ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
29-03-2024, 21:12
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  คำสั่งลับ..จาก " นายใหญ่ " = สมัคร ต้องไม่ผิด ...!! 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
คำสั่งลับ..จาก " นายใหญ่ " = สมัคร ต้องไม่ผิด ...!!  (อ่าน 3357 ครั้ง)
SpecialForce
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 40



« เมื่อ: 09-09-2008, 14:46 »


คำสั่งสายตรงจาก นายใหญ่..." ให้คำวินิจฉัยออกมาว่า สมัครต้องไม่มีความผิด "

.... ซึ่ง ทีมทนายชุด "เหล่" ชี้ทางออกให้ศาลรัฐธรรมนูญว่า

  1." สมัครไม่ใช่ลูกจ้าง  "
  2. " พิธีกร  ไม่ใช่ตำแหน่งที่มีอยู่ในบริษัท "

ดังนั้น  จึงมีคำวินิจฉัยว่า  นายสมัคร จึงไม่มีความผิดตามคำฟ้อง ให้มติออกมา " เอกฉันท์ "

หมายเหตุ :::

ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ตัดสินในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ จึงสามารถวิจารณ์คำวินิฉัยได้โดยไม่มีความผิดใด ๆ
และ ในอดีต สมัคร และรัฐบาล ก็ไม่เคารพ หรือ ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมาแล้ว ในคดีหวยบนดิน ว่ารัฐบาลผิด

....โดยเฉพาะ ปัจจุบัน นายสมัครได้ทำ "ปฏิว้ติเงียบ" ประกาศภาวะฉุกเฉิน ดังนั้น ศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่มีอำนาจใด ๆ ในการตัดสินคดีการเมืองทั้งสิ้น ซึ่งปรากฏอยู่ในบทบัญญัติของ พรก.ฉุกเฉินฯ ชัดเจนแล้ว

ดังนั้น ไม่ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยอย่างไร ก็ไร้ความหมายทางกฏหมาย ไม่มีอำนาจบังคับโดยสิ้นเชิง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09-09-2008, 16:35 โดย SpecialForce » บันทึกการเข้า

..My Life on my hand..
ลูกหินฮะ๛
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,099


เสียเข็มขัด อย่าเสียกุงเกง


« ตอบ #1 เมื่อ: 09-09-2008, 14:52 »

เอ่อ...
 
พี่ ตั้งชื่อ หัวข้อกระทู้ ผิด... แล้วหล่ะฮะ

อาแม๊ว มะด๊าย อยู่ลอนดอน.. ขณะนี้ ฮะ

วันก่อน. เพิ่งไป อาฟริกา กะ น้องลิเดีย ..อ่ะ
 
บันทึกการเข้า

  ... ... ... 
กุหลาบดำ
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 303



« ตอบ #2 เมื่อ: 09-09-2008, 14:52 »

หรือว่าที่ต้องเลื่อนเวลาออกไปจากบ่ายสอง เป็นสามโมงครึ่ง เป็นเพราะคำสั่งลับ ก็เลยตกลงกันยังไม่ได้

บันทึกการเข้า
SpecialForce
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 40



« ตอบ #3 เมื่อ: 09-09-2008, 14:59 »

คุณ ลูกหินฮะ๛

แก้ให้แล้วนะ ... ขอบคุณมากสำหรับข่าว
บันทึกการเข้า

..My Life on my hand..
น้องแบ๊งค์เองครับ
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 800


« ตอบ #4 เมื่อ: 09-09-2008, 15:06 »

เพ้อเจ้อป่าวพี่

ถ้านายใหญ่มีน้ำยา

นายหญิงไม่โดนลากเข้าตารางหรอก

ศาล รธน มีทั้งอาจารย์จรัล อาจารย์ วสันต์ รอดยากนะ
บันทึกการเข้า
สวิส
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 78


« ตอบ #5 เมื่อ: 09-09-2008, 15:12 »

ฝั่งนายใหญ่ ไม่มีใครผิดอยู่แล้วนิ ทำอะไรถูกหมด แต่ถ้าสมัครรอด ผมว่าไม่เอกฉันทน์นะ 
บันทึกการเข้า
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #6 เมื่อ: 09-09-2008, 15:14 »

ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ตัดสินในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ จึงสามารถวิจารณ์คำวินิฉัยได้โดยไม่มีความผิดใด

X X X X X X X X X ผิดค่ะ 
บันทึกการเข้า
SpecialForce
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 40



« ตอบ #7 เมื่อ: 09-09-2008, 15:28 »

ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ตัดสินในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ จึงสามารถวิจารณ์คำวินิฉัยได้โดยไม่มีความผิดใด

X X X X X X X X X ผิดค่ะ 

....เพียงแค่หนูพรรณ เขียนไม่กี่ตัว ก็รู้ว่าหนูพรรณไม่ได้อยู่ในแวดวงนักกฏหมาย จึงไม่รู้ถึงความแตกต่างระหว่างคำว่า " ในพระปรมาภิไธย " หมายความว่าอย่างไร ? สงสัยก็ไปสอบถามท่านผู้พิพากษาที่เนติบัณฑิตยสภา ดูนะ... หนูพรรณ !! เพราะตอนช่วงอาหารกลางวัน.. ส่วนใหญ่ที่ลงจากบัลลังก์ก็จะมากันที่นี่แหละ !!

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09-09-2008, 16:51 โดย SpecialForce » บันทึกการเข้า

..My Life on my hand..
wincha
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 123


« ตอบ #8 เมื่อ: 09-09-2008, 15:38 »

ลําปางหนาวมาก ^^
บันทึกการเข้า

"ความดีของมนุษย์จะสิ้นสุดลงเมื่อมาเป็นนักการเมือง" อริสโตเติ้ล
wincha
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 123


« ตอบ #9 เมื่อ: 09-09-2008, 15:39 »

เอ่อ..เข้าเรื่อง

 

ไหนใครว่ามีโพย มีโพย 8:1 ไง
ดูดิ๊  ตามโพยป่าวเนี่ย

 

คนบอกนี่โคดหมิ่นศาลเลย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09-09-2008, 15:41 โดย wincha » บันทึกการเข้า

"ความดีของมนุษย์จะสิ้นสุดลงเมื่อมาเป็นนักการเมือง" อริสโตเติ้ล
boyk
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,477



« ตอบ #10 เมื่อ: 09-09-2008, 15:43 »

ศาลเริ่มอ่านคำพิพากษาด้วยประโยค

 "ในพระปรมาภิไธยของฯ..."
บันทึกการเข้า

ไล่งับคนโกง ตอกฝาโลงไม่ให้เกิด
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #11 เมื่อ: 09-09-2008, 15:48 »

....เพียงแค่หนูพรรณ เขียนไม่กี่ตัว ก็รู้ว่าหนูพรรณไม่ได้อยู่ในแวดวงนักกฏหมาย จึงไม่รู้ถึงความแตกต่างระหว่างคำว่า " ในพระปรมาภิไธย " หมายความว่าอย่างไร ? สงสัยก็ไปสอบถามท่านผู้พิพากษาที่เนติบัณฑิตยสภา ดูนะ... หนูพรรณ !!

... แต่จริง  ๆ แล้ว หนูพรรณ เนี่ยะเป็นคนที่หัวไวนะ...." ไวขนาด ความฉลาดวิ่งตามไม่ทัน..." เป็นความสามารถเฉพาะตัวห้ามลอกเลียนแบบ

พิมพ์คำตอบ ในขณะที่ศาลกำลังอ่านคำพิพากษา และอ่านชัดเจนว่า ในพระปรมาภิไทยของพระมหากษัตริย์

เดี๋ยวมีคำพิพากษาเป็นลายลักษณ์อักษรมาแล้ว จะนำมาให้ดูนะคะ ถ้าไม่ลืม 

หรือคอยดูตามหน้าหนังสือพิมพ์ก็ได้ค่ะ พรุ่งนี้หรือบ่ายนี้ ลงทุกฉบับ 

ไม่ได้อยู่ในแวดวงนักกฏหมาย จริงๆค่ะ    ทายแม้นแม่นนนน 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09-09-2008, 15:50 โดย พรรณชมพู » บันทึกการเข้า
ริวเซย์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4,637


Worrior in The Blue Armor


เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 09-09-2008, 15:59 »

ผมไม่เชื่อครับว่านายใหญ่จะสั่งศาลได้

เหมือนกรณีถุงขนม2ล้านไงครับ

บันทึกการเข้า

ถ้ามีแฟนแบบนี้เอาไหมครับ^^


watson
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 393


« ตอบ #13 เมื่อ: 09-09-2008, 16:04 »

สมัครใหม่เข้ามากระทู้แรกก็โชว์ระดับสติปัญญาออกมาให้เห็นเลย

ลีลาการเขียนก็พอจะอนุมานได้ว่าอยู่สำนักเดียวกับยัยแฮ็กจอมเพ้อเจ้ออะไรนั่น (หรืออาจจะเป็นคนเดียวกันก็ไม่รู้)

สงสัยว่าเดี่ยวนี้ รพ ศรีธัญญา เขาอนุญาตให้ผู้ป่วยเล่นเน็ตได้อย่างอิสระแล้วเหรอ
บันทึกการเข้า
ท้าวอภิมหาอัครเทพอลังการ
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 258



« ตอบ #14 เมื่อ: 09-09-2008, 16:09 »

....เพียงแค่หนูพรรณ เขียนไม่กี่ตัว ก็รู้ว่าหนูพรรณไม่ได้อยู่ในแวดวงนักกฏหมาย จึงไม่รู้ถึงความแตกต่างระหว่างคำว่า " ในพระปรมาภิไธย " หมายความว่าอย่างไร ? สงสัยก็ไปสอบถามท่านผู้พิพากษาที่เนติบัณฑิตยสภา ดูนะ... หนูพรรณ !!

1. ตกลงในพระปรมาภิไธยเนี่ย แตกต่างจากอะไร? จะโชว์ภูมิรู้ก็เขียนให้มันจบๆหน่อย

2. ถ้าจะถามผู้พิพากษา ก็ไปที่ศาล ไปทำไมที่เนติบัณฑิตยสภา แต่ถ้าบอกว่าไปสอบถาม"นักฏหมาย"ที่เนติบัณฑิตยสภา แบบนี้ยังดูมีความรู้กว่านะ เพราะที่เนติบัณฑิตยสภา ไม่ได้มีแค่ผู้พิพากษาที่มาเป็นผู้บรรยาย หรือ กรรมการ แต่มีทั้ง อัยการ ทนายความ ตำรวจ และบุคลากรด้านกฏหมายจากองค์กรภาครัฐและเอกชน

... แต่จริง  ๆ แล้ว หนูพรรณ เนี่ยะเป็นคนที่หัวไวนะ...." ไวขนาด ความฉลาดวิ่งตามไม่ทัน..." เป็นความสามารถเฉพาะตัวห้ามลอกเลียนแบบ

บันทึกการเข้า
เอกราช
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 826


กับคนที่ไร้ซึ่งจริยธรรม ยังจะสามารถสมาคมด้วยหรือ


« ตอบ #15 เมื่อ: 09-09-2008, 16:20 »

สมัครใหม่เข้ามากระทู้แรกก็โชว์ระดับสติปัญญาออกมาให้เห็นเลย

ลีลาการเขียนก็พอจะอนุมานได้ว่าอยู่สำนักเดียวกับยัยแฮ็กจอมเพ้อเจ้ออะไรนั่น (หรืออาจจะเป็นคนเดียวกันก็ไม่รู้)

สงสัยว่าเดี่ยวนี้ รพ ศรีธัญญา เขาอนุญาตให้ผู้ป่วยเล่นเน็ตได้อย่างอิสระแล้วเหรอ

SpecialForce เขาไม่ใช่อย่างที่คุณเข้าใจ  ลองถามเขาเรื่องเกี่ยวกับวงการทหารดิ  เขามีคำตอบที่น่าสนใจทีเดียว ถ้ายอมตอบให้ข้อมูลที่แท้จริง
ว่าแล้วก็ขอถามหน่อย 
ท่านมีความเห็นเกี่ยวกับ เสธ.แดง อย่างไร
ตามลิ้งค์
http://forum.serithai.net/index.php?topic=34430.0

ขอถามอีกข้อครับ
มีข่าวว่าทางกองทัพมีหลักฐานว่า
มีนายทหารระดับสูงเป็นผู้ยิงปืน
ในวันที่ พันธมิตร ปะทะกับ ผู้รุกราน นปช.
ไม่ทราบว่าข่าวเชื่อถือได้ระดับไหน
ช่วยเล่าแจ้งแถลงไขให้น้องๆหลานๆรับทราบด้วย



บันทึกการเข้า

สภาพดินฟ้าอากาศที่ได้เปรียบมิสู้มีชัยภูมิที่มั่นคง
ชัยภูมิที่เป็นเลิศมิอาจเทียบได้กับความมีน้ำหนึ่งใจเดียวของผู้คน
天时不如地利,地利不如人和
vorapoap
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 512



เว็บไซต์
« ตอบ #16 เมื่อ: 09-09-2008, 16:21 »

สิ้นสุดลงแล้ววววววววววววววววววววว
บันทึกการเข้า

ooo
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 670


« ตอบ #17 เมื่อ: 09-09-2008, 16:22 »

เพิ่งรู้เหมือนกันนะเนี่ยว่าผู้พิพากษา เขาไปอยู่ที่เนติบัณทิตยสภา...

หรือว่า เขาไปเรียน เนฯ ทบทวนความรู้กันหว่า


เอางี้ ดีกว่า มาทายกันว่า ใครจะให้สมัครตกเก้าอี้บ้าง...

ผมว่า อ.วสันต์ นี่ละแน่นอน
บันทึกการเข้า
SpecialForce
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 40



« ตอบ #18 เมื่อ: 09-09-2008, 16:49 »

คุณพรรณชมพู
    กรณีเรื่องศาลรัฐธรรมนูญ " ไม่ได้ตัดสินในพระปรมาภิไธย " เนื่องจาก

1. " พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นสถาบันอันอยู่เหนือการเมือง จึงมิอาจเกี่ยวข้องใด ๆ ทางการเมือง ทั้งทางตรงและทางอ้อมได้  "
2. กรณีที่ตัดสินในพระปรมาภิไธย เช่น แพ่ง อาญา อย่างนี้ใช่ จะมีบทลงโทษ และ ผู้พิพากษานั้นสามารถให้ผู้กล่าวคำผรุสวาทต่อหน้าบัลลังก์เข้าคุกเสียก่อนก็ได้ ในขณะเบิกความ(อธิบายให้ชาวบ้านเข้าใจ...ว่ากันง่าย ๆ ไม่ใช้ภาษากฏหมาย) และเมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้ว ผู้ที่ถูกตัดสินให้มีความผิด หรือ ต้องรับโทษ จะต้องปฏิบัติตาม โดยไม่มีข้อแม้ หากไม่ปฏิบัติตามก็มีความผิดซ้ำซ้อนขึ้นอีก แต่จะเห็นว่า เมื่อครั้งก่อนศาลรัฐธรรมนูญได้พิพากษาให้ "รัฐบาล" และ "บุคคลในรัฐบาล" มีความผิด เรื่องหวยบนดิน ซึ่งความจริงนายสมัครและคณะต้องพ้นสภาพตามคำวินิจฉัยไปแล้ว แต่นายสมัคร และ คณะก็ไม่ได้ปฏิบัติตาม และก็ ไม่มีบทลงโทษผู้ไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัย ซึ่งแตกต่างจาก ศาลสถิตยุติธรรม อย่างเห็นได้ชัด

ในกรณีการตัดสินคดี " กินไป - บ่นไป " ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า นายสมัคร มีความผิดต้องพ้นสภาพนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีต้องพ้นสภาพไป อันที่จริงไม่มีผลใด ๆ จากคำวินิจฉัยเลยแม้แต่น้อย

เพราะศาลรัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ฯ จึงอยู่ภายใต้การประกาศ พรก.ฉุกเฉินฯ ดังนั้นอำนาจการตัดสินคดีความจึงต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติแห่ง พรก.ฉุกเฉินฯ ซึ่งได้กำหนดไว้ แม้แต่ศาลปกครองสูงสุดก็อยู่ในสภาพเดียวกัน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09-09-2008, 17:17 โดย SpecialForce » บันทึกการเข้า

..My Life on my hand..
Sweet Chin Music
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,613



« ตอบ #19 เมื่อ: 09-09-2008, 17:22 »

คุณพรรณชมพู
    กรณีเรื่องศาลรัฐธรรมนูญ " ไม่ได้ตัดสินในพระปรมาภิไธย " เนื่องจาก

1. " พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นสถาบันอันอยู่เหนือการเมือง จึงมิอาจเกี่ยวข้องใด ๆ ทางการเมือง ทั้งทางตรงและทางอ้อมได้  "
2. กรณีที่ตัดสินในพระปรมาภิไธย เช่น แพ่ง อาญา อย่างนี้ใช่ จะมีบทลงโทษ และ ผู้พิพากษานั้นสามารถให้ผู้กล่าวคำผรุสวาทต่อหน้าบัลลังก์เข้าคุกเสียก่อนก็ได้ ในขณะเบิกความ(อธิบายให้ชาวบ้านเข้าใจ...ว่ากันง่าย ๆ ไม่ใช้ภาษากฏหมาย) และเมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้ว ผู้ที่ถูกตัดสินให้มีความผิด หรือ ต้องรับโทษ จะต้องปฏิบัติตาม โดยไม่มีข้อแม้ หากไม่ปฏิบัติตามก็มีความผิดซ้ำซ้อนขึ้นอีก แต่จะเห็นว่า เมื่อครั้งก่อนศาลรัฐธรรมนูญได้พิพากษาให้ "รัฐบาล" และ "บุคคลในรัฐบาล" มีความผิด เรื่องหวยบนดิน ซึ่งความจริงนายสมัครและคณะต้องพ้นสภาพตามคำวินิจฉัยไปแล้ว แต่นายสมัคร และ คณะก็ไม่ได้ปฏิบัติตาม และก็ ไม่มีบทลงโทษผู้ไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัย ซึ่งแตกต่างจาก ศาลสถิตยุติธรรม อย่างเห็นได้ชัด

ในกรณีการตัดสินคดี " กินไป - บ่นไป " ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า นายสมัคร มีความผิดต้องพ้นสภาพนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีต้องพ้นสภาพไป อันที่จริงไม่มีผลใด ๆ จากคำวินิจฉัยเลยแม้แต่น้อย

เพราะศาลรัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ฯ จึงอยู่ภายใต้การประกาศ พรก.ฉุกเฉินฯ ดังนั้นอำนาจการตัดสินคดีความจึงต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติแห่ง พรก.ฉุกเฉินฯ ซึ่งได้กำหนดไว้ แม้แต่ศาลปกครองสูงสุดก็อยู่ในสภาพเดียวกัน


- - - มรึงจะบ้าไปแล้ว เอาอะไรมาพูดว่า ศาลต้องอยู่ภายใต้ พรก. ฉุกเฉิน ???

ศาลรัฐธรรมนูญเกิดมาจาก ตัวรัฐธรรมนูญนะครับ พรก. มันเป็นแค่กฎหมายลูก จะออกมาไปทำลาย รธน. ได้อย่างไีร

และให้กลับไปอ่าน พรก. ฉุกเฉินดีๆด้วยว่า มันมีมาตราอะไรที่บอกว่า ให้ศาลอยู่ใต้ พรก. ฉุกเฉินนี้

- - - อีกอย่างหนึ่งที่ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่มีบทลงโทษก็เพราะว่า ไม่ใช่ศาลอาญานะสิ ที่จะมีอำนาจลงโทษผู้กระทำความผิดได้

นี่มันเกี่ยวกับเรื่อง อำนาจของศาล จริงๆแล้ว แค่ทำผิดรัฐธรรมนูญไม่ต้องรอให้ศาลบอกให้ออกหรอก ถ้าผู้นำมีสำนึก ลาออกไปตั้งนานแล้ว

แต่ประเทศไทยนี่พวกหน้าด้านเยอะ โดนศาลตัดสินว่าผิด มันยังกลับมานั่งหน้าตาเฉย ถุยยยยยย

- - - ส่วนประเด็นของการตัดสินภายใต้พระปรมาภิไธยนั้น ก็มาจาก "พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจอธิปไตยผ่านสามทางคือ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ"

ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญ ก็เช่นเดียวกับศาลอื่นๆที่เป็นตัวแทนของพระมหากษัตริย์ ใช้อำนาจอธิปไตยของพระองค์ท่าน ในฐานะที่ตัวเองเป็นผู้พิพากษา หรือ ตุลาการ

สิ่งที่ยืนยันได้อีกอย่างหนึ่งก็คือ ก่อนจะรับตำแหน่ง ต้องได้รับการโปรดเกล้าฯ จากพระองค์ท่านทั้งนั้น แล้วแบบนี้จะบอกว่าไม่ได้ตัดสินตามพระบรมาภิไธยได้อย่างไร?
บันทึกการเข้า


You'll Never Walk Alone
เข้าไปกันได้ค๊าป- - - >http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=sweetchinmusic&group=1
ท้าวอภิมหาอัครเทพอลังการ
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 258



« ตอบ #20 เมื่อ: 09-09-2008, 17:41 »

คุณพรรณชมพู
    กรณีเรื่องศาลรัฐธรรมนูญ " ไม่ได้ตัดสินในพระปรมาภิไธย " เนื่องจาก

1. " พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นสถาบันอันอยู่เหนือการเมือง จึงมิอาจเกี่ยวข้องใด ๆ ทางการเมือง ทั้งทางตรงและทางอ้อมได้  "

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต้องเข้าเฝ้าเพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณต่อหน้าพระพักตร์เหมือนกับ ผู้พิพากษาศาลสถิตยุติธรรม และ ตุลาการศาลปกครอง

2. กรณีที่ตัดสินในพระปรมาภิไธย เช่น แพ่ง อาญา อย่างนี้ใช่ จะมีบทลงโทษ และ ผู้พิพากษานั้นสามารถให้ผู้กล่าวคำผรุสวาทต่อหน้าบัลลังก์เข้าคุกเสียก่อนก็ได้ ในขณะเบิกความ(อธิบายให้ชาวบ้านเข้าใจ...ว่ากันง่าย ๆ ไม่ใช้ภาษากฏหมาย) และเมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้ว ผู้ที่ถูกตัดสินให้มีความผิด หรือ ต้องรับโทษ จะต้องปฏิบัติตาม โดยไม่มีข้อแม้ หากไม่ปฏิบัติตามก็มีความผิดซ้ำซ้อนขึ้นอีก แต่จะเห็นว่า เมื่อครั้งก่อนศาลรัฐธรรมนูญได้พิพากษาให้ "รัฐบาล" และ "บุคคลในรัฐบาล" มีความผิด เรื่องหวยบนดิน ซึ่งความจริงนายสมัครและคณะต้องพ้นสภาพตามคำวินิจฉัยไปแล้ว แต่นายสมัคร และ คณะก็ไม่ได้ปฏิบัติตาม และก็ ไม่มีบทลงโทษผู้ไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัย ซึ่งแตกต่างจาก ศาลสถิตยุติธรรม อย่างเห็นได้ชัด

1. คำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญเป็นลักษณะของคำวินิจฉัย ไม่มีบทลงโทษ เพราะรัฐธรรมนูญไม่ได้มีบทลงโทษ บทลงโทษจากการละเมิดรัฐธรรมนูญ มีอยู่ในกฏหมายประกอบรัฐธรรมนูญอื่นๆ และในกฏหมายทั่วไปฉบับอื่นๆ ผู้ส่งเรื่องให้ศาลลตีความต้องเอาคำตัดสินไปร้องต่อศาลอื่นๆเอง ดังนั้นการวิพากษ์วิจารณ์ศาลรัฐธรรมนูญจึงสามารถกระทำได้ เพราะคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญเป็นคำวินิจฉัย ที่ตีความตามบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ แต่การด่าศาลต่อหน้าบัลลังก์ด้วยถ้อยคำหยาบคาย หรือดูหมิ่นให้เสียหาย ศาลรัฐธรรมนูญสามารถดำเนินคดีกับบุคคลผู้นั้นได้

2. กรณีหวยบนดิน ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้รับฟ้อง ซึ่งมีผลให้ "ครม ชุดดังกล่าวต้องหยุดการทำหน้าที่" แต่ครมชุดนั้นส่วนใหญ่โดนเข้าบ้าน 111 เหลือเพียงสามหน่อที่ยังมาร่วม ครม ชุดนี้ ซึ่ง ยังเปนปัญหาว่าพ้นจาก ครม ชุดนั้นไปแล้ว จะยังต้องพักงานอีกหรือไม่


ในกรณีการตัดสินคดี " กินไป - บ่นไป " ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า นายสมัคร มีความผิดต้องพ้นสภาพนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีต้องพ้นสภาพไป อันที่จริงไม่มีผลใด ๆ จากคำวินิจฉัยเลยแม้แต่น้อย

สมัคร และ ครม จะไม่ปฏิบัติตามก็ได้ แต่ข้อหาละเมิดบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ สามารถส่งฟ้องศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ คดีนี้ถึงคุก

เพราะศาลรัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ฯ จึงอยู่ภายใต้การประกาศ พรก.ฉุกเฉินฯ ดังนั้นอำนาจการตัดสินคดีความจึงต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติแห่ง พรก.ฉุกเฉินฯ ซึ่งได้กำหนดไว้ แม้แต่ศาลปกครองสูงสุดก็อยู่ในสภาพเดียวกัน

คุณกำลังสับสนระหว่าง ประกาศกฏอัยการศึก กับบ พรก บริการราชการแผ่นดินในภาวะฉุกเฉินรึเปล่า
บันทึกการเข้า
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #21 เมื่อ: 09-09-2008, 18:00 »

คุณพรรณชมพู
    กรณีเรื่องศาลรัฐธรรมนูญ " ไม่ได้ตัดสินในพระปรมาภิไธย " เนื่องจาก

1. " พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นสถาบันอันอยู่เหนือการเมือง จึงมิอาจเกี่ยวข้องใด ๆ ทางการเมือง ทั้งทางตรงและทางอ้อมได้  "
2. กรณีที่ตัดสินในพระปรมาภิไธย เช่น แพ่ง อาญา อย่างนี้ใช่ จะมีบทลงโทษ และ ผู้พิพากษานั้นสามารถให้ผู้กล่าวคำผรุสวาทต่อหน้าบัลลังก์เข้าคุกเสียก่อนก็ได้ ในขณะเบิกความ(อธิบายให้ชาวบ้านเข้าใจ...ว่ากันง่าย ๆ ไม่ใช้ภาษากฏหมาย) และเมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้ว ผู้ที่ถูกตัดสินให้มีความผิด หรือ ต้องรับโทษ จะต้องปฏิบัติตาม โดยไม่มีข้อแม้ หากไม่ปฏิบัติตามก็มีความผิดซ้ำซ้อนขึ้นอีก แต่จะเห็นว่า เมื่อครั้งก่อนศาลรัฐธรรมนูญได้พิพากษาให้ "รัฐบาล" และ "บุคคลในรัฐบาล" มีความผิด เรื่องหวยบนดิน ซึ่งความจริงนายสมัครและคณะต้องพ้นสภาพตามคำวินิจฉัยไปแล้ว แต่นายสมัคร และ คณะก็ไม่ได้ปฏิบัติตาม และก็ ไม่มีบทลงโทษผู้ไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัย ซึ่งแตกต่างจาก ศาลสถิตยุติธรรม อย่างเห็นได้ชัด

ในกรณีการตัดสินคดี " กินไป - บ่นไป " ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า นายสมัคร มีความผิดต้องพ้นสภาพนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีต้องพ้นสภาพไป อันที่จริงไม่มีผลใด ๆ จากคำวินิจฉัยเลยแม้แต่น้อย

เพราะศาลรัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ฯ จึงอยู่ภายใต้การประกาศ พรก.ฉุกเฉินฯ ดังนั้นอำนาจการตัดสินคดีความจึงต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติแห่ง พรก.ฉุกเฉินฯ ซึ่งได้กำหนดไว้ แม้แต่ศาลปกครองสูงสุดก็อยู่ในสภาพเดียวกัน

กรณีที่คุณกล่าวมานั้น กรุณาไป " ไปสอบถามท่านผู้พิพากษาที่เนติบัณฑิตยสภา ดูนะ.

ส่วนอีกกรณีหนึ่ง 

อ้างถึง
ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ตัดสินในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์
จึงสามารถวิจารณ์คำวินิฉัยได้โดยไม่มีความผิดใด

วันเดียวกับที่สมัครชะตาขาดนี้ มีคำตัดสินจำคุก นาวาเอก ประสงค์ สุ่นศิริ ในข้อหา วิจารณ์คำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญ ในคดีซุกหุ้นของ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร

ข่าวยังไม่ลงสื่อ พรุ่งนี้ก็คงได้อ่านกัน

กรณีนี้ก็  กรุณาไป " ไปสอบถามท่านผู้พิพากษาที่เนติบัณฑิตยสภา ดูนะ.
บันทึกการเข้า
boyk
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,477



« ตอบ #22 เมื่อ: 09-09-2008, 18:13 »

จริงๆข่าวมาแล้วคับ แต่พอดีมีเรื่องอื่นสำคัญกว่า

ก็เอามาให้อ่านกัน

--------------------------------------------------------------------------------------------

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจำคุก 1 ปี รอลงอาญา 2 ปี "ประสงค์" หมิ่นศาล
 11:04 น.


ศาลอาญารัชดา นัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ในคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญาเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กับพวก รวม 5 คน เป็นจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา จากกรณีเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2542 จำเลยได้ร่วมกันลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์แนวหน้า และร่วมกันดูหมิ่นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในการตัดสินให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พ้นผิดในคดีซุกหุ้น

โดยศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาให้จำคุกจำเลยที่ 1 และ 2 เป็นเวลา 1 ปี ปรับ 7,000 บาท ส่วนโทษจำคุกให้รอลงอาญาเป็นเวลา 1 ปี ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุมปรึกษากันแล้วเห็นว่า จำเลยที่ 1 และ 2 จงใจเขียนบทความหมิ่นประมาทตุลาการศาลรัฐธรรมนูญให้เสียชื่อเสียงจริง แต่บทความดังกล่าวไม่หยาบคาย และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงที่ศาลชั้นต้นพิพากษานั้นชอบแล้ว แต่เห็นควรให้เพิ่มการกำหนดโทษรอลงอาญา จาก 1 ปี เป็น 2 ปี คงจำคุกจำเลยที่ 1 และ 2 เป็นเวลา 1 ปี ปรับ 7,000 บาท ส่วนโทษจำคุกให้รอลงอาญาเป็นเวลา 2 ปี
 
 
 
บันทึกการเข้า

ไล่งับคนโกง ตอกฝาโลงไม่ให้เกิด
Tuba ✿゚✎..✿.。.:。ღ
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 660


ทักษิณที่ดี คือทักษิณที่.......ตายแล้ว


« ตอบ #23 เมื่อ: 09-09-2008, 18:23 »

จริงๆข่าวมาแล้วคับ แต่พอดีมีเรื่องอื่นสำคัญกว่า

ก็เอามาให้อ่านกัน

--------------------------------------------------------------------------------------------

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจำคุก 1 ปี รอลงอาญา 2 ปี "ประสงค์" หมิ่นศาล
 11:04 น.


ศาลอาญารัชดา นัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ในคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญาเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กับพวก รวม 5 คน เป็นจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา จากกรณีเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2542 จำเลยได้ร่วมกันลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์แนวหน้า และร่วมกันดูหมิ่นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในการตัดสินให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พ้นผิดในคดีซุกหุ้น

โดยศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาให้จำคุกจำเลยที่ 1 และ 2 เป็นเวลา 1 ปี ปรับ 7,000 บาท ส่วนโทษจำคุกให้รอลงอาญาเป็นเวลา 1 ปี ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุมปรึกษากันแล้วเห็นว่า จำเลยที่ 1 และ 2 จงใจเขียนบทความหมิ่นประมาทตุลาการศาลรัฐธรรมนูญให้เสียชื่อเสียงจริง แต่บทความดังกล่าวไม่หยาบคาย และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงที่ศาลชั้นต้นพิพากษานั้นชอบแล้ว แต่เห็นควรให้เพิ่มการกำหนดโทษรอลงอาญา จาก 1 ปี เป็น 2 ปี คงจำคุกจำเลยที่ 1 และ 2 เป็นเวลา 1 ปี ปรับ 7,000 บาท ส่วนโทษจำคุกให้รอลงอาญาเป็นเวลา 2 ปี
 
 
 


กรณีนี้ เป็นกรณีหมิ่นประมาทศาลฯ ซึ่งเป็นคนละกรณีกับ ดูหมิ่นศาลที่คุณ SpecialForce พูดถึงมั้งครับ
บันทึกการเข้า

ทหาร เป็นอะไรก็ไม่ได้ดี นอกจากเป็นทหาร

ตำรวจ เป็นอะไรก็ดีไม่ได้ แม้กระทั่งเป็นตำรวจ
SpecialForce
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 40



« ตอบ #24 เมื่อ: 09-09-2008, 18:41 »

ขอบคุณ คุณ Boyk  ที่Post นะ จะได้เห็นกัน จะ จะ ถึงความแตกต่าง ระหว่าง การหมิ่นศาลสถิตย์ยุติธรรม(แพ่ง-อาญา) กับ การหมิ่นศาลรัฐธรรมนูญ มีความแตกต่างกันอย่างไร ? (ซึ่งชาวบ้านทั่วไปไม่ค่อยทราบ)

.............................................
1. ศาลสถิตย์ยุติธรรม คือ ศาลแพ่ง ศาลอาญา ศาลเยาวชน (ศาลที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับคดีการเมือง มาจากสายงานยุติธรรมโดยตรง ผ่านเนติฯ ผ่านการสอบเป็นผู้พิพากษา ก่อนจึงโปรดเกล้า ฯ) ศาลเหล่านี้เป็นศาลที่ทำการในพระปรมาภิไธย พระมหากษัตริย์ ผู้ใดจะล่วงละเมิด หรือ วิจารณ์คำพิพากษาของศาลมิได้(เป็นความผิดเกี่ยวกับตุลาการมีบทลงโทษทางอาญา จำคุก หรือ ปรับ=ไปเปิดดู ป.อาญา) ไม่ว่าจะมีการปฏิวัติ-รัฐประหารกี่ร้อยครั้ง ผู้พิพากษายังคงทำหน้าที่ต่อไปไม่มีหมดอายุ นอกจากเกษียร

2. ศาลอันเกี่ยวเนื่องด้วยการเมือง คือ ศาลปกครอง ศาลฏีกาฝ่ายการเมือง ศาลรัฐธรรมนูญ(เกี่ยวข้องกับการเมือง มาจากการสรรหา-แต่งตั้ง ก่อนจึงโปรดเกล้าฯ ...) ศาลเหล่านี้ตั้งขึ้นโดยอาศัยอำนาจทางการเมือง และรัฐธรรมนูญ เมื่อมีการยกเลิกรัฐธรรมนูญ หรือ ปฏิวัติ-รัฐประหาร ก็เปลี่ยนตัวบุคคลที่จะมาทำหน้าที่เป็นคณะผู้พิพากษา

3. กรณีที่คุณพรรณชมพู ได้ยกตัวอย่างกล่าวถึง ดดี นต.ประสงค์ นั้น หากพิจารณาให้ดีจะเห็นว่าเป็นการฟ้องตามประมวลกฏหมายอาญาลหุโทษ ว่าด้วย "หมิ่นประมาท" ทั่ว ๆ ไป ไม่ใช่ฟ้องในข้อหาหมิ่นตุลาการ(ผู้พิพากษา) ซึ่งคนละฐานความผิด คนละมาตรา

....ในกรณีที่มีผู้อ้างถึงเรื่องโปรดเกล้าฯ แล้วจะเป็นการทำการในพระปรมาภิไธย นั้น ...คงเป็นการเข้าใจสับสน เพราะการโปรดเกล้าฯ และพระราชทานโอวาทนั้น มีอยู่ทุกระดับของข้าราชการ แม้แต่ นักเรียน เสนาธิการทหาร, ทูต ฯลฯ ทรงโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง และพระราชทานวโรกาสให้เข้าเฝ้า พระราชทานพระบรมราโชวาท ทั้งสิ้น แต่ทั้งนี้มิได้หมายถึงว่า ท่านเหล่านั้นทำการในพระปรมาภิไธย เฉกเช่น "ท่านผู้พิพากษา-ตุลาการ" (ตามข้อ 1)
 
....ที่ยิ่งไปกว่านั้น เครื่องแบบ ตราประทับ รวมทั้งแบบบัตรประจำตัว เอกสารงานราชการ ทุกอย่างที่เป็นระบบศาลสถิตย์ยุติธรรม(ตามข้อ1) จะมี พรบ.รองรับ ระบุ ขนาด สัดส่วนเฉพาะไว้ว่า สีอะไร มีอักษรข้อความอย่างไร
.... แต่ยังไม่ปรากฏ พรบ.ที่ออกมารองรับ เครื่องแบบ ตรา บัตรประจำตัวของศาลรัฐธรรมนูญ ดังเช่นข้าราชการศาลดังที่กล่าวตามข้อ1
""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ความจริง เป็นเรื่องภายในที่รู้ ๆ กันอยู่ แต่ที่ให้เกียรติศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ไปก้าวล่วงก็เพราะว่าส่วนใหญ่ ก็เป็นอดีตท่านผู้พิพากษา เคยทำหน้าที่ในศาลสถิตยุติธรรม(ตาม1) กันมาแล้วทั้งสิ้น เปรียบง่าย ๆ เหมือนกับว่า ศาลรัฐธรรมนูญคือกำนัน หรือ ผู้ใหญ่บ้าน มีหน้าที่บอกลูกบ้านว่าถูกหรือผิด ส่วนลูกบ้านจะทำตามหรือไม่ ? ก็ทำอะไรไม่ได้  แต่ศาลสถิตยุติธรรม(ตาม 1) เปรียบเหมือนตำรวจ จับได้เลย เอาเข้าซังเตไว้ก่อนได้ ...คิดว่าคงพอเข้าใจนะ

....ยังไง ก็ขอบคุณ แทนคนไทยอีกหลายล้านคน ที่ไม่รู้ในเรื่องเหล่านี้ ได้มีโอกาสเข้าใจในข้อมูลส่วนนี้ เนื่องจากท่านได้จุดประเด็นแย้งขึ้นมา

ขอขอบคุณด้วยใจจริง
บันทึกการเข้า

..My Life on my hand..
motherant
น้องใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2


« ตอบ #25 เมื่อ: 09-09-2008, 18:43 »

สะจาย สะจาย เพิ่งประกาศเมื่อคืนที่อุดร  ไม่ออก  ไม่ยุบ
บันทึกการเข้า
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #26 เมื่อ: 09-09-2008, 19:31 »

ขอบคุณ คุณ Boyk  ที่Post นะ จะได้เห็นกัน จะ จะ ถึงความแตกต่าง ระหว่าง การหมิ่นศาลสถิตย์ยุติธรรม(แพ่ง-อาญา) กับ การหมิ่นศาลรัฐธรรมนูญ มีความแตกต่างกันอย่างไร ? (ซึ่งชาวบ้านทั่วไปไม่ค่อยทราบ)

.............................................
1. ศาลสถิตย์ยุติธรรม คือ ศาลแพ่ง ศาลอาญา ศาลเยาวชน (ศาลที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับคดีการเมือง มาจากสายงานยุติธรรมโดยตรง ผ่านเนติฯ ผ่านการสอบเป็นผู้พิพากษา ก่อนจึงโปรดเกล้า ฯ) ศาลเหล่านี้เป็นศาลที่ทำการในพระปรมาภิไธย พระมหากษัตริย์ ผู้ใดจะล่วงละเมิด หรือ วิจารณ์คำพิพากษาของศาลมิได้(เป็นความผิดเกี่ยวกับตุลาการมีบทลงโทษทางอาญา จำคุก หรือ ปรับ=ไปเปิดดู ป.อาญา) ไม่ว่าจะมีการปฏิวัติ-รัฐประหารกี่ร้อยครั้ง ผู้พิพากษายังคงทำหน้าที่ต่อไปไม่มีหมดอายุ นอกจากเกษียร

2. ศาลอันเกี่ยวเนื่องด้วยการเมือง คือ ศาลปกครอง ศาลฏีกาฝ่ายการเมือง ศาลรัฐธรรมนูญ(เกี่ยวข้องกับการเมือง มาจากการสรรหา-แต่งตั้ง ก่อนจึงโปรดเกล้าฯ ...) ศาลเหล่านี้ตั้งขึ้นโดยอาศัยอำนาจทางการเมือง และรัฐธรรมนูญ เมื่อมีการยกเลิกรัฐธรรมนูญ หรือ ปฏิวัติ-รัฐประหาร ก็เปลี่ยนตัวบุคคลที่จะมาทำหน้าที่เป็นคณะผู้พิพากษา

3. กรณีที่คุณพรรณชมพู ได้ยกตัวอย่างกล่าวถึง ดดี นต.ประสงค์ นั้น หากพิจารณาให้ดีจะเห็นว่าเป็นการฟ้องตามประมวลกฏหมายอาญาลหุโทษ ว่าด้วย "หมิ่นประมาท" ทั่ว ๆ ไป ไม่ใช่ฟ้องในข้อหาหมิ่นตุลาการ(ผู้พิพากษา) ซึ่งคนละฐานความผิด คนละมาตรา

....ในกรณีที่มีผู้อ้างถึงเรื่องโปรดเกล้าฯ แล้วจะเป็นการทำการในพระปรมาภิไธย นั้น ...คงเป็นการเข้าใจสับสน เพราะการโปรดเกล้าฯ และพระราชทานโอวาทนั้น มีอยู่ทุกระดับของข้าราชการ แม้แต่ นักเรียน เสนาธิการทหาร, ทูต ฯลฯ ทรงโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง และพระราชทานวโรกาสให้เข้าเฝ้า พระราชทานพระบรมราโชวาท ทั้งสิ้น แต่ทั้งนี้มิได้หมายถึงว่า ท่านเหล่านั้นทำการในพระปรมาภิไธย เฉกเช่น "ท่านผู้พิพากษา-ตุลาการ" (ตามข้อ 1)
 
....ที่ยิ่งไปกว่านั้น เครื่องแบบ ตราประทับ รวมทั้งแบบบัตรประจำตัว เอกสารงานราชการ ทุกอย่างที่เป็นระบบศาลสถิตย์ยุติธรรม(ตามข้อ1) จะมี พรบ.รองรับ ระบุ ขนาด สัดส่วนเฉพาะไว้ว่า สีอะไร มีอักษรข้อความอย่างไร
.... แต่ยังไม่ปรากฏ พรบ.ที่ออกมารองรับ เครื่องแบบ ตรา บัตรประจำตัวของศาลรัฐธรรมนูญ ดังเช่นข้าราชการศาลดังที่กล่าวตามข้อ1
""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ความจริง เป็นเรื่องภายในที่รู้ ๆ กันอยู่ แต่ที่ให้เกียรติศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ไปก้าวล่วงก็เพราะว่าส่วนใหญ่ ก็เป็นอดีตท่านผู้พิพากษา เคยทำหน้าที่ในศาลสถิตยุติธรรม(ตาม1) กันมาแล้วทั้งสิ้น เปรียบง่าย ๆ เหมือนกับว่า ศาลรัฐธรรมนูญคือกำนัน หรือ ผู้ใหญ่บ้าน มีหน้าที่บอกลูกบ้านว่าถูกหรือผิด ส่วนลูกบ้านจะทำตามหรือไม่ ? ก็ทำอะไรไม่ได้  แต่ศาลสถิตยุติธรรม(ตาม 1) เปรียบเหมือนตำรวจ จับได้เลย เอาเข้าซังเตไว้ก่อนได้ ...คิดว่าคงพอเข้าใจนะ

....ยังไง ก็ขอบคุณ แทนคนไทยอีกหลายล้านคน ที่ไม่รู้ในเรื่องเหล่านี้ ได้มีโอกาสเข้าใจในข้อมูลส่วนนี้ เนื่องจากท่านได้จุดประเด็นแย้งขึ้นมา

ขอขอบคุณด้วยใจจริง


1. ศาลฎีกา ศาลอาญา ศาลแพ่ง  หรือศาลรัฐธรรมนูญ หรือศาลคดีเด็กและเยาวชน หรือศาลอื่นใดตามกระบวนการยุติธรรม จัดตั้งขึ้นภายใต้รัฐธรรมนูญทุกศาล และต้องมีกฎหมายรองรับการปฏิบัติหน้าที่ทุกศาล

2. การตัดสินของศาลทุกศาลที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ จะตัดสินภายใต้พระปรมาภิไทยฯ

3.การตัดสินคดีนายสมัครชิมไปบ่นไป ตัดสินภายใต้พระปรมาภิไทยฯ โดยตุลาการรัฐธรรมนูญ

4. ผู้พิพากษาหรือตุลาการ ในศาลดังที่กล่าวมาข้างต้น ไม่ว่าจะมาตามตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือการสรรหา ต้องได้รับการโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่ง และต้องถวายสัตย์ปฏิญาน

5. คำพิพากษาของศาลทุกศาลดังกล่าว ผู้ใดจะละเมิดมิได้

ค่อยๆอ่านนะคะ เข้าใจไม่ยากหรอกค่ะ 
บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #27 เมื่อ: 09-09-2008, 19:37 »

ที่บ้านไม่มีรัฐธรรมนูญอ่านเหรอครับ? 
----------------------------------------------------------------------------------------------------
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐/หมวด ๑๐

หมวด ๑๐ ศาล
ส่วนที่ ๑ บททั่วไป
มาตรา ๑๙๗
การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นอำนาจของศาลซึ่งต้องดำเนินการ ให้เป็นไปโดยยุติธรรม ตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย และในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์

ผู้พิพากษาและตุลาการมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปโดยถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย

การโยกย้ายผู้พิพากษาและตุลาการโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้พิพากษาและตุลาการนั้น จะกระทำมิได้ เว้นแต่เป็นการโยกย้ายตามวาระตามที่กฎหมายบัญญัติ เป็นการเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้น เป็นกรณีที่อยู่ในระหว่างถูกดำเนินการทางวินัยหรือตกเป็นจำเลยในคดีอาญา เป็นกรณีที่กระทบกระเทือน ต่อความยุติธรรมในการพิจารณาพิพากษาคดี หรือมีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นอื่นอันไม่อาจก้าวล่วงได้ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
ผู้พิพากษาและตุลาการจะเป็นข้าราชการการเมืองหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมิได้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09-09-2008, 20:05 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #28 เมื่อ: 09-09-2008, 19:41 »

เข้าใจว่า จขกท. สับสนระหว่าง ตุลาการรัฐธรรมนูญ ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ. 2549
กับ ศาลรัฐธรรมนูญ ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
คราวก่อนไม่ใช่ศาลแต่คราวนี้ใช่ครับ 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09-09-2008, 19:56 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #29 เมื่อ: 09-09-2008, 19:50 »


    กรณีเรื่องศาลรัฐธรรมนูญ " ไม่ได้ตัดสินในพระปรมาภิไธย " เนื่องจาก

1. " พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นสถาบันอันอยู่เหนือการเมือง จึงมิอาจเกี่ยวข้องใด ๆ ทางการเมือง ทั้งทางตรงและทางอ้อมได้  "


ความเห็นนี้ก็ผิดอีก.. ไปเปิดรัฐธรรมนูญดูนะครับ พระมหากษัตริย์ทรงเกี่ยวข้องกับทุกอำนาจทางการเมือง

เพราะทรงเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 ผ่านทาง รัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล

ที่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญสามารถวิจารณ์ได้ก็เพราะความจริงถือว่าเป็น องค์กรกึ่งศาล
คือมีตุลาการส่วนหนึ่งมาจากฝ่ายยุติธรรม อีกส่วนหนึ่งสรรหาโดยฝ่ายบริหาร จึงนับเป็นองค์กรกึ่งศาลครับ
ผมเอารัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 3 มาให้อ่านประกอบด้วยก็แล้วกัน 

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐/หมวด ๑

หมวดที่ ๑ บททั่วไป
มาตรา ๓

อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้

การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09-09-2008, 19:55 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
May The Force Be With You
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 331


ขอพลังสถิตย์กับท่าน


« ตอบ #30 เมื่อ: 09-09-2008, 19:57 »

....เพียงแค่หนูพรรณ เขียนไม่กี่ตัว ก็รู้ว่าหนูพรรณไม่ได้อยู่ในแวดวงนักกฏหมาย จึงไม่รู้ถึงความแตกต่างระหว่างคำว่า " ในพระปรมาภิไธย " หมายความว่าอย่างไร ? สงสัยก็ไปสอบถามท่านผู้พิพากษาที่เนติบัณฑิตยสภา ดูนะ... หนูพรรณ !! เพราะตอนช่วงอาหารกลางวัน.. ส่วนใหญ่ที่ลงจากบัลลังก์ก็จะมากันที่นี่แหละ !!



คุณSpecialForce  ขอโทษคุณพรรณชมพูหน่อยก็ดีนะครับ    เข้าใจผิดแล้วขอโทษผมว่าไม่เสียหายครับ
บันทึกการเข้า

"เจไดที่ฉลาดมากๆ คนหนึ่งเคยบอกข้าไว้ว่าเราไม่จำเป็นต้องชนะ แต่เราต้องสู้"
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #31 เมื่อ: 09-09-2008, 20:02 »

ในกรณีการตัดสินคดี " กินไป - บ่นไป " ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า นายสมัคร มีความผิดต้องพ้นสภาพนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีต้องพ้นสภาพไป อันที่จริงไม่มีผลใด ๆ จากคำวินิจฉัยเลยแม้แต่น้อย

เพราะศาลรัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ฯ จึงอยู่ภายใต้การประกาศ พรก.ฉุกเฉินฯ ดังนั้นอำนาจการตัดสินคดีความจึงต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติแห่ง พรก.ฉุกเฉินฯ ซึ่งได้กำหนดไว้ แม้แต่ศาลปกครองสูงสุดก็อยู่ในสภาพเดียวกัน

ความเห็นส่วนนี้ก็ผิดอีกนะครับ

เพราะ พรก.ฉุกเฉินฯ มีศักดิ์เป็นเพียงกฎหมายระดับรองที่ออกโดยฝ่ายบริหาร
ซึ่งจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้ จึงไม่มีผลลบล้างรัฐธรรมนูญครับ

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ
ผมเอา รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 216 มาให้อ่านประกอบด้วยก็แล้วกัน 

--------------------------------------------------------------------------------------------------

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐/หมวด ๑๐

หมวด ๑๐ ศาล
ส่วนที่ ๒ ศาลรัฐธรรมนูญ
มาตรา ๒๑๖

องค์คณะของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในการนั่งพิจารณาและในการทำ คำวินิจฉัย ต้องประกอบด้วยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่น้อยกว่าห้าคน คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ให้ถือเสียงข้างมาก เว้นแต่จะมีบัญญัติเป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญนี้

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นองค์คณะทุกคนจะต้องทำความเห็นในการวินิจฉัย ในส่วนของตนพร้อมแถลงด้วยวาจาต่อที่ประชุมก่อนการลงมติ

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญและความเห็นในการวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทุกคน ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญอย่างน้อยต้องประกอบด้วยความเป็นมาหรือคำกล่าวหา สรุปข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการพิจารณา เหตุผลในการวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย และบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่ยกขึ้นอ้างอิง

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ

วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09-09-2008, 20:07 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
บัวริมบึง
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 384


« ตอบ #32 เมื่อ: 09-09-2008, 20:17 »

สะจาย สะจาย เพิ่งประกาศเมื่อคืนที่อุดร  ไม่ออก  ไม่ยุบ
บอกไม่ออก ไม่ยุบ แต่เขาลืมบอกไปว่าอาจจะโดนศาลเชิญลงจากเก้าอี้ ครับ 
บันทึกการเข้า
ooo
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 670


« ตอบ #33 เมื่อ: 09-09-2008, 21:59 »

ผิดแล้ว พลาดแล้ว ยังไม่หยุด...

ดันทุรังต่อ ก็ยิ่งผิด ยิ่งพลาดมากขึ้น...

พฤติกรรมแบบนี้เหมือนใครหว่า...
บันทึกการเข้า
นักปฏิวัติ
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 330



« ตอบ #34 เมื่อ: 09-09-2008, 22:36 »

อ่านแล้วได้ความรู้ดีครับ โดยเฉพาะของ คุณจี มีอ้างอิงข้อกฏหมายชัดเจน ทำให้วิเคราะห์ได้ว่า ตรงไหนถูก ตรงไหนผิด

บันทึกการเข้า

"สุดยอดกลยุทธ์ คือชนะโดยไม่ต้องรบ" ซุนวู

"ผู้นำชั้นเลิศนั้น เพียงแต่เป็นที่รับรู้ว่ามีตัวตนอยู่
ชั้นรองลงมา เป็นที่รักและสรรเสริญ
ชั้นรองกว่านั้น เป็นที่เกรงกลัวและเกลียดชัง" เหล่าจื๊อ เต้าเต๋อจิง
ssa
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 68


« ตอบ #35 เมื่อ: 09-09-2008, 22:52 »

กระทู้จขกท.ตลกดี

55555

บันทึกการเข้า
ท้าวอภิมหาอัครเทพอลังการ
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 258



« ตอบ #36 เมื่อ: 09-09-2008, 22:59 »

เอามาให้จขกทอ่าน จาก http://www.pub-law.net/forum/q200.html
 
เวทีทรรศนะ และถาม-ตอบในปัญหากฎหมายมหาชน

ความหมายของ "ตุลาการ" และ "ผู้พิพากษา" 

             อยากจะถามว่า ตุลาการคือใคร ตุลาการมาจากที่ใด ความหมายของตุลาการ ตุลาการกับผู้พิพากษาต่างกันอย่างไร ทำไมจึงเรียกตุลาการ แล้วแต่ละตุลาการมีกฎหมาย หรือ ข้อบังคับใดรองรับบ้าง ขอบคุณครับ
ถามโดย :คุณ ด.ต.สำราญ อินเทพ

 
ตอบโดย :นายกล้า สมุทวณิช
เจ้าหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ 5 สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ

คำตอบ :
             คำว่า “ตุลาการ” มีสองความหมายใหญ่ๆ คือ “ตุลาการ” ที่มีความหมายอย่างกว้าง หมายถึงบุคคลผู้ใช้อำนาจตุลาการในการพิจารณาพิพากษาคดีในศาลทั้งหมด ดังที่ปรากฏในประมวลกฎหมายอาญา จะใช้ถ้อยคำเรียก “เจ้าพนักงานในตำแหน่งตุลาการ” แทนเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ใช้อำนาจตุลาการทั้งหมด ซึ่งรวมทั้งผู้พิพากษา และตุลาการ
             คำว่า “ผู้พิพากษา” นั้นจะใช้กับผู้พิพากษาศาลยุติธรรมเท่านั้น ส่วนของศาลปกครอง และศาลรัฐธรรมนูญจะใช้คำว่า “ตุลาการ” ซึ่งตุลาการในที่นี้เป็นความหมายอย่างแคบ คือหมายถึง "ผู้พิพากษา" ของสองศาลนี้เท่านั้น
             กฎหมายที่รับรองอำนาจของตุลาการศาลปกครองและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นอกจากรัฐธรรมนูญแล้ว ยังมีพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 หมวด 2 ทั้งหมวด โดยเฉพาะมาตรา 34 มาตรา 34 ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้ตุลาการศาลปกครองเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งตุลาการตามประมวลกฎหมายอาญา ส่วนของศาลรัฐธรรมนูญนั้นเนื่องจากไม่มีกฎหมายก่อตั้ง จึงถือตามรัฐธรรมนูญมาตรา 259 วรรค 3 ที่กำหนดให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นเจ้าพนักงานในการยุติธรรมตามกฎหมาย
             อนึ่ง ทั้งผู้พิพากษาและตุลาการนั้น จะพิจารณาพิพากษาคดีภายใต้พระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์เหมือนกัน 
บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #37 เมื่อ: 14-09-2008, 14:11 »


ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ตัดสินในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ จึงสามารถวิจารณ์คำวินิฉัยได้โดยไม่มีความผิดใด ๆ
และ ในอดีต สมัคร และรัฐบาล ก็ไม่เคารพ หรือ ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมาแล้ว ในคดีหวยบนดิน ว่ารัฐบาลผิด

....โดยเฉพาะ ปัจจุบัน นายสมัครได้ทำ "ปฏิว้ติเงียบ" ประกาศภาวะฉุกเฉิน ดังนั้น ศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่มีอำนาจใด ๆ ในการตัดสินคดีการเมืองทั้งสิ้น ซึ่งปรากฏอยู่ในบทบัญญัติของ พรก.ฉุกเฉินฯ ชัดเจนแล้ว

ดังนั้น ไม่ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยอย่างไร ก็ไร้ความหมายทางกฏหมาย ไม่มีอำนาจบังคับโดยสิ้นเชิง

กระทู้นี้เป็น ฟันธงที่ 5 ของคุณ SpecialForce ในเสรีไทยเว็บบอร์ด
โดยฟันธงว่า ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ตัดสินในพระปรมาภิไธยฯ

ความจริงก็ชัดเจนแล้วว่า ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินในพระปรมาภิไธยฯ
สรุปว่าฟันธงของคุณ SpecialForce ผิดติดต่อกันเป็นครั้งที่ 5 
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
หน้า: [1]
    กระโดดไป: