ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
19-04-2024, 08:00
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  สรุปว่าตอนนี้ช่อง 11 (NBT) สามารถโฆษณาได้เหมือนฟรีทีวีช่องอื่น ๆ แล้วหรือครับ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
สรุปว่าตอนนี้ช่อง 11 (NBT) สามารถโฆษณาได้เหมือนฟรีทีวีช่องอื่น ๆ แล้วหรือครับ  (อ่าน 2339 ครั้ง)
noppon
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 165



« เมื่อ: 22-07-2008, 20:07 »

เมื่อสักครู่กดรีโมทดูทีวีช่องต่าง ๆ ไปเรื่อย ๆ (ปกติจะแช่ไว้ที่ช่อง ASTV) เห็นช่อง 11
มีโฆษณาหลายตัวต่อเนื่องกันเหมือนฟรีทีวีทั่ว ๆ ไป จำได้ว่ามีระเบียบหรือข้อกฏหมายอะไรสักอย่าง
ที่กำหนดไว้ไม่ให้ช่อง 11 มีโฆษณาได้ไม่ใช่หรือครับ หรือว่าเขาแก้ไขกันไปเรียบร้อยแล้ว

เพราะถ้าโฆษณากันได้แบบฟรีทีวีอย่างนี้ ผลประโยชน์ในแต่ละปีมันก็มหาศาลเลย
แต่ส่วนที่ต้องจ่ายให้รัฐกลับแค่เล็กน้อย

อย่างนี้จะเรียกว่าเป็นอีก 1 กรณีปล้นสมบัติชาติกันอีกรายการหนึ่งหรือเปล่า
บันทึกการเข้า

สมาชิกลำดับที่ #71 ครับ
mebeam
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 634


Fear can hold you prisoner. Hope can set you Free.


« ตอบ #1 เมื่อ: 22-07-2008, 20:42 »

                                                    เปิดขุมทรัพย์ ช่อง 11



 เปิดขุมทรัพย์ช่อง 11 บริษัท ดิจิตอลฯ ผู้ร่วมผลิตข่าวรายใหม่ คาดฟันเงินปีละกว่า 1,500 ล้าน สัญญาตอบแทนปีละ 45 ล้านจ่ายเข้ารัฐ แบ่งขายโฆษณา 1 ชม. โฆษณาได้ 10 นาที บริษัทมีสิทธิขายได้ถึง 7 รัฐมักน้อยเอาแค่ 3 รักษาการ ผอ.ช่อง 11 ยอมรับ ไม่เคยร้างการเมือง



 การรีแบรนดิ้ง (Re-branding) สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ ให้เป็นโมเดิร์นอีเลฟเว่น หรือในชื่อใหม่สถานีโทรทัศน์ เอ็นบีที (National Broadcasting Television) ที่จะเริ่มดีเดย์แพร่ภาพเป็นครั้งแรกวันที่ 1 เมษายนนี้ กำลังเป็นที่จับตาของหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องว่า ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ ที่เป็นสถานีโทรทัศน์ภายใต้การควบคุมของรัฐจะยังคงเป็นสถานีที่ทำเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ หรือจะเป็นเพียงแหล่งผลประโยชน์ให้แก่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง


 การดึงบริษัทเอกชนเข้าไปบริหารงานข่าวของช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ ของนายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในครั้งนี้ อาจไม่ใช่เรื่องใหม่นัก เพราะก่อนหน้านี้ช่อง 11 ก็ได้ใช้วิธีการให้บริษัทเอกชนนำบุคลากรภายนอกเข้าไปบริหารงานข่าว ทั้งข่าวภาคเช้า ข่าวภาคเที่ยงและข่าวภาคค่ำมาแล้ว


 สิ่งที่แตกต่างก็คือ การเอาบริษัทเอกชนเข้าไปบริหารงานข่าวของช่อง 11 ในครั้งนี้ กลับยกช่วงเวลาข่าวทั้งหมดให้แก่บริษัทเพียงบริษัทเดียว ขณะที่เมื่อก่อนมีการแบ่งช่วงเวลาให้หลายบริษัทในการเข้าไปรวมผลิตรายการให้ช่อง 11 มีการทำสัญญากันปีต่อปี


 โดยรวมหลายบริษัทแล้วจะมีการเสนอค่าตอบแทนที่อัตรา 39-40 ล้านต่อปี ซึ่งเงินจำนวนนี้ช่อง 11 จะนำไปจัดสรรเป็นค่าใช้จ่ายให้แก่พนักงานสิทธิประโยชน์ ซึ่งเป็นพนักงานที่บริษัทต่างๆ ส่งเข้าไปทำงานภายในช่อง 11 แต่ไม่ได้เป็นข้าราชการ หรือลูกจ้างช่อง 11


 รายชื่อบริษัทที่เข้าไปบริหารงานข่าวที่จะเริ่มวันที่ 1 เมษายนนี้ ได้รับการเปิดเผยเมื่อวันที่ 24 มีนาคม ซึ่งมีการแถลงข่าวเปิดตัวสถานีเอ็นบีทีว่า เป็นบริษัท ดิจิตอล มีเดีย โฮลดิ้ง จำกัด มีกรรมการ 2 คน คือ นายอดิศักดิ์ ชื่นชม และนายพรเลิศ ยนตร์ศักดิ์สกุล อดีตบรรณาธิการข่าวอาชญากรรมทีไอทีวี ซึ่งจดทะเบียนด้วยทุนถึง 10 ล้านบาท เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2550 บริษัทนี้ได้เซ็นสัญญากับช่อง 11 เป็นเวลา 2 ปี มีการเสนอผลตอบแทนปีละ 45 ล้านบาท


 ขณะเดียวกัน มีการเปิดเผยออกมาว่า บริษัท ดิจิตอลฯ เสนอผลตอบแทนเป็นสิทธิประโยชน์แก่ช่อง 11 เป็นจำนวนเงินสูงสุด 45 ล้านบาท ส่วนอีกหนึ่งบริษัทซึ่งไม่มีการเปิดเผยชื่อ เสนอผลตอบแทน 30 ล้านบาท และ 8 บริษัทเดิมที่ผลิตรายการข่าวให้ช่อง 11 ให้ผลตอบแทนปีละ 39-40 ล้านบาท


 เหตุผลที่บริษัท ดิจิตอลฯ ได้รับการคัดเลือกนั้น นายสุริยงค์ หุณฑสาร รักษาการผู้อำนวยการสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย กล่าวไว้ว่า หลังจากนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ให้นโยบายเรื่องการปรับโฉมช่อง 11 เป็นโมเดิร์นอีเลฟเว่น ช่อง 11 จึงได้สรรหาบริษัทเข้ามาดำเนินการ ซึ่งมีผู้นำเสนอเข้ามา 2 ราย และรายที่ถูกคัดเลือกก็คือ บริษัท ดิจิตอล มีเดีย โฮลดิ้ง จำกัด


 รักษาการผู้อำนวยการช่อง 11 ยังชี้แจงว่า บริษัท ดิจิตอลฯ ได้รับคัดเลือกเพราะมีทีมงานที่มีความรู้ความสามารถด้านงานข่าว มีผลงานที่ดีในอดีต มีทีมงานที่สามารถผลิตข่าว ถือเป็นเป้าหมายหลักในการปรับโฉมเฟสแรกของช่อง 11 ได้ โดยทีมงานเป็นทีมงานข่าวจากทีไอทีวีเดิม มีนายฉัตรชัย ตะวันธรงค์ อดีตผู้ช่วยบรรณาธิการบริหาร สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี และผู้บริหารบริษัท ไอ-นิวส์ เซ็นเตอร์ จำกัด มาเป็นหัวหน้าทีมข่าวสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที ในฐานะพนักงานสิทธิประโยชน์ของช่อง 11


 เมื่อตรวจสอบข้อมูลการจดทะเบียนธุรกิจกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า จะพบว่าบริษัท ไอ-นิวส์ เซ็นเตอร์ จำกัด เพิ่งจดทะเบียนเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2551 ที่ผ่านมาหมาดๆ มีกรรมการคือ นาย ฉัตรชัย ตะวันธรงค์ อดีตกรรมการบริหารสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ด้วยทุนจดทะเบียนบริษัท 1 ล้านบาท วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งบริษัทเพื่อให้บริการข้อมูลข่าวสาร ผลิตข่าว


 แหล่งข่าวในช่อง 11 รายหนึ่งเปิดเผยต่อ "คม ชัด ลึก" ว่า ก่อนที่จะมีการรีแบรนดิ้งช่อง 11 นั้น กรมประชาสัมพันธ์เปิดโอกาสให้บริษัทต่างๆ เข้าไปร่วมผลิตรายการข่าว แต่ละบริษัทจะเสนอเงินตอบแทนเป็นรายปี ที่ผ่านมาบริษัทแห่งหนึ่งที่ร่วมผลิตรายการข่าวเช้าเสนอผลประโยชน์ให้ช่อง 11 ในราคาปีละประมาณ 7 ล้านบาท ค่าโฆษณาแบ่งในอัตรา 7 ต่อ 3 คือบริษัทขายโฆษณาได้ 7 ส่วน ช่อง 11 ขายโฆษณาได้ 3 ส่วน ส่วนบริษัทที่ร่วมผลิตข่าวเที่ยง เสนอผลตอบแทนในราคาปีละประมาณ 4 ล้านบาท สำหรับข่าวภาคค่ำ มีการจ่ายผลตอบแทนที่ประมาณปีละ 17 ล้านบาท เมื่อรวมๆ กับรายการข่าวอื่นๆ ค่าตอบแทนในแต่ละปีก็สูสีกับที่บริษัท ดิจิตอลฯ เสนอตอบแทนให้ช่อง 11 ประมาณ 39-40 ล้านบาทต่อปี โดยเงินจำนวนนี้จะถูกส่งให้ช่องเป็นรายเดือน และช่อง 11 จะเป็นผู้นำมาจัดสรรเป็นค่าตอบแทนหรือเงินเดือนให้แก่พนักงานกลุ่มสิทธิประโยชน์


 แหล่งข่าวภายในช่อง 11 เปิดเผยว่า งบประมาณที่บริษัทใหม่เข้าไปเสนอจ่ายจำนวน 45 ล้านบาท ให้แก่กรมประชาสัมพันธ์ เป็นงบประมาณที่ใกล้เคียงกับบริษัทร่วมผลิตที่ผ่านๆ มาเคยจ่ายให้ช่อง 11 แต่สิ่งที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิงคือ บริษัทใหม่ที่เข้าไปได้ชั่วโมงในการทำรายการข่าวเพียงบริษัทเดียว เมื่อบริษัทเก่าที่ทำอยู่ยังมีสัญญากับลูกค้าที่ซื้อโฆษณาอยู่ ก็จำเป็นต้องหันไปซื้อโฆษณาต่อจากบริษัท ดิจิตอลฯ อีกที นั่นหมายความถึงรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น


 เมื่อคาดการณ์ถึงรายได้ที่บริษัท ดิจิตอลฯ จะได้รับสำหรับการเข้าไปร่วมผลิตรายการข่าวกับช่อง 11 นั้น จากการตรวจสอบพบว่า มีการตั้งราคาสำหรับโฆษณาข่าวเช้า ช่วงเวลา 06.00-08.00 น. ที่อัตรานาทีละ 5 หมื่นบาท ข่าวเที่ยง ช่วงเวลา 12.00-13.30 น. ราคาโฆษณาอยู่ที่ 6 หมื่นบาท และราคาจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงไพรม์ไทม์ นั่นคือ ข่าวภาคค่ำ เวลา 18.00-21.00 น. ราคา 1 แสนบาท ถึง 1.2 แสนบาทต่อนาที


 ส่วนรายการ ถามจริง ตอบตรง ดำเนินรายการโดย จอม เพ็ชรประดับ ที่อยู่ในช่วงเวลาข่าวอยู่ที่ราคา 1.2 แสนบาทเช่นกัน และรายการเอ็นบีที ฮอตนิวส์ เวลา 21.00-22.00 น. ราคาอยู่ที่ 1.2 แสนบาท จากนั้นในรายการข่าวภาคดึก ราคาอยู่ที่ 5 หมื่นบาทต่อนาที รวมถึงข่าวเบรกที่ซื้อโฆษณากันในราคา 5 หมื่นต่อนาทีเช่นกัน


 หากคิดจากจำนวนชั่วโมงข่าวที่บริษัทใหม่ได้เข้าไปบริหารเวลา คือ 9 ชั่วโมงครึ่ง สามารถโฆษณาได้ชั่วโมงละ 10 นาที แต่บริษัทมีส่วนแบ่งกับสถานีคือ ช่อง 11 ขายได้ 3 นาที บริษัทขายได้ 7 นาที นั่นคือ บริษัทสามารถหารายได้จากโฆษณาได้ถึง 66.5 นาทีต่อวัน


 ในจำนวนดังกล่าวหากลองคำนวณดูจะพบว่า ในโฆษณาข่าวเช้า รายการความยาว 2 ชั่วโมง มีโฆษณาได้ 20 นาที บริษัทขายโฆษณาได้ 14 นาที นาทีละ 5 หมื่น รวม 7 แสนบาทต่อวัน ขณะที่ ช่อง 11 ได้ส่วนแบ่ง 6 นาที รวม 3 แสนบาท


 โฆษณาข่าวเที่ยง ความยาว 1 ชั่วโมง 30 นาที มีโฆษณาได้ 15 นาที บริษัทขายโฆษณาได้ 10 นาทีครึ่ง นาทีละ 6 หมื่นบาท รวม 9 หมื่นบาทต่อวัน


 โฆษณาข่าวค่ำ ความยาว 3 ชั่วโมง มีโฆษณาได้ 30 นาที บริษัทขายโฆษณาได้ 21 นาที นาทีละ 1-1.2 แสนบาท รวม 2.1 ล้านบาทต่อวัน
 โฆษณารายการ เอ็นบีที ฮอตนิวส์ ความยาว 1 ชั่วโมง มีโฆษณาได้ 10 นาที บริษัทขายโฆษณาได้ 7 นาที นาทีละ 1.2 แสนบาท รวม  8.4 แสนบาทต่อวัน


 รายการ ร่วมมือร่วมใจ ความยาว 1 ชั่วโมง มีโฆษณาได้ 10 นาที บริษัทขายโฆษณาได้ 7 นาที นาทีละ 5 หมื่นบาท รวม 3.5 แสนบาทต่อวัน
 โฆษณาข่าวภาคดึก ความยาวครึ่งชั่วโมง มีโฆษณาได้ 5 นาที บริษัทขายโฆษณาได้ 3.5 นาที นาทีละ 5 หมื่นบาท รวม 175,000 บาทต่อวัน
 โฆษณาข่าวเบรกตลอดวัน ความยาวประมาณ 30 นาที มีโฆษณาได้ 5 นาที บริษัทขายโฆษณาได้ 3.5 นาที นาทีละ 5 หมื่นบาท รวม 175,000 บาทต่อวัน


 รวมเวลาข่าวที่บริษัท ดิจิตอลฯ ได้สัมปทานครั้งนี้ 9.5 ชั่วโมง หากขายโฆษณาได้เต็มทุกช่วง บริษัทจะมีรายได้ต่อวัน 4,430,000 บาท รายเดือน 132,900,000 บาท รายได้ยังไม่หักค่าใช้จ่ายประมาณ 1,594,800,000 บาทต่อปี ถือว่าเป็นรายได้ที่สูงมากสำหรับบริษัทที่เพิ่งเปิดดำเนินกิจการเพียงไม่กี่เดือน


 อย่างไรก็ตาม โฆษณาที่จะสามารถออกอากาศทางช่อง 11 ได้นั้น จะต้องเป็นโฆษณาภาพลักษณ์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ยกเว้นในส่วนของข่าวกีฬา หรือรายการกีฬาอื่นๆ จึงจะสามารถขายโฆษณาแบบบรรยายสรรพคุณของสินค้าได้ ซึ่งมีรายงานว่า บริษัท ดิจิตอลฯ ก็ได้เสริมทัพด้านการตลาด โดยการดึงทีมขายเกือบทั้งหมดจากทีไอทีวีมาอยู่ที่แห่งใหม่นี้เพื่อดึงโฆษณาที่เคยลงให้ทีไอทีวีซึ่งปัจจุบันแปลงเป็นทีวีสาธารณะและไม่สามารถโฆษณาได้ มาอยู่กับช่อง 11 ดังนั้น จึงน่าจับตาดูว่า งบประมาณการซื้อโฆษณาจากบริษัทต่างๆ ที่เคยลงให้ไอทีวี หรือทีไอทีวี ประมาณ 2,000 ล้านบาทต่อปี จะไหลมาลงยังช่อง 11 โฉมใหม่หรือไม่ บวกกับโฆษณาจากหน่วยงานราชการต่างๆ ที่คาดว่าจะมีการกันงบโฆษณาส่วนหนึ่งมาลงที่นี่เช่นกัน
 อีกทั้งการปรับโฉมช่อง 11 ในครั้งนี้ ก็ยังเป็นการปรับโฉมในเฟสแรกเท่านั้น ยังเหลือรายการอีกประมาณ 40-50 เปอร์เซ็นต์ ที่ช่อง 11 ภายใต้การกำกับดูแลของนายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่จะมีการปรับปรุงในเฟสต่อๆ ไป 


 นายสุริยงค์ หุณฑสาร รักษาการผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 กล่าวต่อ "คม ชัด ลึก" ถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ว่า สถานการณ์บังคับช่อง 11 หากไม่เปลี่ยนเราก็ถอยหลัง การปรับใหม่จึงต้องการเสนอข่าวเป็นอิมแพ็กเดียวให้เป็นเอกภาพทั้งช่อง แล้วก็คัดเลือกบริษัทใหม่เข้ามาเพียงบริษัทเดียว คือบริษัท ดิจิตอลฯ ช่วงแรกมีผู้ประกาศข่าวทั้งเก่าและใหม่รวมกัน 40 คน ซึ่งคนเก่าก็ยังคงอยู่เหมือนเดิม เพราะไม่อยากให้หน้าจอใหม่เป็นไอทีวี


 "วันนี้เราเพิ่งจะลุกขึ้นมายืน เราต้องปรับข่าวและมีทางเลือกที่หลากหลาย โดยปรับข่าวและวิธีคิดให้มีคุณภาพมากที่สุด เพิ่มเวลาข่าวและทำเรื่องที่คนสนใจให้มากขึ้น โดยเป็นข่าวสาระ 70% บันเทิง 10% อีก 20% เป็นรายการกีฬาและอื่นๆ มีการพูดกันไปเองว่า เราแข่งกับไทยพีบีเอส เขามีเงินมากขนาดนั้น ผมจะไปสู้เขาหรือ ต้นทุนเรามีแค่นี้ แต่ถ้าเปิด 24 ชั่วโมงแล้วไม่มีคนดู ก็ปิดสถานีดีกว่า" รักษาการผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 กล่าว


 นายสุริยงค์ยังย้ำด้วยน้ำเสียงหนักแน่นว่า "ผมมีจิตวิญญาณการทำสื่อและอะไรไม่เป็นประโยชน์ต่อสถานี ผมก็รับไม่ได้ แต่วันนี้เราต้องให้โอกาสรัฐบาล เพราะประชาชนได้ประโยชน์ ต้องยอมรับว่ารายการช่อง 11 หลายรายการยังไม่ดี ไม่น่าสนใจ วันนี้เขาบอกว่าคุณลองทำให้ดีขึ้นได้หรือไม่ เป็นเรื่องท้าทายและเป็นประโยชน์ ผมก็เข้าไปทำเต็มที่ หากทำไม่ได้ 6 เดือนเขาก็ย้ายผมเท่านั้นเอง"


 ส่วนข้อสงสัยที่ว่า บริษัท ดิจิตอลฯ มีนักการเมืองสนับสนุนเบื้องหลังหรือไม่นั้น นายสุริยงค์กล่าวว่า ตนไม่มีความรู้สึกหรือคิดว่าเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวการเมือง เพราะสนใจแค่ว่าบริษัท ดิจิตอลฯ เข้ามาแสวงหาแต่ผลประโยชน์ หรือจะมาทำให้ช่อง 11 คล่องตัวขึ้น ทำงานดีขึ้นไหม
 "ถามว่ายุคไหน กรมประชาสัมพันธ์ ไม่มีบริษัทไหนที่มีนักการเมืองหนุนหลังบ้าง ดังนั้น ขอเวลาพิสูจน์ผลงาน 6 เดือน" นายสุริยงค์กล่าว

 
โดย ตมิสา


http://www.oknation.net/blog/print.php?id=244220

สรุป รัฐได้ ปีละ 45 ล้าน + และโฆษณารัฐอีกประมาณ 30 %
     
บริษัท ดิจิตอลฯ   เสียค่าใช้จ่ายการทำข่าว และสัมปะทานอีก 45 ล้าน รายรับ  1,594,800,000 ต่อปีไม่หักค่าใช้จ่าย และภาษี
 
ประชาชนมีข่าวดู 9 ชม.ครึ่งต่อวัน

ว่าแล้วข่าวช่องนี้ถึงดีเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ   เดี๋ยวก็แซงทุกสถานี 

   
บันทึกการเข้า
เพื่อนร่วมชาติ
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 777


« ตอบ #2 เมื่อ: 22-07-2008, 21:01 »

ถ้าจำไม่ผิด โฆษณาได้นานแล้วนะครับ แต่ผมจำไม่ได้ว่าปีไหน
บันทึกการเข้า
bangkaa
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 407



« ตอบ #3 เมื่อ: 22-07-2008, 21:58 »

สนธิ ออก ยามเฝ้าแผ่นดิน 10 ชั่วโมง... ใน 10 วัน...ที่ช่อง 11... หาว่าแบ่งเค้ก...จะเป็นจะตายกัน....


DIGITAL MEDIA HOLDING......  กินรวบ ทั้งวัน ทั้งคืน ช่อง 11.....

เงียบกริบ...ไม่มีใคร สักแอะ....




 
บันทึกการเข้า

มาทำหน้าที่... ใช้หนี้แผ่นดิน...และมาทำบุญ...
หน้า: [1]
    กระโดดไป: