การโกงการเลือกตั้งควรเป็น โทษอาญา มีผลให้จำคุก แต่เชื่อหรือไม่
การตัดสินกลับตัดสินในแง่ที่เป็นการเมืองก่อน ถึงมีคำว่า เชื่อได้ว่า ให้
มีการตัดสิทธิ์และ ยุบพรรค ก่อน การดำเนินการฟ้องร้องคดีอาญาแก่
ผู้กระทำผิดคนนั้น เช่น กรณี พลเอกธรรมรักษ์ แม้กระทั่งนายยงยุทธเอง
เพราะว่า วิธีการพิจารณาคดีอาญามันต่างจากการให้ใบแดง ถ้าฟ้องอาญา
ก่อนแล้วหลุด จะนำมาใช้หลัก เชื่อได้ว่า เพื่อตัดสิทธิ์หรือยุบพรรคมันยาก
จะเกิดคำถามว่า อ้าว ไม่เป็นคดีอาญา แล้วทำไมถึงผิดจนต้องยุบพรรค
ก็เลยยุบพรรคด้วยเหตุ เชื่อได้ว่า ซะก่อน แล้วทำเป็นลืมๆ ไปเรื่องคดี
อาญา ไม่งั้นป่านนี้ คดีของธรรมรักษ์ซึ่งเกิดขึ้นมาสองปีควรจะไปได้ไกล
แล้ว ไม่เงียบเชียบแบบนี้หรอก หรือจะเถียงว่าไม่จริง
เรื่องนี้มันเป็นคดียุบพรรคไม่ใช่หรือครับ เขาก็ต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญก่อน
เพราะเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนของประเทศ ไม่ใช่แค่คดีความส่วนบุคคล
มีคำวินิจฉัยอย่างไรก็จะนำไปประกอบการพิจารณาแจ้งความดำเนินคดีอาญา
เป็นรายบุคคล
ซึ่งตำรวจก็ต้องตั้งพนักงานสืบสวนสอบสวนไปตามขั้นตอนอันยาวนานต่อไป...
เรื่องดำเนินคดีอาญา พล.อ.ธรรมรักษ์ เพิ่งจะส่งให้ตำรวจไปเมื่อปีที่แล้วนี้
ที่ช้าอาจเพราะ กกต.ชุดก่อนหน้านี้มีอันเป็นไปเสียก่อน และชุดใหม่ที่เข้ามา
ก็ต้องตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาก่อน จึงจะลงมติให้แจ้งความดำเนินคดี
ตอนนี้เรื่องคงอยู่ที่ตำรวจ ดังนั้นต้องไปตามที่ตำรวจนะครับ 
ปล. เอาข่าวเมื่อปีที่แล้วมาให้ดูประกอบ
---------------------------------------------------------------------------------------
กกต.ฟันซ้ำส่งเอาผิดคดีอาญา บห.ทรท.http://www.kanmuang.org/NT/data/0167-1.htmlวาน นี้ (25 มิ.ย.) ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต.
แถลงภายหลังการประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่า ที่ประชุมมีมติให้แจ้งความดำเนินคดี
กับอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยและ ผู้ที่เกี่ยวข้อง รวม 9 คน ตามที่คณะอนุกรรมการวินิจฉัย
เรื่องร้องเรียนและปัญหาหรือข้อโต้แย้ง คณะที่ 4 ซึ่งมีนายประชิด ศรศักดา อดีตผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
เป็นประธานได้ตรวจสอบและเสนอความเห็นมา โดยเรื่องดังกล่าว กกต.ชุด พล.ต.อ. วาสนา เพิ่มลาภ
ได้เคยพิจารณาและมีมติไว้ และมอบให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบไปดำเนินการ แต่ยังไม่มีการแจ้งความ
ดำเนินคดี ดังนั้นเมื่อ กกต.ชุดนี้มีมติดังกล่าว ก็จะมอบให้เจ้าหน้าที่ชุดเดิมไปดำเนินการ โดยทาง
สำนักงานฯจะยกร่างคำสั่งในเชิงคำร้องทุกข์ดำเนินคดี ให้ประธาน กกต.ลงนาม ถึง ผบช.ก.พร้อมแนบ
คำวินิจฉัย ของศาลรัฐธรรมนูญในกรณีสั่งยุบพรรคไทยรักไทยไปด้วย จากนั้นก็เป็นอำนาจของพนักงาน
สอบสวน สืบสวนหาพยานหลักฐานต่อไป หากเห็นว่ามีน้ำหนักเพียงพอก็จะส่งให้อัยการสูงสุดยื่นฟ้องอาญา
แต่ทั้งนี้อดีตกรรมการบริหารพรรค และผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดจะมีความผิดหรือไม่เป็นดุลยพินิจของศาลจะวินิจฉัย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยและผู้ที่เกี่ยวข้องทั้ง 9 คน ประกอบไปด้วย
1. พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา อดีตรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ขณะกระทำความผิดดำรงตำแหน่ง
เป็น รมว.กลาโหม 2. นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล อดีตรองเลขาธิการพรรคไทยรักไทย ขณะกระทำผิดเป็น
รมว.คมนาคม 3. พล.อ.ไตรรงค์ อินทรทัต ขณะกระทำผิดดำรงตำแหน่งหัวหน้านายทหารเสนาธิการ รมว.กลาโหม
4. พล.ท.ผดุงศักดิ์ กลั่นเสนาะ ขณะกระทำผิดดำรงตำแหน่งผู้ช่วยหัวหน้านายทหารเสนาธิการ รมว.กลาโหม
โดยทั้ง 4 คนนี้มีความผิดตามมาตรา 47 และมาตรา 100 พ.ร.บ.เลือกตั้ง ส.ส. และ ส.ว. ฐานเป็นเจ้าหน้าที่
ของรัฐใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย กระทำการใดๆ เพื่อเป็นคุณหรือโทษแก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมือง
โดยให้เงินสนับสนุนแก่พรรคพัฒนาชาติไทย พรรคแผ่นดินไทย เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้ง และสนับสนุนผู้ที่รู้อยู่แล้วว่า
ตนเองไม่มีสิทธิสมัครลงรับเลือกตั้ง รวมทั้งมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137, 264, 267 และ
268 คือ แจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ปลอมแปลงเอกสาร ใช้เอกสารปลอม และแจ้งเจ้าพนักงานจดข้อความ
อันเป็นเท็จ
ผู้ สื่อข่าวรายงานอีกว่า 5. นายพงศ์ศรี หรือยุทธพงศ์ ศิวาโมกข์ 6. นายทวี สุวรรณพัฒน์ 7. นายธีรชัย หรือ
ต้อย จุลภัทร์ ถือเป็นคนสนิทของ พล.อ.ธรรมรักษ์ ที่เป็นคนกลางในการติดต่อระหว่างพรรคไทยรักไทยกับ
พรรคพัฒนาชาติไทย มีความผิดฐานสนับสนุนผู้ที่รู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีสิทธิรับสมัครลงรับเลือก ตั้งตามมาตรา 100
ของ พ.ร.บ.เลือกตั้ง ส.ส. และ ส.ว. ประกอบมาตรา 86 ประมวลกฎหมายอาญา รวมทั้งมีความผิดฐานเป็น
ตัวการให้บุคคลอื่นปลอมแปลงเอกสาร ตามมาตรา 246 ประกอบมาตรา 83 และเป็นผู้สนับสนุนให้มีการใช้
เอกสารปลอมดังกล่าวอันมีความผิดประกอบมาตรา 286 ประมวลกฎหมายอาญา 8. นายสมชาย สุขประเสริฐ
และ 9. นายประพันธ์ พรหมรัตน์ ในฐานะเป็นผู้ชักชวนและดำเนินการให้ผู้ที่ขาดคุณสมบัติในการสมัครไปสมัคร
รับเลือกตั้ง จึงมีความผิดฐานสนับสนุนให้กระทำความผิดตามมาตรา 137, 267, 86 ประมวลกฎหมายอาญา
และมาตรา 100 แห่ง พ.ร.บ.เลือกตั้ง ส.ส. และ ส.ว.