ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
26-04-2024, 08:38
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  บ้านผมมีเหลืองหลายคน (เยอะมาก) เลยอยากปรึกษาพี่ๆ ชาวเหลืองครับ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
บ้านผมมีเหลืองหลายคน (เยอะมาก) เลยอยากปรึกษาพี่ๆ ชาวเหลืองครับ  (อ่าน 1335 ครั้ง)
Kabal
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 27


« เมื่อ: 10-09-2008, 21:00 »

ว่าเป็นเหลืองแล้่วได้อะไร และไม่เป็นต้องเสียอะไรบ้างครับ

ในคำอธิบายนั้น ขอให้อยู่แง่เหตุผลเชิงประโยชน์และโทษต่อตัวบุคคลครับ

ในแง่การกล่าวพาดพิงบุคคลอื่น ว่าใครเลวเ+ี้ยยังไง หรือไปกกใครมา หรือไปขายที่ อะไรประมาณนี้ ผมขอยกเว้นแล้วกันนะครับ ผมอยากได้คำตอบมากๆ

(ปล. เหลือง = พันธมิตร ไม่ใช่ Hepatitis)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10-09-2008, 21:33 โดย Kabal » บันทึกการเข้า
oho
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 712


« ตอบ #1 เมื่อ: 10-09-2008, 21:07 »

ตามหลักโหราศาสตร์คนเกิดวันจันทร์ควรใช้สีเหลืองเป็นสีมงคลต่อเจ้าชะตาที่เกิดวันจันทร์ครับ

แต่สีแดงเป็นสีกาลกิณีสีอัปมงคลสำหรับคนเกิดวันจันทร์ครับ


ดูได้จากเว็บพยากรณ์โหราศาสตร์ครับ

http://www.payakorn.com/astrolink.php

 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10-09-2008, 21:11 โดย oho » บันทึกการเข้า
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #2 เมื่อ: 10-09-2008, 21:20 »

อ้างถึง
เป็นเหลืองแล้่วได้อะไร และไม่เป็นต้องเสียอะไรบ้างครับ

ในคำอธิบายนั้น ขอให้อยู่แง่เหตุผลเชิงประโยชน์และโทษต่อตัวบุคคลครับ

ตับอักเสบจากไวรัส - Viral Hepatitis
 

ลักษณะทั่วไป
ตับอักเสบจากไวรัส (ไวรัสลงตับ ก็เรียก) หมายถึง การอักเสบของเนื้อตับ เนื่องจากการติดเชื้อไวรัส
พบเป็นสาเหตุอันดับแรกสุดของอาการดีซ่าน (ตัวเหลือง ตาเหลือง) ที่เกิดขึ้นในเด็กโตและผู้ใหญ่
จนเป็นที่เข้าใจกันว่า โรคดีซ่าน ก็คือ ตับอักเสบจากไวรัส โรคนี้พบได้ในคนทุกวัย แต่พบมากในเด็ก
และคนหนุ่มสาว บางครั้งอาจพบระบาด ตามหมู่บ้าน โรงเรียน โรงงาน กองทหาร เป็นต้น

สาเหตุ
ในปัจจุบันพบว่าไวรัสที่ทำให้เกิดโรคตับอักเสบมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ที่สำคัญมีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่
1. เชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดเอ (Hepatitis A virus) ซึ่งทำให้เกิดโรคตับอักเสบชนิดเอ (Hepatitis
A ) หรือ เดิมเรียกว่า Infectious hepatitis สามารถติดต่อโดยทางระบบทางเดินอาหาร กล่าวคือ
โดยการกินอาหาร ดื่มนม หรือน้ำที่เปื้อนอุจจาระของคนที่มีเชื้อโรคนี้ (เช่นเดียวกับโรคบิด อหิวาต์
ไทฟอยด์) ดังนั้นจึงสามารถแพร่กระจายโรคได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบ้านเรา ซึ่งการสุขาภิบาล
สิ่งแวดล้อม(เรื่องส้วม และน้ำดื่ม) ยังไม่ดี บางครั้งอาจพบเป็นโรคระบาดได้ระยะฟักตัว ของตับ
อักเสบชนิดเอ 15-45 วัน (เฉลี่ย 30 วัน) ซึ่งนับว่าสั้นกว่าชนิดบี

2. เชื้อ ไวรัสตับอักเสบชนิดบี (Hepatitis B virus) ซึ่งทำให้เกิดโรคตับอักเสบชนิดบี (Hepatitis
B) หรือเดิมเรียกว่า Serum hepatitis เชื้อนี้จะมีอยู่ในเลือด และยังอาจพบมีอยู่ในน้ำลาย น้ำตา
น้ำนม ปัสสาวะเชื้ออสุจิ เป็นต้นเชื้อสามารถเข้าสู่ร่างกายโดยทางเพศสัมพันธ์ หรือถ่ายทอดจากแม่
ไปยังทารกขณะคลอด หรือหลังคลอดใหม่ ๆ (ทำให้ทารกมีเชื้อโรคนี้อยู่ในร่างกาย ซึ่งสามารถแพร่
ให้คนอื่นได้)นอกจากนี้ โรคนี้ยังสามารถติดต่อโดยทางเลือด เช่น การให้เลือด การฉีดยา การฝังเข็ม
การสักตามร่างกาย การทำฟัน     การใช้เครื่องมือแพทย์ที่แปดเปื้อนเลือดของผู้ที่มีเชื้อไวรัสชนิดนี้
เป็นต้น ระยะฟักตัวของตับอักเสบชนิดบี 30-180 วัน (เฉลี่ย 60-90 วัน)นอกจากไวรัสทั้ง 2 ชนิด
นี้แล้ว ยังมีไวรัสชนิดอื่น ๆ รวมเรียกว่า ไวรัสชนิดไม่ใช่ทั้งเอและบี ซึ่งทำให้เกิดโรคตับอักเสบชนิด
ไม่ใช่ทั้งเอและบี (Non-A, Non-B hepatitis) ในปัจจุบันพบเชื้อ ไวรัสตับอักเสบชนิดซี
(Hepatitis C virus)   ซึ่งสามารถติดต่อโดยทางเลือด (การให้เลือด,   การใช้เข็มฉีดยาร่วมกันใน
กลุ่มผู้ใช้ยาเสพติด)  และเพศสัมพันธ์เช่นเดียวกับชนิดบี (ระยะฟักตัวเฉลี่ย 6-7 สัปดาห์),   เชื้อไวรัส
ตับอักเสบชนิดอี (Hepatitis E virus)  ซึ่งสามารถติดต่อโดยทางอาหารการกินเช่นเดียวกับชนิดเอ,
เชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดจี (Hepatitis G virus)   ซึ่งสามารถติดต่อโดยทางเลือด (เช่น การให้เลือด,
การใช้เข็มฉีดยาร่วมกันในผู้ใช้ยาเสพติด)   นอกจากนี้ยังพบเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดดี (Hepatitis D
virus) ซึ่งมักพบร่วมกับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี    พบมากในกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดโดยการฉีด
เข้าหลอดเลือดดำ  และอาจทำให้อาการตับอักเสบจากเชื้อไวรัสบีมีความรุนแรงมากขึ้น

อาการ
ตับอักเสบจากไวรัสทุกชนิด มักจะมีอาการแสดงคล้าย ๆ กัน (จะแยกกันได้แน่ชัด ก็โดยการตรวจ
หาเชื้อในเลือด)
ระยะนำ   ผู้ป่วยมักมีอาการอื่น ๆ นำมาก่อนจะมีอาการตาเหลือง ประมาณ 2-14 วัน  ด้วยอาการเบื่อ
อาหาร อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย อิดโรย คลื่นไส้ อาเจียน และเป็นไข้ (ประมาณ 38-39 ํซ.)    บางคนอาจ
มีอาการปากคอจืด และเหม็นเบื่อบุหรี่อย่างมาก บางคนอาจมีอาการปวดเสียดหรือจุกแน่นแถวลิ้นปี่
หรือชายโครงขวา บางคนอาจมีอาการถ่ายเหลวหรือท้องเดิน หรือมีอาการเป็นหวัด เจ็บคอ ไอ คล้าย
ไข้หวัดหรือไข้หวัดไหญ่ หรืออาจมีอาการปวดตามข้อ มีลมพิษ ผื่นขึ้นก่อนมีอาการตาเหลือง 1-5 วัน   
ผู้ป่วยจะปัสสาวะสีเหลืองเข้มเหมือนขมิ้น และอุจจาระสีซีดกว่าปกติ ระยะนี้มักจะพบว่าตับโต และ
เคาะเจ็บ
ระยะตาเหลือง   เมื่อมีอาการตาเหลือง อาการต่าง ๆ จะเริ่มทุเลา  และไข้จะลดลงทันที   (หากยังมี
ไข้ร่วมกับตาเหลืองอีกหลายวัน ควรนึกถึงสาเหตุอื่น  ตาจะเหลืองเข้มมากที่สุดในสัปดาห์ที่ 1และ 2
แล้วจะค่อย ๆ จางหายไปใน 2-4 สัปดาห์   โดยทั่วไปผู้ป่วยมักจะมีอาการตาเหลืองอยู่ประมาณ 3-5
สัปดาห์   และน้ำหนักตัวอาจลดไป 2-3 กิโลกรัม ในขณะที่ตาเหลืองเริ่มจางลง ผู้ป่วยจะสังเกตเห็น
อุจจาระกลับมีสีเข้มเหมือนปกติ และปัสสาวะสีค่อย ๆ จางลง ระยะนี้ตับยังโตและเจ็บ แต่จะค่อย ๆ ลด
น้อยลง ต่อมน้ำเหลืองที่หลังคอและม้ามอาจโตได้
ระยะฟื้นตัว   หลังจากหายตาเหลืองแล้ว ผู้ป่วยจะรู้สึกสบายขึ้น แต่ยังอาจรู้สึกเหนื่อยล้า ตับจะยังโต
และเจ็บเล็กน้อย กินเวลาประมาณ 2-6 สัปดาห์ ส่วนใหญ่อาการจะหายสนิทภายใน 3-4 เดือน  หลังมี
อาการแสดงของโรคผู้ป่วยบางคนอาจไม่แสดงอาการตาเหลือง (ดีซ่าน) ให้เห็น หรือคลำตับไม่ได้ มี
เพียงอาการเพลียคล้ายไข้หวัดใหญ่ หรือปวดเสียดชายโครงขวา ท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียน

สิ่งตรวจพบ
ตาเหลือง ตับโต ลักษณะนุ่ม ผิวเรียบ กดเจ็บเล็กน้อย

อาการแทรกซ้อน
ส่วนมากมักจะหายเป็นปกติ โดยไม่มีอาการแทรกซ้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเป็นตับอักเสบชนิดเอ
ส่วนน้อยเท่านั้นที่อาจมีอาการแทรกซ้อน ซึ่งจะพบในผู้ป่วยที่เป็นตับอักเสบชนิดบีหรือซี และมักเกิด
ในผู้ป่วยสูงอายุ หรือมีโรคอื่น ๆ (เช่น หัวใจวาย เบาหวาน มะเร็ง โลหิตจางรุนแรง เป็นต้น) อยู่ก่อน
โรคแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายร้ายแรงถึงกับทำให้เสียชีวิตในเวลารวดเร็ว (ซึ่งพบได้น้อยมาก) ได้แก่
ตับอักเสบชนิดร้ายแรง (Fulminant hepatitis) ซึ่งเซลล์ของตับถูกทำลาย จนเนื้อตับเสียเกือบทั้ง
หมดผู้ป่วยจะมีอาการตาเหลืองจัด บวม และหมดสติ  ประมาณ 10% ของผู้ป่วยที่เป็นตับอักเสบชนิด
บี อาจกลายเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง (chronic hepatitis) ซึ่งจะมีอาการอ่อนเพลียและตาเหลือง
อยู่นานกว่า 6 เดือน ถ้าเป็นชนิดคงที่ (chronic persistent hepatitis) อาการจะไม่รุนแรงและมัก
จะหายได้เป็นปกติภายใน 1-2 ปี แต่ถ้าเป็นชนิดลุกลาม (chronic active hepatitis) ก็อาจกลาย
เป็นโรคตับแข็งได้ แพทย์สามารถแยกชนิดคงที่ออกจากชนิดลุกลามได้ด้วยการเจาะเอาเนื้อตับพิสูจน์
นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคตับอักเสบชนิดบีหรือซีแบบเรื้อรัง หรือเป็นพาหะของเชื้อชนิดบีหรือ
ซีอยู่นาน30-40 ปีขึ้นไป อาจมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ ได้

การรักษา
หากสงสัย ควรส่งตรวจเพิ่มเติมโดยการเจาะเลือดทดสอบการทำงานของตับ (Liver function test)
ซึ่งจะพบว่ามีระดับ เอนไซม์เอสจีโอที (SGOT) และเอสจีพีที (SGPT) สูงกว่าปกติเป็นสิบ ๆ เท่า (ปกติ
มีค่าไม่เกิน 40 หน่วย) ตลอดจนระดับ บิลิรูบิน (Bilirubin ซึ่งเป็นสารที่ทำให้ตัวเหลือง ตาเหลือง) สูง
นอกจากนี้ยังอาจต้องเจาะเลือดตรวจดูชนิดของเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรค (ว่าเป็น ตับอักเสบชนิด
ตับอักเสบชนิดเอหรือบี หรือชนิดอื่น) เมื่อพบว่าเป็นโรคนี้จริง ควรให้การรักษาดังนี้
1. ถ้าพบในเด็กหรือคนหนุ่มสาว ซึ่งอาการโดยทั่วไปดี กินข้าวได้ ไม่ปวดท้องหรืออาเจียน ควรแนะนำ
ให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัวดังนี้
1.1 พักผ่อนอย่างเต็มที่ ห้ามทำงานหนักจนกว่าจะรู้สึกหายเพลีย
1.2 ดื่มน้ำมาก ๆ ประมาณวันละ 10-15 แก้ว
1.3 กินอาหารพวกโปรตีน (เช่น เนื้อ นม ไข่ ซุป ถั่วต่าง ๆ) ให้มาก ๆ ส่วนอาหารมันให้กินได้ตามปกติ
ยกเว้นในรายที่กินแล้วคลื่นไส้อาเจียนให้งด
1.4 ถ้าเบื่ออาหารให้ดื่มน้ำหวานหรือน้ำตาลกลูโคส (ถ้ากินอาหารได้ตามปกติ ไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำ
หวานหรือกลูโคสให้มากขึ้น)
1.5 ถ้ามีอาการท้องอืดหรือคลื่นไส้ ควรงดอาหารมัน
1.6 แยกสำรับกับข้าวและเครื่องใช้ส่วนตัวออกจากผู้อื่น
1.7 ล้างมือหลังถ่ายอุจจาระทุกครั้งส่วนยาไม่จำเป็นต้องให้ ยกเว้นในรายที่เบื่ออาหาร อาจให้กิน
วิตามินรวม หรือวิตามินบีรวม วันละ2-3 เม็ด, หรือถ้าคลื่นไส้ อาจให้ยาแก้อาเจียน เช่น เมโทโคล
พราไมด์ , ถ้ากินไม่ได้ อาจให้ฉีดกลูโคสหรือให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ เป็นต้น
2. ถ้าอาการตาเหลืองไม่จางลงใน 2 สัปดาห์ หรือมีไข้สูง อ่อนเพลียมาก น้ำหนักลดมาก ปวดท้องมาก
หรืออาเจียนมาก หรือพบในคนสูงอายุ ควรแนะนำไปรักษาที่โรงพยาบาล หากมีอาการมากอาจรับไว้
รักษาในโรงพยาบาลสักระยะหนึ่งในการติดตามผลการักษา อาจต้องนัดตรวจเลือดเป็นระยะ ๆ
(ประมาณทุก 2-4 สัปดาห์) จนกระทั่งแน่ใจว่าระดับเอนไซม์เอสจีโอที
และเอสจีพีทีลงสู่ปกติซึ่งแสดงว่าหายดีแล้ว

ผลการรักษา ส่วนใหญ่จะหายดี (ตาหายเหลือง หายเพลีย กินข้าวได้มาก และผลเลือดเป็นปกติ)
ภายใน 3-16 สัปดาห์ ส่วนน้อยอาจเป็นเรื้อรัง ซึ่งถ้าเป็นนานเกิน 6 เดือน ก็เรียกว่า ตับอักเสบเรื้อรัง
(มักเกิดกับตับอักเสบชนิดบีหรือซี) ซึ่งอาจต้องทำการตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น ทำสะแกนตับ
(Liver scan) หรือเจาะเอาเนื้อตับ พิสูจน์ (Liver biopsy) เพื่อดูว่าเป็นตับอักเสบเรื้อรังชนิดลุกลาม
หรือมีโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น ตับแข็งหรือมะเร็งตับหรือไม่ ถ้าเป็นตับอักเสบเรื้อรังชนิดลุกลาม
อาจต้องให้การรักษาด้วยยาสเตอรอยด์ เช่น เพร็ดนิโซโลน

ข้อแนะนำ
1. ผู้ป่วยโรคนี้ห้ามดื่มเหล้านาน 1 ปี เพราะอาจทำให้โรคเรื้อรัง หรือกำเริบใหม่ได้
2. ระหว่างที่เป็นโรค ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่อาจมีพิษต่อตับ เช่น พาราเซตามอล , เตตราไซคลีน ,
ไอเอ็นเอช , อีริโทรไมซิน , ยาคุมกำเนิด เป็นต้น
3. เข็มฉีดยาที่ใช้กับผู้ป่วยโรคนี้ ควรทิ้งไปเลย ห้ามนำไปใช้ฉีดผู้อื่นต่อ เพราะอาจแพร่เชื้อได้
4. คนที่ได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบ ไม่จำเป็นต้องกลายเป็นโรคตับอักเสบเสมอไปทุกคน บางคนอาจมี
เชื้ออยู่ในร่างกายเพียงชั่วคราว โดยไม่เป็นโรคแล้วเชื้อหายไปได้เองบางคนอาจมีเชื้ออยู่ในร่างกาย
โดยไม่มีอาการแสดงแต่อย่างไร แต่สามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่น เราเรียกว่าพาหะนำโรค (carrier) ที่
สำคัญ คือ โรคตับอักเสบชนิดบีซึ่งในบ้านเราพบคนที่เป็นพาหะนำโรคตับอักเสบชนิดบี ประมาณ 10%
 ของคนทั่วไป (ประมาณ 50% ของคนทั่วไปจะเคยได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี และมีภูมิคุ้มกัน
แล้ว) บางคนหลังได้รับเชื้อ   อาจมีอาการเป็นไข้ อ่อนเพลียคล้ายไข้หวัดใหญ่ หรือคลื่นไส้อาเจียน
จุกเสียดท้อง โดยไม่มีอาการตาเหลืองก็ได้
5. ผู้ที่เป็นพาหะนำโรคตับอักเสบชนิดบีหรือซี   (พบเชื้อในกระแสเลือดโดยไม่มีอาการผิดปกติแต่
อย่างไร) ควรหาทางพักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารที่มีประโยชน์ ห้ามดื่มเหล้า ออกกำลังแต่พอควร
ห้ามหักโหมจนเกินไป   อย่าอดอาหารเพื่อลดน้ำหนัก งดบริจาคโลหิต และหมั่นตรวจเลือดดูเชื้อ
และทดสอบการทำงานของตับทุก 6-12 เดือน ผู้ที่เป็นพาหะมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่อาจเกิดโรค
ตับแข็ง หรือมะเร็งตับแทรกซ้อน โดยมากมักจะเกิดกับผู้ที่ติดเชื้อไวรัสบีหรือซี จากมารดามา
ตั้งแต่เกิด แล้วเชื้อจะอยู่ในร่างกายจนย่างเข้าวัย 40-50 ปี ก็อาจเกิดผลแทรกซ้อนตามมา โดย
เฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ดื่มเหล้า หรือตรากตรำงานหนัก
6. ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับคนที่เป็นโรคหรือเป็นพาหะนำโรคตับอักเสบชนิดบี โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นสามี
หรือภรรยาควรตรวจเลือด ถ้ายังไม่มีภูมิคุ้มกันโรค ควรฉีดวัคซีนป้องกัน
7. หญิงตั้งครรภ์ทุกคนจะต้องได้รับการตรวจเลือดดูว่ามีเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีหรือไม่ ถ้าพบว่ามี
เชื้อ ทารกที่เกิดมาทุกคนจะต้องได้รับการฉีดสารอิมมูนโกลบูลิน (Hepatitis B immune
globulin/HBIG) และฉีดวัคซีนป้องกันตับอักเสบจากไวรัสชนิดบี จะช่วยป้องกันมิให้ทารกติดเชื้อ
ไวรัสชนิดนี้ได้
8.การตรวจเลือดวินิจฉัยตับอักเสบชนิดบี
สำหรับโรคตับอักเสบชนิดบี ซึ่งอาจมีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง ในปัจจุบันมีวิธีการตรวจเลือด เพื่อการ
วินิจฉัยโรคนี้ ซึ่งมีศัพท์เฉพาะหลายคำ ที่ใคร่จะขอแนะนำไว้ในที่นี้ ดังนี้
HBsAg หมายถึง แอนติเจนที่อยู่บนผิวของเชื้อไวรัสชนิดบี เรียกว่า Hepatitis B surface antigen
เดิมเคยเรียกว่า Australia antigen หรือ Hepatitis associated antigen (HAA)
HBcAg หมายถึง แอนติเจนที่อยู่ตรงแกนกลางของเชื้อไวรัสชนิดบี เรียกว่า Hepatitis B
core antigen
HBeAg หมายถึง แอนติเจนส่วนแกนกลางของไวรัสที่ละลายอยู่ในน้ำเลือด (เซรุ่ม) สามารถตรวจพบ
ตั้งแต่ระยะฟักตัวของโรค (ก่อนมีอาการแสดง)
Anti-HBs หมายถึง แอนติบอดี (ภูมิต้านทาน) ต่อแอนติเจน HBsAg ซึ่งจะตรวจพบตั้งแต่ระยะหลัง
ติดเชื้อประมาณ 4-6 เดือนไปแล้ว ผู้ที่มี Anti-HBs จะไม่ติดเชื้อไวรัสชนิดบีอีก
Ant-HBc หมายถึง แอนติบอดี (ภูมิต้านทาน) ต่อแอนติเจน HBcAg ซึ่งจะตรวจพบตั้งแต่ระยะหลัง
ติดเชื้อ 4-6 สัปดาห์ไปแล้ว และจะพบอยู่ตลอดไป

โดยทั่วไปมักจะเจาะเลือดตรวจหา HBsAg, Anti-HBs และ Anti-HBc ซึ่งจะช่วยในการวินิจฉัย
โรคดังนี้
(1) ถ้าตรวจไม่พบสารตัวใดตัวหนึ่งดังกล่าวเลย ก็แสดงว่าไม่เคยติดเชื้อ และไม่มีภูมิต้านทานต่อตับ
อักเสบจากไวรัสชนิดบี ควรฉีดวัคซีนป้องกัน
(2) ถ้าตรวจพบ HBsAg เพียงอย่างเดียว แสดงว่ากำลังติดเชื้อ หรือเพิ่งเป็นโรคนี้ สามารถติดต่อให้
ผู้อื่นได้
(3) ถ้าตรวจพบ Anti-HBc เพียงอย่างเดียว แสดงว่าเคยติดเชื้อมาไม่นาน แต่เวลานี้ไม่มีเชื้อแล้ว
และไม่ติดต่อ (แพร่เชื้อ) ให้ผู้อื่น
(4) ถ้าตรวจพบ HBsAg ร่วมกับ Anti-HBc แสดงว่ากำลังติดเชื้อ อาจเป็นแบบเฉียบพลัน หรือเป็น
พาหะเรื้อรัง สามารถติดต่อให้ผู้อื่นได้ สำหรับผู้ที่เป็นพาหะเรื้อรัง การฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบชนิดบี
ไม่มีประโยชน์ เพราะไม่สามารถช่วยกำจัดเชื้อ หรือกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อนี้ได้
(5) ถ้าตรวจพบ Anti-HBc ร่วมกับ Anti-HBs แสดงว่าเคยติดเชื้อมาก่อน และมีภูมิต้านทานแล้ว
จะไม่ติดเชื้อซ้ำอีก
(6) ถ้าตรวจพบ Anti-HBs เพียงอย่างเดียว แสดงว่าเคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้มาก่อน จะไม่เป็นโรคนี้

การป้องกัน
สำหรับตับอักเสบชนิดเอ ควรกินอาหารสุกที่ไม่มีแมลงวันตอม ดื่มน้ำสะอาด ถ่ายลงส้วม ล้างมือก่อน
เปิปข้าว และหลังถ่ายอุจจาะทุกครั้ง
สำหรับตับอักเสบชนิดบี
1. ควรหลีกเลี่ยงการฉีดยา หรือให้น้ำเกลือโดยไม่จำเป็น ถ้าจำเป็นต้องฉีดยา ควรเลือกใช้เข็มและ
กระบอกฉีดยาที่ทำให้ปราศจากเชื้อโรค
2. ในการให้เลือด ควรหลีกเลี่ยงการใช้เลือดที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบ โดยการตรวจเช็กเลือดของผู้บริจาค
ทุกราย
3. แพทย์ พยาบาล และบุคลากรสาธารณสุข   ควรระมัดระวังในการสัมผัสถูกเลือดของผู้ป่วย เช่น
สวมถุงมือขณะเย็บแผล ผ่าตัด หรือสวนปัสสาวะผู้ป่วย
4. ปัจจุบันมีวัคซีนที่ใช้ฉีดป้องกันตับอักเสบชนิดบี แต่เนื่องจากราคาค่อนข้างแพง ยังไม่แนะนำให้ฉีด
ในคนทั่วไป จะเลือกฉีดให้แก่บุคคลที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดโรคนี้สูง เช่น แพทย์, พยาบาล, ผู้ป่วย
โรคเลือดที่ต้องรับการถ่ายเลือดบ่อย ๆ สำหรับทารกแรกเกิดทุกคน สถานบริการของกระทรวง
สาธารณสุขจะฉีดวัคซีนชนิดนี้โดยไม่คิดมูลค่า ตั้งแต่วันแรกที่เกิด วัคซีนชนิดนี้จะฉีดให้ 3 ครั้ง
ครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 จะห่างจากครั้งแรก 1 และ 6 เดือนตามลำดับ
สำหรับผู้ใหญ่ก่อนฉีดวัคซีนชนิดนี้ ควรตรวจเลือดเสียก่อน หากพบว่าเป็นพาหะหรือมีภูมิคุ้มกันแล้ว
ก็ไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนให้สิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์

รายละเอียด
เข็มฉีดยาอาจเป็นตัวแพร่เชื้อไวรัสตับอักเสบได้

หมายเหตุ ไวรัสตับอักเสบชนิดซี จะมีการติดต่อ ลักษณะอาการ และมีภาวะแทรกซ้อน แบบไวรัสตับ
อักเสบชนิดบีทุกประการ ส่วนไวรัสตับอักเสบชนิดอี จะมีการติดต่อ ลักษณะอาการ และความรุนแรง
แบบเดียวกับชนิดเอทุกประการ

   
 

 

 

 

 
 
  ตับแข็ง - CIRRHOSIS
 

ลักษณะทั่วไป
ตับแข็ง เป็นโรคตับเรื้อรัง ที่เซลล์ตับจำนวนมากถูกทำลายอย่างถาวร จนกลายเป็นเยื่อพังผืด
ที่มีลักษณะแข็งกว่าปกติ ทำให้มีการเพิ่มขึ้นของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ร่างกายสร้างตาม
ธรรมชาติ (เป็นเหตุทำให้มีอาการฝ่ามือแดง จุดแดงรูปแมงมุม นมโตและอัณฑะฝ่อในผู้ชาย),
การคั่งของสารบิลิรูบิน (ทำให้ดีซ่าน), การสังเคราะห์สารที่ช่วยห้ามเลือดได้น้อยลง (มีภาวะเลือด
ออกง่าย), มีภาวะความดันในหลอดเลือดดำของตับสูง (ทำให้ท้องมาน หรือมีน้ำคั่งในช่องท้อง,
เส้นเลือดขอดที่หลอดอาหาร, ริดสีดวงทวาร) ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของระบบต่าง ๆ
อาการเริ่มแรก มักเกิดในช่วงอายุระหว่าง 40-60 ปี แต่ถ้าพบในคนอายุน้อย อาจเกิดจากโรคตับ
อักเสบจากไวรัสชนิดรุนแรง หรือเกิดจากการใช้ยาผิด หรือสารเคมีบางชนิด

สาเหตุ
เซลล์ตับถูกทำลาย มักมีสาเหตุจากการติดเชื้อ ไวรัสตับอักเสบชนิดบีและซี การดื่มเหล้าจัด
(มากกว่าวันละ 80 กรัม นาน 5-10 ปีขึ้นไป) หรือการใช้ยาเกินขนาด (เช่น พาราเซตามอล
เตตราไซคลีน ยารักษาวัณโรคบางชนิด) หรือสารเคมีบางชนิด (เช่น คลอโรฟอร์ม, คาร์บอน
เตตราคลอไรด์, สารโลหะหนัก) นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากภาวะขาดอาหาร หรือเกิดจากภาวะ
แทรกซ้อนของโรคทาลัสซีเมีย , ภาวะหัวใจวายเรื้อรัง ภาวะทางเดินน้ำดีอุดกั้น เป็นต้น
บางคนอาจไม่มีประวัติเหล่านี้ชัดเจน อาจเนื่องจากเป็นพาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีหรือ
ซเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีหรือ
ซซี มานาน โดยไม่รู้ตัวก็ได้

ลักษณะอาการ
ระยะเริ่มแรก อาจไม่มีอาการผิดปกติชัดเจน อาจมีเพียงอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ คล้ายอาหารไม่ย่อย
ต่อมาเป็นแรมปี   อาจเริ่มรู้สึกอ่อนเพลีย   เหนื่อยง่าย  เบื่ออาหาร   คลื่นไส้ อาเจียน เป็นบางครั้ง
น้ำหนักลด เท้าบวม อาจรู้สึกเจ็บบริเวณชายโครงขวาเล็กน้อย ตาเหลือง คันตามผิวหนัง ความรู้สึก
ทางเพศลดลง ในผู้หญิงอาจมีอาการประจำเดือนขาดหรือมาไม่สม่ำเสมอ มีหนวดขึ้น หรือมีเสียง
แหบแห้งคล้ายผู้ชาย ในผู้ชายอาจรู้สึกนมโตและเจ็บ (gynecomastia) อัณฑะฝ่อตัว บางคนอาจ
สังเกตเห็นฝ่ามือแดงผิดปกติ หรือมีจุดแดงที่หน้าอก หน้าท้อง

ในระยะท้ายของโรค (หลังเป็นอยู่หลายปี หรือยังดื่มเหล้าจัด) จะมีอาการท้องมาน เท้าบวม เส้น
เลือดขอดที่ขา เส้นเลือดพองที่หน้าท้อง อาจอาเจียนเป็นเลือดสด ๆ เนื่องจากเส้นเลือดที่หลอด
อาหารขอดแล้วแตก ซึ่งอาจถึงช็อกและตายได้ ผู้ป่วยมักจะลงเอยด้วยอาการซึม เพ้อ มือสั่น และ
ค่อย ๆ ไม่รู้สึกตัว จนกระทั่งหมดสติ

สิ่งตรวจพบ
ฝ่ามือแดง มีจุดแดงรูปแมงมุม ที่หน้าอก จมูก ต้นแขน เท้าบวม ท้องบวม อาจมีตาเหลืองเล็กน้อย
หรือไม่มีก็ได้อาจมีไข้ต่ำ ๆ ต่อมน้ำลายข้างหู (Parotid gland) อาจโตคล้ายคางทูม และอาจมี
อาการขนร่วง ในผู้ชายอาจพบอาการ นมโตและเจ็บ ตับ อาจคลำได้ ค่อนข้างแข็ง ผิวเรียบ ถ้าเป็นมาก
จะพบว่ารูปร่างผอมแห้ง ซีด ท้องโตมาก เส้นเลือดพองที่หน้าท้อง มือสั่น ม้ามโต นิ้วปุ้ม มีจุดแดง
จ้ำเขียวตามผิวหนัง

อาการแทรกซ้อน
ภูมิต้านทานโรคลดลงทำให้เป็นโรคติดเชื้อได้ง่าย (เช่น วัณโรค ปอดบวม) ถ้าเป็นเรื้อรัง จะมีอาการ
อาเจียนเป็นเลือด    เนื่องจากเส้นเลือดขอดที่หลอดอาหาร (Esophageal varices) เกิดแตก  ซึ่งอาจ
ช็อกถึงตายได้ ในระยะสุดท้ายเมื่อตับทำงานไม่ได้ (ตับวาย) ก็จะเกิดอาการทางสมอง (Hepatic
encephalopathy) ในที่สุด
มีอาการหมดสติเรียกว่า ภาวะหมดสติจากตับวาย (Hepatic coma) นอกจากนี้ยังพบว่ามีโอกาสเป็น
มะเร็งในตับสูงกว่าคนปกติ

การรักษา
1. หากสงสัย ควรแนะนำไปตรวจพิสูจน์เพิ่มเติม อาจต้องตรวจเลือด ทดสอบการทำงานของตับ
และหาเชื้อ ไวรัสตับอักเสบบีและซี อาจต้องตรวจอัลตราซาวนด์ หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ
เจาะเอาเนื้อตับไปพิสูจน์
ถ้าเป็นตับแข็งในระยะเริ่มแรก อาจให้การรักษาตามอาการ ให้วิตามินรวม และกรดโฟลิกเสริมบำรุง
ข้อสำคัญ ผู้ป่วยที่ดื่มเหล้าต้องงดเหล้าโดยเด็ดขาด และหลีกเลี่ยงหรือระมัดระวังการใช้ยาที่อาจมี
ผลกระทบต่อตับ ถ้ามีอาการบวมหรือท้องมาน (มีน้ำในท้อง) ก็ให้ยาขับปัสสาวะ สไปโรโนแล็กโทน
(spironolactone) หรือ ฟูโรซีไมด์ งดอาหารเค็ม, จำกัดปริมาณน้ำที่ดื่ม ถ้ามีภาวะซีดจากการขาด
ธาตุเหล็ก ก็ให้ยาเม็ดบำรุงโลหิต
2. ถ้ามีอาการอาเจียนเป็นเลือด ซึม เพ้อ ไม่ค่อยรู้ตัว หรือมีเลือดออกตามที่ต่าง ๆ ควรรีบส่ง
โรงพยาบาล อาจต้องให้เลือด และรักษาภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ผู้ป่วยอาจต้องเข้า ๆ ออก ๆ
โรงพยาบาลเป็นประจำ จนในที่สุดเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ตกเลือด ภาวะตับวาย
โรคติดเชื้อ เป็นต้น

ข้อแนะนำ
1. โรคนี้ไม่มีทางรักษาให้หายขาด เพราะเซลล์ตับที่ถูกทำลายไปแล้ว มิอาจหาทางเยียวยาให้ฟื้นตัว
ได้ อาการจึงมีแต่ทรงกับทรุด ผู้ป่วยควรปฏิบัติตัว ดังนี้
1.1 ติดต่อรักษากับแพทย์คนใดคนหนึ่งเป็นประจำ อาจต้องตรวจเลือด ดูการเปลี่ยนแปลงของโรค
เป็นระยะ ๆ
1.2 ห้ามดื่มเหล้าโดยเด็ดขาด เพื่อป้องกันมิให้เซลล์ตับส่วนที่ยังดีอยู่ถูกทำลายมากขึ้น หากเป็นโรค
ตับแข็งในระยะเริ่มแรก ก็อาจช่วยให้ชีวิตยืนยาวได้
1.3 กินอาหารพวกแป้ง และของหวาน ผัก ผลไม้สด และอาหารพวกโปรตีนเป็นประจำ (ยกเว้น ใน
ระยะท้ายของโรค ที่เริ่มมีอาการทางสมองร่วมด้วย จำเป็นต้องลดอาหารพวกโปรตีนลงเหลือวันละ
30 กรัม เพราะอาจสลายตัวเป็นสารแอมโมเนียที่มีผลต่อสมอง)
1.4 ถ้ามีอาการบวม หรือท้องมาน ควรงดอาหารเค็ม และห้ามดื่มน้ำเกินวันละ 2 ขวดกลม หรือ
6 ถ้วย (1,500 มล.)
1.5 อย่าซื้อยากินเอง เพราะอาจมีพิษต่อตับมากขึ้น

2. ผู้ป่วยตับแข็ง ที่ตรวจพบเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซี ควรตรวจเลือดหา สารแอลฟาฟีโตโปรตีน
(alpha-fetoprotein) ทุก 6 เดือน เพื่อตรวจกรองหาโรคมะเร็งตับระยะเริ่มแรก เพราะเป็นกลุ่มที่เสี่ยง
ต่อการเป็นมะเร็งชนิดนี้สูง

3. โรคนี้ถ้าเป็นระยะเริ่มแรก และปฏิบัติตัวได้เหมาะสม จะสามารถมีชีวิตได้นานเกิน 5-10 ปีขึ้นไป
แต่ถ้าปล่อยให้มีภาวะแทรกซ้อนชัดเจน เช่น ดีซ่าน ท้องมาน อาเจียนเป็นเลือด ก็อาจอยู่ได้ 2-5 ปี
(ประมาณ 1 ใน 3 อาจอยู่ได้เกิน 5 ปี)

การป้องกัน
1. ไม่ดื่มเหล้าในปริมาณมาก และถ้าตรวจพบว่าเป็นพาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซี ควรงดดื่ม
2. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบจากไวรัสบี ตั้งแต่แรกเกิด
3. ระมัดระวังในการใช้ยาที่อาจมีพิษต่อตับ

รายละเอียด
ป้องกันโรคตับแข็งด้วยการไม่ดื่มเหล้า



   
 

 

 

 

 
 
  อาการตัวเหลืองในเด็กแรกเกิด - Physiologic Jaundice
 

ลักษณะทั่วไป
ทารกแรกเกิด ที่เข็งแรงเป็นปกติ ประมาณ 60% อาจมีอาการดีซ่าน (ตาเหลือง ตัวเหลือง
ปัสสาวะเหลืองเข้มเหมือนขมิ้น) ได้ ซึ่งถือเป็นภาวะปกติ ทั้งนี้เนื่องจากตับของทารกยังทำงาน
ไม่ได้เต็มที่ คือ ยังไม่สามารถขจัดสารสีเหลือง ได้แก่ บิลิรูบิน (bilirubin)* ออกจากกระแสเลือด
จึงทำให้มีการคั่งของสารนี้ จนเกิดอาการดีซ่านโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าหากทารกดูดนม หรือน้ำ
ได้น้อยเกินไป ก็ยิ่งมีโอกาสทำให้เกิดดีซ่านได้มากขึ้น ทารกที่คลอดก่อนกำหนด และทารกที่
ตัวเล็กกว่าปกติ มีโอกาสเป็นดีซ่านมากกว่าทารกที่คลอดปกติ

อาการ
เด็กจะมีอาการตาเหลือง ตัวเหลือง ปัสสาวะสีเข้มเหมือนขมิ้น เมื่ออายุประมาณ 2-5 วัน จะ
เหลืองเข้มที่สุดในราววันที่ 5-7 หลังคลอด แล้วจะค่อย ๆ จางหายไปภายใน 1-2 สัปดาห์ โดย
ที่เด็กดูแข็งแรงดี ไม่มีไข้ ไม่ซึม ไม่งอแง ไม่ซีด ดูดนม และน้ำได้ดี ถ่ายอุจจาระสีปกติ

สิ่งตรวจพบ
ตาเหลือง ตัวเหลือง ปัสสาวะสีเหลืองเหมือนขมิ้น

อาการแทรกซ้อน
โดยทั่วไปภาวะเช่นนี้ มักจะไม่มีอันตรายต่อทารกแต่อย่างใด ยกเว้นในรายที่มีการตาเหลือง
ตัวเหลืองมากอาจทำให้ สมองพิการ ได้ เนื่องจากมีการสะสมสารบิลิรูบินในสมอง ดังที่เรียกว่า
เคิร์นอิกเตอรัส (Kernicterus)
ทารกจะมีอาการซึม ไม่ดูดนม อาเจียน หลังแอ่น ตาเหลือก ชัก และอาจตายได้ หากไม่ตายก็
อาจกลายเป็นเด็กพิการ

การรักษา
1. ถ้าพบอาการดีซ่านในทารกแรกเกิด ซึ่งเริ่มมีอาการในวันที่ 2-5 หลังคลอด ควรตรวจดูทารก
อย่างละเอียด เมื่อแน่ใจว่าไม่มีสาเหตุจากอย่างอื่น และทารกท่าทางแข็งแรงดี ก็แนะนำให้เด็ก
ดูดนม และน้ำให้มากขึ้น
ควรให้เด็กตากแดดอ่อน ๆ ตอนเช้า และใช้แสงไฟนีออนส่อง จะช่วยลดอาการเหลืองได้ ถ้าหาก
พบว่า ทารกตัวเหลืองเข้มขึ้นเรื่อย ๆ เป็นเวลานานกว่า 1 สัปดาห์ หรือฝ่ามือฝ่าเท้าเหลืองด้วย
ควรส่งโรงพยาบาลภายใน 24 ชั่วโมง
2. ถ้าพบว่าทารกมีอาการไข้, ซีด, ท้องเสีย, ซึมผิดปกติ, ตัวอ่อนปวกเปียก, ไม่ดูดนม, อาเจียน, ชัก,
หรือเริ่มมีอาการดีซ่านภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด หรือเมื่อมีอายุมากกว่า 7 วัน ควรส่งโรงพยาบาล
ภายใน 24 ชม. อาจต้องตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะหรือตรวจพิเศษอื่น ๆ เพื่อค้นหาสาเหตุ และให้
การรักษาตามสาเหตุในรายที่เป็นภาวะตัวเหลืองปกติ แต่เหลืองจัด ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสมองเด็ก
อาจต้องทำการถ่ายเลือด

รายละเอียด
* บิลิรูบิน (bilirubin) เป็นสารสีเหลือง ซึ่งเกิดจากการสลาย (แตก) ตัวของเม็ดเลือดแดง โดยปกติ
ตับจะทำหน้าที่ดึงเอาสารนี้ออกจากกระแสเลือด และนำไปสร้างน้ำดี น้ำดีส่วนหนึ่งจะเก็บสะสมอยู่ใน
ถุงน้ำดี ซึ่งต่อมาจะไหลผ่านท่อน้ำดีร่วม ( common bile duct)      ลงไปในลำไส้เล็กเพื่อช่วยย่อย
อาหารพวกไขมัน น้ำดีส่วนที่เหลือจะไหลโดยตรงจากตับผ่านท่อตับ ท่อน้ำดี ลงไปที่ลำไส้เล็ก ถ้าหาก
เกิดความผิดพลาดเกี่ยวกับขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งในกระบวนการดังกล่าว    เช่น เม็ดเลือดแดงแตก
ตัวมากเกินไป (เช่น ที่พบในโรคเม็ดเลือดแดงแตก), ท่อน้ำดีอุดตัน, ตับอักเสบ, ตับไม่สามารถขจัด
สารบิลิรูบินเป็นต้น ก็จะทำให้มีการคั่งของสารบิลิรูบินในกระแสเลือด    กลายเป็น ดีซ่าน มีอาการตา
เหลือง ตัวเหลือง ปัสสาวะเหลืองเหมือนขมิ้น
 
บันทึกการเข้า
kittie
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 56


Gouf Girl


เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 10-09-2008, 22:07 »

...ขอตอบตามที่เจ้าของกระทู้ถามมานะคะ

ใน 5 สี ของเบญจธาตุ (ฮวงจุ้ย) สีเหลืองเป็นสีของธาตุดิน รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส อะไรที่เป็น หลักฐาน มั่นคง เป็นสันติภาพ และความยืดหยุ่น รับได้ทั้งพลังที่ร้าย และดี คือสีเหลือง ฉลองพระองค์ของฮ่องเต้จึงใช้สีนี้เป็นสัญลักษณ์ ในทางศาสนาพุทธ คือ สีของจีวรพระสงฆ์ และทางโหราศาสตร์ไทยแทนสีของวันจันทร์

        ยามใดที่มีความผันผวนระส่ำระสายเกิดขึ้นทั้งของตัวเราเองและครอบครัว สีเหลืองเป็นตัวแสดงได้ดี วิธีแก้ไขที่ดีที่สุด คือ นำวัตถุที่เป็นสีเหลืองเป็นตัวแก้ไข โดยเฉพาะรูปสี่เหลี่ยมยิ่งดีมากขึ้น


   สิ่งเหล่านี้กลับกลายเป็นของขลังของศักดิ์สิทธิ์ ใช้ปราบอาถรรพ์ทั้งหลายได้ โดยไม่ต้อง ใช้เวทย์มนต์ ใครอยากรู้อยากทดลองก็ไม่เสียหาย ด้วยบางตำราหรือผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายใช้สีเหลืองมาเป็น "จุดแก้ไข" เพื่อให้ร้ายกลายเป็นดี ส่วนที่ดีอยู่แล้วก็เสริมให้เกิดโชคลาภ ประสบความสำเร็จและสมหวังในธุรกิจการงานก็มีแยะ

        น่าสังเกตว่า ธาตุดินมีตำแหน่ง ของผังยันต์เต่า ในราศีธาตุดาว 9 ยุค ถึง 3 มุม ซึ่งมาก กว่าธาตุอื่น นับทะแยงมุมมาจากหลังบ้านถึงหน้าบ้านเป็นเอกลักษณ์ ของธาตุดินที่แตกต่างกัน

เทคนิคการใช้สีกำลังเป็นที่นิยม แพร่หลายออกไป เริ่มยอมรับจากตะวันออกสู่โลกตะวันตก แล้วนำมา ผสมผสานกัน หลักของธาตุฮวงจุ้ยถูกนำมาใช้กับการงานธุรกิจหลายประเภท เพื่อจุดประสงค์ ์เดียวกันคือ ความเจริญรุ่งเรือง และความสุข

ข้อดีของการนำสีเหลืองมาใช้

        การนำวัตถุหรือสีมาตกแต่ง เพื่อเสริมสร้างและแก้ไขให้ความเป็นอยู่ตามสถานที่ ีนั้นมีแผนภูมิของธาตุ ได้ครบถ้วน แทนผังของทิศที่ขาดหายไป   หากตัวคุณได้รู้รหัสของราศีธาตุปีเกิดแล้วนำมาดัดแปลงแก้ไข ปากัวของตัวเรานั้นคือ เอกลักษณ์ของธาตุว่าจะไปถูกโฉลกกับผังธาตุเดิมหรือไม่ และจะแก้ไขหรือจะเสริม อะไรได้อย่างไร ในระยะแรกให้ใช้สีเหลืองเป็นตัวแก้ไขเพราะสีเหลืองไม่ค่อยจะให้โทษทำลายเหมือนสีแดง

          ดอกไม้สีเหลือง พรมสีเหลือง ปูหน้าประตูเข้าออก หรือปูไว้หน้าเตียง เรียกว่า เข้าบ้าน หรือเข้าห้อง ต้องเห็นสีเหลืองไว้ก่อนเป็นใช้ได้ค่ะ ไม่แน่นะ คุณอาจเป็นผู้หนึ่งที่โชคดีกว่าใครที่บังเอิญชะตาราศีเกิดกับยันต์ผังเต่าดาว 9 ยุค นี้เกิดสมพงศ์กันช่วยเสริมให้คุณอย่างอัศจรรย์ ค่ะ

        ชาวราศีกรกฎ ราศีตุลย์ ราศีมีน ราศีมิถุน ถูกโฉลกกับสีเหลือง สามารถนำสีเหลืองมาใช้เป็นประโยชน์ได้ดี ราศีกรกฎเพื่อตัวเอง ราศีตุลย์เรื่องการงาน ราศีมีนเพื่อความรู้ ราศีมิถุนจะดีเรื่องเงิน ลองนำมาแก้ไขทีละจุด นะคะ
 

...ตอบให้แล้วนะคะ



บันทึกการเข้า

Vi Veri Veniversum Vivus Vici

"By the power of truth I, while living, have conquered the world"


--------------------------------------
My Hi5!!
 
http://kittiepong.hi5.com
protecter
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 465


« ตอบ #4 เมื่อ: 10-09-2008, 22:14 »

****ว่าเป็นเหลืองแล้่วได้อะไร และไม่เป็นต้องเสียอะไรบ้างครับ****

.........เป็นสีเหลือง ไม่ได้อะไรในแง่ประโยชน์ส่วนตัว กลับมีแต่จะเสียกับเสีย เช่น เสียเวลา เสียเงิน เสียแรง แต่จะได้ในประโยชน์ส่วนรวมถ้าสามารถบรรลุเป้าหมายได้ เช่น ได้สังคมที่ดีกว่าเก่า ได้การเมืองที่สะอาดกว่าเก่า นักการเมืองมีจริยะธรรมสูงขึ้น ฯลฯ

.........ไม่เป็นสีเหลือง โดยส่วนตัวไม่เสียอะไร แต่ประเทศชาติจะเสีย ก็คือ ยังคงมีนักการเมืองชั่วเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์กับประเทศชาติ ไม่รู้จบไม่รู้สิ้น

ฉะนั้น ความเป็นสีเหลือง ใช่ว่าจะเป็นได้ง่ายๆ ต้องเป็นคนเสียสละเพื่อส่วนรวม มีธรรมนำจิตรใจ และ รู้จักผิดถูกชั่วดี
บันทึกการเข้า
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #5 เมื่อ: 11-09-2008, 01:10 »

ชอบคำตอบของคุณ'พรรณชมพู' และคุณ 'Kittie'......ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า
บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
SU5
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 87


« ตอบ #6 เมื่อ: 11-09-2008, 01:39 »

ตามหลักโหราศาสตร์คนเกิดวันจันทร์ควรใช้สีเหลืองเป็นสีมงคลต่อเจ้าชะตาที่เกิดวันจันทร์ครับ

แต่สีแดงเป็นสีกาลกิณีสีอัปมงคลสำหรับคนเกิดวันจันทร์ครับ


ดูได้จากเว็บพยากรณ์โหราศาสตร์ครับ

http://www.payakorn.com/astrolink.php

 

ขออนุญาตครับ ผมเกิดวันจันทร์  ตกลงต้องใส่เหลืองทั้ง 7 วันเลยรึ  ถึงจะเป็นมงคล..อะฮิอะฮิ      
บันทึกการเข้า
bangkaa
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 407



« ตอบ #7 เมื่อ: 11-09-2008, 01:47 »

ถ้า จขกท หมายถึงว่า  สนับสนุนพันธมิตรฯ กับ ไม่สนับสนุน... จะต่างอะไรกัน... หรือ ควรไม่ควรอย่างไร...


แล้วแต่ วิจารณญาณ ครับ...
เป็นเรื่องทางการเมือง... ที่เราต้องไปหาข้อมูลมาดู...

แล้วคิดดูว่า... ควรจะสนับสนุนหรือไม่...ที่จะไม่เห็นด้วยกับนักการเมืองฉ้อฉล ในระบบการเมืองที่พิกลพิการ... ตามที่พันธมิตรฯสื่อให้เห็น...


คงไม่มีใครจะบังคับกันได้... แล้วแต่ความรู้ ความเข้าใจ จิตสำนึก และ โอกาสในการแสดงออกของแต่ละคน...




 
บันทึกการเข้า

มาทำหน้าที่... ใช้หนี้แผ่นดิน...และมาทำบุญ...
Augustine
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 219



« ตอบ #8 เมื่อ: 11-09-2008, 02:52 »

สงสัย jaundice ไม่ได้เกิดจาก Hepatitis เท่านั้นนี่นา อิอิ
บันทึกการเข้า


ประชาธิปไตย...   ...ที่ไหนเค้าทำกันแบบนี้

หน้า: [1]
    กระโดดไป: