ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
29-03-2024, 12:15
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  จะล้มองค์กรอิสระหรือ? 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
จะล้มองค์กรอิสระหรือ?  (อ่าน 1360 ครั้ง)
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« เมื่อ: 23-08-2008, 13:10 »


จะล้มองค์กรอิสระหรือ?
ไทยรัฐ[23 ส.ค. 51 - 19:16]
 
แม้ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล จะแถลงไปแล้วว่าที่ประชุมมีมติกลับลำ รับร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ และร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง แต่เรื่องนี้ก็ยังไม่แน่นอน เพราะมี ส.ส.พรรคพลังประชาชนบางส่วนคัดค้าน โดยอ้างว่าเป็นกฎหมายที่มาจากเผด็จการ

ข้ออ้างที่ว่าองค์กรอิสระต่างๆ รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง มาจากรัฐธรรมนูญเผด็จการ เพราะเป็นรัฐธรรมนูญของคณะรัฐประหาร ถูกคนของพรรคพลังประชาชนนำมากล่าวอ้างซ้ำซาก เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ส.ส.พรรคพลังประชาชนคนหนึ่งเปิดเผยว่า จะยื่นหนังสือต่อสถานทูตอังกฤษประจำประเทศไทย ระบุว่ากฎหมายที่ออกในสมัย คมช.ไม่ให้ความเป็นธรรมแก่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

แต่น่าเสียดายที่ ส.ส.คนนั้นไม่ได้ ระบุว่ากฎหมายอะไร ที่ไม่ให้ความเป็นธรรม ในการดำเนินคดี พ.ต.ท.ทักษิณ เพราะถ้าหมายถึงกฎหมายอาญา ก็ออกมานับร้อยๆ ปีแล้ว ส่วนกฎหมาย ป.ป.ช. ออกมาตั้งแต่ปี 2542 และออกตามรัฐธรรมนูญ 2540 ที่พรรคพลังประชาชนยกย่องว่าดีที่สุด เช่นเดียวกันกับกฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองก็ออกเมื่อปี 2542

บทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ 2550 บังคับให้ออกกฎหมายวิธีพิจารณาคดีของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้เสร็จสิ้นภายในหนึ่งปี นับตั้งแต่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ซึ่งก็ครบหนึ่งปีในเดือนสิงหาคมนี้ แต่ไม่ทราบว่าทำไม ส.ส.พรรคพลังประชาชนจึงขู่จะคว่ำร่างกฎหมายดังกล่าวเพื่อล้างแค้นให้สะใจ เพราะถูกองค์กรอิสระเล่นงานหลายเรื่อง หรือเพื่อจะล้มองค์กรอิสระ

ในทัศนะของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร “มองไม่เห็นเหตุผล” ที่จะไม่รับหลักการร่างกฎหมายทั้งสองฉบับ แต่ถ้าจะใช้เวทีนี้แสดงความไม่พอใจองค์กรอิสระหรือตุลาการ ก็แสดงว่าพรรคพลังประชาชนเป็นปฏิปักษ์ และไม่คำนึงถึงประโยชน์ ส่วนรวม พูดอีกอย่างก็คือ ไม่ยอมรับหลักการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ เสาหลักประชาธิปไตย

ถ้ามีการตีความว่าการคว่ำร่างกฎหมายสำคัญทั้งสองฉบับ คือการตั้งตัวเป็นปฏิปักษ์ต่อองค์กรอิสระและฝ่ายตุลาการ และเท่ากับไม่ยอมรับหลักการตรวจสอบและถ่วงดุล ตามระบอบประชาธิปไตย ก็อาจมีคนใช้สิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ ยื่นเรื่องให้ถอดถอนออกจาก ส.ส. เพราะมาตรา 122 ของรัฐธรรมนูญ ระบุว่า ส.ส.ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของปวงชนชาวไทย

อาจจะมีคำถามตามมาว่า ทำไมรัฐธรรมนูญ 2550 จึงมีบทบัญญัติเรื่องถอด ถอนมากมาย คำตอบก็คือการถอดถอนมีมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2540 กว่าสิบปีมาแล้ว การที่ มีบทบัญญัติเรื่องถอดถอน ก็เพื่อป้องกันนักการเมืองลุแก่อำนาจ ใช้อำนาจในทางที่ผิด จนเสียหายต่อประเทศชาติและประชาชน โดยอ้างว่ามาจากการเลือกตั้งของประชาชน และคุมเสียงข้างมาก จึงทำอะไรก็ได้.

 
 
บันทึกการเข้า

ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #1 เมื่อ: 23-08-2008, 13:59 »

ในทัศนะของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร “มองไม่เห็นเหตุผล” ที่จะไม่รับหลักการร่างกฎหมายทั้งสองฉบับ แต่ถ้าจะใช้เวทีนี้แสดงความไม่พอใจองค์กรอิสระหรือตุลาการ ก็แสดงว่าพรรคพลังประชาชนเป็นปฏิปักษ์ และไม่คำนึงถึงประโยชน์ ส่วนรวม พูดอีกอย่างก็คือ ไม่ยอมรับหลักการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ เสาหลักประชาธิปไตย

ถ้ามีการตีความว่าการคว่ำร่างกฎหมายสำคัญทั้งสองฉบับ คือการตั้งตัวเป็นปฏิปักษ์ต่อองค์กรอิสระและฝ่ายตุลาการ และเท่ากับไม่ยอมรับหลักการตรวจสอบและถ่วงดุล ตามระบอบประชาธิปไตย ก็อาจมีคนใช้สิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ ยื่นเรื่องให้ถอดถอนออกจาก ส.ส. เพราะมาตรา 122 ของรัฐธรรมนูญ ระบุว่า ส.ส.ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของปวงชนชาวไทย

อาจจะมีคำถามตามมาว่า ทำไมรัฐธรรมนูญ 2550 จึงมีบทบัญญัติเรื่องถอด ถอนมากมาย คำตอบก็คือการถอดถอนมีมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2540 กว่าสิบปีมาแล้ว  การที่ มีบทบัญญัติเรื่องถอดถอน ก็เพื่อป้องกันนักการเมืองลุแก่อำนาจ ใช้อำนาจในทางที่ผิด จนเสียหายต่อประเทศชาติและประชาชน โดยอ้างว่ามาจากการเลือกตั้งของประชาชน และคุมเสียงข้างมาก จึงทำอะไรก็ได้.


คำตอบก็คือการถอดถอนมีมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2540 กว่าสิบปีมาแล้ว......
แต่การทำหน้าที่ตรวจสอบขององค์กรอิสระ ภาคประชาชน ไม่เข้มแข็ง ไม่จริงจัง ไม่มีประสิทธิภาพ
และไม่สามารถป้องกัน 'นิติกรบริการ' และ 'อลัชชีกฏหมาย'ไม่ให้ก้าวก่าย วินิจฉัยเรื่องทุจริต เรื่องไม่ชอบมาพากลเสียเอง เรื่องความโปร่งใส ได้เหมือนทุกวันนี้......!!!


บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
justy
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 1,250



« ตอบ #2 เมื่อ: 23-08-2008, 22:31 »

โทษค่ะ เป่านกหวีดแล้ว คุณลุงจะเข้ากทม.วันไหนค่ะ หรือว่าไม่เข้าเอ่ย 
บันทึกการเข้า

พรรคไทยรักไทยมิได้ให้ความสำคัญหรือเห็นคุณค่าของสิทธิเลือกตั้งของประชาชน อันเป็นรากฐานสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย นอกจากนี้ยังแสดงถึงการไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมายบ้านเมือง ทั้งที่พรรคไทยรักไทยเป็นพรรคการเมืองที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนสูงสุดในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันเป็นการเลือกตั้งทั่วไปก่อนหน้านี้ 2 ครั้ง ควรต้องสร้างความยั่งยืนให้แก่การปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมั่นคงกับหลักการที่ว่า กฎหมายต้องอยู่เหนือสิ่งอื่นใด ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นข้อบ่งชี้ด้วยว่า พรรคไทยรักไทย มิได้มีอุดมการณ์ทางการเมืองที่มุ่งพัฒนาประเทศชาติเพื่อให้คนในชาติมีความสุขทั่วหน้าดังที่ได้รณรงค์หาเสียงไว้ต่อประชาชนอย่างแท้จริง หากแต่มุ่งประสงค์เพียงดำเนินการในทุกวิถีทางเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ นอกเหนือจากครรลองที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศตลอดจนบทกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องที่หาอุดมการณ์อันแท้จริงของพรรคให้เกิดความมั่นใจแก่ประชาชนโดยรวมว่า เมื่อเป็นรัฐบาลมีอำนาจบริหารราชการแผ่นดินแล้ว จะดำเนินการปกครองโดยสุจริต ไม่ประพฤติมิชอบหรือบริหารราชการแผ่นดินโดยแอบแฝงไว้ซึ่งผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อ
samepong(ยุ่งแฮะ)
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,402



« ตอบ #3 เมื่อ: 24-08-2008, 21:54 »

สุดท้าย ถ้าเราไม่ระวัง พวกนี้ก็จะกลับมาในรูปของการตีความกฎหมายตามช่อง หาช่องเจอก็มุดไปกอบโกย หวานคอห่าน ลื่นคอแร้งตามเดิม
บันทึกการเข้า

เวลาจะพิสูจน์ความเชื่อ สักวัน ไม่ว่าความเชื่อนั้นจะถูกหรือผิด ผมขอรับไว้ด้วยตัวเอง คิเสียว่าทำแล้วเสียใจดีกว่าเสียใจที่ไม่ได้ทำ
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 24-08-2008, 22:00 »

โทษค่ะ เป่านกหวีดแล้ว คุณลุงจะเข้ากทม.วันไหนค่ะ หรือว่าไม่เข้าเอ่ย 

มีเพื่อน ส่งค่ารถมาให้แล้วครับ

แต่ผมจะไปรถไฟฟรี ฮ่า ฮ่า


คืนนี้ พันธมิตรอุบล ไปนอนที่ "ผาชนะได" ตรงผาแต้ม เพื่อรับแสงแรกจากพระอาทิตย์

และจะนำไฟที่ได้จากแสงแรกจากพระอาทิตย์ที่ผาชนะได มาส่งให้ พันธมิตรที่กทม. ในวันนั้นเลยครับ


เห็นสมัครบอกเมื่อเช้าว่า ไปนั่งดูน้ำมูลไหลย้อนขึ้นเหนือ

ผมฝากเพื่อนๆ เอาไฟไปลนตรงที่สมัครไปนั่ง

ทำพิธีไล่*****อะครับ ฮ่า ฮ่า

ถ้าสมัครขี้ไม่ออก หรือสมัครขี้แตก

ขอให้รู้เลยว่า พิธีเผาที่นั่งสมัครที่โขงเจียมได้ผล อิ อิ


 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24-08-2008, 22:11 โดย Can ไทเมือง » บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 24-08-2008, 22:04 »

เปิดร่างกม.ขัดใจ "พปช." ฉบับลับคมดาบ "ศาลรธน."

หมายเหตุ : สรุปสาระร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ....ฉบับที่ ส.ส.พรรคพลังประชาชนบางกลุ่มเคลื่อนไหวคัดค้าน โดยอ้างว่า เป็นร่างที่เพิ่มอำนาจให้ศาลรัฐธรรมนูญมาเล่นงานนักการเมือง ในขณะที่วิปรัฐบาลเห็นควรผลักดันให้ผ่านสภาก่อนที่จะพ้นกำหนดเวลา 1 ปี ตามที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 กำหนดไว้
----------------------------

1.ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญในการออกข้อกำหนดของศาลเพื่อให้การดำเนินกระบวนการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วจึงใช้บังคับข้อกำหนดดังกล่าวได้ โดยมีประธานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ (มาตรา 4)

2.ให้มีพนักงานคดีรัฐธรรมนูญทำหน้าที่ช่วยเหลือในกระบวนพิจารณาของศาลตามที่ศาลมอบหมาย (มาตรา 5)

3.ให้ศาลมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยคดีตามที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายบัญญัติ (มาตรา 6)

4.ให้ศาลมีอำนาจย่นหรือขยายระยะเวลาได้ตามความจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม เว้นแต่รัฐธรรมนูญจะกำหนดระยะเวลาไว้เป็นการเฉพาะ (มาตรา 7)

5.ให้มีการคัดค้านตุลาการและการถอนตัวของตุลาการได้ (มาตรา 10-มาตรา 14)

6.ให้มีหลักการเรื่องละเมิดอำนาจศาลทำนองเดียวกับศาลยุติธรรมและศาลปกครอง โดยพึงใช่อย่างระมัดระวังและเท่าที่จำเป็นตามพฤติการณ์แห่งกรณี (มาตรา 16 และมาตรา 17)

7.กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทำ การยื่นและการแก้ไขเพิ่มเติมคำร้องและคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา (มาตรา 19 มาตรา 20 และมาตรา 30)

8.หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคคลที่มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาล ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญนี้ และกฎหมายอื่นที่บัญญัติให้เป็นอำนาจพิจารณาวินิจฉัยของศาล (มาตรา 21 วรรคหนึ่ง) และได้กำหนดบุคคลที่มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลไว้เป็นการเฉพาะใน 2 กรณี ได้แก่

8.1 กรณีการยื่นคำร้องตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 141 ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ยื่นคำร้องพร้อมเอกสารประกอบตามข้อกำหนดของศาล (มาตรา 21 วรรคสอง)

8.2 กรณีการยื่นคำร้องตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 211 ให้ศาลยุติธรรมศาลปกครอง หรือศาลทหาร ที่จะใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับแก่คดีใด ส่งความเห็นหรือคำโต้แย้งของคู่ความพร้อมด้วยเหตุผลไปยังหัวหน้าหน่วยงานผู้รับผิดชอบธุรการของศาล เพื่อส่งให้ศาลพิจารณาวินิจฉัย (มาตรา 21 วรรคสาม)

9.หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นคำร้องกรณีบุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ตามมาตรา 212 ของรัฐธรรมนูญ โดยการใช้สิทธิของบุคคลดังกล่าวต้องดำเนินการใช้สิทธิตามมาตรา 245 (1) และมาตรา 257 วรรคหนึ่ง (2) ของรัฐธรรมนูญจนถึงที่สุดแล้ว เว้นแต่กรณีที่มีคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลยุติธรรม ศาลปกครอง หรือศาลทหารแล้วแต่กรณี ให้ดำเนินการใช้สิทธิตามมาตรา 211 ของรัฐธรรมนูญก่อน โดยมีสิทธิขอรับความช่วยเหลือและคำแนะนำจากพนักงานคดีรัฐธรรมนูญตามข้อกำหนดของศาล (มาตรา 22)

10.องค์คณะของศาลในการพิจารณาคดีและการทำคำวินิจฉัย

10.1 องค์คณะของศาลในการพิจารณาคดีและการทำคำวินิจฉัย ต้องประกอบด้วยตุลาการไม่น้อยกว่าห้าคน (มาตรา 26 วรรคหนึ่ง)
10.2 ตุลาการซึ่งไม่ได้ร่วมในการพิจารณาคดีใด ย่อมไม่มีอำนาจในการทำคำวินิจฉัยคดีนั้น (มาตรา 26 วรรคสอง)
10.3 คำวินิจฉัยของศาลให้ถือเสียงข้างมาก เว้นแต่มีบัญญัติเป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญ (มาตรา 26 วรรคสาม)

11.ศาลอาจแต่งตั้งตุลาการประจำคดีเพื่อพิจารณารับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยและออกคำสั่งใดๆ ซึ่งมิใช่เป็นไปในทางวินิจฉัยชี้ขาดคดีก็ได้ (มาตรา 27)

12.ให้ศาลมีอำนาจเรียกเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำ ตลอดจนขอให้พนักงานสอบสวน หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ดำเนินการใดเพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณาได้ รวมทั้งมีอำนาจแต่งตั้งบุคคลหรือคณะบุคคลเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่มอบหมาย และในการปฏิบัติหน้าที่ให้ตุลาการเป็นเจ้าพนักงานในการยุติธรรมตามกฎหมาย (มาตรา 31)

13.หลักเกณฑ์และวิธีการในการไต่สวนและการสืบพยานของศาล (มาตรา 32-มาตรา 47)

13.1 การให้บุคคลภายนอกทราบและมีโอกาสโต้แย้งคัดค้านพยานหลักฐานข้อมูล หรือข้อเท็จจริงในคดี (มาตรา 32)
13.2 อำนาจของศาลในการดำเนินกระบวนพิจารณาและวินิจฉัยพยานหลักฐาน (มาตรา 34)
13.3 อำนาจของศาลในการวินิจฉัยคดีโดยไม่ทำการไต่สวน (มาตรา 35)
13.4 การไต่สวนของศาลให้กระทำโดยเปิดเผย (มาตรา 36)
13.5 การเปิดโอกาสให้คู่กรณีอ้างและขอตรวจพยานหลักฐานในคดี (มาตรา 37)
13.6 การตรวจพยานหลักฐานโดยศาล (มาตรา 38)
13.7 การซักถามและสืบพยานหลักฐานของคู่กรณีในการไต่สวนของศาล (มาตรา 39)
13.8 การไต่สวนและการจัดทำบันทึกถ้อยคำของพยานบุคคลหรือพยานผู้เชี่ยวชาญ (มาตรา 40 และมาตรา 42)
13.9 การสืบพยานด้วยวิธีการอื่น ให้ถือว่ากระทำในห้องพิจารณา (มาตรา 41)
13.10 การให้ผู้ร้องหรือคู่กรณีทราบและมีโอกาสโต้แย้งความเห็นของพยานผู้เชี่ยวชาญที่ศาลเรียกมาในคดี (มาตรา 44)
13.11 การสืบพยานหลักฐาน ตรวจสอบบันทึก เอกสาร วัตถุ หรือสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาคดีนอกและในที่ทำการศาล (มาตรา 45 และมาตรา 47)

14.หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการห้ามตุลาการที่เป็นองค์คณะงดออกเสียงในประเด็นแห่งคดี (มาตรา 48)

15.หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทำคำวินิจฉัยของศาลให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ โดยคำวินิจฉัยของศาลต้องลงลายมือชื่อของตุลาการซึ่งเป็นองค์คณะทุกคนที่วินิจฉัยถ้าตุลาการคนใดมีเหตุจำเป็นไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ ให้องค์คณะนั้นพิจารณา หากเห็นว่าเป็นกรณีมีเหตุจำเป็นไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ ให้มอบหมายตุลาการคนใดคนหนึ่งที่เป็นองค์คณะจดแจ้งเหตุดังกล่าวแล้วกลัดรวมไว้กับคำวินิจฉัย (มาตรา 51)

16.หลักเกณฑ์เกี่ยวกับผลของคำวินิจฉัยของศาล โดยทั่วไปให้มีผลในวันอ่านและในกรณีที่ศาลมีคำวินิจฉัยคดีที่ไม่มีถูกถูกร้อง ให้ศาลแจ้งคำวินิจฉัยของศาลแก่ผู้ร้องและให้ถือว่าวันที่ศาลลงมติซึ่งเป็นวันที่ปรากฏในคำวินิจฉัยเป็นวันอ่าน โดยการแจ้งให้มาฟังและการอ่านคำวินิจฉัยของศาลและการแจ้งคำวินิจฉัยของศาลแก่ผู้ร้อง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ศาลกำหนด (มาตรา 52)

17.หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการสั่งจำหน่ายคำร้องและคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย (มาตรา 24 มาตรา 25 มาตรา 28 และมาตรา 53)

18.หลักเกณฑ์ในการแก้ไขเพิ่มเติมคำวินิจฉัยหรือคำสั่งของศาลที่มีข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย ทั้งนี้ ในการทำคำสั่งแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว จะต้องไม่เป็นการกลับหรือแก้ผลในคำวินิจฉัยหรือคำสั่งเดิม (มาตรา 54)

19.บทเฉพาะกาล

บรรดาคดีซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลก่อนวันที่ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ ให้ใช้บทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญนี้บังคับ เว้นแต่ศาลจะเห็นสมควรกำหนดเป็นอย่างอื่น (มาตรา 55)

*******************

 

2มาตรา "ร้อน" ห้ามละเมิดอำนาจศาล
-----------------------

มาตรา 16 นอกจากที่บัญญัติไว้แล้วใน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญนี้ให้นำบทบัญญัติที่ถือว่าเป็นการกระทำละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม และเมื่อมีการละเมิดอำนาจศาลให้ศาลมีอำนาจสั่งลงโทษได้ ดังนี้
(1) ตักเตือน โดยจะมีคำตำหนิเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยหรือไม่ก็ได้
(2) ไล่ออกจากบริเวณศาล
(3) ลงโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การสั่งลงโทษฐานะละเมิดอำนาจศาลพึงใช้อย่างระมัดระวังและเท่าที่จำเป็นตามพฤติการณ์แห่งกรณี และศาลอาจสั่งให้ผู้กระทำละเมิดลงประกาศตาม (1) ทางหนังสือพิมพ์ฉบับใดฉบับหนึ่ง หรือหลายฉบับเป็นระยะเวลาตามที่ศาลเห็นสมควร โดยให้ผู้กระทำละเมิดเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย
มาตรา 17 ผู้ใดวิจารณ์การพิจารณาหรือการวินิจฉัยคดีของศาลโดยสุจริตด้วยวิธีการทางวิชาการ ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล หรือดูหมิ่นศาลหรือตุลาการ
-------------------------------
บันทึกการเข้า

เช็คบิล
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 580



« ตอบ #6 เมื่อ: 24-08-2008, 22:36 »

มีเพื่อน ส่งค่ารถมาให้แล้วครับ

แต่ผมจะไปรถไฟฟรี ฮ่า ฮ่า


คืนนี้ พันธมิตรอุบล ไปนอนที่ "ผาชนะได" ตรงผาแต้ม เพื่อรับแสงแรกจากพระอาทิตย์

และจะนำไฟที่ได้จากแสงแรกจากพระอาทิตย์ที่ผาชนะได มาส่งให้ พันธมิตรที่กทม. ในวันนั้นเลยครับ


เห็นสมัครบอกเมื่อเช้าว่า ไปนั่งดูน้ำมูลไหลย้อนขึ้นเหนือ

ผมฝากเพื่อนๆ เอาไฟไปลนตรงที่สมัครไปนั่ง

ทำพิธีไล่*****อะครับ ฮ่า ฮ่า

ถ้าสมัครขี้ไม่ออก หรือสมัครขี้แตก

ขอให้รู้เลยว่า พิธีเผาที่นั่งสมัครที่โขงเจียมได้ผล อิ อิ


 

 

อย่างไรก็ตามก็ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพน่ะครับ ส่วนผมก็รอที่กทม เพราะงานยังไม่เสร็จดี

อ๋อ

สำหรับคนที่อยู่ต่างประเทศ ก็รับชมได้ที่ www.191tv.com ค่อนข้างจะเร็วน่ะครับ ผมดูตัวนี้อยู่

อย่างไรก็ดี ขอให้โชคดีครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24-08-2008, 22:51 โดย เช็คบิล » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: