ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
20-04-2024, 23:23
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  คิดยังไงกับบทบาทนายก อมธ คนปัจจุบัน 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
คิดยังไงกับบทบาทนายก อมธ คนปัจจุบัน  (อ่าน 2703 ครั้ง)
น้องแบ๊งค์เองครับ
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 800


« เมื่อ: 16-08-2008, 14:36 »



 ด้วยบทบาทของสาวน้อยคนเก่ง หัวใจนักสู้ อย่าง “ใหม่” ณัชฏา คงศรี นักศึกษาชั้นปี 3 คณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หัวหน้าพรรคเคียงโดม ผู้สวมบทบาทนายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) ประจำปี 2551 เสมือนเป็นตัวแทนนักศึกษาที่รักในอำนาจประชาธิปไตย
       
       สำหรับบทบาทครั้งยิ่งใหญ่ของเจ้าตัว เกิดขึ้นทันทีหลังจากได้รับตำแหน่ง ด้วยการทำหน้าที่แถลงการณ์ชี้แจ้งเกี่ยวสถานการณ์บ้านเมืองในเรื่องต่างๆ ภายในรั้วมหาวิทยาลัย รวมไปถึงกรณีที่ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519
       
      “อม ธ.ได้ทำหน้าที่ออกแถลงการณ์ เพื่อโต้ตอบว่าความเป็นจริงเป็นอย่างไร มีคนตายเท่าไร หลังจากนั้นจึงมีแถลงการณ์อีกครั้งเกี่ยวกับจุดยืนของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต่อสถานการณ์ทางการเมือง เพราะในอดีตที่ผ่านมา นักศึกษาธรรมศาสตร์ลดบทบาททางการเมืองลงมาก พอมีการเคลื่อนไหวทางการเมือง ทำให้นักศึกษาบางกลุ่มนึกถึงสมัยก่อน ยิ่งตอนนี้นักศึกษาย้ายมาเรียนที่ศูนย์รังสิตเพิ่มมากขึ้น ทำให้การตื่นตัวของนักศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการเมืองน้อยไปมาก”
       
       เมื่อ ถูกตั้งคำถามว่า เดี๋ยวนี้นักศึกษาธรรมศาสตร์ไม่สนใจการเมืองแล้วหรือ? ใหม่ไม่รอช้า รีบชี้แจงว่า คนในสังคมมักติดภาพว่า นักศึกษาธรรมศาสตร์ ต้องเดินขบวน ต้องตั้งม็อบต่อต้านเหมือนอดีตที่ผ่านมา “นัก ศึกษาธรรมศาสตร์มีการพูดคุยกันตลอด ไม่ว่ากลุ่มใหญ่หรือกลุ่มย่อย หรือแม้แต่นักศึกษาทั่วไป เพราะในสมัยที่เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา และ 6 ตุลา ยังเป็นช่วงที่สังคมไม่มีประชาธิปไตย ดังนั้นการเดินขบวนจึงเป็นการแสดงออกถึงประชาธิปไตย แต่ตอนนี้สังคมมีประชาธิปไตยแล้ว นักศึกษาจึงคิดมากขึ้นว่า จะทำอย่างไรให้เป็นไปตามกระบวนการ เราต้องศึกษาดูว่าหลักประชาธิปไตยสามารถทำอะไรได้บ้าง”
       
       “กิจกรรม นักศึกษาต้องมีขึ้นมีลง มีช่วงแข็ง ช่วงอ่อน เราจึงต้องอดทนต่อกระแสสังคมที่ได้รับ และคิดว่า ถ้าเรามุ่งมั่นที่จะทำอะไร ก็ต้องทำ อย่าง อมธ.ก็จะพยายามก่อร่างอะไรไว้ให้มากที่สุด เพราะการเปลี่ยนแปลงไม่ได้เกิดขึ้นในเวลาอันรวดเร็ว แต่ในช่วงที่เราเข้ามาทำงานสามารถสร้างอะไรได้ เราก็จะทำ เพียงแต่ขอให้ทำให้ดีที่สุด”

       
       สำหรับสถานการณ์การเมืองในปัจจุบันและที่ผ่าน เธอมีมุมมองที่ไม่แตกต่างจากนายก อมธ.รุ่นก่อน ให้สมกับเป็นลูกศิษย์รั้วโดมที่ยึดมั่นในประชาธิปไตย

     
       “การ ปฏิวัติในระบบประชาธิปไตยถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ควรเกิดขึ้น ต่างประเทศอาจจะมองว่าการปฏิวัติเป็นสิ่งเลวร้าย และเป็นการแสดงออกว่าประเทศนั้นๆแย่ เพราะไม่สามารถดูแลตัวเองได้ ต้องให้ทหารมาดูแล แต่ว่าในสายตาของคนไทย การปฏิวัติเป็นเรื่องธรรมดามาก พอมีคนทะเลาะกัน ทหารก็ต้องปฏิวัติ ดังนั้นจุดยืนเรื่องแรกคือ ต้องไม่มีการปฏิวัติ”
       
       “จริงๆ แล้วคนในสังคม โดยเฉพาะนักวิชาการไม่มีใครต้องการเห็นการปฏิวัติ เพียงแต่ว่าคนส่วนใหญ่มองว่าเป็นเรื่องปกติ เราต้องออกไปบอกคนในสังคมว่าเราจะใช้วิธีแก้ปัญหาด้วยการปฏิวัติไม่ได้ เพราะทุกครั้งที่เกิดปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ เรื่องสังคมจะถอยหลังกลับ จึงอยากให้ทุกคนมองว่า การปฏิวัติไม่ได้กระทบเรื่องการเมืองเพียงอย่างเดียว แต่จะกระทบทุกภาคส่วนของประเทศ”

       
       ท้ายนี้ เธอบอกว่า สังคมธรรมศาสตร์เป็นสังคมที่ใหญ่ อยากให้ทุกคนเรียนรู้ ต้องหัดเป็นคนแสวงหา อยากให้มองย้อนกลับไปในอดีต ถ้าเราปล่อยให้เวลาที่รังสิตผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์ ก็จะคล้ายยุคสายลมแสงแดด
       
       “เวลา ที่มีเรามีปัญหา สะสมความไม่เข้าใจกัน เพียงเพราะไม่อยากยุ่งเกี่ยว แม้ว่าจะเป็นเรื่องของมหาวิทยาลัยก็ไม่สนใจ แล้วต่อไปจะมีใครสนใจทำกิจกรรม ไม่มีใครสนใจมหาวิทยาลัย หรือไม่มีใครรู้ว่ากิจกรรมนักศึกษามีประโยชน์มากแค่ไหน ดังนั้นเราต้องแสวงหาว่าชีวิตเราต้องการอะไร ธรรมศาสตร์คืออะไร ธรรมศาสตร์ให้อะไรกับเราไว้บ้าง ไม่ว่าจะอยู่ไหนถ้าเราปล่อยให้มันผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์ สิ่งดีๆ ก็จะไม่เกิดขึ้น โดยเฉพาะกิจกรรมของนักศึกษาที่ถือว่าเป็นแรงกระตุ้นให้เราอยากเรียนอยากรู้ และอยากลอง”



 
บันทึกการเข้า
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #1 เมื่อ: 16-08-2008, 14:53 »


จิตวิญญาณธรรมศาสตร์ 4 รุ่น
เกษียร เตชะพีระ
 
เทอมที่แล้ว ผมตั้งโจทย์ข้อสอบไล่ข้อหนึ่งแบบบอกล่วงหน้าให้นักศึกษาวิชา ร.321 การเมืองการปกครองของไทย ราว 100คน ไปค้นคว้าเรียบเรียง มาเขียนตอบในห้องสอบ ว่าจงเขียนบทสนทนาสมมุติขึ้นระหว่าง บุคคล 4 คน ผู้เกี่ยวพันกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในประเด็น จิตวิญญาณความเป็น ธรรมศาสตร์และอนาคตของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ใน 15-20ปีข้างหน้า .....บุคคลทั้ง 4 ได้แก่

 ก) ผู้ประศาสน์การปรีดี พนมยงค์
 
 ข) ศิษย์เก่า ม.ธ.ก. กุหลาบ สายประดิษฐ์
 
 ค) อธิการบดีป๋วย อึ๊งภากรณ์
 
 ง)ให้นักศึกษาเลือกสมมุติเองว่าบุคคลที่ 4จะเป็นใคร?....
 
 ในบรรดาคำตอบทั้งหลาย มีฉบับหนึ่งของนักศึกษาปีสี่เลขทะเบียน  4104612959 เขียนได้คมคายน่าคิด
 
ช่วยสะท้อนสภาพและชีวทัศน์ของนักศึกษายุคปัจจุบัน จึงขออนุญาตคัดตัดต่อบางตอนมาเป็นกำนัลท่านผู้อ่าน โดยเฉพาะชาวธรรมศาสตร์ทั้งอดีตและปัจจุบันดังนี้

 ...
 
 วันนี้ผมก็เข้ามาเรียนในธรรมศาสตร์เหมือนอย่างเคยทุกวัน  ...ผ่านมาจะครบ 4ปี  ผมก็ยังรู้สึกว่าผมยังไม่ได้เป็นนักศึกษาธรรมศาสตร์จริงๆ สักทีผมไม่เคยรู้จัก ม.ธ.ก. และความเป็นมา ผมไม่ซาบซึ้งกับคำที่พวกเขาพร่ำกล่าวว่า 'จิตวิญญาณธรรมศาสตร์' นั้นมันเป็น จนกระทั่ง...คืนนั้นผมเก็บเอาบทเรียนในชั้น ไปฝันต่อ...
 
 ณ คอมมอนรูมคณะเศรษฐศาสตร์ที่โต๊ะริมน้ำที่ผมชอบนั่งดูท้องฟ้า สายน้ำ  แต่วันนี้ที่โต๊ะตัวนั้นมีใครคนหนึ่งนั่งอยู่

นักศึกษา: สวัสดีครับ... รอใครอยู่หรือเปล่าครับ?
 
ผู้ประศาสน์การ ปรีดี พนมยงค์ : ฉันกำลังรอเธออยู่ มาสิ มาคุยกัน
 
นักศึกษา : ท่านเป็นใครหรือครับ ผมไม่เห็นรู้จัก?

ปรีดี : ฉันเติบโตในระหว่างสงครามโลกสองครั้ง ในยุคที่มีการล่าอาณานิคม กันมากระบบทุนนิยมแพร่หลายและก็พังทลายพร้อมๆ กัน ฉันไปเรียนต่อที่ ฝรั่งเศสและได้รับเอาแนวคิดประชาธิปไตย มาทำการอภิวัฒน์เมื่อปี 2475
 
นักศึกษา : งั้นท่านก็คือปรีดี พนมยงค์ ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองสิครับ แต่เอ! ช่วงนั้นที่ท่านเป็นผู้ปกครองประเทศ ทำไมไม่พัฒนาแต่เศรษฐกิจ แต่มาตั้ง ม.ธ.ก.ล่ะครับ?
 
ปรีดี: ก็ฉันรู้น่ะสิว่าถ้าปล่อยให้ประเทศไทยมีประชาธิปไตยทั้งๆ ที่คนของเรา ยังไม่รู้ประสีประสาวิชาการ คนที่รู้เรื่องมีแต่คนชั้นสูงแล้ว ประชาธิปไตยของเรา จะอยู่ไปได้อย่างไร ฉันก็เลยตั้ง ม.ธ.ก.ขึ้นเพื่อให้เป็นตลาดวิชาแก่คนที่ใคร่กระหาย อยากเรียน ม.ธ.ก. สมัยนั้นน่ะใครอยากเรียนก็ได้เรียน ไม่จำกัดอายุ เพศ ถิ่นที่อยู่ สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม เพราะไม่ว่าเป็นใครก็มาตักน้ำในบ่อแห่งความรู้ที่ ม.ธ.ก. นี้ กันได้ทุกคน
 
นักศึกษา: อย่างนี้คนก็เข้ามาสมัครเยอะแยะ แล้วมีคนจบมากไหมครับ?
 
ปรีดี: ในช่วงแรกมีคนสมัครเป็นหมื่น แต่จบกันปีละไม่กี่ร้อยคนเอง แต่ไม่เป็นไรหรอก เพราะว่าสิ่งที่ฉันต้องการไม่ใช่นักวิชาการดีเด่นอะไร เพียงแค่ให้ประชาชนมีสิทธิมีโอกาสเท่าเทียมกันก็พอแล้ว เพราะจิตวิญญาณของธรรมศาสตร์ในสมัยนั้นน่ะเป็นเหมือนบ่อน้ำแก้กระหายให้กับทุกคน ใครอยากจะมาดื่มมาอาบก็ได้ อ้าว... คุณ กุหลาบ สายประดิษฐ์ มานั่งคุยกันก่อนสิ นี่น่ะพ่อหนุ่มคนนี้ช่างซักซะจริง เขาอยากรู้ว่า ม.ธ.ก. ในสมัยของพวกเราน่ะเป็นอย่างไร
 
นักศึกษา: ครับ คุณตากุหลาบ ผมเคยอ่านงานของคุณตาเรื่อง 'ดูนักศึกษา ม.ธ.ก. ด้วยแว่นขาว' เจอประโยคที่ว่า 'ชาว ม.ธ.ก. รักมหาวิทยาลัยของเขา เพราะว่ามหาวิทยาลัยของเขารู้จักรักคนอื่นด้วย'มันหมายถึงอะไรหรือครับ?
 
ศิษย์เก่า ม.ธ.ก. กุหลาบ สายประดิษฐ์: อ้อ ก็ตอนนั้นนะธรรมศาสตร์ของเธอน่ะกำลังมีไฟ ชอบทำกิจกรรมโน่นนี่อยู่เรื่อยๆ เดี๋ยวก็ไปประท้วงสงครามเกาหลี ไปคัดค้านรัฐบาล เดี๋ยวก็ร่วมกับชาวนา กรรมกรมาเรียกร้องไงล่ะ ก็เพราะธรรมศาสตร์นี่แหละที่สอนให้พวกนักศึกษาที่เข้ามา หัดรู้จักสำนึกถึงผู้อื่น ถึงคนด้อยโอกาส สอนให้เขารู้ว่าเมื่อมีความรู้แล้ว ก็อย่าได้กักตัว ไว้แต่ในอุปาทานเพื่อตนเอง แต่ใช้ความรู้ของตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมมากที่สุด เพราะ จิตวิญญาณของธรรมศาสตร์ในตอนนั้นเปรียบเหมือนน้ำในกระบวยให้นักศึกษา ที่มีโอกาสดีกว่าคนอื่นในสังคม ตักเอาวิชาความรู้ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ หรือก็คือตักน้ำไปให้คนอื่นเขาได้ดื่มกิน ได้ลดความกระหายลงไปบ้างไงล่ะ

นักศึกษา: แหม คุณตาเกิดความรักประชาชนและชาวนาคนยากจนขึ้นมาได้ยังไงครับ?
 
กุหลาบ: ก็ตอนเด็กๆ ฉันเคยลำบากมาก่อน กว่าจะโตมาได้แทบแย่ พอจบมัธยมฯ ก็ต้องออกมาเขียนหนังสือหากิน ชีวิตมันลำบากมาก เพราะอย่างนี้ไงฉันถึงได้ดีใจที่มีมหาวิทยาลัยที่คิดจะทำเพื่อสังคมบ้าง สังคมเราจะได้ดีขึ้น
 
อธิการบดี ป๋วย อึ๊งภากรณ์: อ้าว ท่านปรีดี คุณกุหลาบ คุยอะไรกัน? ขอผมนั่งสนทนาด้วยสิ
 
กุหลาบ: เรากำลังถกกันเรื่อง 'จิตวิญญาณของธรรมศาสตร์' น่ะคุณป๋วย แล้วคุณล่ะเห็นเป็นยังไง?
 
ป๋วย: สำหรับผมน่ะหรือ ถ้าจะให้ดีขอผมแนะนำตัวก่อนก็แล้วกัน ผมเป็นลูกจีนที่มาเกิดในไทย ได้ดีก็เพราะว่าเป็นเด็กเรียนดี พอผมจบจากธรรมศาสตร์ก็เลยได้ไปเรียนต่อที่ LSE (London School of Economics and Political Science) จบมาจึงได้มีโอกาสนำความรู้ ความสามารถที่ได้ไปศึกษามาใช้พัฒนาประเทศและสังคมของเรา ผมเห็นความสำคัญของการศึกษา มาก ดังนั้น ตอนที่ผมเป็นคณบดีอยู่ที่คณะเศรษฐศาสตร์ ผมจึงได้ส่งเสริมให้นักศึกษาไปเรียน ต่อต่างประเทศ ให้จบกลับมาส่งเสริมให้มีการวิจัยมากขึ้นเพื่อแก้ปัญหาในสังคม เน้นความเป็นวิชาการ ของมหาวิทยาลัย รวมทั้งส่งเสริมให้นักศึกษามีสำนึกต่อสังคมด้วยเพื่อที่จะได้เอาความรู้ ที่ได้ มาช่วยกันพัฒนามหาวิทยาลัยและบ้านเมืองของเรา จิตวิญญาณธรรมศาสตร์ในสมัยผม จึงเป็นเหมือนเขื่อนกั้นน้ำที่ต้องใช้ความรู้ เทคโนโลยีขั้นสูงในการสร้าง แต่ว่ามันจะส่งผลประโยชน์ ให้แก่คนหมู่มากถ้าเรามี คลองชลประทานที่ดี ก็เหมือนที่ผมสร้างนักศึกษาขึ้นมาให้มีความรู้ความสามารถ ให้ไปช่วยบริหารพัฒนาประเทศ โดยที่เขาจะต้องรู้จักขุดคลอง ให้น้ำไหลไปถึงคนยากจนด้วย นโยบาย หรือการกระทำของเขาจะได้เกิดประโยชน์ตกถึงชาวนา กรรมกร
 
กุหลาบ: แล้วพ่อหนุ่มล่ะ มองมหาวิทยาลัยของเธออย่างไรบ้าง?

นักศึกษา: ผม...ผม...ไม่อยากจะบอกว่า...ผมต้องขอโทษทุกท่านด้วยที่ธรรมศาสตร์ที่ทุกท่านสร้างเอาไว้ ตอนนี้ สำหรับผมมันเป็นเครื่องชุบตัว การที่คนชั้นกลางอย่างผมเข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงแห่งนี้ ก็เพียงเพื่อต้องการจะยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของตัวเอง ผมหวังจะได้เกียรตินิยมเพื่อที่จะได้มีโอกาส ดีกว่าเวลาไปสมัครงาน ใช่ ถึงแม้ผมจะเคยทำกิจกรรมที่คณะมาบ้าง แต่มันก็ไม่ได้ทำให้ผมรักประชาชนขึ้นมาเท่าไรนัก หรือจะมีก็เพียงชั่วคราว ผมมองธรรมศาสตร์ไม่ต่างจากคนทั่วไปที่เห็นมันเป็นบันไดไปสู่เกียรติยศชื่อเสียง ใช่...พ่อแม่ ครอบครัวของผมก็คิดเช่นนี้ เขาอยากให้ผมได้เกียรตินิยม ไปเรียนต่อ พวกเขาพูดเสมอว่า อย่าได้ไปประท้วงกับคนอื่นนะเดี๋ยวโดนจับ เปล่าเลย ผมไม่ได้โทษพวกท่าน เพียงแต่จะให้ผม กลายเป็นคนอย่างที่คุณตาบอก อย่างที่อาจารย์พูดได้อย่างไรในเมื่อผมขับรถมาเรียน ผมฟังเพลงฝรั่ง เพื่อนๆผมทุกคนต่างก็มีแนวความคิดไม่ต่างกัน คนอย่างที่คุณตาบอก ผมไม่ยักเจอ หรือถึงเจอผมก็คงไม่รู้จักเขา เพราะจิตวิญญาณธรรมศาสตร์ในสายตาของผมเป็นเหมือนน้ำบรรจุขวดที่มีใบรับประกันคุณภาพยี่ห้อธรรมศาสตร์ เป็นขวดน้ำที่ผมจะสามารถเอามันไปโชว์คนอื่นว่าผมมีน้ำนะ แต่คุณไม่ได้กินมันหรอก เพราะผมต้องใช้มันเพื่อยกฐานะของผม ของครอบครัวผม และญาติมิตรสนิททั้งหลาย รอให้ผมใช้เหลือก่อน ก็แล้วกัน คุณอาจจะได้รับบริจาคบ้างก็ได้ 

ปรีดี: ฉันก็เห็นมานานแล้วล่ะความเป็นไปของที่นี่ ฉันเฝ้ามองผู้คนผ่านไปรุ่นแล้วรุ่นเล่า ความคิดของแต่ละคนแต่ละยุคก็แตกต่างกันไปแล้วแต่ว่าพวกเขาจะเผชิญกับสถานการณ์อะไร ฉันไม่โทษเธอหรอกที่เธอเป็นและคิดแบบนี้ เพราะฉันเชื่อว่าคนอย่างเธอถ้าเกิดในตอน 14 ตุลาคม เธอก็คงเป็นคนหนึ่งที่ไปเดินประท้วงร่วมกับนักศึกษาสมัยนั้นแน่ๆ
 
นักศึกษา: แต่บางทีผมก็เป็นห่วงมหาวิทยาลัยของเราเหมือนกันนะครับ เดี๋ยวนี้แม้กระทั่ง จะเข้าห้องสมุด คนที่ไม่ใช่นักศึกษายังเข้าไม่ได้เลย หรือเข้าได้ก็ต้องเสียสตางค์ แล้วอย่างนี้ จะหวังให้เปิดโอกาสแก่คนชั้นล่างเข้ามาเรียนเหรอ อย่าฝันเลยดีกว่า แม่ค้าก็เป็นแม่ค้าเงินล้าน ต้องมีเงินทุนเป็นกระตั้ก อีกหน่อยสงสัยจะมี Pizza Hut เข้ามาขายในมหาวิทยาลัยด้วย ต่อไปใครจะเข้าหรือเดินผ่านมหาวิทยาลัยคงต้องตรวจบัตร เป็นมหาวิทยาลัยล้อมรั้ว ปิดกั้นจากสังคม นับวันเพื่อนๆ ของผมก็มักจะไม่ค่อยสนใจเรียน พวกเขาเอาแต่จะคอยอ่านสรุปเล็กเชอร์เพื่อน ไม่ได้สนใจความรู้อะไรอย่างที่อาจารย์ป๋วยกล่าวหรอกครับ เขาต้องการแต่วุฒิ เวลาผมชวนเรียน วิชาอะไรยากๆแต่น่าสนใจ พวกเขาก็ไม่เอา เพราะกลัวได้เกรดไม่ดี ผมเห็นแล้วก็ยังเศร้าใจ หรือจะพูดถึงงานเพื่อสังคม ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ผมไม่ค่อยสันทัดเท่าใดนัก ผมว่ามันก็ยังพอมีอยู่บ้างนะครับ พวกค่ายพัฒนาชนบท ค่ายอนุรักษ์ธรรมชาติพวกนี้ แต่ผมว่ามันกลายเป็นค่ายประเพณีมากกว่า คือคนจัดจัดค่ายโดยมีสำนึกว่าต้องจัดให้ได้เพื่อที่จะสานงานค่ายของคณะต่อ สรุปแล้วผมว่าไม่ว่าจะมองด้านไหน จิตวิญญาณแบบของพวกท่านทุกคนได้เสื่อมไปหมดแล้ว มีแต่แบบของผมนี่ล่ะครับ ที่จะเฟื่องฟู ขึ้นเรื่อยๆ ต่างคนต่างต้องการจะได้วุฒิ มหาวิทยาลัยเปิดภาคปริญญาโทมากขึ้น ภาคภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น....
 
 ...
 
จากมติชน



ไปอ่่านเจอมา น่าจะประกอบกระทู้ได้ดี
http://www.oknation.net/blog/saisoi/2007/06/27/entry-4

บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
qazwsx
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,359


นักธุรกิจและตำรวจ ต้องออกไปจากการเมือง


« ตอบ #2 เมื่อ: 16-08-2008, 15:02 »

เป็นกล่องของขวัญที่สวยงาม  กระดาษห่อคุณภาพดีเลิศ  ริบบอนอย่างดี  มีโบว์  มีดอกพุ่ม  มีตุ้งติ้ง  มีกระดิ่ง  แถมมีการ์ดอวยพรติดไว้อย่างเสร็จสรรพ ...

...แต่ในกล่องไม่มีัอะไรเลย  ว่างเปล่า  Blank

กล่องของขวัญนั้นมีคุณค่่า - เตะตา - ดึงดูดใจ - น่าหลงใหล - น่าตื่นเต้น เสมอ
แต่มันก็เป็นเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ
แม้ว่ายังไม่มีการแกะห่อ - แกะกระดาษออก  แต่ถ้าพ้นเทศกาลแล้ว
เจ้ากล่องของขวัญแสนสวยนั้น  ก็มิได้มีคุณค่าอะไร

สิ่งที่สำคัญกว่าก็คือ "สิ่งที่อยู่ในกล่อง" หรือ "ของขวัญ"
ซึ่งมันจะหมด "ความเป็นของขวัญ" ในวันหนึ่งวันใดเสมอ
แล้วจากนั้นก็จะคงคุณค่าเป็นสิ่งที่เรียกว่า "ตัวแทน" ของผู้มอบให้
ในขณะเดียวกันก็รับใช้ผู้ได้รับมันในลักษณะของ "คุณประโยชน์"

กิจกรรมหรือการแสดงออกของนักศึกษาจะมีคุณค่าอะไรเล่า
หาก "ภายใน" ตัวของผู้ที่กำลังจะเรียกตนเองว่าบัณฑิตกลับ "ว่างเปล่า"
ไร้ "จิตสำนึก" และ "วิญญาณ"


ประชาธิปไตย - เผด็จการ เสรีนิยม - สังคมนิยม  คอมมิวนิสต์ - ทุนนิยม
...ไม่ได้มีอะไรดีกว่าหรือสารเลวไปกว่ากันหรอกน้องเอ๋ย
ถ้าประชาชนที่อยู่ในแผ่นดินยังร้่อนรุ่ม ถูกแผดเผาด้วยอำนาจอธรรม
หรือร้อนเร่า เผาตัวเองด้วยตัณหา
หรือร้อนร้าว ด้วยความเสื่อมฉาวทางสังคม

น้องกำลังกล่าวถึงรุ่นพี่ - รุ่นน้าธรรมศาสตร์ในมุมมอง "กล่องของขวัญ"
แล้วน้องก็กำลังพูดถึง "หน้าตากล่องของขวัญ" ของตนเอง
...ในขณะที่คำถามที่น้องได้รับนั้น 
เขาถามว่า "ในกล่องของคุณ...มีอะไร ?"


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16-08-2008, 15:06 โดย qazwsx » บันทึกการเข้า

Albert Einsteins
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 146



« ตอบ #3 เมื่อ: 16-08-2008, 15:40 »

ไม่ใช่ศิษย์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
แต่อ่านแล้วนึกถึงบทกวีนี้ จำไม่ได้ว่าของใคร แต่จำมาจากหนังสือ
แต่สมัยก่อนตอนเรียนมหาวิทยาลัยท่องได้สองบทนี้ขึ้นใจ
ทำให้เรียนจบมาได้แบบมีความรู้ในหัว ไม่ใช่มีแต่ขี้เลื่อยเมื่อจบมา


ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง
ฉันจึง มาหาความหมาย
ฉันหวัง เก็บอะไรไปมากมาย
สุดท้าย ให้กระดาษฉันแผ่นเดียว


เพียงหวังจะเฟื่องฟุ้ง หรือจะมุ่งการศึกษา
เพียงเพื่อปริญญา เอาตัวรอดเท่านั้นฤา
แท้ควรสหายคิด ตั้งจิตร่วมยึดถือ
รับใช้ประชาคือ ปลายทางเราที่เล่าเรียน


 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17-08-2008, 16:49 โดย Albert Einsteins » บันทึกการเข้า
qazwsx
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,359


นักธุรกิจและตำรวจ ต้องออกไปจากการเมือง


« ตอบ #4 เมื่อ: 16-08-2008, 15:55 »

~~~~~~~~~~~~~
~~~~~~~~~~~~~

ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง
ฉันจึง มาหาความหมาย
ฉันหวัง เก็บอะไรไปมากมาย
สุดท้าย ให้กระดาษฉันแผ่นเดียว

~~~~~~~~~~~~~
~~~~~~~~~~~~~

 

ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันอึ้ง
ฉันจึงมาหาความหงอย
ฉันคิดจะดึงให้หมดปอย
สุดท้ายดึงได้น้อย...กระจุกเดียว

 
( ป่วนไว้นานแล้วโดย : สุจิตต์ วงศ์เทศ )
บันทึกการเข้า

May The Force Be With You
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 331


ขอพลังสถิตย์กับท่าน


« ตอบ #5 เมื่อ: 16-08-2008, 19:16 »

เป็นบทความที่ดีขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า

"เจไดที่ฉลาดมากๆ คนหนึ่งเคยบอกข้าไว้ว่าเราไม่จำเป็นต้องชนะ แต่เราต้องสู้"
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #6 เมื่อ: 16-08-2008, 20:58 »



 ด้วยบทบาทของสาวน้อยคนเก่ง หัวใจนักสู้ อย่าง “ใหม่” ณัชฏา คงศรี นักศึกษาชั้นปี 3 คณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หัวหน้าพรรคเคียงโดม ผู้สวมบทบาทนายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) ประจำปี 2551 เสมือนเป็นตัวแทนนักศึกษาที่รักในอำนาจประชาธิปไตย
       
       สำหรับบทบาทครั้งยิ่งใหญ่ของเจ้าตัว เกิดขึ้นทันทีหลังจากได้รับตำแหน่ง ด้วยการทำหน้าที่แถลงการณ์ชี้แจ้งเกี่ยวสถานการณ์บ้านเมืองในเรื่องต่างๆ ภายในรั้วมหาวิทยาลัย รวมไปถึงกรณีที่ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519
       
      “อม ธ.ได้ทำหน้าที่ออกแถลงการณ์ เพื่อโต้ตอบว่าความเป็นจริงเป็นอย่างไร มีคนตายเท่าไร หลังจากนั้นจึงมีแถลงการณ์อีกครั้งเกี่ยวกับจุดยืนของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต่อสถานการณ์ทางการเมือง เพราะในอดีตที่ผ่านมา นักศึกษาธรรมศาสตร์ลดบทบาททางการเมืองลงมาก พอมีการเคลื่อนไหวทางการเมือง ทำให้นักศึกษาบางกลุ่มนึกถึงสมัยก่อน ยิ่งตอนนี้นักศึกษาย้ายมาเรียนที่ศูนย์รังสิตเพิ่มมากขึ้น ทำให้การตื่นตัวของนักศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการเมืองน้อยไปมาก”
       
       เมื่อ ถูกตั้งคำถามว่า เดี๋ยวนี้นักศึกษาธรรมศาสตร์ไม่สนใจการเมืองแล้วหรือ? ใหม่ไม่รอช้า รีบชี้แจงว่า คนในสังคมมักติดภาพว่า นักศึกษาธรรมศาสตร์ ต้องเดินขบวน ต้องตั้งม็อบต่อต้านเหมือนอดีตที่ผ่านมา “นัก ศึกษาธรรมศาสตร์มีการพูดคุยกันตลอด ไม่ว่ากลุ่มใหญ่หรือกลุ่มย่อย หรือแม้แต่นักศึกษาทั่วไป เพราะในสมัยที่เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา และ 6 ตุลา ยังเป็นช่วงที่สังคมไม่มีประชาธิปไตย ดังนั้นการเดินขบวนจึงเป็นการแสดงออกถึงประชาธิปไตย แต่ตอนนี้สังคมมีประชาธิปไตยแล้ว นักศึกษาจึงคิดมากขึ้นว่า จะทำอย่างไรให้เป็นไปตามกระบวนการ เราต้องศึกษาดูว่าหลักประชาธิปไตยสามารถทำอะไรได้บ้าง”
       
       “กิจกรรม นักศึกษาต้องมีขึ้นมีลง มีช่วงแข็ง ช่วงอ่อน เราจึงต้องอดทนต่อกระแสสังคมที่ได้รับ และคิดว่า ถ้าเรามุ่งมั่นที่จะทำอะไร ก็ต้องทำ อย่าง อมธ.ก็จะพยายามก่อร่างอะไรไว้ให้มากที่สุด เพราะการเปลี่ยนแปลงไม่ได้เกิดขึ้นในเวลาอันรวดเร็ว แต่ในช่วงที่เราเข้ามาทำงานสามารถสร้างอะไรได้ เราก็จะทำ เพียงแต่ขอให้ทำให้ดีที่สุด”

       
       สำหรับสถานการณ์การเมืองในปัจจุบันและที่ผ่าน เธอมีมุมมองที่ไม่แตกต่างจากนายก อมธ.รุ่นก่อน ให้สมกับเป็นลูกศิษย์รั้วโดมที่ยึดมั่นในประชาธิปไตย

     
       “การ ปฏิวัติในระบบประชาธิปไตยถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ควรเกิดขึ้น ต่างประเทศอาจจะมองว่าการปฏิวัติเป็นสิ่งเลวร้าย และเป็นการแสดงออกว่าประเทศนั้นๆแย่ เพราะไม่สามารถดูแลตัวเองได้ ต้องให้ทหารมาดูแล แต่ว่าในสายตาของคนไทย การปฏิวัติเป็นเรื่องธรรมดามาก พอมีคนทะเลาะกัน ทหารก็ต้องปฏิวัติ ดังนั้นจุดยืนเรื่องแรกคือ ต้องไม่มีการปฏิวัติ”
       
       “จริงๆ แล้วคนในสังคม โดยเฉพาะนักวิชาการไม่มีใครต้องการเห็นการปฏิวัติ เพียงแต่ว่าคนส่วนใหญ่มองว่าเป็นเรื่องปกติ เราต้องออกไปบอกคนในสังคมว่าเราจะใช้วิธีแก้ปัญหาด้วยการปฏิวัติไม่ได้ เพราะทุกครั้งที่เกิดปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ เรื่องสังคมจะถอยหลังกลับ จึงอยากให้ทุกคนมองว่า การปฏิวัติไม่ได้กระทบเรื่องการเมืองเพียงอย่างเดียว แต่จะกระทบทุกภาคส่วนของประเทศ”

       
       ท้ายนี้ เธอบอกว่า สังคมธรรมศาสตร์เป็นสังคมที่ใหญ่ อยากให้ทุกคนเรียนรู้ ต้องหัดเป็นคนแสวงหา อยากให้มองย้อนกลับไปในอดีต ถ้าเราปล่อยให้เวลาที่รังสิตผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์ ก็จะคล้ายยุคสายลมแสงแดด
       
       “เวลา ที่มีเรามีปัญหา สะสมความไม่เข้าใจกัน เพียงเพราะไม่อยากยุ่งเกี่ยว แม้ว่าจะเป็นเรื่องของมหาวิทยาลัยก็ไม่สนใจ แล้วต่อไปจะมีใครสนใจทำกิจกรรม ไม่มีใครสนใจมหาวิทยาลัย หรือไม่มีใครรู้ว่ากิจกรรมนักศึกษามีประโยชน์มากแค่ไหน ดังนั้นเราต้องแสวงหาว่าชีวิตเราต้องการอะไร ธรรมศาสตร์คืออะไร ธรรมศาสตร์ให้อะไรกับเราไว้บ้าง ไม่ว่าจะอยู่ไหนถ้าเราปล่อยให้มันผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์ สิ่งดีๆ ก็จะไม่เกิดขึ้น โดยเฉพาะกิจกรรมของนักศึกษาที่ถือว่าเป็นแรงกระตุ้นให้เราอยากเรียนอยากรู้ และอยากลอง”



 


ว่างเปล่า....
เธอต้องการพูดอะไรน่ะ.....ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า
บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
คนเดินดิน
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 388


« ตอบ #7 เมื่อ: 16-08-2008, 21:13 »

อ่าน "จิตวิญญาณธรรมศาสตร์ 4 รุ่น"

แล้วสะท้อนความจริงได้อย่างดี


เวลาเปลี่ยน ยุคสมัยเปลี่ยน อุดมคติเปลี่ยน


นักศึกษาปัจจุบันส่วนใหญ่สนใจแต่ตนเอง ไม่สนใจสังคมรอบข้างแล้ว
บันทึกการเข้า
Kittinunn
Aloha007
Global Moderator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,127


ไปได้สวย...ด้วยเกียร์ต่ำ!!!


เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 17-08-2008, 12:39 »

อมธ.ยุคจมูกชมพู่
เปลี่ยนพรรค เปลี่ยนขั้ว
แล้วขั้วนี้ก็ ... ไม่บอกดีกว่า
บันทึกการเข้า

“ผมเขียนไปในบล็อกนั้น แบบข้างบนนี้เหมือนกัน นึกว่า จะโพสต์ ปรากฏว่า เขาบอกว่า ต้อง สมัครสมาชิกก่อน ผมขี้เกียจ เลยมาโพสต์ที่นี่แทน อ้อ ตอนเขียน ผมใส่คำว่า ทุเรศ และ น่าสมเพช ไปด้วย” (อ.สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล-เว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน - ข้อความในเสรีไทย โดย Snowflake)

ริวเซย์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4,637


Worrior in The Blue Armor


เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 17-08-2008, 12:58 »

ผู้นำที่มีหัวคิดยิ่งกว่านี้มีไหมครับ

 
บันทึกการเข้า

ถ้ามีแฟนแบบนี้เอาไหมครับ^^


คุณแม่ดุ๊กดิ๊ก
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 133


« ตอบ #10 เมื่อ: 17-08-2008, 17:23 »

เด้กรุ่นใหม่อ่านแต่หนังสือดารา บันเทิง และการ์ตูน
 chat หาแฟน  โทรมือถือ บ้าดาราเกาหลี  ไม่สนใจข่าวสารบ่านเมือง สนใจแต่ตัวเอง
นี่คือระบบทุนนิยมสามานจริงๆๆๆๆ 
บันทึกการเข้า
ชัย คุรุ เทวา โอม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,846


สมัครรักแมว แต่ผมรัก Cat


« ตอบ #11 เมื่อ: 17-08-2008, 17:55 »

ไม่ใช่ศิษย์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
แต่อ่านแล้วนึกถึงบทกวีนี้ จำไม่ได้ว่าของใคร แต่จำมาจากหนังสือ
แต่สมัยก่อนตอนเรียนมหาวิทยาลัยท่องได้สองบทนี้ขึ้นใจ
ทำให้เรียนจบมาได้แบบมีความรู้ในหัว ไม่ใช่มีแต่ขี้เลื่อยเมื่อจบมา


ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง
ฉันจึง มาหาความหมาย
ฉันหวัง เก็บอะไรไปมากมาย
สุดท้าย ให้กระดาษฉันแผ่นเดียว


เพียงหวังจะเฟื่องฟุ้ง หรือจะมุ่งการศึกษา
เพียงเพื่อปริญญา เอาตัวรอดเท่านั้นฤา
แท้ควรสหายคิด ตั้งจิตร่วมยึดถือ
รับใช้ประชาคือ ปลายทางเราที่เล่าเรียน


 

ดูเหมือนว่าจะเป็น ของ อาจารย์วิทยากร เชียงกูร

บันทึกการเข้า

"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..."

คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน

(How the Steel Was Tempered)

นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933


*******************************

เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ
http://www.oknation.net/blog/amalit1990
ชัย คุรุ เทวา โอม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,846


สมัครรักแมว แต่ผมรัก Cat


« ตอบ #12 เมื่อ: 17-08-2008, 17:57 »

ผมชอบข้อเขียนอันนี้ของอาจารย์เกษียรจัง
บันทึกการเข้า

"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..."

คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน

(How the Steel Was Tempered)

นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933


*******************************

เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ
http://www.oknation.net/blog/amalit1990
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #13 เมื่อ: 17-08-2008, 18:29 »

หลายสิบปีมานี้ นักศึกษาหมดสถานะเป็นผู้ชี้นำสังคมไปแล้ว
เพราะระดับการศึกษาของประชาชนโดยรวมสูงขึ้นกว่าในอดีต
ทำให้ปัจจุบันนักศึกษาเป็นเพียงเยาวชนในสายตาสังคม

ในอีกทางหนึ่งบรรดาธุรกิจต่างๆ ก็มุ่งทำมาหากินกับเยาวชน
เพราะเป็นกลุ่มที่ชอบความทันสมัย ตัดสินใจควักกระเป๋าง่าย
เยาวชนจึงตกเป็นเป้าหมายถูกมอมเมาด้วยสินค้าบริการต่างๆ
กลายเป็นผู้บริโภคตามกระแส

ถึงตอนนี้นักศึกษาไ่ม่ใช่ผู้นำทางความคิดของสังคมแล้วครับ
ผมก็เลยไม่ได้คาดหวังกับกลุ่มกิจกรรมนักศึกษาโดยรวม

ถ้าจะมีที่สนใจบ้าง ก็คงเป็นรายๆ ที่เห็นว่าน่าสนใจเท่านั้น
ซึ่งเท่าที่ได้อ่าน ผมยังไม่รวม นายก อมธ. คนนี้ไว้ด้วย
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
Pueng_Mor
น้องใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 12


« ตอบ #14 เมื่อ: 17-08-2008, 23:44 »

เด้กรุ่นใหม่อ่านแต่หนังสือดารา บันเทิง และการ์ตูน
 chat หาแฟน  โทรมือถือ บ้าดาราเกาหลี  ไม่สนใจข่าวสารบ่านเมือง สนใจแต่ตัวเอง
นี่คือระบบทุนนิยมสามานจริงๆๆๆๆ 

คุณแม่ดุ๊กดิ๊กครับ
ผมขอฝากบทความนี้ไว้ให้อ่านด้วยครับ
คุณจะได้รู้จักกับเด็กรุ่นใหม่มากขึ้น
 
ปีนป่ายกำแพงกั้นมนุษย์หนุ่มสาว: ตุล อพาร์ตเมนต์คุณป้า
(ขวัญใจเด็กแนว ผู้แต่งเพลงขับไล่ทักษิณอย่าง What's you name? , ทรัพย์สิน ออกไป!!! และเคยขึ้นเวทีพันธมิตรฯ#1มาแล้ว)
http://www.onopen.com/2006/editor-spaces/510
บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #15 เมื่อ: 18-08-2008, 03:14 »

คุณแม่ดุ๊กดิ๊กครับ
ผมขอฝากบทความนี้ไว้ให้อ่านด้วยครับ
คุณจะได้รู้จักกับเด็กรุ่นใหม่มากขึ้น
 
ปีนป่ายกำแพงกั้นมนุษย์หนุ่มสาว: ตุล อพาร์ตเมนต์คุณป้า
(ขวัญใจเด็กแนว ผู้แต่งเพลงขับไล่ทักษิณอย่าง What's you name? , ทรัพย์สิน ออกไป!!! และเคยขึ้นเวทีพันธมิตรฯ#1มาแล้ว)
http://www.onopen.com/2006/editor-spaces/510

ถ้าดูอายุ ตุล ไวฑูรเกียรติ ผู้ให้สัมภาษณ์คงไม่ใช่วัยรุ่นแล้ว
เพราะเกิดปี พ.ศ. 2519 ถึงตอนนี้ก็คงอายุประมาณ 32 ปี
แต่ถ้าดูจากอาชีพการงานก็คงนับได้ว่าใกล้ชิดเด็กรุ่นใหม่

ลองตัดบทสัมภาษณ์บางส่วนจาก onopen มาให้ดูนะครับ
เขาเถียงแทนให้กับเด็กรุ่นใหม่ ซึ่งผมไม่ค่อยเห็นด้วยหรอก

ด้วยประสบการณ์เขาคงพูดแทนเด็กๆ ได้ว่าคิดแบบนั้นจริง
แต่ในความเห็นผมคิดว่าเขาไม่เข้าใจสาระสำคัญของคำถาม
เช่นคำว่า "ไร้สาระ" "ไม่สนใจสังคม" ก็เลยตอบไปแบบนั้น

...

ผู้ใหญ่มักบอกว่าเด็กสมัยนี้ไร้สาระ คุณคิดว่าจริงไหม

ไม่จริงครับ (ตอบทันที) ผู้ใหญ่ที่พูดแบบนั้นคือผู้ใหญ่ที่ไร้สาระเสียเอง เมื่อไหร่ที่คุณพูดว่าเด็กสมัยนี้
แปลว่าคุณไม่ควรอยู่ในโลกนี้ เพราะโลกนี้เป็นโลกของสมัยนี้ ดังนั้น คุณก็ไปอยู่สมัยอื่นก่อนแล้วกัน (หัวเราะ)

จริงๆ แล้วผู้ใหญ่กลัวเด็ก คนที่พูดแบบนี้คือคนที่กลัวการเปลี่ยนแปลง เมื่อไหร่ที่เราเริ่มพูดว่าเด็กสมัยนี้แปลว่า
เราแก่แล้ว คำว่าเด็กสมัยนี้มีมาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้ว สมัยพ่อ ปู่ก็ต้องพูด เด็กสมัยนี้เป็นแบบนั้นแบบนี้ หรือรุ่นทวด
ก็ต้องพูดเหมือนกัน คำว่าเด็กสมัยนี้ถูกพูดโดยคนที่ไม่ยอมรับว่าโลกเปลี่ยน แต่โลกก็ต้องเปลี่ยน เด็กสมัยนี้เลยใช้ชีวิต
ไม่เหมือนเด็กสมัยผม แต่แก่นแท้ไม่ต่างกัน เด็กทุกคนต่างพยายามหาทางออกให้ตัวเอง ต่างพยายามเป็นส่วนหนึ่ง
ของสังคม เพียงแต่สังคมรอบข้างเปลี่ยนไป อย่างรุ่นพ่อไม่มีทีวี รุ่นเราเกิดมามีทีวี ทีวีก็คงส่งผลอะไรบางอย่างกับเรา
รุ่นต่อไป มีทั้งทีวี นิตยสาร อินเทอร์เน็ต พวกเขาก็จะสร้างการยอมรับในแบบที่เชื่อว่ามันดีที่สุด แล้วอีกสามสิบปีข้างหน้า
เด็กสมัยนี้ก็จะพูดว่าเด็กสมัยนี้ไร้สาระนะ เป็นวัฏจักรไปเรื่อยๆ


แล้วที่ผู้ใหญ่บอกว่าเด็กสมัยนี้ไม่สนใจสังคมล่ะ

เด็กสมัยนี้สนใจสังคม แต่ไม่ใช่สังคมแบบที่ผู้ใหญ่คิด วัยรุ่นรู้ว่าโทรศัพท์มือถือมีรุ่นอะไรบ้าง โหลดริงโทนได้ที่ไหน
ตอนนี้เพลงอะไรฮิต นี่คือสังคมของวัยรุ่น แล้วผู้ใหญ่ที่ตั้งหน้าตั้งตาทำงานจนไม่มีเวลาพักผ่อนล่ะ บางทีเด็กอาจรู้เรื่อง
รอบๆตัวมากกว่าผู้ใหญ่แบบนี้ก็ได้ เพียงแต่วัยรุ่นก็สนใจสังคมของวัยรุ่น หลายคนชอบคิดว่าสังคมต้องเป็นเรื่องที่
เกี่ยวกับการเมืองการปกครอง ถึงบอกว่าเด็กสมัยนี้ไม่สนใจสังคม จริงๆ แล้วการรู้ว่าบริษัทไหนผลิตริงโทน
ศิลปินคนไหนออกเทปชุดใหม่แล้ว ก็เป็นเรื่องของสังคมเหมือนกัน

พอมองไปที่รัฐบาล รัฐบาลก็ไม่ได้มองความบันเทิงต่างๆหรือศิลปะว่าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและ สังคม
ขณะที่คนทำงานศิลปะมองว่าทุกอย่างเป็นส่วนหนึ่งของสังคมทั้งสิ้น ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องที่พาดหัวตามหน้า
หนังสือพิมพ์เท่านั้น

ผมดูทีวีก็เห็นว่าเด็กสมัยนี้สนใจสังคม กล้าแสดงออก กล้าแสดงจุดยืน มีเด็กเก่งๆ เยอะ นักเศรษฐศาสตร์รุ่นใหม่
ก็เป็นเด็กมัธยมฯ แต่คนส่วนใหญ่ไม่โฟกัสไปที่ตรงนั้น เราโฟกัสแต่เด็กที่สยามสแควร์ หรือเด็กที่หารายได้พิเศษ
แถวโรงแรมสยาม

บางทีการที่เด็กไม่ค่อยสนใจเรื่องที่ผู้ใหญ่สนใจ อาจดีกว่าก็ได้ รอให้เขาพร้อมแล้วค่อยมาสนใจก็ได้ เดี๋ยวจะเป๋ซะก่อน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18-08-2008, 03:16 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
RiDKuN
Administrator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,015



เว็บไซต์
« ตอบ #16 เมื่อ: 18-08-2008, 04:49 »

เมื่อก่อนตอนที่ท่านๆ เป็น "เด็กสมัยโน้น" ก็ถูกมองแบบเดียวกันแหละครับ
แต่สรุปคือ ส่วนดีมีมาก แต่ส่วนเลวเห็นชัดกว่าเท่านั้นเอง
บันทึกการเข้า

คนไม่มี "อุดมคติ" ไม่ใช่ "นักการเมือง"
น้องแบ๊งค์เองครับ
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 800


« ตอบ #17 เมื่อ: 30-08-2008, 07:01 »

 
บันทึกการเข้า
บัวริมบึง
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 384


« ตอบ #18 เมื่อ: 31-08-2008, 01:58 »

เช้าชาม เย็น(หลาย)ชาม 
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: