ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
03-12-2024, 00:20
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ความจริงที่นายกฯ ไม่ได้แถลง โดย ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ความจริงที่นายกฯ ไม่ได้แถลง โดย ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์  (อ่าน 818 ครั้ง)
ผู้ทำลาย
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,496


lynnicky


เว็บไซต์
« เมื่อ: 07-06-2006, 14:14 »

ความจริงที่นายกฯ ไม่ได้แถลง

ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ รองประธานคณะทำงานด้านเศรษฐกิจ พรรคประชาธิปัตย์ และอดีตสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวถึงการแถลงผลงาน 5 ปีของนายกรัฐมนตรี ในการบรรยายเรื่อง ‘ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลกับสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ’ ที่สภาที่ปรึกษาฯ เมื่อ 9 ก.พ. ว่า เป็นข้อมูลเก่า ๆ และเป็นความจริงที่ไม่ครบถ้วน เพราะผลงานรัฐบาลไม่ได้ดีดังที่นายกฯพูด

“การบริหารเศรษฐกิจติดกลุ่มแย่ที่สุดในภูมิภาค การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เป็นผลจากการขยายตัวตามทิศทางเศรษฐกิจโลก เช่น ปี 2544 เศรษฐกิจไทยโต 2.2% ขณะที่เศรษฐกิจโลกโต 2.4% และปี 2547 เศรษฐกิจไทยโต 6.2% และเศรษฐกิจโลกโต 5.1% และหากพิจารณาการบริหารเศรษฐกิจในปี 2548 ประเทศไทยติดกลุ่มแย่ที่สุดในเอเชียแปซิฟิก ดูได้จากอัตราการขยายตัวของจีดีพีต่ำกว่าประมาณการณ์เมื่อต้นปีเป็นสัดส่วนถึง 16% อยู่อันดับที่ 36 จาก 38 ประเทศ"

“ดุลบัญชีเดินสะพัดลดลงมากที่สุดในภูมิภาค แม้การขาดดุลฯส่วนหนึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น แต่อีกส่วนหนึ่งเป็นความบกพร่องของรัฐบาล ที่คาดการณ์ราคาน้ำมันผิดพลาด และใช้นโยบายอุดหนุนราคาน้ำมันนานเกินไป ทำให้การบริโภคน้ำมันไม่ลดลงตามราคาน้ำมันโลกที่เพิ่มขึ้น ด้วยเหตุนี้การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยในปี 2548 จึงแย่กว่าประมาณการณ์เมื่อต้นปีถึง 4.1% GDP หรือคิดเป็นอันดับที่ 28 จาก 28 ประเทศในเอเชียแปซิฟิกที่มีข้อมูลตัวนี้”

“ความเหลื่อมล้ำในภาคเกษตรเพิ่มขึ้น ราคาสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้นเกิดจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น ภาวะภัยแล้ง และความต้องการของโลกเพิ่มขึ้น แม้ว่าราคาที่เพิ่มขึ้นจะทำให้รายได้รวมภาคเกษตรเพิ่มขึ้น แต่เกษตรกรไม่ได้รับประโยชน์อย่างทั่วถึงกัน เพราะการกระจายรายได้ของประชากรในภาคเกษตรแย่ลง โดยส่วนแบ่งของเกษตรกร 20%ที่มีรายได้ต่ำสุด มีสัดส่วนรายได้ลดลงจาก 5.7% ในปี 2543 เป็น 4.5% ในปี 2547 ขณะที่เกษตรกร 20%ที่มีรายได้สูงสุด มีสัดส่วนรายได้เพิ่มขึ้นจาก 52.4% เป็น 55.4%”

“หนี้ต่อรายได้ครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น สัดส่วนคนยากจนที่ลดลงเป็นเรื่องธรรมดาในภาวะเศรษฐกิจปกติ แต่คนที่อยู่ใต้เส้นความยากจนสะท้อนเพียงภาวะด้านรายได้เท่านั้น แต่ไม่ได้สะท้อนภาวะด้านรายจ่ายและหนี้ที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ตั้งแต่ปี 2544-2547 รายจ่ายและหนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่าการเพิ่มขึ้นของรายได้ ทำให้หนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นจาก 5.63 เท่าของรายได้ครัวเรือน เป็น 6.99 เท่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา”

“งบประมาณไม่สมดุลจริง แม้ว่ารัฐบาลประกาศว่าได้จัดทำงบปี 2548 แบบสมดุล แต่ในความเป็นจริง รัฐบาลใช้งบแบบขาดดุล เพราะ ณ สิ้นปีงบประมาณ 2547 มีเงินคงคลัง 1.46 แสนล้านบาท และหนี้ตั๋วเงินคลัง 1.7 แสนล้านบาท แต่สิ้นปีงบประมาณ 2548 เงินคงคลังเหลืออยู่ 1.04 แสนล้านบาท ขณะที่หนี้ตั๋วเงินคลังยังอยู่ที่ 1.7 แสนล้านบาทเท่าเดิม หรือหมายความว่าเงินคงคลังลดลง 4.2 หมื่นล้านบาท แสดงว่างบประมาณปี 2548 เป็นงบประมาณแบบขาดดุล ทั้งนี้หากรัฐบาลไม่ถังแตกแล้ว ทำไมต้องใช้เงินคงคลัง ทำไมต้องออกตั๋วเงินคลัง และทำไมจะต้องออกบอนด์เพื่อแปลงหนี้ตั๋วเงินคลังเป็นหนี้ระยะยาว”

“ซ่อนภาระผูกพันและหนี้สาธารณะ รัฐบาลได้พัฒนาวิธีการซ่อนหนี้และภาระผูกพันไว้จำนวนมาก อาทิ หนี้กองทุนหมู่บ้าน หนี้เงินกู้พม่าของ EXIM Bank การแปรรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อย้ายหนี้รัฐวิสาหกิจออกจากบัญชีหนี้สาธารณะ การจัดตั้ง SPV เพื่อกู้เงินจากเอกชนโดยไม่ปรากฏเป็นหนี้สาธารณะ หนี้กองทุนน้ำมัน รวมทั้งการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ที่อาจทำให้รัฐต้องอุดหนุนในระยะยาว โดยเท่าที่ผมค้นพบข้อมูลมีมูลค่าภาระผูกพันและหนี้ที่ซุกอยู่รวมกันถึง 546,944 ล้านบาทเป็นอย่างน้อย ซึ่งหนี้และภาระผูกพันเหล่านี้จะกลายเป็นภาระต่องบประมาณ หรือเป็นหนี้สาธารณะ หรือภาระต่อประชาชนในอนาคต”

“พึ่งพาต่างประเทศมากขึ้น ความพยายามพึ่งพาเศรษฐกิจในประเทศมากขึ้นเป็นเรื่องที่ดี แต่ทิศทางการพัฒนาประเทศที่ผ่านมากลับเน้นการพึ่งพาต่างประเทศมากขึ้น เพราะรัฐบาลรีบเร่งเปิด FTA เพื่อขยายการค้าระหว่างประเทศ ทำให้สัดส่วนการส่งออกต่อ GDP เพิ่มขึ้นจาก 56.35% ในปี 2543 เป็น 59.58% ในปี 2547 ขัดแย้งกับเป้าหมายที่รัฐบาลเคยตั้งไว้ว่า จะลดสัดส่วนการส่งออกให้เหลือ 35%”

“ผมเห็นด้วยว่าประเทศไทยไม่สามารถต้านทานกระแสโลกาภิวัฒน์ได้ และเห็นด้วยว่า รัฐบาลต้องสร้างความไว้วางใจและความเชื่อมั่น (trust and confidence) ซึ่งเกิดจากการบริหารจัดการที่ดี สินค้าที่มีคุณภาพ และความโปร่งใส แต่การสร้างความโปร่งใสจะเกิดผลได้ ผู้นำต้องเป็นแบบอย่างที่ดีด้วย ผมจึงเรียกร้องให้นายกฯ เลิกใช้วิธีการเก่า ๆ คือการพูดความจริงเพียงบางด้าน เพราะความเชื่อมั่นไม่ได้เกิดจากการสร้างภาพ แต่เกิดจากการรู้ความจริงและความเข้าใจสภาพที่แท้จริง” ส.ส. ปชป. กล่าว
บันทึกการเข้า

แสนยานุภาพผู้ยิ่งใหญ่เสมอฟ้าดิน
engg
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 388


« ตอบ #1 เมื่อ: 07-06-2006, 15:26 »

Mr. Greenดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ รองประธานคณะทำงานด้านเศรษฐกิจ พรรคประชาธิปัตย์  Mr. Green


Mr. Green“ซ่อนภาระผูกพันและหนี้สาธารณะ รัฐบาลได้พัฒนาวิธีการซ่อนหนี้และภาระผูกพันไว้จำนวนมาก อาทิ หนี้กองทุนหมู่บ้าน หนี้เงินกู้พม่าของ EXIM Bank การแปรรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อย้ายหนี้รัฐวิสาหกิจออกจากบัญชีหนี้สาธารณะ การจัดตั้ง SPV เพื่อกู้เงินจากเอกชนโดยไม่ปรากฏเป็นหนี้สาธารณะ หนี้กองทุนน้ำมัน รวมทั้งการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ที่อาจทำให้รัฐต้องอุดหนุนในระยะยาว โดยเท่าที่ผมค้นพบข้อมูลมีมูลค่าภาระผูกพันและหนี้ที่ซุกอยู่รวมกันถึง 546,944 ล้านบาทเป็นอย่างน้อย ซึ่งหนี้และภาระผูกพันเหล่านี้จะกลายเป็นภาระต่องบประมาณ หรือเป็นหนี้สาธารณะ หรือภาระต่อประชาชนในอนาคต” Mr. Green

 Mr. Greenเหมือนท่านไม่เข้าใจคำว่าหนี้สาธารณะ Mr. Green

“ Mr. Greenพึ่งพาต่างประเทศมากขึ้น ความพยายามพึ่งพาเศรษฐกิจในประเทศมากขึ้นเป็นเรื่องที่ดี แต่ทิศทางการพัฒนาประเทศที่ผ่านมากลับเน้นการพึ่งพาต่างประเทศมากขึ้น เพราะรัฐบาลรีบเร่งเปิด FTA เพื่อขยายการค้าระหว่างประเทศ ทำให้สัดส่วนการส่งออกต่อ GDP เพิ่มขึ้นจาก 56.35% ในปี 2543 เป็น 59.58% ในปี 2547 ขัดแย้งกับเป้าหมายที่รัฐบาลเคยตั้งไว้ว่า จะลดสัดส่วนการส่งออกให้เหลือ 35%” Mr. Green

 Mr. Green Questionทำไมลดการส่งออก Question Mr. Green

 Questionเป็นรัฐบาลจะไหว? Question
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: