ทักษิณหนีเป็นตัวอย่างเด็กทำผิดไม่ต้องรับโทษ กรรมการคุ้มครองเด็กฯชี้ "ทักษิณ"ไม่มารายงานตัวศาล หล่อหลอมพฤติกรรมผิดกฎหมายให้เด็ก สร้างบรรทัดฐานทำผิดไม่ต้องรับโทษ จิตแพทย์แนะต้องสอนให้เด็กรู้จักหยุดยั้งตัวเองกับสถานการณ์เสี่ยง ขณะที่เด็กก่อคดีเกือบ 40 %มีความรู้ระดับม.ต้น ไอคิวปานกลาง เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 11 ส.ค.2551 ที่สถานสงเคราะห์บ้านราชวิถี มีการจัดเวทีสาธารณะ เด็กกระทำความผิด สังคมจะมีทางออกอย่างไร นายสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ และผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก กล่าวว่า นักการเมืองตั้งแต่ระดับท้องถิ่นถึงระดับชาติปัจจุบันเลี้ยงลูกให้เด็กมีปัญหาพฤติกรรมมาก
โดยเฉพาะการกระทำรุนแรงล่วงเกินทางเพศเด็กผู้หญิง เพราะย่ามใจว่ามีอิทธิพลจะไม่ถูกลงโทษ โดยเด็กกลุ่มนี้จะไม่ได้รับการเลี้ยงดูให้รู้จักยับยั้งชั่งใจหรือส่งเสริมให้ทำดี แต่จะสอนลูกให้เอาเปรียบข่มเหงรังแกคนอื่น โดยพ่อแม่ให้ท้าย เป็นสาเหตุขิงปัญหาทำให้ลูกนักการเมืองยิ่งโตขึ้นมีลักษณะ เที่ยวผับบาร์ ทำร้ายร่างกายคนอื่น จนถึงขั้นฆ่าทิ้ง เพราะเติบโตมาท่ามกลางอิทธิพลอำนาจเถื่อนและการทำผิดทางอาญา
ขณะนี้มีการสร้างบรรทัดฐานใหม่ ว่าจะเป็นนักเมืองต้องมีคดีติดตัว มีความสามารถในการหลบเลี่ยงกฎหมาย จนกลายเป็นกติกาการเมือง ว่านักการเมืองต้องก้าวร้าว ทำผิด ต่อต้านสังคม และถึงขั้นสร้างสถาบันการเมืองและสถาบันทางสังคมที่หล่อหลอมว่าการทำผิดกฎหมายไม่เรื่องเสียหาย ดูได้จากนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีในรัฐบาลปัจจับนล้วนมีคดีติดตัว แต่ไม่ยอมออกจากตำแหน่งโดยอ้างคดียังไม่ถึงที่สุด หรือแม้แต่ศาลตัดสินว่าเลี่ยงภาษีก็ยังใช้อำนาจทางการเมืองมากด กลไกศาล หรือล่าสุดไม่ยอมมารายงานตัวต่อศาล ทำให้นักการเมืองอื่นเอาอย่าง ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้จะตกทอดมาถึงเด็กในปัจจุบัน ทำให้มาตรฐานทางสังคมหรือการบริหารบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไป นายสรรพสิทธิ์ กล่าวและว่า
กระบวนการทางกฎหมาย โดยเฉพาะในขั้นตอนการสอบสวนเด็กที่กระทำความผิด ตนอยากเสนอให้นอกจากใช้นักสังคมสงเคราะห์แล้ว ควรใช้นักจิตวิทยาคลินิกหรือจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ในการสอบถามถึงความเป็นมาก่อนการกระทำผิด เพื่อให้เห็นความเป็นมาของเห็นการณ์ที่เด็กที่กระทำผิดต้องเผชิญ จะได้ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายตามเหตุปัจจัย
นอกจากนี้ การควบคุมตัวเด็กระหว่างการพิจรารณาคดี ตนไม่เห็นด้วยที่ส่งไปสถานพินิจ แต่ควรส่งไปสถานพยาบาล ให้ได้รับการบำบัดฟื้นฟูเยียวยาด้านจิตใจใน 2 แง่ ทั้งที่เป็นผู้ถูกกระทำมาก่อนและผู้กระทำ เพราะเด็กไม่ได้ทำความผิดด้วยความมชั่วร้ายในตัว
พญ.พรรณพิมล หล่อตระกูล ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล กล่าวว่า เด็กที่ก่อความรุนแรงมาจากวัยและความสามารถในการจัดการกับสถานการณ์ โดยเฉพาะเด็กวัยรุ่นจะมีพฤติกรรมเลียนแบบ ถูกกระตุ้นจากสิ่งเร้า และภาวะกดดันทำให้เด็กรู้สึกด้อยค่าและเสียศักดิ์ศรี การแสดงออกของเด็กจึงแยกเป็น 2 ลักษณะ คือ แสดงออกทันทีจนถูกมองว่าก้าวร้าว เป็นตัวปัญหา และไม่แสดงออก จนมองว่าเป็นเด็กปกติ ซึ่งเป็นกลุ่มที่น่าห่วงอย่างยิ่ง หากมีเครื่องมือตรวจสอบจะพบสัญญาณของเด็กที่บ่งบอกถึงการขอความช่วยเหลือก่อนที่จะกระทำความรุนแรง แต่ที่ผ่านมามักจะไม่มีใครมองเห็นจนมองเป็นเรื่องปกติ ทำให้เด็กอยู่ในภาวะกดดันเป็นภาวะเสี่ยง ภาวะทางอารมณ์จนควบคุมไม่ได้ และแสดงออกมาด้วยความรุนแรงที่ไม่คาดคิด
จำเป็นอย่างยิ่งที่พ่อแม่ ครูอาจารย์ ต้องเรียนรู้ถึงสัญญาณของเด็กที่บ่งบอกและให้ความช่วยเหลือ รวมถึงศึกษาภูมิหลังของเด็กและสิ่งแวดล้อมที่หล่อหลอม นอกจากนี้ เด็กก็ต้องได้รับการพัฒนามิติของการหยุดตนเอง ในขณะที่อยู่ในสถานการณ์เสี่ยงที่อาจจะก่อความรุนแรง อย่างไรก็ตามสภาพแวดล้อมมีส่วนสำคัญที่จะผลักดันให้เด็กก่อความรุนแรงคือ การถูกรังแก ภาวะสารเสพติด การถูกลงโทษรุนแรงภาวะที่ไม่ยุติธรรมกับเด็ก อาวุธ และพื้นที่เสี่ยงที่ก่อให้เด็กใช้ความรุนแรงพญ.พรรณพิมลกล่าว
น.ส.อรพรรณ เลาหัตถะพงษ์ภูริ นักจิตวิทยา กลุ่มพัฒนาระบบงานจิตวิทยา กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กล่าวว่า ปี 2550 มีเด็กก่อคดีจำนวน51,128 คดีที่อยู่ในความคุ้มครองของสถานพินิจ โดยส่วนใหญ่ 28% เป็นคดีลักทรัพย์ รองลงมาเป็นคดียาเสพติด การทำร้ายร่างกาย พกพาอาวุธและวัตถุระเบิด ในจำนวนเด็กดังกล่าวพบอยู่กับพ่อแม่และครอบครัว 48% และ 52% ครอบครัวแยกกันอยู่
นอกจากนี้ ยังพบเด็กที่ก่อคดีส่วนใหญ่ เกือบ 40% มีพื้นฐานความรู้ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เมื่อวิเคราะห์ถึงปัญหาพฤติกรรมเด็กพบว่า 40% ขาดความภูมิใจในตนเอง 32% มีลักษณะหุนหันพลันแล่น 26% มีพฤติกรรมก้าวร้าว 20% มีอาการโกรธเกลียด และ 8% มีอาการซึมเศร้า
นักจิตวิทยา กล่าวอีกว่า สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมรุนแรง พบมาจากปัญหาการควบคุมพฤติกรรมเด็กของครอบครัว 65% ความสัมพันธ์กับเพื่อน 25% สัมพันธภาพกับพ่อแม่และครอบครัว 23% การศึกษา 15% ยาเสพติด 10% การใช้ความรุนแรงในครอบครัว 3% ขณะที่ในปี 2550 มีเด็กที่ก่อคดีและถูกส่งมาพบนักจิตวิทยา จำนวน 3,671 คน พบว่า เป็นเด็กที่มีไอคิว ปานกลาง 70 % ระดับฉลาด 17 % ปัญญาทึบ 8.5 % และต่ำกว่าทึบ 4.5 % ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าเด็กที่ก่อคดีไม่ใช่ด้อยปัญญาที่จะถูกชักจูงได้ง่าย
http://www.komchadluek.net/2008/08/11/x_main_a001_215673.php?news_id=215673'กำนันเปาะ' 'วัฒนา' 'แม๊ว' ล้วนแต่เป็นนักการเมืองท้องถิ่น นักการเมืองระดับชาติที่มีพฤติกรรมทำร้ายความสำนึก ผิดชอบชั่วดี คุณธรรมประจำใจของเยาวชนรุ่นใหม่เสียไปแล้ว.....
นอกจากนี้ การสร้างทัศนคติ 'โกงแต่ทำงาน' 'นักธุรกิจใครๆ ก็เป็นอย่างนี้' 'บกพร่องโดยสุจริต' ฯลฯ ล้วนแต่ทำร้ายจิตใจของเด็กไทย เยาวชนไทย โดยเฉพาะลูกหลานนักการเมืองใหญ่ที่ คิดว่า 'ติ๊กผิด' 'ขายหุ้น6-70,000ล้านบาทไม่ต้องเสียภาษี' ลำพอง เหิมเกริม ผลาญทรัพยากรของชาติให้ย่อยยับ....!!!