ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
25-04-2024, 07:21
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  เปิดแผนที่ประเทศไทย ที่จัดทำโดยฝรั่ง ค.ศ.๑๙๐๗ เขาพระวิหารเป็นของไทย? 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
เปิดแผนที่ประเทศไทย ที่จัดทำโดยฝรั่ง ค.ศ.๑๙๐๗ เขาพระวิหารเป็นของไทย?  (อ่าน 19828 ครั้ง)
นิรนาม
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 554



« เมื่อ: 08-08-2008, 14:32 »

เก็บมากฝากจาก
http://www.boringdays.net/siam-cambodge-france-map-1907/#comment-2416
สายวันนี้เพิ่งจะทราบข่าวที่อาจารย์เทพมนตรี ลิมปพยอม เข้าให้ข้อมูลในที่ประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดน สภาผู้แทนราษฎร วานนี้ (๕ สิงหามคม) โดย อ. เทพมนตรี เปิดแผนที่ที่ฝรั่งเศสจัดทำขึ้นฉบับปี ๑๙๐๗ ตรงกับปี พ.ศ. ๒๔๕๐ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรป ครั้งที่ ๒ เพื่อเจรจาแลกเปลี่ยนพื้นที่ปกครองกับฝรั่งเศษ (แลกเมืองพระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ กับตราดและด่านซ้าย ซึ่งปรากฎการแบ่งเขตพื้นที่อย่างชัดเจนในแผนที่ฉบับปี ๑๙๐๗) เป็นปีเดียวกับที่มีการตกลงทำอนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ปี ๒๔๕๐ ข้อความบางส่วนจากข่าวระบุว่า

นายเทพมนตรีได้นำแผนที่ที่จัดทำขึ้นโดยฝรั่งเศส เมื่อปี 1907 ซึ่งเป็นแผนที่ฉบับตัวจริงมาแสดงให้กรรมาธิการดู ปรากฏชัดเจนว่า ปราสาทเขาพระวิหารเป็นของไทย และว่า แต่เมื่อไทยต้องขอแผนที่นี้มาต่อสู้กับศาลโลก ฝรั่งเศสกลับหมกเม็ดไม่ยอมให้ เพราะกัมพูชาเป็นประเทศในอารักขาของเขา และได้จัดทำแผนที่ขึ้นมาอีกฉบับหนึ่ง ในปี 1908 ให้กับกัมพูชา

แผนที่ฉบับดังกล่าว ผมได้รับความกรุณาจากพี่ชัย สายสืบภาคประชาชน สแกนและส่งมาให้ หน้าตาเป็นดังนี้ครับ มีเครื่องหมาย + เป็นตัวแบ่งเขต และแรเงาบางพื้นที่ที่มีการตกลงแลกเปลี่ยนกัน
บันทึกการเข้า

"คืนที่ดำทะมึนมืดสนิท ยังรอแสงอาทิตย์ส่องสว่าง มีที่ไหนถูกปิดทุกทิศทาง เพียงม่านควันหมอกบางมันพรางตา"ถ้อยวลีของ..ประเสริฐ  จันดำ
ถ้อยวลี - จาก; "บันทึกจากกองร้อย ทหารปลดแอก" โดย..เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
      นักรบจรยุทธอย่างพวกเราไม่รู้ว่าบ้านของตัวเองอยู่ที่ไหน รู้แต่ว่าเรามีปิตุภูมิเป็นของพวกเรา ทุกหนทุกแห่งที่เราล้มตัวลงนอนที่นั่นก็คือบ้าน
“บ้านของเราก็คือประเทศชาติ พ่อแม่ของเราก็คือประชาชน และเราจะไปทุกหนทุกแห่งเพื่อจัดการกับเจ้าคนที่มันเหยียบย่ำบ้านกับพ่อแม่ของเรา”
นิรนาม
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 554



« ตอบ #1 เมื่อ: 08-08-2008, 14:33 »

บันทึกการเข้า

"คืนที่ดำทะมึนมืดสนิท ยังรอแสงอาทิตย์ส่องสว่าง มีที่ไหนถูกปิดทุกทิศทาง เพียงม่านควันหมอกบางมันพรางตา"ถ้อยวลีของ..ประเสริฐ  จันดำ
ถ้อยวลี - จาก; "บันทึกจากกองร้อย ทหารปลดแอก" โดย..เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
      นักรบจรยุทธอย่างพวกเราไม่รู้ว่าบ้านของตัวเองอยู่ที่ไหน รู้แต่ว่าเรามีปิตุภูมิเป็นของพวกเรา ทุกหนทุกแห่งที่เราล้มตัวลงนอนที่นั่นก็คือบ้าน
“บ้านของเราก็คือประเทศชาติ พ่อแม่ของเราก็คือประชาชน และเราจะไปทุกหนทุกแห่งเพื่อจัดการกับเจ้าคนที่มันเหยียบย่ำบ้านกับพ่อแม่ของเรา”
นิรนาม
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 554



« ตอบ #2 เมื่อ: 08-08-2008, 14:47 »

ส่วนตัวนี้ผมเก็บมาจาก

http://talaythaistory.spaces.live.com/blog/cns!99D5BFAD16E18399!133.entry

พันเอก นพดล โชติศิริ

(กรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด):

สภาพแนวเขตแดนไทย-กัมพูชา มีความยาวประมาณ 798 กิโลเมตร เป็นสันปันน้ำ 524 กิโลเมตร เป็นเส้นตรง 58 กิโลเมตร เป็นลำคลอง 216 กิโลเมตร แนวเขตแดนเริ่มตั้งแต่ช่องบก อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี จนถึงหลักเขตแดนที่ 73 บริเวณแหลมสารพัดพิษ อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด

แนวเขตแดนไทย-กัมพูชา ได้ถูกกำหนดให้เป็นไปตามหลักฐานทางกฎหมายที่สำคัญดังนี้

ประการแรก สนธิสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศส ว่าด้วยดินแดนและข้อตกลงอื่น ๆ ฉบับลงนาม ณ กรุงปารีส วันที่ 13 กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทร์ศก 122 (ค.ศ. 1904)

ประการที่ 2 สัญญาว่าด้วยการปักปันเขตแดนระหว่างพระเจ้าแผ่นดินสยามกับประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ฉบับลงนาม ณ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 23 มีนาคม รัตนโกสินทร์ศก 125 (ค.ศ. 1907) กับพิธีสารว่าด้วยการปักปันเขตแดนแนบท้ายสนธิสัญญาฉบับลงวันที่ 23 มีนาคม รัตนโกสินทร์ศก 125 (ค.ศ. 1907)

ประการที่ 3 สิ่งที่ใช้เป็นหลักฐานทางกฎหมายคือ แผนที่ซึ่งจัดทำขึ้นตามผลงานการปักปันเขตแดนของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน มาตราส่วน 1:200,000 ซึ่งจัดทำขึ้นตามอนุสัญญา ค.ศ. 1904 และ 1907 ที่ผ่านมารวมทั้งเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบังคับอนุสัญญา ค.ศ. 1904 และ 1907 ระหว่างสยามกับฝรั่งเศส

สำหรับการสำรวจและปักปันเขตแดนนั้น สยามและฝรั่งเศสได้แต่งตั้งคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามและฝรั่งเศสขึ้น โดยมีหน้าที่ในการสำรวจและปักปันเขตแดนทางบกให้เป็นไปตามอนุสัญญา ค.ศ. 1904 ฝ่ายสยามมีพลตรีหม่อมชาติเดชอุดม เป็นประธาน ส่วนฝ่ายฝรั่งเศสมี พันตรีแบร์นาร์ เป็นประธานกรรมการ

คณะกรรมการชุดดังกล่าวได้ทำแผนที่แสดงแนวเขตแดนมาตรส่วน 1:200,000 ไว้จำนวน 6 ระวาง (แผนที่มีชื่อว่า Commission de Délimitation entre l’ Indochine et le Siam) ในเวลานั้นเมืองเสียมราฐ พระตะบอง อยู่ในเขตไทย ซึ่งศรีโสภณตอนนั้นอยู่ในเขตเมืองพระตะบอง ต่อมาในปี 1907 ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนดินแดนกันระหว่างจังหวัดตราด อำเภอด่านซ้ายกับเมืองเสียมราฐ พระตะบอง และศรีโสภณ พร้อมทั้งได้มีการทำสนธิสัญญาแสดงแนวเขตแดนฉบับ ค.ศ. 1907

ต่อมาทั้งสองฝ่ายได้จัดตั้งคณะกรรมการปักปันเขตแดนโดยฝ่ายสยามมีพระองค์เจ้าบวรเดช เป็นประธาน ฝ่ายฝรั่งเศสมีพันตรี กิชาร์ มองแกร์ เป็นประธานกรรมการ ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้นับเป็นคณะกรรมการปักปันเขตแดนชุดที่ 2 ซึ่งมีหน้าที่ในการปักปันเขตแดนให้เป็นไปตามอนุสัญญา ค.ศ. 1907 และคณะกรรมการชุดดังกล่าวได้จัดทำแผนที่มาตรส่วน 1:200,000 โดยใช้ชื่อเดิม แผนที่ชุดนี้ได้เฉือนส่วนที่เป็นพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ ออกไป เพราะฉะนั้นแผนที่ชุดนี้จะเหลืออยู่จำนวน 5 ระวาง ซึ่งจะครอบคลุมพื้นที่จังหวัดตราด จันทบุรี สระแก้ว บุรีรัมย์ และสุรินทร์ ซึ่งเป็นพื้นที่ประเทศไทยในปัจจุบัน แผนที่ชุดนี้ได้จัดทำแล้วเสร็จใน ค.ศ. 1908 ส่วนจังหวัดศรีสะเกษและอุบลราชธานีให้ใช้แผนที่ที่จัดทำไว้เดิมตามอนุสัญญา ค.ศ. 1904 จำนวน 2 ระวาง คือ ระวางดงรักและระวางโขง เขาพระวิหารอยู่ในระวางดงรัก
บันทึกการเข้า

"คืนที่ดำทะมึนมืดสนิท ยังรอแสงอาทิตย์ส่องสว่าง มีที่ไหนถูกปิดทุกทิศทาง เพียงม่านควันหมอกบางมันพรางตา"ถ้อยวลีของ..ประเสริฐ  จันดำ
ถ้อยวลี - จาก; "บันทึกจากกองร้อย ทหารปลดแอก" โดย..เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
      นักรบจรยุทธอย่างพวกเราไม่รู้ว่าบ้านของตัวเองอยู่ที่ไหน รู้แต่ว่าเรามีปิตุภูมิเป็นของพวกเรา ทุกหนทุกแห่งที่เราล้มตัวลงนอนที่นั่นก็คือบ้าน
“บ้านของเราก็คือประเทศชาติ พ่อแม่ของเราก็คือประชาชน และเราจะไปทุกหนทุกแห่งเพื่อจัดการกับเจ้าคนที่มันเหยียบย่ำบ้านกับพ่อแม่ของเรา”
Şiłąncē Mőbiuş
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,215



เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 08-08-2008, 15:08 »



ยอมรับว่าตัวแผนที่ดูไม่ออกจริงๆ ตรงไหนเป็นตรงไหนเนี่ย ดูแล้ว ไม่เข้าจัย 
บันทึกการเข้า



“People should not be afraid of their governments. Governments should be afraid of their people.”

. “ประชาชนไม่ควรกลัวรัฐบาลของตนเอง รัฐบาลต่างหากที่ควรกลัวประชาชน” .

. แวะไปเยี่ยมกันได้ที่ http://silance-mobius.blogspot.com/ นะครับ .
วาโย
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 250


ซ้ายหรือขวาก็ว่าเอียงทั้งคู่ขอสู้อยู่ตรงกลางดีกว่า


« ตอบ #4 เมื่อ: 08-08-2008, 15:16 »

 นี่ก็ฝีมือนพเหล่ ข่าวนี้ถูกโพสย์ในเว๊บสนุกวันนี้เคยขึ้นบอร์ดหรือยังไม่รู้ครับถ้าเคยแล้วขออภัยมานะที่นี้ด้วย
วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11096

ความสำเร็จของรัฐบาล"นอมินี" กับเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงแห่งแรกของไทย

โดย วันชัย ตัน
ภาพประกอบจาก www.psunews.net
มีเรื่องเล่าจากในกระทรวงต่างประเทศว่า ภายหลังการเลือกตั้ง นายนพดล ปัทมะ ได้รับมอบหมายเข้ามาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศ เพื่อทำภารกิจอย่างรวบรัดสามประการให้บรรลุเป้าหมายอย่างเงียบๆ
เรื่องแรกทำอย่างเงียบๆ ขณะที่สองเรื่องหลังกลายเป็นเรื่องดังสนั่นอยู่ในความสนใจของคนไทยทั่วประเทศ อย่างที่เจ้าตัวไม่คาดคิดมาก่อนเลย คือเรื่องกรณีการสนับสนุนให้กัมพูชาเสนอปราสาทพระวิหารขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก และสัมปทานแหล่งก๊าซใต้ทะเลบริเวณเกาะกงของประเทศกัมพูชา ซึ่งอีกไม่นานก็จะรู้ว่าใครคือผู้ได้สัมปทานแหล่งก๊าซหลุมใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง มีปริมาณมากกว่าแหล่งก๊าซในอ่าวไทยถึงสิบเท่า
เรื่องแรกที่ทำอย่างเงียบๆ และประสบความสำเร็จอย่างเนียนๆ คือไม่มีใครออกมาโวยวาย หรือโวยวายก็ไม่ค่อยมีใครสนใจ และสื่อมวลชนก็ไม่ค่อยใส่ใจนั่นคือการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่ประเทศนี้เคยสร้างมาก่อน กั้นแม่น้ำโขง มูลค่า 120,000 ล้านบาท ปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีของไทย ได้ประกาศว่าได้ตัดสินใจดำเนินการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขง ที่บ้านกุ่ม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชานี โดยอ้างว่า เพื่อจัดหาน้ำให้ภาคเกษตร หรือเพื่อการทำนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และทั้งสองประเทศจะได้ประโยชน์จากแม่น้ำโขง และโครงการเหล่านี้จะสร้างผลกระทบเพียงเล็กน้อย
"บัดนี้เราได้ตัดสินใจแล้ว และจะลงมือทำ" นายสมัครพูดอย่างหนักแน่น และเลี่ยงบาลีว่า โครงการนี้ไม่ใช่เป็นการสร้างเขื่อน แต่เป็นเพียงการสร้างฝายชะลอน้ำ หรือ "ฝายแม้ว"ครับ ฝายแม้วที่สร้างเสร็จจะมีขนาดใหญ่กว่าเขื่อนภูมิพล เขื่อนใหญ่ที่สุดในประเทศถึงสามเท่า ด้วยกำลังการผลิตไฟฟ้า 1,872 เมกะวัตต์ มีความสูงของสันเขื่อน 115 เมตร จากระดับน้ำทะเล เกิดพื้นที่อ่างเก็บน้ำขนาดหนึ่งแสนไร่ ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมสองฟากฝั่งแม่น้ำโขงเป็นระยะทางร้อยกว่ากิโลเมตร จากอำเภอโขงเจียมไปถึงอำเภอเขมราฐ ส่งผลกระทบกับหมู่บ้านไม่ต่ำกว่า 20 แห่ง รวมทั้งต้องขอเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม ใน จ.อุบลราชธานี บางส่วนด้วย
โครงการขนาดยักษ์ที่มีมูลค่า 120,000 ล้านบาท เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรวบรัดยิ่ง เมื่อนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีต่างประเทศ ได้เดินทางไปยังนครเวียงจันทน์ เพื่อลงนามในบันทึกความเข้าใจกับรัฐบาลลาว ในการศึกษาความเป็นได้ของการก่อสร้างเขื่อนบ้านกุ่ม เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2551 และปูทางให้กับบริษัทหนึ่งได้สัมปทาน และต่อมาไม่นานก็มีการประกาศของรัฐบาลอนุมัติโครงการขนาดยักษ์แห่งนี้ โดยที่ประชาชนในจังหวัดอุบลราชธานี ยังไม่รู้มาก่อนเลย
เขื่อนยักษ์แห่งนี้ทำกันอย่างเงียบเชียบ ไม่เคยมีการเปิดเผยข้อมูลสู่สาธารณชน และที่น่าสนใจคืออภิมหาโปรเจ็คต์นี้ไม่ต้องมีการประมูล มีเพียงบริษัทเดียวที่ได้รับเกียรติครอบครองโครงการมูลค่า 120,000 ล้านบาท คือบริษัทก่อสร้างยักษ์ใหญ่ของเมืองไทยที่ขึ้นต้นเป็นชื่อประเทศแถบยุโรป
ดีลระดับแสนล้านประสบความสำเร็จอย่างเงียบๆ และเนียนๆ
ชาวบ้านที่ห่างไกลคงต้องก้มหน้ารับกรรมและเป็นผู้เสียสละต่อไป เมื่อมีสิ่งก่อสร้างมหัศจรรย์แห่งใหม่เกิดขึ้นกลางแม่น้ำโขง ซึ่งมีเป้าหมายหลักคือการผลิตกระแสไฟฟ้า
ไม่มีใครรู้ว่าฝายแม้วยักษ์แห่งนี้จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในแม่น้ำโขงเพียงใด เป็นอุปสรรคขวางกั้นการเดินทางของปลาในลำน้ำโขงขนาดไหน และอาชีพประมงของชาวบ้านแถวนั้นจะหายไป เหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นหลังการสร้างเขื่อนปากมูลหรือไม่ แต่ที่แน่นอนคือ คงจะไม่มีปลาบึกว่ายทวนน้ำขึ้นไปวางไข่ทางตอนเหนือของแม่น้ำโขงอีกต่อไป
เขื่อนแห่งนี้ได้รับการออกแบบบันไดปลาโจนอยู่ข้างๆ เขื่อน ด้วยความเชื่อว่าจะมีปลาในแม่น้ำโขงมาใช้บริการ ปีนบันไดปลาโจน ทั้งๆ ที่ห่างออกไปไม่กี่สิบกิโลเมตร บันไดปลาโจนตรงเขื่อนปากมูลที่เคยเสียเงินโฆษณานับร้อยล้านบาท เพื่อหลอกคนทั้งประเทศว่า จะเป็นเส้นทางให้ปลาว่ายทวนน้ำขึ้นไปตามลำน้ำมูลได้ แต่บัดนี้ได้ถูกทิ้งร้างเป็นอนุสรณ์ประจานความล้มเหลวของบันไดปลาโจน เพราะแทบจะไม่มีปลาชนิดใดมาใช้บริการเลย
ทุกวันนี้มีโครงการเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงหลายโครงการ แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำที่ได้ชื่อว่ามีความหลากหลายทางพันธุ์ปลามากถึง 1,200 ชนิด งานวิจัยของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงเมื่อปี 2547 ก็ยืนยันว่าโครงการเขื่อนต่างๆ ถือเป็น "การคุกคามอย่างใหญ่หลวงต่อปลา และการประมงในแม่น้ำโขง" และระบุว่า จนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่เคยมีตัวอย่างของมาตรการสัมฤทธิผลใดๆ ที่จะช่วยลดผลกระทบของเขื่อนที่มีต่อการประมงในภูมิภาคได้เลย เมื่อเขื่อนมา พวกปลาหน้าโง่ก็ต้องถูกคุกคาม เหมือนกับนกยูงหน้าโง่ 3 ตัวแห่งเขื่อนแก่งเสือเต้น
ส่วนอดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ แม้ว่าจะลาออกกะทันหัน แต่ก็ถือว่าภารกิจสามประการของนายใหญ่ที่ได้รับมอบหมายหมาย ประสบผลสำเร็จลุล่วงจริงๆ

www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01way03270751&day=2008-07-27&sectionid=0137
บันทึกการเข้า

มาเถอะพี่น้องพ้องเพื่อนชีวิต ...ตื่นเถอะมวลมิตรผู้ยังหลับไหลจากเรา...คาราวาน (ขอยกท่อนหนึ่งของเพลงคาราวานมาแสดงระกันครับ ถึงเวลาแล้วที่คนหลับต้องตื่นสู้ คนอยู่ต้องก้าวต่อไป)
paper punch
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 672



« ตอบ #5 เมื่อ: 08-08-2008, 15:22 »

เมื่อคืนดู อ.เทพมนตรีที่ทีวีไทย ไม่จุใจ คิดว่าเวลาน้อยแล้วคุณกรุณาก็มีการถามแทรกเป็นระยะ
ทำให้ไม่ปะติดปะต่อ

ถ้าเป็นไปได้น่าจะมีรายการไหนหรือเวทีไหนเอาอาจารย์มาออกซัก 1-2 ชม.
แล้วให้อาจารย์อธิบายแบบง่ายๆตั้งแต่ต้น ผมว่าจะทำให้ประชาชนตาสว่างขึ้นอีกเยอะนะครับ
บันทึกการเข้า

LOVE CHANGES EVERYTHING...
เอกราช
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 826


กับคนที่ไร้ซึ่งจริยธรรม ยังจะสามารถสมาคมด้วยหรือ


« ตอบ #6 เมื่อ: 08-08-2008, 16:11 »

เราอ้างของเราฝ่ายเดียวไม่มีประโยชน์หรอก
ต้องคุยกับเขมรให้รู้เรื่อง
แต่เชื่อได้ว่าคุยกันไม่รู้เรื่องแน่ๆ
คงต้องปะทะกันก่อน แล้วค่อยนำเรื่องขึ้นสู่ศาลโลกใหม่
ว่าแต่ว่า ฝ่ายไทยเรา จะเอาจริงหรือเปล่า.......

 
บันทึกการเข้า

สภาพดินฟ้าอากาศที่ได้เปรียบมิสู้มีชัยภูมิที่มั่นคง
ชัยภูมิที่เป็นเลิศมิอาจเทียบได้กับความมีน้ำหนึ่งใจเดียวของผู้คน
天时不如地利,地利不如人和
ปรมาจารย์เจได
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,771


รักแท้ก็เหมือนผี รู้ว่ามี แต่ไม่เคยเจอ


« ตอบ #7 เมื่อ: 08-08-2008, 16:22 »

สำรวจจุดพิพาทเขตแดนไทย-เขมร พื้นที่ทับซ้อน"บก-ทะเล"

รอวันปะทุ

ท่ามกลางความตึงเครียด ณ แนวชายแดนไทย-กัมพูชาด้าน "เขาพระวิหาร" จากปัญหาการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียวของทางการกัมพูชา จนส่งผลกระทบถึงพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นข้อพิพาทที่ยากจะเจรจา ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศที่ราบรื่นมาหลายปี กลับร้อนระอุขึ้นอีกครั้ง

ที่น่าวิตกก็คือ ข้อพิพาทเรื่องเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา ไม่ได้มีเฉพาะที่เขาพระวิหารเท่านั้น แต่ยังมีอีกมากมายหลายจุด ฉะนั้นหากรัฐบาลและฝ่ายความมั่นคงไม่อาจคลี่คลายสถานการณ์ได้ในเร็ววัน ก็มีแนวโน้มสูงว่าข้อพิพาทเรื่องเขตแดนบริเวณอื่นๆ จะปะทุขึ้นมาอีก

จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่ 38 ประจำเดือน เม.ย.2551 เรื่อง "กรณีเขาพระวิหาร" ซึ่งมี รศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นบรรณาธิการ ได้สรุปปัญหาเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาเอาไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้

ประเทศไทยและกัมพูชามีแนวพรมแดนติดต่อกันความยาวประมาณ 798 กิโลเมตร แบ่งเป็นตามแนวสันปันน้ำประมาณ 524 กิโลเมตร ตามแนวลำน้ำประมาณ 216 กิโลเมตร และเป็นเส้นตรงประมาณ 58 กิโลเมตร ทั้งสองฝ่ายได้ทำการปักปันเขตแดนร่วมกันครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2452 โดยใช้หลักเขตแดนทำจากไม้รวม 73 หลัก เริ่มตั้งแต่ช่องสะงำ อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ (รอยต่อ จ.สุรินทร์ และ จ.ศรีสะเกษ) เป็นหลักเขตที่ 1 โดยแบ่งเส้นเขตแดนเป็น 3 ส่วน ได้แก่

ส่วนที่ 1 เริ่มตั้งแต่จุดร่วมเขตแดน 3 ประเทศ (ไทย-กัมพูชา-ลาว) บริเวณช่องบก จ.อุบลราชธานี ไปตามทิวเขาพนมดงรัก ผ่าน จ.ศรีสะเกษ สุรินทร์ จนถึงเขตรอยต่อ จ.บุรีรัมย์ กับ จ.สระแก้ว (บริเวณหลักเขตที่ 28) ใช้แนวสันปันน้ำของทิวเขาพนมดงรักเป็นเส้นเขตแดน

ส่วนที่ 2 เริ่มตั้งแต่หลักเขตแดนที่ 28 เส้นเขตแดนไปตามลำคลองสลับกับแนวเส้นตรงไปจนถึงต้นน้ำของทิวเขาบรรทัด (ใกล้หลักเขตแดนที่ 68) ผ่าน จ.สระแก้ว และจันทบุรี

ส่วนที่ 3 เริ่มตั้งแต่ต้นน้ำคลองใส (รอยต่อ จ.จันทบุรี กับ จ.ตราด) เส้นเขตแดนไปตามแนวสันปันน้ำของทิวเขาบรรทัดในเขต จ.ตราด ผ่านหลักเขตแดนที่ 69 จนถึงหลักเขตแดนที่ 72 และจากหลักเขตแดนที่ 72 เป็นเส้นตรงจนถึงหลักเขตแดนที่ 73 อ.คลองใหญ่ จ.ตราด

ต่อมาพบว่าหลักเขตบางส่วนถูกเคลื่อนย้าย บางส่วนสูญหาย และการใช้แผนที่ในการพิจารณาปัญหาเขตแดนคนละฉบับ โดยไทยใช้แผนที่มาตราส่วน 1:50,000 ลำดับชุด L 7017 ที่กรมแผนที่ทหารจัดทำ ส่วนฝ่ายกัมพูชาใช้แผนที่ มาตราส่วน 1:50,000 ที่จัดพิมพ์โดยสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ส่งผลให้แนวเขตแดนบนแผนที่ทับซ้อนกัน

ที่ผ่านมาทั้งสองฝ่ายได้ร่วมทำบันทึกความเข้าใจเรื่องการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก เมื่อวันที่ 14 มิ.ย.2543 และมีคณะทำงานปฏิบัติงานร่วมกันเรื่อยมา แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่เสร็จสิ้น และมีพื้นที่ที่ยังเป็นปัญหาเขตแดนระหว่างสองประเทศ ได้แก่

1.จังหวัดสุรินทร์

สุรินทร์มีปัญหาพรมแดนติดต่อกับกัมพูชาทางด้าน อ.กาบเชิง บัวเชด สังขะ และกิ่งอำเภอพนมดงรัก ซึ่งเขตแดนติดต่อมีลักษณะเป็นป่า มีทิวเขาพนมดงรักกั้นตลอดแนว ส่วนหนึ่งประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทับทัน-ห้วยสำราญ และตามแนวชายแดนซึ่งเป็นเขตแดนทางบกมีช่องทางขึ้นลงจำนวนมาก

สุรินทร์มีหลักเขตแดนทั้งหมด 23 หลัก ตั้งแต่หลักเขตแดนที่ 2-23 ในจำนวนนี้มีหลักเขตแดนที่ไม่สามารถตรวจพบ 6 หลัก คือหลักเขตแดนที่ 2,4,5,6,15 และ 16 ส่วนหลักเขตที่ 7 มีร่องรอยการเคลื่อนย้าย

ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเฉพาะที่สำคัญ ได้แก่

1.1 กลุ่มปราสาทตาเมือน เป็นปราสาทหินมีจำนวน 3 หลัง ตั้งอยู่บนแนวภูเขาบรรทัด บริเวณบ้านหนองคันนาสามัคคี หมู่ 18 ต.ตาเมียง กิ่งอำเภอพนมดงรัก กลุ่มปราสาทตาเมือน ประกอบด้วย ปราสาทตาเมือนธมเก่าแก่และมีขนาดใหญ่ที่สุด ปราสาทตาเมือนโต๊ด และประสาทตาเมือน

1.2 ปราสาทตาควาย ตั้งอยู่ในเขตบ้านไทยนิยมพัฒนา หมู่ 17 ต.บักได

ช่วงปี 2544 ราษฎรกัมพูชาได้แพร่กระจายข่าวว่า ปราสาทตาเมือนและปราสาทตาควายเป็นของกัมพูชา และกัมพูชาอาจยื่นข้อเรียกร้องอ้างสิทธิเหนือปราสาททั้งสองแห่ง ซึ่งในการประชุมเจ้าหน้าที่เทคนิคไทย-กัมพูชา นำโดย นายประชา คุณะเกษม ที่ปรึกษา รมว.ต่างประเทศ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี ฝ่ายไทย) และ นายวาร์ กิมฮง ที่ปรึกษารัฐบาลกัมพูชาด้านกิจการชายแดน ในฐานะประธาน เจบีซี ฝ่ายกัมพูชา เมื่อวันที่ 7-8 พ.ย.2544 ฝ่ายไทยเสนอว่าขอให้จัดชุดสำรวจร่วมทำการเดินตรวจสอบแนวสันปันน้ำในภูมิประเทศบริเวณปราสาท เพื่อพิสูจน์ทราบตำแหน่งประสาททั้งสามหลัง โดยยึดถือตามแนวสันปันน้ำต่อเนื่องในภูมิประเทศเป็นเส้นเขตแดน

แต่ฝ่ายกัมพูชาชี้แจงว่า ได้ตรวจสอบตำแหน่งของปราสาททั้ง 2 หลัง (ตาเมือนธม, ตาเมือนโต๊ด) แล้ว ประกอบกับหลักฐานบันทึกว่าจากการปักปันเขตแดน หมายเลขที่ 23 ระหว่างไทย-ฝรั่งเศส ปี ค.ศ.1908 แสดงสัญลักษณ์ตัวปราสาท 2 หลังอยู่ในเขตกัมพูชา

ขณะที่แผนที่ชุด L 7017 มาตราส่วน 1: 50,000 ปี 2527 ที่ฝ่ายไทยยึดถือ และแผนที่ชุด L 7016 มาตราส่วน 1: 50,000 ปี 2514 จัดทำโดยสหรัฐอเมริกาที่ฝ่ายกัมพูชายึดถือ ปรากฏเส้นเขตแดนตรงกันคือ ตัวปราสาทตาเมือนธมอยู่ในเขตกัมพูชา และอีก 2 ปราสาท (ตาเมือนโต๊ด, ตาเมือน) อยู่ในเขตไทย ปัจจุบันปัญหาบริเวณดังกล่าวจึงยังไม่ได้ข้อยุติ

2.จังหวัดบุรีรัมย์

จังหวัดบุรีรัมย์ไม่ปรากฏปัญหาขัดแย้งหรือข้อพิพาทเกี่ยวกับเส้นเขตแดน แต่ยังมีหลักเขตแดนที่ต้องปักปัน ได้แก่

- หลักเขตแดนที่ 25 บริเวณช่องสายตะกู ต.สายตะกู อ.บ้านกรวด ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้ เพราะหลักเขตสูญหาย

3.จังหวัดสระแก้ว

พื้นที่ จ.สระแก้ว ที่อยู่ในความดูแลของกองกำลังบูรพา ตั้งแต่ อ.ตาพระยา อ.คลองหาด (หลักเขตที่ 28-51) มีหลักเขตที่สมบูรณ์ 11 หลักเขต สูญหายจำนวน 6 หลักเขต แต่ที่มีเหตุให้เกิดการล้ำแดน คือ

3.1 บริเวณหลักเขตที่ 31-32 เนิน 48 อ.ตาพระยา โดยไทยและกัมพูชายึดแผนที่อ้างอิงต่างกัน ไทยยึดแผนที่ชุด L 7017 ที่ไทยและสหรัฐจัดทำเมื่อปี 2512-2514 แต่กัมพูชายึดแผนที่ชุด L 7016 จัดทำโดยฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ.2497

3.2 หลักเขตที่ 35 บริเวณจุดผ่อนปรนตาพระยา-บึงตรอกวน อ.ตาพระยา ซึ่งหลักเขตดังกล่าวสูญหาย ทำให้ไม่สามารถกำหนดเส้นเขตแดนที่ชัดเจนได้ และกัมพูชายังกล่าวหาฝ่ายไทยว่าก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์บางส่วนรุกล้ำเขตแดนกัมพูชา

3.3 หลักเขตที่ 37-40 บริเวณเขาพนมปะ และเขาพนมฉัตร อ.ตาพระยา ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างยึดถือแผนที่อ้างอิงต่างกัน

3.4 หลักเขตที่ 46-48 ต.โนนหมากมุ่น กิ่ง อ.โคกสูง ถูกราษฎรกัมพูชาบ้านโชคชัย จังหวัดบันเตียเมียนเจย ประมาณ 200 คน รุกล้ำเข้ามาปลูกที่อยู่อาศัยในเขตไทยห่างจากชายแดนประมาณ 300 เมตร คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 400 ไร่ นอกจากนี้หลักเขตที่ 48 ยังถูกทำลายด้วย

3.5 พื้นที่บ้านป่าไร่ใหม่ ต.ป่าไร่ อ.อรัญประเทศ ใกล้หลักเขตที่ 49 ฝ่ายกัมพูชาก่อสร้างกำแพงคอนกรีตในบริเวณดังกล่าว แต่ยอมยุติการก่อสร้างและยอมให้ไทยรื้อถอนบางส่วน ซึ่งฝ่ายกัมพูชาได้นำกำลังตำรวจเข้ามาตั้งฐานปฏิบัติการในเขตกัมพูชาใกล้บริเวณดังกล่าว

3.6 พื้นที่บริเวณจุดผ่านแดนถาวรคลองลึก อ.อรัญประเทศ เกิดจากการปรับพื้นที่เพื่อก่อสร้างบ่อนการพนันในเขตกัมพูชา อันเป็นเหตุให้ลำน้ำคลองลึก คลองพรมโหด ที่ใช้เป็นเส้นเขตแดนตื้นเขินและเปลี่ยนทิศทาง

3.7 หลักเขตที่ 51 บ้านคลองหาด อ.คลองหาด (เขาตาง็อก) ไทยและกัมพูชาต่างใช้แผนที่อ้างอิงที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดพื้นที่เหลื่อมทับกันประมาณ 3 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 1,875 ไร่ ซึ่งฝ่ายกัมพูชาเข้าทำการปลูกสร้างสิ่งก่อสร้างไว้ และกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด (กปช.จต.) ได้เข้าเจรจาให้รื้อถอนออกไปแล้ว

4.จังหวัดจันทบุรี

4.1 บริเวณหลักเขตที่ 51 ฝ่ายไทยและกัมพูชาใช้หลักฐานอ้างอิงต่างกัน ทำให้เกิดพื้นที่เหลื่อมทับประมาณ 3 ตารางกิโลเมตร ซึ่งพื้นที่เหลื่อมทับดังกล่าว กัมพูชาเคยปลูกสร้างสิ่งก่อสร้าง แต่ กปช.จต.ได้กดดันให้กัมพูชารื้อถอนสิ่งก่อสร้าง

4.2 หลักเขตที่ 62 บ้านหนองกก ต.เทพนิมิต อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี ซึ่งตลิ่งริมน้ำถูกกระแสน้ำกัดเซาะจนพังทลาย เป็นเหตุให้หลักเขตอ้างอิงที่ตั้งอยู่ริมคลองโป่งน้ำร้อนโค่นล้ม ทางกองบัญชาการทหารสูงสุดได้อนุมัติแนวทางติดตั้งหลักเขตแดนขึ้นใหม่ โดยเจรจากับกัมพูชาดำเนินการติดตั้งหลักเขตชั่วคราว

4.3 หลักเขตแดนที่ 66 และ 67 บ้านผักกาด อ.โป่งน้ำร้อน ทั้งสองประเทศต่างอ้างอิงแนวเขตแดนต่างกัน โดยฝ่ายไทยอ้างอิงจากสภาพภูมิประเทศ แต่กัมพูชาใช้แนวเส้นตรง ทำให้เกิดพื้นที่เหลื่อมทับกันประมาณ 1 ตารางกิโลเมตร ซึ่งฝ่ายกัมพูชาได้เข้ามาตัดไม้ และยังกล่าวหาไทยว่าทำการปิดประกาศเขตป่าสงวนแห่งชาติรุกล้ำเข้าไปในเขตกัมพูชา

5.จังหวัดตราด

5.1 บริเวณบ้านคลองสน บ้านคลองกวาง-ตากุจ อ.คลองใหญ่ บนเส้นเขาบรรทัด เนื่องจากกัมพูชาได้สร้างถนนสาย K5 ล้ำเข้ามาในเขตไทยประมาณ 500 เมตร รวมระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร ซึ่งฝ่ายกัมพูชายอมรับว่าสร้างล้ำเข้ามาจริง ทาง กปช.จต.จึงได้ปิดเส้นทางในส่วนที่ล้ำเข้ามา พร้อมทั้งตั้งจุดตรวจและลาดตระเวนตามเส้นทางอย่างต่อเนื่อง

5.2 บริเวณบ้านหนองรี อ.เมือง กำลังทหารสังกัดร้อย ปชด.1 พัน ปชด.501 ได้เข้ามาตั้งฐานปฏิบัติการบริเวณพิกัด TU.509454 ลึกเข้ามาในเขตไทยประมาณ 300 เมตร กปช.จต.ได้กดดันมิให้ฝ่ายกัมพูชาก่อสร้างอาคารเพิ่มเติม

5.3 หลักเขตแดนที่ 72,73 จุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก ต.หาดเล็ก อ.คลองใหญ่ โดยหลักเขตที่ 72 สูญหาย และมีการอ้างอิงแนวเขตจากหลักเขตที่ 73 ไปยังหลักเขตที่ 72 แตกต่างกัน ฝ่ายกัมพูชายึดถือค่าพิกัด TT.724886 ส่วนไทยยึดถือที่ค่าพิกัด TT.725884 ทำให้มีพื้นที่เหลื่อมทับกันประมาณ 100 ไร่ ซึ่งฝ่ายกัมพูชาพยายามก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างถาวรในพื้นที่ แต่ กปช.จต.ได้กดดันให้ยุติ

6.เส้นเขตแดนทางน้ำ

ไทยและกัมพูชาประกาศเขตไหล่ทวีปในอ่าวไทยแตกต่างกัน ฝ่ายกัมพูชาประกาศเมื่อ 1 ก.ค.2515 โดยลากเส้นจากจุดอ้างอิงที่ละติจูด 11 องศา 38.88 ลิปดาเหนือ ลองจิจูด 102 องศา 54.81 ลิปดาตะวันออก ผ่านยอดเขาสูงสุดของเกาะกูดเลยไปถึงระยะกึ่งกลางระหว่างหลักเขตที่ 73 ส่วนฝ่ายไทยประกาศเขตไหล่ทวีปเมื่อ 18 พ.ค.2516 โดยกำหนดจุดอ้างอิงที่ 1 ที่ละติจูด 11 องศา 39 ลิปดาเหนือ ลองจิจูด 102 องศา 55 ลิปดาตะวันออก ที่บ้านหาดเล็ก แล้วลากเส้นเกาะกง จากนั้นแบ่งครึ่งมุมระหว่างเส้นฐานตรงออกเป็นมุมภาคทิศ 211 องศา ไปยังตำแหน่งของจุดที่ 2

ทั้งหมดนี้ทำให้เกิดพื้นที่เหลื่อมทับทางทะเลประมาณ 34,043 ตารางกิโลเมตร ซึ่งยังอยู่ระหว่างการเจรจา!

http://www.bangkokbiznews.com/2008/07/18/news_26854803.php?news_id=26854803

เฝ้าระวังจุดต่างๆไว้ด้วยครับ
บันทึกการเข้า

http://www.oknation.net/blog/jedimaster



"เมืองดอกบัวงาม  แม่น้ำสองสี  มีปลาแซบหลาย หาดทรายแก่งหิน  ถิ่นไทยนักปราชญ์  ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามลำเทียนพรรษา  ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์"

ไม่มีใครเน่าบริสุทธิ์ดุจดั่งมูล ประชาชินสมบูรณ์ซะที่ไหน เมื่อยืนหยัดโชว์จู๋และปาขี้ ประชาชินย่อมมีชีวิตใหม่ เมื่อท้องฟ้าสีขี้ผ่องอำไพ เหลี่ยมจันไsย่อมเป็นใหญ่อยู่ใต้ดิน ...

ขอเชิญร่วมกลุ่มต้านทักษิณใน hi5 ครับ

THAKSIN get out !!
http://www.hi5.com/friend/group/1123605--THAKSIN%2Bget%2Bout%2521%2521--front-html

say no to thaksin !
http://www.hi5.com/friend/group/1186900--say%2Bno%2Bto%2Bthaksin%2B%2521--front-html
นิรนาม
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 554



« ตอบ #8 เมื่อ: 08-08-2008, 22:28 »

ภาพแผนที่ที่อาจารย์เทพมนตรี ลิมปพยอม เข้าให้ข้อมูลในที่ประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดน สภาผู้แทนราษฎร เมื่อ ๕ สิงหามคม๒๕๕๑ ที่นำมาตอนแรกดูยังไงก็ออกจะงง ๆ เพราะไม่มีคำอธิบายใด ผมเลยจำลองมาให้ดูใหม่อีกรอบ

จากแผนที่จะเห็นได้ว่าดินแดนที่ไทยเสียให้กับฝรั่งเศสตามข้อตกลงในอนุสัญญาฯ ปี ค.ศ. ๑๙๐๗ จะอยู่ติดกับชายแดนเพียงบริเวณที่อยู่ตรงกันข้ามกับอำเภอขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ(ปัจจุบันเป็นอำเภอภูสิงห์) ไม่ได้ลากยาวมาจนถึง อำเภอกันทรลักษ์ หรือบริเวณปราสาทพระวิหาร

ซึ่งหากมีการพิสูจน์แผนที่ฉบับนี้ ก็น่าจะเป็นอย่างที่อาจารย์เทพมนตรีฯ ว่า คือ "เขาพระวิหารเป็นของไทย ไม่ใช่ของกัมพูชา" ดังที่ปรากฎในแผนที่อีกฉบับซึ่งถูกทำขึ้นในปี ค.ศ. ๑๙๐๘ และกัมพูชานำยื่นต่อศาลโลกจนได้ปราสาทพระวิหารไปครอบครอง

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08-08-2008, 22:48 โดย นิรนาม » บันทึกการเข้า

"คืนที่ดำทะมึนมืดสนิท ยังรอแสงอาทิตย์ส่องสว่าง มีที่ไหนถูกปิดทุกทิศทาง เพียงม่านควันหมอกบางมันพรางตา"ถ้อยวลีของ..ประเสริฐ  จันดำ
ถ้อยวลี - จาก; "บันทึกจากกองร้อย ทหารปลดแอก" โดย..เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
      นักรบจรยุทธอย่างพวกเราไม่รู้ว่าบ้านของตัวเองอยู่ที่ไหน รู้แต่ว่าเรามีปิตุภูมิเป็นของพวกเรา ทุกหนทุกแห่งที่เราล้มตัวลงนอนที่นั่นก็คือบ้าน
“บ้านของเราก็คือประเทศชาติ พ่อแม่ของเราก็คือประชาชน และเราจะไปทุกหนทุกแห่งเพื่อจัดการกับเจ้าคนที่มันเหยียบย่ำบ้านกับพ่อแม่ของเรา”
Şiłąncē Mőbiuş
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,215



เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 09-08-2008, 01:42 »

^
^
^
ขอบคุณครับ แบบนี้ค่อยเข้าใจหน่อย 
บันทึกการเข้า



“People should not be afraid of their governments. Governments should be afraid of their people.”

. “ประชาชนไม่ควรกลัวรัฐบาลของตนเอง รัฐบาลต่างหากที่ควรกลัวประชาชน” .

. แวะไปเยี่ยมกันได้ที่ http://silance-mobius.blogspot.com/ นะครับ .
แอ่นแอ๊น
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,591


"Angela Gheorghiu" My goddess


เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 09-08-2008, 02:25 »

http://hiptv.mcot.net/player/hipPlayer.php?SelectSpeed=256k&id=17236

ดูประกอบกระทู้ นาที่ที่ 1 ชั่วโมงไปแล้ว 
บันทึกการเข้า

       

"เมื่อเจตนาเบี่ยงเบนไปจากความจริง การนำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง บางทีก็เป็นเพียงภาษาสุภาพสำหรับการพูดเท็จนั่นเอง" : วิถีแห่งปราชญ์ พิมพ์ครั้งที่ ๗ หน้า ๒๐๖
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #11 เมื่อ: 09-08-2008, 18:13 »

ภาพแผนที่ที่อาจารย์เทพมนตรี ลิมปพยอม เข้าให้ข้อมูลในที่ประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดน สภาผู้แทนราษฎร เมื่อ ๕ สิงหามคม๒๕๕๑ ที่นำมาตอนแรกดูยังไงก็ออกจะงง ๆ เพราะไม่มีคำอธิบายใด ผมเลยจำลองมาให้ดูใหม่อีกรอบ

จากแผนที่จะเห็นได้ว่าดินแดนที่ไทยเสียให้กับฝรั่งเศสตามข้อตกลงในอนุสัญญาฯ ปี ค.ศ. ๑๙๐๗ จะอยู่ติดกับชายแดนเพียงบริเวณที่อยู่ตรงกันข้ามกับอำเภอขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ(ปัจจุบันเป็นอำเภอภูสิงห์) ไม่ได้ลากยาวมาจนถึง อำเภอกันทรลักษ์ หรือบริเวณปราสาทพระวิหาร

ซึ่งหากมีการพิสูจน์แผนที่ฉบับนี้ ก็น่าจะเป็นอย่างที่อาจารย์เทพมนตรีฯ ว่า คือ "เขาพระวิหารเป็นของไทย ไม่ใช่ของกัมพูชา" ดังที่ปรากฎในแผนที่อีกฉบับซึ่งถูกทำขึ้นในปี ค.ศ. ๑๙๐๘ และกัมพูชานำยื่นต่อศาลโลกจนได้ปราสาทพระวิหารไปครอบครอง


ผมไม่แน่ใจว่าคุณนิรนาม จับประเด็นได้ถูกต้องหรือเปล่านะครับ

เพราะตามแผนที่ที่แสดง ไม่ใช่พื้นที่ที่ยกให้ฝรั่งเศสตามสัญญา
เมื่อปี ค.ศ. 1904 (เสียดินแดนครั้งที่ 7)
แต่เป็นพื้นที่ตามสัญญา
ปี ค.ศ. 1907 (เสียดินแดนครั้งที่ 8 ) ซึ่งเป็นพื้นที่คนละส่วนกัน

ไทยยกพื้นที่บริเวณติดกับบริเวณปราสาทพระวิหาร พร้อมกับพื้นที่
ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ให้ฝรั่งเศสแลกกับ จ.จันทบุรี ตั้งแต่ ค.ศ. 1904
ตามแผนที่ที่ผมยกมาให้ดูประกอบข้างล่างนี้ คือพื้นที่หมายเลข ๗

ส่วนพื้นที่ในแผนที่ที่คุณนิรนามยกมาให้ดู ตรงกับพื้นที่หมายเลข ๘
ซึ่งยกให้ฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1907 แลกกับ จ.ตราด ครับ



...

ข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือ แผนที่ที่คุณนิรนามยกมาให้ดู
ไม่มีการแสดงตำแหน่ง ปราสาทพระวิหาร เอาไว้เลย
และเป็นแผนที่ที่จัดทำจากข้อตกลง 23 มีนาคม 1907
ซึ่งใช้กำกับพื้นที่อื่นไม่เกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร

ทำให้ผมคิดว่าแผนที่ที่คุณนิรนามยกมา ยังไม่ใช่แผนที่
ที่ อ.เทพมนตรี อ้างอิงเป็นหลักฐานว่าปราสาทพระวิหาร
อยู่ในเขตไทย ขณะมีข้อตกลงไทย-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1904


ผมตามลิงค์ที่คุณนิรนามแนะนำ ไปดูไฟล์ต้นฉบับมาแล้ว
ซึ่งอยู่ที่ลิงค์นี้

http://cid-f2b83f81974b406c.skydrive.live.com/self.aspx/boringdaysfiles/thai-map1907-3.jpg

สังเกตว่าชื่อไฟล์คือ thai-map1907-3.jpg มีเลข 3 ต่อท้าย
อาจมีไฟล์อื่นที่ตรงกับพื้นที่ปราสาทมากกว่านี้ก็ได้นะครับ 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09-08-2008, 18:37 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
แอ่นแอ๊น
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,591


"Angela Gheorghiu" My goddess


เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 09-08-2008, 21:04 »

หนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ลงวันที่ 23 มีนาคม รศ 125
 
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2450/014/344_1.PDF
  http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2450/014/368.PDF
บันทึกการเข้า

       

"เมื่อเจตนาเบี่ยงเบนไปจากความจริง การนำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง บางทีก็เป็นเพียงภาษาสุภาพสำหรับการพูดเท็จนั่นเอง" : วิถีแห่งปราชญ์ พิมพ์ครั้งที่ ๗ หน้า ๒๐๖
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #13 เมื่อ: 10-08-2008, 00:12 »

หนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ลงวันที่ 23 มีนาคม รศ 125
 
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2450/014/344_1.PDF
  http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2450/014/368.PDF

จากเอกสารตามลิงค์ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2450/014/344_1.PDF
ผมแกะข้อความระหว่างหน้า 346-347 ในส่วนของ..

"สัญญาว่าด้วยปักปันเขตร์แดน ติดท้ายหนังสือสัญญาลงวันที่ ๒๓ มีนาคม รัตนโกสินทรสก ๑๒๕"

เฉพาะข้อ ๑ ที่กล่าวถึงพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหารคือ "เขาแดงแรก" (พนมดงรัก)
มาให้อ่านกัน โดยพยายามคงตัวสะกด วรรคตอนและการขึ้นบรรทัดใหม่เอาไว้ทั้งหมด
อาจอ่านดูแปลกๆ นิดหน่อย แต่น่าจะสามารถเข้าใจได้อย่างครบถ้วน

การเน้นสี ทำต้วหนา และขีดเส้นใต้ ผมทำเพื่อเน้นจุดสำคัญไม่มีในต้นฉบับนะครับ

..สังเกตว่าท้าย ข้อ ๑ ระบุมีการทำแผนที่แสดงเส้นพรมแดนแนบสัญญาไว้ด้วย..
ซึ่งคงจะเป็นแผนที่ดังกล่าวนี้เองที่ อ.เทพมนตรี อ้างอิงถึงนะครับ 

----------------------------------------------------------------------------------------------------------

สัญญาว่าด้วยปักปันเขตร์แดน ติดท้ายหนังสือ
สัญญาลงวันที่ ๒๓ มีนาคม รัตนโกสินทรสก ๑๒๕


---------------------------------------------

      เพื่อประโยชน์ ที่จะให้กรรมการ   ซึ่งกล่าวไว้
ในข้อ ๔ ของหนังสือสัญญาลงวันนี้  จัดการปักปัน
เขตร์แดนให้สดวกดี    และเพื่อที่จะไม่ให้เกิดมีข้อ
ขัดข้องขึ้นได้ ในการปักปันเขตร์แดนนั้น   รัฐบาล
ของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยาม      กับรัฐบาลของ
ริปับลบิกฝรั่งเศส     จึงได้ยินยอมตกลงกัน    ตาม
ความที่กล่าวต่อไปนี้

ข้อ ๑

เขตร์แดนในระหว่างกรุงสยามกับอินโดชินของ
ฝรั่งเศสนั้น   ตั้งแต่ชายทเลที่ตรงข้ามจากยอดเขา
สูงที่สุดของเกาะกูดเปนหลักแล้ว      ตั้งแต่นี้ต่อไป
ทางตวันออกเฉียงเหนือถึงสันเขาพนมกระวาน และ
เปนที่เข้าใจกันชัดเจนด้วยว่า          แม้จะมีเหตุการ
อย่างไรๆ ก็ดี   ฟากไหล่เขาเหล่านี้ข้างทิศตวันออก
รวมทั้งที่ลุ่มน้ำคลองเกาะปอด้วยนั้น    ต้องคงเปน
ดินแดนฝ่ายอินโดชินของฝรั่งเศสแล้ว   เขตร์แดน
ต่อไปตามสันเขาพนมกระวานทางทิศเหนือจนถึง
เขาพนมทม        ซึ่งเปนเขาใหญ่ปันน้ำทั้งหลาย
ระหว่างลำน้ำที่ใหลตกอ่าวสยามฝ่ายหนึ่ง  กับลำน้ำ
ที่ใหลตกทเลสาบอีกฝ่ายหนึ่ง    ตั้งแต่เขาพนมทมนี้

เขตร์แดนไปตามทิศพายัพก่อนแล้วจึงไปตามทิศ
เหนือ         ตามเขตร์แดนซึ่งเปนอยู่ในประจุบันนี้
ระหว่างเมืองพระตะบองฝ่ายหนึ่ง   กับเมืองจันทบุรี
และเมืองตราดอีกฝ่ายหนึ่งแล้ว  ต่อไปจนถึงที่เขตร์
แดนนี้ข้ามลำน้ำใส      ตั้งแต่นี้ต่อไปตามลำน้ำนี้จน
ถึงปากที่ต่อกับลำน้ำศรีโสภณ          และตามลำน้ำ
ศรีโสภณต่อไปจนถึงที่แห่งหนึ่งในลำน้ำนี้ประ
มาณสิบกิโลเมตร  ฤๅสองร้อยห้าสิบเส้นใต้
เมืองอารัญ  ตั้งแต่ที่นี้ตีเส้นตรงไปจนถึงเขา
แดงแรก
  ตรงระหว่างกลางทางช่องเขาทั้ง ๒
ที่เรียกว่าช่องตะโกกับช่องเสม็ด     แต่ได้เปนที่
เข้าใจกันว่าเส้นเขตรแดนที่กล่าวมาที่สุดนี้  จะต้อง
ปักปันกันให้มีทางเดินตรงในระหว่างเมืองอารัญกับ
ช่องตะโกคงไว้ในเขตรกรุงสยาม   ตั้งแต่ที่เขาแดง
แรกที่กล่าวมาข้างต้นนั้น  เขตรแดนต่อไปตามเขา
ปันน้ำ
ที่ตกทเลสาบและแม่น้ำโขงฝ่ายหนึ่ง กับที่ตกน้ำ
มูนอีกฝ่ายหนึ่ง
แล้วต่อไปจนตกลำแม่น้ำโขงใต้ปาก
มูนตรงปากห้วยดอน
       ตามเส้นเขตรแดนที่กรรม
การปักปันแดน           ครั้งก่อนได้ตกลงกันแล้วเมื่อ
วันที่   ๑๘   มกราคม         รัตนโกสินทรศก  ๑๒๕
คฤสตศักราช   ๑๙๐๗


        ได้เขียนเส้นพรมแดนประเมินไว้อย่างหนึ่งใน
แผนที่ตามความที่กล่าวในข้อนี้       ติดเนื่องไว้ใน
สัญญานี้ด้วย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10-08-2008, 00:21 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #14 เมื่อ: 10-08-2008, 00:37 »

จากการค้นข้อมูลเพิ่มเติมผมไปเจอลิงค์แผนที่ฉบับหนึ่งซึ่งระบุที่หัวเอกสารว่าเป็น
ANNEX No. 12b (แปลคร่าวๆ ก็คือ "ภาคผนวก หมายเลข 12บี")

พร้อมกับมีข้อความกำกับที่มุมซ้ายบนว่า

"MAP SHOWING THE NAMES OF THE PLACES MENTIONED IN THE MINUTES OF THE MEETINGS OF
THE MIXED COMMISSIONS OF DELIMITATION SET UP UNDER THE TREATY OF THE 13th FEBRUARY,1904"


แปลคร่าวๆ ก็คือ

"แผนที่แสดงรายชื่อสถานที่ซึ่งถูกอ้างถึงในรายงานการประชุมของ
คณะกรรมการปักปันเขตแดนร่วมซึ่งจัดตั้งภายใต้สนธิสัญญา 13 กุมภาพันธ์ 1904"


http://wms.cfcambodge.org/mambo/images/stories/CartePreahvihear2.jpg

...

เพื่อความสะดวกผมตัดบางส่วนออกมาลงให้ดู โดยลดความละเอียดลงครึ่งหนึ่ง
ถ้าต้องการดูทั้งหมดก็โหลดฉบับเต็มมาดูได้นะครับ



ตามแผนที่ แนวสันปันน้ำของทิวเขาพนมดงรัก ก็คือ แนวขีดขวางที่มีอักษรกำกับว่า
"ESCARPMENT OF THE DANGREK" แปลคร่าวๆ ก็คือ "แนวสันเขาดงรัก"

ซึ่งเห็นได้ชัดว่า ปราสาทพระวิหาร หรือ "PHRA VIHARN" อยู่เหนือแนวสันปันน้ำ
ซึ่งก็คืออยู่ในเขตแดนไทย ตามสนธิสัญญาที่ระบุ "เขาปันน้ำ" เป็นเส้นเขตแดน


เมื่อถึงจุดแบ่งเขต จ.ศรีสะเกษ กับ จ.สุรินทร์ ตรงช่องสะงำ (ในแผนที่คือช่องเขาที่มี
อักษรกำกับว่า "KEL PASS") เส้นเขตแดนจะหักลงทางทิศใต้ตัดไปที่ทะเลสาบเขมร

ในแผนที่คือเส้นขีดสลับจุด ที่ลากในแนวเหนือ-ใต้ มีลูกศรชี้ และมีข้อความกำกับว่า

"BOUNDARY PROVISIONALLY DECIDED UPON BY
THE COMMISSION OF DELIMITATION ON THE 3rd OF JANUARY 1907"


แปลคร่าวๆ ก็คือ

"เส้นเขตแดนชั่วคราวตามการตัดสินใจของคณะกรรมการปักปันเขตแดนเมื่อ 3 มกราคม ค.ศ. 1907"

แผนที่นี้แสดงเส้นทางสำรวจของคณะกรรมการปักปันฯ ตามแนวลูกศรที่มีอักษรกำกับว่า

"ROUTE FOLLOWED BY THE MIXED COMMISSION OF 1904"

ผมไม่แน่ใจว่าแผนที่นี้เป็นภาคผนวกของสัญญาฉบับไหน แต่น่าจะอยู่ในช่วง ค.ศ. 1907
และอาจเป็นส่วนหนึ่งของแผนที่แนบท้ายสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 นะครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10-08-2008, 00:42 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
indexthai
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 122


« ตอบ #15 เมื่อ: 10-08-2008, 07:14 »

รวมภาพแผนที่การเสียดินแดนไทย 14 ครั้งที่ผ่านมา
http://www.oknation.net/blog/rivermoon/2008/07/06/entry-1
 
บันทึกการเข้า

http://www.oknation.net/blog/indexthai
ค น น อ ก ก ร ะ แ ส
นิรนาม
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 554



« ตอบ #16 เมื่อ: 10-08-2008, 11:07 »

ผมไม่แน่ใจว่าคุณนิรนาม จับประเด็นได้ถูกต้องหรือเปล่านะครับ

เพราะตามแผนที่ที่แสดง ไม่ใช่พื้นที่ที่ยกให้ฝรั่งเศสตามสัญญา
เมื่อปี ค.ศ. 1904 (เสียดินแดนครั้งที่ 7)
แต่เป็นพื้นที่ตามสัญญา
ปี ค.ศ. 1907 (เสียดินแดนครั้งที่ 8 ) ซึ่งเป็นพื้นที่คนละส่วนกัน

ไทยยกพื้นที่บริเวณติดกับบริเวณปราสาทพระวิหาร พร้อมกับพื้นที่
ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ให้ฝรั่งเศสแลกกับ จ.จันทบุรี ตั้งแต่ ค.ศ. 1904
ตามแผนที่ที่ผมยกมาให้ดูประกอบข้างล่างนี้ คือพื้นที่หมายเลข ๗

ส่วนพื้นที่ในแผนที่ที่คุณนิรนามยกมาให้ดู ตรงกับพื้นที่หมายเลข ๘
ซึ่งยกให้ฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1907 แลกกับ จ.ตราด ครับ



...

ข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือ แผนที่ที่คุณนิรนามยกมาให้ดู
ไม่มีการแสดงตำแหน่ง ปราสาทพระวิหาร เอาไว้เลย
และเป็นแผนที่ที่จัดทำจากข้อตกลง 23 มีนาคม 1907
ซึ่งใช้กำกับพื้นที่อื่นไม่เกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร

ทำให้ผมคิดว่าแผนที่ที่คุณนิรนามยกมา ยังไม่ใช่แผนที่
ที่ อ.เทพมนตรี อ้างอิงเป็นหลักฐานว่าปราสาทพระวิหาร
อยู่ในเขตไทย ขณะมีข้อตกลงไทย-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1904


ผมตามลิงค์ที่คุณนิรนามแนะนำ ไปดูไฟล์ต้นฉบับมาแล้ว
ซึ่งอยู่ที่ลิงค์นี้

http://cid-f2b83f81974b406c.skydrive.live.com/self.aspx/boringdaysfiles/thai-map1907-3.jpg

สังเกตว่าชื่อไฟล์คือ thai-map1907-3.jpg มีเลข 3 ต่อท้าย
อาจมีไฟล์อื่นที่ตรงกับพื้นที่ปราสาทมากกว่านี้ก็ได้นะครับ 
ขอบคุณครับอาจารย์..แผนที่ก็อย่างที่บอกนั้นแหละครับ ผมไปเอามาจากลิงค์อีกทีหนึ่ง ซึ่งก็ไม่แน่ว่าจะถูกต้องหรือไม่
อย่างไรก็ตาม..เมื่อมีการเปิดประเด็นขึ้นมาและมีการถกต่อยอด
ผมเชื่อว่าสุดท้ายเราต้องเจอแผนที่ตัวจริงจนได้แหละครับ
บันทึกการเข้า

"คืนที่ดำทะมึนมืดสนิท ยังรอแสงอาทิตย์ส่องสว่าง มีที่ไหนถูกปิดทุกทิศทาง เพียงม่านควันหมอกบางมันพรางตา"ถ้อยวลีของ..ประเสริฐ  จันดำ
ถ้อยวลี - จาก; "บันทึกจากกองร้อย ทหารปลดแอก" โดย..เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
      นักรบจรยุทธอย่างพวกเราไม่รู้ว่าบ้านของตัวเองอยู่ที่ไหน รู้แต่ว่าเรามีปิตุภูมิเป็นของพวกเรา ทุกหนทุกแห่งที่เราล้มตัวลงนอนที่นั่นก็คือบ้าน
“บ้านของเราก็คือประเทศชาติ พ่อแม่ของเราก็คือประชาชน และเราจะไปทุกหนทุกแห่งเพื่อจัดการกับเจ้าคนที่มันเหยียบย่ำบ้านกับพ่อแม่ของเรา”
แอ่นแอ๊น
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,591


"Angela Gheorghiu" My goddess


เว็บไซต์
« ตอบ #17 เมื่อ: 10-08-2008, 12:48 »

จากเอกสารตามลิงค์ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2450/014/344_1.PDF
ผมแกะข้อความระหว่างหน้า 346-347 ในส่วนของ..

"สัญญาว่าด้วยปักปันเขตร์แดน ติดท้ายหนังสือสัญญาลงวันที่ ๒๓ มีนาคม รัตนโกสินทรสก ๑๒๕"

เฉพาะข้อ ๑ ที่กล่าวถึงพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหารคือ "เขาแดงแรก" (พนมดงรัก)
มาให้อ่านกัน โดยพยายามคงตัวสะกด วรรคตอนและการขึ้นบรรทัดใหม่เอาไว้ทั้งหมด
อาจอ่านดูแปลกๆ นิดหน่อย แต่น่าจะสามารถเข้าใจได้อย่างครบถ้วน

การเน้นสี ทำต้วหนา และขีดเส้นใต้ ผมทำเพื่อเน้นจุดสำคัญไม่มีในต้นฉบับนะครับ

..สังเกตว่าท้าย ข้อ ๑ ระบุมีการทำแผนที่แสดงเส้นพรมแดนแนบสัญญาไว้ด้วย..
ซึ่งคงจะเป็นแผนที่ดังกล่าวนี้เองที่ อ.เทพมนตรี อ้างอิงถึงนะครับ 



ลืมบอกว่าลิ้งข้างบนมีคนส่งมาให้อ่านอ่ะ เลยเอามาแปะเผื่อให้ดู เพียงเพื่อจะยืนยันว่า ที่จานเทพแกบอกว่า ปักปันแล้วหน่ะ ปักปันแล้วจริงๆ ส่วนแผนที่ฉบับที่เขมรอ้างนั้น (1908) เป็นฉบับที่ฝรั่งเขียนขึ้นเองโดยที่ฝ่ายไทยไม่รับรู้ ดังนั้นจานแกเลยว่าเป็น แผนที่เก๊ (สนธิสัญญาปักปันเขตแดนต้องรับรู้กันทั้งสองฝ่าย ไม่ใช่ใครนึกอยากจะวาดยังไงก็ได้)

คุณจี ลองไปดูรายการย้อนหลัง ตอบโจทย์ TPBS ตอนสามทุ่มครึ่งค่ะ จานเทพโชว์แผนที่ 2 แผ่น แผ่นนึงน่าจะเป็นฉบับที่คุณนิรนามเอามาแปะนี่แหละค่ะ และก็มีอีกฉบับด้วยค่ะ ถ้าแคปภาพมาได้ ลองดูนะคะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10-08-2008, 13:11 โดย แอ่นแอ๊น » บันทึกการเข้า

       

"เมื่อเจตนาเบี่ยงเบนไปจากความจริง การนำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง บางทีก็เป็นเพียงภาษาสุภาพสำหรับการพูดเท็จนั่นเอง" : วิถีแห่งปราชญ์ พิมพ์ครั้งที่ ๗ หน้า ๒๐๖
หน้า: [1]
    กระโดดไป: