ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
19-04-2024, 17:58
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  คนที่เคยออกมายืนกลางแจ้งแฉความชั่วหน้า[_]ก่อนหน้าสนธิ ที่เรา(เกือบ)ลืมไปแล้ว 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
คนที่เคยออกมายืนกลางแจ้งแฉความชั่วหน้า[_]ก่อนหน้าสนธิ ที่เรา(เกือบ)ลืมไปแล้ว  (อ่าน 2368 ครั้ง)
AsianNeocon
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,277


中華萬歲﹗ LONG LIVE CHINA!


เว็บไซต์
« เมื่อ: 17-06-2006, 22:16 »

ก่อนหน้าที่จะสนธิจะพลิกบทบาทจากการเชลียร์ มาเป็นการสร้างรูโหว่ขนาดใหญ่แก่ระบอบหน้าเหลี่ยม แบบไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน

มีใครบ้างที่เขากล้าหาญออกมาแฉ ออกมาพูดในสิ่งที่ประชาชนทั่วไปอย่างเราไม่รู้ หรือรู้แต่คาดไม่ถึง และเราเกือบจะลืมไปแล้วว่าเขาเคยกล้าออกมา

1. ชิปปิ้งหมู เขาอาจไม่ใช่คนที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง แต่เขาก็กล้า ผลลัพธ์คือ ตายครับ
2. อ.เจิมศักดิ์ เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่มีความรู้เกี่ยวกับข้าวมากที่สุดคนหนึ่งของไทย และต่อต้านเผด็จการมาตลอด เขียนหนังสือรู้ทันทักษิณ 2 เล่ม บวกภาคผนวกอะไรต่อมิอะไร กลับถูกสังคม(จะด้วยกระแสจัดตั้งหรืออะไรแล้วแต่) ประณาม หาว่าสมคบปชป.มั่งหละ อิจฉามั่งหละ แต่ท่านก็ทนก้อนอิฐก้อนหิน หรือแม้แต่ความเสี่ยงจากลูกกระสุนนับเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 6 ปี และท่านรู้ทันตั้งแต่หน้าเหลี่ยมจะตั้งชินลักไทยขึ้นมาซะอีก จนบัดนี้มีคนส่วนหนึ่งตาสว่าง ผมไม่มั่นใจว่า สังคมไทยจะหาคนทั้งมีมันสมอง ทั้งซื่อสัตย์ตรงไปตรงมาแบบนี้ได้อีก
3. อ.นิธิ เอียวฯ, อ.ปราโมทย์ นาครฯ, อ.ชัยอนันต์ และนักวิชาการอื่นๆ ผลคือ ............... เงียบ
4. เอกยุทธ อัญชันบุตร, น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ และคุณประชัย เลี่ยวไพรัตน์ เป็นไงครับ .............. เงียบ และ 3 คนนี้ต้องโดดเดี่ยว สังคมก็ไปติโน่นตินี่ ก็เข้าทางหน้าเหลี่ยมใช้กลยุทธ DISCREDIT พอดี เช่น แชร์ชาร์เตอร์มั่ง NPL มั่ง ที่สุดหน้าเหลี่ยมแก้เกมครับ ประกาศ "ใครจะวิจารณ์ผมเชิญเลย ผมเปิดกว้าง" ต่อมาก็ "กลืนน้ำลาย" ดื้อๆ จนเป็นที่มาของ "งานรากหญ้า สู่ รากแก้ว" อันกระหึ่มใหญ่โต

ผมขออภัยที่ระบุรายชื่อออกมาไม่หมด เพราะนึกได้อยู่แค่นี้ อยากให้ทุกคนให้เครดิตบุคคลอื่นๆก่อนหน้าสนธิ ที่กล้าลุกขึ้นมาเปิดโปงความชั่วของหน้าเหลี่ยมบ้าง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17-06-2006, 22:19 โดย ThaiTruth » บันทึกการเข้า

ไทมุง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,543



« ตอบ #1 เมื่อ: 17-06-2006, 22:21 »

เรียน  คุณจูล่ง_j

ก่อนหน้านี้ ดร.ไสว  บุญมา  ก็เขียนคอลัมน์ใน กท.ธุรกิจ วันศุกร์ มาตลอด

ถึงข้อเคลื่อบแคลงต่อนโยบายของ ทักษิน

เพียงแต่ช่วงนั้น สังคมไทย ยังหลงกับการ "คิดใหม่ ทำใหม่" อยู่
บันทึกการเข้า
AsianNeocon
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,277


中華萬歲﹗ LONG LIVE CHINA!


เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 17-06-2006, 22:25 »

คุณไทมุง พูดถึง ดร.ไสว บุญมา ซึ่งเป็นผู้นำประวัติศาสตร์อาร์เจนติน่ามาตีแผ่ให้คนไทยไว้พึงสังวรณ์ แต่เสียดาย ก็ยังไม่มีคนอ่านจำนวนมากนัก

ทำำให้ผมนึกถึง ดร.เขียน ธีระวิทย์ เคยเขียนเตือนลงหนังสือพิมพ์ Post Today เป็นคอลัมน์ใหญ่ 1 หน้า นานประมาณเกือบ 4 ปีแล้ว
บันทึกการเข้า

Kittinunn
Aloha007
Global Moderator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,127


ไปได้สวย...ด้วยเกียร์ต่ำ!!!


เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 17-06-2006, 22:28 »

ทีนี้ตาผมบ้าง ผมรู้สึกเศร้าใจกับการสูญเสียของบุคคล 3 ท่าน คือ

- คุณเจริญ วัดอักษร

- พระสุพจน์

และสุดท้าย ทนายสมชาย ...
บันทึกการเข้า

“ผมเขียนไปในบล็อกนั้น แบบข้างบนนี้เหมือนกัน นึกว่า จะโพสต์ ปรากฏว่า เขาบอกว่า ต้อง สมัครสมาชิกก่อน ผมขี้เกียจ เลยมาโพสต์ที่นี่แทน อ้อ ตอนเขียน ผมใส่คำว่า ทุเรศ และ น่าสมเพช ไปด้วย” (อ.สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล-เว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน - ข้อความในเสรีไทย โดย Snowflake)

ไทมุง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,543



« ตอบ #4 เมื่อ: 17-06-2006, 22:35 »

น้อง  Aloha007

สนใจสมัคร กกต.ป่าว

ถ้าสมัครจะเลือกจ้ะ
Laughing
บันทึกการเข้า
Kittinunn
Aloha007
Global Moderator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,127


ไปได้สวย...ด้วยเกียร์ต่ำ!!!


เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 17-06-2006, 22:38 »

น้อง  Aloha007

สนใจสมัคร กกต.ป่าว

ถ้าสมัครจะเลือกจ้ะ
Laughing

หน้าไม่หนาพอ ... ล้อเล่น

พอดีรับตำแหน่งเป็น ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ไปแย้ว
บันทึกการเข้า

“ผมเขียนไปในบล็อกนั้น แบบข้างบนนี้เหมือนกัน นึกว่า จะโพสต์ ปรากฏว่า เขาบอกว่า ต้อง สมัครสมาชิกก่อน ผมขี้เกียจ เลยมาโพสต์ที่นี่แทน อ้อ ตอนเขียน ผมใส่คำว่า ทุเรศ และ น่าสมเพช ไปด้วย” (อ.สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล-เว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน - ข้อความในเสรีไทย โดย Snowflake)

ไทมุง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,543



« ตอบ #6 เมื่อ: 17-06-2006, 22:48 »

เพิ่มเติมรายชื่อค่ะ

คุณ 'รงค์  วงษ์สวรรค์

ก็เขียนทำนองเคลือบแคลงทักษิณ ในมติชน รายสัปดาห์
บันทึกการเข้า
Kittinunn
Aloha007
Global Moderator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,127


ไปได้สวย...ด้วยเกียร์ต่ำ!!!


เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 17-06-2006, 22:49 »

วันนี้ไปร้านซีเอ็ดมา อ่านหนังสือ รู้ทันทักษิณ 2 และ 3 และ 4

เราน่าจะมารวบรวมรายชื่อนักเขียนรับเชิญในเล่มนี้นะ
บันทึกการเข้า

“ผมเขียนไปในบล็อกนั้น แบบข้างบนนี้เหมือนกัน นึกว่า จะโพสต์ ปรากฏว่า เขาบอกว่า ต้อง สมัครสมาชิกก่อน ผมขี้เกียจ เลยมาโพสต์ที่นี่แทน อ้อ ตอนเขียน ผมใส่คำว่า ทุเรศ และ น่าสมเพช ไปด้วย” (อ.สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล-เว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน - ข้อความในเสรีไทย โดย Snowflake)

THX
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 569



« ตอบ #8 เมื่อ: 17-06-2006, 23:01 »

คุณสุภิญญา กลางณรงค์ ที่เขียนวิจารณ์ ผลประโยชน์ทับซ้อนของเครือชินวัตรแล้วโดนฟ้อง 400 ล้านบาทไงครับ ผลสุดท้าย ยกฟ้อง
บันทึกการเข้า



พวกเรา..เรารู้สึกว่าจะมีสายลับปลอมมาในหมู่ของพวกเราโดยไม่รู้ตัว=__='



( づ ̄ 3 ̄ )づ~~~♡♡♡ ~~
ไทมุง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,543



« ตอบ #9 เมื่อ: 17-06-2006, 23:03 »

ลืมไม่ได้คนนี้  สุริยะใส  กตะศิลา  ก็เคยเขียนบทความต่อต้านระบอบ ทักษิณก่อนขึ้นเวทีพันธมิตร
บันทึกการเข้า
oversea
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 33


« ตอบ #10 เมื่อ: 18-06-2006, 09:18 »


สำหรับท่านที่หลงไหล....นาย นิธิ เอียวศรีวงศ์.... มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

ขอให้อ่านบทความทำนองเลื่อยขาเก้าอี้พ่อหลวง....ดังนี้




วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 26 ฉบับที่ 1324

นิธิ เอียวศรีวงศ์   ในพระปรมาภิไธย และพระบรมราชโองการ


ผมไม่ทราบเจตนาที่แท้จริงของผู้ที่ยกเอาพระราชอำนาจขึ้นมากล่าวถึงอย่างกว้างขวางเมื่อไม่นานมานี้ แต่ผมพบว่าข้อถกเถียงทั้งหมดก่อให้เกิดความสับสนในประเด็นที่มีความสำคัญต่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

และผมทะเยอทะยานที่จะหาหลักสำหรับสร้างความชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้

ถ้าว่าตามกฎหมายแล้ว สถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยมีอำนาจเท่าที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น ยิ่งไปกว่านั้น ยังอาจกล่าวได้ด้วยว่า พระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะบุคคลแทบจะไม่ได้แตกต่างจากบุคคลธรรมดาอื่นๆ เลย ซ้ำร้าย ยังถูกลิดรอนสิทธิ์บางอย่างอีกด้วย เช่น ทรงเษกสมรสกับหญิงต่างชาติไม่ได้ ทรงนับถือศาสนาอื่นนอกจากพระพุทธศาสนาไม่ได้ เป็นต้น

ผมไม่ปฏิเสธนะครับว่า ไม่ว่าสถาบันหรือบุคคล ย่อมมี "อำนาจ" หรือไร้ "อำนาจ" นอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนดทั้งนั้น เช่น พ่อมี "อำนาจ" เหนือลูก, ครูและผู้อาวุโสเหนือศิษย์และผู้เยาว์ ชายเหนือหญิงในบางเรื่อง เป็นต้น ฉะนั้น จึงไม่แปลกที่สถาบันพระมหากษัตริย์ย่อมทรงไว้ซึ่งอำนาจนอกจากที่กฎหมายกำหนดอีกมาก เช่น เมื่อเป็นที่เคารพสักการะ ก็ย่อมมีอำนาจทางวัฒนธรรมสูง

แต่ที่ถกเถียงอภิปรายกัน ไม่ได้มุ่งจะหมายถึงพระราชอำนาจทางวัฒนธรรม, ทางศีลธรรม หรือทางเศรษฐกิจ แต่หมายถึงพระราชอำนาจตามโครงสร้างการเมืองการปกครองที่เป็นทางการ

พระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ตามที่กฎหมายกำหนดนั้นมีหลายอย่าง นับตั้งแต่แต่งตั้งบุคคลดำรงตำแหน่งต่างๆ ไปจนถึงการพระราชทานอภัยโทษผู้ต้องคดี และทรงใช้อำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นของปวงชนชาวไทย

และหลักที่จะยึดเกี่ยวกับพระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ก็อยู่ตรงนี้แหละครับ คือทรงใช้หรือเป็นตัวแทนของอำนาจอธิปไตยอันเป็นของปวงชนชาวไทย

จะว่าเป็นอำนาจศักสิทธิ์ หรืออำนาจสูงสุดก็ได้ เพราะเป็นอธิปไตยของปวงชน

ผมเคยได้ยินท่านผู้พิพากษาบางท่านย้ำเสมอว่า ท่านพิพากษาคดีในพระปรมาภิไธย ซึ่งถูกต้องตามหลักการ แต่จะเข้าใจผิดไม่ได้ว่าพิพากษาแทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะบุคคล มิฉะนั้น พระองค์ก็ต้องเข้ามารับผิดชอบกับคำพิพากษาด้วย เรื่องมันจะมิยุ่งกันใหญ่หรือครับ

แต่คำพิพากษาที่ทำในพระปรมาภิไธยนั้น ก็เพราะอำนาจตุลาการเป็นอำนาจอธิปไตยของปวงชน อย่าลืมนะครับว่าคำพิพากษาของศาลนั้นคือการละเมิดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของพลเมือง เช่น ปรับ, เอาตัวไปจำขัง, หรือประหารชีวิต เรื่องใหญ่ขนาดนี้ต้องอิงอาศัยอำนาจของประชาชน หรือที่เราเรียกว่าอธิปไตยเท่านั้น

ที่ต้องแยกอำนาจตุลาการออกเป็นอีกส่วนหนึ่งของอธิปไตยก็เพราะเหตุนี้ เนื่องจากคำพิพากษาย่อมกระทบถึงสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของพลเมือง อำนาจตุลาการจึงต้องงอกออกมาจากอำนาจอธิปไตยโดยตรง ไม่ผ่านอำนาจนิติบัญญัติหรือบริหาร

พระปรมาภิไธยเป็นเครื่องหมายถึงอำนาจอธิปไตยของปวงชน เตือนให้ผู้พิพากษาสำนึกถึงฐานที่มาของอำนาจในคำพิพากษา จึงต้องใช้อำนาจนั้นอย่างรอบคอบและเที่ยงธรรม เพื่อประโยชน์สุขของสังคมหรือปวงชน

พูดกันตรงไปตรงมาก็คือไม่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ที่เป็นบุคคล แต่เกี่ยวอย่างแยกไม่ออกจากอธิปไตยของปวงชน ซึ่งพระมหากษัตริย์ในฐานะที่เป็นสถาบันทรงใช้แทนปวงชน

ในทำนองเดียวกัน สิ่งที่เรียกว่าพระบรมราชโองการ โบราณอาจมีความหมายอย่างหนึ่ง แต่ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ย่อมหมายถึงคำสั่งที่อาศัยอำนาจอธิปไตยของปวงชนสั่ง

นั่นคือกฎหมายระดับ พ.ร.บ.ทุกฉบับจึงเป็นพระบรมราชโองการ เช่นเดียวกับประมวลกฎหมายอาญาและแพ่งพานิชย์ ในทางปฏิบัติคือต้องผ่านสภาผู้แทน และทรงลงพระปรมาภิไธย

กฎหมายเหล่านี้ย่อมจำกัดสิทธิเสรีภาพบางประการของปวงชน (เช่น ห้ามลักขโมย หรือห้ามค้าประเวณีประเจิดประเจ้อ) ดังนั้น จึงต้องอาศัยอำนาจอธิปไตยของปวงชนเท่านั้น จึงจะสั่งให้มีข้อจำกัดต่อเสรีภาพเหล่านั้นได้

และด้วยเหตุดังนั้น จึงต้องเป็นพระบรมราชโองการ ซึ่งเป็นเครื่องหมายถึงอำนาจอธิปไตยดังกล่าว

(ผมยอมรับว่ามีการปฏิบัติที่หละหลวมจากหลักการนี้ เช่น กฎกระทรวงซึ่งไม่ใช่พระบรมราชโองการ ควรเป็นเพียงคำสั่งในการบริหารที่ไม่จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน แต่สภาชอบออก พ.ร.บ.ที่ให้อำนาจฝ่ายบริหารไว้ให้ออกระเบียบหรือกฎกระทรวงตามมาไว้กว้าง บางครั้งก็จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนมากกว่าตัว พ.ร.บ.เสียอีก แม้ว่าระเบียบหรือกฎเหล่านี้อาศัยอำนาจจาก พ.ร.บ. ซึ่งเป็นพระบรมราชโองการ แต่ก็ห่างออกมาจากอธิปไตยของปวงชนไปอีกขั้นหนึ่งแล้ว จึงต้องระวังไม่ให้อำนาจไว้เกินความจำเป็นของการบริหารให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.)

พระบรมราชโองการอีกประเภทหนึ่งคือ แต่งตั้งบุคคลดำรงตำแหน่ง

ผมคิดว่าหลักการก็อันเดียวกัน ตำแหน่งสาธารณะที่พึงได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้ง ควรเป็นตำแหน่งที่เกิดจากอำนาจอธิปไตยของปวงชน

ตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายๆ ก็ เช่น นายกรัฐมนตรี และ ครม. เพราะบุคคลเหล่านี้ได้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวเนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรมีมติเสนอชื่อขึ้นกราบบังคมทูล และสภาก็มาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง จึงเป็นเรื่องอำนาจอธิปไตยของปวงชนโดยตรงเช่นกัน

ที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งบุคคลเหล่านี้ให้ดำรงตำแหน่งก็เพราะมีที่มาจากอธิปไตยของปวงชนชาวไทย แต่ ส.ส.ไม่ต้องมีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง เพราะประชาชนได้ใช้อำนาจอธิปไตยของตัวโดยตรงในการเลือกตั้งแล้ว ไม่ได้ใช้ผ่านตัวแทน

ผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินก็เช่นกัน ได้รับเลือกสรรจากวุฒิสภา จึงเป็นตำแหน่งที่สืบเนื่องกับอำนาจอธิปไตยของปวงชน และต้องมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้เป็น ในขณะที่ครูระดับสามได้รับแต่งตั้งจากผู้บริหารของกระทรวงศึกษา เป็นการบริหารงานภายในของกระทรวงเอง ไม่เกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยของปวงชน จึงไม่ต้องมีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง

คำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญว่ากระบวนการสรรหาผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงมีความซับซ้อนมากกว่าจะตัดสินไปง่ายๆ ว่า เหตุดังนั้น ผู้ดำรงตำแหน่งอยู่ในขณะนั้นจึงอยู่ในฐานะเท่ากับยังไม่ได้ดำรงตำแหน่ง เพราะไม่ว่ากระบวนการจะผิดหรือถูกกฎหมายอย่างไรก็ตาม ได้ผ่านวุฒิสภาซึ่งเป็นส่วนสำคัญอีกอันหนึ่งของอำนาจอธิปไตยไปแล้ว และการที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑะกา เป็นผู้ว่าการ ก็เท่ากับได้รับการรับรองจากอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยอย่างแน่นอน

ข้ออ้างของคุณหญิงว่า เมื่อมีพระบรมราชโองการแล้ว จะให้พ้นจากตำแหน่งต้องมีพระบรมราชโองการถอดถอนเสียก่อนเท่านั้น ท่านจะมีความเข้าใจว่าอย่างไรผมไม่ทราบ แต่ความเข้าใจของผมไม่สู้ตรงกับที่หนังสือพิมพ์และคนที่เชียร์คุณหญิงเท่าไหร่นัก

เพราะท่านเหล่านั้นพูดให้เข้าใจว่า พระบรมราชโองการเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ฝืนไม่ได้ เพราะออกมาจากองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะ แต่ผมคิดว่าความเข้าใจอย่างนี้ผิด และก่อให้เกิดภัยพิบัติแก่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอย่างยิ่ง



ในระบอบนี้ พระมหากษัตริย์จะไม่ทรงมีพระบรมราชโองการใดๆ ทั้งสิ้น ถ้าไม่ได้เป็นการใช้อำนาจอธิปไตยของปวงชน (เช่น ทรงสั่งให้ออกรถพระที่นั่งได้ ไม่ใช่พระบรมราชโองการ แต่เป็นรับสั่งธรรมดาเท่านั้น) ฉะนั้น พระบรมราชโองการแต่งตั้งคุณหญิงจึงเป็นคำสั่งของอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย ซึ่งไม่มีอะไรจะใหญ่เกินไปได้ รวมทั้งศาลรัฐธรรมนูญด้วย

ดังนั้น ผมจึงเห็นด้วยกับความเห็นของ ส.ว. ท่านหนึ่งที่กล่าวว่า หากปฏิบัติตามคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญอย่างไม่รอบคอบ ก็เท่ากับปล่อยให้ศาลรัฐธรรมนูญเข้ามาใช้อำนาจวินิจฉัยจำกัดอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ (ซึ่งเป็นอธิปไตยของปวงชน) ที่ไม่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ

อำนาจวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่จะมีเหนือสภาได้ มีอยู่อย่างเดียว คือวินิจฉัยว่าการดำเนินงานของสภาละเมิดรัฐธรรมนูญหรือไม่เท่านั้น

เรื่องนี้จึงไม่ง่ายที่จะด่วนตัดสินว่า คุณหญิงยังไม่ได้เป็นผู้ว่าการ ทั้งๆ ที่มีพระบรมราชโองการแล้ว เพราะเนื้อแท้แล้วเป็นการถ่วงดุลกันระหว่างอำนาจอธิปไตยสองด้าน ซึ่งถ้าดำเนินการผิดจะกลายเป็นต้นแบบให้อำนาจอธิปไตยบางด้านของปวงชนถูกจำกัดลง

ผมจึงเห็นด้วยกับข้ออ้างของคุณหญิง ที่ว่า ต้องมีพระบรมราชโองการถอดเสียก่อน (แต่อาจจะด้วยเหตุผลที่ต่างกัน) เพราะพระบรมราชโองการที่แต่งตั้งคุณหญิงเป็นการใช้อำนาจอธิปไตย หากจะเปลี่ยนแปลงใดๆ ก่อนวาระ ก็ต้องผ่านอำนาจอธิปไตยก่อน นั่นคือวุฒิสภาต้องมีมติที่ชัดเจนให้ถอดและกราบบังคมทูลให้มีพระบรมราชโองการถอด เนื่องจากพระบรมราชโองการ คือ อำนาจอธิปไตยของปวงชน จะเปลี่ยนแปลงเพิกถอนได้ก็ด้วยอำนาจอธิปไตยของปวงชนเท่านั้น ไม่ใช่การตีความของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และไม่ใช่พระราชดำริส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์ในฐานะบุคคล

อย่างไรก็ตาม มีความสับสนในระบบแต่งตั้งในเมืองไทยว่า เมื่อไรจึงควรเป็นพระบรมราชโองการ เมื่อไรควรเป็นเพียงคำสั่งของรัฐมนตรี เพราะเรารับเอาประเพณีของสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาใช้ โดยไม่จับหลักเรื่องอธิปไตยของปวงชนให้มั่น (อันที่จริงหลักอธิปไตยของปวงชนก็ถูกกระทำชำเรายับเยินจากคณะทหารที่ใช้กำลังเข้ายึดอำนาจ และเหล่าเนติบริกรซึ่งเป็นสมุนรับใช้ เป็นส่วนใหญ่ในช่วงที่เรามีระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข)

การได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงๆ โดยพระบรมราชโองการจึงถือเป็นเกียรติยศ ระบบราชการเลื่อนเปื้อนไปว่าตำแหน่งสูงๆ ทั้งหมดต้องเป็นพระบรมราชโองการ ทั้งๆ ที่การเข้าสู่ตำแหน่งเหล่านั้นล้วนเป็นการใช้อำนาจบริหารภายในของราชการเอง ไม่เกี่ยวอะไรเลยกับอำนาจอธิปไตยของปวงชน

เช่น ตำแหน่งศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัย ยังต้องมีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง ไม่ได้เกี่ยวอะไรเลยนะครับกับอำนาจอธิปไตยของปวงชน ทั้งการใช้อำนาจของศาสตราจารย์ (ถ้าจะมี) ก็ไม่กระทบอะไรกับอำนาจอธิปไตยของปวงชนด้วย พระบรมราชโองการแต่งตั้งจึงเป็นเรื่องเกียรติยศของผู้ได้ดำรงตำแหน่งเท่านั้นไม่มีหลักอะไรมากไปกว่านั้น

หลักการเกี่ยวกับเรื่องของพระปรมาภิไธยและพระบรมราชโองการนั้น ผมคิดว่ามีความสำคัญในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอย่างยิ่ง ไม่ควรปล่อยให้สับสน เพราะจะเป็นอันตรายร้ายแรงต่อระบอบประชาธิปไตยและสถาบันพระมหากษัตริย์ทั้งสองอย่าง

เช่น จากความสับสนในเรื่องนี้ มีผู้เสนอให้ "คืนพระราชอำนาจ" เพื่อแก้ปัญหาบ้านเมือง

ลัทธิ "คืนพระราชอำนาจ" นั้น เพิ่งเกิดในเมืองไทยหลัง พ.ศ. 2500 คือหลังการยึดอำนาจของ สฤษดิ์ ธนะรัชต์ และมักใช้กันเป็นประจำในหมู่ผู้ที่คัดค้านต่อต้านรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารหรือการเลือกตั้ง เนื่องจากเป็นการคัดค้านต่อต้านที่มีอันตรายน้อยที่สุด นั่นคือสมัยก่อนจะกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ก็ไม่ได้ ในสมัยหลังจะว่าเป็นหน้าม้าของฝ่ายค้านก็ไม่ได้

แต่นับจาก พ.ศ.2500 เป็นต้นมาเช่นกัน ที่เราจะพบว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ถูกนักการเมือง (ทั้งในและนอกระบบ) ใช้เป็นข้ออ้างในการเผด็จอำนาจบ้าง หรือรังแกศัตรูทางการเมืองของตนบ้าง หรือทั้งสองอย่างพร้อมๆ กัน โดยสังคมไม่อาจตรวจสอบทัดทานได้ และในขณะเดียวกัน ก็ก่อปัญหาให้แก่สถาบันพระมหากษัตริย์เอง (ดังเช่นการใช้คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเป็นเครื่องมือรังแกศัตรูของตน ก่อให้เกิดความยากลำบากแก่สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอันมาก เนื่องจากเป็นกฎหมายอาญา ผู้ที่จะพิจารณาตัดสินใจฟ้องร้องจึงล้วนอยู่นอกสถาบันพระมหากษัตริย์ทั้งสิ้น แต่สถาบันกลับเป็นผู้รับผลกระทบทางสังคมจากการฟ้องร้องไปเองแต่ผู้เดียว)

ฉะนั้น ถ้าอดีตจะช่วยให้เราคาดเดาอนาคตได้บ้าง การ "คืนพระราชอำนาจ" ในการเมืองไทยจึงมีความหมายแต่เพียง อำนาจเปลี่ยนมือจากกลุ่มที่ถืออยู่ไปยังกลุ่มที่ต่อต้านคัดค้านเท่านั้น

ถ้าใช้สำนวนของนักคิดคนสำคัญของไทยท่านหนึ่งก็คือ "อัปรีย์ไป จั***มา" โดยสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ได้พระราชอำนาจกลับคืนไปจริงแต่อย่างใด

ยังมีความจริงที่ควรสำเหนียกกันด้วยว่า การ "คืนพระราชอำนาจ" ไม่ได้หมายถึงคืนพระราชอำนาจ (ของพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์) ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ในรัชกาลปัจจุบัน แต่หมายถึงคืนพระราชอำนาจนั้นแก่สถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งก็ตั้งความหวังกันว่าจะดำรงอยู่คู่กันไปกับชาติไทยอีกนานเท่านาน

จริงอยู่หรอกที่ว่า ไม่ว่าจะเป็นระบอบปกครองอะไร ตราบเท่าที่มีคนดีคนเหมาะสมมาถืออำนาจปกครองบ้านเมืองได้ เป็นดีที่สุด แต่จุดอ่อนอย่างหนึ่งของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งแม้แต่ผู้นำของระบอบนั้น เช่น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ เองก็ทรงตระหนักเช่นกันคือ ไม่มีหลักประกันอะไรในระบอบนั้นที่ผู้ซึ่งจะดำรงตำแหน่งพระเจ้าแผ่นดินจะเป็นคนดีหรือเหมาะสมเสมอไปทุกรัชกาล

ฉะนั้น ลัทธิ "คืนพระราชอำนาจ" จึงเป็นภัยร้ายแรงแก่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข กล่าวคือ อันตรายทั้งแก่ระบอบประชาธิปไตยและสถาบันพระมหากษัตริย์เหมือนกัน

เคยได้ยินเรื่องกษัตริย์เยอรมันพระองค์หนึ่งปฏิเสธการ "คืนพระราชอำนาจ" ไหมครับ ท่านดำรัสว่า "เราไม่อาจรับมงกุฎจากมือลิงได้" อาจฟังดูยโสโอหัง แต่ที่จริงแล้วถูกต้องตามหลักการเป๊ะเลย นั่นก็คือ ถ้าพระราชอำนาจในระบอบสมบูรณาญาสิทธิ์อาจ "ถวาย" ได้ ผู้ถวายย่อมเรียกคืนเมื่อไรก็ได้ ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นก็ไม่ใช่สมบูรณาญาสิทธิราชย์มาตั้งแต่ต้น


อ้างอิง...

http://www.matichon.co.th/weekly/weekly.php?srctag=0408301248&srcday=2006/03/03&search=no

http://www.midnightuniv.org/midnight2545/document95180.html



วิจารณ์หนังสือเรื่อง "พระราชอำนาจ"     สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

ประมวลเสนอว่า "คนไทยส่วนใหญ่ในปัจจุบันกลับขาดความรู้ความเข้าใจใน 'พระราชอำนาจ' ที่ถูกต้องและเพียงพอ"
และยกตัวอย่าง (ซึ่งเป็นตัวอย่างแรกและดูเหมือนจะเป็นประเด็นที่เขาให้ความสำคัญที่สุด) ว่า
"คนไทยส่วนใหญ่ยังเข้าใจว่า พระมหากษัตริย์ไทยต้องอยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ ทั้งที่กฎหมายรัฐธรรมนูญทุกฉบับ
พระมหากษัตริย์ทรงให้ความเห็นชอบหรือทรงมีพระบรมราชานุมัติก่อน จึงจะประกาศใช้บังคับได้"
ซึ่งถ้าตีความในทางกลับกันก็คือ แท้จริงแล้ว พระมหากษัตริย์ไม่ต้องอยู่ใต้ คือทรงอยู่เหนือรัฐธรรมนูญ
เพราะรัฐธรรมนูญต้องได้รับ "พระบรมราชานุมัติก่อน"

การเขียนเช่นนี้ เป็นความเข้าใจผิดของประมวลเอง ไม่ใช่ของคนไทยส่วนใหญ่
และสะท้อนการให้เหตุผลอย่างไม่เป็นตรรกะ


อ้างอิง....

http://www.midnightuniv.org/midnight2545/document9554.html


และนี่ก็เป็นบทความเลื่อยขาเก้าอี้อีกชิ้น....

http://www.midnightuniv.org/midnight2545/document95211.html


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18-06-2006, 09:42 โดย oversea » บันทึกการเข้า
oversea
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 33


« ตอบ #11 เมื่อ: 18-06-2006, 09:37 »

ท่านจะพบว่า...แก๊งค์ ม.เที่ยงคืน

มักเสนอบทความ บทวิจารณ์ หรืออะไรๆๆ แล้วแต่จะเรียก ค่อยๆกัดกร่อน "พระราชอำนาจ" ในแง่มุมต่างๆ

ไม่ใช่แค่คนเดียวที่ออกมาแต่ "รวมหัวกัน" ออกมา....

คำถามคือ ?.... ท่านเหล่านี้มีเจตนาอะไร ???
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18-06-2006, 09:39 โดย oversea » บันทึกการเข้า
55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #12 เมื่อ: 18-06-2006, 09:40 »

ก็อย่างว่าล่ะครับ ท่านทั้งหลาย พอน้ำลงตอก็ผุด นี่ยังไม่รู้ว่ามีความจริงที่น่าตกใจอีกเท่าไหร่
บันทึกการเข้า
oversea
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 33


« ตอบ #13 เมื่อ: 18-06-2006, 09:44 »


หนังสือพระราชอำนาจ


"…เราอ่านแล้ว เราชอบมาก เขียนได้ดี เขียนได้ถูกต้อง" 
 
คือ กระแสพระราชดำรัสที่ทรงตรัสกับนายปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา และทรงรับสั่งให้เชิญกระแสพระราชดำรัสนี้มาแจ้งกับข้าพระพุทธเจ้า
 
"เรา" ทรงชี้พระหัตถ์ไปที่พระอุระของพระองค์ "ให้ไปบอกเขาว่า เราชอบมาก" 
 
 
 ข้าพระพุทธเจ้าได้ยกมือทั้งสองประนมเหนือศีรษะน้อมรับกระแสพระราชดำรัสนี้จากท่านปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา เมื่อได้พบกัน ณ วันที่ 8 สิงหาคม 2548 เวลา 17.00 น. ณ บ้านของท่านปีย์ฯ
 

อ้างอิง...
 
http://power.manager.co.th/
บันทึกการเข้า
Wadoiji
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 801


รักษ์ประชาธิปัตย์


เว็บไซต์
« ตอบ #14 เมื่อ: 18-06-2006, 10:29 »

เรื่องวิจารณ์หนังสือ"พระราชอำนาจ"นี่ได้ยินก่อนหน้านี้แล้ว ทุเรศมาก... มันไม่ได้อ่านคำนำหรือไง ขนาดเราอ่าน ยังต้องอ่านคำนำก่อนเลย ว่าในหลวงทรงตรัสแล้วว่ามัน "ถูกต้อง เขียนได้ดี" คนวิจารณ์บังอาจยังไงไปบอกว่ามันเป็นการคิดเอาเองของคนเขียน?

ตอนไปยินข่าวยังสะดุ้ง เพราะจำได้แม่นว่าในหลวงตรัสเอาไว้ ว่า "เราอ่านแล้ว เราชอบมาก เขียนได้ดี เขียนได้ถูกต้อง"
บันทึกการเข้า

AsianNeocon
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,277


中華萬歲﹗ LONG LIVE CHINA!


เว็บไซต์
« ตอบ #15 เมื่อ: 18-06-2006, 10:33 »

หา??? นี่ผมไม่รู้จริงๆว่า มหาลัยเที่ยงคืน เป็นงี้เหรอ ผมรู้ว่ามีเว็บนี่อยู่ แต่ไม่เคยเปิดเข้าไปดูเลย

เพราะที่ผมติดตามอ.นิธิ มาคือหนังสือที่เขาวิจารณ์ระบอบหน้าเหลี่ยม เป็นการรวบรวมข้อเขียนที่เคยตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์น่ะครับ

ต้องขอบคุณคุณ oversea มากที่ทำให้ผมหายโง่ไปเลย
บันทึกการเข้า

p
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,264


« ตอบ #16 เมื่อ: 18-06-2006, 10:49 »


ขอบุณมากครับ
ที่มีอะไรดีๆมาเล่าให้ฟัง
ใครมีอะไรอีกไหมครับ
พวกเราจะได้หูตาสว่างกันมากขึ้นครับ

 Smile
บันทึกการเข้า

ถ้ามัวคิดแต่จะโกงและเอาเปรียบคนอื่น จะสอนลูกหลานให้เป็นคนดีได้อย่างไร
ไทมุง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,543



« ตอบ #17 เมื่อ: 18-06-2006, 11:05 »

อืมห์หหหหหห   Crying or Very sad Crying or Very sad
 
เราอ่านบทความของ อ.นิธิ มากว่า 10 ปี แล้ว  และมักได้ความรู้และรับทราบความเห็นที่แตกต่าง

ในแบบที่คนอ่อนเยาว์ต่อโลกคิดไม่ถึงเสมอ

กรณีบทความที่เขียนถึง
"พระราชอำนาจ" โดยส่วนตัวแล้วคิดว่าอาจารย์เขียน

โดยพิจารณาตามบทบัญญัติ + ประสบการณ์ส่วนตัว โดยไม่คิดกรัดกร่อน หรือเขียนในทางที่มิบังควรแต่อย่างใด

การอ่านบทความของ อ.นิธิ ควรอ่านช้าๆ ทีและประโยค ค่อยๆ คิดตาม
แต่ไม่ต้องถึงกับเขย่าขวดยากินก่อนอ่านหรอก

ถ้าติดตามมาตลอด จะรู้ว่าอาจารย์มักมีความเห็นดีๆ เสมอ และเมื่อเวลาผ่านไปแล้ว สิ่งที่เขียนไว้เป็นความจริงแท้อย่างสิ้นเชิง

อยากแสดงความยินดีกับสาธุชนทั้งหลายว่า นับว่าเป็นโชคของท่านที่ได้อย่างบทความของ อ.นิธิ ในช่วงเวลานี้

เพราะก่อนหน้านี้ อาจารย์เขียนอ่านยากมาก ต้องตีลังกาตีความกันหลายตลบ

บางทีเพิ่มงมาถึงบางอ้ออีตอนผ่านไปแล้วตั้ง 4-5 ปี


OKEY?   Mr. Green
บันทึกการเข้า
oversea
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 33


« ตอบ #18 เมื่อ: 18-06-2006, 11:14 »

ขอน้อมรับความเห็นของ.... คุณไทมุง

แต่ปัญหามันอยู่ที่ว่า... ที่ ม.เที่ยงคืน มีผู้โต้แย้ง "พระราชอำนาจ" อย่างน้อย 3 คนไม่ใช่แค่ อ.นิธิ คนเดียว

ผมถามง่ายๆว่า... กะอีแค่การยอมรับพระราชอำนาจว่า... "มีอยู่จริง" ทำไมถึงได้มีปัญหานักหนา....ทำไมอดรนทนไม่ได้....ถึง 3 คน

ผมไม่ค่อยไว้ใจคนพวกนี้... ครับ
บันทึกการเข้า
ไทมุง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,543



« ตอบ #19 เมื่อ: 18-06-2006, 11:27 »

ตอบ คุณoversea

เราไว้ใจใครไม่ได้ค่ะ  ใช่แล้ว (แม้แต่ตัวเราเองรึป่าวอันนั้นไม่ทราบ Mr. Green)

กรณีพระราชอำนาจ เมื่อครั้งที่เรื่องยังครุกรุ่น

นักวิชาการสายกลาง และสายชาวบ้านไม่มีใครเห็นด้วยสักคน

เว้นแต่นักวิชาการสายขุนนาง  ที่โหยหาอดีต

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ต้องยอมรับในความเห็นของแต่ละคน

เพราะต่างก็มีเหตุผลที่น่ารับฟัง 

สำหรับดิฉัน
ซึ่งเป็นนักวิชาเกิน  เห็นว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอยู่เหนือการเมือง

การดึงท่านเพื่อให้แต่งตั้งรัฐบาลนั้น เป็นการบีบให้ท่านเลือกข้าง

ซึ่งไม่สมควรอย่างยิ่ง  เพราะเราทุกคนล้วนอยู่ใต้เบื้องพระยุคคลบาทโดยเท่าเทียมกัน

ไม่สมควรที่จะให้ท่านเลือกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะจะเป็นการสร้างเงื่อนไขความขัดแย้งเพิ่มขึ้น

อันนี้ เป็นความเห็นส่วนตัวล้วนๆ โดยไม่ได้มีอิทธิพลจากบทความของ อ.นิธิ


บันทึกการเข้า
engg
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 388


« ตอบ #20 เมื่อ: 18-06-2006, 11:42 »

Questionถูกแฉจากผู้คนมากมาย ถ้าจริง อยู่รอดมาได้อย่างไร

Question Question Question Question Question Question Question Question Question[/b]
บันทึกการเข้า
oversea
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 33


« ตอบ #21 เมื่อ: 18-06-2006, 11:44 »

ขอบคุณครับ...

อันที่จริงการพูดคุยเรื่องสถาบัน ชาติ ศาสนา พระมาหากษัตริย์ นั้นไม่ใช่เรื่องน่าอาย... ปกปิด... หรือเป็นเรื่องลับ

การปกป้องสถาบันไม่ใช่เรื่องน่าอาย...

สถาบันพระมาหากษัตริย์ ทรงอยู่เหนือการเมือง เป็นเรื่องจริง... ไม่มีแต่....

ดังนั้นการละเมิด "พระราชอำนาจ" ครั้งแล้วครั้งเล่าของคนบางคน พวกเราจึงยอมไม่ได้...

ผมจึงไม่คิดว่า.... เราเอาสถาบันมาเป็นเรื่อง "การเมือง"

เพราะอันที่จริง.... การเมืองไปดึงสถาบันเข้ามาเอง....ยกตัวอย่างง่ายๆ ชัดๆ

อำนาจในการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราชเป็น "พระราชอำนาจ" ของพระเจ้าอยู่หัว "เท่านั้น"....แล้วนายวิษณุ เครืองาม ไปตั้งคณะพระสังฆราชขึ้นมาอีกได้ไง ???

พวกคอย "กัดกร่อน" สถาบันอย่างนี้แหละที่พวกเราต้องเปิดโปง...


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18-06-2006, 11:53 โดย oversea » บันทึกการเข้า
oversea
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 33


« ตอบ #22 เมื่อ: 18-06-2006, 11:49 »

Questionถูกแฉจากผู้คนมากมาย ถ้าจริง อยู่รอดมาได้อย่างไร




ที่จริงแล้ว....ในประเทศเราขณะนี้ มีคนโดนแฉมากมาย... ทั้งเอกสาร.... ภาพนิ่ง.... ผลสอบ.... จะโดนยุบพรรคอยู่มะลอมมะล่อ...

นับประสาอะไรกับ นักวิชาเกิน....บางคน....
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18-06-2006, 11:54 โดย oversea » บันทึกการเข้า
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #23 เมื่อ: 18-06-2006, 13:02 »

ท่านจะพบว่า...แก๊งค์ ม.เที่ยงคืน

มักเสนอบทความ บทวิจารณ์ หรืออะไรๆๆ แล้วแต่จะเรียก ค่อยๆกัดกร่อน "พระราชอำนาจ" ในแง่มุมต่างๆ

ไม่ใช่แค่คนเดียวที่ออกมาแต่ "รวมหัวกัน" ออกมา....

คำถามคือ ?.... ท่านเหล่านี้มีเจตนาอะไร ???





คุณ oversea...

อ.นิธิ เอี้ยวศรีวงศ กับคุณสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล มีความแตกต่างกันทั้งความคิดเห็นและแนวทาง อย่านำไปรวมกัน โดยเฉพาะคุณสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล เคยเป็น สส.ปชท.(?) มาก่อน...

อ.นิธี เป็นปัญญาชน ผู้นำทางความคิดคนหนึ่งที่เป็นที่พึ่งพาของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยได้อย่างดี.....

อ.นิธี เอี้ยวศรีวงศ์แจงพระราชอำนาจของในหลวงให้ประชาชนเข้าใจถูกต้อง เป็นการเทิดทูนพระบารมีทางหนึ่ง ไม่ให้ประชาชนที่เข้าใจว่าในหลวงจะใช้พระราชอำนาจในทางไม่ถูกหลักการ และขอให้ในหลวงทรงใช้พระราชอำนาจตามที่ประชาชนเข้าใจผิดไปได้ในบางครั้ง...

ในหลวงไม่มีความประสงค์ให้ประชาชน นักวิชาการและนักการเมืองขอให้ท่านใช้มาตรา 7 พร่ำเพรื่อ จึงตำหนิคนที่ขอให้ท่านใช้ในคราวนี้ ซึ่งท่านอาจจะเห็นว่ายังไม่ถึงเวลา หรือท่านมีพระปรีชาญาณเห็นว่ายังมีหนทางอื่น คือการใช้ศาลสถิตยุติธรรม ศาลปกครองสูงสุดและศาลฏีกา....


การขอพระราชทานใช้มาตรา 7 นั้น ถ้าได้ติดตามข่าวต่อเนื่อง ไม่ถูกบิดเบือนโดยคนรักทักษิณและพรรคพวก จะเห็นว่านักวิชาการแบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ
1. ถึงเวลาแล้วจะขอพระราชทานฯ มิฉนั้นจะเกิดการนองเลือด
2. ยังไม่ถึงเวลาจะขอพระราชทานฯ ยังมีหนทางอื่นๆ

พวกที่กล่าวหา บิดเบือนว่านักวิชาการ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือพรรคประชาธิปัตย์ ขอพระราชทานใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 7 เป็นการไม่เหมาะสม หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เป็น ขบถ ฯลฯ ล้วนแต่เป็นคนของพรรคไทยรักไทย และคนรักทักษิณ ทั้งสิ้น.....

บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
istyle
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 853



« ตอบ #24 เมื่อ: 18-06-2006, 13:05 »

แล้วคุณธีรยุทธ บุญมีล่ะ
บันทึกการเข้า
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #25 เมื่อ: 18-06-2006, 13:12 »

ตอบ คุณoversea

เราไว้ใจใครไม่ได้ค่ะ  ใช่แล้ว (แม้แต่ตัวเราเองรึป่าวอันนั้นไม่ทราบ Mr. Green)

กรณีพระราชอำนาจ เมื่อครั้งที่เรื่องยังครุกรุ่น

นักวิชาการสายกลาง และสายชาวบ้านไม่มีใครเห็นด้วยสักคน

เว้นแต่นักวิชาการสายขุนนาง  ที่โหยหาอดีต

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ต้องยอมรับในความเห็นของแต่ละคน

เพราะต่างก็มีเหตุผลที่น่ารับฟัง 

สำหรับดิฉัน
ซึ่งเป็นนักวิชาเกิน  เห็นว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอยู่เหนือการเมือง

การดึงท่านเพื่อให้แต่งตั้งรัฐบาลนั้น เป็นการบีบให้ท่านเลือกข้าง

ซึ่งไม่สมควรอย่างยิ่ง  เพราะเราทุกคนล้วนอยู่ใต้เบื้องพระยุคคลบาทโดยเท่าเทียมกัน

ไม่สมควรที่จะให้ท่านเลือกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะจะเป็นการสร้างเงื่อนไขความขัดแย้งเพิ่มขึ้น

อันนี้ เป็นความเห็นส่วนตัวล้วนๆ โดยไม่ได้มีอิทธิพลจากบทความของ อ.นิธิ




ผมเห็นด้วยกับความคิดเห็นของคุณไทมุงและแต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ต้องยอมรับในความเห็นของแต่ละคน
เพราะต่างก็มีเหตุผลที่น่ารับฟัง
.....

นอกจากนี้พระราชดำรัสของในหลวง ก็แสดงพระประสงค์ของในหลวงที่จะไม่ประสงค์ใช้มาตรา 7 พร่ำเพรื่อ  จึงมีพระกระแสรับสั่ง "อย่ามั่ว" เตือนสติคนไทยที่ประสงค์จะให้ใช้มาตรา 7  แต่มิใช่ว่าใช้ไม่ได้ ถ้าเกิดเหตุการณ์อย่าง 14 ตุลา 16 และ พฤกษภาทมิฬ35....



ถูกแฉจากผู้คนมากมาย ถ้าจริง อยู่รอดมาได้อย่างไร
 
ข้อความโดย: engg  



ต้องประเมินดูว่าคนแฉคือใคร มี"เครดิท" ความเชื่อถือมากขนาดไหน และวัตถุประสงค์ในการแฉเพื่ออะไรด้วย......ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า
บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
oversea
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 33


« ตอบ #26 เมื่อ: 18-06-2006, 13:58 »

ขอบคุณครับ... ผมจะคอยติดตาม อ. แกไปเรื่อยๆก็แล้วกัน...
บันทึกการเข้า
แอ่นแอ๊น
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,591


"Angela Gheorghiu" My goddess


เว็บไซต์
« ตอบ #27 เมื่อ: 18-06-2006, 17:57 »

อาจารย์ในมอเที่ยงคืนเขียนไปตามตัวบทกฎหมายค่ะ ที่ออกมาทำนองนั้น เป็นเพราะป้องกันพวกที่อ้างพระราชอำนาจแบบมั่วๆ เข้าข้างตัวเองต่างหาก ไม่ได้มีเจตนาร้ายต่อสถาบัน ต้องเข้าใจว่า คนไทยรักในหลวงมากจะทำให้กลุ่มอำนาจหลายๆ กลุ่ม เอามาเป็นข้ออ้างที่จะดำเนินการต่างๆ เข้าข้างตัวเอง ทั้งที่รู้ และไม่รู้ อย่างในกรณีคุณหญิงแอนก็เห็นด้วยกับอาจารย์ที่ตีความออกมาแบบนั้น เพราะถ้าเปรียบเทียบกับเรื่อง กสช แล้วจะมีการชี้ขาดชัดเจนว่า เมื่อที่มาไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นเหตุให้ตำแหน่งที่มาไม่ชอบด้วย ตอนนั้นศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ชี้ขาดให้ชัด เพียงแต่บอกว่า ขั้นตอนการคัดสรรผิด แต่ด้วยเหตุที่ว่า แต่งตั้งไปแล้ว (ต่างจาก กสช ที่ยังไม่ได้แต่งตั้ง) ก็ต้องมาตีความเรื่องการพ้นจากตำแหน่งอีกที ซึ่งถ้าจำไม่ผิด ต้องมีขั้นตอนการถอดถอน (บังเอิญว่าคงทำไม่ได้ เพราะประชาชนคงไม่ยอม) การบล๊อคไม่ให้ทำงาน เปลี่ยนกุญแจ ฯลฯ แบบนั้น เลยดูเหมือนว่าทำผิดหรือเปล่า ถ้ารัฐดำเนินการตามขั้นตอน มีการร้องต่อศาลว่า ตีความว่าพ้นตำแหน่งหรือไม่ อาจจะไม่เป็นแบบนี้ค่ะ ปัญหาความผิดมาตั้งแต่ คตง นั่นแหละค่ะ (พิพากษาไปแล้วด้วย)

อาจารย์ในมอเที่ยงคืน เจตนา คือ ประชาธิปไตย อย่าสงสัย บางคนออกจะเอียงซ้ายบ้าง ซึ่งอ่านๆ ดูแล้ว อาจจะไม่ตรงใจ แต่เวลาอ่านอย่าใช้ใจ ให้ใช้เหตุผล  Mr. Green
บันทึกการเข้า

       

"เมื่อเจตนาเบี่ยงเบนไปจากความจริง การนำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง บางทีก็เป็นเพียงภาษาสุภาพสำหรับการพูดเท็จนั่นเอง" : วิถีแห่งปราชญ์ พิมพ์ครั้งที่ ๗ หน้า ๒๐๖
จูล่ง_j
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,901



« ตอบ #28 เมื่อ: 18-06-2006, 20:09 »

อ่าน บทความของคุณ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ที่คุณ oversea นำมาลงก็ไม่เห็นมีอะไร

บทความพยายามชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพระราชอำนาจ ก็ไม่เห็นจะกัดกร่อนอะไรตรงไหน

เรื่อง นายกพระราชทาน นั้นใช้ได้หากวิกฤติการเมืองถึงขีดสุด

ผมก็ไม่เห็นว่าคนขอจะผิดอะไรมากมาย มันก็เป็นการเสนอทางออกทางหนึ่ง

ในหลวงท่านทรงเห็นทางออกที่ดีกว่า นั่นคือให้ 3 ศาล มาช่วยดูเหตุการณ์นี้

ขอถามว่า ถ้าไม่ใช่ในหลวงดำริ 3 ศาล จะกล้ามายุ่งหรือ

แล้วยังไง ศาลท่านแนะนำให้ กกต ลาออก แล้วทำไมมันหน้าด้านอยู่ต่อล่ะ

กกต นี่ดื้อของแท้ ในหลวงเพิ่งจะดำริ ศาลมาสดๆร้อนๆ แต่ กกต นี่ไม่สำเหนียกเอาซะเลย
บันทึกการเข้า

oversea
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 33


« ตอบ #29 เมื่อ: 19-06-2006, 10:15 »

ข้ออ้างของคุณหญิงว่า เมื่อมีพระบรมราชโองการแล้ว จะให้พ้นจากตำแหน่งต้องมีพระบรมราชโองการถอดถอนเสียก่อนเท่านั้น ท่านจะมีความเข้าใจว่าอย่างไรผมไม่ทราบ แต่ความเข้าใจของผมไม่สู้ตรงกับที่หนังสือพิมพ์และคนที่เชียร์คุณหญิงเท่าไหร่นัก

เพราะท่านเหล่านั้นพูดให้เข้าใจว่า พระบรมราชโองการเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ฝืนไม่ได้ เพราะออกมาจากองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะ แต่ผมคิดว่าความเข้าใจอย่างนี้ผิด และก่อให้เกิดภัยพิบัติแก่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอย่างยิ่ง

ในระบอบนี้ พระมหากษัตริย์จะไม่ทรงมีพระบรมราชโองการใดๆ ทั้งสิ้น


ถ้าไม่ได้เป็นการใช้อำนาจอธิปไตยของปวงชน (เช่น ทรงสั่งให้ออกรถพระที่นั่งได้ ไม่ใช่พระบรมราชโองการ แต่เป็นรับสั่งธรรมดาเท่านั้น) ฉะนั้น พระบรมราชโองการแต่งตั้งคุณหญิงจึงเป็นคำสั่งของอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย ซึ่งไม่มีอะไรจะใหญ่เกินไปได้ รวมทั้งศาลรัฐธรรมนูญด้วย


คุณ จูล่ง_j....  คิดว่าข้อความนี้ทะแม่งๆหรือเปล่า ???  "กัดกร่อน" สถาบันหรือเปล่า ???


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19-06-2006, 10:44 โดย oversea » บันทึกการเข้า
oversea
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 33


« ตอบ #30 เมื่อ: 19-06-2006, 10:38 »

ไปค้นข้อมูลเก่าๆมาให้ดูกัน...มีอินเตอร์เน็ตก็ดีอย่างงี้แหละ...


คาใจม็อบสนธิ 'นิธิ เอียวศรีวงศ์' ไขข้อข้องใจ

15 ธันวาคม 2548 17:22 น.
เวบไซต์ประชาไทดอทคอม สัมภาษณ์พิเศษ 'นิธิ เอียวศรีวงศ์' ในประเด็นที่คนในสังคมหลายส่วน รู้สึกขัดข้องคาใจกับ ปรากฏการณ์'สนธิ ลิ้มทองกุล' ถือเป็นแง่มุมที่ช่วยไขข้อข้องใจได้ไม่น้อย

พลพรรคไทยรักไทยดาหน้าออกมาชี้ว่า ‘ม็อบสนธิ’ กระแสตกลงไปแล้ว แต่ใครก็ตามที่ได้ไปพบเห็นด้วยตาของตนในวันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม ที่ผ่านมา ย่อมจะรู้ว่า จำนวนผู้คนที่มาร่วมม็อบในวันนั้น มิได้ลดน้อยลงไปตามกระแสที่ตกเท่าใดนัก

แต่นั่นไม่ใช่เรื่องสำคัญ และอาจไม่มีนัยสำคัญเพราะจุดเปลี่ยนที่มีนัยสำคัญได้เกิดขึ้นแล้ว

ท่ามกลางข้อสงสัยและข้อเคลือบแคลงต่างๆ ที่มีกับม็อบสนธิ ‘ประชาไท’ ได้รับความกรุณาจาก ศ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนไขข้อข้องใจ ครอบคลุมประเด็น ประโยชน์ที่สังคมไทยได้จากม็อบสนธิ การตื่นตัวของคนรุ่นใหม่ และแน่นอนรวมถึงประเด็น ‘พระราชอำนาจ’

@ ม็อบสนธิมีคุณูปการกับสังคมไทยอย่างไร

ผมคิดว่าม็อบสนธิได้สร้างบรรยากาศ ซึ่งที่จริงมันมีอยู่แต่อาจจะไม่รุนแรงพอ แต่ม็อบสนธิทำให้บรรยากาศความกลัวที่เราสร้างให้ตัวเองหายไปแยะเลย

ตลอด 5 ปีที่ผ่านมาคนไทยสร้างความกลัวให้ตัวเอง ไม่ใช่กลัวรัฐบาลอย่างเดียวนะ ผมว่ากลัวทุกอย่าง เช่นกรณีเลือกตั้งครั้งสุดท้ายที่ผ่านมานี่ หลายคนพูดว่ามันมีการทุจริตอย่างโจ่งครึ่มมากๆ รวมทั้งพรรคฝ่ายค้านเอง แต่พรรคฝ่ายค้านไม่กล้าขยับทำอะไรเลย เพราะคะแนนเสียงที่ท่วมท้น และเราทุกคนสร้างความกลัว กลัวนั่นกลัวนี่ไปหมด เพราะฉะนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นแน่ๆ จากม็อบสนธิก็คือ ช่วยลดความกลัวที่เราสร้างให้ตัวเองลงไปได้มากๆ

@ สะท้อนว่า คะแนนนิยมของคุณทักษิณลดลงด้วย

จะมีม็อบสนธิหรือไม่มีก็แล้วแต่ คะแนนนิยมของคุณทักษิณมันก็ตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะมันตั้งอยู่บนความโป้ปดมดเท็จ แต่ถ้าคุณยังกลัวอยู่คุณก็ไม่กล้าที่จะลุกมาบอกว่า ไอ้นี่มันโกหกกู นี่คือคุณูปการที่สำคัญของม็อบสนธิ

เพราะมันโจ่งแจ้ง มันท้าทายชนิดที่พวกมึงก็แหยง ทำอะไรเขาไม่ได้ เอาอึไปขว้างเขาหรืออะไรก็แล้วแต่ แต่ก็ทำเขาไม่ได้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่สำคัญก็คือ ลดบรรยากาศความกลัว

ผมยอมนับว่า กลุ่ม ส.ว.ก็ทำ แต่มันไม่ได้ผลเท่าครั้งนี้ เพราะคุณเป็น ส.ว.นี่หว่า คุณก็พูดได้ แต่พวกนี้มันไม่ใช่

ถ้าเช่นนั้นประเด็นอย่างการคุกคามสื่อนี่คืบหรือก้าวหน้าในสังคมไทยไหม คนจะตระหนักมากขึ้นไหม แน่นอน คือถ้าทุกคนกลัว ผมเอาขี้ไปขว้าง เอาระเบิดไปวางในสำนักพิมพ์คุณ ก็ได้แต่เป็นข่าวเฉยๆ ทุกคนก็รู้สึกอึดๆ อัด แต่บัดนี้ทุกคนรู้สึกไม่แฟร์แล้ว พอสำนักพิมพ์โดนปาขี้ คนที่เดือดร้อนไม่ใช่คุณสนธินะ ใครขว้างก็แล้วแต่เถอะ แต่คนที่เดือดร้อนที่สุดคือรัฐบาล คือคู่อริ

นี่ก็เหมือนกัน พอบรรยากาศความกลัวมันเริ่มลดลง ผมว่าทุกอย่างมันจะเริ่มเข้ารูปเข้ารอยมากขึ้น เพราะเราจะเริ่มวินิจฉัยสิ่งต่างๆ โดยปราศจากความกลัวมาครอบงำ ‘ความไม่กลัวมึง’ นี่จึงสำคัญ และผมว่าความกลัวนี่เป็นแรงกดที่สำคัญในช่วงที่ผ่านมา เพราะสื่อเองหรือเราเองก็ยังหน้าซีด และจะหวังให้องค์กรอิสระทั้งหลายหน้าไม่ซีดตามได้อย่างไร ทุกคนก็หน้าซีดหมด

แต่ต่อจากนี้ประชาชนหน้ามีสีเลือดขึ้น และน่าจะทำให้องค์กรอิสระทั้งหลาย รวมถึงศาลด้วย น่าจะมีหน้าที่มีสีสันขึ้นมาได้บ้าง แน่นอนคนของเขาที่อยู่ในองค์กรอิสระก็มี แต่คนที่เป็นกลางจริงๆ ก็มีเหมือนกัน แต่ครั้งหนึ่งคนเหล่านี้หน้าซีด เพราะคนอื่นซีดหมด แล้วจะไม่ให้เขาซีดได้อย่างไร

@ อะไรที่ทำให้คนพ้นจากความกลัวกันแน่ เพราะประเด็นอย่างพระราชอำนาจใช่ไหม หรือเพราะคนกลัวว่าสื่อจะถูกคุกคาม

ผมว่า ศัตรูของคุณทักษิณ ไปเชื่อมโยงเรื่องราวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และที่ผ่านมาคุณทักษิณแก้ตรงนี้ไม่ได้ ด้วยเหตุใดผมก็ไม่ทราบ จะเชื่อมจริงหรือไม่ก็ไม่ทราบ แต่คุณทักษิณแก้ตรงนี้ไม่ได้ เมื่อแก้ไม่ได้ คนก็รู้สึกว่ายังมีอีกอำนาจหนึ่งที่ตัวเองพึ่งพาได้ ทำให้ตัวไม่ต้องกลัวได้ แล้วออกมาก็สบายใจ เพราะอย่างนั้นการที่คุณสนธิเลือกที่จะเอาการเคลื่อนไหวไปพาดพิง ไปเชื่อมโยงกับอำนาจอีกอำนาจหนึ่งนี่มีส่วนไหม จึงต้องตอบว่ามี

@ แล้วจะอธิบายอย่างไรที่เราเห็นฝ่ายซ้ายในอดีต ที่ปฏิเสธการนำสถาบันมาพาดพิง ก็ไปร่วมม็อบด้วย

อ้าว ผมว่าแนวร่วมครั้งนี้ เป็นแนวร่วมหลากหลายมากนะ คนที่อยากจะให้เชิดชูพระราชอำนาจให้เต็มที่นี่ก็กลุ่มหนึ่ง แนวร่วมที่เห็นเป็นโอกาสก็อีกกลุ่มหนึ่ง เพราะฉะนั้น ผมไม่เชื่อหรอกว่า คนเป็นแสนที่ไปร่วมในม็อบสนธิ มีความคิดเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์เหมือนกันหมด มีความหลากหลายมาก

@ เราเห็นเด็กรุ่นใหม่ๆ หันมาตื่นตัวเรื่องการเมือง มาถามว่าพฤษภาทมิฬคืออะไร 14 ตุลาคืออะไร

จากกรณีคุณสนธิอันนี้มันบอกอะไรที่ส่อว่าสังคมไทยจะเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ยังครับยัง ถามว่ากี่เปอร์เซ็นต์ที่เรียกว่า ‘คนรุ่นใหม่’ จะถึง 20 เปอร์เซ็นต์ไหม เอาละเดิมอาจจะมีสัก 2% พอมาเพิ่มเป็น 10% คุณอาจจะเห็นมันแปลกแล้ว แต่เราต้องเข้าใจประการหนึ่งนะว่า ในวิถีชีวิตของสังคมสมัยใหม่แบบนี้ การบริโภคมันดึงให้เราหลุดออกไปจากความสนใจคนอื่นๆ นี่คือของปกติที่เกิดขึ้นทั่วๆ ไป

แต่ในวิถีชีวิตตรงนี้จะมีคนจำนวนหนึ่ง จะ 10 หรือ 20% ที่รู้สึกว่า มันเป็นชีวิตที่อ้างว้างเกินไป และให้ความหมายกับชีวิตตนเองไม่ได้

ในทุกสังคมจะพบว่าคนรุ่นใหม่จะหันมาอีกด้านตรงข้ามกับวิถีชีวิตเดิมคือการบริโภคทั้งหลาย บางพวกอาจจะกลับไปเป็นฮิบปี้ใหม่ บางพวกอาจจะไปสร้างคอมมูน บางพวกอาจจะไปร่วมการเคลื่อนไหวทางการเมือง บางพวกอาจจะไปเป็นเอ็นจีโอ อันนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นธรรมดา

ผมไม่คิดว่า จะเกิดปรากฏการณ์ที่เป็นการพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ ผมว่าไม่ใช่

เป็นแต่เพียงว่า นี่เป็นครั้งหนึ่งที่อาจจะทำให้เกิดการละทิ้งวิถีชีวิตแบบบริโภค มันได้ความหมายใหม่ทันที โดยไม่ต้องแสวงหา คุณเข้าร่วมกับสนธินี่คุณไม่ต้องแสวงหานะ ในขณะที่วัยรุ่นในสมัยหนึ่งหากเกิดคำถามว่า ชีวิตแบบบริโภคไม่ใช่สิ่งที่ชีวิตต้องการนี่ คุณต้องออกไปแสวงหานะ มีวัยรุ่นจำนวนไม่น้อยที่เข้าไปทำงานเอ็นจีโอ 3-4 ปีแล้วพบว่าไม่ใช่ นี่ไม่ใช่สิ่งที่ชีวิตต้องการ แต่นั่นแปลว่าคุณต้องเสียชีวิตไป 3-4 ปีถูกไหม แต่อันนี้ไม่ต้องเลย เพียงคุณเดินเข้าไปสวนลุม คุณได้ความหมายใหม่ในชีวิตใหม่ทันที

@ เป็นเรื่องสื่อดิจิตอลด้วย

ก่อนหน้าม็อบคุณสนธิก็มีการให้ความหมายใหม่กับชีวิต แม้แต่ในราชดำเนิน ในพันทิป ก็มีการให้ความหมายใหม่อยู่ตลอดเวลา เพียงแต่จำนวนมันน้อย คือการแสวงหาความหมายใหม่ในชีวิตนี่ปฏิเสธไม่ได้ว่ามันต้องเจ็บปวดนะ แต่ถ้าเราเข้าไปร่วมในขบวนการที่มันมีอยู่แล้วนี่มันไม่ต้องเจ็บปวดเลย คุณรับมาเลย ความหมายใหม่

ในแง่หนึ่งในช่วงหลัง 14 ตุลาคม 2516 ก็ทำนองเดียวกัน เพราะจะบอกว่าคนที่เข้าร่วมใน 14 ตุลา ไปจนถึง 6 ตุลา ทุกคนเข้าป่าหมดหรือ ไม่ใช่ (ลากเสียง) ในที่สุดทุกคนก็กลับไปหาพ่อแม่ กลับไปมีครอบครัว ไปเรียนต่อ กลับไปมีชีวิตใหม่ ไปเรียนเมืองนอก และก็กลับมามีชีวิตใหม่อีกชีวิตหนึ่ง แต่ในช่วงนั้นอย่าลืมว่าคุณได้เข้าไปหาความหมายใหม่ในชีวิตแบบง่ายๆ เลย แทนที่คุณจะกลับบ้าน คุณก็ไปนั่งที่ลานโพธิ์ แม่งได้ความหมายใหม่เลย ไม่ต้องแสวงหา ไม่ต้องเจ็บปวดกับอะไรเลย ผมว่าม็อบสนธินี่ก็ทำนองเดียวกัน

@ มันก็เป็นการแสวงหาแบบสำเร็จรูป

เออ! ใช่ สำเร็จรูป แล้วนี่ก็เป็นของปกติ ไม่ใช่ว่ามนุษย์เลวร้ายอะไรนะ มนุษย์ก็เป็นแค่นี้แหละ บางทีเราไม่พอใจกับความหมายเดิม พอมีความหมายใหม่ที่ได้มาง่ายๆ ก็อาจจะรับไป ก็ไม่แปลกอะไร และจะพูดว่า นี่เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการแสวงหาก็ได้ เพราะวันหนึ่งคนที่เคยไปร่วมอยู่ในม็อบ อาจจะได้หันหลังไปดู แล้วพบว่า เฮ้ย ไปร่วมกับสนธิได้ไงวะ อย่างนี้ก็เป็นได้ ไม่แปลกอะไร

@ ทำไมต้องเป็นสนธิ ไม่เป็นภาคประชาชน หรือไม่เป็นสุริยใส กตะศิลา

สุริยใส จะใช้ประเด็นพระราชอำนาจไหม เอ้า สำหรับผมนะ ไม่ต้องรวมมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน หรือถ้าให้เดาจะรวมมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนด้วยก็ได้ เอาเป็นว่าสำหรับผมคนเดียว

 ผมรับหนังสือคุณประมวล รุจนเสรี ไม่ได้ ผมว่าเลอะเทอะ มันผิด (เน้นเสียง)

พระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ไม่มีพระราชอำนาจ นอกจากบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ นอกเหนือจากนั้นไม่ใช่

แน่นอนถ้าคุณพูดในเชิงรัฐศาสตร์ มีอำนาจทางวัฒนธรรมไหม ชัวร์ มี แต่อำนาจทางวัฒนธรรมเป็นอำนาจที่น่ากลัวนะคุณ คุณใช้ได้โดยที่ยากมากที่จะกำหนดหรือจำกัดอำนาจนั้น

หลวงตาบัวอย่างนี้ อีกหน่อยจะตั้งพระสังฆราช จะต้องไปถามหลวงตาบัวก่อนหรือ จะเอาไหมอย่างนั้นน่ะ 

 แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าหลวงตาบัวมีอำนาจ มีสิ อำนาจทางวัฒนธรรม เหมือนกับสถาบันพระมหากษัตริย์ในประเทศไทยย่อมมีอำนาจทางวัฒนธรรมแน่ๆ

@ การเคลื่อนไหวของม็อบสนธิครั้งนี้ จะนำไปสู่รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมที่ขยายอำนาจของสถาบันหรือไม่

ฉิบหายเลย (หัวเราะ) ผมบอกได้แต่เพียงว่า ผมจะชวนมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนมาสู้ตายเรื่องนี้ (หัวเราะ)
และพระราชอำนาจแบบนี้ มันไม่ได้ถ่ายทอดถึงคนรุ่นหลังๆ ได้ตลอดกาล


อันนี้นี่แหละ ที่สำคัญที่สุด เพราะสิ่งที่คุณประมวลพูดทั้งหมดว่า เป็นคุณสมบัติอันประเสริฐของสถาบันพระมหากษัตริย์นั้น ที่จริงไม่ใช่ แต่เป็นคุณสมบัติของบุคคลต่างหาก

@ มันจะนำไปสู่ความรุนแรงไหม

ผมได้แต่หวังว่า ไม่ ที่หวังอย่างนั้น เพราะความรุนแรงในประเทศไทยนี่ไม่ใช่ใช้กันได้พร่ำเพรื่อนะ โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ถ้าที่ปัตตานีนี่มีอีกกลุ่มหนึ่งที่ตัดสินใจใช้ความรุนแรง และอยู่พ้นออกไปจากอำนาจรัฐ ในกรุงเทพฯนี่ยังไม่เกิดเลยนะ 14 ตุลานี่ เดินขบวนได้เป็นแสนๆคน

แต่ถ้าอีกฝ่ายหนึ่งไม่ตัดสินใจใช้ความรุนแรง มันก็ไม่เกิดความรุนแรงขึ้น ถูกไหม เพราะอย่างนั้นความรุนแรงในกรุงเทพฯไม่เคยเกิดขึ้นโดยเสรี แต่มันเกิดขึ้นโดยมีใครใช้มันทุกที

ถ้ามองในรูปนี้ ในกรุงเทพฯเวลานี้ ถามว่ากลุ่มต่างๆ มีกำลังจะใช้ความรุนแรงได้ไหม มี มีอีกหลายกลุ่มที่มีกำลังและสามารถตัดสินใจใช้ความรุนแรงได้ แต่ปัญหาคือว่า เมื่อใช้ความรุนแรงแล้วจะยุติความรุนแรงตรงนั้นได้อย่างไร ผมหวังว่าเขาจะฉลาดพอที่จะเห็นว่า ‘ฉิบหายกูหยุดไม่ได้เหมือนกันวะ’

เพราะฉะนั้น ความรุนแรงเป็นแค่เครื่องมือ คนเราพอใช้เครื่องมือปั๊บ และวางมันลงเมื่อได้สิ่งที่ตนต้องการมา แต่เครื่องมือกลายมาครอบอยู่บนกบาลเราตลอดชีวิต นี่ไม่มีใครเอาทั้งนั้นแหละ ก็หวังว่าเขาจะฉลาดพอที่จะรู้ว่า มันใช้ไม่ได้ เช่นจะยึดอำนาจ แล้วไง เขาก็ต้องคิดต่อไปด้วยว่า ยึดแล้วยังไง หรือบีบให้คุณทักษิณลง แล้วยังไงต่อไปหากไม่ฉีกรัฐธรรมนูญ

แต่ถ้าบอกว่า เอ้า ฉีกเป็นฉีก ฉีกเลย แล้วยังไงต่ออีก นี่ยุ่งฉิบหาย เพราะอย่างนั้นจึงคิดว่าทุกคนน่าจะฉลาดพอ กลุ่มคนที่มีปัญญาจะใช้ความรุนแรงได้คงจะคิดออกว่า ยังตอบโจทย์ต่อไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นจนถึงนาทีนี้จึงคิดว่า ความรุนแรงไม่น่าจะเกิด

@ แล้วภาคประชาชนจะอาศัยจังหวะนี้อย่างไรในการคืบไปข้างหน้า

การที่คุณมีฝ่ายบริหารที่อ่อนแอลง ไม่ว่าจะด้วยเหตุอันใด ก็เป็นโอกาสอันดีหากคุณคิดว่าอะไรดี อะไรถูก อะไรที่จะต้องเปิดพื้นที่สาธารณะเพิ่มขึ้น ก็เปิดขึ้นมาเลย โดยเฉพาะประชาชนในระดับล่าง คือในเวลานี้ ถ้าสมัชชาคนจนสามารถมาได้เท่ากับสมัย พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ผมไม่เชื่อว่าคราวนี้รัฐบาลจะอุ้มได้ หรืออุ้มแล้วคนชั้นกลางในกรุงเทพจะยอมให้อุ้ม

อ้างอิง...http://www.bangkokbiznews.com/2005/12/15/c004l1_60524.php?news_id=60524



อ่านแล้ว.... คำพูดคล้ายๆของใครบางคนหรือเปล่า.... ???

การขยายอำนาจของสถาบัน อ. นิธิ แกจะค้านทำไม หากจะเกิดขึ้นจริงๆ ???

อะไร...ฉิบหาย ???

อย่างนี้เรียกว่า... กัดกร่อนไหม ???

ใครบางคนกำลังเอาคำว่า "วิชาการ" มาสร้าง "สัญญลักษณ์" ให้แก่สถาบันหรือเปล่า ???


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19-06-2006, 10:51 โดย oversea » บันทึกการเข้า
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #31 เมื่อ: 19-06-2006, 15:24 »

อ่านแล้ว.... คำพูดคล้ายๆของใครบางคนหรือเปล่า.... ???

การขยายอำนาจของสถาบัน อ. นิธิ แกจะค้านทำไม หากจะเกิดขึ้นจริงๆ ???

อะไร...ฉิบหาย ???

อย่างนี้เรียกว่า... กัดกร่อนไหม ???

ใครบางคนกำลังเอาคำว่า "วิชาการ" มาสร้าง "สัญญลักษณ์" ให้แก่สถาบันหรือเปล่า ???



คุณ oversea สนใจความคิดเห็นของ อ.นิธิมากเลย
พยายามจะชี้หรือบอกเล่าความเข้าใจของคุณต่อ อ.นิธิ อีกหนึ่งมิติ
ที่ อ.นิธิไม่ตั้งใจจะให้เป็นอย่างนั้นในบทความนี้
 
ก็ไม่ทราบว่าคุณอยากจะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเท่านั้น
หรือต้องการหยิบยกความเห็นของ อ.นิธิ เป็น"ประเด็น" ขึ้นมา....

อ.นิธิแสดงความคิดเห็นต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ 2 ล้กษณะ คือ

1.  สถาบันพระมหากษัตริย์ ที่ไม่ได้เพ่งเล็งพระองค์ใดเป็นพระมหากษัตริย์...
2.  พระบารมีของพระมหากษัตริย์เฉพาะพระองค์.....

ผมจะไม่พูดถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ เดี๋ยวพลาดพลั้ง จะมีโทษได้
ขอพูดถึงนักการเมืองที่เป็นนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งดีกว่า...

ขอพูดถึงการปราบปรามยาเสพติดและผู้ค้ายาเสพติดที่อ้างว่า
คุณทักษิณสามารถปราบปรามฯ ได้ราบคาบเมื่อมีอำนาจอยู่
และเริ่มระบาดใหม่ เมื่อคุณทักษิณ"เว้นวรรค"ตามสไตล์ของคุณทักษิณ...

คุณทักษิณปราบปรามยาเสพติดและผู้ค้ายาเสพติดด้วยมีเรื่องราวของบัญชี"มรณะ 2500 ศพ"
ซึ่งในหลวงต้องปรารภให้ประชาชนรับรู้ และเตือนคุณทักษิณให้สำนึกและรอบคอบมากยิ่งขึ้นด้วย

คุณอยากให้"นายกรัฐมนตรี"ทุกคนใช้วิธีการปราบปรามยาเสพติด
ด้วยวิธีการและระบอบทักษิณ เป็น"มาตราฐาน"  ซึ่งเป็น"ดาบสองคม"...

หรือว่า"นายกรัฐมนตรี"เร่งรัดการปรามปรามยาเสพติดและผู้ค้ายาเสพติตอย่างมีประสิทธิภาพ
ตามคัลลองกฎหมายและศาลสถิตยุติธธรม...

บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
oversea
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 33


« ตอบ #32 เมื่อ: 19-06-2006, 16:47 »

เรียนคุณ ปุถุชน

แม้ผมจะเด็กกว่า อ. แก หลายช่วงตัว แต่ก็ไม่คิดบังอาจเอา... วิชาการ... มาเล่นกับสถาบันครับ... อันนี้เป็นความเข้าใจของผมเอง

ในบทความ อ. แก อาจกำลังพูดถึงเรื่องอื่นที่สำคัญกว่า.... และเรื่องบางเรื่อง ที่ผมบอกว่า... เป็นเรื่องการ "กัดกร่อน" เป็นเรื่องรอง... ประเด็นรอง... หรือประเด็นเปรียบเทียบ....

ผมสังเกตุว่า.... แกชอบให้ทัศนะ หรือบทความทางวิชาการ ป้วนเปี้ยนกับสถาบันมากสักหน่อย....

อีกอย่าง.... การที่สู้อุตส่าห์ไปค้นหาบทความมาอ้างอิง... ก็เพราะว่า...

การที่ผมสงสัย อ. แก ก็เพราะ แกล่อแหลม... และมีหลักฐานการล่อแหลม ดังนั้น หากผมไม่มีบทความมายืนยัน ก็เท่ากับว่า....

ผมไปหาเรื่อง อ. แก เข้า

ดังนั้น... ผมต้องขออภัย... หากการบอกความในใจของผมรบกวนท่านทั้งหลายครับ

และขอจบประเด็นของ อ.นิธิ แกไว้เพียงเท่านี้....ก็แล้วกัน... เพื่อเป็นการไม่รบกวนกระทู้มากเกินไป....
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19-06-2006, 17:10 โดย oversea » บันทึกการเข้า
จูล่ง_j
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,901



« ตอบ #33 เมื่อ: 19-06-2006, 17:11 »

ผมว่า อ.นิธิ วิจารณ์ตรงไปตรงมานะ

เรื่องขอบเขตของพระราชอำนาจ

และก็พ้องกับในหลวง ที่ไม่เห็นด้วยกับ มาตรา 7

ผมไม่รู้ว่า คุณ oversea พยายามเอาเรื่องนี้มาด่า อ.นิธิ หรือเปล่า

ผมเห็นกับคุณปุถุชนว่า

อ.นิธิ แสดงความคิดเห็นต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ แบบไม่ได้เพ่งเล็งพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง

สำหรับในหลวงองค์ปัจจุบัน มีความเคารพรักกันเป็นพิเศษมากๆ เพราะพระบารมีส่วนตัว

ถ้าคุณจบ อ.นิธิ ผมก็จบด้วย ผมแค่แสดงความเห็นตามที่คุณให้ข้อมูลมา
บันทึกการเข้า

AsianNeocon
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,277


中華萬歲﹗ LONG LIVE CHINA!


เว็บไซต์
« ตอบ #34 เมื่อ: 19-06-2006, 18:40 »

ผมคิดว่า เราดูกันต่อไปยาวๆดีไหมครับ เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์

ยังไงผมคิดว่า ผมได้เรียนรู้ในแง่มุมต่างๆจากทั้งคุณ oversea จูล่ง แอ่นแอ๊น ปุถุชน เกี่ยวกับอ.นิธิ

แต่ยังไงก็ตามอยากให้เราคำนึงถึงเป้าหมายของพวกเราคือ ระบอบหน้าเหลี่ยมต้องไป คุณธรรมและความยุติธรรมจะต้องกลับคืนมา
บันทึกการเข้า

kobkla
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 97


« ตอบ #35 เมื่อ: 20-06-2006, 21:58 »

วารสาร ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 ระบอบทักษิณ
วารสาร ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 ประชานิยม
โดยเฉพาะเล่มแรก ออกมาตั้งแต่ 2547 อ่านแล้วจะเห็นความชั่วร้ายของระบอบทักษิณ ตั้งแต่ปลายทักษิณ 1 จะรู้ว่า เรื่องชั่วๆของทักษิณมีตั้งแต่ชุดแรก 
แล้ว แล้วจะรู้ว่า  ทำไมตอนนี้ประเทศไทยน่าเป็นห่วงมาก
ปล.ห้ามใช้ความรุนแรงนะ
ปลล.แต่บางเล่มของฟ้าเดียวกัน ก็ไม่สมควรจะพิมพ์ออกมา มันผิดที่ผิดเวลา
บันทึกการเข้า
นทร์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,441



เว็บไซต์
« ตอบ #36 เมื่อ: 20-06-2006, 22:17 »

เยอะแยะเลยครับ ไม่หวาดไม่ไหว

มีเป็นข่าวดังบ้างไม่ดังบ้าง แต่โดนหมด หมดเครดิตไปด้วยวิธีต่างๆกันไป

อย่าง อ.ประเวศ ออกมาติง โดนเละไปเลย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20-06-2006, 22:40 โดย นทร์ » บันทึกการเข้า

"ประชาชน อย่าทิ้งประเทศชาติ"
หน้า: [1]
    กระโดดไป: