ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
19-04-2024, 09:49
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  5 สูตรการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ใยประชาชนมีทางเลือกน้อยเหลือเกิน 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
5 สูตรการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ใยประชาชนมีทางเลือกน้อยเหลือเกิน  (อ่าน 1265 ครั้ง)
LEOidentity
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 567


« เมื่อ: 10-09-2008, 06:44 »

            ข่าวร้ายที่เกิดขึ้นกับ สมัคร สุนทรเวช  ถือเป็นจุดเปลี่ยนประวัติศาสตร์การเมืองช่วงสำคัญอีกหน้าหนึ่ง เพราะมันเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของบ้านเมืองว่าจะเดิน "เข้าร่องเข้ารอย" หรือ "เข้ารกเข้าพง"


            โดยเฉพาะอย่างยิ่งปรากฏการณ์ "จับขั้วตั้งรัฐบาล" ที่กำลังนับหนึ่งใหม่อีกครั้ง จะเป็นตัวชี้ขาด


            เพราะฉะนั้นการเลือก "สูตรตั้งรัฐบาล" จึงสำคัญอย่างยิ่งในสถานการณ์นับต่อจากนี้


            เมื่อเทียบเคียงเข้ากับ "ทฤษฎีความน่าจะเป็น" ก็พอจะเห็นสูตรตั้งรัฐบาลเลาๆอยู่ถึง 5 สูตรใหญ่ๆ


          สูตร 1..."สมัคร รีเทิร์น"


            พลพรรคพลังประชาชน มีความพยายามจะใช้สูตรนี้ในด่านแรก  เพราะเห็นว่าสถานการณ์ที่กำลังต่อสู้กับศัตรูการเมืองภายนอกนั้น จะหาใครที่มีคุณสมบัติ "รอบจัด" เท่านี้ไม่มีอีกแล้ว


            แน่นอนว่าถ้าพรรคพลังประชาชนเลือกสูตรนี้ เท่ากับบอกปัดแนวทางสมานฉันท์ของกลุ่มองค์กรต่างๆที่เสนอว่าควรเปลี่ยนตัวนายกฯ ด้วยการให้ "สมัคร" ลาออก หรือยุบสภา


            ที่สำคัญเท่ากับแสดงให้เห็นว่าพรรคพลังประชาชนตั้งใจ "เล่นเกมแรง" ถึงได้เลือกวิธี "ยอมหัก ไม่ยอมงอ"


            ขณะเดียวกันแรงกดดันจากภายในพรรคร่วมรัฐบาลก็จะเพิ่มสูงขึ้น และพรรคร่วมอาจกดดันด้วยการถอนตัวออกจากการร่วมรัฐบาลได้


            สูตร 2...สงครามตัวแทน


            กรณีที่ผลการเจรจากับพรรคร่วมรัฐบาลตาม "สูตร1" ไม่ได้ผล ตามบัญชาของ "นายใหญ่" ต้องใช้วิธีเปลี่ยนตัวแม่ทัพโดยเป็นคน "สายตรง" เล่นแทน


            โดยจะเป็นใครก็ได้ใน 4 คนนี้ ได้แก่ สุรพงษ์ สืบวงลี - สมชาย วงศ์สวัสดิ์ - สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ - มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์


            ด้วยสูตรนี้เท่ากับพลังประชาชนยังคงต้องการกุมอำนาจ "ยุบสภา" ให้คงอยู่ต่อไป เพื่อว่าภายหลังจากดำเนินการต่างๆแล้ว พรรคพลังประชาชนจะได้           


            อย่างไรก็ดีไม่ว่าจะเลือกสูตร 1 หรือสูตร 2  ก็ไม่ช่วยให้สถานการณ์บ้านเมืองดีขึ้น เพราะพรรคพลังประชาชนยังกุมอำนาจบริหารไว้ในมือ


            มิหนำซ้ำอาจเกิด "อุบัติเหตุการเมือง" ได้ทุกเมื่อ สืบเนื่องจากการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯจะกดดันรัฐบาลหนักข้อขึ้น จนไม่สามารถทำงานได้เหมือนเดิม


            สูตร 3..."เติ้ง" เสียบ !


            ความเคลื่อนไหวในสูตรนี้มีความเป็นไปได้แบบ 50/50 เพราะพลังประชาชน โดยเฉพาะ "นายใหญ่" ไม่เต็มใจเท่าไรนัก เนื่องจากรู้กิตติศัพท์ "ปลาไหล" ดี


            แต่กระนั้นพรรคชาติไทย ก็ได้มีความพยายามรวมเสียงพรรคร่วมที่เหลืออีก 5 พรรค เพื่อผลักดันให้ บรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกฯแทน 


            สอดคล้องกับแนวทางสมานฉันท์ที่ต้องการให้คนจากพรรคพลังประชาชน "เว้นวรรค" ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี


            นอกจากนั้นยังมีรายงานมาว่า "บรรหาร" ลงทุนต่อสายเจรจากับ "นายใหญ่" ด้วยตัวเอง และได้นำเสนอแนวทางนี้ ซึ่ง "นายใหญ่" ไม่ขัดข้อง หลังจากฟังเงื่อนไข "สมประโยชน์" ที่ทั้งสองฝ่ายจะได้รับ


          แต่หากพลังประชาชนไม่ยอม ก็ต้องเสี่ยงกับการถูกกดดันด้วยการถอนตัวออกจากพรรคร่วมรัฐบาลตามมา


          ถึงกระนั้น แนวร่วมพันธมิตรฯเอง ก็ไม่ตอบรับการการเปลี่ยนตัวนายกฯมาเป็น "บรรหาร" เพราะได้ตั้งธงแล้วว่า "บรรหาร" ก็คือตัวแทนระบอบทักษิณอยู่ดี


            ข้อดีมีเพียงอย่างเดียวคือ การก้าวเข้ามาของ "บรรหาร" อาจทำให้ความชอบธรรมในการปักหลักชุมนุมยืดเยื้อของพันธมิตรฯเบาลงไปได้บ้าง


            หรืออย่างน้อยการชุมนุมอาจต้องเขยิบออกไปอยู่ ณ จุดเดิมที่ "สะพานมัฆวานฯ" เพื่อรอเวลาที่เหมาะสมในเรียกความชอบธรรมของการชุมนุมกลับมาอีกครั้ง


            อย่างไรก็ตามในอีกด้านก็ต้องยอมรับว่า การเลือกใช้สูตรที่ 1 -3 รัฐบาลจะยังมีเสถียรภาพอย่างมาก เพราะขั้วตั้งรัฐบาลยังเป็นขั้วเดิม และอำนาจในการคุมเกมการต่อรองของพรรคพลังประชาชนยังสูงอยู่มาก


            โดย 3 สูตรนี้ เสียงรัฐบาลต่อฝ่ายค้าน มีมากถึง 306 ต่อ164 เสียง !!!


          สูตร 4...พลิกขั้ว ปชป.ตั้งรัฐบาล


            สูตรนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อการเจรจาผลประโยชน์ทางการเมืองระหว่างพรรคร่วมทั้ง 5 พรรคกับพลังประชาชนไม่ลงตัว


            แต่โอกาสจะเกิดสูตรนี้ก็เป็นไปได้น้อยมาก เพราะพลังประชาชนจำเป็นต้องรักษาแต้มต่อเพื่อคงความเป็นพรรคแกนนำรัฐบาลเอาไว้ให้ถึงที่สุด


            อย่างไรก็ตาม แม้ว่าพรรคประชาธิปัตย์จะได้เป็นแกนนำรัฐบาล ก็มีความเสี่ยงสูงอยู่ดี เพราะรัฐบาลจะมีเสถียรภาพทางการเมืองต่ำมาก และจะทำงานท่ามกลางปัญหาต่างๆได้ลำบากมากขึ้น


            เพราะหากเป็นไปตามสูตรนี้ รัฐบาลจะมีเพียง 247 เสียงเท่านั้น ขณะที่พรรคฝ่ายค้านคือพลังประชาชนมีเสียงถึง 223 เสียง


            และที่คาดการณ์ได้ล่วงหน้าก็คือแนวร่วมนปก. จะกลายมาเป็นม็อบที่สร้างแรงกดดันให้รัฐบาลประชาธิปัตย์แทนม็อบพันธมิตรฯในที่สุด


            เพราะฉะนั้น...หนทางแก้ปัญหาทั้ง 4 สูตรนี้ก็ยังไม่เป็นการหาทางออกให้แก่ประเทศอยู่ดี


          สูตร 5...รัฐบาลแห่งชาติ


            สถานการณ์มาถึงจุดที่เรียกว่า "เดดล็อค" เมื่อมองจากความน่าจะเป็นทั้ง 4 สูตรแรก ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะไม่ใช่ทางออกที่ทำให้บ้านเมืองกลับไปสู่ความสงบเรียบร้อยได้


            สูตรที่ถูกพูดถึงมากที่สุดตอนนี้จึงเป็นสูตรที่เรียกร้องกันมานาน นั่นคือ "รัฐบาลแห่งชาติ"


            โดยเงื่อนไขสำคัญอยู่ที่ตำแหน่ง "นายกรัฐมนตรี"


          ใคร...ควรจะก้าวเข้ามาเป็นนายกฯของรัฐบาลแห่งชาติ ???


          สูตรนี้มีลือกันหนาหูว่า "บรรหาร" ขอเป็นพระเอกในการเชิญพรรคประชาธิปัตย์ส่งคนเข้ามาร่วมรัฐบาล


            โดยสูตรนี้หลายฝ่ายเริ่มเห็นพ้องต้องกัน เพราะอย่างน้อยการได้บุคคลที่ประนีประนอมได้ของ "บรรหาร" น่าจะลดวิกฤตลงได้ระดับหนึ่ง


            แต่เงื่อนไขการเข้ามาของ "บรรหาร" ต้องเป็นสัญญาประชาคมว่าจะอยู่ไม่นาน


            ขณะเดียวกันก็ถือโอกาสอาศัยความสำเร็จของ "บรรหาร" ในการเป็นเจ้าภาพแก้รัฐธรรมนูญ 2540 เป็นคนคุมเกมแก้รัฐธรรมนูญอีกครั้ง ก่อนจะยุบสภาเพื่อให้มีเลือกตั้งใหม่


            พร้อมกับเปิดทางให้ฝ่าย "พันธมิตรฯ" มาร่วมแก้ไขรัฐธรรมนูญ


            สูตรนี้ว่ากันว่าเป็นไปได้สูงมาก เพราะ "บรรหาร" ประกาศหักดิบ "นายใหญ่" เรียบร้อยแล้ว หากเกิดเบี้ยวขึ้นมาดื้อๆ


http://www.oknation.net/blog/darknews/2008/09/09/entry-2
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: