ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
25-04-2024, 14:54
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ==มี สว.ตัวจริงวิเคราะห์ว่า จะทำประชามติได้อาจต้องรออีก 7 เดือน== 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
==มี สว.ตัวจริงวิเคราะห์ว่า จะทำประชามติได้อาจต้องรออีก 7 เดือน==  (อ่าน 874 ครั้ง)
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« เมื่อ: 08-09-2008, 12:43 »

คุณคำนูญ สิทธิสมาน สว.ตัวจริง เขียนบทวิเคราะห์เงื่อนเวลาที่จะทำประชามติ
ว่าต้องใช้เวลาอีกหลายเดือน ไม่ได้ทำได้เร็วอย่างที่ นายกฯ สมัครออกมาพูด
ทำนองว่าวุฒิสภาช่วยผ่านกฎหมายอย่างรวดเร็ว

..คุณคำนูญสรุปตอนสุดท้ายว่าอาจต้องรอไปอีกถึง 7 เดือน..
ผมว่ากว่าจะถึงตอนนั้น คงไม่ต้องทำประชามติกันแล้ว 

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

‘ประชามติ’ ต้องรออีก 7 เดือน !??

โดย คำนูณ สิทธิสมาน   7 กันยายน 2551 12:20 น.


สั่งตำรวจไม่ได้จนต้องโยกย้ายตำรวจก็แล้ว อ้างคำสั่งศาลแพ่งก็ไม่ได้ผล จนศาลอุทธรณ์ยกเลิกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว
ต้องกลับมาสู่เกมมวลชนเพื่อเป็นข้ออ้างประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อให้ดาบให้ปืนทหาร แต่ทหารก็เก็บไว้ในฝักในซอง
ไม่ชักออกมาใช้ ล่าสุดรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งก็หันมาใช้สนามรบที่ตนเจนจัดที่สุดคือสนามเลือกตั้ง
       
          เสนอกลเกมลงประชามติเพื่อใช้สยบพันธมิตร !
       
          รัฐบาลคิดง่าย ๆ ว่าพวกตนมาจากเสียงข้างมากของประชาชนทั้งประเทศ หากระดมหาเสียงเต็มที่ ผลการลงประชามติ
ก็จะออกมาใกล้เคียงกับผลการเลือกตั้ง
       
          ไม่ได้คิดเลยว่าหนึ่งในสาเหตุสำคัญของวิกฤตการเมืองขณะนี้คือการเลือกตั้งที่ไม่บริสุทธิ์ไม่ยุติธรรม มีการใช้เงิน
จำนวนมหาศาลในการเลือกตั้งแต่ละครั้ง มิหนำซ้ำนวัตกรรมล่าสุดยังใช้นโยบายประชานิยมซื้อเสียงซื้อคะแนนนิยมอีกต่างหาก
       
          ไม่ได้คิดเลยว่าข้อเสนอการเมืองใหม่มาจากรากฐานการเลือกตั้งที่ไม่บริสุทธิ์ไม่ยุติธรรม
       
          เคราะห์ดีที่การลงประชามติไม่อาจจะทำได้ง่าย ๆ ในวันในพรุ่ง !!
       
          การลงประชามติหรือภาษารัฐธรรมนูญใช้ว่า “การออกเสียงประชามติ” บัญญัติอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2550 มาตรา 165 จะออกเสียงประชามติในการใดได้หรือไม่ได้แม้จะยังถกเถียงกันอยู่ แต่ประเด็นไม่สำคัญเท่ากับว่า
จะออกเสียงประชามติได้ก็ต่อเมื่อมี “พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ” เสียก่อนตามที่บัญญัติไว้
ในมาตรานี้วรรค 6
       
          พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติเพิ่งผ่านความเห็นชอบขึ้นมาจากสภาผู้แทนราษฎร
ผ่านการพิจารณาวาระที่ 1 ในวุฒิสภาเมื่อวันศุกร์ที่ 5 กันยายน 2550 ที่ผ่านมา

          เครือข่ายรัฐบาลบางคนบอกว่าวุฒิสภาน่าจะพิจารณา 3 วาระรวด โดยใช้กรรมาธิการเต็มสภา ใช้เวลาสัก 3 วัน
ก็น่าจะเรียบร้อย เพื่อให้บ้านเมืองมีทางออก
       
          น่าเสียดายแทนที่เป็นไปไม่ได้ เพราะร่างกฎหมายฉบับนี้มีความยาวถึง 45 มาตรา มีรายละเอียดต้องพิจารณา
โดยละเอียดรอบคอบ ไม่มีใครบ้องตื้นพิจารณา 3 วาระรวดหรอก
       
          วุฒิสภาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญจำนวน 29 คนเพื่อพิจารณาในวาระที่ 2 กำหนดแล้วเสร็จภายใน 90 วัน
       
          กำหนดเวลา 90 วันนี้ รัฐธรรมนูญมาตรา 302 วรรค 4 และวรรค 6 บัญญัติไว้ !
       
          ดูเหมือนนายกรัฐมนตรีทำให้ผู้คนสับสน โดยพูดว่าวุฒิสภาให้ความร่วมมือ กำหนดวันแปรญัตติไว้ 7 วัน
คาดว่าจะเสร็จในเวลาไม่นานเกินไป
       
          ควรเข้าใจว่ากำหนดวันแปรญัตติ 7 วันนั้นเป็นไปตามข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา เป็นช่วงเวลาที่เปิดโอกาสให้
สมาชิกวุฒิสภาที่ไม่ใช่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้เสนอขอแก้ไขรายละเอียดที่ไม่ใช่หลักการ
ในมาตราต่าง ๆ เข้ามา
       
          เมื่อพ้นกำหนด 7 วัน สมาชิกวุฒิสภาทั่วไปจะเสนอแก้ไขไม่ได้ ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมาธิการวิสามัญ
ที่จะพิจารณาเรียงรายมาตรา ทั้งเนื้อหาเดิม เนื้อหาที่สมาชิกวุฒิสภาเสนอแก้ไข และเนื้อหาที่กรรมาธิ การจะพิจารณาแก้ไขเอง
จากนั้นเมื่อเสร็จเรียบร้อย จึงเชิญสมาชิกวุฒิสภาที่เสนอแก้ไขเข้ามารับฟังเป็นรายบุค คล ถ้าผู้เสนอแก้ไขไม่ติดใจ ก็จะยอมรับ
ร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านมือคณะกรรมาธิการวิสามัญ ถ้าไม่พอใจก็จะสงวนความเห็นของตนไว้อภิปรายโต้แย้งในที่ประชุมวุฒิสภา
ในวาระที่ 2 ที่จะพิจารณาเรียงลำดับรายมาตราต่อไป
       
          ผมเชื่อว่ากำหนดเวลา 90 วันก่อนวุฒิสภาผ่านมติในวาระที่ 3 จะใช้กันเต็มแน่
       
          ต้องบอกว่า 90 วันสำหรับการพิจารณาร่างกฎหมายวาระที่ 2 นี่ถือว่าเป็นเวลาเร่งรัดเต็มที่แล้ว
ปกติ ร่างกฎหมายความยาวประมาณนี้ใช้เวลาประมาณ 180 วันหรือ 6 เดือน
       
          จากนั้นยังไม่จบ !
       
          แม้จะผ่านวุฒิสภาแล้ว ก็ยังต้องผ่านขั้นตอนส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาโดยมีกำหนดเวลาไว้ 30 วัน
       
          เป็นข้อกำหนดปกติของ “ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ” โดยทั่วไปตามมาตรา 141
       
          สรุปว่าใช้เวลาไปแล้ว 90 + 30 = 120 วัน
       
          จากนั้นจึงถึงขั้นตอนส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อให้นายกรัฐมนตรีนำร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฉบับนี้
ขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ภายใน 20 วัน แต่จะพระราชทานลงมาเมื่อใดไม่อาจกำหนดเวลาได้
       
          โดยปกติขั้นตอนนี้จะเผื่อเวลาไว้ประมาณ 30 วัน
       
          สรุปว่าใช้เวลาทั้งหมดกว่ากฎหมายจะมีผลใช้บังคับ 90 + 30 + 30 = 150 วัน !
       
          นี่หมายถึงขั้นตอนปกตินะ
       
          อาจมีขั้นตอนไม่ปกติเพิ่มเข้ามาอีก หากในชั้นพิจารณาของวุฒิสภามีการแก้ไขผิดแผกแตกต่างออกไปสภาผู้แทนราษฎร
และเมื่อส่งร่างกลับไปให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาตามปกติทั่วไปแล้ว สภาผู้แทนราษฎรไม่เห็นด้วย ก็จะต้องตั้ง
คณะกรรมาธิการร่วม 2 สภาขึ้นพิจารณาอีกระยะหนึ่ง
       
          ซึ่งไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ เพราะมีแนวโน้มว่าวุฒิสภาจะเสนอแก้ไขกันมากใน 2 ประเด็น
       
          ประเด็นหนึ่ง – ขอให้ประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งมีสิทธิเป็นผู้ริเริ่มเสนอให้มีการออกเสียงประชามติด้วย
แทนที่เป็นรัฐบาลฝ่ายเดียว

       
          ประเด็นนี้ คุณรสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. อภิปรายแสดงเจตนารมณ์ไว้แล้ว
       
          อีกประเด็นหนึ่ง – เสนอเพิ่มรายละเอียดประเด็น “ให้ข้อมูลอย่างเพียงพอ” และ “ให้บุคคลฝ่ายที่เห็นชอบและไม่เห็นชอบ
มีโอกาสแสดงความคิดเห็นของตนได้อย่างเท่าเทียมกัน” ให้ชัดเจนเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น เพราะตามร่างฯเดิมมีบัญญัติไว้กว้าง ๆ
เพียงมาตราเดียว

       
          ประเด็นนี้ ทั้งคุณวรินทร์ เทียมจรัส และคุณสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ส.ว.สรรหา ก็ได้อภิปรายแสดงเจต นารมณ์ไว้ชัดเจนเช่นกัน
       
          เฉพาะ 2 ประเด็นนี้ สมมติวุฒิสภาผ่านในวาระที่ 2 – 3 สภาผู้แทนราษฎรจะเห็นด้วยหรือไม่ ?
       
          จะต้องมีกรรมาธิการร่วม 2 สภาหรือไม่ ?
       
          จาก 150 วันเดิมอาจจะต้องบวกเพิ่มเข้าไปอีก 30 – 60 วันเป็น 180 - 210 วัน !
       
          ถ้าเป็น 210 วัน...ก็เท่ากับ 7 เดือนอย่างที่ผมจั่วหัวไว้ !!
       
          นี่หมายถึงในกรณีตั้งกรรมาธิการร่วม 2 สภาแล้วผลออกมาเห็นพ้องต้องกันทั้ง 2 สภานะ ถ้าเกิดสภาใดสภาหนึ่ง
ไม่เห็นพ้องด้วย ก็จะต้องยับยั้งไว้ก่อน แล้วรอเวลาอีก 180 วัน สภาผู้แทนราษฎรจึงจะหยิบยกขึ้นมาพิจารณายืนยันได้
       
          หนทางออกเสียงประชามติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 165 ไม่สามารถจะทำในวันในพรุ่ง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08-09-2008, 12:49 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
-3-
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,186


« ตอบ #1 เมื่อ: 08-09-2008, 13:08 »

ผมว่างบประมาณ 52 ผ่าน ลุงหมักก็ไปแล้วล่ะ... 
บันทึกการเข้า



ประชาธิปไตยตัดสินความต้องการได้ แต่ตัดสินความถูกต้องไม่ได้!!
สวิส
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 78


« ตอบ #2 เมื่อ: 08-09-2008, 13:11 »

ประชามติก็แค่การสับขาหลอก ซื้อเวลาไปวันๆล่ะครับ มุกเก่าเหมือนตอนจะแก้ รธน.

วงในตอนนี้ได้ข่าวว่า รมต. หลายคนเริ่มถอดใจแล้ว สีข้างแต่ละคนถลอกปอกเปิกกัน

หมดแล้ว 
บันทึกการเข้า
protecter
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 465


« ตอบ #3 เมื่อ: 08-09-2008, 13:22 »

จะทำได้ภายใน 1 เดือน หรือ 7 เดือน ก็ไม่ควรทำทั้งนั้น
นอกจากจะผิด รธน แล้ว ยังไม่มีใครยอมรับผลของประชามติ
เนื่องจาก น้อยคนที่จะเชื่อใจได้ว่า จะไม่มีการซื้อเสียง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีรัฐบาลที่ขี้โกงอย่างงี้อยู่ในอำนาจ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: