ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
19-04-2024, 23:32
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ชวนเพื่อนดูทีวีไทยบ่ายสองนี้ สกู๊ปนิธิและศรีศักดิ์กรณีปราสาทพระวิหาร 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ชวนเพื่อนดูทีวีไทยบ่ายสองนี้ สกู๊ปนิธิและศรีศักดิ์กรณีปราสาทพระวิหาร  (อ่าน 1566 ครั้ง)
พระพาย
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 679



« เมื่อ: 12-07-2008, 12:52 »

เห็นโฆษณาตั้งแต่เมื่อคืนแล้วครับ... น่าสนใจมาก

ผมเองว่าดูตามรอยพระพุทธเจ้าเสร็จก็จะดูต่อกันเลยครับ.. แล้วค่อยมาคุยกันต่อครับ
บันทึกการเข้า

คลิป นปก บุกทำเนียบชนพันธมิตร
http://pirun.ku.ac.th/~g4685035/01mob.asf
กระทู้ขบวนการเสรีไทยในเวบบอร์ดร่วมคัดคัดกรณีปราสาทพระวิหาร นำโดยคุณ *bonny http://forum.serithai.net/index.php?topic=28065.0
และเอกสารยื่นคัดค้านกระทรวงต่างประเทศไทยและกัมพูชา  http://www.savefile.com/files/1629973
กระทู้สรุปประเด็นปราสาทพระวิหาร โดยคุณ Jerasak http://forum.serithai.net/index.php?topic=28392.0
ใบปลิวขนาด 2 หน้าสรุปประเด็นปราสาทพระวิหาร โดยคุณ Jerasak http://www.savefile.com/files/1626944

แม่น้ำร้อยสายล้วนต้นกำเนิดเดียวกัน... จากสายฝน จากภูเขา ที่ซึ่งคล้ายเจตนารมณ์แห่งฟ้า
เสรีไทยเวบบอร์ด http://forum.serithai.net/
We Open Mind http://www.weopenmind.com/board/index.php
อรุณสวัสดิ์ http://www.arunsawat.com/board/index.php
ที่ทำการเสี่ยวอีสาน[
chaturant
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 499



« ตอบ #1 เมื่อ: 12-07-2008, 13:55 »

รอดูอยู่ครับ วันนี้หรอ.  ........... 
บันทึกการเข้า
An.mkII
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,984


Out of kontrol....!!!!!


เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 12-07-2008, 14:05 »

มาแล้วครับ...
บันทึกการเข้า
อนัตตา (ไร้สี ไร้กลิ่น ไร้ฝ่าย)
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 620



« ตอบ #3 เมื่อ: 12-07-2008, 14:27 »

เห็นนิธิก็รู้แล้วว่าจะมันพูดอะไร

ดีไม่ดีมันบอกให้ยกศรีษะเกส สุรินทร์ ให้เขมรไปด้วย
บันทึกการเข้า

คนไทยคนหนึ่ง
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 744


« ตอบ #4 เมื่อ: 12-07-2008, 15:30 »

ดูแล้วเหนื่อยแทนผุ้ร่วมรายการทั้งสามคน ผู้ดำเนินรายการไม่ทำการบ้านเลย

อธิบายกันเท่าไรก้ไม่เข้าใจ แทนที่จะเป็นคนสรุปความคิดเห็น

กลับทำให้ต้องมาเสียเวลากับผู้ดำเนินรายการมากมาย
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 12-07-2008, 15:36 »

มาตรา 66 บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชน ชุมชนท้องถิ่น ท้องถิ่นดั้งเดิม ย่อมมีสิทธิ์อนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติ มีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์ร่วมกันในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน

*******************

ปราสาทพระวิหารคือสมบัติของชาวศีรษะเกศครับ


อย่าไปรอมรดกโลก คนไทย ชุมชนท้องถิ่นต้องทำกันเอง
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 12-07-2008, 15:38 »

'ปราสาทเขาพระวิหาร' กับรัฐโบราณในอีสาน ย่านบรรพชนกษัตริย์กัมพูชา
มติชน วันที่ 04 กรกฎาคม 2551 เวลา 06:33:31 น.

เผยประวัติศาศตร์เกี่ยวกับ 'ปราสาทเขาพระวิหาร' ปรับปรุงจากหนังสือ 2 เล่ม คือ 'พลังลาว' ชาวอีสาน มาจากไหน? สำนักพิมพ์มติชน และ 'แผนที่ประวัติศาสตร์(สยาม)ประเทศไทย' พิมพ์โดยสำนักงานสวช. ทั้ง 2 เล่ม เขียนโดย 'สุจิตต์ วงษ์เทศ'

ปรับปรุงจากหนังสือ 2 เล่ม 1. "พลังลาว" ชาวอีสาน มาจากไหน? โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก กรกฎาคม 2549 2. แผนที่ประวัติศาสตร์ (สยาม) ประเทศไทย โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) กระทรวงวัฒนธรรม พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2550



ปราสาทเขาพระวิหารหันหน้าลงอีสาน เพราะกษัตริย์ผู้สถาปนาปราสาทเขาพระวิหารมีบรรพชนอยู่ลุ่มน้ำมูล จะลำดับหลักฐานให้เห็นดังนี้

3,000 ปีมาแล้ว มี "คนภายนอก" เคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งหลักแหล่งแห่งหนจนเป็นบรรพชนคนอีสาน มาจากทุกทิศทางทั้งใกล้-ไกล และทั้งทางบก-ทางทะเล "คนภายนอก" บางกลุ่ม หรือหลายกลุ่ม ย่อมเคลื่อนย้ายไปๆ มาๆ ผ่านพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำโขง ที่สำคัญคือมาจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ แถบกวางตุ้ง-กวางสี, เวียดนาม, ยูนนาน ฯลฯ และมาจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ ทางอ่าวไทยและอ่าวเบงกอล ฯลฯ

บ้านเมืองแรกสุด นับถือศาสนาผี

หลัง พ.ศ. 1 หรือมากกว่า 2,500 ปีมาแล้ว แรกมีชุมชนบ้านเมืองเป็นส่วนหนึ่งของสุวรรณภูมิ ตั้งแต่สมัยแรกมีชื่อสุวรรณภูมิในคัมภีร์ของอินเดีย-ลังกา โดยเฉพาะผืนแผ่นดินใหญ่ที่มีแม่น้ำโขงเป็นแกน

ชุมชนบ้านเมืองในอีสานยุคนี้เลือกสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เป็นศูนย์กลางทำพิธีกรรม เช่น ถ้ำเพิงผา ลานกว้าง ฯลฯ มีหินตั้งปักล้อมรอบเขตศักดิ์สิทธิ์ บางแห่งสลักและเขียนสัญลักษณ์เป็นรูปต่างๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของ พืชพันธุ์ ฯลฯ เช่น ผาแต้ม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี

หลัง พ.ศ. 500 ศาสนาพุทธ-พราหมณ์จากอินเดียเข้ามาเผยแผ่อยู่บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา เริ่มแพร่กระจายเข้าไปในดินแดนภายในสุวรรณภูมิบริเวณสองฝั่งโขงและอีสาน ผ่านลุ่มน้ำป่าสัก (ลพบุรี-เพชรบูรณ์) และช่องเขาเพชรบูรณ์ บริเวณต้นน้ำมูล-ชี แล้วกระจายถึงสองฝั่งโขง เหนือสุดถึงเวียงจันและหนองคาย-นครพนม ตะวันออกสุดถึงปลายน้ำมูล-ชี ทางยโสธร-อุบลราชธานี แล้วเริ่มมีชุมชนเมืองขนาดใหญ่ขึ้น

คนพื้นเมืองบริเวณสองฝั่งโขงและอีสาน มีเทคโนโลยีก้าวหน้ากว้างขวางทางถลุงโลหะ โดยเฉพาะเหล็ก และรู้จักขุดคูน้ำล้อมรอบชุมชนแล้ว แต่แต่งกายเปลือยเปล่า มีเพียงเครื่องปิดหุ้มอวัยวะเพศ ประดับประดาร่างกายด้วยใบไม้และขนนก

คนพวกนี้นับถือศาสนาผีอยู่ก่อนแล้ว จึงไม่ยอมรับนับถือศาสนาพุทธ-พราหมณ์ที่เข้ามาใหม่ เลยถูกเรียกจากชาวชมพูทวีป (อินเดีย-ลังกา) ว่านาค แล้วเริ่มมีในนิทานว่าต้องปะทะขัดแย้งกันระหว่างกลุ่มคนเผยแผ่จากศาสนาชมพูทวีปกับคนพื้นเมืองเรียก "ปราบนาค"

รัฐเจนละ แรกสุดในอีสาน นับถือพราหมณ์-พุทธ

หลัง พ.ศ. 1000 แรกมีรัฐเจนละ บริเวณสองฝั่งโขง-ชี-มูล แล้วเติบโตขึ้นจนแผ่ปกลงไปถึงดินแดนกัมพูชาทางทะเลสาบเขมร มีศาสนาพราหมณ์อยู่ในหมู่ชนชั้นสูง ส่วนศาสนาพุทธอยู่ในหมู่สามัญชน

บริเวณที่เป็นถิ่นกำเนิดของเจนละคือปลายลุ่มแม่น้ำมูล-ชี ในเขตจังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดยโสธร และจังหวัดอุบลราชธานี จัดอยู่ในแอ่งโคราชที่มีชุมชนหมู่บ้านเก่าแก่ไม่น้อยกว่า 3,000 ปีมาแล้ว มีประชากรหลากหลายเผ่าพันธุ์ คนพวกนี้มีชุมชนหมู่บ้านหนาแน่นอยู่รอบๆ ทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งเป็นเขตที่มีทรัพยากรธรรมชาติ เช่น เหล็ก และเกลือ อุ่นหนาฝาคั่ง

วัฒนธรรมทวารวดีจากที่ราบลุ่มเจ้าพระยาภาคกลางเข้าอีสาน ทำให้ดินแดนอีสานเจริญก้าวหน้าขึ้นเป็นบ้านเมืองอย่างเต็มที่เมื่อประมาณหลัง พ.ศ. 1100 เพราะได้รับอารยธรรมจากอินเดียที่แพร่ผ่านบ้านเมืองที่อยู่ใกล้ทะเลเข้ามา 2 ทาง คือ (1) จากบ้านเมืองทางทิศตะวันออก (เวียดนาม) และบริเวณปากแม่น้ำโขงทางทิศใต้ (กัมพูชา) และ (2) จากบ้านเมืองบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

พระพุทธศาสนาได้แพร่กระจายไปบริเวณอุดรธานีและหนองหารหลวงที่สกลนครก่อน หลังจากนั้น กลุ่มชนในเขตหนองหารหลวงขยับขยายเข้าไปในอำเภอธาตุพนม (จังหวัดนครพนม) แล้วผสมผสานกับกลุ่มชนต่างเผ่าพันธุ์ที่เคลื่อนย้ายมาจากที่อื่นๆ เช่น ทางเหนือและทางตะวันออกของแม่น้ำโขง ต่อมาได้สร้างพระธาตุพนมขึ้นเป็นศูนย์กลางของระบบความเชื่อ

บ้านเล็ก, เมืองน้อย, รัฐใหญ่ บริเวณลุ่มน้ำมูล
 


บ้านเมืองในอีสานไม่ใช่อาณาจักรเดียวกัน แต่แยกกันเป็นแคว้นอิสระหรือรัฐเอกเทศที่มีความสัมพันธ์กันฉันเครือญาติพี่น้องผู้ใหญ่ผู้น้อยอย่างใกล้ชิด และยังไม่พบหลักฐานว่าแคว้นนั้นๆ มีชื่ออะไรบ้าง แต่สามารถจำแนกเป็นกลุ่มๆ ดังต่อไปนี้ :-

1. กลุ่มลุ่มน้ำโขง-ชี-มูล หรือเจนละ บริเวณจังหวัดอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร มุกดาหาร นครพนม ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์ ที่แม่น้ำชี-มูลไหลมารวมกันแล้วลงสู่แม่น้ำโขงที่อุบลราชธานี นับถือพราหมณ์-พุทธ

2. กลุ่มกลางลุ่มน้ำมูล หรือพนมวัน-พิมาย-พนมรุ้ง บริเวณที่ราบลุ่มบางส่วนของจังหวัดบุรีรัมย์และนครราชสีมา นับถือพุทธมหายาน

3. กลุ่มต้นลุ่มน้ำมูล หรือศรีจนาศะ บริเวณจังหวัดนครราชสีมา ตั้งแต่อำเภอเมือง อำเภอปักธงชัย และอำเภอสูงเนิน ไปจดเทือกเขาดงรักและดงพญาเย็นทางตะวันตก นับถือพุทธ-พราหมณ์

4. กลุ่มลุ่มน้ำชี บริเวณจังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น และกาฬสินธุ์ เป็นบ้านเมืองที่นับถือพระพุทธศาสนาต่อเนื่องเรื่อยมา สร้างเสมาหิน พระนอน สถูปเจดีย์ ในศิลปะสถาปัตยกรรมแบบทวารวดีอย่างแพร่หลาย

5. กลุ่มสองฝั่งโขง หรือเวียงจัน บริเวณอีสานเหนือ เขตเวียงจัน หนองคาย สกลนคร เป็นบ้านเมืองที่นับถือพุทธศาสนาต่อเนื่องมา มีชื่อในตำนานว่าศรีโคตรบูร มีศูนย์กลางอยู่เวียงจัน ต่อไปข้างหน้าจะเรียกกลุ่มสยาม

บรรพชนกษัตริย์กัมพูชาอยู่ลุ่มน้ำมูล

หลัง พ.ศ. 1500 วัฒนธรรมขอม (เขมร) จากทะเลสาบกัมพูชาแผ่เข้าสู่อีสาน ขณะเดียวกัน การค้าโลกกว้างขวางขึ้น ส่งผลให้บริเวณสองฝั่งโขงที่มีทรัพยากรมั่งคั่งมีบ้านเมืองเติบโตแพร่กระจายเต็มไปหมด

ต้นวงศ์กษัตริย์กัมพูชาอยู่ลุ่มน้ำมูล เพราะบริเวณต้นน้ำมูลตั้งแต่เขตปราสาทพนมวัน ปราสาทหินพิมาย ปราสาทเขาพนมรุ้ง เป็นถิ่นเดิมหรือถิ่นบรรพบุรุษเกี่ยวดองเป็น "เครือญาติ" ของกษัตริย์กัมพูชาที่สถาปนาอาณาจักรกัมพูชาขึ้นบริเวณทะเลสาบ ทำให้กษัตริย์อาณาจักรกัมพูชาก่อสร้างปราสาทหินสำคัญไว้ในอีสาน เช่น

ปราสาทพระวิหารในกัมพูชา หันหน้าทางอีสานและมีทางบันไดขึ้นลง ที่ยื่นยาวเข้ามาทางจังหวัดศรีสะเกษ แสดงความสัมพันธ์บริเวณลุ่มน้ำมูลเป็นพิเศษ

รูปสลักขบวนแห่ทหารในพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์บนระเบียงประวัติศาสตร์ที่ปราสาทนครวัด แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ฉัน "เครือญาติ" ระหว่างกษัตริย์เขมรเมืองพระนคร กับบ้านเมืองแว่นแคว้นต่างๆ ที่อยู่โดยรอบและที่อยู่ห่างไกลออกไป และยังบอกให้รู้ถึง "เครือข่าย" ทางการค้าภายในบนเส้นทางคมนาคม-การค้าครั้งนั้น เช่น เสียมกุก หรือชาวสยามที่หมายถึงคนพื้นเมืองหลายชาติพันธุ์บริเวณสองฝั่งโขงที่มีเวียงจันเป็นศูนย์กลางของชาวสยามที่สื่อสารด้วยภาษาลาว-ไทย

หลัง พ.ศ. 1700 บริเวณสองฝั่งโขงและอีสานอยู่ในอิทธิพลทางการเมืองและวัฒนธรรมของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มหาราชของอาณาจักรกัมพูชาที่เรืองอำนาจขึ้นสูงสุด เมื่อราวหลัง พ.ศ. 1700 มีรายชื่อเมืองต่างๆ ราว 20-30 เมือง (ในจารึกปราสาทพระขรรค์) อยู่รายทางตั้งแต่ทะเลสาบถึงสองฝั่งโขงในอีสานและลาว

พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มีบรรพชนต้นตระกูลในราชวงศ์มหิธรปุระ อยู่บริเวณต้น-กลางลุ่มน้ำมูลทางเมืองพิมาย-พนมรุ้ง แล้วรับศาสนาพุทธมหายานจากเมืองพิมายไปประดิษฐานและเผยแผ่ในราชอาณาจักรกัมพูชาที่เมืองพระนครหลวง (นครธม)

ศาสนสถานที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โปรดให้สร้างไว้ตามบ้านเมืองต่างๆ มีรูปแบบอย่างเดียวกันเรียก "อโรคยศาล" และ "ธรรมศาลา" ที่ต่อมาคนอีสานเรียกกู่ฤๅษี มีทั่วไปในท้องถิ่นอีสาน ที่แสดงให้เห็นว่าอีสานเป็นแดนบรรพชนของกษัตริย์กัมพูชาอย่างแท้จริง ขณะเดียวกัน ก็เป็นแหล่งทรัพยากรทั้งแร่ธาตุสิ่งของและผู้คนที่รัฐใหญ่ต้องการ จึงแผ่อำนาจเข้ามาครอบคลุม

ที่มา หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน วันที่ 04 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11073
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 12-07-2008, 15:42 »

ระหว่างความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา การเสียแผ่นดินถึงปราสาทพระวิหาร
โดย วิภา จิรภาไพศาล wipha_chi@yahoo.com



อาคารส่วนหนึ่งในกลุ่มโบราณสถานของปราสาทพระวิหาร

บรรดา "ประเด็น" ในวงสนทนา บนหน้าหนังสือพิมพ์ บนเวทีพันธมิตร ในรัฐสภา ฯลฯ ประเด็นที่ร้อนแรงและอ่อนไหวยิ่งประเด็นหนึ่งคือ "การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก" ไม่ใช่เพราะที่ตั้งของปราสาทพระวิหารที่อยู่บริเวณรอยต่อชายแดนประเทศไทย-กัมพูชา หากเพราะปราสาทพระวิหารคือประเด็นที่ประชาชนสนใจและสามารถสร้างให้ประชาชนสนใจ คือเรื่องของผลประโยชน์ระหว่างรัฐ และระหว่างบุคคล/คณะบุคคล

ปราสาทพระวิหารจึงเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ทรงอานุภาพในทางการเมืองปัจจุบัน

ทว่าข้อสรุปกรณีปราสาทพระวิหารคงต้องรอผลในภายหน้า ระหว่างนี้ขอเชิญท่านอ่านกรณีเกี่ยวกับดินแดน กรณีที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา อีกกรณีหนึ่งกับบทความที่ชื่อว่า "รัชกาลที่ 4 ทรงคิดอย่างไรกับการเสียดินแดน "ครั้งแรก"?" ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนกรกฎาคมนี้

ดินแดนที่กล่าวถึงคือกัมพูชาหรือเขมร ซึ่งขณะนั้นเป็นประเทศภายใต้การปกครองของสยาม การเสียดินแดนกัมพูชาคราวนั้นเป็นการเสียให้กับประเทศฝรั่งเศส โดยเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งส่วนการเสียแผ่นดินที่ผ่านมามักกล่าวถึงการเสียแผ่นดินในรัชกาลที่ 5 มากกว่า แต่การเสียแผ่นดินครั้งแรกเกิดในรัชกาลที่ 4 ส่วนที่ว่ารัชกาลที่ 4 ทรงคิดอย่างไรนั้นขอได้โปรดอ่านทรรศนะของท่านผู้เขียนบทความคือคุณไกรฤกษ์ นานา ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรมเถิด

โดยเอกสารที่ใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์และสังเคราะห์นั้น คุณไกรฤกษ์ได้รวบรวมจากเอกสารชั้นต้นหลายรายการ เช่น พระราชสาส์นส่วนพระองค์ของรัชกาลที่ 4 ถึงนายมงตีญี (ราชทูตฝรั่งเศสในขณะนั้น) ความว่า

"เราขอบอกท่านด้วยความเจ็บปวดยิ่งว่า สืบเนื่องจากเหตุการณ์อันไม่สมควรมากมายหลายครั้งซึ่งกระทำซ้ำแล้วซ้ำอีกโดยบรรดาผู้แทนของฝรั่งเศส เหตุการณ์ไม่สมควรดังกล่าวไม่ต้องสงสัยเลยว่ารัฐบาลแห่งสมเด็จพระจักรพรรดิ มิได้ล่วงรู้หรืออย่างน้อยก็รู้น้อยมาก เราขอให้ท่านได้โปรดให้ความยุติธรรมต่อคำร้องขอของเรา และตัดสินใจในทางเอื้ออำนวยให้เราได้รักษาและครอบครองต่อไปอย่างสงบสุข ซึ่งบรรดาหัวเมืองต่างๆ ที่อยู่ในอำนาจของเรามาช้านาน นับได้กว่าสี่รัชสมัยต่อกันมาแล้ว เป็นระยะเวลา 84 ปี อันมีแนวโน้มที่จะรบกวนความสงบสุขแห่งรัฐของเรา และผลประโยชน์แห่งท้องพระคลังของเราด้วย"

หรือพระราชหัตถเลขากระแสพระราชดำริ ในรัชกาลที่ 4 พระราชทานตอบสาส์นขององค์พระนโรดม เมื่อปีชวด จ.ศ.1226 (ไม่ปรากฏวันที่) พ.ศ.2407 ความว่า

"...ก็ถ้าจะมีผู้ใดคิดคลางแคลงสงสัยว่าข้าพเจ้าขุ่นข้องหมองหมางกับเธอประการใด จึงคิดอ่านเหหันผันแปรจะยักย้ายไปอย่างอื่นจึงไม่ไปอภิเษก ให้สมกับการที่พระยาราชวรานุกูลไปนัดหมายไว้นั้น ถ้าผู้ใดวิตกสงสัยไปดังนี้ การนั้นไม่ต้องกับสิ่งที่เป็นแท้เป็นจริงเลย เจ้านายฝ่ายเขมรทั้งปวงซึ่งดำรงชีพอยู่ในกาลบัดนี้ ผู้ใดจะเป็นที่สนิทคุ้นเคยกับข้าพเจ้ามากกว่าเธอมีฤๅ คิดดูเถิดถึงการเมื่อเวลาปลายแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ตัวเธออยู่ในกรุงเทพฯ นี้เป็นอย่างไรกับข้าพเจ้า เธอก็ย่อมแจ้งใจอยู่ทุกประการ เมื่อคับใจแคบจิตก็ย่อมไปมาหาสู่กันมืดๆ เวลา ๒ ยาม ๓ ยามมิใช่ฤๅ...

ก็เมื่อเจ้าเวียตนามก่อความให้เกิดเหตุ จนฝรั่งเศสได้เมืองญวนฝ่ายใต้ตกเป็นของพระเจ้าเอมเปรอ ซึ่งมีอำนาจโตใหญ่ขึ้นกว่าเจ้านายฝ่ายฝรั่งเศส แต่ก่อนอย่างนี้แล้ว เมืองเขมรก็มีทางที่ค้าท่าที่ขายก็ซึ่งจะปิดอยู่ไม่ให้ฝรั่งเศสเข้ามาทักมาทาย แสวงหาทางที่จะเป็นผลเป็นประโยชน์แก่เขานั้น จะให้ไม่รู้จักกันเหมือนอย่างแต่ก่อนทีเดียวจะเป็นได้ฤๅ

แต่ในกรุงเทพฯนี้แต่ก่อนฝรั่งเศสนอกจากบาทหลวงก็ไม่มี ก็บัดนี้ฝรั่งเศสก็มาทำไมตรีมีกงสุลมาตั้ง มีลูกค้าฝ่ายฝรั่งเศสเข้ามาค้าขายแลตั้งอยู่ทีเดียวเป็นอันมาก แต่หากว่าที่กรุงเทพฯ ยอมรับเป็นไมตรีเสียด้วยโดยง่าย ก็ไม่ต้องเคืองขุ่นวุ่นวายเหมือนกับเมืองญวน ประการหนึ่งในกรุงเทพฯ นี้ได้รับเป็นไมตรีกับเมืองอังกฤษ เมืองอเมริกา เมืองวิลันดา เมืองเดนมาร์ค เมืองโปรตุเกศ เมืองหันเสียติก แลเมืองปรุสเซีย ซึ่งทำสัญญาแทนเมืองอื่นอีกถึง 21 เมือง แต่กงสุลเข้ามาตั้งอยู่ถึง 7 กงสุล แลในกรุงปารีสของพระเจ้าเอมเปรอฝรั่งเศส แลกรุงลอนดอนของพระเจ้ากรุงอังกฤษ ก็ยอมให้ฝ่ายไทยตั้งขุนนางไปอยู่คอยฟังราชการแลปรึกษาหารือการต่างๆ

ไทยได้มีกงสุลอยู่ในกรุงปารีสชื่อพระสยามธุรานุรักษ์ อยู่ในกรุงลอนดอนชื่อพระสยามธุระพาห ก็ในกรุงเทพฯ นี้มีกงสุลมาประจำอยู่ 8 บ้าน 8 เมือง เมื่อมีการเกี่ยวข้องต้องถุ้งเถียงกันประการใดบ้าง กงสุลเมืองอื่นก็เป็นพยานรู้เห็นอยู่หมด ใครจะมาทำเกินๆ ผิดกฎหมายแลยุติธรรมไปก็ละอายกันอยู่ การก็ค่อยยังชั่ว ก็การข้างเมืองญวนนั้น เพราะทำศึกสงครามขึ้นกับฝรั่งเศส แล้วภายหลังต้องยอมแพ้แก่ฝรั่งเศส ให้ทำสัญญาไม่ให้คบค้ากับบ้านอื่นเมืองใด ญวนก็ยอมตาม ยกเมืองญวนฝ่ายใต้ให้แก่ฝรั่งเศส ก็เมื่อฝรั่งเศสมาอยู่ในเมืองญวนฝ่ายใต้ ก็เป็นฟันใกล้ลิ้นกับเมืองเขมร จะไม่ให้ไปมาถึงกันอย่างไรได้


(ซ้าย) หนังสือบ็อณฎำตาเมียะฮ์ (คำสั่งตาเมียะฮ์) ที่ฝรั่งเศสให้การสนับสนุนในการตีพิมพ์ (ขวา) ศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนกรกฎาคม 2551

การจะเป็นอย่างไรในข้างใดข้างโน้นก็เป็นได้ทุกประการ ไม่มีใครเห็นเป็นพยาน ไม่ต้องกลัวการครหานินทา เขมรมีกำลังน้อยจะรู้ที่ทำอย่างไรได้ ข้าพเจ้าคาดจิตเห็นใจเธอแลพระยาพระเขมรผู้ใหญ่อยู่หมดจริงๆ ไม่ได้ขุ่นข้องหมองหมางอันใดด้วยเหตุนั้นดอก..."

ซึ่งดูไปก็คล้ายกับเรื่องเขาพระวิหารที่เราท่านได้รับฟังแต่ข้อมูลฝ่ายไทย ไม่ว่าจะจากหนังสือพิมพ์ไทย ทีวีไทย และรัฐสภาไทย ฯลฯ ทว่าเขาพระวิหารนั้นตั้งอยู่บนรอยต่อระหว่างประเทศไทย และประเทศกัมพูชาซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้าน จึงน่าจะฟังข้อมูลฝ่ายกัมพูชาบ้างหรือไม่ กรณีเสียดินแดนในสมัยรัชกาลที่ 4 ก็เช่นกัน เอกสารฝ่ายกัมพูชาว่าอย่างไรบ้าง

ขอเชิญท่านผู้อ่านโปรดค้นหานิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มาอ่านอีกครั้ง อาจารย์ศานติ ภักดีคำ เขียนถึงวรรณกรรมของกัมพูชาชื่อ "บ็อณฎำตาเมียะฮ์ (คำสั่งตาเมียะฮ์)" ตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ.2451 โดยการสนับสนุนให้จัดพิมพ์เผยแพร่จากรัฐบาลฝรั่งเศสในสมัยอาณานิคมถึง 10,000 เล่ม ไว้ในบทความที่ชื่อว่า "บ็อณฎำตาเมียะฮ์ (คำสั่งตาเมียะฮ์) : วรรณกรรมชวนเชื่อของกัมพูชายุคอาณานิคมฝรั่งเศส"

คำสั่งตาเมียะฮ์ มีเนื้อหา 3 ส่วน คือ 1.อานามสยามยุทธ์ (การต่อสู้ระหว่างไทย-เวียดนาม ในพื้นที่กัมพูชา) 2.กัมพูชา : การเข้ามาของฝรั่งเศส 3.อาณานิคมฝรั่งเศส : ความชอบธรรมในการปกครองกัมพูชา โดยเฉพาะเนื้อหาในส่วนที่ 2 ที่กล่าวถึงทรรศนะของกัมพูชากับการเป็นประเทศในอาณานิคมของฝรั่งเศสว่า

"เนื้อหาในส่วนต่อมาของเรื่องบ็อณฎำตาเมียะฮ์ (คำสั่งตาเมียะฮ์) กล่าวถึงภัยอันตรายจากการแทรกแซงของไทยและเวียดนาม และอธิบายว่าความกังวลกลัวว่าไทยกับเวียดนามจะเอาเมืองเขมรมาแบ่งกันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้สมเด็จพระหริรักษ์รามาอิศราธิบดี (พระองค์ด้วง) ทรงพยายามเลือกติดต่อชาติต่างๆ ในยุโรปเพื่อให้เข้ามาช่วยอุปถัมภ์กัมพูชา..."

"...แต่ยังทรงมีพระวิตกเกรงต่อไปภายหน้าสยามและญวนมันเอาเมืองเขมรเราแบ่งกัน ทรงพระจินดาแต่เพียงเท่านี้จึงทรงเล็งเห็นว่าจะพึ่งประเทศยุโรปใดประเทศหนึ่งให้ช่วยทำนุบำรุง บัดนี้จะพึ่งบุญอังกฤษได้อินเดียแล้วและเมืองสิงคโปร์แล้ว บัดนี้จะไปพึ่งบุญวิลันดาทรงไม่สบพระทัยเพราะวิลันดาเป็นเจ้าฝ่ายอยู่เมืองชวา เมืองสุมาตรา แล้วบัดนี้จะไปพึ่งบุญสเปนหรือโปรตุเกสเพราะเมืองนั้นไม่เก่ง ทรงพระจินดาดังนี้เสร็จแล้วก็ทรงตัดสินพระทัยว่าจะพึ่งฝรั่งเศสเพราะฝรั่งเศสไม่มีเมืองขึ้นอยู่ใกล้เขมร

อีกประการหนึ่งเมื่อประทับอยู่ในเมืองบางกอกได้พบกับฝรั่งเศสและทรงทอดพระเนตรเห็นรื่นเริงไม่หยิ่งยโสกับใครโอภาปราศรัยนับถือคนทั้งปวงและจิตใจก็มีธรรมสัปบุรุษ จึงทรงตัดสินว่าขอพึ่งฝรั่งเศสให้ช่วยทำนุบำรุงการพระราชศัตรูญวนที่เมืองไพรนคร (ไซ่ง่อน) และการพระราชศัตรูสยามเป็นต้น เพราะมีข้าหลวงมายืนเคียงพระองค์อยู่ในเมืองอุดงค์มีชัย ทรงมีพระทัยอับอายอยากให้หลุดจากมือสยามนั้นมาก..."

เรื่องบ็อณฎำตาเมียะฮ์ (คำสั่งตาเมียะฮ์) กล่าวว่า ด้วยสาเหตุดังกล่าวมานี้สมเด็จพระหริรักษ์รามาอิศราธิบดี (พระองค์ด้วง) จึงโปรดให้ราชทูต 2 นายนำพระราชสาส์นไปถึงกงสุลฝรั่งเศสที่เมืองสิงคโปร์ อีกฉบับหนึ่งไปถึงพระเจ้านโปเลียนที่ 3 ความในพระราชสาส์นนั้นว่า "...ขอพึ่งบุญกษัตริย์ฝรั่งเศสขอให้กษัตริย์ฝรั่งเศสแต่งราชทูตเข้ามาจะลงสัญญากัน..."

แม้ภาพลักษณ์ของคำสั่งตาเมียะฮ์ จะชื่นชมสรรเสริญฝรั่งเศสหนักมือไปสักนิดสำหรับคนไทย แต่ก็ทำให้ได้มุมที่ต่างไปจากเดิม

จากกรณีการเสียดินแดนในรัชกาลที่ 4 เมื่อ 100 กว่าปีก่อน ถึงกรณีเขาพระวิหารในวันนี้ ใครคิดจะทำการใดก็ทำเถิด แต่อย่าใช้ความสัมพันธ์ของประเทศเพื่อนบ้าน (ประเทศ+เพื่อน+บ้าน) อย่าเล่นกับความรู้สึกของคน (จำนวนมากซะด้วย) เพราะมันบาปและอันตราย

 

***ที่มา : หนังสือพิมพ์ มติชน วันที่ 09 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11078, หน้า  20
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
    กระโดดไป: