใจจากผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เลือกเข้าไปเป็นรัฐบาลแต่ไม่มีน้ำยาแก้ไขปัญหาความสงบเรียบร้อย มิหนำซ้ำยังราดน้ำมันลงบนกองไฟอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันจนเหตุการณ์บานปลาย

เหตุการณ์ยึดทำเนียบรัฐบาลนี้หากเป็นที่สหรัฐอเมริกาที่ได้ชื่อว่าเป็นประชาธิปไตยมากกว่าเรา อย่าว่าแต่การบุกเข้าไปยึดทำเนียบขาวเลยครับ แค่เข้าใกล้เกินกว่าเขตที่หวงห้ามก็ถูกจัดการไปเรียบร้อยโดยไม่ต้องเกรงกลัวต่อการตำหนิว่าใช้ความรุนแรง

การใช้ไม้กระบองหรือแก๊สน้ำตาแม้กระทั่งการใช้น้ำฉีดเป็นเรื่องปกติของการปราบจลาจลหรือการกระทำที่ละเมิดกฎหมายบ้านเมืองจนถึงขั้นทุบทำลายและยึดสถานที่ราชการ ซึ่งผมก็ไม่รู้ว่าเราจะต้องจ่ายภาษีให้แก่รัฐบาลเป็ดง่อยที่รักษาแม้แต่ทำเนียบที่เป็นบ้านของตนเองไว้ยังไม่ได้ไปทำไม การขาดการตัดสินใจที่เด็ดขาด โลเล และ หูเบา ดังจะเห็นได้จากการที่มีคำสั่งให้ปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายพงศ์โพยม วาศภูติ) ไปช่วยราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 กันยายน ที่ผ่านมา โดยอ้างว่าไม่สนองนโยบาย แต่ต่อมาไม่กี่ชั่วโมงเมื่อถูกท้วงติงก็ฉีกคำสั่งนั้นทิ้งไปเสียเฉยๆ โดย ไม่ออกคำสั่งยกเลิก ทั้งๆ ที่เป็นคำสั่งราชการที่การออกคำสั่งและการยกเลิกต้องทำโดยกระบวนการที่ต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามระเบียบงานสารบรรณฯ

ในสถานการณ์ปัจจุบัน หากนายสมัครมีความสำนึก มีภาวะผู้นำ และเป็นคนที่มีความรับผิดชอบต่อประเทศชาติ และจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ตามที่กล่าวอ้างอยู่เสมอ สมควรที่จะพิจารณาตัวเองหรือพิจารณาตัดสินใจภายใต้อำนาจที่ตนเองสามารถทำได้ตามกฎหมายและชอบธรรม เช่น การยุบสภาหรือลาออก แต่หากเห็นว่าการลาออกจะทำให้ดูว่าเป็นการพ่ายแพ้และเสียระบบ ก็ต้องเลือกวิถีทางของการยุบสภาเพื่อคลี่คลายปัญหา มิใช่การดึงดันที่จะทำประชามติเพื่อยืดเวลาออกไปเพื่อ รอคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในคดีชิมไปบ่นไปและคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในคดีหมิ่นประมาทว่าจะต้องตกจากเก้าอี้นายกรัฐมนตรีหรือไม่ เพราะสถานการณ์ขณะนี้เกินเลยกว่าที่จะโยนภาระไปให้ใครได้อีกแล้ว

3)  สื่อสารมวลชน ที่ไม่ยึดมั่นในอุดมการณ์ของการนำเสนอข่าวที่เที่ยงธรรม มีการลำเอียง เลือกเสนอข่าวด้านบวกของฝ่ายที่ตนชอบ เสนอข่าวด้านลบของฝ่ายที่ตนไม่ชอบ ไม่ว่าจะเป็นสื่อสารมวลชนประเภทวิทยุและโทรทัศน์ทั้งของรัฐและเอกชน แม้กระทั่งหนังสือพิมพ์เองหรือสื่อออนไลน์ทางอินเทอร์เน็ตและข่าวทางเอสเอ็มเอสก็ตาม ที่ตำหนิแต่การใช้ความรุนแรงของภาครัฐ แต่ไม่ตำหนิการใช้ความรุนแรงของภาคเอกชน ทั้งๆ ที่สร้างความเสียหายให้แก่สังคมไทยอย่างมหาศาลเช่นกัน

ในเรื่องของความอคตินี้มีมาตั้งแต่ตอนก่อนรัฐประหารโดย บรรดาสื่อและชนชั้นกลางได้สร้างภาพลบต่อมวลชนของฝ่ายที่เชียร์ทักษิณ โดยมองว่าพวกเขาถูกชักจูงง่าย โง่ เถื่อน ถ่*** เป็นสุนัขรับใช้นักการเมือง ฯลฯ

ภาพต่างๆ เหล่านั้น ถูกกระพือ ปลุกปั่นให้พวกเขากลายเป็นม็อบเถื่อน ไม่เล่นตามกติกา เป็นนักเลงหัวไม้ ต่างจากม็อบพันธมิตรฯที่เป็น โ€œปัญญาชนโ€ หรือเป็น โ€œม็อบบรรดาศักดิ์โ€

ความหลังที่ฝังใจในสื่อยักษ์ใหญ่ทั้งหลายที่เคยถูกทักษิณพยายามเทคโอเวอร์ ทำให้รัฐบาลซึ่งเป็นที่ทราบกันโดยพฤตินัยว่าเป็นร่างทรงของทักษิณก็ย่อมเสียพื้นที่ทางสื่อไปอย่างช่วยไม่ได้ ยิ่งหัวหน้ารัฐบาลที่มีปากเป็นอาวุธคอยทิ่มแทงสื่อมวลชนทุกเวลาเมื่อมีโอกาส ก็ย่อมทำให้ม็อบที่เชียร์หรือชื่นชอบรัฐบาลด้วยความบริสุทธิ์ใจพลอยต้องกลายเป็นผู้ร้ายไปด้วย ทั้งๆ ที่เสียงทุกเสียงของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยย่อมต้องถูกรับฟังและถ่ายทอดผ่านสื่อสารมวลชนที่เป็นปากเสียงของประชาชน

สื่อมีบทบาทในการก่อให้เกิดความรุนแรงจริงหรือ

ลำพังบทบาทของสื่อเองไม่อาจนำไปสู่ความรุนแรงจนเกิดการจลาจลจนทำให้ณรงค์ศักดิ์ถูกฆ่าตายได้ แต่สื่อมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งยวดที่ทำให้ความรุนแรงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และลุกลามไปอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ

บทบาทของสื่อที่ผ่านมาไม่ต่างจากบทบาทของสื่อในสงครามล้างเผ่าพันธุ์ในประเทศรวันดา โดยสื่อแพร่กระจายความเกลียดชังอย่างตั้งใจ ผ่านคำพูด เพลงปลุกระดม คำขวัญ ถ้อยคำหยาบคายที่จงใจทำให้คนกลุ่มหนึ่งในสังคมที่มีความคิดเห็นแตกต่างกลายเป็นศัตรู ดังเช่นเอเอสทีวีและเอ็นบีทีพยายามกระทำ จนสามารถเรียกได้ว่าเป็น โ€œสถานีโทรทัศน์แห่งความตายโ€

สถานีโทรทัศน์ทั้งสอง (รวมถึงไทยพีบีเอสด้วยในบางครั้ง) ไม่ได้ทำหน้าที่สื่อมวลชนอย่างที่ควรจะทำในสถานการณ์ที่มีความขัดแย้งทางการเมือง แต่แปลงร่างเป็นเครื่องมือในการโค่นล้มฝ่ายตรงข้ามที่ตนไม่เห็นด้วยกับแนวความคิด โดยสื่อทำหน้าที่เป็นโฆษกของความรุนแรงและโหมกระพือความแตกแยกในสังคมแทนที่จะเป็นสติให้แก่สังคม

สื่อวิทยุหรือโทรทัศน์บางสถานี ตลอดจนสื่อสิ่งพิมพ์บางฉบับจงใจตอกย้ำว่าเป็นการต่อสู้ระหว่างความดีกับความชั่ว การตีกรอบปัญหาทางการเมืองเช่นนี้ทำให้สังคมขาดวุฒิปัญญาและไม่พร้อมต่อการรับมือกับวิกฤตการณ์ทางการเมืองในช่วงเปลี่ยนผ่าน

ถ้าเราศึกษาบทเรียนจากรวันดาจะทำให้เราทราบว่า สื่อสามารถเป็นอาวุธมหันตภัยที่จะก่อให้เกิดความรุนแรงได้ เมื่อใดที่สื่อยุติการทำหน้าที่ของการเป็นผู้รายงานข้อเท็จจริงและนำเสนอความเห็นรอบด้านต่อสาธารณะ และแปลงตัวตัวเองไปเล่นบทกระบอกเสียงของความเกลียดชัง

อย่างไรก็ตาม เมื่อปี 2543 สื่อของรวันดาก็ถูกลงโทษโดยศาลอาญาระหว่างประเทศสำหรับรวันดา (International Criminal Tribunal for Rwanda : ICTR) ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยอาศัยมติของคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ได้ตัดสินให้ผู้ประกาศสถานีวิทยุสองคนและนักข่าวของหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งมีความผิดฐานยุยงปลุกปั่นให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ นับเป็นการสร้างบรรทัดฐานทางกฎหมายที่สำคัญว่า แม้สื่อมวลชนจะไม่ได้เป็นผู้ลงมือฆ่าโดยตรง แต่หากทำหน้าที่ยุยงปลุกปั่นและชี้นำให้ มีการใช้ความรุนแรง ก็ต้องรับผิดตามกฎหมายต่ออาชญากรรมที่เกิดขึ้นด้วย

ผมไม่อยากเห็นความรุนแรงมากไปกว่านี้ และเช่นเดียวกันก็ไม่อยากเห็นสื่อมวลชนไทยต้องตกอยู่ในสถานะอาชญากรอันเนื่องมาจากการยุยงปลุกปั่นให้เกิดความรุนแรงในบ้านเมืองจนณรงค์ศักดิ์ กรอบไธสงค์ และคนอื่นๆ ที่จะมีการเสียชีวิตตามมาหากเกิดสงครามกลางเมืองเช่นกัน


http://www.bangkokbiznews.com/2008/09/10/news_292664.php


นำความเห็นของบุคคลที่สามมาให้อ่าน....!!!
บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
เทวา
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 54


« ตอบ #1 เมื่อ: 11-09-2008, 08:42 »

ก็น่าจะเป็นหนึ่งในสำนวนที่เก็บไว้ในลิ้นชัก ของฝ่ายสืบสวนสอบสวนพิเศษ ของโรงพักเจ้าของคดี
เพราะไม่รู้จะไปตามหาใครมารับโทษได้

เอาจริงๆ คนเรามีสิทธิเลือกวิถีทางทางการเมือง
มันไม่บีบรัดกระเพาะเหมือนความหิวโหยและการขาดแคลนปัจจัยสี่
ในเมื่อแกเลือกที่จะเป็น เบี้ย ให้เขาไส คงทำได้แค่แสดงความเสียใจกับครอบครัวแกไว้ ณ ที่นี้


 
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: