จากกรณีรัฐบาลสมัคร กับปราสาทพระวิหาร ทำให้มีข้อมูลหลั่งไหลออกมามากมาย
แต่อาจไม่สะดวกในการจัดทำเป็นเอกสารเผยแพร่ ผมก็เลยลองสรุปข้อมูลที่พอหาได้
จัดทำเป็นบทความขนาดไม่ยาวนัก ที่พอจะพิมพ์ได้ใน 2 หน้ากระดาษ A4 (1 แผ่น)
คุณพระพายได้กรุณาช่วยทำเป็นไฟล์ PDF และ MsWord ที่สะดวกในการเผยแพร่
ซึ่งผู้สนใจสามารถ Download ได้จากลิงค์นี้ครับ
http://www.savefile.com/files/1626944เป็น zip ไฟล์ขนาดเพียง 86 kb (เล็กมาก) มีทั้งไฟล์ doc และ pdf
ถ้าเห็นว่าพอมีประโยชน์จะนำไปพิมพ์แจก หรือส่งต่อกันทางอีเมล์ก็เชิญได้นะครับ 
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร==เรื่องปราสาทพระวิหาร สรุปง่ายๆ ก็คือ
"ไทยถูกฝรั่งเศสโกง" โดยการทำแผนที่ผิดสนธิสัญญา
ระหว่างไทยฝรั่งเศส พ.ศ. 2447 ที่ระบุเอาไว้ตั้งแต่มาตรา 1 ว่ากำหนดเส้นเขตแดนที่ "สันปันน้ำ"
และการทำแผนที่นั้นไม่อยู่ในข้อกำหนดใดๆ ของสนธิสัญญา ศาลโลกวินิจฉัยว่าแผนที่ดังกล่าว
ไม่มีผลผูกพันมาแต่ต้น
..แผนที่ดังกล่าวจึงไม่เคยได้รับการรับรองจากประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน..พื้นที่ปราสาทพระวิหารอยู่ในความครอบครองของไทยมาเกือบ 600 ปี นับแต่สมัยเจ้าสามพระยา
ที่เขมรถูกไทยตีนครธมแตก เมื่อปี พ.ศ. 1974 และเสียหายหนักจนย้ายเมืองหลวงไปพนมเปญ
ทิ้งปราสาทพระวิหารให้รกร้างอยู่ร่วม 500 ปี กระทั่งกรมหลวงสรรพสิทธิฯ พระเจ้าน้องยาเธอ
ในรัชกาลที่ 5 ขณะเป็น ข้าหลวงต่างพระองค์ มณฑลอีสาน ทรงค้นพบอีกครั้งในปี พ.ศ. 2442
ขณะนั้นปราสาทพระวิหารอยู่ในเขตแดนไทย เช่นเดียวกับบางส่วนของลาวและเขมร มีหลักฐาน
ทรงจารึกปี ร.ศ. ที่พบและพระนาม ไว้ที่ชะง่อนผาเป้ยตาดี ข้อความว่า "
๑๑๘ สรรพสิทธิ"
หลังฝรั่งเศสเข้ายึดครองอินโดจีน ไทยและฝรั่งเศสมีการทำสนธิสัญญา พ.ศ. 2447 ซึ่งต่อมา
ฝรั่งเศสได้จัดทำแผนที่ผิดๆ ที่ไม่มีการระบุในสนธิสัญญาให้ต้องจัดทำ มามอบให้ไทย 50 ชุด
ในแผนที่ไม่ใช้สันปันน้ำเป็นเส้นเขตแดน และทำให้ปราสาทพระวิหารไปอยู่ในเขตของกัมพูชา
ไทยไม่ได้รับรองหรือคัดค้านความถูกต้องของแผนที่แต่อย่างใด และต่อมาฝรั่งเศสได้ส่งทหาร
เข้าประจำการที่ปราสาทพระวิหารโดยไม่มีสนธิสัญญาใดๆ รองรับ
ต่อมาฝรั่งเศสอ่อนแอลงหลังรบแพ้เยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 2 และรบแพ้ไทยใน สงคราม-
พิพาทอินโดจีน เมื่อ พ.ศ. 2484 ทำให้ต้องคืนดินแดนให้ไทย ครอบคลุมถึงปราสาทพระวิหาร
ซึ่งไทยได้สร้าง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เป็นอนุสรณ์แด่ผู้พลีชีพในสงครามที่มีชัยเหนือฝรั่งเศส แต่หลังสงครามโลก ไทยต้องคืนดินแดนที่ยึดคืนได้ให้ฝรั่งเศส แลกกับการไม่เป็นผู้แพ้สงคราม
และได้เข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ
พ.ศ. 2502 ภายหลังกัมพูชาได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส มีการฟ้องร้องไทยต่อศาลโลก โดยอ้างอิง
แผนที่ ที่ฝรั่งเศสทำไว้โกงๆ แล้วส่งมาให้ไทยใช้ กัมพูชาอ้างต่อศาลว่าฝรั่งเศสโกงแล้วไทยไม่ค้าน
แสดงว่ายอมยกปราสาทพระวิหารให้ฝรั่งเศส
ดังนั้นกัมพูชาก็ควรได้รับสิทธิโกงปราสาทสืบต่อด้วยคำตัดสินของศาลโลกเห็นได้ชัดว่าลำเอียงเข้าข้างเขมรมากๆ เพราะไม่มีหลักฐานเป็นทางการใดๆ
ว่าผู้มีอำนาจฝ่ายไทยให้การรับรองแผนที่ขี้โกงนั้น แม้แต่ศาลโลกเองก็ยังยอมรับว่าฝรั่งเศสโกง
แต่อ้างหลักว่าไทย "นิ่งเฉย" แล้วศาลเหมาเอาว่าไทยให้การรับรองนอกจากนี้ศาลโลกยังให้ความสำคัญกับการกระทำต่างๆ ของบุคคลที่ไม่ได้เป็นผู้แทนประเทศไทย
โดยตีความการกระทำต่างๆ ว่าสามารถรับรองความถูกต้องของแผนที่ขี้โกง และรับรองอธิปไตย
ของฝรั่งเศสเหนือปราสาทพระวิหาร เช่น การเยือนปราสาทพระวิหารของกรมพระยาดำรงฯ
ในขณะที่สนธิสัญญาเท่านั้นที่ทำโดยผู้มีอำนาจจริง และได้ระบุการแบ่งเขตแดนด้วยสันปันน้ำ
ไว้ตั้งแต่มาตราแรกอย่างชัดเจนแต่ศาลกลับอ้างว่าสนธิสัญญาถูกลบล้างโดยการนิ่งเฉยของไทย
ต่อแผนที่ขี้โกง ที่ทำขึ้นโดยไม่มีอะไรรองรับฝรั่งเศสเองมีโอกาสหลายครั้งที่จะเสนอให้ไทยรับรองแผนที่นี้แต่ไม่เคยเสนอ หากจะถือเกณฑ์
เดียวกันก็จะได้ว่าฝรั่งเศสเองก็นิ่งเฉยที่จะให้ไทยรับรองแผนที่เช่นกัน มีหลักฐานคือสนธิสัญญา
ที่ทำใหม่ใน ปี พ.ศ. 2468 และ พ.ศ. 2480 ต่างมีข้อความยืนยันเส้นเขตแดนตาม สนธิสัญญา
ปี พ.ศ. 2447 ที่ถือตามสันปันน้ำ และไม่มีการอ้างอิงแผนที่ขี้โกงแต่อย่างใด
สรุปว่าหลังถูกฝรั่งเศสโกงและเขมรโกงตามน้ำ รัฐบาลไทยยังรู้สึกว่าถูกศาลโลกโกงซ้ำอีกด้วยหลังคำตัดสินศาลโลก
รัฐบาลไทยจึงมีหนังสือคัดค้านคำตัดสินและประกาศสงวนสิทธิโดยชัดแจ้ง
ที่จะเรียกร้องปราสาทพระวิหารกลับคืนหากมีสิทธิประการใดเกิดขึ้นในอนาคต (เช่น มีการจัดตั้ง
องค์กรระหว่างประเทศใหม่ๆ เช่น ศาลคดีพิพาทเขตแดนระหว่างประเทศ หรือมีกฎหมายใหม่ๆ
เช่น กฎหมายสนธิสัญญาไม่เป็นธรรม ฯลฯ) โดยมีเนื้อความบางส่วนดังนี้
"รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปรารถนาที่จะตั้งข้อสงวนอันชัดแจ้งเกี่ยวกับสิทธิใดๆ
ที่ประเทศไทยมีหรืออาจมีในอนาคต เพื่อเอาปราสาทพระวิหารกลับคืนมา โดยอาศัยกระบวนการ
กฎหมายที่มีอยู่หรือที่จะพึงนำมาใช้ได้ในภายหลัง และตั้งข้อประท้วงต่อคำพิพากษาของ
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ที่ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา"การที่รัฐบาลสมัคร รับรองสิทธิของกัมพูชาตามคำตัดสินศาลโลกจึงเท่ากับลบล้างคำประกาศ
สงวนสิทธิที่รัฐบาลไทยได้เคยทำไว้
กลายเป็นการประกาศสละสิทธิเหนือปราสาทพระวิหาร
อย่างเป็นทางการโดยรัฐบาลไทยที่ร้ายแรงกว่านั้นคือ อาจเท่ากับประกาศยอมรับความถูกต้องของแผนที่ซึ่งฝรั่งเศสทำโกงไทยไว้
และมีพื้นที่ครอบคลุมแนวชายแดนอย่างกว้างขวาง ไม่ใช่จำกัดเฉพาะพื้นที่ไม่กี่ตารางกิโลเมตร
บริเวณปราสาทพระวิหารเท่านั้นรัฐมนตรีนพดล และรัฐบาลสมัคร ไม่มีความจำเป็นใดๆ เลยที่จะต้องเร่งรีบสนองประโยชน์เขมร
เพราะไม่ได้เป็นรัฐมนตรีเขมรหรือรัฐบาลเขมร ที่กำลังจะมีเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 27 กรกฎาคม นี้
เรื่องปราสาทพระวิหารจะสร้างคะแนนให้พรรครัฐบาลของสมเด็จฮุนเซ็นที่เป็นเพื่อน พตท.ทักษิณ
ในขณะที่ไทยยังไม่ได้ประโยชน์จากกรณีปราสาทพระวิหารเลย ทั้งที่รัฐบาลได้เปรียบในการต่อรอง
สรุปว่ารัฐบาลสมัครและรัฐมนตรีนพดลกระทำผิดพลาดร้ายแรงกรณีปราสาทพระวิหาร 