ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
29-03-2024, 15:15
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ผลถก!กมธ.สภา ชี้ชัด ป.ป.ช.ที่มาไม่ชอบด้วยกม. 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ผลถก!กมธ.สภา ชี้ชัด ป.ป.ช.ที่มาไม่ชอบด้วยกม.  (อ่าน 1873 ครั้ง)
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« เมื่อ: 25-07-2008, 18:02 »

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?id=42636&catid=1

อ้างถึง
เมื่อเวลา 14.00 น. ที่รัฐสภา นายสุทิน  คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม พรรคพลังประชาชน ในฐานะประธานกรรมาธิการ(กมธ.)องค์กรตามรัฐธรรมนูญ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน  สภาผู้แทนราษฎร แถลงภายหลังการประชุมว่า ผลการประชุม กมธ. มีความเห็นเอกฉันท์ ว่าที่มาของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มิชอบด้วยกฎหมายและจารีตประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  จึงเป็นผลให้การดำเนินการต่างๆ ของป.ป.ช.เช่นการออกระเบียบเงินตอบแทนแก่ที่ปรึกษาและเลขาธิการป.ป.ช.จึงมิชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน และประเด็นสำคัญคือมีความเห็นว่าประกาศ คปค.ฉบับที่ 22 และ 31 ที่ว่าด้วยการตั้งป.ป.ช. ก็มิชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากสถานะองค์รัฏฐาธิปัตย์ของ คมช. ได้สิ้นสุดลงเมื่อทรงโปรดเกล้าฯให้พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นประธาน คมช. เพราะเท่ากับถวายคืนอำนาจองค์รัฏฐาธิปัตย์ให้กับพระมหากษัตริย์แล้ว  ดังนั้นการกระทำใด ๆ ของป.ป.ช. จึงไม่อยู่ในข่ายที่จะได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญม.309  นอกจากนี้เมื่อที่มามิชอบ ป.ป.ช.จึงไม่มีอำนาจเอาผิด ส.ส.และส.ว.ที่ถือหุ้นเกิน 5 เปอร์เซ็นต์และถือหุ้นในบริษัที่รับสัมปทานจากรัฐ แต่ควรเป็นหน้าที่ของสภาและ กกต.จะดำเนินการ

นายสุทิน กล่าวว่า สำหรับประเด็นสถานะองค์รัฏฐาธิปัตย์และการสิ้นสุดมีความสำคัญอย่างมากซึ่งทาง กมธ.เสนอแนะว่าควรมีการส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจและควรพูดคุยในภาควิชาการอย่างกว้างขวางเพื่อสร้างความชัดเจน ซึ่งการศึกษาเรื่ององค์รัฏฐาธิปัตย์อาจจะทำให้มีกฎหมายเป็นโมฆะจำนวนมาก อย่างไรก็ตามผลการตรวจสอบของ กมธ.จะไม่มีผลผูกพันกับองค์อื่น การที่ส.ส.จะยื่นถอดถอนป.ป.ช.หรือไม่เป็นเอกสิทธิส่วนตัวแต่ทาง กมธ.ก็เห็นด้วย แต่ผลจาการศึกษานี้อาจทำให้ส.ส.พรรคพลังประชาชนที่จะยื่นถอดถอนเปลี่ยนทิศทางไปยื่นขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสถานะป.ป.ช.ก่อนก็ได้ และตนยืนยันว่ารัฐบาลจะไม่ได้รับประโยชน์จากการถอดถอนป.ป.ช.เพราะโดยอำนาจของประธานศาลฎีกาและศาลปกครองสามารถตั้งป.ป.ช.ชุดใหม่ปฏิบัติหน้าที่ต่อได้อยู่แล้ว

นายสุทิน กล่าวว่า ส่วนกรณีที่นายวิชา มหาคุณ กรรมการป.ป.ช. ระบุว่าได้ขอให้เลขาธิการ ครม.ทำหนังสือสอบถามไปยังสำนักราชเลขาธิการในประเด็นการดำรงตำแหน่งของ ป.ป.ช.จะต้องมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ หรือไม่และทางสำนักราชเลขาธิการก็ได้แจ้งความเห็นกลับมาว่าไม่ต้องนั้น ปรากฎว่าในการชี้แจงของเลขาธิการป.ป.ช.ไม่มีหนังสือจากสำนักราชเลขาธิการมาเป็นหลักฐานยืนยันได้ อีกทั้งจากที่สอบถามไปยังนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ ที่ได้ทำการตรวจสอบในส่วนของสำนักเลขาธิการ ครม.ก็ไม่พบเช่นกัน แต่มีเพียงหนังสือที่สำนักเลขาธิการ ครม.ทำถึงป.ป.ช.เท่านั้น แต่ถึงแม้จะมีหนังสือจากสำนำนักราชเลขาธิการยืนยัน กมธ.ก็ถือเป็นความเห็นของหน่วยงานมิใช่พระราชวินิจฉัยขององค์อธิปัตย์ขณะนั้น 

“ที่ประชุมก็ได้ตั้งข้อสังเกตเรื่องที่ไม่มีหนังสือยืนยันจากสำนักราชเลขาธิการเหมือนกัน ซึ่งดูเหมือน คปค.และป.ป.ช.มีความพยายามทูลเกล้าฯ แต่ฟังดูเหมือนไม่โปรดเกล้าฯ  เลยโยนรื่องให้สำนักเลขาธิการ ครม.เป็นคนทำ ทั้งนี้เมื่อการทูลเกล้าฯไม่เข้ากระบวนการ เราก็ไม่สามารถล่วงรู้พระราชวินิจฉัยได้ “ นายสุทิน กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าการประชุมดังกล่าวมีกมธ.เข้าร่วมประชุมเพียง 8 คนจากกมธ.จำนวน 15 คน โดยเป็นเกมธ.จากพรรคประชาธิปัตย์เพียง 2 คน คือนางสาวเฉลิมลักษณ์ เก็บทรัพย์ ส.ส.สัดส่วนพรรคประชาธิปัตย์ และนายอับดุลการิม เด็งระกีนา ส.ส.ยะลา พรรคประชาธิปัตย์

ด้านนายอับดุลการิม กล่าวว่า กรรมาธิการฯในซีกพรรคประชาธิปัตย์ที่ได้เข้าร่วมประชุมได้แสดงความไม่เห็นด้วยกับเสียงส่วนใหญ่ของคณะกรรมาธิการฯเนื่องจากเห็นว่าคปค.เป็นองค์รัฐาธิปัตย์ที่มีความชอบธรรมในการแต่งตั้งป.ป.ช. ประกอบกับต่อมาได้มีรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2549 และ รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 309 ได้ให้การรับรองเอาไว้ว่าการกระทำที่เกิดขึ้นของคปค.ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น จึงเห็นว่าป.ป.ช.มีที่มาที่ชอบด้วยกฎหมายทุกประการ แต่เมื่อคณะกรรมาธิการเสียงข้างมากมีความเห็นเช่นนี้เราในฐานะที่เป็นเสียงข้างน้อยก็ต้องให้ความเคารพ

ความพยายามในการดิ้นพราดๆของพลังประชาชน ก็ดูน่าสงสารดีค่ะ นี่คงเป็นการกรุยทางไว้สำหรับการไม่ยอมรับคำตัดสินบางอย่างของ ปปช.ที่จะมีขึ้นในเร็ววันนี้ แต่อย่างไรก็ตาม หาก ปปช.มีมติอย่างหนึ่งอย่างใด เกี่ยวกับสภาพของรัฐมนตรี หรือนายกรัฐมนตรีออกมา และมีการขัดขืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ก็เป็นเรื่องที่จะต้องวัดดวงกันเองว่า ใครจะไปติดคุก

การยื่นตีความสถานะของ ปปช. นั้นง่ายเพียงนิดเดียว ดูอย่างกรณี คตส. ที่คู่ความในคดีที่ดินรัชดา ค้านต่อศาลฏีกาว่ามีสถานะไม่ถูกต้อง ศาลฏีกาก็ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ เพียงไม่กี่วันขั้นตอนการตีความก็เรียบร้อย และทำให้จำเลยในคดีนั้นจุกไป

การส่งตีความเรื่อง ปปช. ส่งเมื่อไหร่ ไม่นานก็ได้รับคำวินิจฉัย แต่ที่พลังประชาชนยื้อเรื่องไปมาไม่จบสิ้น เพราะกลัวคำวินิจฉัยที่จะออกมา ซึ่งจะทำให้สภาพของ ปปช.มั่นคงยิ่งขึ้น และจะหมดข้ออ้างอันใดอีกต่อไป

เตรียมไปสู่สุขคติเถิด ลิ่วล้อเหลี่ยม 
บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #1 เมื่อ: 25-07-2008, 18:19 »

เป็นความเห็นที่เข้ารกเข้าพงจริงๆ รู้สึกอนาถใจกับสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 

ต่อไปน่าจะกำหนดคุณสมบัติผู้สมัครสมาชิกสภานิติบัญญัติ ว่าต้องสำเร็จการศึกษา
ด้านกฎหมายมาก่อนด้วยถึงจะมาสมัครได้ แค่หลักกฎหมายพื้นฐานยังเพี้ยนขนาดนี้
แล้วมาทำหน้าที่ออกกฎหมายได้อย่างไร

ประเด็นเรื่องรัฏฐาธิปัตย์จะต้องไปพูดถึงทำไม ในเมื่อมีรัฐธรรมนูญอีก 2 ฉบับซ้อนๆ
ที่รับรองคำสั่ง คปค. เอาไว้แล้ว และการโปรดเกล้าฯ พล.อ.สนธิ เป็นประธาน คมช.
ก็ระบุชัดเจนให้ทุกฝ่ายฟังคำสั่ง พล.อ.สนธิ ตั้งแต่ตอนนั้นอีกต่างหาก

สมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ๆ มีการตั้ง ม.ธรรมศาสตร์และการเมือง ทำหน้าที่
ให้ความรู้แก่ผู้ที่จะเข้าสู่วงการเมือง มาถึงสมัยนี้จะต้องบังคับเรียนกันอีกรอบกระมัง
ความรู้พื้นฐานทางกฎหมายย่ำแย่แบบนี้ ปล่อยให้ทำงานนิติบัญญัติได้ยังไง
เรื่องนี้น่าจะชิงส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความไปเลย ปล่อยให้มั่วกันในสภาคงไม่ได้เรื่อง 
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #2 เมื่อ: 25-07-2008, 18:25 »

ได้ข้อสรุปจากที่ประชุมแล้วก็รีบ ๆ ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความซะทีสิ 
บันทึกการเข้า
An.mkII
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,984


Out of kontrol....!!!!!


เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 25-07-2008, 18:26 »

 

อืม...

ผมว่ามติชนพาดหัวผิดต้องเป็นแบบนี้..

ผลถก!กมธ.ซ่องโจร ชี้ชัด ป.ป.ช.ที่มาไม่ชอบด้วยกม.


ปล.

เเน่จริง ซ่องโจร มันตีความกกต.ด้วยซิว่ะ แน่จริงอย่าช้า...
บันทึกการเข้า
RiDKuN
Administrator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,015



เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 25-07-2008, 18:32 »

ถกกันยังไงครับ ถกบนหรือถกล่าง มันถึงได้ออกมารูปแบบนี้ 
บันทึกการเข้า

คนไม่มี "อุดมคติ" ไม่ใช่ "นักการเมือง"
moon
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 780


« ตอบ #5 เมื่อ: 25-07-2008, 18:33 »

ถ้าที่มาของ ปปช. ไม่ถูกต้อง แล้วองค์กรใดจะมีอำนาจมาถอดถอนได้ล่ะ
นอกจากส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญเพียงอย่างเดียว คณะกรรมการชุดนี้ทำได้แค่
บอกว่าพวกตนไม่เห็นด้วยเห็นว่าผิด เพื่อที่จะดิตเครดิต มันก็ทำได้แค่นั้น
บันทึกการเข้า
Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #6 เมื่อ: 25-07-2008, 18:37 »

เป็นความเห็นที่เข้ารกเข้าพงจริงๆ รู้สึกอนาถใจกับสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 

ต่อไปน่าจะกำหนดคุณสมบัติผู้สมัครสมาชิกสภานิติบัญญัติ ว่าต้องสำเร็จการศึกษา
ด้านกฎหมายมาก่อนด้วยถึงจะมาสมัครได้ แค่หลักกฎหมายพื้นฐานยังเพี้ยนขนาดนี้
แล้วมาทำหน้าที่ออกกฎหมายได้อย่างไร

ประเด็นเรื่องรัฏฐาธิปัตย์จะต้องไปพูดถึงทำไม ในเมื่อมีรัฐธรรมนูญอีก 2 ฉบับซ้อนๆ
ที่รับรองคำสั่ง คปค. เอาไว้แล้ว และการโปรดเกล้าฯ พล.อ.สนธิ เป็นประธาน คมช.
ก็ระบุชัดเจนให้ทุกฝ่ายฟังคำสั่ง พล.อ.สนธิ ตั้งแต่ตอนนั้นอีกต่างหาก

สมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ๆ มีการตั้ง ม.ธรรมศาสตร์และการเมือง ทำหน้าที่
ให้ความรู้แก่ผู้ที่จะเข้าสู่วงการเมือง มาถึงสมัยนี้จะต้องบังคับเรียนกันอีกรอบกระมัง
ความรู้พื้นฐานทางกฎหมายย่ำแย่แบบนี้ ปล่อยให้ทำงานนิติบัญญัติได้ยังไง
เรื่องนี้น่าจะชิงส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความไปเลย ปล่อยให้มั่วกันในสภาคงไม่ได้เรื่อง 
เห็นด้วยครับ สมควรต้องกำหนดคุณสมบัติของสมาชิกสภานิติบัญญัติ ว่าต้องสำเร็จการศึกษาด้านกฎหมาย เพราะเป็นถึงผู้ออกกฎหมายแต่กลับไม่รู้เรื่องกฎหมายเลย มันจะการเป็นกฎมั่วแทน เรื่อง ป.ป.ช. นี้รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 299 ก็ระบุชัดแล้วว่า "ให้กรรมการการเลือกตั้ง กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ คงดำรง
ตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะสิ้นสุดวาระ โดยให้เริ่มนับวาระตั้งแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง" แถมวรรคสุดท้ายของมาตรานี้ยังระบุอีกว่า "ให้บุคคลตามมาตรานี้ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่ใช้บังคับอยู่ในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ต่อไป จนกว่าจะมีการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายเพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญนี้ขึ้นใช้บังคับ เว้นแต่บทบัญญัติใดขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ให้ใช้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้แทน" สรุปว่าไม่จำเป็นต้องไปดูที่มาเลยว่าจะถูกค้องหรือไม่ เพราะเมื่อรัฐธรรมนูญนี้ประกาศใช้ก็กลายเป็นการแต่งตั้งซ้ำโดยอัตโนมัติ แต่พวกกฎมั่วดันพยายามใช้พระราชบัญญัติมาแย้งรัฐธรมนูญ แค่หลักกฎหมายเบื้องต้นเรื่องศักดิ์กฎหมายยังไม่รู้สมควรต้องเข้าคอร์สเรียนกฎหมายใหม่แล้วครับ
บันทึกการเข้า
H-edge
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 94


« ตอบ #7 เมื่อ: 25-07-2008, 18:54 »

เป็นความเห็นที่เข้ารกเข้าพงจริงๆ รู้สึกอนาถใจกับสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 

ต่อไปน่าจะกำหนดคุณสมบัติผู้สมัครสมาชิกสภานิติบัญญัติ ว่าต้องสำเร็จการศึกษา
ด้านกฎหมายมาก่อนด้วยถึงจะมาสมัครได้ แค่หลักกฎหมายพื้นฐานยังเพี้ยนขนาดนี้
แล้วมาทำหน้าที่ออกกฎหมายได้อย่างไร

ประเด็นเรื่องรัฏฐาธิปัตย์จะต้องไปพูดถึงทำไม ในเมื่อมีรัฐธรรมนูญอีก 2 ฉบับซ้อนๆ
ที่รับรองคำสั่ง คปค. เอาไว้แล้ว และการโปรดเกล้าฯ พล.อ.สนธิ เป็นประธาน คมช.
ก็ระบุชัดเจนให้ทุกฝ่ายฟังคำสั่ง พล.อ.สนธิ ตั้งแต่ตอนนั้นอีกต่างหาก

สมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ๆ มีการตั้ง ม.ธรรมศาสตร์และการเมือง ทำหน้าที่
ให้ความรู้แก่ผู้ที่จะเข้าสู่วงการเมือง มาถึงสมัยนี้จะต้องบังคับเรียนกันอีกรอบกระมัง
ความรู้พื้นฐานทางกฎหมายย่ำแย่แบบนี้ ปล่อยให้ทำงานนิติบัญญัติได้ยังไง
เรื่องนี้น่าจะชิงส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความไปเลย ปล่อยให้มั่วกันในสภาคงไม่ได้เรื่อง 

คิดหรือค่ะว่าถ้าคุณสมบัติของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติบังคับให้ต้องสำเร็จ
การศึกษาด้านกฎหมายแล้วจะแก้ปัญหาได้ เพราะเดี๋ยวก็จะเจอนักการเมืองพันธุ์เป็ด
ใช้เงินใช้อำนาจให้ได้ปริญญามาจนได้  เหมือนอย่างที่มีตัวอย่างให้เห็นเต็มบ้าน
เต็มเมืองตอนนี้  ที่ได้ปริญญามา ดีๆ ทั้งนั้น

 
บันทึกการเข้า
Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #8 เมื่อ: 25-07-2008, 18:58 »

คิดหรือค่ะว่าถ้าคุณสมบัติของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติบังคับให้ต้องสำเร็จ
การศึกษาด้านกฎหมายแล้วจะแก้ปัญหาได้ เพราะเดี๋ยวก็จะเจอนักการเมืองพันธุ์เป็ด
ใช้เงินใช้อำนาจให้ได้ปริญญามาจนได้  เหมือนอย่างที่มีตัวอย่างให้เห็นเต็มบ้าน
เต็มเมืองตอนนี้  ที่ได้ปริญญามา ดีๆ ทั้งนั้น

 
มันก็ยังดีนี่ครับ อย่างน้อยก็ได้ชื่อว่าจบทางด้านกฎหมาย ถึงไม่ได้จบโดยตรง แต่ถ้ามีความรู้ด้านกฎหมายก็ยังดี พวกรัฐศาสตร์ยังต้องรู้เรื่องกฎหมายปกครองเลยนี่ครับ ถ้าใช้เงินซื้อปริญญามาแล้วแค่ศักดิ์กฎหมายอะไรสูงกว่ายังไม่รู้ก็สมควรต้องตรวจสอบหลักสูตรการศึกษาของมหาวิทยาลัยนั้นแล้วครับว่าปล่อยผ่านมาได้อย่างไร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25-07-2008, 19:01 โดย solidus » บันทึกการเข้า
cameronDZ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,827


my memory


« ตอบ #9 เมื่อ: 25-07-2008, 19:10 »

เป็นความเห็นที่เข้ารกเข้าพงจริงๆ รู้สึกอนาถใจกับสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 

ต่อไปน่าจะกำหนดคุณสมบัติผู้สมัครสมาชิกสภานิติบัญญัติ ว่าต้องสำเร็จการศึกษา
ด้านกฎหมายมาก่อนด้วยถึงจะมาสมัครได้ แค่หลักกฎหมายพื้นฐานยังเพี้ยนขนาดนี้
แล้วมาทำหน้าที่ออกกฎหมายได้อย่างไร


ป๋มขอยกมือ หนับหนุน เห็นด้วย กั๊บ

ส.ส. จะต้องจบมาทางกฎหมายเท่านั้น ถึงจะมีคุณภาพพพพพพพพ

ลงชื่อ
นพเหล่ เร่ขายชาติ
 
(เนติบัณฑิตอังกริดตรางู ของแท้ พันเปอร์เซ็นต์)
บันทึกการเข้า

ข้าพเจ้าอยู่ที่นี่มาหลายปี ยังไม่เคยได้รับคำขอโทษ ขอขมา
จากใครแม้แต่สักคนเดียวเลย
...เช่นกัน คำขอบคุณ ก็ยังไม่เคยมีสักคำ...
แต่ข้าพเจ้าคิดว่า ในใจพวกเขาคงคิดคำเหล่านี้อยู่บ้างหรอก
...แค่คิด ไม่ต้องบอกออกมา ข้าพเจ้าก็พอใจแล้ว...
ริวเซย์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4,637


Worrior in The Blue Armor


เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 25-07-2008, 19:58 »

งั้นประกาศคณะปฏิวัติในอดีตก็ถูกยกเลิกไปหมดแล้วสิ เพราะหมดอำนาจไปนานมากแล้ว

แต่ก็ยังเห็นมีประกาศคณะปฏิวัติหลายฉบับที่ยังบังคับใช้อยู่จนทุกวันนี้ 

ที่มีความเห็นเพี้ยนๆลักษณะนี้เกิดขึ้นก็เพราะมีสส.ที่มีแต่อคติเต็มตัว พยายามหาช่องโหว่ของกฎหมายชัดเจน

ความจริงผู้ที่จะมีสิทธิตัดสินถึงสถานะของคตส.ว่าขัดต่อกฎหมายหรือโมฆะหรือไม่ก็คือศาลรัฐธรรมนูญ

จึงควรส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความถึงที่มาของปปช.ว่าขัดต่อกฎหมายหรือเป็นโมฆะหรือไม่

แต่พวกมันก็ไม่ทำ แต่ตอนนี้ใช้วิธีไซโครนอกศาล ประโคมข่าว เล่นกระแสให้ประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจผิดถึงสถานะของปปช.ว่าไม่ชอบ


ผมเห็นด้วยกับเพื่อนสมาชิก ณ ที่นี้ว่า ควรมีการส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตีความไปซะให้จบเรื่อง เป็นการตอกย้ำถึงความชอบขององค์กรอิสระปปช.ด้วย

 
บันทึกการเข้า

ถ้ามีแฟนแบบนี้เอาไหมครับ^^


*bonny
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,459



« ตอบ #11 เมื่อ: 25-07-2008, 20:19 »

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?id=42636&catid=1

ความพยายามในการดิ้นพราดๆของพลังประชาชน ก็ดูน่าสงสารดีค่ะ นี่คงเป็นการกรุยทางไว้สำหรับการไม่ยอมรับคำตัดสินบางอย่างของ ปปช.ที่จะมีขึ้นในเร็ววันนี้ แต่อย่างไรก็ตาม หาก ปปช.มีมติอย่างหนึ่งอย่างใด เกี่ยวกับสภาพของรัฐมนตรี หรือนายกรัฐมนตรีออกมา และมีการขัดขืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ก็เป็นเรื่องที่จะต้องวัดดวงกันเองว่า ใครจะไปติดคุก

การยื่นตีความสถานะของ ปปช. นั้นง่ายเพียงนิดเดียว ดูอย่างกรณี คตส. ที่คู่ความในคดีที่ดินรัชดา ค้านต่อศาลฏีกาว่ามีสถานะไม่ถูกต้อง ศาลฏีกาก็ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ เพียงไม่กี่วันขั้นตอนการตีความก็เรียบร้อย และทำให้จำเลยในคดีนั้นจุกไป

การส่งตีความเรื่อง ปปช. ส่งเมื่อไหร่ ไม่นานก็ได้รับคำวินิจฉัย แต่ที่พลังประชาชนยื้อเรื่องไปมาไม่จบสิ้น เพราะกลัวคำวินิจฉัยที่จะออกมา ซึ่งจะทำให้สภาพของ ปปช.มั่นคงยิ่งขึ้น และจะหมดข้ออ้างอันใดอีกต่อไป

เตรียมไปสู่สุขคติเถิด ลิ่วล้อเหลี่ยม 

มันไม่ง่ายอย่างนั้นน่ะสิคุณชมพู

เพราะถ้ามีการยื่นตีความเมื่อไร พวกนั้นต้องการให้ ปปช.หยุดทำหน้าที่จนกว่าจะมีคำพิพากษาครับ  ตรงนี้ต่างหากที่แสบ  เพราะคดีต่างๆ จะหยุดกึกหมด

ไม่ใช่ไม่รู้นะว่า คำตัดสินจะออกมาอย่างไร แต่เป็นเรื่องของเทคนิคการยืดเวลาหายใจให้ทักษิณและสมัครครับ
บันทึกการเข้า

ประเทศชาติมีภัย  เสรีไทยร่วมกอบกู้
protecter
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 465


« ตอบ #12 เมื่อ: 25-07-2008, 20:55 »

วิธีการที่ทำให้ หมักเมถุน และ หน้าเหลี่ยมโกงชาติ รอดจากคดีต่างๆ คือ ใส่ร้ายป้ายสี ปปช ว่ามาไม่ถูกต้อง เพราะคดีส่วนใหญ่ ปปช เป็นผู้ทำ
บันทึกการเข้า
Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #13 เมื่อ: 25-07-2008, 21:28 »

มันไม่ง่ายอย่างนั้นน่ะสิคุณชมพู

เพราะถ้ามีการยื่นตีความเมื่อไร พวกนั้นต้องการให้ ปปช.หยุดทำหน้าที่จนกว่าจะมีคำพิพากษาครับ  ตรงนี้ต่างหากที่แสบ  เพราะคดีต่างๆ จะหยุดกึกหมด

ไม่ใช่ไม่รู้นะว่า คำตัดสินจะออกมาอย่างไร แต่เป็นเรื่องของเทคนิคการยืดเวลาหายใจให้ทักษิณและสมัครครับ
หากหยุดทำหน้าที่ตามที่พวกนั้นต้องการ พวกสมุนแม้วก็จะเล่นเรื่องละเว้นการปฏิบัติหน้าที่อีก  นึกถึงตอน คตส ดีที่ไม่บ้าจี้หยุดทำหน้าตามที่พวกนั้นต้องการ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25-07-2008, 21:30 โดย solidus » บันทึกการเข้า
ooo
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 670


« ตอบ #14 เมื่อ: 25-07-2008, 22:22 »

ตกลง กมธ. มีมติเป็นเอกฉันท์เลยหรือ

ไหนบอกว่ามีสองเสียงของ ปชป.เป็นเสียงข้างน้อยไง

ยังไงกันแน่ครับ

แต่ยังไงก็แล้วแต่ อย่างที่คุณจี ว่าแหละครับ เข้ารกเข้าพง

น่าอนาถจัง ดูมันทำกันไปได้...โชว์โง่อีกแล้ว
บันทึกการเข้า
Sweet Chin Music
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,613



« ตอบ #15 เมื่อ: 25-07-2008, 22:34 »

คาดว่าเรื่องคงไม่ไปถึง ศาลรัฐธรรมนูญ

เพราะไม่งั้น มีหน้าแตก แน่ๆ
บันทึกการเข้า


You'll Never Walk Alone
เข้าไปกันได้ค๊าป- - - >http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=sweetchinmusic&group=1
Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #16 เมื่อ: 25-07-2008, 22:39 »

ตกลง กมธ. มีมติเป็นเอกฉันท์เลยหรือ

ไหนบอกว่ามีสองเสียงของ ปชป.เป็นเสียงข้างน้อยไง

ยังไงกันแน่ครับ

แต่ยังไงก็แล้วแต่ อย่างที่คุณจี ว่าแหละครับ เข้ารกเข้าพง

น่าอนาถจัง ดูมันทำกันไปได้...โชว์โง่อีกแล้ว
ยังงงเหมือนครับครับว่าเอกฉันท์อย่างไร เพราะถ้าเอาตามข่าวที่ว่า

"ผู้สื่อข่าวรายงานว่าการประชุมดังกล่าวมีกมธ.เข้าร่วมประชุมเพียง 8 คนจากกมธ.จำนวน 15 คน โดยเป็นเกมธ.จากพรรคประชาธิปัตย์เพียง 2 คน คือนางสาวเฉลิมลักษณ์ เก็บทรัพย์ ส.ส.สัดส่วนพรรคประชาธิปัตย์ และนายอับดุลการิม เด็งระกีนา ส.ส.ยะลา พรรคประชาธิปัตย์

ด้านนายอับดุลการิม กล่าวว่า กรรมาธิการฯในซีกพรรคประชาธิปัตย์ที่ได้เข้าร่วมประชุมได้แสดงความไม่เห็นด้วยกับเสียงส่วนใหญ่ของคณะกรรมาธิการฯเนื่องจากเห็นว่าคปค.เป็นองค์รัฐาธิปัตย์ที่มีความชอบธรรมในการแต่งตั้งป.ป.ช. ประกอบกับต่อมาได้มีรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2549 และ รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 309 ได้ให้การรับรองเอาไว้ว่าการกระทำที่เกิดขึ้นของคปค.ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น จึงเห็นว่าป.ป.ช.มีที่มาที่ชอบด้วยกฎหมายทุกประการ แต่เมื่อคณะกรรมาธิการเสียงข้างมากมีความเห็นเช่นนี้เราในฐานะที่เป็นเสียงข้างน้อยก็ต้องให้ความเคารพ"

คณะกรรมาธิการฯทั้งหมดมี 15 คน เข้าร่วมประชุมแค่ 8 คน เห็นด้วย 6 คน ไม่เห็นด้วย 2 คน กลายเป็นว่า มีมติ 6 เสียงใน 15 เสียงถือว่าเอกฉันท์ มันจะพิลึกสิครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25-07-2008, 22:41 โดย solidus » บันทึกการเข้า
55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #17 เมื่อ: 25-07-2008, 22:57 »

หากหยุดทำหน้าที่ตามที่พวกนั้นต้องการ พวกสมุนแม้วก็จะเล่นเรื่องละเว้นการปฏิบัติหน้าที่อีก  นึกถึงตอน คตส ดีที่ไม่บ้าจี้หยุดทำหน้าตามที่พวกนั้นต้องการ

เข้าใจว่าส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความคงไม่ต้องหยุดการปฏิบัติหน้าที่มั๊งครับ....ดูเหมือนกฏหมายไม่ได้มีข้อกำหนด เหมือนศาลฏีกาแผนกคดีอาญา...

ดีครับ ....ส่งศาลรัฐธรรมนูญ เร็ว ๆ หน่อย....จะได้ตีความกันซะให้จบ....

แต่ไอ้พวกนี้ มันไม่โง่หรอกครับ....มันจะส่งตอนที่ศาลเริ่มพิจารณา คดีที่เกี่ยวกับ การฟ้องของ ปปช.

เพื่อถ่วงเวลา....แล้ว ปวดหัวตัวร้อน กันอีก ซัก ครั้ง สองครั้ง....ก็ต่อลมหายใจไป อีก 2-3 เดือน...

ไอ้พวกนี้ มันสู้ข้อเท็จจริง ไม่เป็นหรอกครับ...เพราะ ทำผิดกฏหมายอยู่ตลอดเวลา....

ผมอยากเรียกร้องให้ ปชป. ยื่น ศาลรัฐธรรมนูญตีความ แทน พปช.ไปซะเลย...


 
บันทึกการเข้า
Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #18 เมื่อ: 25-07-2008, 23:14 »

เข้าใจว่าส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความคงไม่ต้องหยุดการปฏิบัติหน้าที่มั๊งครับ....ดูเหมือนกฏหมายไม่ได้มีข้อกำหนด เหมือนศาลฏีกาแผนกคดีอาญา...

ดีครับ ....ส่งศาลรัฐธรรมนูญ เร็ว ๆ หน่อย....จะได้ตีความกันซะให้จบ....

แต่ไอ้พวกนี้ มันไม่โง่หรอกครับ....มันจะส่งตอนที่ศาลเริ่มพิจารณา คดีที่เกี่ยวกับ การฟ้องของ ปปช.

เพื่อถ่วงเวลา....แล้ว ปวดหัวตัวร้อน กันอีก ซัก ครั้ง สองครั้ง....ก็ต่อลมหายใจไป อีก 2-3 เดือน...

ไอ้พวกนี้ มันสู้ข้อเท็จจริง ไม่เป็นหรอกครับ...เพราะ ทำผิดกฏหมายอยู่ตลอดเวลา....

ผมอยากเรียกร้องให้ ปชป. ยื่น ศาลรัฐธรรมนูญตีความ แทน พปช.ไปซะเลย...


 
ใช่ครับศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องไม่ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่เหมือนกับศาลฎีการับคำร้อง และศาลฎีกาก็ไม่ได้มีอำนาจในตัดสินว่าที่มาชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องของศาลรัฐธรรมนูญ แต่ถ้า ปปช บ้าจี้ หยุดทำหน้าที่เมื่อไหร่ พวกนี้จะจะใช้เรื่องนี้ฟ้องศาลฎีกา
เรื่องส่งเรื่องให้ศาลัฐธรรมนูญ ผลก็ออกมาเหมือน คตส แหละครับ ไม่ว่าใครจะตั้ง ต่ออายุได้หรือไม่ ในเมื่อรัฐธรรมนูญรับรองสถานะแล้วก็ถือว่าชอบด้วยกฎหมายแล้วครับ 
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: