ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
29-03-2024, 13:13
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ปัญหาแก้ไขโดยสภาไม่ได้ แก้ผ่านการประท้วงก็ไม่ได้ แล้วจะแก้ด้วยอะไร? (ห้ามตอบว่าปฏิวัติ) 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ปัญหาแก้ไขโดยสภาไม่ได้ แก้ผ่านการประท้วงก็ไม่ได้ แล้วจะแก้ด้วยอะไร? (ห้ามตอบว่าปฏิวัติ)  (อ่าน 1247 ครั้ง)
mephistopheles
น้องใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8



« เมื่อ: 10-07-2008, 00:55 »

การเมืองในสภายังเป็นการใช้พวกพ้อง มากกว่าใช้เหตุผล ถึงจะอภิปรายไปแสดงทั้งหลักฐานทั้งข้อมูล ให้โต้แย้งโต้ตอบกัน พอตอนโหวต เสือกลืมเอาสมองมากันทั้งสภา ประสิทธิภาพการตรวจสอบผ่านสภา คงมีค่าไม่ต่างจากการมีกรรมการในมวยปล้ำ...

การเมืองนอกสภา ประท้วงกันไปแสดงออกกันไป เป็นอาทิตย์เป็นเดือนก็แล้ว คนเป็นพันก็แล้วเป็นหมื่นเป็นแสนก็แล้ว เอาเข้าจริงๆก็ไม่มีกลไกแทรกแซงได้ ดูอย่างประชาชนยื่นรายชื่อถอดถอน ไชยา มิตรชัย ได้มาตั้ง  20,000 กว่าชื่อ บทจะไป ไปเพราะเมียซุกหุ้นซะงั้น....
บันทึกการเข้า
H-edge
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 94


« ตอบ #1 เมื่อ: 10-07-2008, 01:12 »

ต้องแก้ด้วย  " ประชาชน "

แต่ก็นั่นอีกอ่ะนะ  ถ้าประชาชนของประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นแบบนี้ พวกอุบาทว์พวกนี้ก็จะหมุนเวียนกลับเข้ามา ทั้งลูกหลานพี่ป้าน้าอา

เอากันทั้งตระกูลหมุนเวียนกันไปเหมือนเป็นมรดกตกทอด

ชีวิตนี้จะได้เห็นรัฐบาลที่เอาจริงเอาจังกับการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระจายความรู้สู่ชนบท และไม่ปิดกั้นการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร

ของประชาชนไหนเนี่ย

สงสัยจะเป็นได้แค่ รัฐบาลในฝัน... Dream Government, Dream Governor.
บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #2 เมื่อ: 10-07-2008, 04:31 »

ปัญหาแก้ไขโดยสภาไม่ได้ แก้ผ่านการประท้วงก็ไม่ได้ ก็ต้องไปเจอกันที่ศาลครับ

ปัญหาการเมืองไทย เกิดจากการยึดมั่นในความ "รักโลภโกรธหลง"
มากกว่าจะตัดสินใจบนพื้นฐานของความ "ผิดชอบชั่วดี"

ในเมื่อเป็นปัญหาของความ รักโลภโกรธหลง จึงแก้กันเองไม่ได้
ต้องพึ่งกระบวนการยุติธรรมสถานเดียว

..เพราะจะรักโลภโกรธหลงอย่างไรก็ปฏิเสธกระบวนการยุติธรรมไม่ได้..

ความจริงเรื่องนี้ ในหลวงท่านทรงชี้แนวทางให้เรามาตั้งแต่ก่อนรัฐประหารแล้ว
และก็เห็นผลมาตามลำดับ จนมีคนเรียกว่า "กระบวนการตุลาการภิวัตน์"

หน้าที่ของเราคือประคับประคองกระบวนการยุติธรรมให้ดำเนินไปโดยไม่สะดุดหยุดลง
หรือเฉไฉออกนอกลู่นอกทาง เป็นที่มาของการเคลื่อนไหวคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ที่เอื้อประโยชน์พวกพ้องอุ้มแม้วหนีศาล ตลอดจนการผลักดันสนับสนุนให้คดีความต่างๆ
ได้รับการตรวจสอบ และเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมอย่างต่อเนื่อง
คิดว่าคงพอจะเป็นคำตอบ ให้กับคุณ mephistopheles ได้นะครับ 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10-07-2008, 04:36 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
ลูกหินฮะ๛
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,099


เสียเข็มขัด อย่าเสียกุงเกง


« ตอบ #3 เมื่อ: 10-07-2008, 04:32 »



" รัฐสังหาร "

ตอบง่าย..ถ่ายคล่อง..เบเร้ตต้า 500 A ใหม่ (รุ่นเจาะเกราะ)


* thaityranny.jpg (41.78 KB, 469x500 - ดู 196 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10-07-2008, 04:34 โดย ลูกหินฮะ๛ » บันทึกการเข้า

  ... ... ... 
morning star
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,119


don't let them make up your mind


« ตอบ #4 เมื่อ: 10-07-2008, 06:26 »




แผ่นดินไหวสักสิบริกเตอร์ มีศูนย์กลางอยู่ที่รัฐสภา
บันทึกการเข้า

อย่าเดินตามใคร เพราะเรามีจุดมุ่งหมายของเราเอง
An.mkII
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,984


Out of kontrol....!!!!!


เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 10-07-2008, 06:38 »

ฟ้าผ่าตายอ่า..เพราะสาบานเอาไว้มาก..

บันทึกการเข้า
-3-
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,186


« ตอบ #6 เมื่อ: 10-07-2008, 08:49 »



" รัฐสังหาร "

ตอบง่าย..ถ่ายคล่อง..เบเร้ตต้า 500 A ใหม่ (รุ่นเจาะเกราะ)

แบบนี้สินะ 

บันทึกการเข้า



ประชาธิปไตยตัดสินความต้องการได้ แต่ตัดสินความถูกต้องไม่ได้!!
ฉิกตี๋
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 186



« ตอบ #7 เมื่อ: 10-07-2008, 09:32 »



**ตามคุณ Jerasak ครับ คำตอบ คือ"กระบวนการตุลาการภิวัตน์"***


--จริง ๆ มันก็เป็นไปตามหลักการประชาธิปไตยสากลนั่นแหละ "Check And Balance"--


--แต่ที่ผ่านมา เรามีอุปสรรคที่สำคัญอยู่ ที่สำคัญคือ ตัดตอนหนึ่ง ล่าช้าอีกหนึ่ง และสภาพบังคับอีกหนึ่ง-

--ต้ดตอน เพราะเรามีปัญหากับกระบวนการยุติธรมขั้นต้น ในกระบวนการนำคดีเข้ามาสู่ศาล กรณีตำรวจและอัยการเด่นชัดที่สุด--


--ล่าช้า เพราะตุลาการภิวัตน์ เป็นกระบวนการปลายเหตุปลายสาย ซึ่งหลายกรณีเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ ความเสียหายเกิดขึ้นและส่งผลเสียหายไปแล้ว


--สภาพบังคับ นี่เป็นปัญหาใหญ่ เพราะหลายครั้งกว่าจะมีการบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย ตัวจำเลยหนีเอาดื้อ ๆ หรือถ่ายเททรัพย์สินไม่ให้ถูกยึด ตลอดจนได้รับความช่วยเหลือในบั้นปลาย บางกรณีเลวร้ายสุด ๆ นิรโทษกรรมซะดื้อ ๆ


**และด้วยกระบวนการตุลาภิวัฒน์ จะเป็นการสร้างบรรทัดฐานตามกฎหมายโดยการวางหลักของตุลาการ **




 จริงหรือไม่ที่องค์กรผู้ใช้อำนาจนิติบัญญ้ติ ซึ่งมีความหมายถึง รัฐสภาอันประกอบไปด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร เป็นเพียงผู้เดียวที่มีอำนาจในการสร้างกฎหมายและตรากฎหมาย ดังเช่นที่เรามีความเข้าใจและความคุ้นเคยต่อ “อำนาจหน้าที่” ขององค์กรนิติบัญญัติดังกล่าว มาตลอดเวลาทีได้ทำความรู้จักกับทฤษฎีการแบ่งแยกอำนาจของมองเตสกิเออร์ หรือในแท้ที่จริงแล้ว ยังมีอำนาจอื่นในทฤษฎีเดียวกันซึ่งสามารถ “สร้าง” กฎหมายได้ด้วยอีกทางหนึ่ง
     
       หากคำตอบของคำถามดังกล่าวคือคำตอบในภาค “รับ” กล่าวคือ การยืนยันว่ามีเพียงอำนาจนิติบัญญัติเพียงหนึ่งเดียวในการสร้างกฎหมายนั้น คำถามดังกล่าวก็คงจะเป็นต้องสิ้นสุดไป เนื่องจากคงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาระบบการสร้างกฎหมายขององค์กร นิติบัญญัติซึ่งค่อนข้างมีความเสถียรแล้วในระบบการเมืองการปกครองในแบบ รัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศไทย แม้ว่าในการใช้อำนาจนิติบัญญัติดังกล่าวจะมี “ข้อสงสัย” อยู่บ้างในบางประการที่มีการ “เปลี่ยนมือ” ตามแต่ละยุคของรัฐบาลแต่ละสมัย หรือ ในการ “เปลี่ยนวิธี” การใช้จากกรณี “อำนาจอธิปไตยทางอ้อม” มาเป็น “อำนาจอธิปไตยทางตรง” ซึ่งหมายถึงการลงมติหรือทำประชาพิจารณ์
     
       แต่หากว่าคำตอบของคำถามดังกล่าวเป็นคำตอบใน “ภาคเสธ” กล่าวคือ ยืนยันว่าไม่เพียงแต่องค์กรนิติบัญญัติเท่านั้นที่มีอำนาจในการสร้างกฎหมาย แต่ยังมีองค์กรอื่นที่มีบทบาทในทฤษฎีเดียวกันที่สามารถสร้างกฎหมายได้ด้วย ดังนี้แล้ว คำตอบของคำถามดังกล่าวก็จะสามารถชวนคิดต่อเนื่องไปยังคำถามอื่นๆที่ตามมาอีก ได้ อาทิเช่น กฎหมายที่ถูกสร้างขึ้นด้วยวิธีการดังกล่าวจะขัดกับระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร ซึ่งมีแบบแผนและรูปแบบเป็นประมวลกฎหมายหรือพระราชบัญญัติต่างๆ หรือไม่ หรือ กฎหมายที่ถูกสร้างขึ้นด้วยวิธีการดังกล่าวจะมีลำดับศักดิ์อย่างไรหากเทียบ กับกฎหมายที่ได้รับการตราจากการมอบอำนาจของประชาชนเช่น พระราชบัญญัติ หรือ กฎหมายที่ได้รับการตราในรูปของพระราชกำหนด รวมไปถึง กฎเกณฑ์แห่งกฎหมายดังเช่นพระราชกฤษฎีกา
     
       คำตอบของคำถามดังกล่าว สามารถตอบได้ด้วย “เครื่องมือ” ของระบบกฎหมายปกครองฝรั่งเศสอันมีชื่อว่า les principes généreux du droit หรือ PGD ซึ่งได้มีผู้แปลเป็นภาษาไทยไว้ว่า “หลักกฎหมายปกครองทั่วไป”

้“หลักกฎหมายปกครองทั่วไป” ก็น่าจะมีคนอยู่จำนวนไม่น้อยนักที่จะคิดถึง หลักทั่วๆไปในกฎหมายปกครอง อาทิเช่น หลักความชอบด้วยกฎหมาย หลักการบริการสาธารณะ หลักการกระจายอำนาจ ฯลฯ ดังนี้เป็นต้น


     
     
       ในประเด็นของเรื่องคุณค่าทางกฎหมาย นักกฎหมายได้เห็นพ้องต้องกันว่า หลักกฎหมายปกครองทั่วไปเป็นกฎเกณฑ์ทางกฎหมาย (normes jurisprudentielles) ที่มีสภาพบังคับ แต่อย่างไรก็ดีแม้ว่าข้อเถียงในเรื่องของดังกล่าวนี้จะเป็นที่ยุติก็ตาม แต่นักกฎหมายฝรั่งเศสเองก็ได้ถกเถียงกันมาช้านานถึงประเด็นของลำดับศักดิ์ ของหลักกฎหมายปกครองทั่วไป กล่าววคือ ในบางกรณีเป็นที่เห็นได้ชัดว่า หลักกฎหมายปกครองทั่วไปที่ศาลนำมาอ้าง นั้น เป็นหลักกฎหมายทั่วไปที่อ้างหรือมีการสกัดมาจากกฎหมาย (ซึ่งมีที่มาจากอำนาจนิติบัญญัติ) ซึ่งไม่ก่อให้เกิดปัญหาอะไรเนื่องจาก ถือว่า เป็นหลักจากกฎหมายในระบบกฎหมาย อันส่งผลให้ได้ว่า “ฐานะ” หลักกฎหมายทั่วไปในกรณีนี้จะมีเท่ต่ำกว่ากฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญ้ติ อันส่งผลให้อำนาจความศักดิ์สิทธิ์ของฝ่ายนิติบัญญัติในการออกกฎหมายยังมี อยู่
     
       แต่หลักกกฎหมายปกครองทั่วจะไปจะมีปัญหาเสมอ หากเป็นหลักกฎหมายทั่วไปที่มีที่มามาจาก
       กฎเกณฑ์ทางรัฐธรรมนูญ (règles constitutionnelles) ทั้งนี้เนื่องจากเป็นการ สกัด หรือ อ้าง หรือ ยืนยันหลักกฎหมายที่มาจากสิ่งทฤษฎีปิรามิดของ ฮันส์ เคลเซน ถือว่าเป็นสิ่งที่อยู่เหนือความเป็นกฎทั้งปวง ซึ่งก็คือ รัฐธรรมนูญ ผลจากการที่ที่มาของหลักกฎหมายทั่วไปมาจากกฎเกณฑ์ทางรัฐธรรมนูญ จึงส่งผลให้เกิดแนวคิดว่า หลักกฎหมายทั่วไปดังกล่าวจะมีค่าสูงกว่ากฎหมายจากฝ่ายนิติบัญญัติหรือไม่ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวจะเป็นที่โต้เถียงกันถึงอำนาจล้นเหลือในการวางหลักกฎหมาย ขององค์กรศาล อย่างไรก็ดี ปัจจุบันแม้ว่าในกรณีการโต้เถียงในเรื่อง “ฐานะ” ของหลักกฎหมายปกครองทั่วไปของฝรั่งเศสจะค่อนข้างเสถียรแล้วจากการยืนยัน “ฐานะ” ของหลักกฎหมายทั่วไปในงานเขียนของศาสตราจารย์ René Chapus กล่าวคือ ถือว่าฐานะของหลักกฎหมายทั่วไปนั้นต่ำกว่ากฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ แต่มีค่าสูงกว่ากฎเกณฑ์ทางกฎหมายของฝ่ายบริหาร (infralégislative et suprarèglementaire) แต่ในบางกรณีหากพบว่าหลักกฎหมายทั่วไปที่ศาลหยิบยกมาอ้างเป็นหลักที่ถูกอ้าง ไปแล้วว่าเป็นหลักที่มีค่าเทียบเท่ารัฐธรรมนูญ (les principes de valeur constitutionnelle) หรือ มีที่มามาจากหลักทางรัฐธรรมนูญ งานเขียนของศาสตราจารย์ René Chapus ก็จะถูกนำมาโต้แย้งเสมอ
     
       จึงเป็นที่ยอมรับกันว่ากฎหมายปกครองฝรั่งเศสเองนั้น มีสองส่วน กล่าวคือ ส่วนที่มาจากการตรากฎหมาย และ ส่วนที่มาจากการสร้างกฎหมายโดยการวางหลักของตุลาการ

บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: