ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
29-03-2024, 00:59
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  เสรีภาพในการชุมนุมคืออะไร (เชิงวิชาการ) 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
เสรีภาพในการชุมนุมคืออะไร (เชิงวิชาการ)  (อ่าน 2561 ครั้ง)
Shandi1990
น้องใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4


« เมื่อ: 30-08-2008, 01:43 »

มาตรา 63 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
     "บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ
      การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะในกรณีการชุมนุมสาธารณะ และเพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงคราม หรือในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึก"

แต่เท่าที่ข้าพเจ้าเห็น พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยไม่ได้ชุมนุมโดยสงบ จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน "สงบ หมายถึง ระงับ, หยุดนิ่ง, กลับเป็นปรกติ, ปราศจากสิ่งรบกวน, ไม่กำเริบ, ไม่วุ่นวาย หรือใครมีความเห็นว่าการบุกรุกสถานที่ราชการและการกีดขวางผิวจราจรนั้น ไม่ได้ทำให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง อีกทั้งจากภาพที่ปรากฏว่ามีการพบอาวุธในกลุ่มพันธมิตรฯ (แม้จะอ้างว่าตำรวจใส่ร้ายก็เอาเถอะ) แต่เพียงการก่อความไม่สงบก็ไม่น่าจะถือว่าการชุมนุมของพันธมิตรฯ เป็นการใช้เสรีภาพที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญตามวรรคหนึ่งของมาตรานี้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งความในวรรคสอง ก็คงไม่มีใครปฏิเสธว่าเป็นการชุมนุมสาธารณะ ในเมื่อมีกฎหมายคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะอยู่ และพันธมิตรฯ ก็ได้สร้างความไม่สะดวกให้แก่ประชาชนดังกล่าวจริง การใช้เสรีภาพตามมาตรานี้ก็ย่อมสามารถถูกจำกัดได้ มิได้เป็นดังเช่นที่พันธมิตรฯ อ้างว่าตนมีความชอบธรรมในการชุมนุมประท้วงนี้ไม่ ผมจึงมีความเห็นในข้อกฎหมายว่าพันธมิตรฯ ไม่มีสิทธิอันชอบธรรมในการชุมนุมครั้งนี้มาตั้งแต่ต้น

ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลายสมควรไตร่ตรองให้จงหนักว่า
การชุมนุมประท้วงโดยใช้กำลังบีบบังคับ กล่าววาจาหยาบคาย และมุ่งประสงค์ข่มขืนใจให้บุคคลอื่นกระทำการตามความต้องการของตนหรือกลุ่มตน ทั้งได้ใช้เสรีภาพที่ตนมีละเมิดซึ่งสิทธิของผู้อื่นเช่นว่านี้ ถือเป็นการชุมนุมที่ชอบธรรมตามระบอบประชาธิปไตยหรือไม่ หากกระทำดังกล่าวเป็นสิ่งอันชอบธรรมตามระบอบการปกครองแบบนี้แล้วไซร้ ประชาธิปไตยก็ไม่น่าจะเป็นระบอบการปกครองที่ดีได้ เพราะหลักการพื้นฐานของการปกครอง คือ การมุ่งสร้างความมั่นคงให้แก่ประเทศชาติ (หมายรวมถึงความปลอดภัยของประชาชนด้วย) และ สร้างความมั่งคั่งให้แก่ประชาชน (หมายรวมถึงความสุขทางจิตใจด้วย) ถ้าประชาธิปไตยยินยอมให้ใครก็ได้มีสิทธิชุมนุมประท้วงแล้วทำลายความมั่นคงแห่งประเทศชาติหรือความมั่งคั่งแห่งประชาชนได้ ต่อไปใครจะสามารถปกครองประเทศชาติและสร้างความผาสุกให้แก่ประชาชนได้ ดังเช่นที่ปรากฏในเหตุจลาจลทั่วโลก ก็เพราะการให้เสรีภาพในการชุมนุมประท้วงมากเกินไป ทั้งนี้ข้าพเจ้ายังคงเห็นว่าบุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมและสิทธิตามธรรมชาติอย่างสมบูรณ์ แต่มิใช่การประท้วงโดยการปิดถนนหรือใช้สิทธิของตนละเมิดสิทธิของผู้อื่นดังที่เป็นอยู่ เวลานี้จึงเป็นการสมควรที่นักคิดทางรัฐศาสตร์ทั้งหลายจะได้ไตร่ตรองให้ดีระหว่างการยอมรับในเสรีภาพของการชุมนุมประท้วงอย่างกว้างขวางกับหลักการปกครองสองข้อดังกล่าว หามิเช่นนั้นประชาธิปไตยก็มิต่างอันใดกับอนาธิปไตย

ข้าพเจ้าอาจจะคิดแบบอนุรักษ์นิยมเกินไป หากท่านใดมีความเห็นแย้งก็แสดงความคิดเห็นมาได้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30-08-2008, 10:47 โดย Shandi1990 » บันทึกการเข้า
KUKKUK
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 185


« ตอบ #1 เมื่อ: 30-08-2008, 10:15 »

ก่อนอื่นต้องเริ่มวิเคราะห์วัฒนธรรมทางการเมืองของไทยที่ผ่านมาก่อนครับ 

วัฒนธรรมการเมืองของไทย
 
เกิดจากอดีต: อยุธยาเป็นต้นมา-สมบูรณาญาสิทธิราชย์(เทวราชา)-ระบบอุปถัมภ์(ศักดินา) ส่งผลให้วัฒนธรรมการเมืองของเรา
เป็นแบบจารีตประเพณีดั้งเดิมที่เน้นอำนาจนิยมมีโอกาสเรียนรู้และเข้าใจปชต.น้อยมากเพราะเรามีปชต.เฉพาะโครงสร้าง ปชช.ไม่ได้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่แท้จริงปชช.ไม่ค่อยมีส่วนร่วม

สิ่งที่สังคมประชาธิปไตยที่พัฒนาต้องการ......
   

1)ส่งเสริมวัฒนธรรมการเมืองแบบปชต
2)ปลูกฝัง วัฒนธรรมการเมืองแบบมีส่วนร่วม

 การมีส่วนร่วมทางการเมืองแบ่งเป็น3 ภาค.....
   
1)ภาคประชาชน
2)ภาคตัวแทน(สส. สว. สท. สจ.)
3)ภาคตรวจสอบ(องค์กรอิสระต่างๆ)

ภาคประชาชน ลักษณะ การมีส่วนร่วมทางการเมืองทั่วไป.....   
1.การกำหนดตัวผู้ปกครองไปเลือกตั้งถอดถอน
2.ผลักดันการตัดสินใจ
  -Interest Group(กลุ่มผลประโยชน์)เรียกร้องเพื่อผลประโยชน์กลุ่มตน
  -Pressure Group(กลุ่มผลักดัน)เรียกร้องเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม
3.วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลแสดงเหตุผลเชิงสร้างสรรค์
4.ชุมนุมเคลื่อนไหวหากรัฐบาลไม่ตอบสนอง*************   

**ประชาชนกำลังใช้สิทธิ์ และกำลังหล่อหลอมกล่อมเกลา สร้างสรรค์ วัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วม**

***ในภาพร่วมประชาชนยังอยู่ในกรอบของกระบวนการทางการเมืองภาคประชาชน ***

**ส่วนปลีกย่อยจะผิดพลาดบ้างก็เพราะเป็นการเรียนรู้ที่มีโอกาสล้มลุกคลุกคลาน แบบเด็กตั้งไข่ได้**

***ซึ่งคงเป็นไปตามสถานการณ์ ถ้าไม่เริ่ม ก็ไม่ได้ทำ ก็ไม่มีทางสำเร็จ***



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30-08-2008, 10:22 โดย KUKKUK » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: