ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
19-04-2024, 08:29
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ตอบคำถาม 3 ข้อของนายจรัญ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ตอบคำถาม 3 ข้อของนายจรัญ  (อ่าน 2235 ครั้ง)
กาลามชน
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 717


« เมื่อ: 15-07-2008, 20:18 »

นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวถึง กรณีที่ ส.ส.พรรคพลังประชาชน ออกมาระบุว่า จะทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปรับโครงสร้างตุลาการใหม่เพราะทุกวันนี้ตุลาการเข้ามายุ่งเกี่ยวกับทางการเมืองมากไป ว่า ขอถามไปยังสังคม 3 คำถาม

1.จะให้อาชญากรแก้ไขกฎหมายอาญาหรือไม่
2.จะให้นักเลือกตั้งแก้ไขการทุจริต ซื้อเสียงหรือไม่
3.จะให้มิจฉาทิฐิ แก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่

ถ้าสังคมให้คำตอบอย่างไร จะได้นำไปศึกษาและปฏิบัติต่อไป

+ + + + + + + +

ผมในฐานะประชาชนธรรมดา ขอตอบคำถาม 3 ข้อของนายจรัญดังนี้

1.จะให้อาชญากรแก้ไขกฎหมายอาญาหรือไม่
ตอบตามคำถามคือ ... ไม่
แต่ตามที่ทราบ ผู้ที่ขอแก้รัฐธรรมนูญไม่ใช่อาชญากร แต่เป็นญาติของอาชญากรที่ไม่ได้กระทำผิด แต่จะต้องถูกลงโทษร่วมกับผู้ที่เป็นอาชญากร และเท่าที่ทราบกลุ่มญาติ ก็ไม่ได้จะแก้กฎหมายให้ตัวอาชญากรพ้นผิด แค่ต้องการแก้ไม่ให้ลงโทษลามมาถึงคนที่ไม่ได้กระทำผิดเท่านั้น

2. จะให้นักเลือกตั้งแก้ไขการทุจริตซื้อเสียงหรือไม่
ตอบตามคำถามคือ ... ไม่
แต่ตามที่ทราบ กลุ่มผู้ที่จะแก้รัฐธรรมนูญไม่ได้จะไปแก้ไขในเรื่องนี้

3. จะให้มิจฉาทิฐิ แก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่
ตอบตามคำถามคือ ... ไม่
แต่ตามที่ทราบ รัฐธรรมนูญฉบับนี้เขียนขึ้นโดยกลุ่มคนที่เป็นมิจฉาทิฐิ และมีบางมาตราที่มีลักษณะเป็นมิจฉาทิฐิ ควรถูกแก้ไข โดยข้อที่ควรแก้ไขนั้นคือมาตรา 237 ที่กำหนดให้ลงโทษให้พรรคการเมืองทั้งพรรครับผิดร่วมกับกรรมการพรรคที่ทำผิด

เป็นที่เข้าใจว่ามาตรานี้เขียนขึ้นโดยมีเจตนาจะปรามการกระทำผิดของนักการเมืองด้วยยาแรง เจตนาปรามนั้นดี แต่จะปรามด้วยวิธีลงโทษเหมาทั้งพรรคไม่ได้ เพราะพื้นฐานขั้นสุดยอดของหลักนิติธรรมกล่าวว่า "มนุษย์จะต้องไม่ถูกลงโทษในความผิดที่ไม่ได้กระทำ" ดังนั้นถ้าจะปราม ก็ต้องคิดหาวิธีปรามด้วยวิธีอื่น ต้องไม่ใช่วิธีเหมารวมลงโทษทั้งพรรค

ทำไมนิติธรรมจึงถือหลัก "ยอมปล่อยคนทำผิดร้อยคน ดีกว่าลงโทษคนไม่ผิดคนเดียว" นั่นเป็นเพราะการยกเว้นไม่ลงโทษคนทำผิด เป็นเรื่องที่ยอมรับได้ด้วยหลักของการให้อภัย ซึ่งเป็นทานชั้นสูง แต่การลงโทษคนไม่ผิดนั้นไม่มีหลักการอะไรมารองรับนอกจากหลักของ "อธรรม" คือความเห็นแก่ตัวของผู้ออกกฎ ที่ขี้เกียจทำหน้าที่คอยไล่จับคนทำผิด ก็เลยออกกฎลงโทษแบบเหมารวม เพื่อ "บีบคั้น" ให้คนอื่นมาช่วยป้องกัน คือถ้าไม่มาช่วยป้องกันก็จะต้องถูกลงโทษไปด้วย

รัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงมีส่วนที่เป็นมิจฉาทิฐิ เพราะขัดกับหลักนิติธรรม.. และเนื่องจากขัดกับหลักนิติธรรม การที่ผ่านประชามติจากประชาชนจึงไม่สามารถนำมาอ้างเพื่อให้เกิดความชอบธรรมได้ เพราะนิติธรรมนั้นเป็นปรมัตถ์ ไม่อาจหักล้างได้ด้วยประชามติ

+ + + + + + + +

โดยสรุป ผมเห็นว่านายจรัญแสร้งตั้งคำถามไม่ตรงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แค่เฉียดๆถากๆ และเลือกคำถามที่ควรจะตอบว่าไม่ เพื่อชี้นำให้สังคมเกิดความเข้าใจที่ไขว้เขว่ ประเด็นคำถามของนายจรัญในวันนี้ ถ้าตั้งคำถามใหม่โดยถามให้ตรงกับกรณีที่เกิดขึ้น ก็น่าจะได้คำตอบที่ต่างออกไป

คนที่ตั้งคำถามเยี่ยงนี้ บอกนิสัยว่าเป็นคนที่มีเล่ห์เหลี่ยม ไม่ทำอะไรตรงๆซื่อๆ จึงไม่แปลกที่ร่างรัฐธรรมนูญออกมาได้วิปลาส พิกลพิการ กลายเป็นปัญหาของใครก็ตามที่เข้ามาเป็นรัฐบาล
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15-07-2008, 20:27 โดย กาลามชน » บันทึกการเข้า
soco
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,842



« ตอบ #1 เมื่อ: 15-07-2008, 20:24 »

สรุปว่า จขกท. ไม่ ครบทั้งสามประเด็น


ผมไม่มีแต่ ครับ

เพราะกฎหมาย ไม่มีแต่ ใช่ว่าเราเล่นตี่จับ ซะเมื่อไหร่

คุกก็คือคุก  เอาขนมเค๊กไปวาง เสกแว๊บเดียวเป็นเงิน สองล้าน ก็คุก


สถานเดียว
บันทึกการเข้า
mebeam
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 634


Fear can hold you prisoner. Hope can set you Free.


« ตอบ #2 เมื่อ: 15-07-2008, 20:58 »

อายแทนเลย     
บันทึกการเข้า
justice
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 80


« ตอบ #3 เมื่อ: 15-07-2008, 21:10 »

ก็เมื่อรัฐธรรมนูญปี 50 นั้นเป็นกฎเกณฑ์ที่ทุกคนรับทราบชัดเจนก่อนการเลือกตั้ง

แล้วพรรคการเมืองที่จงใจจะโกงเลือกตั้ง โกงบ้านโกงเมือง และขายชาติ จะมาลงเลือกตั้งทำซากอะไรครับ

ในเมื่อจะลงเลือกตั้งก็ควรรู้ว่าบ้านเมืองไม่ได้มีไว้โกง ชาติไม่ได้มีไว้ขาย

เมื่อทำผิดแล้ว ก็สมควรยอมรับผิดซะ


จริงอยู่ว่าไม่ใช่กรรมการบริหารพรรคทุกคนที่ทำผิด แต่กฎหมายที่แรงขนาดนี้ เหมาะกับการเมืองไทยที่มีแต่นักการเมืองชั่วแล้วล่ะครับ

กฎหมายที่แรง จะทำให้พรรคการเมืองต่างๆต้องคัดเลือกคนที่จะมาเป็นกรรมการบริหารพรรคว่ามีคุณธรรมนำหน้าหรือไม่ ไม่ใช่มีเงินนำหน้าหรือไม่

กรรมการบริหารพรรคเป็นผู้บริหารที่จะนำพรรคและสร้างทิศทางให้กับพรรค ถ้ายังชั่ว พรรคก็คงชั่ว และถ้าได้เป็นรัฐบาล

คนเดือดร้อนไม่ใช่ประชาชนอย่างผม อย่างคุณ หรืออย่างไร????
บันทึกการเข้า
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #4 เมื่อ: 15-07-2008, 21:22 »

นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวถึง กรณีที่ ส.ส.พรรคพลังประชาชน ออกมาระบุว่า จะทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปรับโครงสร้างตุลาการใหม่เพราะทุกวันนี้ตุลาการเข้ามายุ่งเกี่ยวกับทางการเมืองมากไป ว่า ขอถามไปยังสังคม 3 คำถาม

1.จะให้อาชญากรแก้ไขกฎหมายอาญาหรือไม่
2.จะให้นักเลือกตั้งแก้ไขการทุจริต ซื้อเสียงหรือไม่
3.จะให้มิจฉาทิฐิ แก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่

ถ้าสังคมให้คำตอบอย่างไร จะได้นำไปศึกษาและปฏิบัติต่อไป

+ + + + + + + +

ผมในฐานะประชาชนธรรมดา ขอตอบคำถาม 3 ข้อของนายจรัญดังนี้

1.จะให้อาชญากรแก้ไขกฎหมายอาญาหรือไม่
ตอบตามคำถามคือ ... ไม่
แต่ตามที่ทราบ ผู้ที่ขอแก้รัฐธรรมนูญไม่ใช่อาชญากร แต่เป็นญาติของอาชญากรที่ไม่ได้กระทำผิด แต่จะต้องถูกลงโทษร่วมกับผู้ที่เป็นอาชญากร และเท่าที่ทราบกลุ่มญาติ ก็ไม่ได้จะแก้กฎหมายให้ตัวอาชญากรพ้นผิด แค่ต้องการแก้ไม่ให้ลงโทษลามมาถึงคนที่ไม่ได้กระทำผิดเท่านั้น

ปัญหาถามว่า  จะให้อาชญากรแก้ไขกฎหมายอาญาหรือไม่  คำตอบก็มีเพียง ให้ หรือ ไม่

ตอบให้ตรงคำถามยังไม่ได้ แถไปว่าญาติอาชญากรจะแก้ไขโน่น แล้วญาติของอาชญากรที่ไม่ได้กระทำผิด ใครเป็นคนตัดสินว่าเขาไม่ได้กระทำผิด แถไปไม่มีเหตุผล 



2. จะให้นักเลือกตั้งแก้ไขการทุจริตซื้อเสียงหรือไม่
ตอบตามคำถามคือ ... ไม่
แต่ตามที่ทราบ กลุ่มผู้ที่จะแก้รัฐธรรมนูญไม่ได้จะไปแก้ไขในเรื่องนี้

ปัญหาถามว่า  จะให้นักเลือกตั้งแก้ไขการทุจริตซื้อเสียงหรือไม่  คำตอบก็มีเพียง ให้ หรือ ไม่

ตอบให้ตรงคำถามยังไม่ได้ แถไปว่า แต่ตามที่ทราบ กลุ่มผู้ที่จะแก้รัฐธรรมนูญไม่ได้จะไปแก้ไขในเรื่องนี้ เขาไม่ได้ถาม แต่ต้องแถไว้ก่อน ข้างๆคูๆ แถไปไม่มีเหตุผล 


3. จะให้มิจฉาทิฐิ แก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่
ตอบตามคำถามคือ ... ไม่
แต่ตามที่ทราบ รัฐธรรมนูญฉบับนี้เขียนขึ้นโดยกลุ่มคนที่เป็นมิจฉาทิฐิ และมีบางมาตราที่มีลักษณะเป็นมิจฉาทิฐิ ควรถูกแก้ไข โดยข้อที่ควรแก้ไขนั้นคือมาตรา 237 ที่กำหนดให้ลงโทษให้พรรคการเมืองทั้งพรรครับผิดร่วมกับกรรมการพรรคที่ทำผิด

ปัญหาถามว่า  จะให้มิจฉาทิฐิ แก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่  คำตอบก็มีเพียง ให้ หรือ ไม่

ตอบให้ตรงคำถามยังไม่ได้ แถไปว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้เขียนขึ้นโดยกลุ่มคนที่เป็นมิจฉาทิฐิ และมีบางมาตราที่มีลักษณะเป็นมิจฉาทิฐิ  เขาไม่ได้ถามเรื่องนั้น แต่ต้องแถไว้ก่อน ข้างๆคูๆ แถไปไม่มีเหตุผล 


เป็นที่เข้าใจว่ามาตรานี้เขียนขึ้นโดยมีเจตนาจะปรามการกระทำผิดของนักการเมืองด้วยยาแรง เจตนาปรามนั้นดี แต่จะปรามด้วยวิธีลงโทษเหมาทั้งพรรคไม่ได้ เพราะพื้นฐานขั้นสุดยอดของหลักนิติธรรมกล่าวว่า "มนุษย์จะต้องไม่ถูกลงโทษในความผิดที่ไม่ได้กระทำ" ดังนั้นถ้าจะปราม ก็ต้องคิดหาวิธีปรามด้วยวิธีอื่น ต้องไม่ใช่วิธีเหมารวมลงโทษทั้งพรรค

ทำไมนิติธรรมจึงถือหลัก "ยอมปล่อยคนทำผิดร้อยคน ดีกว่าลงโทษคนไม่ผิดคนเดียว" นั่นเป็นเพราะการยกเว้นไม่ลงโทษคนทำผิด เป็นเรื่องที่ยอมรับได้ด้วยหลักของการให้อภัย ซึ่งเป็นทานชั้นสูง แต่การลงโทษคนไม่ผิดนั้นไม่มีหลักการอะไรมารองรับนอกจากหลักของ "อธรรม" คือความเห็นแก่ตัวของผู้ออกกฎ ที่ขี้เกียจทำหน้าที่คอยไล่จับคนทำผิด ก็เลยออกกฎลงโทษแบบเหมารวม เพื่อ "บีบคั้น" ให้คนอื่นมาช่วยป้องกัน คือถ้าไม่มาช่วยป้องกันก็จะต้องถูกลงโทษไปด้วย

รัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงมีส่วนที่เป็นมิจฉาทิฐิ เพราะขัดกับหลักนิติธรรม.. และเนื่องจากขัดกับหลักนิติธรรม การที่ผ่านประชามติจากประชาชนจึงไม่สามารถนำมาอ้างเพื่อให้เกิดความชอบธรรมได้ เพราะนิติธรรมนั้นเป็นปรมัตถ์ ไม่อาจหักล้างได้ด้วยประชามติ

+ + + + + + + +

โดยสรุป ผมเห็นว่านายจรัญแสร้งตั้งคำถามไม่ตรงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แค่เฉียดๆถากๆ และเลือกคำถามที่ควรจะตอบว่าไม่ เพื่อชี้นำให้สังคมเกิดความเข้าใจที่ไขว้เขว่ ประเด็นคำถามของนายจรัญในวันนี้ ถ้าตั้งคำถามใหม่โดยถามให้ตรงกับกรณีที่เกิดขึ้น ก็น่าจะได้คำตอบที่ต่างออกไป

คนที่ตั้งคำถามเยี่ยงนี้ บอกนิสัยว่าเป็นคนที่มีเล่ห์เหลี่ยม ไม่ทำอะไรตรงๆซื่อๆ จึงไม่แปลกที่ร่างรัฐธรรมนูญออกมาได้วิปลาส พิกลพิการ กลายเป็นปัญหาของใครก็ตามที่เข้ามาเป็นรัฐบาล


สรุปได้ว่า เขาถามคำถาม แต่ตอบไม่ได้ ได้แต่แถไปเรื่อยๆ 

บันทึกการเข้า
Sweet Chin Music
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,613



« ตอบ #5 เมื่อ: 15-07-2008, 21:34 »

เห็นอยู่ทนโท่ว่ากฎหมายมันเขียนว่าอะไร ดันโง่เป็นฟายไปทำผิดอีก แล้วมากระแดะบอกว่ากฎหมายผิด

ขอตอบบ้างละกันนะ


อ้างถึง
1.จะให้อาชญากรแก้ไขกฎหมายอาญาหรือไม่
ตอบตามคำถามคือ ... ไม่
แต่ ตามที่ทราบ ผู้ที่ขอแก้รัฐธรรมนูญไม่ใช่อาชญากร แต่เป็นญาติของอาชญากรที่ไม่ได้กระทำผิด แต่จะต้องถูกลงโทษร่วมกับผู้ที่เป็นอาชญากร และเท่าที่ทราบกลุ่มญาติ ก็ไม่ได้จะแก้กฎหมายให้ตัวอาชญากรพ้นผิด แค่ต้องการแก้ไม่ให้ลงโทษลามมาถึงคนที่ไม่ได้กระทำผิดเท่านั้น


แล้วไอ้พรรคการเมืองอะครับ มันทำเอง เคลื่อนไหวเองได้หรือเปล่าละ? ก็มันทำไม่ได้ไง เลยต้องมีคนทำในฐานนะที่เป็นตัวแทนพรรค

แล้วที่ตัวแทนพรรค ไปทำอะไรที่พรรคได้ประโยชน์ เช่นไปซื้อเสียง แล้วพรรคได้ตัวอทนเข้ามาในเขตนั้น จะมาอ้างว่าพรรคไม่เกี่ยวได้ยังไงครับ?

ดังนั้น การที่มีคนระดับกรรมการไปทำอะไร ไม่ว่าจะได้หรือเสียประโยชน์ ย่อมผูกพันพรรคทั้งสิ้น ... และจะมาอ้างว่า ผิดวัตถุประสงค์ไม่ได้เด็ดขาด

เพราะไม่มี ควายที่ไหนไปกำหนดให้ "การซื้อเสียงเลือกตั้ง" เป็นวัตถุประสงค์ของพรรคเด็ดขาด

อ้างถึง

2. จะให้นักเลือกตั้งแก้ไขการทุจริตซื้อเสียงหรือไม่
ตอบตามคำถามคือ ... ไม่
แต่ตามที่ทราบ กลุ่มผู้ที่จะแก้รัฐธรรมนูญไม่ได้จะไปแก้ไขในเรื่องนี้


เออ แล้วไอ้มาตราที่จะแก้ มันก็เป็นมาตราที่ต้องมีการกระทำความผิดก่อน พรรคนอมินี่ถึงได้รับผลกระทบมิใช่หรือ

อ้างถึง
3. จะให้มิจฉาทิฐิ แก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่
ตอบตามคำถามคือ ... ไม่
แต่ ตามที่ทราบ รัฐธรรมนูญฉบับนี้เขียนขึ้นโดยกลุ่มคนที่เป็นมิจฉาทิฐิ และมีบางมาตราที่มีลักษณะเป็นมิจฉาทิฐิ ควรถูกแก้ไข โดยข้อที่ควรแก้ไขนั้นคือมาตรา 237 ที่กำหนดให้ลงโทษให้พรรคการเมืองทั้งพรรครับผิดร่วมกับกรรมการพรรคที่ทำผิด

เป็นที่เข้าใจว่ามาตรานี้เขียนขึ้นโดยมีเจตนาจะปรามการกระทำผิดของ นักการเมืองด้วยยาแรง เจตนาปรามนั้นดี แต่จะปรามด้วยวิธีลงโทษเหมาทั้งพรรคไม่ได้ เพราะพื้นฐานขั้นสุดยอดของหลักนิติธรรมกล่าวว่า "มนุษย์จะต้องไม่ถูกลงโทษในความผิดที่ไม่ได้กระทำ" ดังนั้นถ้าจะปราม ก็ต้องคิดหาวิธีปรามด้วยวิธีอื่น ต้องไม่ใช่วิธีเหมารวมลงโทษทั้งพรรค

ทำไม นิติธรรมจึงถือหลัก "ยอมปล่อยคนทำผิดร้อยคน ดีกว่าลงโทษคนไม่ผิดคนเดียว" นั่นเป็นเพราะการยกเว้นไม่ลงโทษคนทำผิด เป็นเรื่องที่ยอมรับได้ด้วยหลักของการให้อภัย ซึ่งเป็นทานชั้นสูง แต่การลงโทษคนไม่ผิดนั้นไม่มีหลักการอะไรมารองรับนอกจากหลักของ "อธรรม" คือความเห็นแก่ตัวของผู้ออกกฎ ที่ขี้เกียจทำหน้าที่คอยไล่จับคนทำผิด ก็เลยออกกฎลงโทษแบบเหมารวม เพื่อ "บีบคั้น" ให้คนอื่นมาช่วยป้องกัน คือถ้าไม่มาช่วยป้องกันก็จะต้องถูกลงโทษไปด้วย

รัฐธรรมนูญฉบับนี้จึง มีส่วนที่เป็นมิจฉาทิฐิ เพราะขัดกับหลักนิติธรรม.. และเนื่องจากขัดกับหลักนิติธรรม การที่ผ่านประชามติจากประชาชนจึงไม่สามารถนำมาอ้างเพื่อให้เกิดความชอบธรรม ได้ เพราะนิติธรรมนั้นเป็นปรมัตถ์ ไม่อาจหักล้างได้ด้วยประชามติ


อีกแล้ว เหมือนที่ตอบไปในข้อแรกครับว่า พรรคมันทำการใดๆด้วยตนเองไม่ได้ ดังนั้น หากกกรมการไปทำการใดๆ สมควรแล้วที่จะต้องผูกพันพรรค จะมาอ้างว่าพรรคไม่ได้กระทำด้วยไม่ได้ แล้วอีกอย่างการยุบพรรคนี้ไม่ใช่โทษทางอาญาด้วย ที่ต้องรับผิดเฉพาะผู้กระทำความผิดเท่านั้น ในเมื่อไม่ใช่โทษทางอาญา การที่จะให้พรรครับผิดร่วมกับกรรมการ และให้กรรมการคนอื่นๆรับผิดไปด้วยนั้นถูกต้องแล้ว
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15-07-2008, 22:12 โดย Sweet Chin Music » บันทึกการเข้า


You'll Never Walk Alone
เข้าไปกันได้ค๊าป- - - >http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=sweetchinmusic&group=1
Baby Politic
น้องใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6


« ตอบ #6 เมื่อ: 15-07-2008, 21:54 »

ความเห็นของ จขกท. เสนอมุมมองน่าคิดนะคะ แต่ก็อย่าลืมมุมมองอีกด้านหนึ่งที่ว่า

มีประชาชน นักวิชาการ นักกฎหมาย นักการเมืองและคนอีกหลายกลุ่มที่เห็นด้วยกับการแก้ รธน.2550 ในส่วนที่คิดว่าไม่เหมาะสมหรือมีสิ่งใดที่ควรแก้ไข ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ก็กำลังศึกษาและพยายามปรับแก้อยู่แล้ว เหตุใดไม่รอผลการศึกษาก่อน ถ้าผลการศึกษาออกมาแล้วนำมาใช้ในการปรับแก้ คำถามที่คุณจรัญถามมาคงไม่เกิดเพราะจะไม่มีคำว่า อาชญากร นักเลือกตั้ง มิจฉาทิฐิ เนื่องจากผู้ที่ศึกษาและแก้ไขประกอบด้วยคนหลายฝ่าย
บันทึกการเข้า
55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #7 เมื่อ: 16-07-2008, 11:45 »

นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวถึง กรณีที่ ส.ส.พรรคพลังประชาชน ออกมาระบุว่า จะทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปรับโครงสร้างตุลาการใหม่เพราะทุกวันนี้ตุลาการเข้ามายุ่งเกี่ยวกับทางการเมืองมากไป ว่า ขอถามไปยังสังคม 3 คำถาม

1.จะให้อาชญากรแก้ไขกฎหมายอาญาหรือไม่
2.จะให้นักเลือกตั้งแก้ไขการทุจริต ซื้อเสียงหรือไม่
3.จะให้มิจฉาทิฐิ แก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่

ถ้าสังคมให้คำตอบอย่างไร จะได้นำไปศึกษาและปฏิบัติต่อไป

+ + + + + + + +

ผมในฐานะประชาชนธรรมดา ขอตอบคำถาม 3 ข้อของนายจรัญดังนี้

1.จะให้อาชญากรแก้ไขกฎหมายอาญาหรือไม่
ตอบตามคำถามคือ ... ไม่
แต่ตามที่ทราบ ผู้ที่ขอแก้รัฐธรรมนูญไม่ใช่อาชญากร แต่เป็นญาติของอาชญากรที่ไม่ได้กระทำผิด แต่จะต้องถูกลงโทษร่วมกับผู้ที่เป็นอาชญากร และเท่าที่ทราบกลุ่มญาติ ก็ไม่ได้จะแก้กฎหมายให้ตัวอาชญากรพ้นผิด แค่ต้องการแก้ไม่ให้ลงโทษลามมาถึงคนที่ไม่ได้กระทำผิดเท่านั้น

2. จะให้นักเลือกตั้งแก้ไขการทุจริตซื้อเสียงหรือไม่
ตอบตามคำถามคือ ... ไม่
แต่ตามที่ทราบ กลุ่มผู้ที่จะแก้รัฐธรรมนูญไม่ได้จะไปแก้ไขในเรื่องนี้

3. จะให้มิจฉาทิฐิ แก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่
ตอบตามคำถามคือ ... ไม่
แต่ตามที่ทราบ รัฐธรรมนูญฉบับนี้เขียนขึ้นโดยกลุ่มคนที่เป็นมิจฉาทิฐิ และมีบางมาตราที่มีลักษณะเป็นมิจฉาทิฐิ ควรถูกแก้ไข โดยข้อที่ควรแก้ไขนั้นคือมาตรา 237 ที่กำหนดให้ลงโทษให้พรรคการเมืองทั้งพรรครับผิดร่วมกับกรรมการพรรคที่ทำผิด

เป็นที่เข้าใจว่ามาตรานี้เขียนขึ้นโดยมีเจตนาจะปรามการกระทำผิดของนักการเมืองด้วยยาแรง เจตนาปรามนั้นดี แต่จะปรามด้วยวิธีลงโทษเหมาทั้งพรรคไม่ได้ เพราะพื้นฐานขั้นสุดยอดของหลักนิติธรรมกล่าวว่า "มนุษย์จะต้องไม่ถูกลงโทษในความผิดที่ไม่ได้กระทำ" ดังนั้นถ้าจะปราม ก็ต้องคิดหาวิธีปรามด้วยวิธีอื่น ต้องไม่ใช่วิธีเหมารวมลงโทษทั้งพรรค

ทำไมนิติธรรมจึงถือหลัก "ยอมปล่อยคนทำผิดร้อยคน ดีกว่าลงโทษคนไม่ผิดคนเดียว" นั่นเป็นเพราะการยกเว้นไม่ลงโทษคนทำผิด เป็นเรื่องที่ยอมรับได้ด้วยหลักของการให้อภัย ซึ่งเป็นทานชั้นสูง แต่การลงโทษคนไม่ผิดนั้นไม่มีหลักการอะไรมารองรับนอกจากหลักของ "อธรรม" คือความเห็นแก่ตัวของผู้ออกกฎ ที่ขี้เกียจทำหน้าที่คอยไล่จับคนทำผิด ก็เลยออกกฎลงโทษแบบเหมารวม เพื่อ "บีบคั้น" ให้คนอื่นมาช่วยป้องกัน คือถ้าไม่มาช่วยป้องกันก็จะต้องถูกลงโทษไปด้วย

รัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงมีส่วนที่เป็นมิจฉาทิฐิ เพราะขัดกับหลักนิติธรรม.. และเนื่องจากขัดกับหลักนิติธรรม การที่ผ่านประชามติจากประชาชนจึงไม่สามารถนำมาอ้างเพื่อให้เกิดความชอบธรรมได้ เพราะนิติธรรมนั้นเป็นปรมัตถ์ ไม่อาจหักล้างได้ด้วยประชามติ

+ + + + + + + +

โดยสรุป ผมเห็นว่านายจรัญแสร้งตั้งคำถามไม่ตรงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แค่เฉียดๆถากๆ และเลือกคำถามที่ควรจะตอบว่าไม่ เพื่อชี้นำให้สังคมเกิดความเข้าใจที่ไขว้เขว่ ประเด็นคำถามของนายจรัญในวันนี้ ถ้าตั้งคำถามใหม่โดยถามให้ตรงกับกรณีที่เกิดขึ้น ก็น่าจะได้คำตอบที่ต่างออกไป

คนที่ตั้งคำถามเยี่ยงนี้ บอกนิสัยว่าเป็นคนที่มีเล่ห์เหลี่ยม ไม่ทำอะไรตรงๆซื่อๆ จึงไม่แปลกที่ร่างรัฐธรรมนูญออกมาได้วิปลาส พิกลพิการ กลายเป็นปัญหาของใครก็ตามที่เข้ามาเป็นรัฐบาล



อายแทนเลย     

อายแทนใครครับ ?   

อายแทนคนทำผิดกฏหมาย แต่จะมาแก้กฏหมายให้ตัวเองถูกเหรอครับ......

ยุบสภาไปเลือกตั้งใหม่ ด้วยวิธีบริสุทธิ์ ยุติธรรม ทำตามกฏหมาย ที่ตราไว้ก่อน...แล้วค่อยกลับมาแก้ดีมั๊ยครับ...ค่อยดูดีหน่อย


 


บันทึกการเข้า
eAT
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,066



« ตอบ #8 เมื่อ: 16-07-2008, 12:16 »

มีกฏหมายบางประเทศ ที่ให้จับคนที่นั่งรถไปกับคนขับที่เมาสุราด้วย
เหตุเพราะไม่ยอมห้ามปราม เช่นเดียวกัน กรรมการบริหารพรรค ต้อง
ควรเข้าคุกด้วย เพราะไม่ยอมห้ามปรามพวกตัวเองไมให้ซื้อเสียง

ถ้าคุณยังบริหารพรรคพวกตัวเองยังไม่ได้ จะมาบริหารปรเทศได้อย่าง
ไรกัน ไม่เพียงแต่ยุบพรรค ควรเอาพวกมันเข้าคุกให้มหด
บันทึกการเข้า
RiDKuN
Administrator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,015



เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 16-07-2008, 12:38 »

เพิ่มเติมจากด้านบน เท่าที่ทราบ (เหมือนกัน) มันไม่ได้จะแก้มาตรา 237 มาตราเดียว
แต่จะเพิ่มมาตราที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อ "นิรโทษกรรม" ทักษิณและพวกบ้านเลขที่ 111
โดยการพยายามทำให้สิ่งที่ คตส. และ คมช. ดำเนินการมาเป็นโมฆะ เพื่อให้พ้นจากกระบวนการยุติธรรม

ดังนั้นก็คงต้องตอบคำถามข้อ 1. ว่า จะให้อาชญากร(นอมินี) แก้ไขกฎหมายอาญาหรือไม่ ด้วย

 
บันทึกการเข้า

คนไม่มี "อุดมคติ" ไม่ใช่ "นักการเมือง"
เหลี่ยมแซ่ลี้ (ภัย)
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 344


ไม่มีเพื่อน อย่าไปไหนไกล - ไม่มีน้ำใจ อย่าไปไหนเลย


« ตอบ #10 เมื่อ: 16-07-2008, 13:37 »

ถ้าคุณคิดว่า แก้ รธน. แล้วจะถูกต้อง จะดีงาม จะเหมาะสม

เอาอย่างนี้มั้ย

สมมติ
สืบไปในภาคหน้า
     
    พรรค A ได้รับเลือกตั้งเข้ามาใหม่ ด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น ชนะ พปช.

    พรรค A เลยจะแก้ รธน. เพื่อให้รองรับสิ่งที่ตัวเองทำเอาไว้ หรือเพื่อจะให้สอดคล้องกับสิ่งที่พรรค A จะทำ

    และ ถ้าพรรค A เกิดเป็น พรรคประชาธิปัตย์ ขึ้นมา




   จขกท. จะต่อต้านหรือไม่

    หรือเห็นว่า ถ้า ปชป. จะทำ ก็เป็นสิทธิ



  ขี้คร้าน..... ก็ต้องใช้วิธีเดียวกันกับพันธมิตร เพื่อต่อต้านความคิดในการแก้ รธน. เช่นกัน











   ถึงบอก
  ตราบใด ที่ ทำตัวให้มันถูกกฎหมายไม่ได้ แก้กฎหมายไปมันก็แค่นั้น  เพราะทุนนิยมแบบครึ่งๆกลางๆ ที่ถ่ายทอดกันมา

   มันมองว่า กฎหมายเป็นเครื่องมือทางการบริหาร

   อยากให้คนในประเทศต้องทำอะไร ก็ใช้กฎหมายเป็นช่องทางบังคับให้คนในประเทศเป็นอย่างนั้น

 "ใครเขียนกฎหมาย ก็เขียนเพื่อรับใช้ตัวเอง"

   
บันทึกการเข้า

อนิจจา อันสุราหมาไม่แดรก คนก็แปลกเสือกแดรกได้ไม่อายหมา กรูก็แปลกเสือกแดรกด้วยซวยละวา  หมาก็หมากรูจะแดรกจะทำไม ...........
55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #11 เมื่อ: 16-07-2008, 19:29 »

เพิ่มเติมจากด้านบน เท่าที่ทราบ (เหมือนกัน) มันไม่ได้จะแก้มาตรา 237 มาตราเดียว
แต่จะเพิ่มมาตราที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อ "นิรโทษกรรม" ทักษิณและพวกบ้านเลขที่ 111
โดยการพยายามทำให้สิ่งที่ คตส. และ คมช. ดำเนินการมาเป็นโมฆะ เพื่อให้พ้นจากกระบวนการยุติธรรม

ดังนั้นก็คงต้องตอบคำถามข้อ 1. ว่า จะให้อาชญากร(นอมินี) แก้ไขกฎหมายอาญาหรือไม่ ด้วย

 


จุดหมายปลายทาง คือ การพาคุณทักษิณพ้นผิดให้ได้.....

มาตรา 237 เป็นเพียงทางผ่าน เพื่อให้ตนเองยังคงไว้ซึ่งอำนาจ...

การแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะไม่แก้เฉพาะ 237 และ 190 หรอกครับ...

พวกนั้นจะแก้ทุกมาตรา ที่อยากแก้ ทุกมาตราที่จะเป็นอุปสรรคกีดขวางการโกงชาติ...

อยากแก้มาก จนไม่รู้จะแก้ตรงไหนดี เพราะ รัฐธรรมนูญ ปี 50 ออกแบบไว้ดีเหลือเกิน...

ปิดหน้าปิดหลัง ปิดจุดอ่อนได้แบบไม่มีช่องโหว่....

ดังนั้น จึงต้องตัดแปะ เอา ปี 40 มาทั้งดุ้นครับ...


 
บันทึกการเข้า
เล่าปี๋
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,417


ทำดีได้ดีมีไฉน ทำชั่วได้ดีมีถมไป


« ตอบ #12 เมื่อ: 16-07-2008, 20:00 »

สรุปว่า จขกท. ไม่ ครบทั้งสามประเด็น


ผมไม่มีแต่ ครับ

เพราะกฎหมาย ไม่มีแต่ ใช่ว่าเราเล่นตี่จับ ซะเมื่อไหร่

คุกก็คือคุก  เอาขนมเค๊กไปวาง เสกแว๊บเดียวเป็นเงิน สองล้าน ก็คุก


สถานเดียว




ตอบสั้นๆ แต่สะใจจริงครับ....     



บันทึกการเข้า

ขงเบ้งดูดาว เฮอะเอ่อเอ้ย เมื่อดาวตก เสียวในหัวอกเมือเห็นดาว
ไม่พราวไสว  หรือว่าตัวเราจะหมดบุญ จึงเป็นไป
ดาวที่สดใสเมื่อก่อนนั้น  พลันมืดมัว....
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #13 เมื่อ: 16-07-2008, 21:04 »

ข้อ 1 กับข้อ 3 จะตอบว่าไม่ก็ตอบไปเถอะครับ เหตุผลอะไรก็ว่าไป

แต่ข้อ 2 น่าจะตอบว่า "ใช่" เพราะต้องการถามว่าจะให้นักเลือกตั้ง
ปรับปรุงตัวเลิกทุจริตซื้อเสียงหรือเปล่า

---
2. จะให้นักเลือกตั้งแก้ไขการทุจริตซื้อเสียงหรือไม่
ตอบตามคำถามคือ ... ไม่
แต่ตามที่ทราบ กลุ่มผู้ที่จะแก้รัฐธรรมนูญไม่ได้จะไปแก้ไขในเรื่องนี้

---
สงสัยว่าคุณกาลามชน จะจับประเด็นคำถามได้ไม่เหมือนกันกับผม 
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
อิรวันชาห์ IrWanSyah
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 870



« ตอบ #14 เมื่อ: 16-07-2008, 21:52 »



องค์กรตุลาการต้องดำรงตนอย่างเป็นกลางและปราศจากอคติ ในกระบวนพิจารณาคดี ต้องให้โอกาสคู่ความทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน ในกรณีที่ผู้พิพากษามีส่วนได้เสียกับประเด็นแห่งคดีที่ตนจะพิจารณา ผู้พิพากษานั้นต้องถอนตัวออกจากการพิจารณาคดี ดังสุภาษิตในภาษาละติน “Nemo in propria causa judex”

ด้วยเหตุนี้ จึงเห็นกันว่าผู้พิพากษาทั้งหลายไม่ควรเข้าไป ‘เล่น’ การเมืองด้วยการไปดำรงตำแหน่งในรัฐบาล ไปร่างรัฐธรรมนูญ ไปร่างกฎหมาย หากเข้าไปแล้วก็ไม่ควรกลับมาเป็นผู้พิพากษาใหม่ เพราะในวันข้างหน้าเป็นไปได้ว่า อาจมีประเด็นแห่งคดีเกี่ยวกับเรื่องที่ตนเคยเข้าไปเกี่ยวข้อง
บันทึกการเข้า

วิหค อัสนี
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 946



« ตอบ #15 เมื่อ: 16-07-2008, 22:21 »


ทำไมนิติธรรมจึงถือหลัก "ยอมปล่อยคนทำผิดร้อยคน ดีกว่าลงโทษคนไม่ผิดคนเดียว" นั่นเป็นเพราะการยกเว้นไม่ลงโทษคนทำผิด เป็นเรื่องที่ยอมรับได้ด้วยหลักของการให้อภัย ซึ่งเป็นทานชั้นสูง แต่การลงโทษคนไม่ผิดนั้นไม่มีหลักการอะไรมารองรับนอกจากหลักของ "อธรรม" คือความเห็นแก่ตัวของผู้ออกกฎ ที่ขี้เกียจทำหน้าที่คอยไล่จับคนทำผิด ก็เลยออกกฎลงโทษแบบเหมารวม เพื่อ "บีบคั้น" ให้คนอื่นมาช่วยป้องกัน คือถ้าไม่มาช่วยป้องกันก็จะต้องถูกลงโทษไปด้วย


ตรงนี้ถ้าเป็นกรณีกฎหมายบ้านเมืองทั่วๆ ไป ก็เห็นด้วยครับ

ตัวอย่างเช่น หมู่บ้านๆ หนึ่ง มีบ้านหนึ่งเป็นโจร ถูกจับได้ แล้วจะให้คนอื่นๆ ในหมู่บ้านรับโทษอาญาไปด้วยย่อมไม่ถูกต้อง (เว้นแต่จะมีหลักฐานว่ามีเจตนาช่วยปกปิด หลบซ่อน หรือรู้เห็นเป็นใจ สมประโยชน์กันในหมู่บ้านนั้น ก็สมควรที่จะถูกประณามว่าเป็น "หมู่บ้านโจร")

แต่ ธรรมชาติของเหตุการณ์แบบนี้ มันไม่เหมือนกันกับกรณียุบพรรค
- ปกติแล้ว ถ้ามีคนบ้านหนึ่งไปปล้นเขามา ก็ไม่ได้ทำให้หมู่บ้านนั้นได้รับผลประโยชน์โดยตรงทันที แต่การซื้อเสียงโดยสมาชิกพรรคผู้ใดก็ตาม ย่อมเป็นผลประโยชน์กับพรรคไปด้วยทันที
- การอยู่ร่วมกันเป็นสังคม ชุมชน ถูกบีบคั้นด้วย "ความจำเป็น" และ คนเราแต่ละคน ในช่วงเวลาหนึ่งๆ เลือกได้ยากว่าจะอยู่ที่ไหน จะย้ายที่อยู่ก็ไม่ใช่ง่ายๆ (สมมติว่ามีสุจริตชนดีๆ ไปตั้งรกรากอยู่ในหมู่บ้านหนึ่ง แล้ววันนึงเกิดไปรู้ว่าผู้ใหญ่บ้านกับพรรคพวกเป็นโจร สมคบกันไปปล้นหมู่บ้านอื่นเอาเงินมาบำรุงหมู่บ้านตัวเองอยู่เป็นประจำ เขาก็อาจยังจำใจต้องอยู่ต่อไปด้วยเหตุผลหลายๆ อย่าง)

แล้วยิ่งกว่านั้น ฐานะของพรรคการเมือง ไม่ใช่เป็นบริษัทหรือร้านโชวห่วย หรือตลาดนัดนะครับ ...แต่เป็นผู้ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการถืออำนาจในบ้านเมือง ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ มีเดิมพันสูงมหาศาล และมีความเสี่ยงที่จะตกแก่ประชาชนทุกคนในที่สุด เราจึงควรจะคาดหวังได้โดยธรรมชาติว่าคนที่จะเข้ามาตรงนี้ ต้องมีวุฒิภาวะ มีความกล้าหาญ มีจุดยืนเป็นของตนเอง และเต็มใจมาเข้าร่วมกับกลุ่มคนที่มีแนวคิด อุดมการณ์ทางการเมืองตรงกันเพื่อเสนอตัวทำงานรับใช้บ้านเมือง รับใช้ประชาชนด้วยความจริงใจเท่านั้น โดยเฉพาะผู้ที่เป็นถึงกรรมการบริหารพรรค ยิ่งต้องมีความจริงใจและพร้อมรับผิดชอบยิ่งกว่าสมาชิกทั่วๆ ไปของพรรคมาก

แม้แต่บริษัทหากำไรทั่วๆ ไป ถ้าต้องการจะเข้าไปในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อเป็นบริษัท "มหาชน" ก็จะต้องมีมาตรฐานที่สูงขึ้น ซึ่งจะเรียกว่าจริยธรรม ธรรมาภิบาล หรืออะไรก็แล้วแต่ อาจจะมีข้อยุ่งยากจุกจิกมากมาย แต่ทุกคนก็ยอมรับ เพราะมาตรฐานและมาตรการส่วนใหญ่กำหนดไว้ตามหลักเหตุผล เพื่อปกป้องอันตราย ความบิดเบือน ความฉ้อฉลที่จะเกิดขึ้นกับกลไกตลาดที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น และระบบเศรษฐกิจที่มีขอบเขตกว้างขวางขึ้นนั่นเอง

ดังนั้นการที่กฎหมายสูงสุดของประเทศ เรียกร้อง "มาตรฐาน" ที่สูงขึ้นจากชาวบ้านทั่วไป ให้นักการเมืองและพรรคการเมืองที่จะเสนอตัวเข้ามาใช้อำนาจรัฐ ต้องเผชิญการตรวจสอบที่เข้มงวดมากขึ้น และต้องมีความรับผิดชอบต่ออุดมการณ์ของพรรค ต่อความคาดหวังของประชาชนมากขึ้นแบบนี้ ก็เป็นไปเพื่อปกป้องสิทธิของปวงชนจากการใช้อำนาจรัฐเยี่ยงทรราชในอนาคตอันใกล้นั่นเอง จะถือว่า "ไม่มีหลักการใดรองรับนอกจากอธรรม" ได้อย่างไร?


บันทึกการเข้า

_______ดังนี้แล
__เปลวไฟจักลุกโชน
___หามีวันดับลงได้
_ตราบที่ในมือพวกสูเจ้า
ยังแต่น้ำมันเตาให้ราดรดไป
boyk
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,477



« ตอบ #16 เมื่อ: 16-07-2008, 23:14 »

ความเห็นข้างบนชอบแล้วด้วยหลักเหตุผล
นักปกครองนักการเมืองทั้งหลาย คิดอ่าน พูดจาหรือกระทำการใดๆ ย่อมมีผลกระทบต่อคนหมู่มาก
นั่นหมายความว่า มาตรฐานจริยธรรมของคนกลุ่มนี้ต้องสูงกว่าคนธรรมดาทั่วไปมากๆ
บางท่านว่าควรต้องเข้มงวดในศีลธรรมประหนึ่งนักบวชเลยทีเดียว

การเอาระเบียบหรือกฎหมายทั่วๆไปที่ใช้บังคับกับคนหรือคณะบุคคลมาเปรียบเทียบกับระเบียบหรือกฎหมายหรือรธน.ที่ใช้กับนักการเมือง
ไม่อาจนำมาเปรียบเทียบกันได้ เมื่อเทียบกับผลกระทบทางบวกหรือทางลบหรือความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับบ้านเมือง

ผมอธิบายความไม่เก่ง แต่มันก็ประมาณข้างบนน่ะคับ จะเข้าใจมั้ยเนี่ย 
บันทึกการเข้า

ไล่งับคนโกง ตอกฝาโลงไม่ให้เกิด
thana-2006
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 78


« ตอบ #17 เมื่อ: 17-07-2008, 11:31 »

ชอบความคิดเห็นของคุณวิหค อัศนี มากมากเลยครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: