ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
27-11-2024, 11:44
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  ห้องสาธารณะ  |  จากใจ...อดีตตุลาการศาลรธน....จุมพล ณ สงขลา 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
จากใจ...อดีตตุลาการศาลรธน....จุมพล ณ สงขลา  (อ่าน 2589 ครั้ง)
จากใจ
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: 10-09-2008, 13:38 »

จากใจ...อดีตตุลาการศาลรธน.
..

หาก จะทำนิติกรรมอะไรเราก็ต้องดูกฎหมายฉบับนั้นๆ หรือจะต้องไปดูพจนานุกรม ผมเห็นว่าในเรื่องที่เกิดขึ้นนี้ เมื่อจะดูเรื่องความเป็นลูกจ้างหรือไม่อย่างไร ก็ต้องไปดูกฎหมายแรงงานกฎหมายลูกจ้าง ไปดูว่ามีอะไรที่เข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมายกำหนดบ้าง โดย จรรยาบรรณของผู้พิพากษาที่ปฏิบัติกันมานั้น หากมีข้อกฎหมายใดไม่ชัดเจน ไม่สามารถเอาผิดจำเลยได้ก็ต้องยกประโยชน์ให้กับจำเลยไป การจะไปตีความกฎหมายที่กว้างขวาง ผู้พิพากษาสามารถทำได้ เพียงแต่ต้องเป็นคุณกับจำเลย ไม่ใช่มุ่งตีความอย่างกว้างเพื่อให้เป็นโทษหรือเอาผิดกับจำเลย

เมื่อ ครั้งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ก็เคยมีการพูดกันเรื่องการตีความกฎหมายว่าควรจะตีความกว้างแค่ไหน ก็ยึดหลักการว่า ตีความอย่างกว้างได้แต่จะต้องเป็นคุณ หรือไม่ได้มุ่งเน้นที่จะไปเอาผิดกับจำเลย เพราะหากไปมุ่งที่จะเอาผิดใครนั้นถือว่าผิดวิสัยของตุลาการได้

กรณี ของนายสมัครนั้น ผมอยากให้มองว่าสิ่งที่เขาทำ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลประโยชน์ของประเทศชาติอย่างไร เกิดความเสียหายส่วนร่วมอย่างไร ผมเกรงว่าหลังจากเรื่องนี้แล้ว คนอื่นจะตีความกฎหมายแบบแปลกๆ ออกมาบ้าง ตัวอย่างเช่น สมมุติว่าผมใช้บริการรถแท็กซี่อยู่เป็นครั้งคราว อย่างนี้จะถือได้ว่าแท็กซี่คือลูกจ้างของผมได้หรือเปล่า เช่นเดียวกันกับผมไปตัดเสื้อผ้าที่ร้านตัดเสื้อแห่งหนึ่ง จะบอกว่าช่างตัดเสื้อร้านดังกล่าวเป็นลูกจ้างก็ได้ใช่ไหม เรื่องนี้คงวุ่นวายเหมือนกัน

กับการตีความกฎหมายครั้งนี้ของศาลรัฐ ธรรมนูญ ผมยอมรับว่ารู้สึกผิดหวังและท้อ ที่ศาลไม่ได้ดูเฉพาะตัวบทกฎหมาย แต่กลับไปดูพจนานุกรมด้วย ผมเกรงว่าต่อไปศาลจะถูกมองว่าใจแคบ เพราะถ้าพิจารณาตามหลักคุณธรรม และวิสัยทั่วไปของผู้ที่เป็นศาลแล้วจะต้องใจกว้าง มีเมตตาต่อจำเลย หากข้อกฎหมาย หรือพฤติกรรมพฤติการณ์ใดที่ข้อกฎหมายเอาผิดไม่ชัดเจนก็ต้องยกประโยชน์ให้ จำเลยไป จะต้องไม่มุ่งตีความกฎหมายหรือนำเหตุอื่นๆ มาประกอบเพื่อเอาผิด อย่างไรก็ตาม เมื่อมีคำวินิจฉัยออกมาอย่างนี้แล้ว ก็ต้องยอมรับ ....


จุมพล ณ สงขลา
อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา
และอดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ


บันทึกการเข้า
login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #1 เมื่อ: 10-09-2008, 14:06 »

หากจะอ่านบทความนี้แล้ววิเคราะห์อะไร
กรุณากลับไปอ่านคำวินิจฉัยใหม่ตั้งแต่ต้น

“การทำให้เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญดังกล่าวบรรลุผล จึงไม่ใช่แปลความคำว่าลูกจ้างในรัฐธรรมนูญมาตรา 267 เพียงหมายถึงลูกจ้างตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน หรือตามกฎหมายภาษีอากรเท่านั้นเพราะกฎหมายแต่ละฉบับย่อมมีเจตนารมณ์ที่แตกต่างกันไปตามเหตุผล และการบัญญัติกฎหมายนั้นๆ ทั้งกฎหมายดังกล่าวก็ยังมีศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศและยังมีเจตนารมณ์เพื่อป้องกันการกระทำที่เป็นการกระทำขัดกันแห่งผลประโยชน์แตกต่างจากกฎหมายดังกล่าวอีกด้วย”
..............
“พยานหลักฐานทั้งหมดมีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่า นายสมัคร ทำหน้าที่พิธีกรในรายการ “ชิมไปบ่นไป” หลังจากเข้าดำรงตำแหน่งนายกฯ แล้ว โดยยังคงได้รับค่าตอบแทนที่มีลักษณะเป็นทรัพย์สินจาก บริษัทเฟซ มีเดีย จำกัด ดังนั้นการที่เป็นพิธีกรให้แก่บริษัท เฟซ มีเดีย จำกัด จึงเป็นการรับจ้างการทำงานตามความหมายของคำว่า “ลูกจ้าง” ตามนัยแห่งรัฐธรรมนูญมาตรา 267 แล้ว เป็นการกระทำอันต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 267 ความเป็นรัฐมนตรีของนายสมัคร จึงสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182 วรรคหนึ่ง(7) “
..............


http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9510000106895

ยังต้องตีความอะไรนอกอะไรในอกไหมครับ
บันทึกการเข้า
gabiNo
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 172


« ตอบ #2 เมื่อ: 10-09-2008, 16:04 »

จากใจประชาชนทั่วไป.....
ขึ้นรถแท๊กซี่คันเดิมทุกเสาร์ตอนเช้ารึเปล่าคะ?
บันทึกการเข้า
ฟ้าประทานII
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 31



เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 14-09-2008, 16:02 »

ยังมีคนดีๆออกมาพูด อะไรถูกอะไรผิดก็ต้องพูดกันไป

ใช่ว่าเอาแต่ตีความ แต่ผลออกมามีแต่ความเสียหาย   

ไม่เคยนึกถึงหน้าตาของประเทศ จะเข่นกันท่าเดียว

บันทึกการเข้า

. . . ผู้ที่เป็นเยาวชนที่จะต้องทำหน้าที่สำหรับรักษาบ้านเมืองต่อไปเมื่อเป็นผู้ใหญ่ เมื่ออายุถึงขั้นที่จะเรียกว่าเป็นผู้ใหญ่ ได้เล่าเรียนมาแล้วเพื่อให้ปฏิบัติงานของชาติได้ต่อไป ก็ต้องเตรียมตัวเพื่อปฏิบัติงานนั้น ในเวลานี้ก็จะต้องหาความรู้ใส่ตัว ฝึกฝนจิตใจ ฝึกฝนความคิดที่ดี เพื่อให้เข้าใจ ให้มีความคิดพิจารณา ให้มีเหตุผลที่แน่นแฟ้น มีเหตุผลที่จะใช้การได้ เพื่อแยกสิ่งที่ดีที่ควรทำจากสิ่งที่ไม่ดีที่ไม่ควรทำ ฉะนั้น หน้าที่ของเยาวชนก็คือเรียนรู้ แล้วก็นอกจากเรียนรู้คือเมื่อเรียนแล้ว ก็เริ่มช่วยกันสร้างความมั่นคงแก่บ้านเมือง โดยใช้ความรู้ที่ได้มาให้เป็นประโยชน์พัฒนาบ้านเมืองให้มั่นคง . . .
 
 
     
  พระบรมราโชวาท
พระราชทานแก่คณะเยาวชนจาก ๒๐ จังหวัด
วันที่ ๖ เมษายน ๒๕๑๒
ann
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: 07-10-2008, 08:38 »

มันเกินไปจริง   
เรื่องหมิ่น ก็ว่าไปอย่าง แต่ทำกับข้าว มันเกินไป...
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: