ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
20-04-2024, 10:42
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  อาจารย์กฏหมายยังไม่ยอมเรียกสองผัวเมีย จำเลยหนีหมายจับศาลยุติธรรม.....!!! 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
อาจารย์กฏหมายยังไม่ยอมเรียกสองผัวเมีย จำเลยหนีหมายจับศาลยุติธรรม.....!!!  (อ่าน 1355 ครั้ง)
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« เมื่อ: 18-08-2008, 00:04 »

การลี้ภัยทางการเมือง การส่งผู้ร้ายข้ามเเดนเเละความผิดทางการเมือง โดย อ.ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช

บทนำ : การปฎิเสธที่จะมารายงานตัวต่อศาลของท่านอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร โดยอดีตนายกรัฐมนตรีเลือกที่จะขอลี้ภัยทางการเมืองเเทนนั้น ได้ก่อให้เกิดความสนใจในหมู่ประชาชนเเละสื่อเเขนงต่างๆ มากว่าเรื่องลี้ภัยทางการเมืองเป็นอย่างไร รัฐบาลไทยจะใช้ช่องทางการส่งผู้ร้ายข้ามเเดนได้หรือไม่ ข้อเขียนนี้จะอธิบายหลักการการสำคัญเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวดังนี้

การลี้ภัยทางการเมือง (Political Asylum) : การลี้ภัยทางการเมืองของบุคคลนั้นเป็นที่รับรองทั้งในตราสารระหว่างประเทศอย่างปฎิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนสากล (Universal Declaration of Human Rights) มาตรา 14 (1) ที่รับรองว่าบุคคลมีสิทธิที่จะเเสวงหาที่ลี้ภัยจากการประหัตประหาร (หรือการคุกคาม) รวมถึงกฎหมายภายในของรัฐ เช่นรัฐธรรมนูญ (หรือกฎหมายพื้นฐาน) ของประเทศเยอรมัน (มาตรา 16 (2) รัฐธรรมนูญของอิตาลี (มาตรา 10) รัฐธรรมนูญสาธารณะรัฐเชก (มาตรา 43) เป็นต้น ในขณะที่บางประเทศได้รับรองสิทธิการลี้ภัยไว้ในกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ เช่น ใน Refugee Act ของสหรัฐอเมริกา

การลี้ภัยทางการเมืองนั้นเป็นนิติสัมพันธ์สองฝ่ายระหว่างบุคคลที่ขอสิทธิลี้ภัยกับประเทศที่รับคำร้องการขอลี้ภัย ในทางกฎหมายต่างฝ่ายต่างมีสิทธิด้วยกันทั้งคู่ กล่าวคือ บุคคลทั่วไปมีสิทธิที่จะร้องขอการลี้ภัย (right to Seek Asylum) ในขณะเดียวกัน ก็เป็นสิทธิของรัฐที่จะให้หรือไม่ให้การลี้ภัยเเก่บุคคลนั้น (the Right of State to Grant Asylum) การให้การลี้ภัยหรือไม่เป็นดุลพินิจของรัฐ ไม่มีกฎหมายระหว่างประเทศเเละกฎหมายภายในใดที่กำหนดว่าเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะให้ที่ลี้ภัยทางการเมือง การที่บุคคลใดจะได้รับสิทธิลี้ภัยทางการเมืองหรือไม่ย่อมเป็นไปตามกฎหมายเเละกฎระเบียบรวมถึงดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นๆ เช่นในประเทศฝรั่งเศสหน่วยงานที่ชื่อว่า French Office for the Protection of Refugees and Stateless Persons มีหน้าที่พิจารณาเรื่องการลี้ภัย

ส่วนเงื่อนไขที่บุคคลจะอยู่ในข่ายที่จะได้รับสิทธิลี้ภัยนั้น ส่วนใหญ่กฎหมายของเเต่ละประเทศจะอิงหรืออาศัยคำนิยามของอนุสัญญาว่าด้วยผู้ลี้ภัยค.ศ. 1951 รวมทั้งพิธีสาร ค.ศ. 1967 เป็นเเนวทางในการพิจารณา ส่วนเรื่องขั้นตอนวิธีการการขอเเละการอุทธรณ์เป็นไปตามกฎหมายภายในของเเต่ละประเทศ เงื่อนไขประการสำคัญที่ผู้ร้องจะได้รับสิทธิการลี้ภัยก็คือ ความเกรงกลัวว่าจะถูกประหัตประหาร (Persecute) โดยมีการเลือกปฎิบัติด้วยเหตุผลทางชาติพันธุ์ (race) ศาสนา (religion) สัญชาติ (Nationality) การเป็นสมาชิกของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เเละความคิดเห็นทางการเมือง (Political opinion) ซึ่งคำว่า “ความคิดเห็นทางการเมือง” นั้นมีความหมายกว้าง

สำหรับตัวอย่างของการให้สิทธิลี้ภัยทางการเมืองนั้น เช่น กรณีที่ประเทศฝรั่งเศสให้สิทธิเเก่ นาย Irakli Okruashvili อดีตรัฐมนตรีของจอร์เจียเมื่อเร็วๆนี้ ซึ่งกรณีของนาย Irakli Okruashvili ก็มีประเด็นเกี่ยวกับขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมเหมือนกัน

  การส่งผู้ร้ายข้ามเเดน (Extradition) : การส่งผู้ร้ายข้ามเเดนเป็นช่องทางหนึ่งที่ประชาคมระหว่างประเทศใช้ในการติดตามจับกุมผู้กระทำความผิดหรือผู้ถูกกล่าวหาที่หนีไปประเทศอื่น โดยปกติเเล้ว อำนาจอธิปไตยของรัฐย่อมจำกัดเฉพาะภายในดินเเดนหรืออาณาเขตของตนเท่านั้น ตามกฎหมายระหว่างประเทศ รัฐหนึ่งจะใช้อำนาจอธิปไตยเหนือกว่าอีกรัฐหนึ่งโดยที่รัฐนั้นไม่ยินยอมไม่ได้ ดังนั้น เมื่อผู้ถูกกล่าวหาหรือจำเลยได้ไปอยู่ต่างประเทศ รัฐเจ้าของสัญชาติของผู้ถูกกล่าวหาหรือจำเลยจะส่งเจ้าหน้าที่ของรัฐไปจับกุมในต่างประเทศไม่ได้เพราะเป็นการละเมิดอำนาจอธิปไตยของรัฐอื่น ดังนั้น รัฐเจ้าของสัญชาติจึงต้องร้องขอให้มีการช่วยเหลือที่จะติดตามจับกุมผู้ต้องหาหรือจำเลยมาให้ โดยปกติเเล้ว ความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องการส่งผู้ร้ายข้ามเเดนจะกระทำในรูปของสนธิสัญญาทวิภาคีการส่งผู้ร้ายข้ามเเดน ซึ่งเป็นฐานของความร่วมมือระหว่างรัฐที่ร้องขอให้มีการส่งผู้ร้ายข้ามเเดน (Requesting state) กับรัฐที่ถูกร้องขอให้ส่งผู้ร้ายข้ามเเดน (Requested state) อย่างไรก็ดี หากไม่มีสนธิสัญญาระหว่างกัน รัฐก็สามารถใช้ “หลักต่างตอบเเทน” (Reciprocity) ได้ (ซึ่งผิดกับกรณี “การโอนตัวนักโทษ” ที่ต้องมีสนธิสัญญาระหว่างรัฐที่ร้องขอกับรัฐที่ได้รับการ้องขอเสมอ)

อย่างไรก็ดี เเม้จะมีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามเเดนก็ตามก็มิได้หมายความว่า เมื่อมีการร้องขอให้มีการส่งผู้ร้ายข้ามเเดนเเล้ว รัฐที่ได้รับการร้องขอจะต้องส่งให้ตามคำร้องเสมอ โดยปกติเเล้ว ตามสนธิสัญญาว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามเเดนหรือกฎหมายภายในเกี่ยวกับการส่งผู้ร้ายข้ามเเดนจะระบุเงื่อนไขหรือเกณฑ์ที่ใช้พิจารณารวมถึงข้อยกเว้นบางประการด้วย เกณฑ์หรือเงื่อนไขของการส่งผู้ร้ายข้ามเเดนที่สำคัญคือ

ประการเเรก ความผิดที่จะส่งให้เเก่กันได้นั้นต้องเป็นความผิดของทั้งสองประเทศคือทั้งของประเทศที่ร้องของเเละประเทศที่ได้รับการร้องขอ ไม่ว่าจะเรียกฐานความผิดในชื่อใดก็ตาม เกณฑ์นี้นักกฎหมายเรียกว่า Double-criminality หรือ Double-jeopardy

ประการที่สอง โทษขั้นต่ำของฐานความผิด (เช่น ต้องไม่ต่ำกว่า 1 ปี)

ประการที่สาม ความผิดที่จะถูกดำเนินคดีได้เมื่อมีการส่งผู้ร้ายข้ามเเดนตามคำขอนั้น รัฐที่ร้องขอจะพิจารณาคดีเเละลงโทษได้เฉพาะความผิดที่ร้องขอเท่านั้น จะไปดำเนินคดีในความผิดฐานอื่นที่เกิดขึ้นก่อนที่จะมีการร้องขอให้มีการส่งผู้ร้ายข้ามเเดนไม่ได้ เกณฑ์ข้อนี้มีไว้เพื่อป้องกันมิให้มีการดำเนินคดีในควาผิดที่ไม่อาจส่งผู้ร้ายข้ามเเดนให้เเก่กันได้ เเต่รัฐได้อาศัยช่องทางของการส่งผู้ร้ายข้ามเเดน ในความผิดฐานหนึ่งเพื่อไปดำเนินคดีหรือลงโทษในอีกความผิดฐานหนึ่ง เกณฑ์นี้เรียกว่า “Speciality”

]ความผิดทางการเมือง (Political Offences) : เป็นที่ยอมรับกันในหมู่ประเทศตะวันตกหลังการปฎิวัติฝรั่งเศสว่า การเเสดงความคิดเห็นทางการเมืองที่เเตกต่างกันเป็นสิ่งปกติในสังคมระบอบประชาธิปไตยเเละเป็นสิทธิมนุษยชนที่สำคัญยิ่ง ดังนั้น หากบุคคลได้กระทำความผิดที่มีลักษณะทางการเมืองเเล้ว ความผิดทางการเมืองย่อมไม่อยู่ในข่ายที่จะส่งผู้ร้ายข้ามเเดน

ปัญหาก็คือสนธิสัญญาทวิภาคีส่งผู้ร้ายข้ามเเดนก็ดี กฎหมายภายในของรัฐเกี่ยวกับการส่งผู้ร้ายข้ามเเดนก็ดี ไม่ได้มีการให้คำนิยามว่า ความผิดทางการเมืองคืออะไร โดยปกติเเล้ว การพิจารณาว่าความผิดใดเป็นความผิดอาญาธรรมดาหรือความผิดทางการเมืองนั้น เป็นดุลพินิจหรือเป็นปัญหาการตีความขององค์กรตุลาการของรัฐที่ได้รับการร้องขอให้มีการส่งผู้ร้ายข้ามเเดน ไม่เกี่ยวกับรัฐที่ร้องขอเเต่อย่างใด ปัญหาขอบเขตของความหมายความผิดทางการเมืองนั้นเป็นปัญหาที่มีความยุ่งยากอยู่มิใช่น้อยเนื่องจากเกณฑ์ที่ใช้พิจารณานั้นมีอยู่หลายเกณฑ์ เเละในหลายกรณีศาลก็มิได้อาศัยเกณฑ์หนึ่งเกณฑ์ใดเป็นปัจจัยชี้ขาด เเต่ศาลอาจพิจารณาเกณฑ์อื่นๆ ควบคู่กันไป อีกทั้งทางปฎิบัติของเเต่ละประเทศก็มีความเเตกต่างกันไปด้วย การกระทำบางอย่างอาจมองว่าเป็นความผิดทางการเมืองอย่างเเจ้งชัด เช่น การประท้วงทางการเมือง การก่อกบฎ การต่อสู้เพื่อเเย่งชิงอำนาจทางการเมืองหรือต่อสู้เรียกร้องเอกราช การวิพากษ์วิจารณ์ทางการเมือง เป็นต้น การกระทำเหล่านี้นักกฎหมายใช้เกณฑ์ที่เรียกว่า “Incident test”

อย่างไรก็ดี ความผิดทางการเมืองในปัจจุบันมิได้จำกัดเเค่ “ความผิดทางการเมือง” (political offence) เเต่เพียงอย่างเดียวเเต่อาจรวมถึง   “ความผิดที่เกี่ยวข้องหรือเชื่อมโยงกับความผิดทางการเมือง” (an offence connected with a political offence) ด้วยอย่างเช่น กฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามเเดนระหว่างประเทศอังกฤษกับไอร์เเลนด์ ฉะนั้น ปัจจุบัน นักกฎหมายบางท่านจึงใช้คำว่า ความผิดที่มีลักษณะทางการเมือง (Political character) เเทน

นอกจากนี้ ความผิดทางการเมืองมิได้จำกัดเพียงเเค่ “การกระทำ” (act) ของผู้กระทำเเต่เพียงอย่างเดียวอย่างที่เข้าใจกัน เเต่รวมถึงปัจจัยอย่างอื่นด้วย เช่น เเรงจูงใจของรัฐบาลที่ร้องขอให้มีการส่งผู้ร้ายข้ามเเดนว่ามีเเรงจูงใจทางการเมืองเเอบเเฝงหรือไม่ ที่เรียกว่า “Political Motive of the Requesting State” หรือ การปฎิบัติต่อผู้ต้องหาหรือจำเลยในเรื่องเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม (Fair Trail) หากศาลพิจาณาเเล้วเห็นว่า สิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ของจำเลยหรือผู้ถูกกล่าวว่าจะถูกละเมิด ศาลก็อาจปฎิเสธที่จะส่งผู้ร้ายข้ามเเดนได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพยานหลักฐานที่ผู้ถูกกล่าวหาหรือจะเลยจะต้องเเสดงให้ศาลเห็นว่า สิทธิการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมหรือสิทธิมนุษยชนอื่นๆของตนจะถูกละเมิดได้

ยิ่งไปกว่านั้น ศาลของหลายประเทศยังได้ให้ความสำคัญกับระบอบการปกครองของประเทศที่ร้องขอให้มีการส่งผู้ร้ายข้ามเเดนด้วยว่ามีระบอบการปกครองที่เป็นประชาธิปไตยมากน้อยเเค่ไหน มีการรับรองหลักนิติรัฐหรือไม่ เกณฑ์นี้เรียกว่า “the Political Structure of the Requesting State” เกณฑ์นี้ศาลอังกฤษเคยใช้ในคดี Kolczynski โดยศาลอังกฤษปฎิเสธที่จะส่งผู้ร้ายข้ามเเดนไปให้ประเทศโปเเลนด์ ซึ่งพิจารณาตามมาตรฐานของประเทศอังกฤษ (หรือประเทศตะวันตก) เเล้ว โปเเลนด์ในเวลานั้นยังไม่เป็นประชาธิปไตยตามมาตรฐานของประเทศตะวันตก

ข้อสังเกตจดหมาย (ที่ไม่ธรรมดา) ของอดีตนายกรัฐมนตรี
จดหมายที่อดีตนายกรัฐมนตรีส่งตรงมาจากกรุงลอนลอนนั้น หากคนธรรมดาทั่วไปอ่านคงคิดว่าเป็นการระบายความในใจต่อพี่น้องประชาชน เเต่หากพิจารณาเนื้อความอย่างละเอียดเเล้ว จดหมายนี้ยังเเฝงประเด็นข้อกฎหมายต่างๆไว้ด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้เกี่ยวข้องต้อง “ถอดรหัส” ต่อไป

บทส่งท้าย : การใช้สิทธิลี้ภัยทางการเมืองของอดีตนายกรัฐมนตรีนั้นเป็นสิทธิที่พึงกระทำได้ตามที่รับรองไว้ในปฎิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชน  ส่วนจะได้สิทธิลี้ภัยหรือไม่นั้นเป็นดุลพินิจของรัฐบาลอังกฤษ ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายเเละขั้นตอนของประเทศอังกฤษ หากประเทศอังกฤษให้สิทธิลี้ภัยเเก่อดีตนายกรัฐมนตรีเเล้วจะมีผลกระทบต่อภาพลักษณ์กระบวนการยุติธรรมของไทยหรือไม่นั้นน่าคิดไม่น้อย เเต่หากรัฐบาลไทยใช้ช่องทางของการส่งผู้ร้ายข้ามเเดนโดยที่ศาลอังกฤษปฎิเสธที่จะส่งผู้ร้ายข้ามเเดนโดยเห็นว่าเป็นความผิดทางการเมืองหรือเป็นความผิดที่มีลักษณะทางการเมืองแล้ว สิ่งที่ตามมาก็คืออาจมี “เครื่องหมายคำถาม” มากมายเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตย กระบวนการยุติธรรม การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเเละหลักนิติรัฐของประเทศไทยว่าได้มาตรฐานอย่างประเทศตะวันตกหรือไม่อย่างหลีกเลี่ยงมิได้

  (ที่มา  ประชาไท  รศ. ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช หัวหน้าภาควิชากกฎหมายระหว่างประเทศ คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ )

จากคุณ : จำปีเขียว  - [ 17 ส.ค. 51 14:52:58 A:125.25.55.173 X: ]   


 ความคิดเห็นที่ 1   

นั่นแหละครับถึงบอกว่าการต่อสู้เพิ่งจะเริ่ม.. โดยมีการนำวิธีการยุติธรรมของไทยไปตีแผ่ในประเทศตะวันตก..เพื่อตีกระทบชิ่งกลับมาให้ทุกคนได้เห็นถึงมือที่มองไม่เห็นที่กุมอำนาจอยู่..ว่าเป็นอย่างไร..
แก้ไขเมื่อ 17 ส.ค. 51 15:18:21

จากคุณ : T_Romance   - [ 17 ส.ค. 51 15:17:51 A:124.120.174.253 X: ]
 
   
 
ความคิดเห็นที่ 2   

เดี๋ยวรู้  ไอ้พวกที่อยากให้ส่ง  อังกฤษตอบว่าอย่างไรคงได้หน้าแตกไปตาม ๆ กัน

จากคุณ : ครูเก่าแก่  - [ 17 ส.ค. 51 16:39:34 A:124.121.115.98 X: ] 
   
 
 
 ความคิดเห็นที่ 3   

ขอบคุณค่ะ

จากคุณ : ราศรีเมถุน   - [ 17 ส.ค. 51 16:40:12 A:125.27.205.19 X: ] 
   
 
 
 ความคิดเห็นที่ 4   

อังกฤษมีกฎหมายหนึ่ง เรียกชื่อ พระราชบัญญัติให้ความคุ้มครอง (Immunity Act) ครับ

ในมาตรา ผมจำไม่ได้ รู้สึกจะ มาตรา 15 อะไรนี่แหละ (ขี้เกียจค้น) เขาระบุไว้ว่า ผู้นำแห่งรัฐหรืออดีตผู้นำรัฐ จะได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายนี้

รายละเอียดเคยเขียนกระทู้ไว้ตั้งแต่ตอนอัยการไทยไปขอตัวท่านทักษิณเมื่อปีที่แล้ว แล้ว..

แล้วก็..หน้าแตกกลับมาอย่างที่เห็นครับ

จากคุณ : ขนมต้ม  - [ 17 ส.ค. 51 17:25:24 A:117.47.225.169 X: ] 
   
http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P6898775/P6898775.html
 
 


การลี้ภัยทางการเมือง (Political Asylum)

  การส่งผู้ร้ายข้ามเเดน (Extradition)

ความผิดทางการเมือง (Political Offences)

  “ความผิดที่เกี่ยวข้องหรือเชื่อมโยงกับความผิดทางการเมือง” (an offence connected with a political offence)




ถ้าอยากจะรู้ศัพท์ข้างบนและความหมาย ก็อ่านต่อไปเถอะ แต่จะให้คำนิยามและคำอธิบายถูกต้องหรือไม่ ผมไม่ทราบ เพราะผมไม่ได้เป็นอาจารย์สอนกฏหมายอย่างผู้เขียนบทความนี้......!!!

แต่น่าจะอ่านบทส่งท้ายด้วย ผมไม่ประหลาดใจที่บทความนี้มาจาก'ประชาไท'.......ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า


บทส่งท้าย : การใช้สิทธิลี้ภัยทางการเมืองของอดีตนายกรัฐมนตรีนั้นเป็นสิทธิที่พึงกระทำได้ตามที่รับรองไว้ในปฎิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชน  ส่วนจะได้สิทธิลี้ภัยหรือไม่นั้นเป็นดุลพินิจของรัฐบาลอังกฤษ ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายเเละขั้นตอนของประเทศอังกฤษ หากประเทศอังกฤษให้สิทธิลี้ภัยเเก่อดีตนายกรัฐมนตรีเเล้วจะมีผลกระทบต่อภาพลักษณ์กระบวนการยุติธรรมของไทยหรือไม่นั้นน่าคิดไม่น้อย เเต่หากรัฐบาลไทยใช้ช่องทางของการส่งผู้ร้ายข้ามเเดนโดยที่ศาลอังกฤษปฎิเสธที่จะส่งผู้ร้ายข้ามเเดนโดยเห็นว่าเป็นความผิดทางการเมืองหรือเป็นความผิดที่มีลักษณะทางการเมืองแล้ว สิ่งที่ตามมาก็คืออาจมี “เครื่องหมายคำถาม” มากมายเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตย กระบวนการยุติธรรม การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเเละหลักนิติรัฐของประเทศไทยว่าได้มาตรฐานอย่างประเทศตะวันตกหรือไม่อย่างหลีกเลี่ยงมิได้

  (ที่มา  ประชาไท  รศ. ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช หัวหน้าภาควิชากกฎหมายระหว่างประเทศ คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ )


อ่านไปแล้วอย่าเผลอลืมข้อเท็จจริงที่ผู้เขียนไม่ได้กล่าวถึงว่า....
1. ทักษิณและเมียเป็นจำเลยหนีหมายจับศาลยุติธรรมไทย จำเลยทั้งสองคนขอศาลฯ ออกนอกราชอาณาจักรไทย ไปชม'โอลิมปิคเกมส์' เป็นผู้บรรยายพิเศษที่ญี่ปุ่น(ภายหลังไม่ได้ไปญี่ปุ่นตามอ้างอิงฯ) เพราะผู้พิพากษาศาลอาญา เมตตา อนุญาตให้ประกันตัว โดยขอคำมั่นสัญญาว่าจะกลับมารายงานตัววันที่ 11 สิงหาคมที่ผ่านไปแล้ว เพื่อจะได้ปรากฏตัวในศาลยุติธรรมตามนัดหมายครั้งต่อไป.....!!!

2. สองผัวเมียเป็นจำเลยคดีทุจริต ฉ้อราษฎร์บังหลวงของศาลยุติธรรม พวกเขาจะต้องกลับมาขึ้นศาลภายในเดือนสิงคมนี้ และ คดีอื่นๆ ในเดือนต่อไปๆ หลายคดีนั้นมีโทษจำคุกด้วยเช่นเดียวกับคดีทุจริตซื้อที่ดินรัฐดาฯ ศาลฯได้พิจารณาลงโทษจำคุก 3 ปี โดยไม่รอลงอาญา !!!

3. วันนี้กองทะเบียนประวัติฯ สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ออกหมายจับจำเลยทั้งสองแล้ว....!!!




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18-08-2008, 00:06 โดย ปุถุชน » บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
หน้า: [1]
    กระโดดไป: