ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
29-03-2024, 12:35
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  เอ้า....ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เป็นลูกจ้างใครบ้างหรือเปล่า 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: 1 [2]
เอ้า....ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เป็นลูกจ้างใครบ้างหรือเปล่า  (อ่าน 6146 ครั้ง)
อิรวันชาห์ IrWanSyah
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 870



« ตอบ #50 เมื่อ: 11-09-2008, 12:38 »

เรียน คุณ mebeam

ถึง มะแอ 80 และ ประธานาธิบดีจ๊ะ

ผมหารายละเอียดเกี่ยวกับการเป็นอาจารย์พิเศษของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญยังไม่เจอ

แต่ไปเจอในรายที่เป็นข้าราชการประจำ

การที่ข้าราชการไปสอนพิเศษ หรือเป็นอาจารย์พิเศษในสถาบันการศึกษานั้น เป็นเรื่องที่สามารถกระทำได้ เพียงแต่ถ้าเป็นการใช้เวลาราชการไปดำเนินการก็จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ทางราชการกำหนด ซึ่งเรื่องนี้ได้มีมติคณะรัฐมนตรีกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ ตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0216/ว 225 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2538 มีสาระสำคัญคือ ให้ข้าราชการไปสอนพิเศษหรือเป็นอาจารย์พิเศษในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ หรือเอกชน ในเวลาราชการได้ แต่ต้องขออนุญาตต่อหัวหน้าส่วนราชการที่สังกัด และหัวหน้าส่วนราชการสามารถพิจารณาอนุญาตได้ตามความเหมาะสม แต่ทั้งนี้ไม่ควรเกิน 4 หน่วยชั่วโมงสอนต่อสัปดาห์   ดังนั้น หากกรณีปรากฏว่าข้าราชการคนใดไปสอนพิเศษ หรือไปเป็นอาจารย์พิเศษ โดยใช้เวลาราชการและมิได้ขออนุญาตต่อผู้บังคับบัญชา ย่อมถือว่าผู้นั้นไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว   กรณีจึงเป็นความผิดวินัยฐานไม่ปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมของทางราชการ ตามมาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535   และการใช้เวลาราชการไปดำเนินการดังกล่าวก็ถือเป็นความผิดฐานละทิ้งหน้าที่ราชการ ตามมาตรา 92 แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกันด้วย ซึ่งก็เป็นเพียงความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงเท่านั้น

เพราะฉะนั้น ถ้าคุณ mebeam หรือไอ้มะแอ 80 หรืออีประธานาธิบดีจ๊ะ สามารถหาข้อหักล้างได้

กรุณาเอามาแชร์กันด้วย หรือถ้าให้ดี ยื่นฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญด้วยเลยก็ได้ เพื่อที่จะได้เป็นบรรทัดฐานต่อไป




ไม่ว่า พรบ. พรก. มติ ครม. กฏกระทรวง ก็มีศักดิ์ต่ำรัฐธรรมนูญนี่ครับ เห็นศาลท่านก็อ่านเมื่อตอนตัดสินสมัครว่า

การทำให้เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญดังกล่าวบรรลุผล จึงไม่ใช่แปลความคำว่าลูกจ้างในรัฐธรรมนูญมาตรา 267 เพียงหมายถึงลูกจ้างตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน หรือตามกฎหมายภาษีอากรเท่านั้นเพราะกฎหมายแต่ละฉบับย่อมมีเจตนารมณ์ที่แตกต่างกันไปตามเหตุผล และการบัญญัติกฎหมายนั้นๆ ทั้งกฎหมายดังกล่าวก็ยังมีศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศและยังมีเจตนารมณ์เพื่อป้องกันการกระทำที่เป็นการกระทำขัดกันแห่งผลประโยชน์แตกต่างจากกฎหมายดังกล่าวอีกด้วย” [/size]
บันทึกการเข้า

นายดอกเข็ม
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 423



« ตอบ #51 เมื่อ: 11-09-2008, 12:46 »

ไม่ว่า พรบ. พรก. มติ ครม. กฏกระทรวง ก็มีศักดิ์ต่ำรัฐธรรมนูญนี่ครับ เห็นศาลท่านก็อ่านเมื่อตอนตัดสินสมัครว่า

การทำให้เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญดังกล่าวบรรลุผล จึงไม่ใช่แปลความคำว่าลูกจ้างในรัฐธรรมนูญมาตรา 267 เพียงหมายถึงลูกจ้างตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน หรือตามกฎหมายภาษีอากรเท่านั้นเพราะกฎหมายแต่ละฉบับย่อมมีเจตนารมณ์ที่แตกต่างกันไปตามเหตุผล และการบัญญัติกฎหมายนั้นๆ ทั้งกฎหมายดังกล่าวก็ยังมีศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศและยังมีเจตนารมณ์เพื่อป้องกันการกระทำที่เป็นการกระทำขัดกันแห่งผลประโยชน์แตกต่างจากกฎหมายดังกล่าวอีกด้วย”


อ่านแล้วทำความเข้าใจด้วยสิครับ อย่าสักแต่อ่าน แล้วแถไปเรื่อย
ให้ดี อย่าเอาแต่เสียงดังในนี้สิครับ โน่นเดินไปยื่นขอตรวจสอบสิครับ


ถ้าประชาชนไทย เป็นอย่าง อิรวันชาห์ IrWanSyah หมด
ประเทศไทยคงล่มจมล่ะครับ
เพราะแค่ข้อความเท่านี้ยังแปลได้เป็นอย่างอื่นเลย
ถึงว่า ถึงชื่นชมหอกหักนัก

อ้อ อิรวันชาห์ IrWanSyah ชื่นชมยินดี สนับสนุน นายหอกหักนี่ครับ
นายหอกหัก คนที่ปลุกระดมประชาชน
ให้มาฆ่านักศึกษาเมื่อคราวเหตุการณ์เดือนตุลา
แล้วนายหอกหัก ก็บอกว่า เดือนตุลาตายคนเดียว
อิรวันชาห์ IrWanSyah ชื่นชมคนแบบนี้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11-09-2008, 12:48 โดย นายดอกเข็ม » บันทึกการเข้า

...ความชอบธรรมต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นธรรม...
Tuba ✿゚✎..✿.。.:。ღ
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 660


ทักษิณที่ดี คือทักษิณที่.......ตายแล้ว


« ตอบ #52 เมื่อ: 11-09-2008, 13:02 »

ไม่ว่า พรบ. พรก. มติ ครม. กฏกระทรวง ก็มีศักดิ์ต่ำรัฐธรรมนูญนี่ครับ เห็นศาลท่านก็อ่านเมื่อตอนตัดสินสมัครว่า

การทำให้เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญดังกล่าวบรรลุผล จึงไม่ใช่แปลความคำว่าลูกจ้างในรัฐธรรมนูญมาตรา 267 เพียงหมายถึงลูกจ้างตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน หรือตามกฎหมายภาษีอากรเท่านั้นเพราะกฎหมายแต่ละฉบับย่อมมีเจตนารมณ์ที่แตกต่างกันไปตามเหตุผล และการบัญญัติกฎหมายนั้นๆ ทั้งกฎหมายดังกล่าวก็ยังมีศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศและยังมีเจตนารมณ์เพื่อป้องกันการกระทำที่เป็นการกระทำขัดกันแห่งผลประโยชน์แตกต่างจากกฎหมายดังกล่าวอีกด้วย” [/size]

มะแอ อย่าเพิ่งแถ

มันไม่ใช่เรื่องของศักดิ์ทางกฎหมาย แต่ถ้าไม่มีบทบัญญัติเป็นการเฉพาะ ก็ต้องใช้บทบัญญัติทั่วไปตามหลักกฎหมายมหาชน

ไอ้เรื่องคุณสมบัติ ห้ามเป็นลูกจ้างหน่วยงานเอกชนเนี่ย มันก็เป็นคุณสมบัติของข้าราชการทั่ว ๆ ไปด้วย

ในเมื่อมีข้อยกเว้นสำหรับข้าราชการทั่ว ๆ ไปในเรื่องการเป็นอาจารย์พิเศษ ข้าราชการทั่ว ๆ ไปก็เป็นอาจารย์พิเศษได้

แล้วกรุณาอย่าเถียงว่ารัฐธรรมนูญ ไม่ได้บัญญัติให้เป็นได้ เพราะสิ่งใดที่กฎหมายไม่ได้บัญญัติห้าม สิ่งนั้นประชาชนทุกคนมีสิทธิทำได้

ถ้าหากคิดว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนุญไม่สามารถเป็นอาจารย์พิเศษได้ ให้ไปหาบทบัญญัตินั้น ๆ มาเถียง


บันทึกการเข้า

ทหาร เป็นอะไรก็ไม่ได้ดี นอกจากเป็นทหาร

ตำรวจ เป็นอะไรก็ดีไม่ได้ แม้กระทั่งเป็นตำรวจ
boyk
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,477



« ตอบ #53 เมื่อ: 11-09-2008, 13:26 »

"ใช้รูปใบหน้าของผู้ถูกร้องในรายการของบริษัท เฟซ มีเดีย จำกัด  เป็นการตกลงเข้ากัน
เพื่อกระทำกิจการร่วมกันด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไร อันพึงได้แก่กิจการที่ทำนั้น
ในลักษณะที่เป็นหุ้นส่วนร่วมกัน ดังนั้น การกระทำของผู้ถูกร้องให้แก่บริษัท เฟซ มีเดีย จำกัด 
จึงเป็นการดำรงตำแหน่ง ในห้างหุ้นส่วน โดยมุ่งหาผลกำไร หรือรายได้มาแบ่งปันกัน"


กร๊ากกกกก....ใช้หลักการสันนิฐานที่ปราศจากหลักฐานใดๆเพื่อตัดสินให้โทษแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดนี่ถือเป็นอาชญากรอย่างหนึ่งน๊ะครับ เห็นได้ชัดเจนว่าเป็นการกระทำของอคติชนเท่านั้น

ญาติผมมีร้านอาหารที่เคยออกรายการชิมไปบ่นไป และได้รับใบประกาศที่มีโลโก้หอกหักนี้ด้วยตั้งแต่ก่อนมันจะมาเป็นนายกฯ

ถามว่าเขาอยากได้มั้ย เขาบอกอะไรที่ทำให้ร้านเป็นที่รู้จักก็เอาทั้งนั้นแหละ

และคนทั่วๆไปก็รู้ว่ารายการชิมไปบ่นไปมีหอกหักเป็นโลโก้หรือจุดขาย

เอาใบประกาศมาโชว์ในร้านก็เป็นการเพิ่มเครดิตให้ร้าน ลุกค้าก้เชื่อถือและบอกต่อๆกันไปว่าร้านนี้ได้ออกรายการชิมไปบ่นไป มีรูปถ่ายด้วย

ร้านอาหารอื่นๆก็คิดเช่นเดียวกัน เพราะไปออกรายการเราไม่ต้องเสียเงินเหมือนบางรายการด้วย เป็นใครๆก็ต้องเอาล่ะคับ

ถามว่าเป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือไม่...
บันทึกการเข้า

ไล่งับคนโกง ตอกฝาโลงไม่ให้เกิด
อิรวันชาห์ IrWanSyah
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 870



« ตอบ #54 เมื่อ: 11-09-2008, 13:36 »

มะแอ อย่าเพิ่งแถ

มันไม่ใช่เรื่องของศักดิ์ทางกฎหมาย แต่ถ้าไม่มีบทบัญญัติเป็นการเฉพาะ ก็ต้องใช้บทบัญญัติทั่วไปตามหลักกฎหมายมหาชน

ไอ้เรื่องคุณสมบัติ ห้ามเป็นลูกจ้างหน่วยงานเอกชนเนี่ย มันก็เป็นคุณสมบัติของข้าราชการทั่ว ๆ ไปด้วย

ในเมื่อมีข้อยกเว้นสำหรับข้าราชการทั่ว ๆ ไปในเรื่องการเป็นอาจารย์พิเศษ ข้าราชการทั่ว ๆ ไปก็เป็นอาจารย์พิเศษได้

แล้วกรุณาอย่าเถียงว่ารัฐธรรมนูญ ไม่ได้บัญญัติให้เป็นได้ เพราะสิ่งใดที่กฎหมายไม่ได้บัญญัติห้าม สิ่งนั้นประชาชนทุกคนมีสิทธิทำได้

ถ้าหากคิดว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนุญไม่สามารถเป็นอาจารย์พิเศษได้ ให้ไปหาบทบัญญัตินั้น ๆ มาเถียง




ทำเป็นไม่เข้าใจ   ในรัฐธรรมนูญไงครับ
มาตรา ๒๐๗
ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต้อง

(๑) ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ

(๒) ไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วน ท้องถิ่น หรือไม่เป็นกรรมการหรือที่ปรึกษาของรัฐวิสาหกิจหรือของหน่วยงานของรัฐ

(๓) ไม่ดำรงตำแหน่งใดในห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือองค์การที่ดำเนินธุรกิจโดยมุ่งหา ผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน หรือเป็นลูกจ้างของบุคคลใด

(๔) ไม่ประกอบวิชาชีพอิสระอื่นใด


การเป็นอาจารย์พิเศษ ถ้าตามบรรทัดฐานที่ใช้พจนานุกรมตีความกับสมัคร ก็ต้องถือว่าเป็นลูกจ้างตามรัฐธรรมนูญนี้ด้วย  ถึงแม้จะมีกฏหมายลูกมาบอกว่าข้าราชการรับจ๊อบได้  แต่กฏหมายลูกมีศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญที่ห้ามไว้ จะเอากฏหมายลูกมาแย้งรัฐธรรมนูญและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญย่อมไม่ได้  ที่บังอ้างมานั้นเป็นคำตัดสินของศาลต่อนายกสมัคร ที่อ้างว่าจะเอาความหมายของลูกจ้างตามความหมายแห่งประมวลแพ่งและพาณิชย์มาใช้ไม่ได้ ต้องเอาตามรัฐธรรมนูญ อันนี้ก็เช่นเดียวกัน จะเอาตามมติ ครม. ไม่ได้ ในเมื่อรัฐธรรมนูญกำหนดห้ามไว้ ชัดใหมครับ กับการตีความแบบศรีธนชัย
บันทึกการเข้า

The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #55 เมื่อ: 11-09-2008, 13:43 »

เรียน คุณ mebeam

ถึง มะแอ 80 และ ประธานาธิบดีจ๊ะ

ผมหารายละเอียดเกี่ยวกับการเป็นอาจารย์พิเศษของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญยังไม่เจอ

แต่ไปเจอในรายที่เป็นข้าราชการประจำ

การที่ข้าราชการไปสอนพิเศษ หรือเป็นอาจารย์พิเศษในสถาบันการศึกษานั้น เป็นเรื่องที่สามารถกระทำได้ เพียงแต่ถ้าเป็นการใช้เวลาราชการไปดำเนินการก็จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ทางราชการกำหนด ซึ่งเรื่องนี้ได้มีมติคณะรัฐมนตรีกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ ตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0216/ว 225 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2538 มีสาระสำคัญคือ ให้ข้าราชการไปสอนพิเศษหรือเป็นอาจารย์พิเศษในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ หรือเอกชน ในเวลาราชการได้ แต่ต้องขออนุญาตต่อหัวหน้าส่วนราชการที่สังกัด และหัวหน้าส่วนราชการสามารถพิจารณาอนุญาตได้ตามความเหมาะสม แต่ทั้งนี้ไม่ควรเกิน 4 หน่วยชั่วโมงสอนต่อสัปดาห์   ดังนั้น หากกรณีปรากฏว่าข้าราชการคนใดไปสอนพิเศษ หรือไปเป็นอาจารย์พิเศษ โดยใช้เวลาราชการและมิได้ขออนุญาตต่อผู้บังคับบัญชา ย่อมถือว่าผู้นั้นไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว   กรณีจึงเป็นความผิดวินัยฐานไม่ปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมของทางราชการ ตามมาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535   และการใช้เวลาราชการไปดำเนินการดังกล่าวก็ถือเป็นความผิดฐานละทิ้งหน้าที่ราชการ ตามมาตรา 92 แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกันด้วย ซึ่งก็เป็นเพียงความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงเท่านั้น

เพราะฉะนั้น ถ้าคุณ mebeam หรือไอ้มะแอ 80 หรืออีประธานาธิบดีจ๊ะ สามารถหาข้อหักล้างได้

กรุณาเอามาแชร์กันด้วย หรือถ้าให้ดี ยื่นฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญด้วยเลยก็ได้ เพื่อที่จะได้เป็นบรรทัดฐานต่อไป






"ฝากคำถามถึง“จรัญ”ตุลาการรธน.รับจ๊อบสอนหนังสือผิดไหม?  



นิยาม “ลูกจ้าง” ยังโต้กันกระหึ่ม ชมรมนักกฎหมายเพื่อประชาชน ข้องใจศาลรัฐธรรมนูญ นิยามศัพท์กฎหมายขึ้นมาใหม่ ยันต้องว่ากันไปตามกฎหมายแพ่งและกฎหมายแรงงาน ขณะที่อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชน ติดใจสถานะ “จรัญ ภักดีธนากุล” ที่เคยไปรับจ้างสอนหนังสือ ทั้งที่เป็นตุลาการ ด้าน“สุทิน”ตั้งข้อสังเกตรีบชี้ขาด อยากให้ชี้แจงกับประชาชนกรณีที่ไม่ยึดบรรทัดฐาน แถมมีการข้ามขั้นตอน

นายสุวิทย์ นวลทอง รองประธานชมรมนักกฎหมายเพื่อประชาชน กล่าวแสดงความคิดเห็นกรณีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในกรณีมีคำตัดสินชี้ขาดให้นายสมัคร สุนทรเวช พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยระบุว่า คำจำกัดความของศาลในเรื่อง “ลูกจ้าง” นั้น ปกติแล้วในการพิจารณาคดีก็ต้องว่าตามกฎหมายแพ่ง และกฎหมายแรงงาน ซึ่งปกติกฎหมายก็จะมีการจำกัดคำนิยาม ซึ่งคำว่าลูกจ้างกับรับจ้าง แตกต่างกัน “รับจ้าง” ตามความหมายของกฎหมายแรงงาน คือ ไม่ขึ้นกับใคร แต่บริษัทไม่สามารถกำหนดบังคับผู้ที่รับจ้างได้ตายตัว เพียงแต่ผู้รับจ้างก็ต้องดำเนินงานให้แล้วเสร็จไป ส่วนคำว่า “ลูกจ้าง” หมายความว่า นายจ้างสามารถบังคับบัญชาได้ มีการกำหนดเงินเดือน เวลาการทำงาน เป็นต้น ซึ่งศาลฎีกาก็ได้มีการตัดสินคำว่าลูกจ้างในลักษณะอย่างนี้มามากแล้ว

ทั้งนี้ที่ศาลรัฐธรรมนูญตีความ ก็ได้มีการพิจารณาเพียงแค่ว่า นายสมัคร รับเงินการจัดรายการโทรทัศน์ ก็ถือว่าเป็นลูกจ้าง ตนในฐานะนักกฎหมายก็ข้องใจ และเป็นเรื่องที่ประหลาดเพราะว่าเป็นการสร้างนิยามคำว่าลูกจ้างขึ้นมาใหม่ เช่นเดียวกับกรณีการพิจารณาตัดสินคดีปราสาทเขาพระวิหารมาตรา 190 ที่ศาลพิจารณาโดยใช้คำว่า “อาจจะ”เป็นตัวตัดสิน ซึ่งรัฐธรรมนูญไม่ได้เขียนเอาไว้

“คำว่าลูกจ้างตอนนี้มันเปลี่ยนไปแล้วนะ เป็นการสร้างคำนิยามขึ้นมาใหม่ คำว่าลูกจ้างต้องมีที่มาที่ไป การที่คุณมาตั้งคำนิยามขึ้นมาใหม่ มันต้องมีหลักการมากกว่านี้ การเป็นกลางของคนที่ตัดสินก็เป็นเรื่องที่สำคัญ ศาลต้องยึดหลักการ ถ้าคุณไม่มีหลักฐานที่จะเอาผิดเขา คุณต้องยกประโยชน์ให้เขาไป แม้ในใจคุณต้องการให้เขามีความผิด คำขยายความถ้าไม่มีกำหนดไว้ ทำได้ แต่ต้องเป็นคุณเท่านั้น ถ้าเป็นโทษก็เท่ากับเป็นการไปลิดรอนสิทธิกับผู้ถูกร้อง อย่างนี้บอกได้คำเดียวว่าผมไม่อยากคาดหวังอะไรเกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญหรอกครับ” นายสุวิทย์กล่าว

ผศ.จรัล ดิษฐาอภิชัย อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กล่าวว่าการตัดสินต้องใช้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพราะความหมายของคำว่าลูกจ้างคือการมีสัมพันธ์กันทางนิตินัยกับนายจ้าง มีสัญญาจ้างตามแบบฟอร์มกฎหมาย ส่วนคำว่ารับจ้างนั้น คือการไปรับทำงานแบบเป็นครั้งเป็นคราว เช่น อาจารย์มหาวิทยาลัยที่เขียนบทความให้หนังสือพิมพ์ หรือนิตยสารเป็นคอลัมนิสต์

เพราะฉะนั้นในกรณีนี้ นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่เป็นคนตัดสินคดีนายสมัคร ทราบว่าไปสอนหนังสือที่คณะนิติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยหลายแห่ง เช่นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นต้น การที่ไปสอนหนังสือถือว่าเป็นการรับจ้าง แต่บรรทัดฐานหลังการตัดสินเปลี่ยนไป แสดงว่านายจรัญมีฐานะเป็นลูกจ้างของมหาวิทยาลัยนั้น ทั้งๆ ที่ตำแหน่งตุลาการก็ห้ามมิให้เป็นลูกจ้างใครเช่นกัน

หรืออย่างนักการเมืองที่ไปอภิปรายตามสถานที่ที่มีคนเชิญไป นักการเมืองก็จะได้ค่าเป็นวิทยากรให้ ดังนั้นนักการเมืองก็เป็นลูกจ้างกันหมด

การตีความของศาลรัฐธรรมนูญเท่ากับเป็นการขยาย หรือการขัดภาวะ แต่ต้องเป็นไปตามกฎหมายแรงงาน ไม่เช่นนั้นคนที่รับจ้างก็อาจจะเรียกร้องสวัสดิการเพื่อให้เท่าเทียมกับคนที่เป็นลูกจ้าง

“ศาลรัฐธรรมนูญสูงสุดก็จริง ระบุห้ามมิให้เป็นลูกจ้างผู้ใด แต่ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ให้คำนิยามคำว่าลูกจ้างเอาไว้ว่าคืออะไร เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ต้องเอากฎหมายรอง อย่างกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาดูว่าเป็นยังไง ศาลรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูง ต่อไปนี้ต้องยึดคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นคอลัมนิสต์ หรือส.ส. ส.ว. ที่ไปเป็นวิทยากรก็ต้องเป็นลูกจ้างกันหมด” ผศ.จรัล กล่าว

นายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม ในฐานะรองโฆษกพรรคพลังประชาชน กล่าวว่า การพิพากษามีข้อน่าสังเกตที่ทำให้ไม่สบายใจอยู่ 2-3 ข้อ คือ 1. การเร่งรีบที่จะชี้ขาดตัดสิน หลังจากการสอบปากคำเพียงวันเดียว อะไรคือเหตุผลที่จะต้องเร่งรีบขนาดนั้น 2. กระบวนการพิจารณาตัดสิน เดิมเมื่อเสร็จแล้วจะให้เวลาผู้พิพากษาไปเขียนสำนวนส่วนตัวแล้วนำสำนวนส่วนตัวมาวิเคราะห์เพื่อที่จะเขียนสำนวนกลาง แล้วจึงอ่านคำพิพากษาเพื่อชี้ขาด แต่กระบวนการในขั้นตอนนี้ถูกข้ามไป ซึ่งถ้าตนพูดผิดก็อยากให้ศาลรัฐธรรมนูญออกมาชี้แจงต่อพี่น้องประชาชน และ 3.การใช้นิยามศัพท์คำว่า "ลูกจ้าง" ในกฎหมายแพ่งและในฎีกา มีคำพิพากษาศาลฎีกาหลายฎีกาที่จะยึดเป็นแนวทางว่า "ลูกจ้าง" หมายถึงอะไร ซึ่ง
ตามหลักแล้ว ลูกจ้างจะต้องมีรายได้ชัดเจน และนายจ้างสามารถสั่งได้ เหล่านี้อยู่ในคำพิพากษาศาลฎีกามากมาย แต่ศาลรัฐธรรมนูญไม่นำมาใช้ ตรงนี้จะเป็นบรรทัดฐานที่เปลี่ยนไปส่งผลกระทบถึงอนาคต

"ต่อไปนี้การเขียนกฎหมายคงไม่ต้องเขียนนิยามศัพท์ในมาตราต้นๆแล้ว ให้ยึดเอาความหมายตามพจนานุกรมเลยดีไหม อย่างนี้จะวุ่นวายแน่นอน อนาคตพลเมืองดีที่ปฏิบัติตามกฎหมายคงต้องคิดหนักว่าจะยึดความหมายตามพจนานุกรมหรือตามตัวบทกฎหมายดี ตรงนี้เป็นเรื่องใหญ่" นายสุทิน กล่าวและว่า ขอตั้งข้อสังเกตว่าการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีความชอบธรรมหรือไม่ เรื่องนี้ละเลยไม่ได้ เพราะที่พึ่งสุดท้ายเราจะต้องช่วยกันทะนุถนอม อย่าให้เสื่อม"
บันทึกการเข้า
Tuba ✿゚✎..✿.。.:。ღ
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 660


ทักษิณที่ดี คือทักษิณที่.......ตายแล้ว


« ตอบ #56 เมื่อ: 11-09-2008, 13:48 »

ก็บอกแล้วว่ามันไม่ใช่เรื่องศักดิ์ของกฎหมาย มันเป็นเรื่องของข้อยกเว้น

ถ้าศาลรัฐธรรมนูญถือว่าการเป็นอาจารย์พิเศษสถาบันเอกชน ถือเป็นลูกจ้างของสถาบันเอกชนนั้น

ก็ให้คุณไปหาหลักฐานมาอ้างอิง ไม่ใช่คุณมาตะแบง ตัดสินใจเอาเองว่าเป็นลูกจ้าง โดยไม่มีข้อยกเว้น

ถ้ายังไม่มีบรรทัดฐาน คุณก็ไปร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้มีการวินิจฉัย เพื่อจะได้เป็นบรรทัดฐานต่อไป

ไม่ใช่มาหลับหูหลับตาแถอยู่แบบนี้ ถ้าคุณหาหลักฐานมายืนยันได้ ว่าศาลรัฐธรรมนูญเขาไม่ได้ยกเว้นการเป็นอาจารย์พิเศษ

ใคร ๆ เขาก็จะยอมรับว่า อ.จรัล แกขาดคุณสมบัติจริง ไม่ใช่มาตะบี้ตะบัน แถไปเรื่องศักดิ์ของกฎหมายอยู่นี่แหละ

ที่ตอนไอ้เหลิม ยุไอ้เหลี่ยมให้ออก พระราชกฤษฎีกามาระงับรัฐธรรมนูญ เห็นพวกคุณปรบมือต้อนรับกันเกรียวกราว

ไม่เห็นออกมาแสดงความรู้เรื่องศักดิ์ของกฎหมายเลย


กำลังจะส่งคำตอบ ประธานาธิบดีจ๊ะ โผล่เข้ามาพอดี ไปช่วยกันหาหลักฐานทั้งคู่เลย


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11-09-2008, 14:07 โดย Tuba ✿゚✎..✿.。.:。ღ » บันทึกการเข้า

ทหาร เป็นอะไรก็ไม่ได้ดี นอกจากเป็นทหาร

ตำรวจ เป็นอะไรก็ดีไม่ได้ แม้กระทั่งเป็นตำรวจ
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #57 เมื่อ: 11-09-2008, 13:57 »


ส่วนที่คุณ TLE พูดถึงคือศาล
ผมจะลองส่งข้อความนี้ไปให้เพื่อนที่เป็นทนายดู
และลองสอบถามดูให้ว่า เข้าข่ายหมิ่นประมาทศาลหรือเปล่าครับ



ขอบคุณงั๊บ...เผอิญลูกน้องผมที่เป็นทนายเค้าเฟิร์มมาแล้วว่า ร่างกฎหมายห้ามการวิจารณ์ศาลรธน.กำลังอยู่ในสภาและเชื่อว่าสส.ท่านตีตกแน่นอน

ช่วงนี้....เติ้ลก็เลยกระทืบพวกมันได้เต็มๆteenแบบเนียนๆไงอ่ะ คริ คริ 
บันทึกการเข้า
exzcute
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 221


« ตอบ #58 เมื่อ: 11-09-2008, 14:04 »


ขอบคุณงั๊บ...เผอิญลูกน้องผมที่เป็นทนายเค้าเฟิร์มมาแล้วว่า ร่างกฎหมายห้ามการวิจารณ์ศาลรธน.กำลังอยู่ในสภาและเชื่อว่าสส.ท่านตีตกแน่นอน

ช่วงนี้....เติ้ลก็เลยกระทืบพวกมันได้เต็มๆteenแบบเนียนๆไงอ่ะ คริ คริ 


ไม่เป็นไร รอดูศาลอาญาดีกว่าเผื่อเติ้ลอยากเข้าไปรับใช้ว่าที่นักโทษชายวัยชรา 
บันทึกการเข้า
boyk
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,477



« ตอบ #59 เมื่อ: 11-09-2008, 14:07 »

^
^
^
^
ถูก
บันทึกการเข้า

ไล่งับคนโกง ตอกฝาโลงไม่ให้เกิด
นายดอกเข็ม
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 423



« ตอบ #60 เมื่อ: 11-09-2008, 14:11 »


ขอบคุณงั๊บ...เผอิญลูกน้องผมที่เป็นทนายเค้าเฟิร์มมาแล้วว่า ร่างกฎหมายห้ามการวิจารณ์ศาลรธน.กำลังอยู่ในสภาและเชื่อว่าสส.ท่านตีตกแน่นอน

ช่วงนี้....เติ้ลก็เลยกระทืบพวกมันได้เต็มๆteenแบบเนียนๆไงอ่ะ คริ คริ 


ยังไม่ทันถาม TLE ก็มาตอบเสียก่อน
ถึงว่าสิครับ TLE เป็นพวกไม่เคารพศาลนี่เอง
แต่น่าจะลองกลับไปถามลูกน้องที่ว่าใหม่อีกทีนะครับ


ข่าวล่าสุด กรณีหมิ่นประมาทตุลาการศาลรัฐธรรมนูญครับ

ไทยรัฐออนไลน์
อุทธรณ์ยืนจำคุกประสงค์ คดีหมิ่นศาลรัฐธรรมนูญ [10 ก.ย. 51 - 01:17]
http://www.thairath.co.th/online.php?section=newsthairathonline&content=103609

 
วันที่ 9 ก.ย. ศาลอาญารัชดาภิเษก อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ในคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ
อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติกับพวก รวม 5 คน เป็นจำเลย
ในความผิดฐานหมิ่นประมาท

โดยการโฆษณาจากกรณีเมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2542
จำเลย ร่วมกันลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์แนวหน้า
และร่วมกันดูหมิ่นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ในการตัดสินให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
อดีตนายกรัฐมนตรี พ้นผิดในคดีซุกหุ้น

ศาลชั้นต้น มีคำพิพากษาให้จำคุกจำเลยที่ 1 และ 2 เป็นเวลา 1 ปี ปรับ 7,000 บาท
ส่วนโทษจำคุกให้รอลงอาญาเป็นเวลา 1 ปี ศาลอุทธรณ์ ตรวจสำนวนประชุม
ปรึกษากันแล้วเห็นว่า จำเลยที่ 1 และ 2 จงใจเขียนบทความ
หมิ่นประมาทตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ให้เสียชื่อเสียงจริง
แต่บทความดังกล่าวไม่หยาบคาย และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง
ศาลชั้นต้น พิพากษานั้นชอบแล้ว แต่เห็นควรให้เพิ่มการกำหนดโทษ รอลงอาญา
จาก 1 ปี เป็น 2 ปี คงจำคุกจำเลยที่ 1 และ 2 เป็นเวลา 1 ปี ปรับ 7,000 บาท
ส่วนโทษจำคุกให้รอลงอาญาเป็นเวลา 2 ปี
บันทึกการเข้า

...ความชอบธรรมต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นธรรม...
oho
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 712


« ตอบ #61 เมื่อ: 11-09-2008, 14:12 »

อ้างถึง
อิรวันชาห์ IrWanSyah ........

โถ๋...สมองขี้เปียกแก๊งพันธ์ทิพย์เอ๊ย ตรูนึกว่าจะโชว์งั่งเรื่องอะไร ที่แท้ก็ไปแหกตูดดูดขี้ของE-เจตน์ ขี้เปียกแก๊งประชาไทผู้เขียนบทความในเว็บประชาไท เว็บที่ใส่ร้ายป้ายสีโกหกตอแหล๋หลอกด่าสถาบันพระมหากษัตริย์ตลอดเวลา  แก๊งเดียวก๊กเดียวกันกับไอ้ นิธิ เอียวศรีวงศ์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

หวังจะแถแถแถตอแหล๋หลอกคนไปวัน ๆ


http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ID=8047&Key=HilightNews


ก๊าก ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ  ขี้เปียกแก๊งพันธ์ทิพย์ไอ้ อิรวันชาห์ IrWanSyah  เอ๊ย ..แม้แต่หลักฐานปลอมเอกสารเท็จโกหกตอแหล๋มันยังสร้างขึ้นไปหลอกศาลรัฐธรรมนูญได้ ก๊าก ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ  สันดานเดียวกันยกแก๊งจริง ๆ พวกแก๊งขี้เปียกทักษิณเอ๊ย



ผลงานE-เจตน์ หาดูได้ตามเว็บ ม.เที่ยงคืน เว็บประชาไท และแก๊งพันธ์ทิพย์
ซึ่งเป็นที่รับรู้กันโดยทั่วของชาวเน็ตว่า เป็นเว็บพวกแก๊งปลุกปั่นแก๊งยานเกราะแก๊งจาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์

http://www.midnightuniv.org/forum/index.php?topic=2096.0



 



(ปล.ก็แค่เด็กอยุธยาเรียนจิรศาสตร์แถวบ้านแก๊ง E-เพ็ญ  แล้วดัดจริตบั้นปลายไปจบมหาวิทยาลัย Goettingen สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน

เสือกลืมกำพืดรากเหง้าของบรรพบุรุษไทยผมดำ...

แต่เงี่ยนอยากเปลี่ยนคนไทยผมดำให้เป็นผมสีทองของฝรั่งเยอรมัน)


 


*  (90.7 KB, 573x325 - ดู 474 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11-09-2008, 17:05 โดย oho » บันทึกการเข้า
oho
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 712


« ตอบ #62 เมื่อ: 11-09-2008, 17:08 »

หนึ่งในผลงานของ E~เจตน์

 

อ้างถึง
24 พ.ค. 47

กรุงเทพธุรกิจ พจมานซื้อที่ดิน 33 ไร่

นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์ประจำภาควิชากฎหมายมหาชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า หากดูตามถ้อยคำกฎหมาย มาตรา 100 ของกฎหมาย ป.ป.ช.ก็จะเห็นภาพที่เป็นจริงว่า เจ้าหน้าที่รัฐและคู่สมรส ซึ่งกฎหมาย ก็ระบุชัดเจนว่า เป็นนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี จะทำสัญญาผูกพันใดๆ กับรัฐไม่ได้ แต่ในกรณีนี้ ต้องดูที่วัตถุประสงค์ของการสร้างกฎหมายนี้ขึ้นมา

ส่วนตัวตีความว่าวัตถุประสงค์ของกฎหมาย ไม่ต้องการให้รัฐมนตรีมีส่วนให้คุณให้โทษ กับผู้ที่เข้าร่วมทำสัญญากับรัฐ เพราะอาจทำให้เกิดความขัดแย้งกัน ระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัว และผลประโยชน์ของรัฐได้ แต่การประมูลครั้งนี้ เป็นการเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันได้อย่างเสรี ใครเสนอราคาสูงสุดก็ได้ที่ดินไป ไม่มีกระบวนการในการพิจารณาอนุมัติ ที่เป็นช่องทางให้เกิดการให้คุณให้โทษ ดังนั้น การกระทำของคุณหญิงพจมาน จึงถือว่า ไม่ขัดต่อกฎหมายป.ป.ช.


 


โถ๋แก๊งE-เพ็ญ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
    กระโดดไป: