ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
11-05-2025, 18:20
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ม็อบพันธมิตร: อุปาทานหมู่หรือความคับแค้นของชนชั้นกลาง ? 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ม็อบพันธมิตร: อุปาทานหมู่หรือความคับแค้นของชนชั้นกลาง ?  (อ่าน 1200 ครั้ง)
Panyawatr
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 26


« เมื่อ: 06-09-2008, 18:33 »

นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี กล่าวในรายการ"ตาสว่าง"ว่า การที่มีมวลชนจำนวนมากเข้าร่วมการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นเพราะ "อุปาทานหมู่" ที่เมื่อสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี ทำการถ่ายทอดความคิดของแกนนำและคนกลุ่มหนึ่งซ้ำๆ ทุกวัน ก็จะทำให้คนดูเกิดความคิดโน้มเอียง และเชื่อตามข้อมูลที่ได้รับจากเอเอสทีวี สุดท้ายจึงออกมาร่วมชุมนุมกับ พันธมิตรฯ ในที่สุด ในที่นี้ ก็พอจะตีความได้ด้วยว่า แม้คนที่ไม่ได้ดูเอเอสทีวี แต่ติดตามข่าวสารการชุมนุมของพันธมิตร ไม่ว่าจะด้วยการเข้าร่วมด้วยตนเอง หรือฟังวิทยุ หรืออินเตอร์เน็ต ก็อยู่ในข่ายผู้ได้รับอิทธิพลอุปาทานหมู่ในความหมายของหมอสุรพงษ์ ทั้งสิ้น

การใช้คำว่าอุปาทาน จะมีความหมายอย่างอื่นไปไม่ได้ นอกจากหมอสุรพงษ์กำลังจะบอกว่า บรรดามวลชนเหล่านั้นเข้าใจผิดกันไปเอง หรือเชื่อกันไปเอง ว่าประเด็นที่มีพูดกันบนเวทีชุมนุมเป็นเรื่องจริง (ทั้งๆที่มันไม่จริง - ในความเห็นของหมอสุรพงษ์)

มวลชนพันธมิตรนั้น ส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลาง แม้จะมีข้าราชการ หรือชนชั้นสูงเข้าร่วมด้วย แต่พลังหลักของพันธมิตรเป็นชนชั้นกลาง มาจากทุกภูมิภาคของประเทศและไม่เว้นกระทั่งคนไทยในต่างประเทศ แม้จะเน้นหนักที่กทม. ภาคใต้ ภาคกลาง ตะวัน ออก แต่ก็มีไม่น้อย ที่มาจากภาคเหนือและอีสาน  พอจะอนุมานได้ว่ามวลชนพันธมิตรน่าจะเป็นคนกลุ่มเดียวกับผู้ที่ลงคะแนนให้กับ พรรคฝ่ายค้าน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่พันธมิตรมักจะมีความคิดเห็นสอดคล้องกับพรรคฝ่ายค้านอยู่เนืองๆ หรือจะพูดให้ถูก น่าจะพูดว่าพรรคฝ่ายค้าน มักมีความเห็นสอดคล้องกับพันธมิตร น่าจะตรงกว่า แม้จะไม่เออออไปเสียทุกเรื่อง ด้วยเหตุที่มีสถานะทางการเมืองต่างกันก็ตาม จึงเป็นประเด็นที่นักวิชาการทั้งหลาย พึงศึกษาเป็นอย่างยิ่งว่า การที่ผู้แทนของตนตกเป็นฝ่ายค้านมาเป็นเวลานาน ทำให้คนกลุ่มนี้ตกอยู่ในสภาพสูญเสียอำนาจต่อรองทางการเมืองที่เคยมีมาก่อน ไป  จนกลายเป็นแรงผลักขั้นมูลฐานให้เข้าร่วมกับพันธมิตร ใช่หรือไม่

แม้จะมีทุกเพศทุกวัย แต่ก็เป็นที่น่าสังเกตุว่า ชาวพันธมิตรส่วนใหญ่(เฉพาะที่มาร่วมชุมนุม)เป็นผู้หญิงถึงร้อยละ ๗๐ และเป็นคนวัยกลางคนจนกระทั่งอายุ แปดสิบปีขึ้นไป มีคนหนุ่มสาวเข้ามาร่วมบ้างไม่มากนัก แต่เป็นที่น่าสังเกตุว่ามีนักศึกษาเข้าร่วมมากขึ้นในระยะเวลาไม่กี่วันมานี้ แม้จะยังไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจนต่อเรื่องเพศและวัย แต่ในการชุมนุมที่ต่อเนื่องยาวนานเช่นนี้ ผู้หญิงน่าจะมีความอดทนมากกว่า ผู้หญิงส่วนหนึ่งอาจไม่มีภาระงานประจำซึ่งเป็นหน้าที่ของฝ่ายชายผู้เป็น หัวหน้าครอบครัว หรือมีแต่ก็พอที่จะละทิ้งมาร่วมชุมนุมได้   อย่างไรก็ตามเป็นเรื่องปกติมากที่เราจะเห็นชาวพันธมิตรจะมาร่วมชุมนุมกัน เป็นครอบครัว คู่สามีภรรยาเข็นรถเข็นพ่อหรือแม่ผู้สูงวัย ในขณะที่อีกคู่หนึ่งเข็นเปลที่มีลูกน้อยวัยสองขวบเดินสวนไป  จากมุมมองนี้เห็นได้ชัดว่า พวกเขาเชื่อมโยงประเด็นทางการเมืองเข้ากับคุณค่าในการดำรงชีวิตไปเรียบร้อย แล้ว

การเข้าร่วมชุมนุมของมวลชนพันธมิตร ดำเนินไปด้วยความคึกคักเป็นอย่างยิ่ง จะว่าไปแล้วพวกเขาไม่เพียงแค่"เข้าร่วมการชุมนุม"เท่านั้น แต่พวกเขาต่างช่วยกันลงทุน ลงแรง ทุ่มเทจิตใจ เพื่อให้การต่อสู้นี้ดำเนินไปอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย การชุมนุมที่มีผู้เข้าร่วมเรือนหมื่นจนเรือนแสนทุกวัน มีภาระค่าใช้จ่ายหลายแสนต่อวัน เงินส่วนใหญ่มาจากการบริจาคของผู้ร่วมชุมนุม หรือผู้สนับสนุน อาหาร เครื่องดื่ม ยารักษาโรค วัสดุอุปกรณ์นานาชนิดที่จำเป็นต้องใช้ในการชุมนุม แม้กระทั่งกางเกงชั้นใน ล้วนได้มาจาการบริจาค  นี่เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประเทศไทย หรือแม้แต่บนโลกใบนี้

ที่น่าสนใจก็คืออะไรคือสิ่งที่ชักนำชนชั้นกลางจากภูมิภาคต่างๆ ทุกเพศทุกวัย ให้เข้ามาร่วมการชุมนุม?

(๑) การกล่าวหาว่าเป็นอุปาทานหมู่จากการติดตามชมเอเอสทีวีมาเป็นเวลานานเป็นคำ กล่าวที่หยาบเกินไป ชนชั้นกลางเหล่านี้เป็นผู้มีการศึกษา มีวิจารณญานของตนเองในการรับข่าวสาร ประเด็นจึงอยู่ที่ว่า มีแรงจูงใจอะไรให้พวกเขาเลือกรับข่าวสารจากสื่ออย่างเอเอสทีวี ทั้งๆที่ไม่ได้เป็นฟรีทีวี ใครจะดูต้องซื้อจานดาวเทียมมาติดตั้ง หรือไม่ก็ต้องสมัครเป็นสมาชิกเคเบิลทีวีท้องถิ่น  รู้กันทั่วไปอยู่แล้วว่าเป็นเพราะพวกเขาไม่สามารถรับข่าวสารแบบที่พวกเขามอง หาจากสื่ออื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นทีวี วิทยุ หรือหนังสือพิมพ์  ในระบอบทักษิณ สื่อที่อยู่ตรงข้ามรัฐบาลค่อยๆถูกกำจัดออกไป หรือลดบทบาท หรือควบคุมด้วยกรรมวิธีต่างๆ ภายใต้รัฐบาลสมัคร สื่อของรัฐยังคงถูกนำไปใช้เพื่อประโยชน์ของผู้ที่ครองอำนาจเพียงฝ่ายเดียว เท่านั้น  นี่เป็นสภาพแวดล้อมอันอุดมสมบูรณ์ที่ผลักไสชนชั้นกลางเข้าหาเอเอสทีวี

(๒) รัฐบาลทักษิณ และต่อเนื่องมาจนถึงรัฐบาลนอมินีสมัคร แทบจะไม่แยแสต่อเสียงของชนชั้นกลาง เสียงในที่นี้ผมหมายถึงเสียงสะท้อน เสียงคัดค้านนะครับ ไม่ใช่คะแนนเสียงในช่วงเลือกตั้ง เพราะถือว่าอย่างไรเสียตนเองก็สามารถกุมเสียงรากหญ้าได้เด็ดขาด เลือกตั้งเมื่อไหร่ก็ชนะ ตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ หรือเกือบได้ เพียงแค่ดีดนิ้วก็มีพรรคเล็กๆพร้อมกระโจนเข้าร่วมแบบไม่มีเหนียมอาย  ถึงเวลาตั้งรัฐมนตรีพวกเขาก็ไม่สนใจว่าชนชั้นกลางจะร้องยี้หรือไม่ คุณสมบัติเหมาะสมหรือไม่ แต่มุ่งตอบสนองฐานเสียงและผู้มีอุปการคุณเท่านั้น สิ่งที่สร้างความเจ็บช้ำให้กับฝ่ายไม่เลือกทักษิณเอามากๆเรื่องหนึ่งก็คือ คำขู่ที่จะไม่จัดสรรงบประมาณให้แก่พื้นที่ที่ไม่ลงคะแนนให้เขา

(๓) พรรคการเมืองที่พวกเขาเลือกเข้าไป นอกจากไม่ได้เป็นรัฐบาลแล้ว ยังแทบจะไม่มีโอกาสได้ค้านอีกต่างหาก อย่างน้อยก็ในความหมายของการเป็นฝ่ายค้านแบบในอดีตก่อนยุคทักษิณ รัฐบาลทักษิณมาพร้อมๆกับระบบเผด็จการรัฐสภาทำให้การเป็นฝ่ายค้านแทบไม่มี บทบาท ผมคิดว่าห้วงเวลาที่ชนชั้นกลางรับรู้ถึงความไร้อำนาจในการต่อรองของตน และรู้สึกโกรธที่สุดก็คือช่วงที่มีการถ่ายทอดสดการอภิปรายในสภา ภาพที่ปรากฎในจอโทรทัศน์เป็นภาพที่บาดใจชนชั้นกลาง เพราะในขณะที่ตัวแทนของเขาทำหน้าที่ค้าน กลับถูกรบกวน ตีรวน ประท้วง ด้วยวิธีการ กิริยา เกินคำบรรยายของบรรดาพลพรรคฝ่ายรัฐบาล ไม่ว่าพรรคฝ่ายค้านจะนำเสนอข้อมูล เหตุผลที่ชัดเจนหนักแน่นเพียงไหนในสายตาของชนชั้นกลาง แต่ผลการลงมติของสภาผู้แทนก็ยังออกมาในรูปเดิม หุ่นยนต์ที่ยกมือได้ของฝ่ายรัฐบาลทำให้เสียงของแกนนำพันธมิตรที่ว่าการเมือง ในระบบเป็นแค่การแสดงละคร ดังก้องในโสตประสาทของมวลชนพันธมิตร และมีน้ำหนักมากขึ้นเรื่อยๆ

(๔) การตัดสินของศาลให้ภริยาอดีตผู้นำว่ามีความผิดฐานเลี่ยงภาษี และคดีอื่นๆที่ดำเนินอยู่ซึ่งมีแนวโน้มที่ชัดเจนว่าจะลงเอยเป็นการชี้ความ ผิดของอดีตผู้นำ เป็นเชื้อเพลิงอย่างดี ที่โหมให้กระแสการเข้าร่วมชุมนุมของชนชั้นกลางเป็นไปด้วยความเข้มข้นมากขึ้น กระแสความรู้สึกที่ว่าตนเอง(ชนชั้นกลาง) ถูกรีดภาษีอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันโดยกลไกของรัฐ แล้วนำเงินภาษีดังกล่าวไปใช้จ่ายอย่างอีลุ่ยฉุยแฉก แจกจ่ายรากหญ้าเพื่อเป็นฐานเสียงและขยายฐานอำนาจของฝ่ายที่กุมอำนาจรัฐ การทุจริตคอรัปชั่นที่นับวันจะหนักข้อขึ้น แต่อดีตผู้นำกลับเลี่ยงภาษี นี่เป็นเหตุผลที่ชอบธรรมที่สุดข้อหนึ่งในการออกมาร่วมชุมนุม

(๕) ความผิดพลาดทางการเมือง และการต่างประเทศครั้งแล้วครั้งเล่าของรัฐบาล ล้วนแต่ตอกย้ำให้เห็นถึงการที่รัฐบาลมุ่งใช้อำนาจเด็ดขาด ดำเนินการเพื่อประโยชน์ของฝ่ายตน โดยไม่คำนึงถึงความถูกต้องชอบธรรม เช่นความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ตนเองพ้นผิด  การละเมิดต่อบทบรรญัติตามรัฐธรรมนูญ เช่นการใช้อำนาจกรณีเขาพระวิหาร อ้างความเป็นผู้มาจากการเลือกตั้ง ลบล้างข้อโต้แย้งของผู้อื่น ทำให้สาธารณะชนยิ่งตระหนักในความเป็นจริงว่า ระบบการเมืองของเรา ไม่สามารถทำหน้าที่ของมันได้เสียแล้ว

ทั้งหลายทั้งปวงนี้ นำไปสู่ความเชื่อที่นับวันจะมีน้ำหนักมากขึ้นว่า ระบบการเมืองปัจจุบันเป็นเผด็จการรัฐสภา ซึ่งนอกจากจะไร้จริยธรรมอย่างสิ้นเชิงแล้ว ยังไร้ประสิทธิภาพในฐานะที่ควรจะเป็นเครื่องมือระงับข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้น ในสังคมอีกด้วย ระบบการเมืองนี้ยอมให้คู่ขัดแย้งขั้วหนึ่ง ซึ่งกุมอำนาจบริหารและนิติบัญญัติ กระทำการต่างๆตามอำเภอใจ ไม่แยแสต่อเสียงประชาชนผู้เสียภาษี ไม่เปิดโอกาสให้ผู้เห็นต่างได้มีที่ยืน รังแต่จะนำไปสู่วิกฤติที่ดำดิ่งไปสู่จุดที่ยากจะแก้ไขมากขึ้นทุกทีๆ

ถึงเวลาหรือยัง ที่จะยอมรับว่าม็อบพันธมิตรไม่ใช่เป็นอุปาทานหมู่ และยิ่งไม่ใช่เป็นความเคลื่อนไหวเพื่อทวงอำนาจของศักดินา หรืออำมาตยาธิปไตย ซึ่งหากจะมีส่วนจริงอยู่บ้าง ก็เป็นเพียงเสียงหนึ่งที่ประสานเข้ากับชนชั้นกลาง ซึ่งเป็นมวลชนส่วนใหญ่ ผู้ซึ่งลุกขึ้นมารวมตัว จัดตั้ง เรียกร้อง เพื่อทวงสิทธิ์ของตนเอง

ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องทบทวนปรับเปลี่ยนระบบการเมืองของเรากันอีกครั้งหนึ่ง ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินแก้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06-09-2008, 19:19 โดย Panyawatr » บันทึกการเข้า
Thaksinocide
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 26



« ตอบ #1 เมื่อ: 06-09-2008, 20:21 »

ผมเชื่อว่าชนชั้นกลางลดลงไปเยอะครับ(เทียบสัดส่วน) ผมเป็นคนหนึ่งที่เข้าไปร่วมด้วยเมื่อครั้งไล่ไอ้แม้ว แต่ผมว่าครั้งนี้แกนนําทั้งหลายได้แสดงความชัดเจน

ในเรื่องที่พยายามแสวงหาอํานาจ เห็นได้จากข้อเรียกร้องเปลี่ยนแปลงโดยตลอดเพียงเพื่อดึงมวลชนไว้รอโอกาส แต่ไอ้หอกหักราคาถูกแก้เกมส์ได้ดีมาก โดย

เฉพาะล่าสุดที่คิดว่ามันจะออกมาแถลงข่าวเรื่องลาออก(ใครกุเรื่องวะเนี่ย ผมไม่คิดซักนิดว่ามันจะลาออก คิดว่ามันจะร้องเพลงด้วยซำ) ผมเห็นพลังบริสุทธิ์ที่

ทําเนียบหลายคนร้องไห้ แต่ตลกดีที่บรรดาแกนนําพลังแอบแฝงทั้งหลายกลับขึ้นเวทีแล้วพูดออกมาอย่างเต็มปากเต็มคํา"เข้าทางเราแล้วพี่น้อง"โคตรฮาเลย

ครับ
บันทึกการเข้า
meriwa
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,100



เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 06-09-2008, 20:51 »

ผมเชื่อว่าชนชั้นกลางลดลงไปเยอะครับ(เทียบสัดส่วน) ผมเป็นคนหนึ่งที่เข้าไปร่วมด้วยเมื่อครั้งไล่ไอ้แม้ว แต่ผมว่าครั้งนี้แกนนําทั้งหลายได้แสดงความชัดเจน

ในเรื่องที่พยายามแสวงหาอํานาจ เห็นได้จากข้อเรียกร้องเปลี่ยนแปลงโดยตลอดเพียงเพื่อดึงมวลชนไว้รอโอกาส แต่ไอ้หอกหักราคาถูกแก้เกมส์ได้ดีมาก โดย

เฉพาะล่าสุดที่คิดว่ามันจะออกมาแถลงข่าวเรื่องลาออก(ใครกุเรื่องวะเนี่ย ผมไม่คิดซักนิดว่ามันจะลาออก คิดว่ามันจะร้องเพลงด้วยซำ) ผมเห็นพลังบริสุทธิ์ที่

ทําเนียบหลายคนร้องไห้
แต่ตลกดีที่บรรดาแกนนําพลังแอบแฝงทั้งหลายกลับขึ้นเวทีแล้วพูดออกมาอย่างเต็มปากเต็มคํา"เข้าทางเราแล้วพี่น้อง"โคตรฮาเลย

ครับ

ผมเชื่อว่า ผมคิดว่า ผมเห็นว่า... สรุปว่ามั่วใช่มะ 
บันทึกการเข้า

ผู้ปกครองระดับธรรมดา   ใช้ความสามารถของตน    อย่างเต็มที่
ผู้ปกครองระดับกลาง       ใช้กำลังของคนอื่น             อย่างเต็มที่
ผู้ปกครองระดับสูง           ใช้ปัญญาของคนอื่น           อย่างเต็มที่

                                                                  ...คำคมขงเบ้ง
Panyawatr
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 26


« ตอบ #3 เมื่อ: 07-09-2008, 11:35 »

อยากจะเชิญชวนให้มองชนชั้นกลางในมุมที่กว้างกว่า คนกินเงินเดือน ทำงานออฟฟิซ  แต่กินความถึงพ่อค้าแม่ค้า คนทำธุรกิจส่วนตัว เจ้าของกิจการ แม้กระทั่งเกษตรกร ฯลฯ
บันทึกการเข้า
bangkaa
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 407



« ตอบ #4 เมื่อ: 07-09-2008, 12:12 »

ความขัดแย้ง หลักๆที่เกิดขึ้น วิเคราะห์กันได้ หลายมุม... ขอวิเคราะห์สักมุมมองหนึ่งละกัน...


เรื่องมันมีอยู่ว่า...

กลุ่มคนสองกลุ่ม คือ รักแม้ว กับ ไม่เอาแม้ว..

กลุ่มรักแม้ว... คือ นักการเมือง นายทุน ที่ต้องอิงแอบนายใหญ่.... รวมไปถึงชนชั้นรากหญ้าในภาคเหนือ และ อีสาน... รวมถึงกลุ่มคนที่เกลียด ปชป.

กลุ่มไม่เอาแม้ว... คือ .... กลุ่มคนชั้นกลาง (เป็นส่วนใหญ่ของคนกลุ่มนี้).. ที่มีแนวร่วมโดยกลุ่มข้าราชการเก่าแก่ในอดีต... รวมถึงกลุ่มคนสนับสนุน ปชป.



กลุ่มรักแม้ว ที่เป็นประชาชนนั้น มีจำนวนมาก... เพราะฐานะไม่ค่อยดี... ต้องอาศัยระบบอุปถัมภ์จากนักการเมืองท้องถิ่น... ไปถึงนักการเมืองระดับชาติ อย่างแม้ว...
ต้องยอมรับว่า ประชานิยมของแม้ว ทำให้ประชาชนุกลุ่มนี้ โดนใจมาก... เพราะถือว่า ตนเป็นผู้ได้รับ จากที่ไม่เคยเลย
คนรากหญ้าจึงชอบมาก... บางคนถึงขั้นว่า สิ่งที่แม้วทำถือเป็น นวัตกรรมเอกของโลกที่โลกต้องเอาเป็นแบบอย่าง... (ซึ่งที่จริงแล้ว ฮวน เปรอน ของอาร์เจนติน่า ใช้มาก่อนปี 2500 แล้ว)

ประกอบกับทัศนคติที่ต้องพึ่งพาผู้อื่น ยึดติดบุคคล...
รากหญ้าจึง ถือว่า แม้วเหมือนบิดา... ไม่ว่า บิดา จะเป็นอย่างไร ในสายตาพวกเขา ก็ถือว่าดีทั้งนั้น.. ต้องปกป้อง..
การที่ บิดา ของพวกเขา ต้องมีอันเป็นไปทางการเมือง ถือว่า เป็นเรื่องที่รับไม่ได้ และคับแค้นในของคน รักแม้วมาก...


****************


ทีนี้มาดู กลุ่มคน ไม่เอาแม้วนั้น.... ถ้าเราว่ากันตาม ฐานะทางเศรษฐกิจ หรือ บุคลิก
จะเห็นได้ว่า เป็นกลุ่มคนที่บางส่วนมี ฐานะดีมาก... ส่วนใหญ่ก็พึ่งพาตนเองได้...

สังเกตดูว่า คนในภาคใต้นั้นค่อนข้างจะพึ่งพาตนเองได้ อาจจะด้วยเพราะภูมิประเทศที่เอื้อต่อการทำมาหากิน.. ทั้งการเกษตร ทั้งแหล่งท่องเที่ยว...
อันนี้ก็ต้องเห็นใจกลุ่มคนทางภาคอีสานด้วยว่า บางทีหนทางทำมาหากินของเขาก็ลำบากจริงๆ ทำให้อยู่ในวงเวียนที่ต้องพึ่งพาระบบอุปถัมภ์

กลุ่มคน ไม่เอาแม้ว... จึงพร้อมที่จะ ไม่ยอมอ่อนข้อให้ นักการเมืองที่เห็นแก่ตัว ไม่มีความเห็นแก่ส่วนรวม โกงภาษีของพวกเขา...


********************


แน่นอนว่า กลุ่มคนไม่เอาแม้ว...ไม่ได้มีจุดประสงค์ที่จะรังเกียจ หรือ ทำลาย กลุ่มคนรากหญ้าที่รักแม้วเลย..
พวกเขาเพียงไม่ต้องการ นักการเมืองที่ไม่ดี... ต้องการเห็นการเมืองของประเทศที่ดีขึ้นกว่าที่เป็นมา...

แต่การต่อต้านรัฐบาลแม้วนั้น... มันมีผลไปทำลาย ผลประโยชน์ ทางประชานิยม ของรากหญ้าแม้วไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้...
(ทั้งนี้ บางที อาจจะไม่ทำลายด้วยซ้ำ แค่ไปทำให้สะดุดชั่วคราวเท่านั้น... อาจเป็นความคิดกลัวไปเองของ กลุ่มคนรักแม้วก็ได้)



จึงเป็นที่มาหลักอย่างหนึ่ง ของความขัดแย้ง ความไม่พอใจ ของ คนรักแม้ว ต่อ คนไม่เอาแม้ว(หรือ กลุ่มพันธมิตรฯ)



****************


คนรักแม้ว ที่พอจะมีฐานะอยู่บ้าง ก็น่าจะเปิดใจให้กว้าง... ทำความเข้าใจตรงนี้บ้าง...

ส่วนกลุ่มรากหญ้าที่ต้องพึ่งพาระบบอุปถัมภ์ ระบบซื้อเสียง ระบบจัดตั้งอยู่... ผมก็ไม่รู้จะทำยังไงเหมือนกันเพราะพวกท่านต้องดิ้นรน ไม่มีเวลา ความคิดที่จะมองเห็นภาพรวมของการปกครอง... ก็เห็นใจครับ



แต่หาก การเมืองของประเทศดีขึ้น... นักการเมืองดีกว่านี้
เชื่อว่า คนรากหญ้า ก็น่าจะได้รับประโยชน์จากตรงนี้แน่นอน...




 
บันทึกการเข้า

มาทำหน้าที่... ใช้หนี้แผ่นดิน...และมาทำบุญ...
หน้า: [1]
    กระโดดไป: