ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
27-04-2024, 23:53
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  ห้องสาธารณะ  |  อำนาจอธิปไตยเหนือเกาะกูด 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
อำนาจอธิปไตยเหนือเกาะกูด  (อ่าน 2739 ครั้ง)
เกาะกูด
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: 22-07-2008, 08:53 »

อำนาจอธิปไตยของไทยเหนือเกาะกูด (1)

   วันที่ : 16 มิถุนายน 2550

เนื่องจากในระยะหลังนี้ ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมากถึงปัญหาเรื่องอำนาจอธิปไตยของไทยเหนือเกาะกูด ผมจึงขอนำบทความของพลเรือเอกถนอม เจริญลาภ ที่ปรึกษารัฐบาลซึ่งให้ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ และได้ลงพิมพ์ในนิตยสารวิทยุสราญรมย์ปีที่ 9 ฉบับที่ 34 มา ณ ที่นี้

1.ความเป็นมา
 
รัฐบาลกัมพูชาประกาศกฤษฎีกา กำหนดเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาในอ่าวไทย ลงนามโดยลอนนอล ประธานาธิบดีกัมพูชาเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 1972 (พ.ศ. 2515) กระทรวงต่างประเทศกัมพูชาแถลงข่าวนี้ แจกจ่ายสำเนากฤษฎีกาและแผนที่สังเขปของไหล่ทวีป เส้นแสดงเขตไหล่ทวีปในแผนที่ย่อ เริ่มต้นจากจุด A ซึ่งอ้างว่าคือหลักเขตแดนไทย-กัมพูชาที่ 73 จากนั้นเส้นเขตไหล่ทวีปลากไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ลงเล็กน้อย ผ่านกึ่งกลางเกาะกูดเลยออกไปในอ่าวไทยถึงประมาณกลางอ่าว แล้วหักลงทางใต้ไปเกือบสุดอ่าวไทย จึงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ โอบล้อมเกาะภูกว๊อกของเวียดนาม แล้ววกขึ้นทางเหนือเข้าบรรจบฝั่งที่จุด B ซึ่งอ้างว่าเป็นจุดเขตแดนของเวียดนาม-กัมพูชาที่ริมฝั่งทะเล
 
เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ตามที่ปรากฏในแผนที่สังเขปที่แจกจ่ายมีหลายประเด็นที่น่าสงสัย แต่ที่ถือว่าเกี่ยวข้องโดยตรงกับประเทศไทย คือ ช่วงแรกของเส้นเขตไหล่ทวีปที่ผ่านกึ่งกลางเกาะกูดของไทย ข่าวและภาพเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาในแผนที่สังเขปที่แจกจ่ายแพร่หลายออกไปอย่างกว้างขวางในหนังสือพิมพ์ไทยและต่างประเทศ
 
ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและประชาชนไทยข้องใจกับเรื่องนี้อย่างมาก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนไทยยังหวั่นไหวไม่สบายใจกับคำพิพากษาของศาลโลกกรณีเขาพระวิหาร ผู้เขียนได้หาข้อมูลเพิ่มเติมและได้ศึกษาพิจารณาท่าทีของกัมพูชาในเรื่องนี้ มีหลายประเด็นที่สามารถวินิจฉัยได้ว่า กัมพูชาไม่ได้อ้างสิทธิครึ่งล่างของเกาะกูด ความเข้าใจผิดเรื่องนี้เกิดขึ้นจากแผนที่สังเขปที่กัมพูชาแจกจ่ายในวันแถลงข่าว   นั่นเอง
 
เรื่องนี้เงียบหายไปประมาณ 30 ปี เพิ่งจะมีผู้ยกเอาขึ้นมากล่าวถึงอีกและกลายเป็นประเด็นร้อนทางการเมืองไป ผู้เขียนจึงขอถือโอกาสชี้แจงการศึกษาข้อมูลและหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับอำนาจอธิปไตยของไทยเหนือเกาะกูดอีกครั้ง

2.การศึกษาพิจารณาจากข้อมูลและหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
 
2.1 สนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 ฝรั่งเศสคืนเกาะกูดให้ไทย
 
วิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) เกิดขึ้นโดยฝรั่งเศสนำเรือรบ 2 ลำบุกฝ่าแนวต้านทานของไทยเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยา การสูญเสียของไทยและฝรั่งเศสไม่มากนักโดยเฉพาะอย่างยิ่งฝรั่งเศสมีทหารตายเพียง 3 นายและบาดเจ็บ    3 นาย เรือทั้งสองลำเสียหายเพียงเล็กน้อย
 
ในการเจรจาสงบศึก ฝรั่งเศสตั้งข้อเรียกร้องมากมาย ทั้งเงินชดใช้ความเสียหาย ดินแดนทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง สิทธิทางศาลและทางการเมือง ไทยไม่มีทางเลือก จำเป็นต้องยินยอมตามข้อเรียกร้องของฝรั่งเศสอย่างไม่มีเงื่อนไข ฝรั่งเศสกำหนดให้ไทยปฏิบัติตามข้อเรียกร้องต่าง ๆ ภายใน 1 เดือน จากนั้นก็ถอนกำลังจากอ่าวไทยตอนบน เข้ายึดครองจันทบุรี โดยอ้างว่าเพื่อเป็นประกันว่า ไทยจะปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญาสงบศึก
 
ไทยปฏิบัติตามสัญญาสงบศึกทุกประการภายในเวลา 1 เดือน ตามที่กำหนดไว้ แต่ฝรั่งเศสไม่คืนจันทบุรีให้ไทย กลับตั้งข้อเรียกร้องต่าง ๆ เพิ่มขึ้นเป็นระยะ ๆ ซึ่งไทยต้องยินยอมทั้งสิ้นเพราะไม่มีทางเลือก ฝรั่งเศสยึดครองจันทบุรีอยู่นานถึง 11 ปี มีสนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศสเกิดขึ้นหลายฉบับในห้วงเวลานั้น ไทยต้องยกดินแดนและอื่น ๆ ให้ฝรั่งเศสมากมาย ในที่สุดฝรั่งเศสยอมถอนทหารออกจากจันทบุรีภายใต้ความตกลงว่าไทยยอมให้ฝรั่งเศสยึดจังหวัดตราดและเกาะกง (ประจันตคีรีเขตต์) ไว้เป็นประกันแทน (เรื่องกล่าวมาแล้วเพียงย่อ ๆ นี้ แท้จริงแล้วเป็นเรื่องยืดยาว เป็นช่วงเวลาของความสูญเสียและเจ็บปวดของคนไทยอย่างที่สุด ในยุคล่าอาณานิคม ท่านที่สนใจอาจอ่านรายละเอียดได้จากหนังสือเรื่องกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศสและการรบที่ปากน้ำเจ้าพระยา ร.ศ. 112 โดยพลเรือตรีแชน ปัจจุสานนท์ และนาวาเอกสวัสดิ์ จันทนี, จดหมายเหตุความทรงจำสมัยฝรั่งเศสยึดจันทบุรี ตั้งแต่ พ.ศ. 2436 ถึง พ.ศ. 2447 โดยหลวงสาครคชเขตต์ ความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศส ร.ศ. 112-126 โดยอาจารย์สุวิทย์ ธีรศาศวัต และอาจจะมีหนังสืออีกหลายเล่มที่ผู้เขียนไม่มีโอกาสอ่าน)
 
หลวงสาครคชเขตต์บันทึกไว้ว่า “การมอบหมายจังหวัดตราดและเกาะกงให้แก่เจ้าพนักงานฝรั่งเศสนั้น...ได้กระทำกัน ณ ที่ศาลาว่าการจังหวัดตราดในวันที่ 12 มกราคม ร.ศ. 123 (พ.ศ. 2447)...”
 
รายละเอียดบรรดาเกาะที่ฝรั่งเศสยึดครองในช่วงเหตุการณ์นี้ไปปรากฏในหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ลงวันที่ 23 มีนาคม ร.ศ. 125 (ค.ศ. 1907) ซึ่งเป็นสนธิสัญญาฉบับสุดท้ายก่อนที่ฝรั่งเศสจะคืนจังหวัดตราดและบรรดาเกาะทั้งหลายทางฝั่งตะวันออกของอ่าวไทย (นอกจากเกาะกงซึ่งฝรั่งเศสไม่ยอมคืนและเป็นจังหวัดเกาะกงของกัมพูชาตราบเท่าทุกวันนี้ จึงไม่น่าสงสัยว่าทำไมพลเอกเตียบัน ซึ่งเป็นรัฐมนตรีกลาโหมของกัมพูชาจึงพูดไทยได้เหมือนคนไทย เพราะเป็นคนเกาะกง) สนธิสัญญานี้เรามักเรียกสั้น ๆ ว่า สนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 ซึ่งประกาศเขตไหล่ทวีปกัมพูชา เมื่ออ้างถึงเขตแดนไทย-กัมพูชา (จุด A) ก็อ้างสนธิสัญญาฉบับนี้ ข้อความในสนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 ระบุถึงการคืนเกาะกูดและอื่น ๆ ให้กับไทยว่าไว้ดังนี้ “ข้อ 2 รัฐบาลฝรั่งเศสยอมยกดินแดนเมืองด่านซ้าย แลเมืองตราด กับเกาะทั้งหลายซึ่งอยู่ภายใต้แหลมสิงห์ลงไปจนถึงเกาะกูดนั้นให้แก่กรุงสยาม...”
 
แหลมสิงห์ตามที่กล่าวถึงในสนธิสัญญาฯ คือ แหลมสิงห์ปากแม่น้ำจันทบุรี เป็นอันว่าตั้งแต่ยึดครองจันทบุรี ฝรั่งเศสได้ยึดครองเกาะเหล่านี้ไปทั้งสิ้น และมาคืนโดยสนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 นี้เอง และขอยืนยันว่าการปักปันเขตแดนไทย-กัมพูชามีเพียง 73 หลักเท่านั้น หลักที่ 73 ที่แหลมสารพัดพิษหรือบ้านหาดเล็กเป็นหลักสุดท้าย ไม่มีหลัก 74 ตามที่บางท่านเข้าใจผิด
 
2.2 อนุสัญญาเจนีวา ค.ศ. 1958 ว่าด้วยไหล่ทวีป
 
ในช่วงเวลาของปี พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) ที่กัมพูชาประกาศเขตไหล่ทวีป ตามกฤษฎีกา ลงวันที่ 1 กรกฎาคม 1972 นั้น บทบัญญัติของกฎหมายทะเลที่เกี่ยวข้องที่นำมาพิจารณา คือ อนุสัญญาเจนีวา ค.ศ. 1958 ว่าด้วยไหล่ทวีป (เวลานั้น UNCLOS 1982 ยังไม่มี)
 
อนุสัญญาเจนีวา ค.ศ. 1958 ว่าด้วยไหล่ทวีปได้นิยามคำว่า “ไหล่ทวีป” ไว้ดังนี้ “ข้อ 1 เพื่อความมุ่งประสงค์ของข้อเหล่านี้ คำว่า “ไหล่ทวีป” ใช้อ้างถึง (ก) พื้นดินท้องทะเลและดินใต้ผิวดิน (sea-bed and subsoil) ของบริเวณใต้ทะเล (submarine areas) ที่ประชิดกับชายฝั่งแต่อยู่ภายนอกบริเวณทะเลอาณาเขตจนถึงความลึก 200 เมตร...”
 
จากนิยามของไหล่ทวีปกล่าวได้ว่า เส้นเขตไหล่ทวีปก็คือเส้นที่ทอดไปตามพื้นท้องทะเล (sea-bed) ไปตามบริเวณใต้ทะเล (submarine areas) ดังนั้น ไม่เกี่ยวกับเกาะหรือแม้แต่ห้วงน้ำหรือมวลน้ำที่อยู่เหนือพื้นท้องทะเลด้วยซ้ำ ซึ่งข้อพิจารณานี้สอดคล้องกับแผนที่ผนวกกฤษฎีกาประกาศเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาฉบับจริงที่เป็นทางการ ดังจะกล่าวถึงในลำดับต่อไป.

http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/popup_news_print.aspx?ColumnId=41243&NewsType=2&Template=1
                                     
(โปรดติดตามตอนจบในสัปดาห์หน้า)
บันทึกการเข้า
เกาะกูด
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: 22-07-2008, 08:56 »

อำนาจอธิปไตยของไทยเหนือเกาะกูด (ตอน อวสาน)
พลเรือเอก ถนอม เจริญลาภ
        
หน้าที่ 1

๒.๓แผนที่ผนวกกฤษฎีกาประกาศเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา

        กฤษฎีกาประกาศเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา คือ กฤษฎีกาที่ 439/72 /PRK ที่แผนที่ ผนวกเป็นแผนที่เดินเรือขนาดมาตรฐานของกรมอุทกศาสตร์ฝรั่งเศส แสดงเส้นเขตไหล่ทวีป ของกัมพูชาทั้งหมด ลงนามโดยประธานาธิบดีลอนนอล  ลงวันที่ ๑ กรกฎาคม ค.ศ.๑๙๗๒ (เอกสารประกอบ หมายเลข ๔)
      แผนที่ตามเอกสารประกอบหมายเลข ๔ เป็นแผนที่ถ่ายสำเนาโดยตรงจากต้นฉบับโดย

ตัดเอามาแสดงเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับเกาะกูดที่เป็นประเด็นการพิจารณาของบทความนี้

      จะเห็นว่าเส้นเขตไหล่ทวีปช่วงแรกออกจากจุด A ซึ่งอ้างว่าเป็นหลักเขตแดนไทย-กัมพู ชา ที่ปักปันตามสนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศส ค.ศ.๑๙๐๗ (หลักที่ ๗๓) จากนั้นเส้นลากมาทางทิศ ตะวันตกเฉียงลงใต้เล็กน้อย (เล็งตรงมาที่ยอดสูงสุดของเกาะกูดนั่นเอง) จะเห็นว่าเส้นเขตไหล่ ทวีปจะมาหยุดอยู่เพียงขอบเกาะกูดด้านตะวันออก แล้วเส้นนั้นจะเริ่มต้นใหม่ทางขอบเกาะกูด ด้านทิศตะวันตกในระดับและทิศทางเดียวกัน ตรงออกไปทางทิศตะวันตกจนถึงเกือบกึ่งกลาง อ่าวไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่กึ่งกลางขอบตะวันตกของเกาะกูดมีอักษรภาษาอังกฤษกำกับว่า "Koh Kut (Siam)" พิจารณาแล้วเห็นว่าจะเป็นอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากเส้นเขตไหล่ทวีปดัง กล่าวทอดไปตาม "พื้นดิน ท้องทะเล" มาหยุดเมื่อถึงขอบเกาะกูดด้านตะวันออก และเริ่มต้น ใหม่ที่พื้นท้องทะเลทางขอบด้านตะวันตกของเกาะกูดจะเห็นว่าเส้นนี้ไม่มีข้อพิจารณาได้เลยว่า
กัมพูชาอ้างสิทธิใดๆ บนเกาะกูด โดยเฉพาะอย่างยิ่งอักษรกำกับข้างเกาะกูดว่า "เกาะกูด (สยาม)"

๒.๔แผนที่ผนวกกฤษฎีกาประกาศทะเลอาณาเขตของกัมพูชา

       ประมาณ ๒ เดือนเศษ หลังจากการประกาศกฤษฎีกากำหนดเขตไหล่ทวีป รัฐบาล
กัมพูชาได้ประกาศกฤษฎีกาตามมาอีกฉบับ ในวันที่ ๑๒ กันยายน ๑๙๗๒ คือ กฤษฎีกากำหนด
ทะเลอาณาเขตของกัมพูชา (กฤษฎีกาหมายเลข 518/72/PRK) เช่นเดียวกันกับประกาศไหล่
ทวีป คือ มีแผนที่ผนวก และ ลงนามโดยประธานาธิบดีลอนนอล (เอกสารประกอบหมายเลข ๕)

       เอกสารประกอบหมายเลข ๕ เป็นแผนที่ถ่ายสำเนาโดยตรงจากต้นฉบับที่ตัดมาแสดง
เฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับเกาะกูด

       จากแผนที่ผนวกประกาศทะเล อาณาเขต เส้นสีดำทึบค่อนข้างชัดเจน ที่อยู่ทางด้าน
ซ้าย (ต้นฉบับเป็นสีแดง) เส้นขอบนอกทะเลอาณาเขตกัมพูชา ออกจากจุด A ซึ่งเป็นหลักเขต แดนไทย-กัมพูชาที่กล่าวแล้วใน ข้อ ๒.๓ ลากมาทางทิศตะวันตก โดยทับกับเส้นเขตไหล่ทวีป มาถึงจุด E1 ที่ขอบตะวันออกของเกาะกูด จากจุด E1 จะมีเครื่องหมายบวก (++++) ทอดชิด กับขอบเกาะกูดด้าน ตะวันออกลงมาทางใต้ จนถึงจุด E2 ที่ปลายเกาะกูดด้านใต้เครื่องหมาย บวกนั้นตามเครื่องหมายในแผนที่หมายความว่า  "เขตแดนระหว่างประเทศ"  ถ้าสังเกตดูจาก จุด A ขึ้นไปทางเหนือตามสันเขาก็จะเห็นเครื่องหมายนี้ คือเขตแดนทางบกระหว่างไทยกับ กัมพูชา จากปลายใต้ของเกาะกูด เส้นทะเลอาณาเขตของกัมพูชาจะลากจากจุด E2 ลงมา ที่ E3-E4-E5..... ไปตามลำดับ สำหรับเส้นด้านในที่คู่ขนานกันคือ เส้นฐานตรงของกัมพูชา ซึ่ง จะขอไม่กล่าวถึงในที่นี้

       จากเส้นแสดงทะเลอาณาเขตของกัมพูชา แสดงชัดเจนว่ากัมพูชาไม่ได้อ้างสิทธิ เหนือ เกาะกูดเลย จะเห็นว่าจากจุด E1 ถึง E2 กัมพูชาเขียนเครื่องหมายแสดงเส้นเขตแดนระหว่าง ประเทศกำกับพื้นที่ไว้ และเส้นทะเลอาณาเขตกัมพูชาที่แนบชิดกับเกาะกูดทางด้านตะวันตก ของปลายด้านใต้ของเกาะก็เป็นสิ่งที่แสดงชัดเจนว่าเกาะไม่ได้เป็นของกัมพูชา เพราะถ้ากัมพู ูชาคิดว่าเป็นของกัมพูชาทะเลอาณาเขตของกัมพูชาจะต้องขยายไป ๑๒ ไมล์รอบเกาะส่วนที่ เป็นของกัมพูชา (จาก E2 มา E3) และเช่นเดียวกัน ที่ข้างเกาะกูดด้านซ้ายจะมีอักษรกำกับว่า "เกาะกูด (สยาม)"
บันทึกการเข้า
เกาะกูด
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: 22-07-2008, 08:58 »

๒.๕ กระโจมไฟเกาะกูด

       ในปี พ.ศ.๒๕๑๗ กองทัพเรือโดย กรมอุทกศาสตร์ ได้สร้างกระโจมไฟขึ้นที่ปลายด้าน ใต้ของเกาะกูด (เอกสารประกอบหมายเลข ๖) กระโจมไฟเกาะกูดประกาศใช้เมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๗ ประกาศโดยเอกสารที่ชื่อว่าประกาศชาวเรือ (Notice to Mariners) จะมีรายละเอียดของตำบลที่ติดตั้งลักษณะกระโจมและลักษณะไฟ ประกาศนี้จะจัดส่งไปตาม บรรดาประเทศที่เป็นสมาชิกองค์การอุทกศาสตร์สากลทั่วโลก (เอกสารประกอบหมายเลข ๗
- ๘) การติดตั้งกระโจมไฟนี้จะถูกนำไปแสดงไว้ในแผนที่ของประเทศต่างๆ ที่ผลิตแผนที่เดิน เรือที่มีเกาะกูด ปรากฎในแผนที่เดินเรือนั้น ดังเช่น แผนที่เดินเรืออังกฤษหมายเลข ๓๙๖๗ (เอกสารประกอบหมายเลข ๙)

      ไม่ว่าการติดตั้งกระโจมไฟเกาะกูดจะมีความประสงค์ที่จะแสดงอำนาจอธิปไตยของ
ไทยเหนือเกาะกูดให้ปรากฏเป็นพยานหลักฐานยืนยันไปทั่วโลกหรือไม่ก็ตาม แต่การตั้งกระ โจมไฟที่เกาะกูดก็เป็นหลักฐานแสดงอำนาจอธิปไตยของไทยเหนือเกาะกูดเสีย ยิ่งกว่าการ
ย้ายคนเข้าไปอยู่ หรือแม้แต่เอาทหารเข้าไปตั้งหน่วยในพื้นที่ แทนคำชี้แจง ผู้เขียนขอคัด ลอกคำตัดสินศาลโลกคดีพิพาทเรื่องอำนาจอธิปไตยของมาเลเซียกับอินโดนีเซียเหนือเกาะ
ลิกิตันและเกาะสิปาดาน (Ligitan and Sipadan) ซึ่งเพิ่งจะตัดสิน เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๕ นี้เอง โดยการติดตั้งกระโจมไฟบนเกาะทั้งสองมีส่วนอย่าง สำคัญที่ทำให้มาเล เซียได้เกาะทั้งสอง นั้นไป


       คำตัดสินศาลโลกวรรค ๑๔๖ - ๑๔๗ ว่าไว้ ดังนี้

       ๑๔๖. Malaysia further invokes the fact that the authorities of colony of North Borneo constructed a lighthouse on Sipadan in 1962 and another on Ligitan in 1963, that those lighthouses exist to this day and that they have
been maintained by Malaysian authorities since its independence. It con- tends that the construction and maintenance of such lighthouses is Wpart
of a pattern of exercise of State authority appropriate in kind and degree to
the character of the places involved."

       ๑๔๗. The Court observes that the construction and operation of light houses and navigational aids are not normally considered manifestation of
State authority (Minquiers and Ecrehous, Judgment I.C.J. Reports 1953. p. 71). The Court, however, recalls that in its Judgment in the case concerning Maritime Delimitation and Territorial Questions between Qatar and Bahrain (Qatar V. Bahrain) it stated as follows: "Certain types of activities invoked by Bahrain such as drilling of artesian wells would, taken by themselves, be con sidered controversial as acts performed a titre de souverain. The construc tion of navigation aids, on the other hand, can be legally relevant in the case of very small islands. In the present case, taking into account the size of Qit� Jaradah, the activities carried out by Bahrain on that island must be con sidered sufficient to support Bahrain�s claim that it has sovereignty over it (Judgment Merits, ICJ Report 2001) para. 197.) The Court is of the view that the same consideration apply in the present case.

๒.๖ การเจรจาปัญหาเขตแดนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชา

       ไทยกับกัมพูชาเจรจาปัญหาเขตแดนทางทะเลในอ่าวไทย ครั้งที่ ๑ เมื่อ ๒ - ๕ ธันวา
คม พ.ศ.๒๕๑๓ ที่กรุงพนมเปญ การเจรจาครั้งนั้นยังไม่ได้เข้าในเนื้อหาเท่าใดนัก เพียงแต่ ทั้งสองฝ่ายแสดงท่าทีทางกฎหมายและแนวความคิดว่า เส้นเขตแดนทางทะเลระหว่างไทยกับ กัมพูชาควรจะเป็นเช่นไร และกำหนดว่าจะมีการเจรจากันต่อไป จากนั้นการเจรจาก็หยุดชะงัก ไปถึง ๒๔ ปี ด้วยปัญหาทางการเมืองของกัมพูชา

       การเจรจาปัญหาเขตแดนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชามาเริ่มนับหนึ่งใหม่ในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ และต่อเนื่องมาจนถึงบัดนี้ สำหรับรายละเอียดการเจรจาแต่ละรอบเป็นเช่นไรคงต้อง รอได้ข้อยุติของความตกลงแล้วจึงจะสามารถมาเขียนให้ทราบได้

       อย่างไรก็ตาม คำชี้แจงเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยของไทยเหนือเกาะกูด ซึ่งโดยที่จริงก็ มีส่วนอยู่บ้างในการเจรจา เพราะเกาะกูดครึ่งล่างอยู่ในบริเวณซึ่งเป็นพื้นที่ ทับซ้อนไทย-กัม พูชาที่กำลังเจรจากัน แต่โดยรายละเอียดเท่าที่ชี้แจงมาแล้วก็น่าจะเชื่อได้ว่าคนที่ ยังข้องใจ ปัญหาเกาะกูดคงจะผ่อนคลายไปบ้างตามสมควร การชี้แจงครั้งนี้ของผู้เขียนนับว่าครบถ้วน กว่าทุกๆครั้งที่เคยชี้แจงปัญหานี้ ทั้งด้วยวาจาและโดยรายงานในรอบ ๓๔ ปีที่ผ่านมาและคง จะเชื่อมั่นได้แล้วว่าเกาะกูดอยู่ภายใต้อธิปไตยของไทยทั้งเกาะอย่างแน่นอนไม่เป็นอย่างอื่น

http://www.navy.mi.th/navic/document/900104b.html
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: