ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
20-04-2024, 23:30
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ประมุข3 ศาลเสวนา'บทบาทนักกฎหมายไทยใต้ร่มพระบารมี'-ฟังเอาไว้พวกไส้เดือนถูกขี้เถ้า 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ประมุข3 ศาลเสวนา'บทบาทนักกฎหมายไทยใต้ร่มพระบารมี'-ฟังเอาไว้พวกไส้เดือนถูกขี้เถ้า  (อ่าน 1641 ครั้ง)
โกวเฮง
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 334



เว็บไซต์
« เมื่อ: 08-06-2006, 11:01 »

อ้างถึง
http://www.bangkokbiznews.com/2006/06/07/c001_111044.php?news_id=111044

ประมุข3 ศาลเสวนา'บทบาทนักกฎหมายไทยใต้ร่มพระบารมี'

7 มิถุนายน 2549 19:47 น.
ประธาน 3 ศาลร่วมเสวนา “บทบาทนักกฎหมายไทยใต้ร่มพระบารมี” ประธานศาลฎีกา ชี้ปัญหาของประเทศขณะนี้เกิดจากการไม่เคารพกฎหมาย ไม่ยึดประชาชนเป็นสิ่งสำคัญ เตือนนักกฎหมายวางตัวเป็นกลาง

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 15.00 น.พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เสด็จทรงเป็นองค์ประธาน ในการเสวนา เรื่อง “บทบาทนักกฎหมายไทยใต้ร่มพระบารมี” ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีนักกฎหมายเข้าร่วมการเสวนา

อาทิ นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ ประธานศาลฎีกา นายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด นายผัน จันทรปาน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญ นายพชร ยุติธรรมดำรงค์ อัยการสูงสุด นายโภคิน พลกุล รองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ

นายชาญชัย กล่าวว่า ท่ามกลางสถานการณ์บ้านเมืองแตกแยกและแบ่งเป็นฝักฝ่าย ประชาชนชาวไทยมีศูนย์รวมจิตใจคือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ทรงอยู่ในทศพิธราชธรรม และประกอบพระราชกรณียกิจในฐานะประมุขของประเทศภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญต่อเนื่องยาวนานถึง 60 ปี

ซึ่งบทบาทนักกฎหมายไทยเป็นภาพสะท้อนจากพระบรมราโชวาทเกี่ยวกับกฎหมายในโอกาสต่าง ๆ ว่า ผู้มีอาชีพทางกฎหมายนับว่าเป็นหลักของบ้านเมือง และเป็นผู้ให้ความเป็นธรรม แต่ปัญหาคือเรานำกฎหมายของต่างประเทศมาใช้โดยไม่มีการปรับปรุง ทำให้เกิดปัญหา เพราะมุ่งปฏิบัติตามหลักเกณฑ์

“บางครั้งประชาชนก็เข้าไม่ถึงกฎหมาย เช่น กรณีที่ประชาชนอาศัยอยู่ในป่าเป็นเวลา 10 ปี แต่อยู่ ๆ ราชการก็ขีดเส้นว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตป่าสงวน จึงทำให้ประชาชนที่ทำมาหากินมาก่อนกลายเป็นผิดหลักเกณฑ์ไป ซึ่งในที่สุดก็มาใช้อำนาจศาล บางกรณีดูแล้วเหมือนชาวบ้านจะชนะ แต่ถ้าตีความตามลายลักษณ์อักษรประชาชนก็จะแพ้ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอให้นักกฎหมายให้ช่วยดูเรื่องการปกครอง สร้างความเป็นธรรมให้กับประชาชน ซึ่งอาจมีการแก้ไขกฎหมายบ้าง” นายชาญชัย กล่าว

นายชาญชัย กล่าวว่า ศาลไม่ได้มีหน้าที่เป็นเพียงผู้พิพากษา แต่มีสิทธิปรึกษาหารือกันได้ เพราะถือเป็นเจ้าของประเทศคนหนึ่งในการทำหน้าที่แก้ไขการปกครอง ซึ่งถ้าหากใช้กฎหมายไม่ถูก กฎหมายนั้นก็จะเสื่อมและขาดความศักดิ์สิทธิ์ ทำให้ประสิทธิภาพลดลง

ดังนั้น นักกฎหมายต้องรักษาความเป็นกลางและใช้กฎหมายเป็นเครื่องมืออย่างมีมโนธรรม ซึ่งนักกฎหมายที่ดีต้องเป็นผู้มีความยุติธรรม ใช้กฎหมายให้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ มีความกล้าหาญในวิชาชีพ ทำให้ถูกต้อง ไม่เอนเอียง หรือเกรงกลัวอิทธิพลใดและต้องเคารพเชื่อมั่นในคุณธรรมและความถูกต้อง พิจารณาอย่างถี่ถ้วนและมีความละเอียด เพื่อไม่ให้เกิดข้อบกพร่องแม้ว่าจะเป็นเรื่องเล็กน้อย และช่วยกันขจัดช่องว่างของกฎหมายให้หมดไป เพราะนักกฎหมายจะรู้กฎหมายอย่างเดียวไม่ได้ ต้องรอบรู้เรื่องอื่น ๆ ด้วย

โดยเฉพาะผู้พิพากษาในต่างจังหวัดต้องรู้ทั้งเรื่องในและนอกศาลว่าประชาชนอยู่กันแบบใด และนำสิ่งนั้นมาประมวล วิเคราะห์ เพื่อทำให้เกิดความยุติธรรม

นายชาญชัย กล่าวอีกว่า นักกฎหมายต้องให้ความรู้ ความเอาใจใส่ประชาชน และเป็นผู้ที่มีความซื่อตรง ต้องคิดและแก้ไข ทำให้ประชาชนมีชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นทางหนึ่งที่ป้องกันไม่ให้เกิดคดีความในศาล ผู้พิพากษาต้องคิดอยู่เสมอว่าไม่ใช่เป็นผู้พิพากษาเฉพาะอยู่ในศาล และทำตัวเป็นคนธรรมดาเมื่ออยู่นอกศาล

ความจริงเวลาประชาชนพบ ก็ยังเรียกว่า “ท่านผู้พิพากษา” ซึ่งหมายถึงผู้ที่มีความรู้และเป็นที่พึ่ง เมื่อประชาชนเดือดร้อนนอกเวลาราชการ ผู้พิพากษาก็คือผู้ที่ให้ความช่วยเหลือและให้ความเป็นธรรม นักกฎหมายต้องปลูกจิตสำนึกให้เป็นผู้มีอุดมการณ์ มีจริยธรรม และนึกถึงความยุติธรรมมาก่อน

ที่ผ่านมานักกฎหมายละเลยมานาน เพราะยึดแนวความคิดแต่เรื่องตัวบทกฎหมาย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราโชวาทให้กับนักกฎหมายว่าต้องเป็นผู้มีความกล้าหาญในการปฏิบัติหน้าที่ ไม่กลัวต่ออิทธิพลต่าง ๆ และอย่ายึดติดกับตัวกฎหมายอย่างเดียว

ซึ่งเป็นสิ่งที่ชี้ทางสว่างให้กับนักกฎหมายว่าต้องปรับปรุงกฎหมายตรงไหนที่มีข้อบกพร่อง และพัฒนาให้มีความเป็นธรรม และเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้นักกฎหมายมุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่ให้สังคมโดยไม่หวั่นไหว ซึ่งเป็นสิ่งที่นักกฎหมายไทยต้องนำมาปฏิบัติ

นายชาญชัย กล่าวอีกว่า นักกฎหมายจะต้องมีทั้งคุณธรรมและจริยธรรมในการประพฤติตัวและปฏิบัติในวิชาชีพ แม้ว่าจะไม่มีการลงในรายละเอียดในระเบียบ เช่น หากมีบุตรหรือภรรยาเป็นทนายความ ผู้ที่เป็นผู้พิพากษาก็ไม่ควรเข้าไปพิพากษาในคดีนั้น เพราะอาจก่อให้เกิดความรู้สึกว่าไม่ยุติธรรมได้

ทั้งนี้ เห็นว่าเรื่องคุณธรรม จริยธรรม มีบทบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 77 ที่ให้รัฐจัดทำมาตรฐานทางคุณธรรม และจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ พนักงานลูกจ้างของรัฐ เพื่อป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบ เพราะบ้านเราประสบปัญหาฉ้อราษฎร์บังหลวง ซื้อสิทธิขายเสียงในการเลือกตั้งระดับชาติ การประมูลซื้อตำแหน่ง

การวิ่งเต้นเพื่อให้ได้ตำแหน่งที่สูง การยักยอกเงินราชการลับไปใช้ การหลีกเลี่ยงเสียภาษีอากรที่ต้องมีการชำระ ซึ่งเรื่องเหล่านี้จะกลายเป็นเรื่องธรรมดาในสังคม แต่เป็นเรื่องที่ทำให้ประเทศพัฒนาไปได้อย่างไม่ยั่งยืน

ด้านนายอักขราทร กล่าวว่า จากการทำงานที่ผ่านมา พบว่ามีปัญหาเรื่องการใช้กฎหมายพอสมควร ซึ่งเหตุการณ์ที่ผ่านมา เหตุการณ์ที่เป็นอยู่ และเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไปในบ้านเมืองล้วนแล้วเกี่ยวข้องกับกฎหมายทั้งสิ้น และองค์กรที่เกี่ยวกับการใช้กฎหมายทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน

ขณะนี้นักกฎหมายที่จบใหม่หันไปสนใจกับเหตุการณ์และความคิดใหม่ ๆ ทำให้ข้ามความเป็นนิติรัฐ ซึ่งถือเป็นหัวใจและหลักการสำคัญของนิติศาสตร์ ซึ่งการกระทำของฝ่ายบริหารและปกครองต้องเป็นไปตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด

และถูกตรวจสอบได้ด้วยองค์กรตุลาการ ซึ่งความเป็นอิสระของผู้พิพากษาเป็นไปตามการแบ่งอำนาจอธิปไตยที่มี 3 องค์กร คือ องค์กรนิติบัญญัติ องค์กรบริหาร และตุลาการ

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เป็นผลผลิตของสำนักกฎหมายที่สำคัญคือตัวบุคคลที่ต้องเป็นผู้ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งปัญหาเกิดจากคนที่ใช้กฎหมายที่เชื่อว่ามีส่วนอยู่ไม่น้อย

“สถาบันการศึกษาควรดูแลเรื่องนี้ให้ดี ทุกคนควรมีความซื่อสัตย์สุจริตและมีจรรยาบรรณในการประกอบหน้าที่ ทั้งฝ่ายรัฐและฝ่ายนิติบัญญัติ ที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับกฎหมายมหาชนมาก คือมีการแบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือรัฐและเอกชน "นายอักขราทร กล่าวและว่า

ซึ่งความเข้าใจดังกล่าวทำให้เกิดปัญหา เพราะผู้ที่ใช้กฎหมายไม่ใช่รัฐแต่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งไม่มีบทบัญญัติไหนที่จะเอาผิดเจ้าหน้าที่ให้ออกจากตำแหน่งได้ง่าย ไม่เหมือนกับต่างประเทศ ที่พบว่าหากมีเจ้าหน้าที่รัฐกระทำความผิด ก็ให้ออกจากการปฏิบัติหน้าที่ได้เลย และปัญหาความไม่สงบทุกอย่างที่เกิดขึ้นในขณะนี้

" ผมเห็นว่าเกิดจากความหมักหมมของปัญหาที่ทุกฝ่ายคิดว่าไม่ได้รับความยุติธรรม เพราะฉะนั้นนักกฎหมายจึงมีความสำคัญที่ทำให้ประชาชนรู้สึกได้ว่าได้รับความเป็นธรรม” นายอักขราทร กล่าว

ด้านนายผัน กล่าวว่า ไม่ได้จบด้านนิติศาสตร์มาโดยตรง และที่ผ่านมาเป็นข้าราชการฝ่ายปกครองมาโดยตลอด ดังนั้น อยากจะขอพูดเรื่องความประทับใจในการประกอบพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงทุ่มเทพระวรกายเพื่อทุกข์สุขของประชาชน

ดังนั้น เมื่อตนได้เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์และเป็นธรรมในการพิพากษาคดี เพื่อให้เกิดความสงบสุขในบ้านเมืองอย่างที่ 3 ศาลได้ทำในขณะนี้

ขณะที่นายชวน กล่าวว่า ตนรู้สึกดีใจที่ขณะนี้องค์กรศาลได้รับการยอมรับในเรื่องการทำงานที่มีประสิทธิภาพ และทำงานอย่างถูกต้องไม่บิดเบือน ซึ่งหวังว่าคนในฝ่ายกฎหมายจะใช้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องข้อกฎหมายในการสร้างกฎหมายที่ดี และเชื่อว่าในสถาบันการศึกษาจะปลูกฝังนักกฎหมายรุ่นใหม่ออกมาเพื่อแก้ไขวิกฤติปัญหาที่เกิดขึ้นขณะนี้

ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นเริ่มจากการละเมิดกติกา ทำให้ภาพของปัญหามีมากขึ้น เช่น กรณีภาคใต้ หรือการฆ่าตัดตอนผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ซึ่งเกิดขึ้นจากการละเมิด เพราะทำนอกกติกา ซึ่งตนยอมรับว่าถ้ากฎหมายดี แต่มีคนมาละเมิด ก็จะเกิดเงื่อนไข ทำให้แก้ไขปัญหาได้ลำบาก

นายโภคิน กล่าวว่า พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงให้พระบรมราโชวาทกับศาลในการปฏิบัติหน้าที่ และยกว่าพระองค์ท่านเองไม่สามารถใช้มาตรา 7 ได้ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่เห็นได้ว่าพระองค์ท่านทรงดำเนินตามกรอบกติกา

ส่วนเรื่องความซื่อสัตย์ ทุกคนก็ต้องมี แต่ต้องยอมรับว่านักกฎหมายยังคงเป็นมนุษย์อยู่ ดังนั้น อาจออกนอกลู่นอกทางได้ ซึ่งเรื่องความซื่อสัตย์จึงเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าไม่มีก็ไม่สามารถปฏิบัติอย่างอื่นได้

เมื่อการเสวนาดำเนินการถึงช่วงสุดท้าย พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เจ้าฟ้านักกฎหมาย ทรงร่วมแสดงความคิดเห็นว่า จากที่ฟังหลายท่านแสดงความคิดเห็น จึงอยากร่วมแลกเปลี่ยน

หลังจากนี้ขอฝากว่า บทบาทนักกฎหมาย นอกจากจะเผยแพร่ตัวบทกฎหมายแล้ว น่าจะรวมถึงการเผยแพร่บทบาทขององค์กรต่าง ๆ เพื่อให้สังคมเกิดความเข้าใจ

 เพราะกฎหมายเป็นเรื่องของสังคม เป็นเรื่องของประชาชน หลายคนเข้าใจว่า กฎหมายเป็นข้อจำกัดเฉพาะวิชาชีพ จึงอาจจะไม่เข้าใจ

การเข้าใจผิดอาจก่อให้เกิดปัญหา และเกิดช่องว่างด้วย อย่างเช่น ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรศาล ซึ่งต้องขอโทษด้วย ทั้งศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อนๆ ที่เป็นคนนอก ก็เข้ามาถามอยู่บ่อยครั้ง

องค์กรไหนทำหน้าที่อะไร ความจริงคนเรียนกฎหมายใหม่ ยังไม่เข้าใจเลย ความเหล่านี้เข้าใจผิด หรือช่องว่างเหล่านี้ทำให้เกิดความคลางแคลง ไม่น่าเชื่อถือ ทำให้ไม่มีความศักดิ์สิทธิ์ เพราะคนขาดความน่าเชื่อถือ จนรู้สึกว่าไม่ยุติธรรม ยุติธรรมคืออะไร มันวุ่นวายไปหน่อย

 “ ความจริงบางทีเราคงต้องการกาวใจ นั่นคือ ความเข้าใจ ความสามัคคี ซึ่งเป็นพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาโดยตลอด ซึ่งความสามัคคีนี้ นอกจากจะอยู่ในหมู่เองแล้ว ต้องรวมถึงประชาชนและสังคมอีกด้วย”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในเวลาประมาณ 18.30 น.นักกฎหมายองค์กรต่าง ๆ เครือข่ายเยาวชนและประชาชน จะร่วมใจกันจุดเทียนชัยถวายพระพร เนื่องในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 60 ปี ณ สนามฟุตบอล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ ซึ่งประธานร่วมจุดเทียนชัยเอก ประมาณ 60 คน

อาทิ นายชาญชัย นายอักขราทร นายผัน นายพชร นายโภคิน นายชวน นายเดชอุดม ซึ่งเป็นการแสดงถึงความร่วมมือร่วมใจกันของนักกฎหมายองค์กรต่าง ๆ และเครือข่ายเยาวชน เพื่อแสดงความจงรักภักดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ซึ่งจะมีการตั้งปณิธาน นำโดยประธาน 3 ศาล เพื่อแสดงเจตนาการเป็นนักกฎหมายที่ดี

ฟังเอาไว้พวกไส้เดือนถูกขี้เถ้าทั้งหลาย แล้วอย่าลืมเอาไปใช้ด้วยล่ะ
บันทึกการเข้า

ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #1 เมื่อ: 09-06-2006, 00:27 »

นายโภคิน กล่าวว่า พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงให้พระบรมราโชวาทกับศาลในการปฏิบัติหน้าที่ และยกว่าพระองค์ท่านเองไม่สามารถใช้มาตรา 7 ได้ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่เห็นได้ว่าพระองค์ท่านทรงดำเนินตามกรอบกติกา

ส่วนเรื่องความซื่อสัตย์ ทุกคนก็ต้องมี แต่ต้องยอมรับว่านักกฎหมายยังคงเป็นมนุษย์อยู่ ดังนั้น อาจออกนอกลู่นอกทางได้ ซึ่งเรื่องความซื่อสัตย์จึงเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าไม่มีก็ไม่สามารถปฏิบัติอย่างอื่นได้



  นายโภคินฟังเสร็จ ยังแผ่นเสียงตกร่องเหมือนเดิม ยังกอด"กรอบกติกา"ของเสี่ยแม้วต่อไป......ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า



บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #2 เมื่อ: 09-06-2006, 11:59 »

โภคิน ยังเหน็บเรื่อง ม.7 อีกเล็กน้อย.........ทุกเม็ดเลยนะเพ่
บันทึกการเข้า
Sweet Chin Music
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,613



« ตอบ #3 เมื่อ: 09-06-2006, 12:22 »

นายโภคิน กล่าวว่า พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงให้พระบรมราโชวาทกับศาลในการปฏิบัติหน้าที่ และยกว่าพระองค์ท่านเองไม่สามารถใช้มาตรา 7 ได้ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่เห็นได้ว่าพระองค์ท่านทรงดำเนินตามกรอบกติกา

ส่วนเรื่องความซื่อสัตย์ ทุกคนก็ต้องมี แต่ต้องยอมรับว่านักกฎหมายยังคงเป็นมนุษย์อยู่ ดังนั้น อาจออกนอกลู่นอกทางได้ ซึ่งเรื่องความซื่อสัตย์จึงเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าไม่มีก็ไม่สามารถปฏิบัติอย่างอื่นได้

หุหุ พรรคพวกท่าน ออกไปไกลแล้ว สงสัยหลงทางจนกลับมาไม่ได้ ได้แต่เอาสีข้างเข้าถูไปเรื่อยๆ 555+

อุตสาห์มีคนหวังดี ชี้ทางออกให้ ดันไม่เชื่อ อีก เหอๆ สีซอ โดยแท้
บันทึกการเข้า


You'll Never Walk Alone
เข้าไปกันได้ค๊าป- - - >http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=sweetchinmusic&group=1
หน้า: [1]
    กระโดดไป: