ภายหลังจากการที่นายสมัคร สุนทรเวช ได้ประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพิ่มอีก 2 ฉบับในวันนี้ (4 กันยายน 2551)
นี่คือการปฏิวัติตัวเอง ของนายสมัคร สุนทรเวช...!!!!การกระทำในครั้งนี้ เราเรียกว่า
Executive Power ซึ่งจะมีใช้ในประเทศที่
ปกครองแบบประธานาธิบดีเท่านั้น
Executive Power คือ การโอนอำนาจทั้งหมดของรัฐมนตรี มาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี แต่เพียงผู้เดียว โดยที่ไม่ต้องผ่านความเห็นของรัฐสภา
นั่นบ่งบอกถึง การไม่เป็นประชาธิปไตย เพราะไม่จำเป็นต้องมีรัฐสภา
เท่ากับว่า ตอนนี้เราได้เปลี่ยนรูปแบบการปกครองไปเป็นแบบประธานาธิบดีแล้ว
เนื้อหาจากคำประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน กล่าวถึงอำนาจทั้งหมดตกอยู่ที่
นายกรัฐมนตรีแต่เพียงผู้เดียว
และเมื่อมีการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ออกมาแล้ว คำวินิจฉัยใดๆจากศาลปกครอง แม้กระทั่งศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่มีผล ดังปรากฎเป็นหลักฐานตามประกาศ
...................................................................................................................
วันนี้ (4 ก.ย.) พล.ต.ท.วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นัดเฉพาะกิจ ที่กองบัญชาการกองทัพไทย ว่า ทางสำนักนายกรัฐมนตรีจำเป็นต้องออกประกาศ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อีก 2 ฉบับ จึงมีความจำเป็นต้องเรียกประชุม ครม.ให้รับทราบและเห็นชอบตามประกาศนี้ ภายใน 3 วัน
พ.ร.ก.ฉบับแรก คือ การจัดตั้งกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ กอฉ.โดยผ่านความเห็นชอบของ ครม.ซึ่ง นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี จึงมีคำสั่งจัดตั้ง กอฉ.โดย กอฉ.ประกอบด้วย ผู้บัญชาการทหารบก เป็นผู้อำนวยการ ผบ.ตร เป็นรองผู้อำนวยการ แม่ทัพภาคที่ 1 เป็นรองผู้อำนวยการ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ อธิบดีกรมสารนิเทศ ปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ผู้บัญชาการศูนย์รักษาความปลอดภัยกองบัญชาการกองทัพไทย ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามความจำเป็น ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายยุทธการ เป็นกรรมการ สำหรับผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายยุทธการ เป็นกรรมการและเลขานุการ เสนาธิการกองทัพภาคที่ 1 เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ข้าราชการตำรวจ และข้าราชการพลเรือนตามผนวก เป็นเจ้าหน้าที่ รวมทั้งสิ้น 19 ตำแหน่ง
สำหรับคณะกรรมการดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1.เป็นหน่วยงานหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
2.จัดให้มีหน่วยงานหรือศูนย์ปฏิบัติการ เพื่อเป็นองค์ประกอบปฏิบัติการภายใต้ กอฉ.ให้มีอำนาจในการแก้ไขปราบปรามยับยั้งสถานการณ์ฉุกเฉิน ตามที่ได้รับมอบหมาย
3.ดำเนินการทางด้านการข่าว
4.ดำเนินการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข่อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง ตามความเป็นจริง เพื่อทำความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐบาลและประชาชนทุกภาคส่วน รวมทั้งปฏิบัติการด้านจิตวิทยาที่เกี่ยวข้อง สำหรับการดำเนินการข่าวกรองนั้น ให้ดำเนินการด้านการข่าวและต่อต้านข่าวกรองที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ฉุกเฉินและที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ หรือการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
5.จัดกำลังตำรวจและทหารดำเนินงานตามแผนรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ และสถานที่สำคัญต่างๆ รวมทั้งประสานส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ ซึ่งเป็นเจ้าของสถานที่ดำเนินการป้องกันตัวเอง ตามความสามารถ
6.มอบหมายให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องสนับสนุนกำลังพล งบประมาณ วัสดุ ครุภัณฑ์ ยานพาหนะ และเครื่องมือต่างๆ เพื่อดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
7.เรียกให้ส่วนราชการ หรือหน่วยงานของรัฐ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐเข้าประชุมชี้แจง ให้ข้อมูลข่าวสารตามที่เห็นสมควร
8.แต่งตั้งคณะที่ปรึกษาหรือเจ้าหน้าที่ เพื่อดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินตามความจำเป็น
9.ดำเนินการอื่นๆ ตามที่นายกฯ หรือครม.มอบหมาย
สั่ง ณ วันที่ 4 กันยายน พ.ศ.2551
นายสมัคร สุนทรเวช
นายกรัฐมนตรี
พ.ร.ก.อีกฉบับ 1 กำหนดอำนาจหน้าที่ของ ครม.ตามกฎหมาย เป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี ภายหลังมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขต กทม.ตามกฎหมายฉบับนี้
ให้รัฐนตรี และ ครม.ให้มอบอำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวง โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตอนุมัติสั่งการตามบังคับบัญชา หรือแก้ไขป้องกัน ปราบปราม ระงับยับยั้ง สถานการณ์ฉุกเฉิน หรือช่วยเหลือประชาชนที่อยู่ในท้องที่ที่ประกาศภาวะฉุกเฉิน
โดยจะมีกฎหมาย 20 ฉบับ ดังนี้
1.พ.ร.บ.จัดระเบียบข้าการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2551
2.พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าน พ.ศ.2493
3.พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547
4.พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522
5. พ.ร.บ.ควบคุมโภคภัณฑ์ พ.ศ.2495
6. พ.ร.บ.ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ.2520
7.พ.ร.บ.ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ.2522
8.พ.ร.บ.ควบคุมอาหาร พ.ศ.2522
9.พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณา โดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ.2493
10.พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535
11.พ.ร.บ.การจราจรทางบก พ.ศ. 2522
12.พ.ร.บ.การสุรา พ.ศ.2493
13.พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522
14.พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535
15.พ.ร.บ.วัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ.2485
16.พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490
17.พ.ร.บ.การเนรเทศ พ.ศ.2499
18. ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ เฉพาะบทบัญญัติที่เกี่ยวกับมูลนิธิและสมาคม
19.ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เฉพาะบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจสืบสวนและสอบสวน และการใช้อำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
20.ข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยการใช้กำลังทหาร การเคลื่อนกำลังทหารและการเตรียมพร้อม พ.ศ.2545
ลงนาม นายสมัคร สุนทรเวช
ประกาศวันที่ 4 กันยายน 2551
http://www.parliament.go.th/news/news_detail.php?prid=158424