ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
20-04-2024, 11:00
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ตามติดคำให้การของพยานที่ดินรัชดา 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ตามติดคำให้การของพยานที่ดินรัชดา  (อ่าน 2238 ครั้ง)
mebeam
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 634


Fear can hold you prisoner. Hope can set you Free.


« เมื่อ: 22-07-2008, 17:55 »

เพื่อเป้นการตามติดการให้การของพยานโจทย์พยานจำเลยในคดีที่ดิน เลยจะตั้งกระทู้ตามติดคำให้การให้พิจารณากันโดยทั่ว
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
     นัดแรกที่ดินรัชดาส่อเห็นคุกวีระขอถอนประกันแม้ว-อ้อ



       8 ก.ค.เวลา 09.30 น.ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง สนามหลวง นายทองหล่อ โฉมงาม
 ผู้พิพากษาอาวุโสเจ้าของสำนวน พร้อมองค์คณะผู้พิพากษา 9 คนออกนั่งบัลลังก์ไต่สวนพยานโจทก์ครั้งแรก
 ในคดีหมายเลขดำที่ อม.1//2550 ที่อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
 และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา เป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐานทุจริตซื้อขายที่ดินย่านรัชดาภิเษกมูลค่า 772 ล้านบาท
 ตามประมวลกฎหมายอาญา และ พ.ร.บ.ว่าด้วยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พ.ศ.2542
     
      เติ้ง-ชวนเบิกความเป็นพยาน

       โดย นายเศกสรรค์ บางสมบุญ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ หัวหน้าคณะทำงานรับผิดชอบว่าความ นำนายบรรหาร ศิลปอาชา
หัวหน้าพรรคชาติไทย และนายชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ เป็นพยานขึ้นเบิกความ

โดย ศาล ได้สอบถามนายบรรหาร ว่าขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้เคยเข้าไปดูแลกำกับ
กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินและหน่วยงานที่เป็นรัฐวิสาหกิจทั้ง โดยตรงและโดยอ้อมหรือไม่
นายบรรหาร ตอบว่า ระหว่างที่เป็นนายกรัฐมนตรีในปี 2538-39 ไม่มี ซึ่งการดูแลกิจการรัฐวิสาหกิจจะมีรัฐมนตรี
ซึ่งได้รับมอบหมาย เป็นผู้ดูแล

เมื่อโจทก์ถามว่าระหว่างที่เป็นนายกรัฐมนตรีได้เคยเข้าไปกำกับดูแล ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือไม่
นายบรรหาร ตอบว่าไม่เคย

เมื่อ ถามต่อว่าในระหว่างที่เป็นนายกฯ เคยไปดูแลการแต่งตั้งโยกย้ายผู้ว่า ธปท.หรือไม่ ซึ่งช่วงปลายปี 2538
ได้มีการย้ายนายวิจิตร สุพินิจ ผู้ว่าธปท.ขณะนั้น
นายบรรหาร ตอบว่า ในการเปลี่ยนแปลงโยกย้ายเป็นไปตามที่นายสุรเกียรติ เสถียรไทย รมว.คลังขณะนั้นได้มีการเสนอต่อ ครม.

เมื่อถามย้ำว่าสมัยที่เป็นนายกฯเคยเกี่ยวข้องอนุมัติสนับสนุนเงินกองทุนฯหรือไม่
นายบรรหารตอบว่า ไม่เคย

ขณะ ที่นายอเนก คำชุ่ม ทนายความ จำเลยซักถามว่า ระหว่างที่เป็นนายกฯ ได้มีการรายงานเกี่ยวกับการบริหารงานของกองทุนฯ
เกี่ยวกับการได้มาซึ่งที่ดิน ว่า ได้มาอย่างไรและมีมูลค่าเท่าใดหรือไม่
นายบรรหาร ตอบว่า ไม่มี

เมื่อ ถามต่อว่า ที่เคยให้การกับคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.)
ว่าเป็นไปตาม พ.ร.บ.บริหารระเบียบราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ม.11 ที่ระบุว่านายกฯมีอำนาจควบคุมดูแลกระทรวงทบวงกรมโดยทั่วไป
ความหมายดังกล่าวหมายความถึงการบริหารกองทุนฟื้นฟูหรือไม่
นายบรรหาร ตอบว่า กองทุนถูกตั้งขึ้นมาเพื่อบริหารและแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งไม่ชัดเจนว่าจะถือเป็นอำนาจหน้าที่ทั่วไปตามกฎหมายนั้นหรือไม่
 แต่ส่วนตัวเห็นว่า น่าจะเป็นอำนาจโดยเฉพาะ ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของ ธปท.ซึ่งมี รมว.คลัง ดูแลอยู่ด้วย


ต่อมาอัยการนำ นายชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ขึ้นเบิกความเป็นปากที่สอง
โดยได้ตอบคำถามเดียวกับที่ศาลถามนายบรรหาร สรุปว่า นายกฯจะใช้อำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจผ่าน
 รมว.คลังที่ได้รับมอบหมายดูแล ซึ่งในส่วนของกองทุนฯจะมีผู้ว่า ธปท.ดูแลและมี รมว.คลังกำกับดูแลอีกชั้นหนึ่ง
 ซึ่งรัฐบาลจะเป็นผู้ให้เงินสนับสนุนกองทุนฯ โดยในช่วงปี 2541 เคยลงนามให้นำเงินไปสนับสนุนกองทุนฯ แต่จำรายละเอียดไม่ได้

เมื่อทนายจำเลยถามว่าในการบริหารกองทุนฯมีคณะกรรมการดูแลอิสระ นายกฯไม่มีอำนาจสั่งการใช่หรือไม่
นายชวน ตอบว่า กองทุนฯอยู่ภายใต้กำกับของ ธปท.มีผู้ว่า ธปท.เป็นผู้ดูแล และมี รมว.คลัง กำกับดูแล ธปท.อีกชั้น

เมื่อถามว่าขณะที่เป็นนายกฯ เคยสั่งการในการบริหารงานกองทุนฯหรือไม่
นายชวนตอบว่า ไม่มี ซึ่งนายกฯจะไม่ได้เป็นผู้สั่งการ ถ้าเรื่องนั้นไม่ได้ถูกเสนอเข้าสู่ที่ประชุม ครม.
     
      วีระเบิกความยันความผิด

       ต่อมาอัยการนำนายวีระ สมความคิด ประธานเครือข่ายประชาชนต่อต้านคอร์รัปชั่นและนักสิทธิมนุษยชน
ซึ่งเป็นผู้ร้องเรียนในคดีนี้ต่อ คตส. โดยศาลได้นำเอกสาร ที่เคยให้การต่อ คตส.เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2549
 นายวีระ ยืนยันตามเอกสารให้การดังกล่าวว่า เหตุที่มีการร้องเรียนพบว่าจำเลยทั้งสอง น่าจะมีความผิดในการ
ที่จำเลยที่สอง เข้าประมูลซื้อที่ดินกองทุนฯ ซึ่งพยานเคยยื่นเรื่องต่อกองปราบปรามและ ป.ป.ช. แต่
ทั้งสองหน่วยงานมีหนังสือตอบกลับว่าคดีไม่ได้อยู่ในอำนาจทั้งที่ในการประมูล ขายที่ดินพบว่าจำเลยมีการ
ได้ประโยชน์แต่กองทุนฯได้รับความเสียหายเพราะ ที่ดินที่ถูกประมูลซื้อไปในราคาถูกกว่าที่กองทุนซื้อที่ดินจากบริษัทเงินทุน
 หลักทรัพย์เอราวัณทรัสต์ ที่มีราคา 1,908 ล้านบาท แต่ขายให้จำเลยที่สองในราคา 772 ล้านบาท
 เท่ากับกองทุนฯขาดทุนไปกว่า 1,100 ล้านบาท ซึ่งการทำสัญญาซื้อขายดังกล่าวแตกต่างกับการทำสัญญาใช้ประปาและไฟฟ้า
เพราะกรณีการทำสัญญาใช้น้ำและไฟ หากไม่ได้มีการทำสัญญาร่วมกัน ฝ่ายที่ไม่ได้ทำสัญญาก็จะไม่ได้รับประโยชน์หรือเสียประโยชน์ใดๆ ซึ่งแตกต่างจากกรณีนี้
     
      เชื่อพันสินบน2ล้านขอถอนประกัน

       นอกจากนี้ระหว่างเบิกความ นายวีระ ได้ยื่นส่งเอกสารเพิ่มเติมต่อศาลรวม 5 ฉบับ
เป็นเอกสารแสดงการเปรียบเทียบการประเมินราคาที่ดิน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ พ.ศ.2542 พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ปช.
 ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม และแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4881/2541 คดีที่นายประวิทย์ ขัมภรัตน์ ยื่นฟ้องนายอานันท์ ปัญญารชุน
 กับพวก ทั้งนี้เพื่อยืนยัน เรื่องอำนาจ หน้าที่ นายกรัฐมนตรี และการยืนยันสถานะนายกรัฐมนตรีว่าเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ
ทั้งนี้ศาลรับไว้เป็นเอกสารของฝ่ายโจทก์ ขณะเดียวกันนายวีระ ได้แถลงด้วยวาจาต่อศาลขอให้เพิกถอนประกัน พ.ต.ท.ทักษิณ
 และ คุณหญิงพจมาน จากกรณีที่อดีตทนายความ 3 คน ในคดีนี้ถูกศาลฎีกาพิพากษาจำคุก 6 เดือนฐานละเมิดอำนาจศาล
กรณีที่นำถุงขนมใส่เงินสด 2 ล้านมาให้เจ้าหน้าที่ธุรการศาลฎีกา เนื่องจากเห็นว่าทั้งสองมีส่วนเกี่ยวข้องในการที่จะยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน ในคดี

       อย่างไรก็ดีเมื่อทนายความจำเลย ถามย้ำนายวีระ ว่า ในการยื่นร้องเรียนนั้นไม่ได้มีการขอตรวจสอบข้อมูล
 และเอกสารการประมูลซื้อขายที่ดินจากกองทุนฟื้นฟู หรือไม่
นายวีระ ตอบว่า ไม่เคยขอ แต่ข้อมูลที่ตนร้องเรียนได้มาจากที่ตนตรวจสอบ และบุคคลอื่นๆ รวมทั้งสื่อมวลชน

เมื่อถามต่อว่า ที่เคยร้องเรียนต่อกองปราบปรามนั้น กองปราบปรามเคยมีหนังสือตอบกลับว่าจำเลยที่ 1ไม่มีความผิดเรื่องนี้ใช่หรือไม่
นายวีระ ตอบว่า ไม่ใช่กองปราบตอบแต่เพียงว่าคดีไม่ได้อยู่ในอำนาจเท่านั้น

เมื่อ ทนายถามอีกว่า นายวีระ รู้หรือไม่ว่า ธปท.และกองทุนเคยมีหนังสือตอบว่า ในการประมูลซื้อขายที่ดินขายได้ในราคาที่ได้กำไรและไม่ได้รับความเสียหาย
นายวีระ ตอบว่า ไม่เคยทราบ
     
      กองทุนฟื้นฟูชี้ขายที่ดินขาดทุน
 
      ต่อเมื่อนายวีระ เบิกความเสร็จสิ้นแล้ว อัยการ ได้นำนางสาวกัลยาณี รุทระกาญน์ เลขาธิการศูนย์ประสานงานลูกหนี้แห่งชาติ
เป็นพยานปากสุดท้ายในวันนี้ เบิกความต่อศาลว่า พยานเคยให้การกับคตส.ในคดีนี้ โดยสถานะของศูนย์ประสานงานลูกหนี้
เป็นองค์กรสาธารณะประโยชน์ ซึ่งมีหน้าที่รวบรวมข้อมูลหนี้สิน ของภาคเอกชน โดยศูนย์ประสานงานลูกหนี้ได้จดทะเบียนขึ้นกับ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความ มั่นคงของมนุษย์ (พม.)

       โดยพยานเคยมีที่ดินย่านพระราม9 อยู่ในแนวเดียวกับที่ดินรัชดา แต่ปัจจุบันที่ดินดังกล่าวถูกโอนให้เป็นหนี้ของกองทุน
 ซึ่งภายหลังมีการประเมินราคาให้ต่ำลงจากราคาเดิมเหลือเพียง 5 ล้านบาท ซึ่งตนมีเงินต้นที่เป็นหนี้กับกองทุนอยู่ 16 ล้านบาท
และเคยขอเข้าประนอมหนี้ แต่กองทุนไม่รับประนอมหนี้ โดยยืนยันหลักการบริหารหนี้ของกองทุนว่า
ไม่สามารถที่จะประนอมหนี้ต่ำกว่าราคาต้นทุนและดอกเบี้ยที่กำหนดได้ เพราะกองทุนได้รับเงินอุดหนุนนำเงินจากภาษีอากรของประชาชนมาบริหาร
 และต้องถูกตรวจสอบโดย สตง. ซึ่งไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ไม่สามารถประนอมหนี้ด้วยราคาที่ต่ำกว่าต้นทุน ของกองทุน
ซึ่งถ้าหากขาดแม้แต่บาทเดียวอาจติดคุกได้
 
      โดยที่ดินในคดีนี้ขณะที่ซื้อมาจากเงินทุนหลักทรัพย์เอราวัณ พลัส เมื่อ 31 ส.ค.38 ในราคา1,908,450,000 บาท
โดยที่ดินมีการประเมินราคาใหม่ตามหลักเกณฑ์ที่จะต้องมีการประเมินราคาใหม่ ทุก 4 ปี จนถึงปี 2546
 ที่กองทุนยังถือครองที่ดินอยู่จะมีมูลค่าสูงถึง 2,800 ล้านบาทเศษ และหากกองทุนยึดถือนโยบายขายสินทรัพย์โดยไม่ขาดทุนก็ไม่น่าจะขายจำเลยที่ 2
ไปในราคาเพียง 772 ล้านบาท นอกจากนี้ในการประมูลซื้อขายที่ดิน กองทุนได้มีการรวบรวมโฉนดที่ดินแปลงย่อย 14 โฉนด เป็น 2 โฉนด
ทั้งนี้เพื่อให้ได้ประโยชน์ในการยื่นขอก่อสร้าง ซึ่งจะได้พื้นที่จำนวนมากและจำนวนชั้นที่สูงขึ้น เนื่องจากกลายเป็นที่ดินติดถนนเทียนร่วมมิตร

       นางสาวกัลยานี เบิกความต่อว่า หลังจากที่ได้มีการสำรวจการประเมินราคาที่ดิน 147 แปลงย่านพระราม 9 รัชดา
ในช่วง 12 ปีที่ผ่านมา พบว่าการประเมินที่ดินขึ้นลงไม่ได้มาตรฐาน และได้มีการเปลี่ยนแปลงการประเมินราคาจากเดิมที่กรมที่ดินเป็นผู้ประเมิน
 เพื่อกำหนดซื้อขายที่ดินและการกู้จำนอง เป็นกรมธนารักษ์เป็นผู้ประเมินวัตถุประสงค์เพื่อคำนวณภาษี รวมทั้งมีการเปลี่ยนระบบจากการคำนวณเป็นบล็อก
 ซึ่งจะวัดระยะจากถนนหรือแม่น้ำ ซึ่งที่ดินที่ห่างจากถนน 40 เมตรจะมีราคาแพงกว่าที่ดินที่ห่างจากถนนจำนวน 80 เมตร
มาเป็นการใช้ระบบยูทีเอ็ม ซึ่งจะมีการถ่ายภาพทางอากาศและแบ่งพื้นที่ โดยเจ้าของที่ดินจะไม่สามารถทราบได้ว่าที่ดินของตนอยู่ในพื้นที่ของการ
ประเมินราคาที่ดินมูลค่าเท่าใด รวมทั้งมีการยกเลิกคณะกรรมการประเมินราคากลางทำให้การซื้อขายทรัพย์สินใดๆ
 เป็นการตกลงระหว่างกรมบังคับคดีกับโจทก์ว่าจะซื้อขายในจำนวนเงินสูงต่ำ เท่าใด

       ภายหลังไต่สวนพยาน 4 ปากเรียบร้อยแล้ว ศาลนัดไต่สวนพยานโจทก์ครั้งต่อไปในวันที่ 15 ก.ค.นี้เวลา 09.30 น.
โดยอัยการได้เตรียมนำเจ้าหน้าที่ ธปท.และเจ้าหน้าที่กองทุนฯ เข้าเบิกความรวม 3 ปาก


เครดิตยกต่อมาจาก คุณดาวเหินพันทิพ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22-07-2008, 18:09 โดย mebeam » บันทึกการเข้า
mebeam
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 634


Fear can hold you prisoner. Hope can set you Free.


« ตอบ #1 เมื่อ: 22-07-2008, 17:58 »

นัด 2



“หม่อมเต่า” ให้การมัด “เมียแม้ว” ซื้อที่ดินไม่เหมาะสม

ไต่สวนพยานโจทก์ครั้งที่สอง คดี “แม้ว-อ้อ” ทุจริตซื้อที่ดินรัชดา อัยการนำพยาน 4 ปากเข้าเบิกความ “หม่อมเต่า”
เผยเคยคิดเข้าร่วมประมูลที่ดิน แต่มีปัญหาก่อนรู้ว่า “อ้อ” ประมูลด้วย ขณะที่อดีตผู้จัดการกองทุนรู้ข่าววงนอกสะพัด “อ้อ” ร่วมประมูล
     
      ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง วันที่ 15 ก.ค.2551 เวลา 09.30 น.นายทองหล่อ โฉมงาม
 ผู้พิพากษาอาวุโสเจ้าของสำนวนพร้อมองค์คณะผู้พิพากษา 9 คน ออกนั่งบัลลังก์ไต่สวนพยานโจทก์ครั้งที่สอง ในคดีหมายเลขดำที่ อม.1/2550
ที่อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา เป็นจำเลยที่ 1-2
 ในความผิดฐานทุจริตซื้อขายที่ดินย่านรัชดาภิเษก มูลค่า 772 ล้านบาท ตามประมวลกฎหมายอาญา และ พ.ร.บ.ว่าด้วยคณะกรรมการป้องกัน
และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พ.ศ.2542
     
      โดยในวันนี้อัยการนำ ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล อดีตปลัดกระทรวงการคลัง และอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
 และอดีตประธานคณะกรรมการจัดการกองทุนฟื้นฟูระบบสถาบันการเงิน เข้าเบิกความสรุปว่า กองทุนมีสภาพเป็นนิติบุคคล
บริหารงานในรูปแบบของคณะกรรมการกองทุน ซึ่งจะมีปลัดกระทรวงการคลัง ร่วมเป็นคณะกรรมการกองทุนด้วย โดยกองทุน
จะอยู่ภายใต้กำกับดูแลของธนาคาร แห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งการจำหน่ายที่ดินของกองทุน ไม่ต้องขออนุมัติจาก รมว.คลัง
หรือนายกรัฐมนตรี
โดยคณะกรรมการมีอำนาจที่จะมีมติให้จำหน่ายที่ดินได้ ส่วนในเรื่องความจำเป็นเร่งด่วนในการจำหน่ายที่ดิน
จะพิจารณาจากสภาพเศรษฐกิจ ด้วย ซึ่งหากสภาพเศรษฐกิจไม่ดีก็คงจะต้องรอให้เศรษฐกิจฟื้นตัวก่อน อย่างไรก็ดีในสมัยที่ตนเป็นประธานกองทุน
 นายกรัฐมนตรีไม่ได้เข้ามาบทบาทกำกับดูแลกองทุน

     
      ม.ร.ว.จัตุมงคล เบิกความด้วยว่า ในเรื่องของการซื้อขายที่ดินซึ่งเป็นข้อพิพาทคดีนี้ ในส่วนของพยานเมื่อพ้นจากตำแหน่งต่างๆ
แล้วพยานได้ไปมีส่วนร่วมในธุรกิจที่ดิน ซึ่งได้ทราบข้อมูลว่าจะมีการเปิดประมูลซื้อที่ดินพิพาทคดีนี้ในราคาตารางวา ละ 70,000 บาท
 โดยพยานได้ทำการติดต่อกับเจ้าหน้าที่กองทุน เพื่อเข้าร่วมการประมูลด้วย แต่ภายหลังพยานและหุ้นส่วนทางธุรกิจมีปัญหา
จึงไม่สามารถเข้าร่วมประมูลได้ จึงได้ติดต่อกลับไปยังเจ้าหน้าที่เพื่อแจ้งยกเลิกการประมูล และได้ทราบข่าวว่า คุณหญิงอ้อ (คุณหญิงพจมาน ชินวัตร)
จะเข้าร่วมการประมูลด้วย ซึ่งเรื่องนี้พยานเคยให้การไว้ในชั้นไต่สวนของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.)
แล้ว ว่า เป็นการไม่เหมาะสมถ้าจะมีภรรยาของเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการทำ สัญญา โดยส่วนตัวรับราชการมาเป็นเวลากว่า 40 ปี
 ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ไม่อยากเข้าไปทำธุรกิจเกี่ยวกับการทำสัญญากับทาง ราชการเพราะอาจจะทำให้เกิดความสงสัยและเกิดความเสียหายในภายหลังได้
     
      ต่อมาอัยการนำ นายอำนวย ธันธรา อดีต คตส.เข้าเบิกความ สรุปว่า พยานไม่ได้เป็นคณะอนุฯ ตรวจสอบและไต่สวนคดีนี้
โดยเมื่อคณะอนุฯ ตรวจสอบและไต่สวนเสร็จสิ้นแล้ว ได้สรุปสำนวนและเสนอความเห็นต่อที่ประชุม คตส.ซึ่ง คตส.มีความเห็น
ส่งให้อัยการยื่นฟ้องคดีนี้และขอให้ริบทรัพย์ แต่โดยส่วนตัวเห็นว่า นิติกรรมการทำสัญญาซื้อขายที่ดินรัชดา เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย
 นิติกรรมจึงต้องตกเป็นโมฆะ โดยคู่กรณีทั้งสองฝ่ายต้องกลับไปอยู่ในสถานะเดิม หมายความว่า ไม่มีการโอนขายที่ดิน ดังนั้น
 เงินที่ซื้อขายที่ดิน พยานเห็นว่าน่าจะริบไม่ได้
     
      จากนั้นอัยการนำ นายเกริก วณิกกุล เจ้าหน้าที่ ธปท.อดีตผู้จัดการกองทุน ปี 2545 เข้าเบิกความสรุปว่า ที่ดินรัชดาเดิมเป็นของ
 บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เอราวัณ ทรัสต์ เมื่อปี 2538 ที่ดินดังกล่าวมีมูลค่าประมาณ 100 ล้านบาทเศษ แต่เมื่อโอนมาเป็นของกองทุน
แล้วมีมูลค่าสูงขึ้นเป็น 2 พันล้านบาทเศษ เนื่องจากกองทุนได้นำเงินเข้าไปช่วยเหลือการสภาพคล่องของ เอราวัณทรัสต์ ให้ดำรงอยู่ได้
ซึ่งถ้าหากเอราวัณทรัสต์ล้ม กองทุนก็จะเป็นเจ้าหนี้ด้วย ส่วนที่มูลค่าที่ดินลดลงจาก 2 พันล้าน ในปี 2544 เหลือเพียง 700 ล้านบาทเศษ
 นายเกริก เบิกความว่า โดยหลักการทางบัญชีเมื่อกองทุนได้สนับสนุนสภาพคล่อง เอราวัณทรัสต์ แต่กองทุนมีสองสถานะ
 ซึ่งนอกจากจะเป็นนิติบุคคลแล้ว อีกสถานะหนึ่งขึ้นตรงกับ ธปท.ซึ่ง ธปท.จะต้องถูกตรวจสอบบัญชีโดยสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
 ที่จะต้องแสดงตัวเลขหนี้สินทรัพย์ให้ชัดเจนเพื่อความสะดวกในการทวงถามติดตาม หนี้สินที่เกิดขึ้นที่แท้จริง ยกตัวอย่างเช่น
ถ้ามีหนี้สินอยู่กับกองทุนฯ 100 ล้านบาท แต่ราคาประเมินที่ดินอยู่ที่ 50 ล้านบาท ก็จะเท่ากับว่ามูลค่าหนี้ที่แท้จริงเหลืออยู่ 50 ล้านบาท
     
      นายเกริก เบิกความต่อว่า ส่วนการขายที่ดินครั้งที่สองที่กองทุนฯได้ทำการรวมโฉนดแปลงย่อย 13 แปลง เป็นโฉนดใหญ่ 4 แปลง
 เนื่องจากในการขายที่ดินครั้งแรก กองทุนพยายามขายแล้วแต่ไม่มีผู้ซื้อ จึงกลับมาคิดหาสาเหตุ ซึ่งคณะกรรมกองทุนฯส่วนหนึ่งเห็นว่า
ตั้งราคาขายที่ดินสูงเกินไป และอีกส่วนหนึ่งเห็นว่าน่าจะทำการรวมโฉนดที่ดินเพื่อความสะดวกของผู้ซื้อ ดังนั้นคณะกรรมการจึงมีมติให้รวมโฉนด
ซึ่งพยานเห็นว่าไม่ทำให้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น เหมือนการรวมแบงก์ 100 บาท 5 ใบ เป็นแบงก์ 500 บาท 1 ใบ
  ส่วนเรื่องการวางเงินมัดจำซองประมูลที่ครั้งแรกกำหนดไว้เพียง 10 ล้านบาท แต่ครั้งที่ 2 เพิ่มวงเงินเป็น 100 ล้านบาทนั้น รายละเอียดพยานจำไม่ได้
แต่ส่วนใหญ่ จะเป็นเรื่องของมติกรรมการกองทุน ซึ่งการซื้อขายที่ดินทุกครั้งจะต้องมีการกำหนดราคากลางเสมอ อย่างไรก็ดี
พยานจำไม่ได้ว่าหลังจากที่กองทุนขายที่ดินข้อพิพาทคดีนี้แล้ว ในการขายที่ดินของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เอราวัณฯ
 อีกแปลงที่ขายให้ อ.ส.ม.ท.จำนวน 50 ไร่ และที่ดินแปลงอื่นอีก 8 ครั้ง จะกำหนดการวางเงินมัดจำเท่ากับการขายที่ดินคดีนี้หรือไม่
รวมทั้งจำไม่ได้ว่าในส่วนของคณะกรรมการเปิดซองประมูลซื้อที่ดินคดีนี้จะมี นายสมใจนึก เองตระกูล ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นคณะกรรมการ หรือไม่
     
      นายเกริก เบิกความด้วยว่า ในการลงชื่อซื้อซองประมูลราคา พบว่า มีนิติบุคคล 2 ราย และบุคคลธรรมดา 1 ราย
โดยไม่มีการระบุว่ากระทำในนามแทนของบุคคลใดหรือมีชื่อของคุณหญิงพจมาน จำเลยที่ 2 ซึ่งไม่ได้มีกฎหรือระเบียบใดระบุไว้ว่าผู้ลงชื่อซื้อซองกับผู้ยื่นซองประมูล
ราคาจะต้องเป็นบุคคลเดียวกัน หรือกระทำแทนกันได้หรือไม่ ซึ่งก่อนการประมูล พยานเคยได้ยินข่าวจากวงนอกแว่วๆ ว่าภริยาของ พ.ต.ท.ทักษิณ
 จะเข้าร่วมประมูลที่ดินด้วย โดยเรื่องนี้พยานได้ให้การต่อ คตส.แล้ว
     
      ต่อ มาอัยการนำ นายไพโรจน์ เฮงสกุล อดีตผู้จัดการกองทุน ช่วงปี 2549-2550 เข้าเบิกความสรุปว่า พยานเคยให้การต่อ คตส.ว่า
นายกรัฐมนตรีไม่ได้มีอำนาจกำกับดูแลกองทุน โดยตรง แต่เหตุที่พยานทำหนังสือร้องทุกข์กล่าวโทษคดีนี้ เนื่องจาก
 คตส.ได้มีหนังสือถึงกระทรวงการคลัง ส่งเรื่องให้กองทุน และที่ประชุมกรรมการกองทุนฯ ให้พิจารณาร้องทุกข์
 เพราะ คตส. เห็นว่า การเข้าประมูลซื้อขายที่ดินไม่ชอบด้วย กฎหมาย ม.100 (พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช.)
 ตนในฐานะผู้จัดการกองทุนจึงเป็นผู้แทนเข้าร้องทุกข์
     

      นายไพโรจน์ เบิกความว่า กองทุนอยู่ภายใน ธปท.ในส่วนของการดำเนินการจึงเป็นไปตามคำสั่ง ธปท.
แต่ถ้าส่วนใดที่เกี่ยวข้องกับรัฐวิสาหกิจ ก็จะปฏิบัติตามระเบียบของรัฐวิสาหกิจนั้น ส่วนเรื่องหลักเกณฑ์การ
วางซองมัดจำซื้อขายที่ดินพิพาทคดีนี้ ซึ่งต้องโอนเงินสดจำนวน 100 ล้านบาทเข้าบัญชีกองทุนฯ
  ส่วนที่ดินที่ขายให้ อ.ส.ม.ท.จำนวน 50 ไร่ ที่ให้วางเป็นแคชเชียร์เช็ค นั้น พยานเห็นว่าไม่มีปัญหาความแตกต่าง
เพราะถึงจะวางเป็นแคชเชียร์เช็คก็จะต้องนำเข้าบัญชีเงินฝากกองทุนเช่นเดียว กัน
ส่วนที่กองทุนจะได้ดอกเบี้ยหรือไม่ขึ้นอยู่กับข้อตกลงกับธนาคาร
     
      นาย ไพโรจน์ เบิกความต่อว่า นายกรัฐมนตรีไม่มีอำนาจกำกับดูแล ซึ่งขณะที่พยานเป็นผู้จัดการกองทุน
ในสมัย พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ก็ไม่ได้เข้ามากำกับดูแลหรือสั่งการพยาน

     
      ภายหลังศาลไต่สวนพยานโจทก์เสร็จสิ้นครบจำนวน 4 ปาก ตามบัญชีของอัยการโจกท์แล้ว ศาลนัดไต่สวนพยานโจทก์
ครั้งต่อไปวันที่ 22 กรกฎาคม เวลา 09.30 น.โดย นายเศกสรรค์ บางสมบุญ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ หัวหน้าคณะอัยการรับผิดชอบว่าความคดีนี้
กล่าวว่า ได้เชิญ นายนาม ยิ้มแย้ม อดีต ประธาน คตส.นายสมใจนึก เองตระกูล อดีตปลัดกระทรวงการคลัง นายสว่างจิต จายวัฒน์
 ผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูฯ ขณะเกิดเหตุ และ นายรุ่งเรือง โคกขุนทด เจ้าหน้าที่กองทุนขณะเกิดเหตุ เข้าเบิกความ
     
      ภายหลัง ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล อดีตผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า หลังพ้นตำแหน่งผู้ว่าการ ธปท.ได้เข้าไปร่วมประมูลที่ดินรัชดาฯ ครั้งที่ 1
แต่ขอถอนตัวเนื่องจากเห็นว่าการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์จะส่งผลให้มี การได้เปรียบเสียเปรียบเกิดขึ้น อีกทั้งมีหุ้นส่วนหลายคน
จึงจำเป็นต้องถอนตัว จึงทำให้เกิดการประมูลครั้งที่ 2 ตามมา ซึ่งตนรู้จากเจ้าหน้าที่ว่าคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
อดีตนายกรัฐมนตรี เข้าร่วมประมูลด้วย
     
      “ผมก็ตกใจเหมือนกันที่รู้ว่ามีเจ้าหน้าที่รัฐเข้ามาร่วมประมูลด้วย ผมไม่ได้ถอนตัว เพราะรู้ว่าคุณหญิงพจมานร่วมประมูลด้วย
แต่ถอนตัวออกมาก่อนแล้วถึงมาทราบภายหลัง ซึ่งตามหลักการที่รู้กันว่าถ้าเป็นเจ้าหน้าที่รัฐก็ควรทำหน้าที่ไป
 หากเอาเรื่องธุรกิจเข้ามาปะปนด้วยมันก็ไม่เหมาะสม และผมก็ไม่ทราบความในใจของผู้ซื้อที่ดินว่าจะเอาไปทำอะไร
ที่ดินมีตั้งมากมายในโลก จะก่อให้มันยุ่งทำไม หากจะทำหน้าที่รัฐก็ทำ อย่าเข้ามายุ่งตรงนี้” ม.ร.ว.จัตุมงคล กล่าว
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22-07-2008, 18:19 โดย mebeam » บันทึกการเข้า
mebeam
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 634


Fear can hold you prisoner. Hope can set you Free.


« ตอบ #2 เมื่อ: 22-07-2008, 18:01 »

นัด 3

“นาม” เบิกความยัน “แม้ว” ซื้อที่ดินผิดกฎหมาย

อดีตประธาน คตส. “นาม ยิ้มแย้ม” เบิกความยันไม่เคยขู่บังคับกองทุนฯ ร้องทุกข์เอาผิด “แม้ว-อ้อ” ชี้ที่ดิน 2 พันล้านขาย 700 ล้านขาดทุนเห็นๆส่วนกองทุนฯ อยู่ภายใต้นายกฯ หรือไม่ เป็นข้อกฎหมายให้ศาลตัดสิน ย้ำปัญหาอยู่ที่จำเลยมีสิทธิซื้อหรือไม่เท่านั้น ด้านอดีตปลัดคลังยันขายได้กำไรสูงกว่าราคาประเมิน ขณะที่สองอดีตเจ้าหน้าที่กองทุน ย้ำไม่ได้เอื้อประโยชน์ “หญิงอ้อ” ชนะประมูล ศาลนัดสืบอีกครั้ง 25 ก.ค.นี้
     
      วันนี้ (22 ก.ค.) เมื่อเวลา 09.30 น.ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง นายทองหล่อ โฉมงาม ผู้พิพากษาอาวุโสเจ้าของสำนวนพร้อมองค์คณะผู้พิพากษา 9 คนออกนั่งบัลลังก์ไต่สวนพยานโจทก์ครั้งที่สาม ในคดีหมายเลขดำที่ อม.1/2550 ที่อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา เป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐานทุจริตซื้อขายที่ดินย่านรัชดาภิเษกมูลค่า 772 ล้านบาท ตามประมวลกฎหมายอาญา และ พ.ร.บ.ว่าด้วยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พ.ศ.2542
     
      โดยวันนี้ อัยการโจทก์นำนายนาม ยิ้มแย้ม อดีตประธานคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) เข้าเบิกความสรุปว่า การตรวจสอบคดีนี้เนื่องจากมีผู้ร้องเรียน เมื่อมีการแต่งตั้ง คตส. จึงได้เข้ามาตรวจสอบและแต่งตั้งอนุกรรมการไต่สวนและตรวจสอบพยานหลักฐาน ซึ่งอนุฯ ได้รวบรวมหลักฐานมาพิจารณาแล้วเห็นว่าคดีมีมูลจึงเสนอต่อ คตส.ชุดใหญ่ และ คตส.มีมติเห็นว่าคดีมีมูล จึงทำหนังสือถึง รมว.คลัง และกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ในฐานะผู้เสียหาย ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พ.ศ.2542 ม.66 และ 67 ให้เข้าทำการร้องทุกข์ ไม่ได้มีการข่มขู่หรือบังคับใดๆ
     
      นายนาม ยังตอบคำถามทนายจำเลยในประเด็นที่อนุ คตส.ตัดพยาน ไม่เรียกผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายกฎหมายธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งจะเป็นพยานที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการและการบริหารกองทุนที่รู้ กฎระเบียบและข้อบังคับของกองทุนฯ ซึ่งเคยให้สัมภาษณ์ทางสื่อมวลชนว่า กองทุนฯ ยืนยันมาตลอดว่าไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่เคยเข้าแจ้งความคดีนี้ รวมทั้ง พยานปากผู้อำนวยการผังเมือง ซึ่งจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับการรวมโฉนดที่ดินและภายหลังมีประกาศ กทม.เกี่ยวกับการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างในที่ดินว่าเป็นคุณหรือเป็นโทษต่อ จำเลยอย่างใดว่า เรื่องนี้เป็นข้อต่อสู้ของจำเลยที่จะอ้างอย่างไรก็ได้ และการตัดพยานก็เป็นอำนาจของ อนุ คตส. ซึ่ง คตส.ก็ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าคดีมีมูล
     
      ต่อมา นายสมใจนึก เองตระกูล อดีตปลัดกระทรวงการคลัง และอดีตรองประธานคณะกรรมการกองทุนฯเข้าเบิกความสรุปว่า การนำทรัพย์ของกองทุนฯประมูลขาย ไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 ซึ่งกองทุนฯมีระเบียบของตัวเอง โดยการซื้อขายที่ดินพิพาทที่ไม่ได้กำหนดราคาขั้นต่ำ แต่ในการประชุมของคณะกรรมการกองทุนฯมีการพูดคุยกันว่าหากได้ราคาต่ำกว่า 750 ล้านบาทก็จะไม่ขาย ส่วนที่มีการขยายเวลาชำระเงินมัดจำจาก 7 วันเป็น 10 วัน เนื่องจาก ที่คณะกรรมการกองทุนฯเห็นว่าควรให้เวลาผู้เข้าประมูลหาเงินมัดจำซึ่งเป็น เงินจำนวนมาก
     
      นายสมใจนึก เบิกความต่อว่า การขายที่ดินครั้งแรกใช้วิธีประมูลทางอินเตอร์เน็ต รวม 13 แปลง ไม่มีการรวมโฉนด จึงไม่มีผู้เข้าร่วมประมูล ทราบว่ามีสาเหตุ 2-3 ประการ คือ ราคาประเมินและที่ดินไม่แน่นอน ซึ่งมาทราบภายหลังว่า ที่ดินถูกตัดโดยถนนเทียมร่วมมิตร อีกส่วนเป็นทางและคลองสาธารณะ จึงไม่ได้เป็นที่ดินที่แท้จริง ต้องทำการรังวัดและรวมออกโฉนดให้เป็นผืนเดียวกันเพื่อให้มีอำนาจต่อรอง มากกว่าผู้ซื้อ ซึ่งในการประมูลครั้งที่สอง มีผู้เข้าร่วมประมูล 3 ราย ซึ่งปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ชนะประมูล ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติที่มีอัยการรวมอยู่ด้วย พิจารณาแล้วการซื้อขายครั้งนี้ชอบด้วยกฎหมาย และผู้ซื้อไม่มีลักษณะต้องห้าม แต่ไม่ทราบว่าผิด พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช.ฯ ม.100 หรือไม่ และการซื้อขายที่ดินของกองทุนฯได้กำไรไปชำระหนี้ เพราะขายได้ในราคาที่สูงกว่าราคาประเมิน 750 ล้านบาท
     
      ต่อมา ว่าที่ ร.ท.รุ่งเรือง โคกขุนทด เจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หัวหน้าทีมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนฟื้นฟู ฯ เบิกความว่า ที่พยานเคยให้การในชั้น อนุ คตส. ว่า ทราบว่าจำเลยที่ 2 ร่วมประมูลด้วยนั้น พยานทราบเรื่องดังกล่าวเมื่อวันที่ 15 ก.ค. 2546 ซึ่งเป็นวันก่อนการประกวดราคา 1 วัน โดยเหตุที่ทราบเพราะจำเลยที่ 2 ได้โอนเงินมัดจำซองประกวดราคาจำนวน 100 ล้านบาทเข้าบัญชีกองทุนฟื้นฟู ฯ ซึ่งการประกวดราคานั้นพยานไม่ได้ดำเนินการใดเป็นการพิเศษแตกต่างจากปกติ ส่วนที่ไม่กำหนดราคาขั้นต่ำในการประมูลครั้งที่สองเป็นเหตุผลทางการตลาด เนื่องจากครั้งแรกไม่มีผู้เสนอราคาประมูล
     
      ขณะที่ นางสว่างจิตต์ จัยวัฒน์ อดีตผู้จัดการกองทุนฯเมื่อครั้งมีการซื้อขาย เบิกความว่า ช่วงที่มีการปรับบันทึกทางบัญชีจากราคาที่ดินมูลค่า 2 พันล้านบาทเศษ เหลือ 700 ล้านบาทเศษ ตนยังไม่เข้ามาดำรงตำแหน่งแต่ทราบภายหลังว่าสาเหตุที่ต้องมีประเมินราคาใหม่ เพื่อปรับตัวเลขทางบัญชีให้ตรงกับความเป็นจริง และการประมูลครั้งที่สอง ได้มีการกำหนดให้ผู้เข้าร่วมประมูลวางมัดจำเป็นเงิน 100 ล้านบาทนั้น เพื่อให้มั่นใจว่าผู้เข้าร่วมประมูลสนใจที่จะทำการประมูลจริงๆ เนื่องจากการประมูลครั้งแรกไม่มีผู้เข้าร่วมประมูล ส่วนการประมูลครั้งแรก ไม่มีการออกเลขที่โฉนดแต่มาออกภายหลัง เนื่องจากได้มีการประสานกับเจ้าหน้าที่ที่ดินทราบว่า ได้เลขโฉนดที่ดินแล้วอยู่ระหว่างผู้บังคับบัญชาลงชื่ออนุมัติ จึงได้ขอนำเลขโฉนดมาแสดงในการประมูลครั้งที่สองก่อน เพราะกองทุนฯมีแผนการขายที่ดินอยู่แล้วตั้งต้นปี 2546 แต่ยังขายไม่ได้ ซึ่งกองทุนมีการวางแผนขายที่ดินอยู่แล้ว ไม่ได้ดำเนินการวางแผนเมื่อจำเลยที่ 2 จะเข้ามาประมูลซื้อที่ดินคดีนี้ และการประมูลครั้งที่สอง กองทุนฯไม่ได้ทำหนังสือเชิญจำเลยที่ 2 เข้าร่วมประมูล นอกจากผู้เข้าร่วมประมูลครั้งแรกที่แสดงความสนใจเข้าร่วมประมูลอยู่แล้ว แต่ที่ไม่เข้าร่วมประมูลเพราะราคาสูงเกินไป
     
      ภายหลังศาลไต่สวนพยานเสร็จสิ้นแล้วนัดไต่สวนพยานครั้งต่อไปวันที่ 25 ก.ค. เวลา 09.30 น. โดยนายเศกสรรค์ บางสมบุญ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ หัวหน้าคณะทำงานอัยการรับผิดชอบว่าความคดีนี้ กล่าวว่า เตรียมนำพยานซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่กรมที่ดินรวม 6 ปากเข้าเบิกความ
     
      ภายหลังนายนาม กล่าวว่า คดีนี้ไม่เคยบีบบังคับให้กองทุนฯเข้าแจ้งความร้องทุกข์ ที่จำเลยอ้างเรื่องกองทุนไม่ได้รับความเสียหายเป็นข้อต่อสู้ของจำเลย ซึ่งที่จริงราคาที่ดินกองทุนซื้อมาราคา 2 พันล้านบาทเศษ แต่กลับมาขายเพียง 772 ล้านบาท จะไม่เสียหายอย่างไร ส่วนที่อ้างว่า กองทุนฯไม่อยู่ภายใต้กำกับดูแลของนายกรัฐมนตรีนั้น เป็นอีกข้อต่อสู้ของจำเลย แต่ คตส.เห็นว่า กองทุนฯขึ้นอยู่กับ ธปท. และ ธปท.อยู่ภายใต้กระทรวงการคลัง ซึ่งนายกฯเป็นผู้กำกับดูแลทุกกระทรวง ซึ่งเรื่องนี้เป็นประเด็นข้อกฎหมาย ศาลจะเป็นผู้วินิจฉัยเอง
     
      “คดีนี้ปัญหามีอยู่ว่าการที่จำเลยซื้อที่ดินพิพาทผิดกฎหมายหรือไม่ มีสิทธิซื้อหรือไม่ ซึ่งข้อเท็จจริงก็เห็นๆกันอยู่ว่ามีการซื้อขายเกิดขึ้นจริง” นายนามกล่าว และว่า ยังไม่ได้รับการติดต่อจาก ป.ป.ช.ให้เข้าไปร่วมเป็นอนุกรรมการ ป.ป.ช.พิจารณาคดี แต่หาก ป.ป.ช.ติดต่อมาจริงก็จะต้องพิจารณาอีกครั้งว่ามีความเหมาะสมที่จะไปทำตรง นั้นหรือไม่

เครดิตคุณดาวเหินพันทิพ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22-07-2008, 18:28 โดย mebeam » บันทึกการเข้า
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #3 เมื่อ: 22-07-2008, 18:05 »

ฝากไว้หนึ่งข่าวนะคะ ข่าวที่สื่ออาจจะไม่ได้ทำข่าว 

มีการขอเปลี่ยนนายประกันในคดีนี้ จากลูกสาวที่เป็นนายประกัน เป็นการใช้พันธบัตรรัฐบาลประกันตัวแทน ซึ่งก็เป็นธรรมดาค่ะ ตามหลักการประกันตัวนั้น จะเอาอะไรประกันก็ได้ 

แต่มีข้อสังเกตุว่า หากจำเลยหนีศาล นายประกันจะถูกเรียก เพื่อจ่ายค่าประกันตัว หากพ่อแม่หนีไปลูกสาวก็ต้องบากหน้าไปศาลล่ะ แต่ถ้าใช้หลักทรัพย์ประกันเช่นพันธบัตร ศาลท่านก็สั่งยึดหลักทรัพย์ที่ประกัน ไม่ต้องเรียกใครไป 

ทายสิว่า จำเลยจะหนีหรือไม่ 
บันทึกการเข้า
1ktip
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,457



« ตอบ #4 เมื่อ: 22-07-2008, 19:06 »

สิ้นเดือนก็ได้รู้ผลกัน

แต่ช่วงนี้ช่วยจัดเจ้าหน้าที่คอยคุ้มกันจำเลยก็ดีนะครับ เผื่อจะไปเที่ยวประสบทุกข์ยากตามตะเข็บชายแดน สถานการณ์ยิ่งระอุอยู่
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: