ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
20-04-2024, 08:39
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  จากกองบัญชาการกองทัพไทย: ความคิดของทหารในช่วงเหตุการณ์วิกฤติ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
จากกองบัญชาการกองทัพไทย: ความคิดของทหารในช่วงเหตุการณ์วิกฤติ  (อ่าน 966 ครั้ง)
Hacksecrets
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 253



« เมื่อ: 06-09-2008, 20:54 »

ตามที่มีข่าวทั่วไป เกี่ยวกับการที่ นายกฯสมัคร สุนทรเวช ได้ออกมาปฏิเสธเกี่ยวกับ การยึดอำนาจเบ็ดเสร็จไว้แต่เพียงผู้เดียว อีกทั้งยังได้บอกกล่าวว่า อำนาจทั้งหมดอยู่ที่ พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา นั้น

หากพิจารณาจาก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ตามที่ได้ยกมาอ้างไว้ข้างต้นนั้น จะพบว่า พล.อ.อนุพงษ์ จะดำเนินการในด้านการบังคับบัญชาและสั่งการใดๆนั้น ต้องได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีกำหนดเท่านั้น

และในสถานการณ์ที่อยู่ในช่วงที่ พ.ร.ก.ฉุกเฉินได้ถูกประกาศใช้ กฎหมายที่สูงสุดคือ กฎหมายที่ถูกระบุ หรือกำหนดไว้ใน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เท่านั้น แม้กระทั่งกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ก็ไม่สามารถนำมาอ้างได้

พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ได้ถูกระบุไว้อย่างชัดเจนว่า การดำเนินการใดๆ ต้องได้รับมอบหมายตามที่นายกรัฐมนตรีกำหนด นั่นหมายถึงในประเทศนี้ นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดแต่เพียงผู้เดียว และสามารถที่จะออกคำสั่งให้กระทำการใดๆ กับใครในประเทศนี้ก็ได้

ด่วน!!!! ตามลิงค์ http://www.schq.mi.th/forum/viewtopic.php?f=6&t=295

บันทึกการเข้า

ความเคลือบแคลง สงสัย ก่อให้เกิดการค้นคว้าหาความจริง
ทางออกสุดท้าย
น้องใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4



« ตอบ #1 เมื่อ: 06-09-2008, 21:46 »



สะ......จาย โจ๋ ว่ะ

 
บันทึกการเข้า
ทางออกสุดท้าย
น้องใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4



« ตอบ #2 เมื่อ: 06-09-2008, 23:03 »

ไปลากมาให้อ่าน

ขอยกบางส่วนของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินที่ได้ประกาศในวันที่ 2 กันยายน 2551 ตามที่ปรากฎดังนี้

........................................................................................................................................
และคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 194/2551 เรื่อง แต่งตั้งหัวหน้าผู้รับผิดชอบและมอบหมายในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตท้องที่กรุงเทพมหานครแล้วนั้น อาศัยอำนาจตามมาตรา 7 วรรค 2 และวรรค 4 และมาตรา 10 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการ เกี่ยวกับการจำกัดสิทธิเสรีภาพบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 38 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 45 และมาตรา 63 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้ อาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้

ให้ ผู้บัญชาการทหารบก รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ แม่ทัพภาคที่1 เป็นรองหัวหน้าผู้รับผิดชอบการในแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน มีอำนาจในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินตามที่กำหนดไว้ ในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ดังนี้

1.บังคับบัญชาและสั่งการ ส่วนราชการและข้าราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการณ์ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

2.ดำเนินการอื่นๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีกำหนด หรือมอบหมาย ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

สั่ง ณ วันที่ 2 กันยายน 2551

........................................................................................................................................

ตามที่มีข่าวทั่วไป เกี่ยวกับการที่ นายกฯสมัคร สุนทรเวช ได้ออกมาปฏิเสธเกี่ยวกับ การยึดอำนาจเบ็ดเสร็จไว้แต่เพียงผู้เดียว อีกทั้งยังได้บอกกล่าวว่า อำนาจทั้งหมดอยู่ที่ พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา นั้น

หากพิจารณาจาก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ตามที่ได้ยกมาอ้างไว้ข้างต้นนั้น จะพบว่า พล.อ.อนุพงษ์ จะดำเนินการในด้านการบังคับบัญชาและสั่งการใดๆนั้น ต้องได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีกำหนดเท่านั้น

และในสถานการณ์ที่อยู่ในช่วงที่ พ.ร.ก.ฉุกเฉินได้ถูกประกาศใช้ กฎหมายที่สูงสุดคือ กฎหมายที่ถูกระบุ หรือกำหนดไว้ใน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เท่านั้น แม้กระทั่งกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ก็ไม่สามารถนำมาอ้างได้

พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ได้ถูกระบุไว้อย่างชัดเจนว่า การดำเนินการใดๆ ต้องได้รับมอบหมายตามที่นายกรัฐมนตรีกำหนด นั่นหมายถึงในประเทศนี้ นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดแต่เพียงผู้เดียว และสามารถที่จะออกคำสั่งให้กระทำการใดๆ กับใครในประเทศนี้ก็ได้

และตามที่ปรากฎใน พ.ร.ก.ฉุกเฉินที่ได้ประกาศเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2551 เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี

.............................................................................................

พ.ร.ก.อีกฉบับ 1 กำหนดอำนาจหน้าที่ของ ครม.ตามกฎหมาย เป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี ภายหลังมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขต กทม.ตามกฎหมายฉบับนี้ ให้รัฐมนตรี และ ครม.ให้มอบอำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวง โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตอนุมัติสั่งการ ตามบังคับบัญชาหรือแก้ไขป้องกัน ปราบปราม ระงับยับยั้ง สถานการณ์ฉุกเฉิน หรือช่วยเหลือประชาชนที่อยู่ในท้องที่ที่ประกาศภาวะฉุกเฉิน

โดยจะมีกฎหมาย 20 ฉบับ ดังนี้

1.พ.ร.บ.จัดระเบียบข้าการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2551
2.พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าน พ.ศ.2493
3.พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547
4.พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522
5. พ.ร.บ.ควบคุมโภคภัณฑ์ พ.ศ.2495
6. พ.ร.บ.ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ.2520
7.พ.ร.บ.ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ.2522
8.พ.ร.บ.ควบคุมอาหาร พ.ศ.2522
9.พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณา โดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ.2493
10.พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535
11.พ.ร.บ.การจราจรทางบก พ.ศ. 2522
12.พ.ร.บ.การสุรา พ.ศ.2493
13.พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522
14.พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535
15.พ.ร.บ.วัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ.2485
16.พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490
17.พ.ร.บ.การเนรเทศ พ.ศ.2499
18. ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ เฉพาะบทบัญญัติที่เกี่ยวกับมูลนิธิและสมาคม
19.ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เฉพาะบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจสืบสวนและสอบสวน และการใช้อำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
20.ข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยการใช้กำลังทหาร การเคลื่อนกำลังทหารและการเตรียมพร้อม พ.ศ.2545

ลงนาม นายสมัคร สุนทรเวช
ประกาศวันที่ 4 กันยายน 2551
.............................................................................................

จะเห็นได้ว่า อำนาจในการสั่งการตามบังคับบัญชาของทุกหน่วยงาน ขึ้นอยู่กับนายกรัฐมนตรี การกระทำเช่นนี้ เราจะพบได้แต่ประเทศที่ปกครองโดยประธานาธิบดีเท่านั้น ซึ่งเรียกว่า Executive Power

ในทางทหาร นายกรัฐมนตรีสามารถที่จะ ปรับ ลด ปลด ย้าย ตำแหน่งของบุคคลหนึ่งบุคคลใด แม้กระทั่งการประหารชีวิตทหารผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ก็สามารถกระทำการได้

ด้าน พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา เองก็ตาม นายกรัฐมนตรีก็สามารถที่จะกระทำการใดๆกับตำแหน่งของ พล.อ.อนุพงษ์ ได้ทุกเมื่อขณะ หากไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง
เช่นนี้แล้ว นายสมัคร สุนทรเวช ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในขณะนี้ และเป็นผู้ออกคำสั่งให้ประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จะบอกกล่าวต่อสาธารณะชนได้อย่างไรว่า อำนาจทั้งหมด ได้ถูกโอนไปให้ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา แล้ว
บันทึกการเข้า
ทางออกสุดท้าย
น้องใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4



« ตอบ #3 เมื่อ: 06-09-2008, 23:05 »

หมายเหตุ ศาลรัฐธรรมนูญสูงสุด ซึ่งเป็นองค์กรสูงสุดของประเทศ ก็ไม่มีอำนาจเทียบเท่า จึงไม่ต้องกล่าวถึงสถาบันอื่นๆ แม้กระทั่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เพราะไม่ได้มีกำหนดยกเว้นไว้ในประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

สำหรับผู้ที่ตามมาอ่านข้อความที่สมบูรณ์ครบถ้วนแล้วนั้น อยากให้ลองย้อนถามตัวเองว่า ในฐานะที่ท่านเป็นประชาชนคนไทย ท่านจะกระทำการสิ่งใดกับสิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนี้

โดยเฉพาะทหารที่ได้กล่าวคำถวายสัตย์ปฏิญาณตน ต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท นั้น จงตรองดูว่าท่านทำอะไรบ้างหรือยัง หรือจะปล่อยให้เหตุการณ์ผ่านไป โดยที่ท่านไม่ได้ทำอะไรเลย

คนวิกลจริตทำอะไรก็ไม่ผิด ไม่ต้องรับโทษทางกฎหมาย แต่นายกฯสมัคร ไม่ได้เป็นคนวิกลจริต และการออก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เป็นมติของ ครม.ทั้งหมด

พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ต้องถูกนำมาใช้ในภาวะที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินเท่านั้น อีกทั้ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เมื่อมีการประกาศใช้ก็ต้องมีการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่นำมา

พ.ร.ก.ฉุกเฉินที่ได้ถูกประกาศ โดยนายกฯสมัคร หากแต่ไม่ได้มีการใช้การ แล้วอยากย้อนถามกลับว่า ทำไมถึงต้องมีการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

หรือที่ไม่ได้ใช้ เป็นเพราะมีใครดักทางไว้หรือเปล่า!!!!

และใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ ผลจากการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฉบับนี้ เพราะผลพวงที่เกิดจากการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินนั้นมันมากมายเสียเหลือเกิน


หมู หมา ม้า ควาย ล้วนได้ใช้ร่างกายและชีวิตของมัน เพื่อประเทศชาติบ้านเมืองแล้วทั้งสิ้น ทั้งๆที่ พวกมันไม่ได้รับการศึกษาใดๆ

เรา เป็นคนไทย เป็นมนุษย์ซึ่งถูกเรียกว่า สัตว์ประเสริฐ นั้น

ไม่รู้สึกอาย สัตว์เดรัจฉาน บ้างหรือไร
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: