ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
29-03-2024, 06:21
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  "พระไตรปิฏก" ตอน "พระพุทธเจ้าบุกสภาการเมือง--ห้ามทัพ"..(ตำนานพระ+การเมือง) 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
"พระไตรปิฏก" ตอน "พระพุทธเจ้าบุกสภาการเมือง--ห้ามทัพ"..(ตำนานพระ+การเมือง)  (อ่าน 1831 ครั้ง)
oho
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 712


« เมื่อ: 07-08-2008, 21:14 »

http://www.buddharuji.com/index.php?option=com_content&task=view&id=92&Itemid=46




เรื่องราวในพระไตรปิฎกมีว่า  คราวหนึ่ง  พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่นิโครธาราม   ระหว่างนั้นมีการประชุมสภาของพวกเจ้าศากยะ  มีการถกเถียงด่าทอกันเสียงดังลั่น  พระพุทธเจ้าต้องการสอนให้ที่ประชุมสภาได้สติจึงเสด็จไปที่สภาแล้วเสด็จดำเนินผ่ากลางที่ประชุม  พวกเจ้าศากยะไม่พอใจจึงพากันตำหนิพระพุทธเจ้าว่าช่างไม่มีมารยาทเอาเสียเลย เข้ามาได้อย่างไร  เห็นไหมกำลังประชุมกันอยู่  พระพุทธเจ้าจึงทรงตอบกลับไปว่า

“เนสา สภา ยตฺถ สนฺโต”  แปลว่า ที่ประชุมใดไม่มีสัตบุรุษ ที่ประชุมนั้นไม่จัดเป็นสภา 

หรือหากจะถอดเป็นไทยง่าย ๆ ก็ว่า   ที่ประชุมใดไม่มีการประชุมกันอย่างสัตบุรุษที่ประชุมนั้นไม่จัดเป็นสภา    
 

“สัตบุรุษ”  ในทรรศนะของพระพุทธเจ้าก็คือ คนที่กาย วาจา ใจสงบ  โดยเฉพาะเรื่องวาจา  ต้องไม่พูดหรืออภิปรายแบบใช้วจีทุจริต   
วจีทุจริต คือ พูดไม่ดี ได้แก่  พูดเท็จ-พูดโกหก พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ 


ในทางตรงกันข้าม ให้พูดหรืออภิปรายแบใช้วจีสุจริต 
วจีสุจริต คือ พูดดี ได้แก่ พูดคำจริง  ไพเราะ  สุภาพ  และไม่เพ้อเจ้อ




ที่กล่าวมาคือหลักฐานว่า พระพุทธเจ้าทรงเข้าไปเกี่ยวข้องการเมือง  แต่ไปในฐานะเป็น Guru  (อ่านว่า คุรุ  ไม่ใช่ กูรู)  คือ ผู้สอนเขา  ไม่ใช่ไปอาศัยเขาเพื่อไต่เต้าสู่ความยิ่งใหญ่



ส่วนในอรรถกถา (คัมภีร์อธิบายขยายความพระไตรปิฎก) ก็พบว่ามีอยู่หลายเรื่อง แต่จะขอนำมาเล่าสักเรื่องหนึ่ง คือ เรื่องพระพุทธเจ้าห้ามทัพ -ห้ามศึก   

เรื่องนี้ก็เกี่ยวข้องกับพวกเจ้าศากยะพระญาติของพระพุทธเจ้าอีกนั่นแหละ 
พวกเจ้าศากยะ ตั้งอาณาจักรอยู่บริเวณลุ่มน้ำโรหิณี  ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาหิมาลัย   แม่น้ำสายนี้มีความสำคัญในฐานะเป็นแม่น้ำสายเศรษฐกิจของพวกเจ้าศากยะ  เพราะไหลลงมาหล่อเลี้ยงให้ได้กินได้ใช้และทำเกษตรกรรม  และก็มีความสำคัญในฐานะเป็นแม่น้ำที่ทำให้พวกเจ้าศากยะขัดแย้งกันทะเลาะกันบางคราวถึงขนาดยกทัพประจัญหน้ากัน เพราะแย่งน้ำกันทำนา    ความขัดแย้งนี้มีเป็นระยะดูเหมือนก่อนพระพุทธเจ้าเสด็จออกบรรพชาปัญหานี้ก็เกิดขึ้นแล้วด้วยซ้ำไป  และเมื่อพระองค์เสด็จออกบรรพชาได้พรรษาที่ ๕ เสด็จกลับมาโปรดพระญาติ  ก็ยังพบปัญหานี้ก็อยู่  ขณะนั้น
  พระญาติ ๒ ฝั่งน้ำกำลังยกทัพทำศึกประจัญหน้ากัน    พระองค์จึงเสด็จไปอยู่ระหว่างกลางแล้ว  แล้วตรัสถามว่า ระหว่างน้ำกับความเป็นกษัตริย์อย่างไหนมีค่ามากกว่ากัน  จากนั้นจึง ตรัสเตือนสติให้นึกถึงความเป็นญาติพี่น้องกันแล้วแบ่งปันน้ำกัน....



 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07-08-2008, 21:21 โดย oho » บันทึกการเข้า
oho
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 712


« ตอบ #1 เมื่อ: 09-08-2008, 22:39 »

กระทู้แสลงใจแก๊งเหลี่ยม อิอิ+
 
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: