ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
04-07-2025, 03:01
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  NBT สุดยอดสื่อ ได้ผ่านISOแล้ว วันนี้!! 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
NBT สุดยอดสื่อ ได้ผ่านISOแล้ว วันนี้!!  (อ่าน 953 ครั้ง)
istyle
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 853



« เมื่อ: 07-09-2008, 23:39 »

มีเดีย มอนิเตอร์ สำรวจฟรีทีวี 6ช่องเสนอข่าว เน้นความรุนแรง รายงานขาดความลึก NBTเอียงมากที่สุด

โครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะ ของสังคม สำรวจการรายงานข่าวเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองในฟรีทีวี (3,5,7,9,NBT และ TPBS) พบสื่อฟรีทีวีเน้นภาพข่าวความรุนแรงรายงานข่าวเกาะติด ต่อเนื่องแต่ยังขาดความลึก รอบด้าน เอ็นบีทีเน้นรายงานข่าวฝั่งรัฐบาลมากกว่าพันธมิตร

จากเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่เข้ารวมตัวชุมนุมในพื้นที่ทำเนียบรัฐบาล กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการคลัง และสถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีในช่วงเช้าวันอังคารที่ 26 สิงหาคม 2551 สื่อมวลชนทุกแขนงได้ให้ความสนใจต่อเหตุการณ์การชุมนุมดังกล่าวเป็นอย่างมาก สื่อโทรทัศน์เน้นเกาะติดรายงานสถานการณ์ดังกล่าวอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิด

 

ภาพข่าวการบุกรุกสถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีโดยกลุ่มผู้ชุมนุม การพังทลายรั้วเหล็กและการเข้ามาควบคุมเจ้าหน้าที่ ภาพการทำลายอาคารสถานที่ถูกนำเสนอผ่านในสื่อฟรีทีวีทุกช่องโดยพร้อมเพรียง กัน ต่อเนื่องกันนั้นก็มีภาพการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯที่หลั่งไหลเข้ามาในสถาน ที่ราชการและท้องถนน


จากนั้น นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีได้เรียกร้องให้สื่อเลือกข้าง ว่าจะยืนอยู่ข้างรัฐบาลหรือข้างพันธมิตร  ปฏิกิริยาจากฝั่งสมาคมวิชาชีพสื่อ ต่อคำสัมภาษณ์ดังกล่าว ถูกสื่อสารออกมาทันทีต่อทัศนคติของนายกรัฐมนตรีว่าสื่อไม่สามารถเลือกข้าง ได้และองค์กรสื่อไม่เห็นด้วยกับข้อเรียกร้องและท่าทีดังกล่าวของนายก รัฐมนตรี เพราะเป็นความคิดและทัศนคติที่ไม่ถูกต้องสอดคล้องกับหลักการในการทำหน้าที่ ของสื่อมวลชนที่จะต้องนำเสนอข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นอย่างรอบด้าน


ในทางกลับ หากสื่อมวลชนทำหน้าที่รายงานข่าวที่บิดเบือนข้อเท็จจริง หรือยอมตนเป็นเครื่องมือการปลุกระดมของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ก็ยิ่งจะทำให้เกิดการเผชิญหน้าในสังคมและอาจนำเหตุการณ์ไปสู่ความรุนแรงได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายในสังคมไทยไม่ต้องการให้เกิดขึ้น


สำหรับข้อเสนอให้มีการเลือกข้างนั้น ขอยืนยันว่า สื่อมวลชนทุกแขนงเลือกอยู่ข้างประชาชนและความถูกต้องอยู่แล้ว แต่ไม่จำเป็นต้องเสนอข่าวไปในทิศทางเดียวกัน

 

ด้วยตระหนักในคุณค่า และความสำคัญของสื่อมวลชน ในการรายงานเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง และเพื่อนำเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการทำงานของฟรีทีวี งานศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อสำรวจสัดส่วนเวลา, ปริมาณเนื้อหาการรายงานข่าวสถานการณ์ทางการเมือง และเพื่อวิเคราะห์การรายงานข่าวในประเด็น ความสมดุล, ความเป็นธรรม, และความเป็นกลางตลอดจนกการนำเสนอภาพความรุนแรง ด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)

 

ผลการศึกษาพบสิ่งที่น่าสนใจ 6 ประเด็นดังนี้

 

1.สัดส่วนเนื้อหาข่าวเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง


พบว่าสถานโทรทัศน์ที่ให้ความสำคัญกับการ รายงานข่าวเหตุการณ์ชุมนุม พิจารณาจากเวลาการออกอากาศที่ให้กับรายการข่าว รายการคุยข่าว วิเคราะห์ข่าวและรายการสนทนา เรียงลำดับจากมากไปน้อยคือ
อันดับ 1 ช่อง เอ็นบีที คือ 12 ชั่วโมง 32 นาที (ออกอากาศ 24 ชั่วโมงต่อวัน)
อันดับ 2 ช่อง ทีวีไทย คือ 9 ชั่วโมง 2 นาที 45 วินาที (ออกอากาศ 19 ชั่วโมง 45 นาทีต่อวัน)
อันดับ 3 ช่อง 9 คือ คือ 6 ชั่วโมง 20 นาที 16 วินาที (ออกอากาศ 24 ชั่วโมงต่อวัน)
อันดับ 4 ช่อง 7 คือ คือ 3 ชั่วโมง 15 นาที 43 วินาที (ออกอากาศ 24 ชั่วโมงต่อวัน)
อันดับ 5 ช่อง 3 คือ คือ 2 ชั่วโมง 35 นาที 51 วินาที (ออกอากาศ 24 ชั่วโมงต่อวัน)
อันดับ 6 ช่อง 5 คือ คือ 1 ชั่วโมง 13 นาที 33 วินาที (ออกอากาศ 24 ชั่วโมงต่อวัน)


2.ประเด็นของเนื้อหาข่าวที่รายงาน


พบว่าสื่อฟรีทีวีโดยมากเน้นการรายงานข่าวในระดับปรากฏการณ์มากกว่าสาระสำคัญ-ที่มาของเหตุการณ์

รายงานข่าวเน้นความต่อเนื่องของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตลอดทั้งวัน และพบว่า สถานีโทรทัศน์ฟรีทีวีทุกช่องเน้นข่าวประเด็นความรุนแรงของการเข้าควบคุมยึด สถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีเป็นหลัก รองลงมาคือประเด็นการเข้าชุมนุมในพื้นที่ทำเนียบรัฐบาล กระทรวงและหน่วยงานรัฐตลอดและพื้นที่ภูมิภาคต่างๆ ประเด็นแนวทางการแก้ปัญหารัฐบาลที่มีต่อการเคลื่อนไหวของพันธมิตร ประเด็นเรื่องการใช้กำลังตำรวจเข้าควบคุมสถานการณ์ ประเด็นเกาะติดสถานการณ์ความคืบหน้าการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรว่า ประเด็นบรรยากาศการชุมนุมและการจราจรพื้นที่โดยรอบ


ประเด็นอื่นๆ ได้แก่เรื่องความคิดเห็นของนักวิชาการ อาจารย์ ประชาชน ประเด็นแถลงการณ์ของพรรคประชาธิปัตย์ และองค์กรวิชาชีพสื่อ ประเด็นท่าทีของนายสมัครต่อการอธิบายความสื่อต่างประเทศ และประเด็นผลกระทบต่อเศรษฐกิจ

 

3. ความสมดุล ความเป็นกลาง ความเป็นธรรมของการรายงานข่าว


พบว่าการรายงานข่าวโดยรวมค่อนข้างมีความสมดุล – เป็นธรรมดี ยกเว้นสถานีโทรทัศน์ช่องเอ็นบีที ที่มักให้พื้นที่ข่าวแก่ฝ่ายรัฐบาลและพนักงานเอ็นบีทีมากกว่าแหล่งข่าวฝ่าย อื่นๆ


การรายงานข่าวโดยมากเน้นใช้ผู้สื่อข่าวเป็นผู้สรุปเหตุการณ์ ทั้งในห้องส่งและผู้สื่อข่าวภาคสนาม โดยมีภาพข่าวประกอบเรื่องเล่า อย่างไรก็ตามหากมีภาพและเสียงของแหล่งข่าวประกอบเนื้อหาข่าวก็พบแหล่งข่าว จากฝั่งรัฐบาลมากกว่าฝั่งพันธมิตร โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรี นายสมัคร สุนทรเวช ข้าราชการทหาร-ตำรวจระดับผู้บัญชาการ ข้าราชการ – ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้สื่อข่าว – นักข่าวจากสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที ซึ่งให้ความเห็นไปในทิศทางเดียวกันกับรัฐบาล และแทบไม่มีภาพข่าวการให้สัมภาษณ์ของแกนนำพันธมิตร ฯ โดยมากเป็นการฉายภาพแกนนำที่ปราศัยบนเวที
พรรคฝ่ายค้าน – ประชาธิปัตย์ ก็ปรากฏภาพข่าวและเสียงของแหล่งข่าวในระดับที่น้อยกว่ามากแหล่งข่าวฝ่ายที่ 3 โดยมากมักเป็นนักวิชาการ อาจารย์ นักลงทุน ผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจ พระสงฆ์ ตัวแทนสมาคมวิชาชีพสื่อ เป็นต้น

 

เมื่อพิจารณาความเป็นกลาง พบว่า สถานีโทรทัศน์ช่องที่ค่อนข้างขาดความเป็นกลางมากที่สุดคือสถานีโทรทัศน์ช่อง เอ็นบีที โดยพบว่าในการรายงานข่าวพิธีกรข่าวมักแสดงอคติและแสดงความรู้สึกส่วนตัวออก มาอย่างรุนแรง และหลายความคิดเห็นก็เป็นการชี้นำความคิดของผู้ชมด้วย เช่น


• การตั้งคำถามชี้นำ ให้ผู้ถูกถามตอบแทนสิ่งที่ตัวเองอยากจะพูด
• “คำว่าคุกคามสื่อ ใช้ได้หรือไม่ครับ”
• อย่างนี้เป็นการเมืองภาคประชาชนหรือเปล่า”
• เหตุการณ์มันสุกงอมจนทำให้มาถึงเหตุการณ์เช่นนี้แล้วหรือ”
• รัฐธรรมนูญมีความสำคัญอย่างไรครับ... เขียนมาแล้วคนไม่เคารพจะมีประโยชน์อะไร”
• “กฎหมายฉุกเฉินจำเป็นต้องใช้หรือยัง”
• “นักลงทุนก็ตกใจด้วยใช่มั้ย ถ้าดูจากราคาหุ้น”


หรือการใส่ความคิดเห็นลงไปในข่าว
• “บ้านเมืองสงบสุขมาสองร้อยกว่าปี ตั้งแต่สมัยกรุงศรีฯ”
•  “ให้ผู้ชมใช้วิจารณญาณในการรับชมข่าวสาร สิ่งใดถูกต้องตามกฎหมาย สิ่งใดผิดกฎหมาย”
•  “คนไทยที่บอกว่าจะกู้ชาติ ก็ให้ดูนะคะว่าอะไร ตอนนี้ไม่ใช่กู้ชาติแล้วล่ะ”
•  “อย่างนี้ผิดแน่นอนค่ะ”


และการตั้งชื่อรายการ การเกาะติดรายงานสถานการณ์ตลอดทั้งวันว่า “รายงานสถานการณ์พันธมิตรฯ  ยึดเมือง!” ขณะที่สถานีโทรทัศน์ช่องอื่นใช้คำที่หลีกเลี่ยงอคติ เช่น สถานีโทรทัศน์ช่อง 7 ใช้คำว่า “เกาะติดสถานการณ์พันธมิตรกดดันรัฐบาล” เป็นต้น


 

4. การอธิบายความหมายของข่าว


พบว่าสถานีโทรทัศน์ที่ค่อนข้างมีการอธิบายความหมายของข่าวในเชิงลึก ที่โดดเด่นคือสถานีโทรทัศน์ช่อง ทีวีไทย และช่อง 9  เนื่องจากมีรายงานพิเศษที่แทรกในรายการข่าวอยู่ตลอด เช่น รายงานพิเศษเรื่องการคุกคามสื่อ ความคิดเห็นของนักเรียนในบริเวณใกล้เคียง การเตรียมความพร้อมทางการแพทย์ วิเคราะห์สถานการณ์แพร่ภาพเอ็นบีที ความคิดเห็นของนักวิชาการด้านสื่อต่อการยึดเอ็นบีทีขณะที่รายงานพิเศษของ ช่องเอ็นบีทีนั้น มีลักษณะมุ่งโจมตีกลุ่มพันธมิตรมากกว่าที่จะให้ข้อมูลอย่างรอบด้าน


นอกจากนี้สถานีโทรทัศน์ช่อง ทีวีไทย ยังมีรายการสนทนา โดยมีนักวิชาการมาแสดงความคิดเห็นต่อการชุมนุม และรายการที่นี่ทีวีไทย (ในช่วงตอบโจทย์) ที่เชิญนักวิชาการมาพูดคุยอธิบาย-วิเคราะห์เหตุการณ์ โดยเน้นการตั้งคำถามเพื่อหาทางออก

 

5. การนำเสนอภาพความรุนแรง


พบว่าสถานีโทรทัศน์ฟรีทีวีทุกช่องเน้นนำเสนอภาพข่าวที่มีความรุนแรง เช่น ภาพชายฉกรรจ์เข้าบุกยึด NBT ภาพอาวุธยึดได้จากชายฉกรรจ์ ภาพของกลุ่มผู้ชุมนุมขณะพังประตูเหล็กในสถานที่ต่างๆ โดยเป็นภาพข่าวที่นำมาจากสถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีเป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีวิธีการรายงานข่าวโดยให้ความสำคัญกับเหตุการณ์ที่น่าจะเกิด ความรุนแรง เช่นการเผชิญหน้ากันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจและกลุ่มผู้ชุมนุม


พบว่าผู้ประกาศข่าวภาคสนาม มักรายงานข่าวด้วยท่าทีที่ปราศจากอารมณ์ ทั้งทางสีหน้าและแววตา ตลอดจนการใช้ภาษาข่าวที่ไม่ดุดัน ก้าวร้าว

 

6. การตั้งคำถามของนักข่าว


พบว่าการตั้งคำถามของนักข่าว – ผู้สื่อข่าว – ทั้งในห้องส่งและภาคสนามมีลักษณะที่ค่อนข้างดี แต่เป็นคำถามที่ต้องการข้อมูลเฉพาะหน้าของเหตุการณ์แบบนาที-ต่อนาที หรือถามคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ มีศูนย์กลางของคำถามอยู่ที่ความรุนแรง ทั้งใน 1) เชิงสนับสนุนความรุนแรงและ2 ) เชิงต่อต้านความรุนแรง (ซึ่งมีน้อยกว่า)
การ ตั้งคำถามที่ค่อนข้างชี้นำความคิดให้เลือกข้างหรือเพื่อสอบถามถึงความเห็น ด้วย-ไม่เห็นด้วยทางการเมือง คำถามที่ทำให้ผู้ตอบต้องเลือกข้างหรือสรุปความคิดเห็นทางการเมือง เป็นต้น

 

ข้อเสนอแนะต่อการรายงานข่าวของสื่อมวลชน


1) สื่อโทรทัศน์ควรให้ความสำคัญกับการรายงานข่าวเหตุการณ์ชุมนุมอย่าง ต่อเนื่อง ด้วยการแทรกรายงานข่าวตลอดเวลาทั้งรูปแบบรายการข่าวด่วน หรือการแทรกคำบรรยายข่าวบนพื้นที่ด้านล่างของหน้าจอโทรทัศน์ เป็นต้น


2) สื่อควรลดการนำเสนอข่าวที่เน้นประเด็นความรุนแรงของเหตุการณ์ ซึ่งอาจนำเสนอผ่านภาพข่าว ภาษาพูดที่ส่งสัญญาณความรุนแรงที่มีลักษณะซ้ำไปซ้ำมา หรือการเน้นให้เห็นภาพความรุนแรงของเหตุการณ์ เช่นภาพตำรวจปราบปรามประชาชน การรุมทำร้าย การใช้กำลังอื่นใดในการสลายม็อบทั้งต่อคนและสิ่งของหรือแม้กระทั่งการนำเสนอ ภาพตำรวจพร้อมอาวุธครบมือ ถ่ายให้เห็นภาพการวางกำลัง การตรวจตรา การสกัด การควบคุม นอกจากนี้การแสดงสีหน้า ท่าทาง ของผู้ประกาศข่าวก็ควรละเว้นการแสดงอารมณ์ความรู้สึก


3) ในการรายงานข่าวการสลายการชุมนุม สื่อควรนำเสนอข้อมูลอย่างรัดกุม ไม่ควรนำเสนอข้อมูลที่จะสร้างความตระหนกแก่สาธารณะชนแต่ควรสร้างความตระหนัก ในข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ นำเสนออย่างสร้างความเข้าใจ สร้างสรรค์ และสร้างสติให้กับสังคม


4) การตั้งคำถามของสื่อมวลชน ควรเป็นไปในลักษณะที่ไม่สร้างความแตกแยก เน้นคำถามที่หาทางออกของสถานการณ์ ถามเพื่อหาคำตอบเพื่อลดความรุนแรงของเหตุการณ์ ไม่ถามคำถามที่แสดงให้เห็นถึงสัญญาณของความรุนแรง เช่น “จะใช้มาตรการใดในการจัดการสลาย” ควรถามว่า “จะใช้วิธีการใดที่จะไม่ใช้ความรุนแรงกับลุ่มผู้ชมุนุม” เพื่อชี้ช่องทางให้ไม่เกิดความรุนแรง เป็นต้น


5) สื่อควรเน้นการรายงานข่าวที่ให้ข้อมูลอธิบายสาระสำคัญของเหตุการณ์ ที่เน้นการตอบคำถาม “ทำไม” (why?) มากกว่าเพียงการอธิบาย “ใคร-ทำอะไร-ที่ไหน-เมื่อไร-อย่างไร” ควรนำเอาข้อมูลในอดีต อธิบายพร้อมกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อชี้ให้เห็นแนวโน้มเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต


6) สื่อฟรีทีวีทั้งหมด ควรวางตนเป็นกลาง ปราศจากอคติ ไม่มีความลำเอียง ไม่ฝักใฝฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะ นำเสนอเฉพาะข้อเท็จจริงของข่าวอย่างรอบด้าน หลากหลาย และเป็นธรรม ไม่ควรชี้นำความคิดของผู้ชมให้ไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งโดยเฉพาะ
 
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1220624129&grpid=05&catid=01

 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08-09-2008, 00:10 โดย istyle » บันทึกการเข้า
SU5
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 87


« ตอบ #1 เมื่อ: 08-09-2008, 00:07 »

สำหรับข้อเสนอให้มีการเลือกข้างนั้น ขอยืนยันว่า สื่อมวลชนทุกแขนงเลือกอยู่ข้างประชาชนและความถูกต้องอยู่แล้ว แต่ไม่จำเป็นต้องเสนอข่าวไปในทิศทางเดียวกัน

 

ครับ!!  ความเห็นผมคือ สื่อสารมวลชน.....................ไม่มีสิทธิ์เลือกข้าง   ต้องนำเสนอแบบเป็นกลาง.....รอบด้าน.....ไม่เน้นวิชาการมาก...และ...ไม่เลือกข้างครับ...

...ยิ่งชาวบ้านที่เป็นชาวนาอีสาน...ทุกวันนี้มีสิทธิ์เสพได้แค่ละครน้ำเน่าเท่านั้นครับ...หนังสือพิมพ์ มีแต่รายปีเก่าๆครับ ( 10บาทมันแพง จริงๆ )

ทุกๆวันผมก็เสพข่าว ราคา 10บาท ได้แค่นั้นครับ
   
บันทึกการเข้า
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #2 เมื่อ: 08-09-2008, 00:12 »

 
สื่อมวลชน ต้องอยู่ข้างมวลชน


ถ้าอยู่ข้างรัฐบาล

ต้องเรียก สื่อมวลชน = สื่อรัฐบาล


บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
SU5
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 87


« ตอบ #3 เมื่อ: 08-09-2008, 00:19 »


สื่อมวลชน ต้องอยู่ข้างมวลชน


ถ้าอยู่ข้างรัฐบาล

ต้องเรียก สื่อมวลชน = สื่อรัฐบาล




เอ่่อๆๆๆ กระผมว่า ท่านเปลี่ยนโลโก้ดีกว่านะครับ   " ผมเกลียดแบบตาหาจุดโฟกัสตัวเองไม่ได้แบบนี้จังหง่ะ "  
บันทึกการเข้า
vorapoap
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 512



เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 08-09-2008, 00:22 »

มันผ่าน ISO ไงฟ้าาา ทางด้านปริมาณเหรอ 
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
    กระโดดไป: