big j
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1

ออฟไลน์
กระทู้: 40
|
 |
« เมื่อ: 03-08-2008, 22:18 » |
|
เฉกเช่นพระพุทธองค์ได้ประกาศพระศาสนาเมื่อ 2 พันกว่าปีที่แล้ว ทรงเป็นขบถต่อความมีวรรณะและชนชั้นในสมัยนั้น หรือถ้าจะเปรียเทียบให้เห็นได้ชัดกว่า เหมือนเมื่อยุคสมัยปลายทศวรรษที่ 50 ของอเมริกา ปรากฎการณ์ของเจมส์ ดีน หรือเอลวิส เพรสลี่ย์ในโลกบันเทิง อเมริกันชนล้วนขนลุกชันกับท่าทีอันกร้าวร้าวของเจมส์ ดีน และท่าเต้นอันเร่าร้อนของเอลวิส เพรสลี่ย์ สังคมอเมริกันสมัยนั้นต่างตระหนกกับกระแสที่แปรเปลี่ยนไปในกลุ่มวัยรุ่น แต่เมื่อตั้งสติรู้ทันได้กลับกลายเป็นวัฒนธรรมใหม่ที่แทบจะกลืนโลกไปทั้งใบ อเมริกาจึงได้ประกาศความเป็นประเทศมหาอำนาจมาจนทุกวันนี้ นี่คือข้อพิสูจน์ให้เห็นถึงผลบวกของการยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างและนวัตกรรมในสังคม
ครับ...สันติอโศกคือขบถของจารีตที่ล้าหลัง หรืออีกนัยหนึ่งสันติอโศกคือนวัตกรรมในสังคมไทยเราวันนี้ จารีตที่ว่าด้วยเรื่องการแยกศาสนาออกจากการเมือง ที่สังคมไทยเราต่างฉงนสนเท่ห์ว่าเป็นพระทำไมถึงมายุ่งเรื่องการเมือง เพราะการเมืองเป็นเรื่องของอำนาจและผลประโยชน์ พระจึงมีหน้าที่เพียงเพื่อปฏิบัติธรรมและมุ่งสู่พระนิพพาน นั่นเป็นข้ออ้างที่ถูกบิดเบือนไปโดยคนที่เมามันอยู่ในอำนาจและผลประโยชน์นั้น การเมืองของประเทศไทยเราจึงเต็มไปด้วยคนถ่***คนหน้าด้านที่ขาดคุณธรรม คนดีมีธรรมะมักจะถูกกีดกันออกมาด้วยเล่ห์เพทุบายของคนเลวพวกนั้น วัฏจักรการเมืองจึงวนเวียนซ้ำซากอยู่แต่ในความเน่าเหม็นมาจนทุกวันนี้
ตลอดเวลากว่า 2 เดือนที่สันติอโศกและกองทัพธรรมได้เข้าร่วมในกลุ่มพันธมิตรฯ ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงวัตรปฏิบัติที่มีวินัย สมถะและเรียบง่ายของเหล่าสมณะ ความเป็นคนที่ขยัน ยิ้มแย้มและมีไมตรีของหมู่กลุ่มชาวสันติอโศก เสมือนหนึ่งมีพลังแห่งความสงบร่มเย็นและมั่นคงฉายประกายส่องแสง อยู่ท่ามกลางความร้อนแรงและแข็งกร้าวของสภาพแวดล้อมรอบข้าง พันธมิตรฯก็มุ่งมั่นทำงานกับการเมืองใหม่ไป สันติอโศกและกองทัพธรรมก็ประกาศสัจธรรมแห่งการเป็นผู้ให้ ผู้เสียสละแก่สังคมอย่างไม่ย่อท้อและเหน็ดเหนื่อย รอวันเวลาแห่งการตัดสินของสังคมที่พร้อมจะมาพิสูจน์กันโดยปราศจากอคติและมุ่งร้ายต่อกัน เพื่อร่วมกันสรรสร้างสังคมไทยให้อยู่ด้วยกันอย่างสันติสุขตลอดการนาน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แอ่นแอ๊น
|
 |
« ตอบ #1 เมื่อ: 03-08-2008, 23:01 » |
|
ไทยรับเอาพุทธศาสนา นิกายเถรวาท เป็นแนวทางหลักค่ะ ส่วนเรื่องรายละเอียดปลีกย่อย มีการตีความด้านวัตรของสงฆ์ ที่อาจจะขัดแย้งกัน ทางสันติอโศก เมื่อตัดสินตามมหาเถระสมาคมก็ยอมรับ แต่รายละเอียดลึกๆ จริงๆ เป็นเช่นไร แอนไม่อยู่ในฐานะที่จะวิจารณ์ได้ค่ะ เพียงแต่อยากจะบอกว่า เรื่องวัตรปฏิบัติ สมถะ เรียบง่ายนั้น น่ายกย่องค่ะ แต่มีข้อแตกต่างอยู่ (ถ้าสนใจจริงๆ มีหนังสือ หาอ่านได้ค่ะ) ส่วนเรื่องพระทำตัวไม่เป็นพระนั้น ทำให้เราเห็นแล้วอาจจะมองว่า เสื่อม แต่อยากจะบอกว่า พระปฏิบัติดี ปฏิิบัติชอบ ยังมีอยู่ค่ะ และไม่ได้ต้องออกนอกทางด้วย ไม่รู้จะตอบไงดี แต่ไม่อยากให้คิดว่า พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ที่ว่า คือจารีตล้าหลัง เพราะมันไม่ใช่แบบนั้นอ่ะ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"เมื่อเจตนาเบี่ยงเบนไปจากความจริง การนำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง บางทีก็เป็นเพียงภาษาสุภาพสำหรับการพูดเท็จนั่นเอง" : วิถีแห่งปราชญ์ พิมพ์ครั้งที่ ๗ หน้า ๒๐๖
|
|
|
bangkaa
|
 |
« ตอบ #2 เมื่อ: 04-08-2008, 00:08 » |
|
พี่น้อง ครับ ท่องตามผมนะครับ
เรามาชุมนุมกันทำไมครับ...
เรามา...
มาทำหน้าที่...
ใช้หนี้แผ่นดิน...
และ...มาทำบุญ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
มาทำหน้าที่... ใช้หนี้แผ่นดิน...และมาทำบุญ...
|
|
|
samepong(ยุ่งแฮะ)
|
 |
« ตอบ #3 เมื่อ: 04-08-2008, 00:17 » |
|
เรื่องนี้ ไร้ความเห็นจริงๆครับ โดยส่วนตัวก็เชื่อว่า ศาสนา กับ ทางโลกควรจะตัดจากกัน แต่เอาจริงๆๆ การเมืองก็อุปการะ ศาสนา ดังนั้นศาสนาอาจจะตอบแทนการเมือง แต่ก็ขึ้นอยู่กับความคิดส่วนตัวละครับเรื่องนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
เวลาจะพิสูจน์ความเชื่อ สักวัน ไม่ว่าความเชื่อนั้นจะถูกหรือผิด ผมขอรับไว้ด้วยตัวเอง คิเสียว่าทำแล้วเสียใจดีกว่าเสียใจที่ไม่ได้ทำ
|
|
|
ป่าเมืองลุง
|
 |
« ตอบ #4 เมื่อ: 04-08-2008, 00:30 » |
|
เห็นด้วยครับที่ว่า พระพุทธเจ้าขบถต่อสังคมวรรณะชนชั้นสมัยนั้น พระองค์ถือได้ว่าเป็นนักปฏิวัติที่ยิ่งใหญ่มาก ทรงมุ่งหมายที่จะสร้างสังคมที่เป็นธรรม พระองค์ไม่ยอมรับความไม่ถูกต้องที่มีอยู่เดิม กล้าที่จะเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สิ่งที่ดีกว่าเกิดขึ้น ผมคิดว่าเรื่องนี้มันน่าจะเป็นข้อสังเกต เรื่องคำสอนทางสายกลางของพุทธศาสนาได้ ว่าทางสายกลางที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ไม่ใช่ให้เป็นกลางระหว่างความดี ความชั่ว ความถูก ความผิด ถ้าพระพุทธเจ้าเป็นกลางระหว่างสิ่งเหล่านี้ พระองค์คงไม่คิดค้นศาสนาพุทธ ในเรื่องของนิกายที่แตกต่างกัน ผมมองว่ามันจะช่วยส่งเสริมซึ่งกันและกัน ให้ศาสนาพุทธดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงครับ เถรวาทกับมหายาน เหมือนกับปีกนกทีมีสองข้างต้องบินไปพร้อมกันครับ ทุกศาสนาในท้่องถิ่นต่างๆ ็จะมีความแตกต่างในวิถีปฏิบัติ ที่จะปรับเข้ากับวัฒนธรรมของท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้องกับกลุ่มคนในท้องถิ่นนั้นๆ พระสายธิเบต สายป่า นิกายเซน หรือสันติอโศก ก็เหมาะกับกลุ่มคนที่แตกต่างกัน สำคัญคือจุดมุ่งหมายของแนวทาง กระทำเพื่อประโยชน์สุขของเพื่อนมนุษย์หรือเปล่า ผมเคยคุยกับสมณะของสันติอโศกทางเน็ตบ่อยๆ ก็รู้สึกว่าท่านมีมุมมอง เรื่องของธรรมะ เรื่องของการดำเนินชีวิตที่ดี ยิ่งสันติอโศกออกมาร่วมต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมร่วมกับพันธมิตร ผมยิ่งศรัทธามากเลยครับ ผมมองว่านักบวชเองก็ต้องทำในสิ่งที่ถูกต้อง เพื่อความอยู่รอด เพื่อความสงบสุขของสังคมเช่นกันครับ *แต่ลัทธิจานบินหลอกลวงประชาชนนี้ ผมมองว่ามันไม่ใช่พุทธศาสนาแล้วละครับ เพราะจุดมุ่งหมายคงไม่ใช่เพื่อเพื่อนมนุษย์ พวกเขาจะทำเพื่ออะไรผมก็ไม่อาจรู้ได้ แต่รู้สึกว่าสิ่งแบบนี้ละครับคืออันตรายของศาสนา ไม่ใช่การที่่นักบวชห่มจีวรสีต่างออกไป วิถีปฏิบัติต่างออกไป แล้วจะเป็นอันตรายต่อศาสนา ผมว่ามันคงไม่ใช่ ขอให้กำลังใจสันติอโศกด้วยนะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"เพื่อลบรอยคราบน้ำตาประชาราษฎร์ สักพันชาติจักสู้ม้วยด้วยหฤหรรษ์ แม้นชีพใหม่มีเหมือนหวังอีกครั้งครัน จักน้อมพลีชีพนั้นเพื่อมวลชน" (จิตร ภูมิศักดิ์) www.oknation.net/blog/peanpean
|
|
|
login not found
|
 |
« ตอบ #5 เมื่อ: 04-08-2008, 00:45 » |
|
การเมืองกับธรรมมันแยกกันไม่ได้หรอกครับ ในอดีตพระมหากษัตริย์ ยังต้องมีพระครูไว้คอยปรึกษา ไว้คอยรั้งสติ กล่อมเกลาจิตใจ แล้วนักการเมืองสมัยนี้เก่งมาจากไหน ทำไมตอนนี้จะขอคำปรึกษาจากพระไม่ได้ จริงๆแล้วยิ่งตำแหน่งใหญ่โต ยิ่งต้องใช้ธรรมในการกำกับมาก และธรรมเหล่านั้นถ้าไม่มาจากพระ จะให้มาจากใคร พระจึงควรทำหน้าที่ชี้แนะสั่งสอนธรรมให้กับผู้ปกครองให้เหมาะสม (ต้องเลือกพระที่เข้าใจ และเลือกธรรมที่จะมาสั่งสอนได้ดีจริงๆ ไม่ใช่มั่วๆเหมือนพระนะจ๊ะ) หรือจะให้ "ธรรม"าภิบาล เป็นแค่คำโก้ๆแต่ชื่อ ไม่ได้มีธรรมจริงๆเลยซักนิดเดียว เรื่องนี้ ไร้ความเห็นจริงๆครับ โดยส่วนตัวก็เชื่อว่า ศาสนา กับ ทางโลกควรจะตัดจากกัน แต่เอาจริงๆๆ การเมืองก็อุปการะ ศาสนา ดังนั้นศาสนาอาจจะตอบแทนการเมือง แต่ก็ขึ้นอยู่กับความคิดส่วนตัวละครับเรื่องนี้
ให้ธรรมเหนือการเมืองครับ สั่งสอนถูกผิดว่าไปตามเรื่อง ไม่ใช่ใช้ธรรมเป็นเครื่องมือทางการเมือง เอาพระจูงลูกศิษย์ตามตูดนักการเมืองอย่างนั้น เวลาทำผิดจะได้รู้ว่าผิดจากธรรม ผิดแต่พองามเพื่อประเทศชาติ ไม่อย่างนั้นคงจะมีโคตรโกง โกงทั้งโคตรไม่รู้จบ ปล. สันติอโศกไม่ใช่ไม่ดี แต่บางเรื่องก็เข้มเกินไป บางคนเลยปฏิบัติตามไม่ได้ อันนี้ก็ต้องเข้าใจ และต้องเลือกทำในสิ่งที่ดีที่สุดกันเอาเอง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
amm
|
 |
« ตอบ #6 เมื่อ: 04-08-2008, 01:05 » |
|
เราไม่เข้าสันติอโศก แต่เราก็ฟังท่านจันทร์สนทนาธรรมก็นำไปใช้ชีวิตประจำวันได้ เรายึดความถูกต้อง อย่าอคติ ทำความเข้าใจ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
cameronDZ
|
 |
« ตอบ #7 เมื่อ: 04-08-2008, 01:15 » |
|
สิ่งที่ จขกท. กล่าว หมายถึง จุดเริ่มต้น ของศาสนา นี่ครับ (จะศาสนาใดก็แล้วแต่) ก็มักจะเป็นการ ขบถ ไปจากจารีต ความเชื่อเดิม แทบทั้งนั้น
แต่สิ่งต่อมา ที่จะทำให้ "ศาสนา" ดำรงอยู่ คือ "องค์กร" ครับ
ข้อนี้ เราปฏิเสธ ไม่ได้ ศาสนาคริสต์ หรือ พุทธ ดำรงมายาวนาน ก็เพราะสร้าง "ศาสนจักร" (อาณาจักรแห่งศาสนา) ให้เข้มแข็ง
โดยหลักความเป็นจริง "ศรัทธา" อย่างเดียว ดำรงอยู่ไม่ได้หรอกครับ ต้องสร้างองค์กรที่เข้มแข็ง ยั่งยืน รองรับเด้วย
แนวคิดแบบ "สันติอโศก" ยังไปไม่ถึงจุดนั้น ทั้งที่ก็มีองค์กรรองรับที่ค่อนข้างเข้มแข็ง เพราะอะไร?
แต่ทำไม แนวคิดแบบ "สำนักพุทธทาส" ถึงไปเลยจุดนั้น ก็ไม่รู้เหมือนกัน
ลองคิดกันเล่น ๆ ดู
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ข้าพเจ้าอยู่ที่นี่มาหลายปี ยังไม่เคยได้รับคำขอโทษ ขอขมา จากใครแม้แต่สักคนเดียวเลย ...เช่นกัน คำขอบคุณ ก็ยังไม่เคยมีสักคำ... แต่ข้าพเจ้าคิดว่า ในใจพวกเขาคงคิดคำเหล่านี้อยู่บ้างหรอก ...แค่คิด ไม่ต้องบอกออกมา ข้าพเจ้าก็พอใจแล้ว...
|
|
|
สมชายสายชม
|
 |
« ตอบ #8 เมื่อ: 04-08-2008, 01:16 » |
|
...
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04-08-2008, 01:49 โดย สมชายสายชม »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
login not found
|
 |
« ตอบ #9 เมื่อ: 04-08-2008, 01:25 » |
|
^ นั่นอารัมภบทเพื่่ออธิบายว่าสันติอโศกแตกต่าง มายุ่งกับการเมืองเพื่อสร้างการเมืองใหม่ที่มีธรรมะ
ชมครับ ไม่ได้เหยียดหยาม.......
-------------------------------------------------------------------------------
สันติอโศกคือขบถของจารีตที่ล้าหลัง หรืออีกนัยหนึ่งสันติอโศกคือนวัตกรรมในสังคมไทยเราวันนี้ จารีตที่ว่าด้วยเรื่องการแยกศาสนาออกจากการเมือง ที่สังคมไทยเราต่างฉงนสนเท่ห์ว่าเป็นพระทำไมถึงมายุ่งเรื่องการเมือง
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04-08-2008, 01:27 โดย login not found »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Can ไทเมือง
|
 |
« ตอบ #10 เมื่อ: 04-08-2008, 01:40 » |
|
ก็น่าจะถูกต้องแล้ว การเมืองต้องมี "ธรรมะ" กำกับ
ท่านโพธิรักษ์ สนใจการออกจากทุกข์ หรือ หาทางลดทุกข์ มาตั้งปี 2512
ช่วงแรกมีสำนักที่นครปฐม เรียกว่า "ปฐมอโศก"
ออกหนังสือ เรื่อง กิน กาม ฯลฯ ออกมาเผยแพร่ให้ชาวพุทธศึกษา ออกแนวเซ็น ด้วยซ้ำไป
ปี 2516 ช่วง 14 ตุลาคม ก็ออกเดินบิณฑบาตเช้าวันมหาวิปโยคที่สนามหลวง
สถานที่พักช่วงนั้น ท่านโพธิรักษ์ อาศัย ห้องภาพสุวรรณ( สี่แยกบางขุนพรหม )ที่ทำหนังสือ สตาร์ พิคส์ เป็นโรงพิมพ์เผยแพร่แนวคิด
ที่ไปใช้ตรงนั้นเพราะช่วยกันทำหนังเรื่องโทน ก่อนออกบวช 1 ปี
เมื่อเริ่มมีคนสนใจมาก มีคนวิพากษ์กันมาก เคยเห็นท่านอาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ( หลังลงจากการเป็นนายกรัฐมนตรี ) ไปนั่งสนทนาธรรม
ศาสนากับวิถีชีวิต คงแยกจากกันไม่ได้ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
sensei
|
 |
« ตอบ #11 เมื่อ: 04-08-2008, 01:51 » |
|
อาจจะแตกต่างจากพุทธโดยปกติไปหลายประการแต่อย่างน้อยคำสอนนำไปใช้ได้ พิธีกรรมการแสดงออกก็สำรวม ไม่หรูหราฟู่ฟ่าอะไร ไม่ให้ความสำคัญกับวัตถุ-ทรัพย์สินอย่างเห็นได้ชัดเหมือนวัดบางวัด(ที่แตกต่างจากพุทธสายหลัก 2 สายของประเทศ) และมีการสอนที่น่าฟัง รู้สึกร่มเย็น ไม่มี MV ที่ตัวแสดงเป็นสิงสาลาสัตว์ออกมากระโดดโลดเต้นเพลงธรรมะเหมือนบางวัด 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Can ไทเมือง
|
 |
« ตอบ #12 เมื่อ: 04-08-2008, 02:17 » |
|
ช่วงที่สังคายนาครั้งแรก ประมาณปี พ.ศ.500
เห็นบอกว่า ศาสนาพุทธมีมากมายถึง 50 กว่านิกาย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
|
ลูกหินฮะ๛
|
 |
« ตอบ #15 เมื่อ: 04-08-2008, 03:00 » |
|
มันมือ ขออีกนิด
หนังสือ ประเทศอื่น : มีหนังสือ พุทธศาสนามากมาย แต่เป็น พระไตรปิฏก ที่แปลเป็น เรื่องเป็นตอน แทบทั้งหมด
ประเทศไทย : มีหนังสือธรรมมะ แยะที่สุดในโลก แต่เขียนโดยพระสงฆ์ และไม่มีเนื้อหาของพระไตรปิฏกฉบับพระพุทธเจ้า มีแต่ เนื้อหา ที่ อุปโลก เขียนอ้างคำสั่งสอนพระพุทธเจ้า ทั้งๆตามไปเปิดดู ในฉบับจริง เจือกม่ายมีอ่ะฮะ
ขอโทษอีกทีฮะ อาจไม่ถูกใจ เพื่อนคนไทยที่นับถือพุทธ
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04-08-2008, 03:20 โดย ลูกหินฮะ๛ »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ลูกหินฮะ๛
|
 |
« ตอบ #16 เมื่อ: 04-08-2008, 03:07 » |
|
ศาสนิกชน
การนับถือ ประเทศอื่น : พระพุทธเจ้า เหมือน ผู้คิดค้น หรือ ผู้อำนวยการ พระธรรม เหมือน หนังสือ ที่ ผู้คิดค้นแต่ง พระสงฆ์ เหมือน ครุ หรือพี่เลี๊ยง แนะนำช่วยชี้แจง
ประเทศไทย : พระพุทธเจ้า เหมือน เครื่องศักการะ เวลาคนรู้สึก กลัว ลำบาก หรือ กลัวผี พระธรรม เหมือน หนังสือที่เก็บไว้ในห้องสมุด ไว้หนุนนอน พระสงฆ์ เหมือน ผู้วิเศษ ใครเก่งใครเจ๋ง ใครที่ มีอิทธิฤทธิ เก่งกว่ากัน นั่งญานไปเที่ยว แล้วมาโม้ให้ฟัง เจ๋งกว่า พระพุทธเจ้า
การปฎิบัติ ประเทศอื่น :
Action = Re-Action รู้กรรม = รู้ผลของกรรม ( ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว)
ประเทศไทย :
ทำกรรม แล้วค่อยคิด ทำบุญ เพื่อแก้ ผลกรรม ภายหลัง (เก่งซะม่ายมี รู้จักเป็นช่างซ่อม ผลกรรม) จึง เป็นเหตุ เกิดของวิชา อวิชา ไสยาศาสตร์ หรือ ไสยเวช เป็นต้น ไทย เขมร พม่า
ขอโทษอีกทีฮะ อาจไม่ถูกใจ เพื่อนคนไทยที่นับถือพุทธ
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04-08-2008, 03:41 โดย ลูกหินฮะ๛ »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
indexthai
|
 |
« ตอบ #18 เมื่อ: 04-08-2008, 06:47 » |
|
เศรษฐกิจ สังคม การเมือง ตามปรัชญาองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า 1) "ศักดิโนมิคส์ ทักษิโณมิกซ์" เขียนด้วยกัน 3 คน เป้าหมายแจก 100,000 เล่ม .. ศักดิโนมิคส์ ทักษิโณมิกซ์ ...โดย สุทธิพงษ์ ปรัชญพฤทธิ์ .. เศรษฐกิจพอเพียง บนรากฐานการงานเพื่อชีวิต (สัมมาอาชีวะ) ..โดยบัญชา ตั้งวงษ์ไชย .. สุขภาวะในเศรษฐศาสตร์บุญนิยม ..โดยพิทยา ว่องกุล 2) "การลอกคราบเป็นการเมืองใหม่" ...โดยพ่อท่าน สมณะโพธิรักษ์ เป้าหมายแจก 100,000 เล่ม หนังสือแจก ..ในชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย http://www.oknation.net/blog/indexthai/2008/07/19/entry-1 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
indexthai
|
 |
« ตอบ #19 เมื่อ: 04-08-2008, 06:50 » |
|
ไม่นำทรัพยากรณ์ของระบบมาเป็นส่วนตน ละ โลภ โกรธ หลง กิเลส และอบายมุขทั้งปวง ไม่มีบุหรี่ เหล้าเบียร์ สลากกินแบ่ง หวยบนดิน ใต้ดิน อยู่ด้วยศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 เจริญสัมมามรรคทั้ง 8 อุทิศ แรงกาย แรงใจ แรงความคิด จิตวิญญาณ สินทรัพย์.. แก่ชุมชน และสาธารณะ ทำให้ชุมชนมั่นคง แข็งแกร่ง.. เป็นที่พึ่งของระบบ ชุมชนโลกุตระ ที่สะพานมัฆวานฯ (ภาพ) http://www.oknation.net/blog/indexthai/2008/06/11/entry-1 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
หาเพื่อนหยิงคุยแก้เหงาครับ
|
 |
« ตอบ #21 เมื่อ: 04-08-2008, 07:07 » |
|
ดีชั่วอยุ่ที่ตัวทำ สูงต่ำอยู่ที่ทำตัว ง่ายๆสั้นๆ ผมไม่เห็นต้องอ่าน อะไรที่มันต้อง ยาวเฟื้อย แบบนี้เลี๊ยย  ในศีล5 ผมชอบไม่กี่ข้อหรอก ชอบข้อแรก อย่าเบียดเบียน ผู้อื่น ดีมาก ข้อสอง เฉยๆ เพราะบางที การโกหก คือหนทาง อย่างหนึ่ง เพื่อ ความสงบ ในโลกนี้ ไม่มีใครไม่โกหก เหมือนที่แม่โกหกว่าอิ่ม เพื่อให้ลูกได้กิน ทั้งที่ตัวเอง จะหิวก็ตาม ^^ ข้อ สาม ชอบม๊ากๆๆ ข้อสี่ หนูเปล่าน้า เค้ามาเอง หนูเปล่า น้า เค้ามาเอง 5555+ อิคึอิคึ ข้อ5 อันนี้เฉยๆ กินบ้างเป็นครั้งคราว แต่ก็ไม่ได้ โชว์พาว ดื่ม จน ลืมบ้าน ^^
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
p
|
 |
« ตอบ #22 เมื่อ: 04-08-2008, 07:47 » |
|
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04-08-2008, 07:51 โดย p »
|
บันทึกการเข้า
|
ถ้ามัวคิดแต่จะโกงและเอาเปรียบคนอื่น จะสอนลูกหลานให้เป็นคนดีได้อย่างไร
|
|
|
|
Caocao
|
 |
« ตอบ #24 เมื่อ: 04-08-2008, 09:16 » |
|
ผมเอาโศลกของเซนมาฝาก เป็นบทเปรียบเทียบตอนคัดเลือกสังฆปรินายกองค์ที่ 6 ใจเราคือกระจก กายเราคือต้นโพธิ เราต้องค่อยดูแลเช็ดถู ไม่ให้ฝุ่นมาจับกระจกอันแรกนี้เป็นของศิษย์เอกในสำนักเซน ผู้ที่ทุกคนคาดว่าจะได้สืบตำแหน่ง ดูอันต่อมา ใจเราไม่ใช่กระจก กายเราไม่ใช่ต้นโพธิ แล้วฝุ่นจะจับอะไร อันนี้เป็นของเว่ยหลาง เด็กวัดไม่รู้หนังสือ ซึ่งต่อมาได้ดำรงตำแหน่งสังฆปรินายกองค์ที่ 6 ของเซน ถ้าสังเกตุว่าทำไมเว่ยหลางถึงได้รับเลือกก็พิจารณาได้ว่า โศลกแรกเต็มไปด้วยอัตตา ยึดมั่นถือมั่น คล้ายๆลัทธิจานบินบ้านเรา คือสลัดไม่หลุดจากปัจจัย แต่โศลกของเว่ยหลาง บรรยายความเป็นอนัตตาโดยแท้ อิอิอิ สำหรับบ้านเรา พระที่นำวิถีเซนมาประยุกต์ใช้อย่างชัดเจน คือ ท่านพุทธทาส ภิกขุ นั่นเอง สำหรับข้อแสดงของจขกท. ลองพิจารณาดู ถ้าทุกสิ่งมันว่าง จำเป็นไหมที่พระพุทธองค์จะต้องขบถ เพียงแค่เท่าทันกับเหตุแห่งการก่อรูป และวิถีแห่งการดับรูป ก็เพียงพอแล้ว เพราะลำพังจะขบถต่อความไม่มีหรือความว่างได้อย่างไร จริงไหม แนะนำให้ไปอ่านเซนเล่นๆ อย่าหลงไปคุยกับพระแบบนะจ๊ะ เดี๋ยวจะเสียเงินเสียทองซะปล่าวๆ ว่าไปแล้วก็ชักสงสัย ความสัมพันธ์ของอีจ๊ะ กับพระนะจ๊ะ อิอิอิ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
หลับเถิดทหารกล้า ปวงประชาจะคุ้มครอง
|
|
|
almondflavor
|
 |
« ตอบ #25 เมื่อ: 04-08-2008, 09:53 » |
|
พระสงฆ์ สมัยนี้ หาที่เป็น สงฆ์ จริงๆยาก
ดูได้จาก ...พันทิปวนาราม....
เคยพูดกับเพื่อนว่าถ้าไม่มีเวลาไปวัดแล้วอยากถวายสังฆทาน
หิ้วถังไปพันทิปสิ มีพระให้ถวายสัฆทานได้จนห้างปิดนั้นแหละ
โดยส่วนตัวที่บ้านแทบจะติดกับรั้ววัดตั้งแต่เด็ก
เด็กๆก็เรียนที่โรงเรียนวัด
จึงทำให้ถูกผู้ชายที่ห่มผ้าเหลืองแซว อย่างหยาบๆบ่อยๆ
เห็นแม้กระทั้ง ต่อยกัน กินเหล้าขาว และสูบบุหรี่
เนื่องจากต้องมาซื้อที่ร้านปากซอยบ้านเรา
ทำให้สิ่งที่ทำให้เรายังเป็นชาวพุทธ คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ในพระพุทธศาสนาเท่านั้น เราไปวัดทำบุญเพื่อป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ
ไม่มีตัวตนของพระองค์ไหน ที่ยึดมั่นถือมั่นเลย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
big j
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1

ออฟไลน์
กระทู้: 40
|
 |
« ตอบ #26 เมื่อ: 04-08-2008, 12:25 » |
|
ไทยรับเอาพุทธศาสนา นิกายเถรวาท เป็นแนวทางหลักค่ะ ส่วนเรื่องรายละเอียดปลีกย่อย มีการตีความด้านวัตรของสงฆ์ ที่อาจจะขัดแย้งกัน ทางสันติอโศก เมื่อตัดสินตามมหาเถระสมาคมก็ยอมรับ แต่รายละเอียดลึกๆ จริงๆ เป็นเช่นไร แอนไม่อยู่ในฐานะที่จะวิจารณ์ได้ค่ะ เพียงแต่อยากจะบอกว่า เรื่องวัตรปฏิบัติ สมถะ เรียบง่ายนั้น น่ายกย่องค่ะ แต่มีข้อแตกต่างอยู่ (ถ้าสนใจจริงๆ มีหนังสือ หาอ่านได้ค่ะ) ส่วนเรื่องพระทำตัวไม่เป็นพระนั้น ทำให้เราเห็นแล้วอาจจะมองว่า เสื่อม แต่อยากจะบอกว่า พระปฏิบัติดี ปฏิิบัติชอบ ยังมีอยู่ค่ะ และไม่ได้ต้องออกนอกทางด้วย ไม่รู้จะตอบไงดี แต่ไม่อยากให้คิดว่า พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ที่ว่า คือจารีตล้าหลัง เพราะมันไม่ใช่แบบนั้นอ่ะ  นั่นแหละ เป็นประเด็นของผมล่ะ คุณแอ่นแอ๊น การที่เรารับเอาเถรวาทเป็นหลักยึดในพระศาสนา ไม่ได้แปลว่าคุณจะต้องปฏิเสธในแนวคิดนิกายหรือศาสนาอื่นๆ หรือแม้แต่ในการตีความนิกายเถรวาทด้วยกันเอง ก็มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันอยู่ไม่น้อย ที่ถูกต้องก็คือการน้อมรับเอาความต่างนั้นมาพิจารณาอย่างมีสติ โดยไม่มีจิตอคติและมุ่งร้ายต่อกัน ที่ผมกล่าวอ้างถึงสังคมอเมริกันเป็นตัวอย่าง ก็เพราะเขาได้ก้าวผ่านประสพการณ์ที่เลวร้ายของความคิดต่างในสังคมมาแล้ว ในช่วงปีทศวรรษที่ 60 ของประเทศสหรัฐอเมริกา หลังเกิดกระแสขบถในกลุ่มวัยรุ่นที่ไม่ยอมรับแบบแผนอันคร่ำครึของผู้ใหญ่ การต่อต้านลัทธิการเหยียดผิวได้กระจายไปทั่ว นักต่อสู้มวลชนอย่างมัลคอม เอ็กซ์ และดร.มารติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ก็ถูกฆ่าสังเวยให้กับความรุนแรง การประท้วงต่อต้านสงครามเวียดนามขยายวงกว้าง กำเนิดลัทธิบุปผาชนหรือฮิปปี้ที่ไม่ยอมรับวิถีชิตแบบดั้งเดิม ประเทศอเมริกาตอนนั้นแทบแตกออกเป็นเสี่ยงๆ แต่เพียงชั่วไม่ถึง 20 ปีเขาก็สามารถกอบกู้ประเทศของเขากลับมาได้อย่างภาคภูมิ ด้วยความรู้สึกนึกคิดที่เปิดกว้างและมีสติรู้เท่าทันของพลเมืองอเมริกันเอง ทุกวันนี้อเมริกาได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่สามารถหล่อหลอมเอาความแตกต่าง ทั้งทางเผ่าพันธุ์ เชื้อชาติ ตลอดจนความคิดเห็นที่หลากหลายให้กลมกลืนเข้าด้วยกันได้ดีที่สุดในโลก นี่ผมขอพูดชมแค่บริบททางด้านสังคมเท่านั้นนะครับ ย้อนกลับมายังประเทศไทยบ้านเราที่มีประชาธิปไตยมาก็มากกว่า 70 ปี ผ่านความรุนแรงทางสังคมมาก็กลายครั้งหลายครา แต่เราไม่เคยจดจำเอาบทเรียนเหล่านนั้นมาก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมโดยรวม ทุกวันนี้เรามีความคิดเห็นที่ต่างกันในทุกระดับชั้น นับตั้งแต่ผัวเมียพ่อแม่ลูกหลานญาติพี่น้องเพื่อนฝูงชุมชน ต่างมีแนวคิดที่เห็นต่างกันอย่างสิ้นเชิงโดยเฉพาะในด้านการเมือง เราทุกคนควรมีสติให้รู้เท่าทันว่าความคิดเห็นต่างนั้นมีได้และต้องให้ความเคารพในความคิดเห็นต่างนั้นด้วย แต่คนไทยทุกวันนี้เป็นอย่างเช่นเพลง The Sound of Silence ของไซมอน แอนด์ การ์ฟังเกลที่ว่า People talking without speaking, People hearing without listening, People writing songs that voices never shareต่างล้วนมืดบอดอยู่กับความยึดมั่นถือมั่นในอัตตาของตัวเอง เหมือนอย่างที่คุณโจโฉ ยกเอาโศลกของชินเชาขึ้นมาว่า ใจเราคือกระจก กายเราคือต้นโพธิ เราต้องค่อยดูแลเช็ดถู ไม่ให้ฝุ่นมาจับกระจกหรือที่ท่านพุทธทาสอธิบายสรุปว่าเป็น ตัวกูของกู นั้นแล
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
oho
|
 |
« ตอบ #27 เมื่อ: 04-08-2008, 13:29 » |
|
ให้พวกควายสันดานเหื้ยเหลี่ยมแก๊งโจรไว้ได้ศึกษา ..จะได้ไม่เที่ยวไปโชว์ควายที่ไหน อิอิ+   *************************************** http://www.asoke.info/01Religion/Buddhastan/santi-asoke/santinakon01.html 1/5 พุทธสถานสันติอโศก (สถานที่ปฏิบัติธรรม) ตั้งอยู่ ที่ เลข ที่ ๖๕/๑ ซ.เทียมพร ถนนนวมินทร์ แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐ โทร. ๐๒-๓๗๔๕๒๓๐ บนเนื้อ ที่ประมาณ ๗ ไร่ ถือเป็นศูนย์กลาง ของชาวอโศก ในการเผยแพร่ธรรม เป็นแหล่งผลิตสิ่งพิมพ์ และ สื่อสารสัจจะ โดยมี มูลนิธิธรรมสันติ เป็นผู้อนุเคราะห์ กำเนิด "สันติอโศก"เริ่มต้นจาก นายรัก รักพงษ์ ซึ่งปัจจุบันคือ สมณะโพธิรักษ์ ได้ปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดมาตั้ง แต่สมัยเป็นฆราวาส ทั้งๆ ที่ยังเป็นนักจัดรายการ และ โฆษกทีวีอยู่ ที่ช่อง ๔ บางขุนพรหม จากการถือศีล ปฏิบัติธรรมอย่างเอาจริงเอาจัง เช่น เลิกอบายมุขทุกชนิด เลิกกินเนื้อสัตว์ บริโภคอาหารมังสวิรัติวันละ ๑ มื้อ เลิกจากคู่หมั้นคู่หมาย ที่คิดจะ แต่งงานด้วย และ สุดท้ายก็ยื่นใบลาออกจากงาน แจกทรัพย์สินทั้งหมดให้น้องๆ ไป ทั้ง ที่ชีวิตในขณะนั้นกำลังเจริญก้าวหน้าด้วย ลาภ ยศ สรรเสริญ และ โลกียสุขต่างๆ (มีรายได้เดือนละประมาณ ๒๐,๐๐๐ บาท ขณะ ที่นายก รัฐมนตรีสมัยนั้นมีเงินเดือนประมาณ ๑๒,๐๐๐ บาท และ ในช่วงนั้นธุรกิจทำภาพยนตร์เรื่อง โทน ทั้งเพลงประกอบภาพยนตร์ ที่ แต่ง เช่น เพลงฟ้าต่ำแผ่นดินสูง เพลงชื่นรัก เพลงกระต่ายเพ้อ เป็นต้น กำลังโด่งดัง ได้รับความนิยมอย่างสูง)หลังจากได้ปฏิบัติธรรมอย่างเอาจริงเอาจัง ตลอดมาเป็นระยะเวลา ๒ ปี จนสละละทิ้งอบายมุข โลกธรรม กามคุณ ได้หมดสิ้นจนเกิดความเชื่อมั่นว่า ตนได้บรรลุความจริง และ เห็นความจริงในตนแล้ว (ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ) และ มีความแน่ใจว่าการปฏิบัติธรรม ที่เอาจริง เป็นสัมมาย่อมบรรลุความจริง (อริยสัจธรรม)ต่อมาเมื่อวัน ที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๓ จึงได้เข้าอุปสมบท ที่วัดอโศการาม ในคณะธรรมยุติกนิกาย ได้รับฉายาว่า พระโพธิรักขิโต โดยมี พระราชวรคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อท่านโพธิรักษ์ได้เข้ามาบวชในธรรมยุตแล้ว ด้วยปฏิปทา ที่เคร่งครัด และ จริยวัตร ที่สงบสำรวม จึงก่อให้เกิดความศรัทธาเลื่อมใส มีผู้มาขอศึกษาฝึกฝนปฏิบัติตามด้วย ทั้งฆราวาส และ นักบวช ซึ่งมีทั้งพระธรรมยุต และ มหานิกาย ต่อมาเมื่อวัน ที่ ๒ เมษายน ๒๕๑๖ ท่านโพธิรักษ์ได้รับการสวดญัตติจตุตถกรรมอีกครั้ง เข้าเป็นพระ ของคณะมหานิกาย เพิ่มเข้าไปอีกคณะหนึ่งโดยมิได้ทำการสึก แต่อย่างใด ที่วัดหนองกระทุ่ม อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม โดยมีพระครูสถิตวุฒิคุณเป็นพระอุปัชฌาย์ เหตุ ที่ต้องทำเช่นนี้เพราะพระอุปัชฌาย์ฝ่ายธรรมยุตท่านไม่ต้องการให้พระทางฝ่ายมหานิกายมาอยู่ร่วมศึกษาอบรมด้วย แต่ท่านโพธิรักษ์เจตนามุ่งสารสัจธรรมเป็นใหญ่ ไม่ติดใจในเรื่องนิกาย จึงมีพระทั้งมหานิกาย และ ธรรมยุต มาร่วมศึกษาฝึกฝนอยู่กับท่าน โดยยึดพระธรรมวินัยเป็นหลักสำคัญ } ท่านโพธิรักษ์เจตนามุ่งสารสัจธรรมเป็นใหญ่ ไม่ติดใจในเรื่องนิกาย จึงมีพระทั้งมหานิกาย และ ธรรมยุต มาร่วมศึกษาฝึกฝนอยู่กับท่าน โดยยึดพระธรรมวินัยเป็นหลักสำคัญ ~ ดังนั้นเพื่อความสบายใจ ของอุปัชฌาย์ ที่ท่านถือในนิกาย ท่านโพธิรักษ์ จึงได้คืนใบสุทธิให้ธรรมยุตไป แล้วถือใบสุทธิมหานิกายเพียงใบเดียว เมื่อ ๒๕ เมษายน ๒๕๑๖ แต่ท่านโพธิรักษ์ก็ถือว่าท่านเป็นพระทั้งสองนิกาย ท่าน จึงมีพระทั้งจากมหานิกาย และ ธรรมยุตมาศึกษาฝึกฝนอยู่ด้วย เพราะท่านโพธิรักษ์ไม่ได้รังเกียจนิกายใดๆ แต่มุ่งหมายทำงานให้พระศาสนาโดยส่วนรวม เพียง แต่ไม่ให้ผิดพระวินัยเป็นสำคัญต่อมาเมื่อวัน ที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๑๘ ท่านโพธิรักษ์ และ หมู่สงฆ์ชาวอโศก ๒๑ รูป ได้ประกาศลาออกจากมหาเถรสมาคมในคราว ที่มีการประชุมพระสังฆาธิการ และ พระใหม่ ๑๘๐ รูป ที่วัดหนองกระทุ่ม การประกาศลาออกจากมหาเถรสมาคมในครั้งนั้น ในทางธรรมวินัยถือว่าเป็นการทำ นานาสังวาส ซึ่งเป็นนิติประเพณีในทางพุทธศาสนา ที่ให้อิสระเสรีภาพกับชาวพุทธ } การประกาศลาออกจากมหาเถรสมาคมในครั้งนั้น ในทางธรรมวินัยถือว่า เป็นการทำ นานาสังวาส ซึ่งเป็นนิติประเพณีในทางพุทธศาสนา ที่ให้อิสระเสรีภาพกับชาวพุทธ ~ เมื่อเกิดความแตกต่างทางความคิดเห็น และ การมี พุทธพจน์ตรัสไว้ว่า ทิศทาง ของผู้แสวงหาลาภ และ นิพพานย่อมสวนทางกัน เนื่องจากคณะสงฆ์ชาวอโศกมีความแตกต่างกันทั้งด้านวัตรปฏิบัติ (พิธีกรรม-พฤติกรรม- และ กิจกรรม) อีกทั้งหัวข้อคำสอน (อุเทศ) ที่อธิบายชี้แจงแสดงบอกก็แตกต่างกัน และ แนวทางการศึกษาอบรมฝึกฝนตนอันนำไปสู่ความพ้นทุกข์ (อธิศีล-อธิจิต-อธิปัญญา ที่เป็นไตรสิกขา) ก็แทบจะตรงกันข้าม ด้วยความแตกต่างทั้งหมดนี้ คือสภาพความเป็น นานาสังวาส โดยธรรม จึงทำให้สมณะชาวอโศก มีความจำเป็นต้องประกาศแยกตัวออกมา ให้ถูกธรรมวินัย ตามหลัก ของ นานาสังวาสภูมิ } มีพุทธพจน์ตรัสไว้ว่า ทิศทาง ของผู้แสวงหาลาภ และ นิพพานย่อมสวนทางกัน ~ ชาวอโศกมักจะได้รับการกล่าวตู่โจษท้วงว่า การประกาศลาออกจากการปกครอง ของมหาเถรสมาคมเช่นนี้ ถือว่าเป็นการล่วงละเมิดกฎหมายบ้านเมือง โดยถูกกล่าวหาว่า พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ๒๕๐๕ ใช้บังคับแก่พระสงฆ์ทุกรูป คณะสมณะชาวอโศกไม่มีสิทธิลาออกหรือประกาศตนไม่อยู่ใต้บังคับ ของพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ๒๕๐๕ โดยอ้างกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยว่า คนไทยต้องมีหน้า ที่ปฏิบัติตามกฎหมาย เมื่อกฎหมายไม่ได้ให้การยกเว้นไว้ จึงไม่มีผลให้คณะสงฆ์ชาวอโศก ลาออกจากมหาเถรสมาคม ไปได้การตีความดังกล่าวนี้ นับว่าเป็นการตีความโดยปราศจากหลักการ และ วิธีการในการตีความตามกฎหมาย กล่าวคือ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ไทย พ.ศ.๒๕๐๕ เป็นกฎหมาย ที่มีบทกำหนดโทษ จึงเป็นกฎหมาย ที่มีโทษอาญา ดังนั้นการตีความ ต้องตีความโดยเคร่งครัด ตามความในมาตรา ๒ ตามประมวลกฎหมายอาญา และ ต้องไม่ขัดกับ รัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายใช้อยู่ในขณะนั้นพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ๒๕๐๕ เป็นกฎหมายสาระบัญญัติ การตีความกฎหมายนั้นต้องอยู่ภายใต้หลักการ ที่ว่า ถ้าไม่มีกฎหมายห้ามก็ไม่มีความผิด และ ไม่มีโทษ ซึ่งสอดคล้องกับมาตรา ๒ แห่งประมวลกฎหมายอาญา ที่บัญญัติว่า บุคคลจะต้องรับโทษในทางอาญา ต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมาย ที่ใช้ในขณะกระทำเท่านั้น บัญญัติเป็นความผิด และ กำหนดโทษไว้ และ โทษ ที่จะลงต่อผู้กระทำผิดนั้น ต้องเป็นโทษ ที่กำหนดไว้ในกฎหมาย เมื่อพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ๒๕๐๕ ไม่ได้ห้ามไม่ให้มีการประกาศลาออกไว้ จึงถือว่าไม่มีกฎหมายกำหนดห้ามไว้ดังนั้น การประกาศลาออกจากการปกครอง ของมหาเถรสมาคมนั้น คณะสมณะชาวอโศก จึงสามารถกระทำได้ ไม่เป็นการขัดแย้งกับพระธรรมวินัยตามหลัก นานาสังวาส ด้วย และ เป็นการสอดคล้องกับ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๒๑ มาตรา ๒๕ ที่ระบุไว้ว่าบุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ ในการถือศาสนา นิกายศาสนา หรือลัทธินิยมในทางศาสนา และ ย่อมมี เสรีภาพในการปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือ ของตน เมื่อไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้า ที่พลเมือง และ ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดี ของประชาชนในเรื่องใช้เสรีภาพดังกล่าวในวรรคหนึ่ง บุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง มิให้รัฐกระทำการใดๆ อันเป็นการรอนสิทธิหรือประโยชน์อันควรมีควรได้ เพราะเหตุ ที่ถือศาสนา นิกาย ของศาสนา หรือลัทธินิยมในทางศาสนา หรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือแตกต่างจากบุคคลอื่น...เพราะฉะนั้น คณะสมณะชาวอโศก ย่อมมีสิทธิ ที่จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรา ๒๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย อีกทั้งไม่มีกฎหมายใดบัญญัติห้ามการกระทำดังกล่าวว่าเป็นความผิด และ ได้กำหนดโทษไว้ การลาออกจากการปกครอง ของมหาเถรสมาคมย่อมกระทำได้ และ ยิ่งเป็นการสอดคล้องกับพระธรรมวินัยในหลัก ของนานาสังวาส ที่ให้อิสระเสรีภาพ และ สิทธิมนุษยชนอันสมบูรณ์ เมื่อเกิดมีความแตกต่างกันขึ้นมาจนถึงขีด นานาสังวาส ก็สามารถให้อยู่กันไปได้อย่างสันติภาพ } การกำเนิด ของสันติอโศก เป็นการเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัยโดยธรรมชาติ ไม่ได้เกิดขึ้นมาเพื่อจะตั้งนิกายใหม่ ~ กล่าวโดยสรุป การกำเนิด ของสันติอโศกเป็นการเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัยโดยธรรมชาติ ไม่ได้เกิดขึ้นมาเพื่อจะตั้งนิกายใหม่ เริ่มตั้ง แต่นายรัก รักพงษ์ ปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดจนได้พบ อริยสัจธรรม จากนั้น จึงได้เข้าไปอุปสมบทในคณะธรรมยุติกนิกาย แต่ก็มีปัญหาเรื่องการยึดติดในนิกาย จึงได้เพิ่มสภาพบวชกับฝ่ายมหานิกายเข้าไปอีกคณะหนึ่งดังกล่าวมาแล้ว กระนั้นก็ดี เนื่องจากมีข้อแตกต่างกันในหลายๆด้าน จึงทำให้เกิดข้อขัดแย้งกันอยู่ตลอดเวลา คณะสมณะชาวอโศก จึงจำเป็นต้องแยกตัวออกเป็น นานาสังวาส ที่มีพระบรมพุทธานุญาตให้ไว้ตามธรรมวินัย และ สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ให้สิทธินิยมในการนับถือศาสนา หรือนิกายศาสนาหรือลัทธินิยมในทางศาสนา แม้จะปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือแตกต่างกัน } การกำเนิด ของ คณะ ส ม ณ ะ ช า ว อ โ ศ ก เกิดจากการรวมตัวกันทั้งพระธรรมยุต และ มหานิกายมาปฏิบัติด้วยกัน ดังนั้น เรา จึงไม่ได้รังเกียจนิกายใดๆ ถ้าปฏิบัติวินัย ๒๒๗ และ สมาทานจุลศีล มัชฌิมศีล และ มหาศีล อันเป็นเสมือนธรรมนูญ ของพระศาสนา. . . ~ โดยจริงแล้ว การกำเนิด ของคณะ ส ม ณ ะ ช า ว อ โ ศ ก เกิดจากการรวมตัวกันทั้งพระธรรมยุต และ มหานิกายมาปฏิบัติด้วยกัน ดังนั้นเรา จึงไม่ได้รังเกียจนิกายใดๆ ถ้าปฏิบัติวินัย ๒๒๗ และ สมาทานจุลศีล มัชฌิมศีล และ มหาศีล อันเป็นเสมือนธรรมนูญ ของพระศาสนาแล้ว คณะสมณะชาวอโศกก็พร้อม ที่จะให้ความเคารพนับถือ และ ยินดี ที่จะอยู่ร่วมกัน ศึกษาปฏิบัติธรรมด้วยกัน ปฏิบัติต่อกันตามธรรมวินัย
|
|
|
|
oho
|
 |
« ตอบ #28 เมื่อ: 04-08-2008, 13:43 » |
|
แก๊งควายเหลี่ยมมันคงไม่รู้ว่า เมืองไทยมีศาสนาพุทธ 2 นิกาย 1.ฝ่ายธรรมยุต 2.ฝ่ายมหานิกาย
และมีฝ่ายหนึ่งนั้น.. มีฝ่ายหนึ่งเกิดขึ้นมาอย่างเคร่งครัด..ที่ไม่นับถือเงินไม่ถือเงินเป็นของส่วนตั๋วส่วนตัวแต่ให้เงินนั้นเป็นของส่วนรวม.. เงินที่รับบริจาคจากญาติโยมนั้น ไม่ว่าบริจาคส่วนตั๋วส่วนตัว หรือบริจาคให้วัด จะถูกนำไปวางรวมกันกองกันไว้ในบัญชีส่วนรวม "บัญชีวัด" เซ็นต์โดยสมณะทุกรูปในวัด
แต่ที่แน่ ๆ อีก 1 นิกาย คือ นิกายจานบิน เห็นใอ้ตัวนะจ๊ะเจ้าอาวาสมีเงินในบัญชีส่วนตั๋วส่วนตัว"บัญชีธัมมะธัมโม๊ะ"เป็นหลักพัน ๆ ล้านเลยหว่ะ..
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04-08-2008, 13:50 โดย oho »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
indexthai
|
 |
« ตอบ #29 เมื่อ: 04-08-2008, 13:44 » |
|
ชุมชนอโศก จำลองรูปแบบระบบสาธารณะโภคีของพระพุทธเจ้าขึ้นมาใช้ได้ค่อนข้างจะสมบูรณ์ ทุนของชุมขนสาธารณะโภคี ทุนเป็นของส่วนกลาง เงินกู้เรียกว่า เงินเกื้อ ชุมชนหนึ่งอาจจะไปขอเกื้อเงินจากชุมชนหนึ่ง หลังจากนำเงินเกื้อมาบริหารและจัดการจนมีผลตอบแทนแล้ว ก็นำเงินเกื้อมาคืน ไม่มีการคิดดอกเบี้ยระหว่างกัน ดอกเบี้ยถูกแปลงเป็นดอกบุญคือไม่มีการคิดดอกเบี้ย แต่ผลตอบแทนที่ได้คือบุญ รายได้ชุมชนสาธารณะโภคี รายได้หรือผลตอบแทนไม่ได้เอามาเป็นของส่วนตน แต่มอบไว้เป็นของส่วนกลาง คนในชุมชนบางคนที่มีความจำเป็นต้องใช้เงิน ก็สามารถตั้งเงินเดือนให้ตนเองได้ แต่ไม่เกินเดือนละ 3,000 บาท บางคนขอรับเดือนละ 2,000 หรือ 1,000 บาท รายได้ส่วนบุคคลของของแต่ละคนไม่แตกต่างกัน จึงทำให้ ไม่มีใครรวยหรือจนกว่าใคร ความรู้ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ชุมชนอโศก http://www.oknation.net/blog/indexthai/2008/05/03/entry-1 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพื่อนฝัน
|
 |
« ตอบ #30 เมื่อ: 04-08-2008, 20:17 » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
 ใครสอนใครสั่ง ดูถูกประชาชน เป็นม็อบข้างถนน บิดเบือนเหมือนคนตกรุ่น เรามาชุมนุม ใช้สิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ ขับไล่รัฐบาลหุ่น ที่เป็นสมุนของอาชญากร
|
|
|
วิหค อัสนี
|
 |
« ตอบ #31 เมื่อ: 04-08-2008, 23:46 » |
|
ธรรมาภิบาล หรือ การปกครองโดยธรรม จำเป็นจะต้องมี คุณธรรม จริยธรรม เหตุผล สามัญสำนึกของการอยู่ร่วมกันในสังคม สำหรับสมาชิกของสังคม
และต้องมี ความจริงใจ และ จิตสำนึกสาธารณะ เพิ่มขึ้นมาสำหรับระดับผู้ปกครอง ผู้บริหารของสังคม
สิ่งเหล่านี้ เป็นพื้นฐานของศาสนาหลักที่ได้รับการยอมรับจากสังคมโลกทุกศาสนา ต้องมีเหมือนกันหมด
ส่วนหลักการแยกรัฐกับศาสนา ก็เพื่อไม่ให้ศาสนาในส่วนลึกๆ ที่เป็นความเชื่อ เป็นสิทธิเฉพาะบุคคล บังคับกันไม่ได้ พิสูจน์ให้เห็นคล้อยตามกันหมดไม่ได้ เข้ามาก้าวก่ายบงการอำนาจรัฐ ซึ่งมีสภาพผูกพันและบังคับทุกคนในรัฐนั้นนั่นเอง (ตัวอย่างเช่นตาลิบัน หรือศาสนจักรยุโรปในยุคมืด คงพอจะเห็นภาพ)
ดังนั้น ทั้งสองอย่างที่ว่ามา ไม่ได้ขัดแย้งกัน แต่ต่างก็จำเป็น ต้องมีไว้เสริมซึ่งกันและกันทั้งคู่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
_______ดังนี้แล __เปลวไฟจักลุกโชน ___หามีวันดับลงได้ _ตราบที่ในมือพวกสูเจ้า ยังแต่น้ำมันเตาให้ราดรดไป
|
|
|
Can ไทเมือง
|
 |
« ตอบ #32 เมื่อ: 05-08-2008, 00:31 » |
|
ดีครับ ช่วยกันเผยแพร่หลักความดี
ชุมชนอโศก เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการใช้ชีวิตที่ยิ่งกว่าพอเพียง
ที่ได้รับการยอมรับเป็นอย่างสูงของนักวิชาการ
คนที่เข้าไปใช้ชีวิตจริงๆ ในนั้น มีชีวิตที่มีความสุขกันดี ถือหลักธรรมมะจริงจัง
สร้างที่อยู่อาศัยมั่นคง แต่ไม่ใหญ่โตเกินตัว
มีวิสาหกิจชุมชน ที่ประสบความสำเร็จ เพราะบริหารด้วยความไม่เห็นแก่ตัว
ผู้คนในนั้นจะยิ้มแย้มแจ่มใส ใครได้คุยด้วยจะพบกับความเย็น มากกว่าความร้อน
ผมไม่ได้ไปเยี่ยม "ราชธานีอโศก" นานแล้ว
ช่วงนี้ "ร้านบุญนิยม" ของราชธานีอโศก เป็นเวทีพันธมิตรอุบลราชธานีครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
oho
|
 |
« ตอบ #33 เมื่อ: 05-08-2008, 12:02 » |
|
|
|
|
|
เงินไหลกองทองไหลมา
|
 |
« ตอบ #34 เมื่อ: 05-08-2008, 12:19 » |
|
พี่น้อง ครับ ท่องตามผมนะครับ
เรามาชุมนุมกันทำไมครับ...
เรามา...
มาทำหน้าที่...
ใช้หนี้แผ่นดิน...
และ...มาทำบุญ  ขอเอาพระธรรมนำหน้าเข้าฝ่าประจัน ตาต่อตาฟันต่อฟันให้มันรู้ไป เอาความดีสู้ความเลว สู้ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ชนะแน่ๆๆๆๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
art19
น้องใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 2
|
 |
« ตอบ #35 เมื่อ: 07-08-2008, 23:34 » |
|
ข้อเสนอแนะ กรณีศาสนายุ่งเกี่ยวกับการเมือง
หากการยุ่งเกี่ยวกับการเมืองนั้น
เป็นเพียงการชี้แนะแนวทางอันถูกต้องดีงาม
สั่งสอนอบรมธรรมสำหรับการปกครอง
การกระทำนั้นย่อมเป็นการอันชอบ
แต่หากการยุ่งเกี่ยวกับการเมืองนั้นรวมถึง
การเข้าไปมีส่วนร่วมกระบวนการใช้อำนาจ
เพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
ในแง่ตัวบุคคลผู้ใช้อำนาจทางการเมืองแล้ว
ผมเกรงว่า มันจะสุ่มเสี่ยงต่อความเสื่อมที่จะมีมาในอนาคต
นับแต่อดีต ประเพณีของฝ่ายสงฆ์ไทยนั้นไม่เคย
เข้าไปมีส่วนร่วมกับกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับ
การใช้อำนาจทางการเมืองการปกครองมาก่อน
สังเกตุได้ว่า สมเด็จพระสังฆราชนั้น ไม่เคยเป็นผู้
ทำพิธีสวมพระมหาพิชัยมงกุฏแก่พระมหากษัตริย์พระองค์ใด
ในพิธีบรมราชาภิเษกหรือพิธีครองสิริราชสมบัติ
รวมทั้งไม่เคยแสดงว่าให้เห็นว่า
การขึ้นครองราชย์ หรือการดำเนินนโยบายใด ๆ
ต้องได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายสงฆ์ก่อน
หากว่าพระสงฆ์เข้ามีส่วนในกระบวนการดังกล่าวแล้ว
ย่อมเป็นผลให้ฝ่ายสงฆ์ถูกลากเข้ามาสู่
กระบวนการใช้อำนาจและต้องอยู่ท่ามกลางการเลือกข้าง
ในที่สุดผลเสียก็ตกอยู่แก่ฝ่ายสงฆ์เอง
อย่างน้อยก็ย่อมจะถูกระแวงจากฝ่ายต่าง ๆ
อันจะนำมาซึ่งความเสื่อมในอนาคต
ดังนั้น ฝ่ายอาณาจักรและฝ่ายพุทธจักร
จึงได้มีการแบ่งแยกหน้าที่กัน กล่าวคือ
ฝ่ายอาณาจักรมีหน้าที่สั่งสอนอบรม
ชี้แนะแนทางที่ถูกต้องดีงามแก่สังคมและฝ่ายอาณาจักร
ส่วนฝ่ายอาณาจักรหากเห็นว่าสิ่งที่ฝ่ายพุทธจักร
สั่งสอนนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องดีงาม
ก็ออกกฎหมาย หรือ นโยบายที่สอดคล้องกับหลักธรรมนั้น
ลักษณะของความสัมพันธ์ดังกล่าวจึงเป็นการแยกบทบาท
และหน้าที่กันโดยมีจุดร่วมกันคือ "ประโยชน์สุขของมหาชนทั้งหลาย"
การแยกหน้าที่ระหว่างฝ่ายอาณาจักรและฝ่ายพุทธจักร
จึงมิใช่การแยกหน้าที่ออกจากกันโดยเด็ดขาด
หากแต่การแยกหน้าที่กันนั้นยังคงยึดโยงกันอยู่
โดยอาศัย "ประโยชน์สุขของมหาชนทั้งหลาย"
เป็นสิ่งที่เชื่อมโยงระหว่างฝ่ายอาณาจักรและฝ่ายพุทธจักร
อาจกล่าวได้ว่าเป็นการแยกหน้าที่ในเชิงบวก (Positive)
มิใช่การแยกกันในเชิงลบ (Negative)
ตรงจุดนี้ย่อมแตกต่างจากการแยก
บทบาทระหว่างคริสตจักรกับอาณาจักร
ที่แต่เดิมเป็นเรื่องของการแย่ง
บทบาทในการใช้อำนาจทางปกครอง
และที่สุดก็ต่างฝ่ายต่างดำรงอยู่โดยไม่เกี่ยวข้องกัน
อันที่จริงแล้ว ลำพังพลังของการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
และการอบรมสั่งสอนด้วยความเมตตา
ก็สามารถสร้างสรรค์พลังบริสุทธิ์อันมีอานุภาพมาแล้ว
โดยไม่ต้องอิงอาศัยกระบวนการที่เกี่ยวกับอำนาจ
ท่านเจ้าคุณพระราชธรรมาภรณ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม
อาศัยเพียงการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบของท่าน
เทศนาให้ชาวบ้านฟังด้วยความเมตตา
ปรากฎว่า โรงยาฝิ่นเจ๊ง อยู่ไม่ได้
เพราะคนเชื่อฟังท่าน ไม่ยอมไปสูบฝิ่น
ครูบาศรีวิชัยอาศัยการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
บูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามและ
สาธารณสถานต่าง ๆ มากมายแถบล้านนา
โดยแทบไม่ได้อาศัยความช่วยเหลือจากฝ่ายรัฐ
ผมอยากให้ทุกท่านเชื่อมั่นครับ
ว่าการเปลี่ยนแปลงการเมืองสามารถทำได้
โดยที่ฝ่ายสงฆ์ไม่ต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับกระบวนการเชิงอำนาจ
ลักษณะของสันติอโศกนั้น
ผมเชื่อโดยไม่สงสัยว่ามีความบริสุทธิ์ใจเป็นที่ตั้ง
แต่ผมเห็นว่าการดำเนินการของสันติอโศกนั้น
มีลักษณะเกี่ยวข้องกับกระบวนการเชิงอำนาจ
เพราะมันมีลักษณะของการบังคับและกดดัน
ให้มีการเปลี่ยนแปลงผู้ปกครอง
มิใช่เป็นเพียงการอบรมสั่งสอนเท่านั้น
มันเป็นเรื่องที่สุ่มเสี่ยงไม่น้อย
อันที่จริงแล้ว สิ่งที่ผมเห็นว่าเหมาะสมก็คือ
การที่สันติอโศกเสนอแนวทางการเมืองการปกครองที่ดีงามว่า ควรเป็นเช่นไร
มากกว่าที่จะตัดสินว่า ใครคือผู้ปกครองที่ดีหรือไม่ดี
ทั้งนี้ ผมหาได้รังเกียจหรือระแวงสันติอโศก
แต่เพราะผมเชื่อว่าหากสันติอโศกเข้า
ไปเกี่ยวข้องกับกระบวนการใช้อำนาจแล้ว
มันจะนำมาซึ่งความเสื่อมแก่สันติอโศกเอง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Better World
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1

ออฟไลน์
กระทู้: 20
|
 |
« ตอบ #36 เมื่อ: 08-08-2008, 00:30 » |
|
เรื่องศาสนานั้นผมว่า ทุกๆศาสนาก็มีหลักที่คล้ายกัน คือการทำความดี ไม่กระทำการที่เป็นความชั่วขัดต่อจารีต กฎหมาย ประเพณี และมีความเอื้อเฟื้อแก่เพื่อนมนุษย์และสัตว์โลก พระสงฆ์ นักบวช หรือผู้ปฏิบัติธรรม ก็เปรียบเสมือนครูที่มีหน้าที่คอยสั่งสอนให้ผู้คนเป็นคนดีตามความสามารถ ดังนั้นหน้าที่หลักของ ตัวแทนของศาสดาในศาสนาต่างๆ จึงมุ่งหวังที่จะเผยแพร่คำสอนของพระองค์เหล่านั้นเพื่อให้คนต่างๆเป็นคนดี ดังนั้นพระสงฆ์ จริงๆแล้วสมควรอย่างยิ่งในการที่ต้องข้องเกี่ยวกับการเมือง 1.) เริ่มต้นด้วยการสั่งสอนเทศนาให้นักการเมืองที่จะเข้ามาทำงานให้บ้านเมืองเป็นคนดีมีศีลธรรม ไม่คดโกง 2.) พระสงฆ์ต้องวางตัวเป็นกลางทางใช้ธรรมเป็นที่ตั้งด้วยการสอนสั่งให้พี่น้องประชาชนเลือกคนที่ดีจริงๆเข้าไปทำงาน แต่ไม่ใช่การชี้นำให้เลือกพรรคใดพรรคหนึ่ง 3.) และเมื่อเห็นว่าเกิดความไม่ชอบธรรมของนักการเมืองหรือความไม่ดีของนักการเมืองต่างๆ พระสงฆ์ยิ่งต้องทำหน้าที่ให้ธรรมะแก่คนเหล่านั้นตามแต่สมควร เพื่อให้ปรับปรุงตัว ดังเช่นอาจารย์เมื่อเห็นลูกศิษย์ทำผิดก็ต้องสอนให้เข้าใจว่าสิ่งนี้ดีสิ่งนี้ไม่ดี โดยจะต้องสอนด้วยความเมตตาไม่มีอคติความเคียดแค้นส่วนตัว แต่ถ้าพวกเขาเหล่านั้นไม่เชื่อก็ต้องปล่อยเป็นตามกระบวนการแห่งกรรมทำงานเอง ส่วนกรณีของสันติอโศกนั้น ผมเห็นว่ายังเป็นการกระทำโดยชอบอยู่ เพราะเป็นการต่อสู้เมื่อเห็นว่ามีความไม่ถูกต้องบางอย่างในการกระทำของรัฐบาล ไม่มีความเคียดแค้นส่วนตัวโดยดูที่ผลประโยชน์ของชาติ สถาบันและ คนไทยเป็นหลัก และก็มิได้มีการชักนำไปสู่ความรุนแรงโดยยึดหลักอหิงสาเป็นหลัก โดยส่วนตัวผมเชื่อว่าเป็นความบริสุทธ์ใจครับ แต่ผลเชื่อว่า "คิดดี ทำดี พูดดี ก็ต้องได้ดีครับ"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
noohin_2550
|
 |
« ตอบ #37 เมื่อ: 09-08-2008, 16:53 » |
|
เห็นด้วยกับเจ้าของทู้ และ คุณเมืองลุง คิดดีทำดี อยู่ในศิล สันติอโศก ยังไม่เห็น มีใครแหกคอกเหมือน พระที่ว่าถูก กม ด้วยซ้ำ บางรูปยังกกสีกา นี่หรือพระสงฆ์ไทย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Can ไทเมือง
|
 |
« ตอบ #38 เมื่อ: 09-08-2008, 21:47 » |
|
การเมืองกับศาสนา มองให้ดีๆ
การสาบาน การยึดหลักศาสนา การยึดหลักรัฐธรรมนูญ
ซึ่งมีหลักธรรมาภิบาลประกบอยู่...ซึ่งก็คือไม่คลาดเคลื่อนจากหลักธรรมนั่นแหละ
ในทางการเมืองนั้นหลักจรรยาบรรณ หลักจริยธรรมนักการเมืองมีอยู่ ไม่ต้องรอให้ศาลตัดสิน
ความรับผิดชอบของนักการเมืองไม่ต้องรอศาลตัดสิน
หากทำแหกกฎพวกนี้ ความชอบธรรมของนักการเมืองก็หดหาย
สังคมก็ไม่ยอมรับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
|