ฮ่าๆๆๆๆๆๆ
เห็นโตๆกันแล้ว คิดว่าไม่ต้องจ้ำจี้จ้ำไช...ก็เลยใช้การขีดเส้นใต้ให้อ่านและคิด!!
ม่ะ....จะแปลให้เห็นจะจะก็ได้ว่า นายกฯพูดชัดเจนว่าบริษัทที่ตั้งบริษัทแม่ในประเทศที่ปลอดภาษีน๊ะไม่รักชาติ แต่กรณีชิน คอร์ปมีบริษัทแม่ในไทยและต้องเสียภาษีเต็มๆทุกบาททุกสตางค์ ทั้ง 2 กรณีจึงต่างกันอย่างสิ้นเชิง
กรุณาหัวไวหน่อยครับ pleaseeeeeeeeee

เสียภาษีจริงอ่ะ ?? แล้วทำไมต้องมีข่าวซุกหุ้นด้วยล่ะว้า อิอิ หลับหูหลับตาเลียอย่างเดียวเลย สังเกตุ กระทู้นี้น้ำลายพวกเลีย จะเลอะเป็นพิเศษ
เกาะเถื่อนนี่มัน บริทติส เวอร์จิ้นนี่หว่า แล้วนายกเราไปยุ่งกับเกาะเถื่อนนี่มันมาเฟียรึเปล่า หุ้นซุกไปซุกมา หาเรื่องไม่เสียภาษีตั้งแต่ไม่ได้เป็นนายกแล้ว ไม่น่าเชื่อว่าจะมี ควาย ไม่ได้สติหลงไหลได้ปลื้มเหลี่ยมขนาดนี้
เฮ่อ .. ก็แค่สมเพช ควาย น่ะครับ ถ้าเป็น คน ก็ไม่ต้องร้อนตัวน๊า อิอิ
ปล. สมัยนี้ เป็นควายน่ะ เรื่องธรรมดาแล้วครับ ในสภางี้ เขาชนกันดังงุ๊งงิ๊งๆ 
ฮ่าๆๆๆ
ค่อยๆโพสต์ค่อยๆพิมพ์และตั้งสติให้ดีก็ได้ครับ อย่าใช้กลยุทธ์หลอกล่อ'อะไรจ๊ะ'ให้หลงประเด็นเลยครับ....อัดกันในนี้ให้รู้แพ้รู้ชนะไปเลย เห็นคุยนักคุยหนาว่าต้องการข้อมูล
ประเด็นของคุณคือไรครับ? ผมจะได้ตอบให้ตรงไม่ต้องอ้อมค้อม....เสียเวลาคนเชียร์ข้างสนามอ่ะ!!!

สบายๆ นะครับ ไม่ต้องรีบร้อน เดี๋ยวจะตกม้าตายซะก่อน อิอิ
แหม มีคนเชียร์ด้วยเหรอเนี่ย ไม่ยักกะรู้นะ
อย่าถือเรื่องของผมเป็นประเด็นเลยครับ เอาเป็นว่า ข้อข้องใจ ก็แล้วกัน ^^
ในเมื่อ คุณทักษิณมีบริษัทแม่อยู่ประเทศอย่างที่คุณว่า ทำไมต้องมีการซุกหุ้น แล้วทำไม ต้องมีบริษัท แอมเพิลริช กับ วิน มาร์ค เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยครับ
บริษัทแม่ที่อยู่ประเทศไทยนี่บริษัทอะไร แล้วเกี่ยวอะไรกับ บริษัทเถื่อน ที่ตั้งอยู่บนเกาะเถื่อนๆ ใครถือหุ้น (นับรวมคนใช้ด้วยนะ) ถือเท่าไหร่ยังไง
แล้วไปๆ มาๆ ที่ว่าเสียภาษีทุกบาทนี่ เสียไปกี่บาทกันครับ
ช่วยตอบผมด้วยนะครับ เอาแบบว่า ตั้งแต่เริ่มต้นข่าวซุกหุ้นภาคแรก จนถึง ภาค 2 เกาะเถื่อน อะไรแบบนั้น
ผมกำลังศึกษาด้านการเมืองน่ะครับ ต้องการข้อมูล
หวังว่า คงช่วยตอบได้นะครับ
เอาตามความเข้าใจของคุณ (ถึงแม้จะมีน้อยม๊ากก หรือว่า อัดแน่น ก็ตามนะ) 
ถ้าหากเรื่อง copy and paste ก็ปะติดปะต่อเรื่องให้ดีๆ หน่อยล่ะ :mrgreenเสกให้ได้ครับ ค่อยๆอ่านค่อยๆพิจารณาหน่อยน๊ะครับ สงสัยก็ค่อยๆถามทีละประเด็นได้ครับ
1) ประเด็นภาษีการขายหุ้นชินคอร์ปฯ
1.1. (หากขายหุ้น 49% ตั้งแต่ปี42) คุณทักษิณและภรรยามีหุ้นชินคอร์ปฯ 49% (จากที่ตั้งบริษัทเองเมื่อ 22 ปีก่อน และเข้าตลาดหุ้นเมื่อ 15 ปีก่อน) หุ้นจำนวนนี้หากขายในตลาดหุ้น ไม่ว่าให้ลูกและลูกขายต่อให้ใคร ในฐานะนักลงทุนบุคคลในตลาดหุ้นไม่มีภาษีจากการขายหุ้น เป็นสิทธิ์พื้นฐานของคุณทักษิณและครอบครัว ไม่จำเป็นต้องทำอะไรซับซ้อนเพื่อลดหรือเลี่ยงภาษี (เช่นกรณีแอมเพิลริช) เพราะไม่มีภาษีให้ลดหรือเลี่ยง
ที่คุณทักษิณทำเรื่องบริษัทแอมเพิลริชในปี 42 เพราะจะเอาหุ้นชินคอร์ปฯ 11% เข้าขายในตลาดหุ้นสหรัฐ (ดูหน้าข้อมูลประกอบ) ตอนหลังตลาดหุ้นสหรัฐตกมาก เลยหยุดแผน แต่หุ้นส่วนนี้ก็อยู่ที่แอมเพิลริชไปเรื่อยๆ
1.2. (โอนไป หุ้น11%) คุณทักษิณโอนหุ้นชินคอร์ปฯ 11% ที่เดิมถือเองอยู่ในฐานะบุคคล ให้ถือโดยบริษัทแอมเพิลริชที่คุณทักษิณเป็นเจ้าของ ไม่มีรายได้เพิ่มให้ใช้คำนวณภาษี เพราะเป็นเจ้าของคนเดียวกัน เท่าสิทธิ์พื้นฐานเดิมข้อ 1.1
(ยกหุ้น49% ให้ลูก) ปลายปี 43 คุณทักษิณและภรรยา ขายโอนชินคอร์ปฯให้ลูกที่ต้นทุน ก่อนจะเป็นนายกฯ เพื่อให้ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ: เป็นหุ้นชินคอร์ปฯส่วน 38% (ที่ถือในฐานะบุคคล) และเป็นตัวบริษัทแอมเพิลริช (ที่ถือหุ้นชินคอร์ปฯส่วน 11%)
1.3. (โอนกลับ หุ้น11%) ต้นปี 49 พาน/พิณ ในฐานะเจ้าของบริษัทแอมเพิลริช โอนหุ้นชินคอร์ปฯ 11% ที่บริษัทแอมเพิลริชถืออยู่ มาถือเองตรงในฐานะบุคคล การโอนกลับก็เทียบเท่ากับตอนแรกที่ได้โอนไป คือ ไม่มีรายได้เพิ่มให้ใช้คำนวณภาษี เพราะเป็นเจ้าของคนเดียวกัน เท่าสิทธิ์พื้นฐานเดิมในข้อ 1.1
โอนกลับ 11% จากแอมเพิลริช (มาถือในฐานะบุคคล) เพื่อมารวมกับส่วน 38% (ที่ถือในฐานะบุคคลมาตลอด) เท่าจำนวนหุ้นเดิม 49%
1.4. (ขายหุ้น 49% ปี 49) ต้นปี 49 พาน/พิณ จึงขายหุ้นทั้ง 49% ในตลาดหุ้นในฐานะบุคคลธรรมดา ไม่มีภาษี เท่าสิทธิ์พื้นฐานเดิมตามข้อ 1.1
ปรากฏว่า ถูกกล่าวหาว่าเลี่ยงภาษีส่วนแอมเพิลริช 11% ตอนโอนกลับ และหากถูกกฏหมายก็หาว่าผิดจริยธรรม
1.5. ข้อกล่าวหาแบบที่ (1) ว่า การที่พาน/พิณได้หุ้นชินคอร์ปฯจากแอมเพิลริชที่ราคา 1 บาท แล้วตอนขายได้ 49 บาท พาน/พิณ มีรายได้เพิ่มให้ใช้คำนวณภาษีได้ 48 บาท และต้องจ่ายภาษีในวันที่ ขาย
1.6. ข้อกล่าวหาแบบที่ (2) คล้ายกรณีบริษัทออกหุ้นราคาถูกพิเศษขายจูงใจให้พนักงาน (สต็อกออปชั่น หรือ ESOP ที่พนักงานสามารถซื้อหุ้นใหม่นี้ได้ที่ราคาต่ำกว่าราคาหุ้นบริษัทที่ซื้อขายอยู่ในตลาดในวันนั้นๆ จงใจให้พนักงานมีกำไรจากการขายหุ้น อันเป็นวิธีหนึ่งในการจ่ายรายได้เพิ่มให้พนักงาน)
ว่า การที่พาน/พิณได้หุ้นชินคอร์ปฯจากแอมเพิลริชที่ราคา 1 บาท ในวันที่หุ้นชินคอร์ปฯในตลาดหุ้นราคา 42 บาท เสมือนว่าพาน/พิณ มีรายได้เพิ่มให้ใช้คำนวณภาษีได้ 41 บาท และต้องจ่ายภาษีในวันที่ ซื้อ เลย(ภายหลังขายในตลาดหุ้นที่ 49 บาทไม่มีภาษีแล้วเพราะได้เป็นเจ้าของหุ้นนั้นแล้ว)
1.7. ข้อกล่าวหาทั้งสองลักษณะ เป็นการตีความคนละหลักการ
พาน/พิณเป็นเจ้าของแอมเพิลริช เป็นเจ้าของหุ้นชินคอร์ปฯ 11% นี้อยู่แล้ว เป็นบุคคลเดียวกันดังที่รายงานตลาดหุ้นมาตลอด ดังนั้น การที่พาน/พิณได้หุ้นชินคอร์ปฯ 11% ที่แอมเพิลริชถืออยู่กลับมาถือเองโดยตรงในราคาพาร์ต้นทุน ไม่ทำให้พาน/พิณมีรายได้เพิ่มให้ใช้คำนวณภาษีได้ เพราะเป็นหุ้นเดิมของตนแต่เดิม
เป็นคนละกรณีกับ นายจ้างจ่ายผลตอบแทนลูกจ้างด้วยการออกหุ้นใหม่ขายให้ในราคาพิเศษ (หรือ บางข้อกล่าวหาว่าเหมือนการให้รางวัลจับสลาก หรือ การขายตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีส่วนลดหน้าตั๋ว) ล้วนเป็นการจ่ายให้ผู้รับมีรายได้เพิ่มให้ใช้คำนวณภาษีได้ แต่กรณีพาน/พิณไม่มีรายได้เพิ่ม เพราะเป็นหุ้นเดิมของตนแต่เดิม
จึงดูเพียงครึ่งทางตอนขาโอนกลับอย่างเดียวไม่ได้ ต้องดูทั้งวงจร คือเจ้าของเดิมโอนไปครั้งแรกและโอนกลับครั้งหลัง ระหว่างตนเองกับบริษัทที่ตนเป็นเจ้าของ (แอมเพิลริช) ไม่เป็นการมีรายได้เพิ่ม มิเช่นนั้น ก็ควรต้องออกกฏหมายให้ชัดๆว่าการโอนโดยเจ้าของเดียวกันต้องเสียภาษี
1.8. ประเด็นนี้ พาน/พิณหารือกับสรรพากรตั้งแต่กลางปีที่แล้ว สรรพากรก็ยืนยันว่าเรื่องนี้ถูกต้อง แต่ก็ไม่ฟังกัน กล่าวหาว่าลูกนายกฯเลี่ยงภาษี นายกฯไม่มีจริยธรรม สรรพากรผิดจรรยาบรรณตีความเข้าข้างรับใช้นายกฯ
ข้อกล่าวหาโดยนักกฏหมายยังมีการตีความไปหลายแบบ (ที่ไม่ใช่ประเด็นถูกต้อง) ว่ามีเข้าข่ายต้องเสียภาษีในหลายกรณีที่แตกต่างกันมาก เพื่อยัดเยียดว่าต้องผิดจริยธรรมแน่นอน (การถูกผิดกฏหมายควรเป็นกรณีชัดเจนเพียงอันใดอันหนึ่ง)
หากแคลงใจในแง่กฏหมายว่าลูกนายกฯเลี่ยงภาษี โดยการตีความไปต่างๆนาๆ ก็ควรให้ศาลเป็นผู้ตัดสิน ไม่ใช่แค่เอาเป็นประเด็นโจมตีทางการเมืองไปที่นายกฯ สรรพากร และ กลต
1.9. เป็นสิทธิ์ของประชาชนตามกฏหมาย ที่มีหน้าที่เสียภาษีเท่าที่จำเป็น หากเสียภาษีเกิน ก็เรียกคืนจากสรรพากรได้ ตามที่ทุกคนยื่นแบบภาษีกันทุกปี
ข้อกล่าวหานี้ เปรียบไปคล้ายกับว่า ถนนข้างล่างว่าง ขับได้เร็วอยู่แล้ว คนขับมีสิทธิ์อยู่แล้ว แต่ไปบอกว่าหากไม่ขึ้นทางด่วนเสียเงินค่าทางด่วน ถือว่าคนขับหลีกเลี่ยง
1.10. ตลาดหลักทรัพย์ตั้งใจยกเว้นภาษีกำไรให้บุคคลธรรมดาที่ซื้อขายหุ้นในตลาด เพราะไม่งั้นเสียเปรียบบริษัทนิติบุคคลที่สามารถทำงบกำไรขาดทุนได้
บริษัทนิติบุคคลสามารถนำการขาดทุน การเสียภาษีเงินปันผล การเสียภาษีกำไรขายหุ้น ไปหักลบในงบกำไรขาดทุน ทำให้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลน้อยลง
บุคคลธรรมดาทำงบไม่ได้ หากขาดทุน หรือเสียภาษี ก็หักลบอย่างอื่นไม่ได้เลย ตลาดหลักทรัพย์จึงต้องส่งเสริมเช่นนี้ มิเช่นนั้น นักลงทุน 500,000 คนต้องไปตั้งบริษัทกันหมด วุ่นวายต้องทำบัญชี สอบบัญชี
1.11. ทั้งตัวคุณทักษิณ ครอบครัว บริษัท และพนักงานกว่า12,000 คน เสียภาษีให้รัฐทุกรูปแบบ ทั้งเงินได้จากเงินปันผล เงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล รวมถึงค่าสัมปทานต่างๆ ทั้งมือถือ ดาวเทียม ฯลฯ ปีละหลายหมื่นล้านบาท สิบกว่าปีนี้หลายแสนล้านบาท เป็นผู้จ่ายภาษีรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของประเทศไทย ร่วม 5% ของยอดจัดเก็บของสรรพกร ทำขนาดนี้ ทั้งผู้ก่อตั้งและตัวบริษัทเอง เป็นผู้เสียภาษีที่รักชาติไม่น้อยกว่าใครที่มาโจมตี (หลายปีก่อนตอนยังทำธุรกิจ คุณทักษิณเคยเป็นบุคคลที่เสียภาษีสูงสุดของไทยปีละหลายร้อนล้านบาทหลายปี)
1.12. กลุ่มบริษัทชินคอร์ปฯ ได้ชื่อว่า เป็นบริษัทดีเด่นของไทย มูลค่าทางตลาดรวมในตลาดหลักทรัพย์ (Market Capitalization) กว่า 350,000 ล้านบาท เท่ากับ 7% ของทั้งตลาดหุ้นไทย เป็นหนึ่งในสามบริษัทไทยที่ติด 500 อันดับแรกของบริษัทใหญ่ที่สุดในโลกจัดโดยฟอร์จูน (อีกสองบริษัทคือปูนซีเมนต์ไทยและปตท) ได้รับรางวัลจากตลาดหลักทรัพย์ไทยและสถาบันการเงินระหว่างประเทศจำนวนมาก ในความดีเด่นในแง่ผู้บริหาร การจัดการ ธรรมธิบาล การรายงานการเงิน ความเชื่อถือทางการเงิน (เครดิตทางการเงินของเอไอเอส ในเครือชินคอร์ปฯคอร์ป สูงกว่าของรัฐบาลไทย) ทำได้ขนาดนี้ ต้องมีความสามารถและจริยธรรมเพียงพอแน่
ข้อมูลประกอบ
ที่ SH 063/2542
11 มิถุนายน 2542
เรื่อง ขอชี้แจงเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท
เรียน กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ตามที่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน) ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ ตามแบบ 246-2 ที่ผู้ถือหุ้นได้แจ้งให้สำนักงาน กลต. และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทราบแล้วนั้น บริษัทฯ ขอชี้แจงเพิ่มเติมเพื่อความชัดเจนในการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เพื่อให้ทราบดังนี้
เดิม ใหม่
1. นางพจมาน ชินวัตร 25.00% 25.00%
2. พ.ต.ท.ดร. คุณทักษิณ ชินวัตร 23.75% 11.88%
3. Ample Rich Investments Limited 0% 11.87%
(ถือหุ้นโดย พ.ต.ท. คุณทักษิณ ชินวัตร ทั้งหมด 100 %) 48.75% 48.75%
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวคือ พ.ต.ท. ดร. คุณทักษิณ ชินวัตร ได้โอนหุ้นของบริษัทฯ จำนวน 11.87% ให้กับ Ample Rich Investments Limited ซึ่งผู้ถือหุ้นถือเป็นบุคคลเดียวกันกับเจ้าของเดิม แสดงให้เห็นว่ามิได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นแต่อย่างใด จึงทำให้การเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นดังกล่าวไม่มีผลต่อโครงสร้างผู้ถือหุ้นทั้งทางด้านส่วนตัวและบริษัทฯ โดยเฉพาะในส่วนของการบริหารงานบริษัท โดยเฉพาะในส่วนของการบริหารงานบริษัทฯ ยังคงเป็นเช่นเดิม
อย่างไรก็ตาม เพื่อชี้แจงให้เห็นวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ว่า เป็นการเตรียมการเพื่อสนับสนุนการที่บริษัทฯ มีความต้องการที่จะประสบความสำเร็จในการจัดหาเงินทุนจากต่างประเทศ ผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อนำมาขยายการลงทุนด้านโทรคมนาคมในประเทศไทย ตามที่แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2542 ตามหนังสือเลขที่ SH 61/2542 แล้วนั้น
เพื่อให้บริษัทฯ ประสบความสำเร็จในการจัดหาเงินทุนจากต่างประเทศดังกล่าว บริษัทฯ มีความจำเป็นที่ต้องสำรองหุ้นบางส่วนจากผู้ถือหุ้นปัจจุบันทั้งรายใหญ่และรายย่อย เพื่อทดสอบความสำเร็จและสภาพคล่องของ ADR Level I ก่อนนำหุ้นที่เพิ่มทุนเข้าสู่ ADR Level III หรือจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศสหรัฐอเมริกาต่อไป
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ
ขอแสดงความนับถือ
(นายบุญคลี ปลั่งศิริ)
กรรมการ
บมจ. ชิน คอร์ปอเรชั่นส์
ข้อมูลประกอบ
01/02/01
ชินคอร์ปเลิกไปแนสแดค ระดมทุนในไทยไร้ปัญหา
กลุ่มชินฯ บอกลาตลาดหุ้นแนสแดค อ้างเศรษฐกิจสหรัฐฯไม่ดี ส่งสัญญาณบริษัทที่เหลือคงพับแผน นักวิเคราะห์มองกลุ่มนี้ไม่ มีปัญหา แม้ต้องใช้ เงินขยายธุรกิจอีกมาก ด้วยสถานะดีระดมทุนในประเทศได้ไม่ยาก
บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SHIN ได้ตัดสินใจที่จะเลื่อนแผนการเข้าไปเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดแนสแดค จากเดิมที่จะต้องนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในต้นปีนี้ ทั้งนี้เป็นผลมาจากตลาดแนสแดคได้เข้าสู่ช่วงขาลง แหล่งข่าวจากกลุ่มชินฯ ให้เหตุ ผลว่า พวกเราประเมินกันแล้วว่าตลาดหุ้นของสหรัฐ โดยเฉพาะแนสแดคคงต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะฟื้นตัว เห็นได้จากผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในแนสแดคส่วน ใหญ่มีรายได้ลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ สหรัฐฯที่อยู่ในช่วงชะลอตัว โดยที่ธนาคารกลางสหรัฐฯกำลังพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งซึ่งจะทราบผลในวันนี้
"หากตลาดแนสแดคดีขึ้นเมื่อไหร่ เราคง จะหันมาทบทวนแผนการระดมทุนอีกครั้ง"
สิ่งที่เกิดขึ้นจะทำให้นักลงทุนในสหรัฐฯให้ความสนใจหุ้นในกลุ่มนี้ลดลงและอาจจะเคลื่อนย้ายเงินลงทุนออกจากสหรัฐฯ ซึ่งจะมีผลต่อราคาหุ้นที่จะนำไปเสนอขาย รวมไปถึ งแผนที่ทางกลุ่ม เคยคิดที่จะออกตราสารแทนหุ้นบริษัทและเปิดให้ซื้อขายในต่างประเทศได้ ซึ่ง คงจะต้องเปลี่ยนแผนไปเช่นกัน
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์กล่าวว่า การถอยจากการระดมทุนในสหรัฐของกลุ่มชินฯ ถือว่า เป็นสัญญาณบอกกับบริษัทอื่นๆ ที่มีแผนจะนำเอาบริษัทไปจดทะเบียนที่แนสแดคว่าคงจะต้องคิดเหมือนกลุ่มชินฯ เพราะกลุ่มตั้งความหวังไว้ส่วนใหญ่จะมีสถานะเป็นรองกลุ่มชินฯ แทบทั้งสิ้น
นอกจากนี้ตราสารของบริษัทในย่านเอเชียที่ออกเพื่อใช้ซื้อขายในสหรัฐฯเกือบทุกแห่งมีราคาตกลงเป็นอย่างมาก ดังนั้นการที่ตลาดหุ้นแนสแดคมีปัญหาเท่ากับเป็นการดับความหวังของบริษัทต่างๆ ที่คิดจะเข้าไประดมทุนในสหรัฐฯ
แม้ว่ากลุ่มชินฯ จะปรับแผนไม่ไป ระดมทุนที่สหรัฐฯ แต่คงไม่สร้างปัญหาให้กับกลุ่มชินฯ ทั้งๆ ที่ทางกลุ่มจะต้องใช้เงินอีกจำนวนไม่น้อยเพื่อขยาย ธุรกิจ เนื่องจากโดยศักยภาพของกลุ่ม นี้สามารถที่จะแหล่งเงินทุนได้ไม่ยากนัก และบริษัทลูกก็สามารถออกหุ้นกู้ได้เอง
.
* ที่มา Kimeng & Manager