กฤษฎีกา เตือน หมัก รับผิดตั้งที่ปรึกษาฯ เอี่ยวผลประโยชน์ทับซ้อน
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 5 สิงหาคม 2551 11:49 น.

พรทิพย์ จาละ
พรทิพย์ เตือนที่ปรึกษาเข้าร่วมประชุม ครม.ห้ามล้วงข้อมูลไปใช้ แต่ไม่ต้องลาออกจากเอกชน แนะ หมัก ฟังเสียงให้รอบด้าน และต้องรับผิดชอบหากมีเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนเข้ามาเกี่ยวข้อง
วันนี้ (5 ส.ค.) ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล คุณพรทิพย์ จาละ เลขาธิการกฤษฎีกา กล่าวถึงการทำความเห็นตามกฎหมายในการเข้าทำหน้าที่และการเข้าร่วมประชุม ครม.ของคณะที่ปรึกษาของ ครม.ว่า ตนไม่มีความเห็นส่วนตัว แต่การเข้าประชุม ครม.เป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรีว่าจะอนุญาตให้ใครเข้าประชุมได้บ้าง ซึ่งปัจจุบันก็มีอยู่หลายหน่วยที่เข้าประชุม
ถ้า ครม.อนุญาตก็ไม่ได้มีปัญหาทางข้อกฎหมายอะไรแต่ผู้ที่อนุญาตต้องรับผิดชอบและผู้เข้าประชุมก็ต้องรับผิดชอบเหมือนกันว่าข้อมูลอันไหนจะเอาไปใช้ได้หรือไม่ได้อย่างไร อีกทั้งในระเบียบสำนักนายกฯ เรื่องการเข้าประชุมได้กำหนดไว้ว่า คณะรัฐมนตรีมีอำนาจที่อนุญาตให้ใครเข้าประชุมได้บ้าง ก็ไม่น่าจะมีปัญหา คุณพรทิพย์ กล่าว
เมื่อถามว่า การเข้าประชุมจะขัดต่อกฎหมาย 7 ชั่วโคตร หรือกฎหมายผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ เลขาฯ กฤษฎีกา กล่าวว่า เท่าที่จำได้อันนั้นรู้สึกว่ากฎหมายดังกล่าวจะใช้กับรัฐมนตรี และส.ส.เท่านั้น ไม่ได้ขยายความไปถึงที่ปรึกษา เมื่อถามว่าก็แสดงว่าที่ปรึกษาที่ยังมีหุ้นอยู่ในบริษัทเอกชนก็ไม่จำเป็นต้องลาออกจากบริษัทนั้นๆ ใช่หรือไม่ คุณพรทิพย์ กล่าวว่า ตรงนั้นดูจะไม่เกี่ยว เพราะเรื่องของกฎหมายจำกัดสิทธิในการเข้าประชุม ครม.ค่อนข้างจะจำกัดตัวบุคคลอยู่เหมือนกันว่า คนไหนเข้าข่ายบ้าง ดังนั้น ไม่น่าจะมีเรื่องของที่ปรึกษาหรือข้าราชการการเมืองอื่น
เมื่อถามว่า ถ้ามองจากการเป็นหน่วยงานด้านกฎหมาย ถือว่าเป็นการจงใจเลี่ยงกฎหมายที่ไม่แต่งตั้ง ดร.โกร่งและคณะที่ปรึกษาเป็นข้าราชการการเมือง คุณพรทิพย์ กล่าวว่า คิดว่าดูตามความเหมาะสม เพราะว่าแต่ละคนมีความจำเป็นไม่เหมือนกัน เมื่อถามว่าแต่การประชุม ครม.ก็เป็นการอินไซด์ข้อมูล เลขาธิการกฤษฎีกา กล่าวว่า ถ้าเอาไปใช้โดยไม่ชอบก็ต้องรับผิดชอบ คงไม่ได้ความว่าไปใช้โดยเสรี
รับผิดชอบว่าจะไม่เอาอะไรที่ไม่เหมาะสมไปใช้ เพราะข้อมูลที่เป็นความลับใครก็เอาไปใช้ไม่ได้อยู่แล้ว ใครเอาข้อมูลไปใช้โดยเป็นข้อมูลลับไปใช้หาประโยชน์ก็เป็นความผิดอยู่แล้ว โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องกฎหมาย 7 ชั่วโคตรที่ว่าอะไรนั่นหรอก
ส่วนการที่เป็นนักธุรกิจที่ไปล่วงรู้ความลับใน ครม.อันนั้นเป็นเรื่องของความเหมาะสม ผู้ที่แต่งตั้ง ผู้ที่เข้าดำรงตำแหน่งต้องรับผิดชอบเอง คุณพรทิพย์ กล่าว
เมื่อถามว่าทางกฤษฎีกาได้ท้วงติงอะไรหรือไม่ เพราะอาจจะมีการหยิบขึ้นมาเป็นประเด็นทางการเมือง คุณพรทิพย์ กล่าวว่า ใครจะหยิบยกขึ้นมาก็ได้ แต่ถ้าดูตามข้อกฎหมายแล้วไม่ได้มีอะไรมาก แต่ก็ต้องเป็นความรับผิดชอบของผู้แต่งตั้งและผู้รับแต่งตั้งที่ต้องรับทราบฐานะหน้าที่ของตัวเอง
เมื่อถามว่าแล้วจะขัดต่อหลักธรรมาภิบาลในการบริหารราชการแผ่นดินหรือไม่ คุณพรทิพย์ กล่าวพร้อมหัวเราะว่า คิดเอาเอง เพราะตนไม่ทราบ คิดว่าผู้ตั้งคงดูแล้วว่าคงไม่มีปัญหาที่จะเกิดขึ้น เมื่อถามว่ากฤษฎีกาห่วงเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ คุณพรทิพย์ กล่าวว่า ไม่ห่วงเพราะไม่ได้เป็นคนตั้ง แต่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหมคงต้องรับฟังความเห็น เพราะอำนาจตัดสินใจเป็นของท่าน ถ้าท่านรับฟังโดยรอบแล้วจำเป็นที่จะต้องตั้งเพราะต้องอาศัยความรู้ความสามารถก็เป็นความรับผิดชอบของท่าน
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9510000092010 ผมเป็นห่วงการเมืองไทย....
ข้าราชการประจำผู้มีหน้าที่ต้องให้คำแนะนำที่เหมาะสมแก่นักการเมือง ผู้มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ไม่อาจจะแนะนำ เตือนตรงไปตรงมาได้ เพราะรู้เช่นเห็นชาตินักการเมืองว่าไม่สนใจจะฟัง จะยอมรับคำแนะนำที่แปลกแยกจากพวกเขา จาก'อลัชชีกฏหมาย'ของพวก....
ข้าราชการประจำที่มีหน้าที่ จึงต้องพึ่งพา'คุณธรรม จริยธรรม และวุฒิภาวะ'ของนักกาเมืองจะเตือนตนเอง ห้ามตนเอง ยับยั้งตนเองและพรรคพวกไม่ให้ประพฤติชั่ว ละเลยหลักการ'ธรรมาภิบาล'....!!!แม้แต่ตุลาการรัฐธรรมนูญ ผู้พิพากษาในศาลยุติธรรม จึงต้องพิพากษา ลงโทษจำคุก พร้อมอบรม สั่งสอน เตือนสติให้ประพฤติชอบ มีสัมมาทิฐิด้วย และไม่ให้นักการเมืองอื่นๆ ประพฤติตาม เอาเยี่ยงอย่าง..... ปล. ผมใช้ภาษาไทยอย่างสุภาพชน อย่างผู้มีคุณธรรม และ จริยธรรมอย่างนี้ 'ไอ้หอกหัก' ที่ไร้วุฒิภาวะอารมณ์ และพวก 'บัตรเติมเงิน' จะอ่านเข้าใจไหม....ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า